การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ (อังกฤษ: Music as a coping strategy) เป็นการใช้ดนตรี ไม่ว่าจะโดยฟังหรือเล่น เพื่อลดอาการของความเครียดทางกายใจ และลดตัวความเครียดเองด้วย การใช้ดนตรีรับมือกับความเครียดเป็นตัวอย่างกลยุทธ์การรับมือที่เพ่งอารมณ์ โดยมองว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะลดหรือกำจัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อความเครียด ไม่ใช่จัดการตัวก่อความเครียดโดยตรง ผู้ที่สนับสนุนการบำบัดเช่นนี้อ้างว่า การใช้ดนตรีช่วยลดระดับความเครียดที่คนไข้รู้สึก และยังลดลักษณะที่วัดได้ทางชีวภาพ เช่น ระดับฮอร์โมนอีพิเนฟรินและคอร์ติซอล ซึ่งหลั่งเมื่อเครียดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมบำบัดด้วยดนตรียังมีหลักฐานที่ทำซ้ำได้ว่า ช่วยลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยระยะยาว
ทฤษฎีหลัก
ในสาขาจิตวิทยา กลยุทธ์การรับมือ (coping strategy) เป็นเทคนิคหรือการปฏิบัติอะไรอย่างหนึ่งที่มุ่งลดหรือบริหารผลลบที่มากับความเครียด คือ แม้ว่าความเครียดจะเป็นการตอบสนองทางชีวภาพตามธรรมชาติ แต่นักชีววิทยาและจิตวิทยาได้แสดงหลักฐานอย่างซ้ำ ๆ ว่า ความเครียดมากเกินสามารถมีผลลบต่อความอยู่เป็นสุขทั้งทางกายใจ ดังนั้น ความจำเป็นเพื่อหาวิธีที่ช่วยรับมือและลดระดับความเครียดที่ไม่ถูกสุขภาพเป็นเรื่องชัดเจน มีกลยุทธ์การรับมือเป็นร้อย ๆ และการใช้ดนตรีก็เป็นวิธีเฉพาะอย่างหนึ่งเพื่อช่วยต้านผลลบของความเครียด และเพราะมีกลยุทธ์มากถึงขนาดนี้ นักจิตวิทยาจึงได้แบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 หมวด คือ
- เพ่งการประเมินใหม่ (Appraisal) มุ่งเปลี่ยนความคิด เพราะว่า ความเครียดกำจัดได้โดยการให้เหตุผล เปลี่ยนค่านิยม เปลี่ยนรูปแบบการคิด หรือใช้มุกตลก
- เพ่งปัญหา (Problem) มุ่งเปลี่ยนเหตุของความเครียดโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นการกำจัดหรือปรับตัวให้เข้ากับตัวสร้างความเครียด
- เพ่งอารมณ์ (Emotion) มุ่งเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อตัวก่อความเครียด เช่นการเจริญสมาธิ/กรรมฐาน การหันไปสนใจสิ่งอื่น การปล่อยอารมณ์ การลดความเครียดอิงสติ (MBSR) เป็นต้น
เพราะว่าการรับมือโดยใช้ดนตรีมุ่งเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ของบุคคลต่อเหตุการณ์บางอย่าง จึงจัดว่าเป็นกลยุทธ์การรับมือที่เพ่งอารมณ์ คือแทนที่จะพยายามเปลี่ยนหรือกำจัดตัวสร้างความเครียดโดยตรง การรับมืออาศัยการเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์และทางใจของบุคคลต่อตัวสร้างความเครียด โดยลดอาการความเครียดที่มีต่อสรีรภาพ หรือโดยบรรเทาการตอบสนองทางอารมณ์ที่มีต่อความเครียด
หลักฐานสำคัญ
นักจิตวิทยาและผู้รักษาพยาบาลเร็ว ๆ นี้ได้เริ่มให้เวลาและความสนใจต่อการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือ และผลที่มีต่อคนไข้ ในวรรณกรรมในเรื่องดนตรีและความเครียด หลักฐานเชิงประสบการณ์ที่พบมักจัดกลุ่มเข้าด้วยกันตามวิธีที่ได้ข้อมูล ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ คือ ได้ข้อมูลจากคำตอบของคนไข้ หรือว่าได้โดยวิธีวัดทางสรีรภาพ แม้ว่าจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน งานศึกษาโดยมากแสดงว่า ดนตรีแบบต่าง ๆ สัมพันธ์กับผลต่าง ๆ ต่ออารมณ์ของคนที่ซึมเศร้าหรือเครียด
หลักฐานจากคำตอบคนไข้
วิธีการเก็บข้อมูลที่นิยมอย่างหนึ่งก็คือเก็บคำตอบจากคนไข้ ซึ่งไม่ต้องใช้ข้อมูลทางกายภาพที่อาจไม่สะดวกเก็บในบางกรณี ซึ่งเป็นข้อมูลทางใจที่เป็นอัตวิสัย เพราะว่าไม่ต้องวัดอะไรที่ร่างกายแต่เป็นการถามคำถามประเภทว่า "คุณรู้สึกอย่างไร" เพื่อได้คำตอบ< หลังจากได้ข้อมูล ก็จะมีการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกลไกการรับมือและผลของมันต่อการตอบสนองต่อความเครียด เป็นวิธีที่นิยมสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ผลเปลี่ยนเพราะเหตุความตื่นกลัวของคนไข้ ผู้สนับสนุนวิธีนี้อ้างว่า ถ้าถามเด็กด้วยคำถามทั่วไปที่ไม่น่ากลัว เด็กจะรู้สึกสบายใจบอกระดับความเครียดของตนเองตามที่รู้สึก งานศึกษาด้วยวิธีเช่นนี้แสดงหลักฐานว่า ดนตรีมีประสิทธิผลลดระดับความเครียดที่คนไข้รู้สึก
ผลต่อความบาดเจ็บทางใจ
ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) เป็นความผิดปกติทางความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงเนื่องจากเหตุการณ์เครียดสะเทือนใจในอดีต PTSD เกือบทั้งหมดเกิดจากประสบการณ์สะเทือนใจในอดีต อาจจะมีตัวจุดชนวนเช่น ภาพ เสียง หรือรายละเอียดทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ ซึ่งอาจสร้างความเครียด ความตื่นตระหนก หรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรง PTSD เป็นเรื่องสามัญในกลุ่มทหารผ่านศึก และสามารถวินิจฉัยบ่อยครั้งได้ในผู้ที่ถูกข่มขืนหรือถูกทำร้ายอย่างทารุณอย่างอื่น ๆ
ถ้าคนไข้ PTSD สัมพันธ์เพลง ๆ หนึ่งกับความจำสะเทือนใจ เพลงจะจุดชนวนการตอบสนองเป็นความเครียด/ความวิตกกังวลมากกว่าปกติ แม้ว่าจะฟันธงไม่ได้ว่าเพลงเป็นปัจจัยเดียวที่จุดชนวนความเครียดและความตื่นตระหนก แต่ว่าเพลงเป็นสิ่งที่จำได้ง่ายเพราะมีจังหวะ มีเสียงทำนอง หรือเนื้อเพลงที่จำได้ง่าย แต่ว่า การสัมพันธ์เพลงกับการตอบสนองทางใจไม่ใช่เป็นเรื่องแน่นอนว่าจะทำให้คิดถึงความจำที่ไม่ดี เพราะว่า เพลงบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความจำที่สุขใจ ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานที่แสดงว่าการให้ไอพอดที่มีเพลงเก่า ๆ ต่อคนที่อยู่ในสถานพยาบาล เป็นวิธีการลดความเครียดสำหรับผู้สูงวัยได้อย่างหนึ่ง
มีการใช้ดนตรีบำบัดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้วิธีคล้ายกับการบริหาร PTSD แต่ว่า จะเน้นการหาดนตรีที่จุดชนวนความจำหรือความรู้สึกที่ดี ๆ แทนที่จะจุดชนวนอารมณ์เชิงลบ หลังจากที่คนไข้ฟังดนตรี จะเห็นอารมณ์และลักษณะที่ปิดใจและเหินห่าง เปลี่ยนเป็นดีใจ เปิดใจ และมีความสุข มีหลักฐานแบบบอกเล่า (anecdotal) มากมายที่แสดงประสิทธิผลของดนตรีในเรื่องนี้
ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็น PTSD หรือภาวะสมองเสื่อม ถ้าคนไข้มีคนรักที่เสียชีวิตไป เขาก็อาจจะสัมพันธ์เพลงบางเพลงกับคน ๆ นั้น และการได้ยินเสียงเพลงก็อาจทำให้ระลึกถึงความสุขหรือความเศร้าที่ลึกซึ้ง นอกจากนั้นแล้ว ถ้ามีความสัมพันธ์บางอย่าง เช่นกับคู่สมรส เมื่อเปิดเพลงที่ใช้ในงานสมรส ก็อาจให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง ซึ่งสามารถจุดชนวนความทรงจำและความเครียดที่ทำให้ทุกข์ แต่เพลงใดเพลงหนึ่งจากความทรงจำนั้นอาจจะจุดชนวนอะไรก็ได้
ผลของดนตรีต่อคนไข้สมองเสื่อมพบว่าช่วยให้คนไข้ออกจากลักษณะเหมือนสงวนท่าที และทำให้ร้องเพลงและเกิดความสุข เทียบกับบุคลิกที่ปิดใจและเหินห่างโดยทั่วไป คนไข้อาจจะถึงกับตะโกนเพราะความสุขที่ได้ในการฟังเพลงที่เคยได้ยินในวัยเด็ก ในงานทดลอง หลังจากที่คนไข้ฟังเพลงที่ตนชอบ ก็จะมีการสัมภาษณ์ซึ่งคนไข้จะแสดงความกระตือรือร้น เพราะว่ามีความสุขที่ได้ฟังเพลง และก็จะพูดว่าตนชอบเพลงนี้แค่ไหนและพูดถึงความทรงจำที่เพลงทำให้นึกถึง
ความเครียดและดนตรีในวงการแพทย์
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือสามารถประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ฟังเพลงในช่วงการผ่าตัดหรือในช่วงฟื้นตัวพบว่าระดับความดันกลับไปสู่ปกติได้เร็วกว่าคนไข้ที่ไม่ฟัง นอกเหนือไปจากการรู้สึกว่าสถานการณ์ควบคุมได้และความเป็นอยู่ที่ดี งานศึกษายังแสดงอีกด้วยว่า สมาชิกครอบครัวหรือพ่อแม่ของคนไข้จะเครียดน้อยลงเมื่อฟังเพลงขณะที่รอ และวิตกกังวลน้อยลงเรื่องผลการผ่าตัด
การฟังเพลงก็มีประโยชน์ด้วยในการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก คือ โดยใช้ในเค้สเหล่านี้โดยเป็นเทคนิคล่อความสนใจเช่นที่ทำในการบำบัดโดยเล่น (play therapy) ซึ่งมุ่งล่อคนไข้ให้สนใจเรื่องอื่นนอกจากความรู้สึกเจ็บหรือเครียดเมื่อกำลังรักษา ให้ไปในกิจกรรมที่เพลิดเพลิน โดยเปลี่ยนความสนใจทำให้เจ็บน้อยลง ซึ่งสามารถใช้ได้ด้วยกับผู้สูงอายุในสถานรักษาพยาบาลหรือสถานที่ดูแล คือ การบำบัดด้วยดนตรีในสถานที่เหล่านี้ลดความก้าวร้าวและความกระวนกระวายของผู้สูงอายุ แต่เพราะว่า ผลการศึกษาเหล่านี้หลายงานอาศัยคำตอบจากคนไข้โดยมาก จึงมีปัญหาว่า ดนตรีมีผลลดระดับความเครียดจริง ๆ เท่าไร
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือได้ลองใช้กับคนไข้มะเร็งหลายครั้ง และดูมีอนาคตที่ดี เช่น งานศึกษาหนึ่งทดลองกับคนไข้ 113 คนที่กำลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant) โดยแยกคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งประพันธ์เนื้อเพลงเกี่ยวกับชีวิตขของตนแล้วสร้างมิวสิกวิดีโอของตัวเอง และให้กลุ่มอื่นฟังการอ่านหนังสือ ผลแสดงว่า กลุ่มมิวสิกวิดีโอมีทักษะการรับมือและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ โดยเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บและความเครียดที่มากับการรักษา และให้โอกาสแสดงความรู้สึกของตน
งานวิจัยอีกงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาแสดงการปรับปรุงอย่างน่าแปลกใจในการรักษาเด็กหญิงคนหนึ่งที่เกิดมาพูดไม่ได้ นักบำบัดจะมาหาเธอเพื่อร้องเพลงกับเธอ เพราะว่านั่นเป็นสิ่งเดียวที่เธอทำได้ และการร้องเพลงทำให้เธอพูดได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะการร้องเพลงและการพูดคล้ายกันโดยธรรมชาติ และช่วยสร้างการเชื่อมต่อทางวงจรประสาทในสมอง ในโรงพยาบาลเดียวกัน นักบำบัดจะไปเยี่ยมเด็ก ๆ ทุกวันและเล่นดนตรีกับเด็ก โดยทั้งร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรี ดนตรีทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเครียดที่มากับการรักษา และให้เด็กสนใจสิ่งอื่นนอกจากสภาพแวดล้อมของเขา
นอกจากนั้นแล้ว กลยุทธ์การรับมือของครอบครัวและผู้ดูแลก็สำคัญมากสำหรับผู้ที่มีโรคหนักหรือร้ายแรง เพราะว่า บุคคลเหล่านี้ต้องดูแลคนที่ตนรักโดยหลัก นอกจากจะเครียดเพราะเห็นคนที่รักเป็นทุกข์แล้ว นักบำบัดได้ช่วยสมาชิกครอบครัวเหล่านี้ โดยร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรี เพื่อให้สนใจสิ่งอื่นนอกจากเรื่องเครียดเมื่อช่วยคนที่รักในการบำบัดรักษา และเหมือนกับที่ปรากฏในคนไข้เอง การบำบัดด้วยดนตรีช่วยให้คนดูแลสามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการณ์เครียดในชีวิตประจำวันได้
หลักฐานทางสรีรภาพ
งานศึกษาอื่น ซึ่งตรวจสอบการตอบสนองของบุคคลต่อความเครียดในรูปแบบที่เข้มข้นกว่า แสดงว่า การใช้ดนตรีสามารถบรรเทาผลทางสรีรภาพที่บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความเครียด เช่น ลดความดันโลหิตหรือ วรรณกรรมโดยมากตรวจสอบการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือโดยใช้เครื่องมือวัดเช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือเครื่องวัดหัวใจ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับผลทางสรีรภาพที่ชัดเจนกว่า ในงานศึกษาเหล่านี้ ผู้ร่วมการทดลองมักจะประสบกับตัวก่อความเครียดแล้วให้ฟังดนตรี ในขณะที่นักวิจัยวัดความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ และบางงานแสดงว่า การใช้ดนตรีที่เย็น ๆ หรือที่ชอบ สามารถลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลในผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดบ่อยกว่าและเห็นชัดกว่าในช่วงกลับคืนสู่ภาวะธำรงดุล แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่าเมื่อกำลังเผชิญกับความเครียด
ส่วนงานศึกษาอื่นก่อให้เกิดสถานการณ์เครียด เช่นให้วิ่งบนสายพาน ในขณะที่ให้ฟังดนตรีประเภทต่าง ๆ งานศึกษาเช่นนี้แสดงว่า อัตราการหายใจของผู้ร่วมการทดลองสูงกว่าเมื่อฟังเพลงที่เร็วกว่า ถ้าเทียบกับไม่ฟังหรือฟังเพลงกล่อมประสาท นอกจากจะเพิ่มอัตราการหายใจแล้ว การฟังเพลงยังมีผลทางสรีรภาพอื่น ๆ อีกด้วย โดยรวม ๆ แล้ว งานศึกษาแสดงว่า ดนตรีมีประสิทธิผลในการลดผลของความเครียดต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจเปลี่ยนอัตราหัวใจเต้น อัตราการหายใจ หรือแม้แต่ลดความรู้สึกอ่อนเปลี้ย นี่อาจจะเห็นในเพลงที่มีจังหวะและเสียงสูงต่ำที่ไม่เท่ากัน เช่น เสียงต่ำมีผลสงบระงับต่อร่างกาย ในขณะที่เสียงสูงมักจะเป็นตัวก่อความเครียดต่อร่างกาย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเสนอด้วยว่า ถ้าคนไข้สามารถเลือกเพลงฟังในช่วงฟื้นสภาพ การกลับเป็นปกติจะเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพดีกว่า เทียบกับถ้ามีการกำหนดประเภทดนตรีที่ตนไม่ชอบ
ดังนั้น ถ้าใช้วิธีการเก็บหลักฐานแบบปรวิสัย เช่น EKG นักวิจัยก็จะสามารถกำจัดค่าบิดเบือนบางอย่างที่สัมพันธ์กับวิธีการตรวจสอบที่ถามคนไข้ และให้ค่าสหสัมพันธ์ที่ชัดเจนกว่าระหว่างการใช้ดนตรีกับผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด
เทคนิคโดยเฉพาะ
มีเทคนิคเฉพาะอย่างหนึ่งในการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์ ซึ่งก็คือการเลือกฟังประเภทดนตรีที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดที่ต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น (ในประเทศตะวันตก) มีการเสนอว่าการฟังดนตรีคลาสสิกหรือการเลือกเพลงฟังเองสามารถลดระดับความเครียดในผู้ใหญ่ ส่วนดนตรีที่เร็ว เสียงดัง หรือที่มองโลกในแง่ร้ายอาจเพิ่มระดับความเครียด แต่ว่า คนหลายคนก็พบว่า การระบายอารมณ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อฟังดนตรีที่เร่าร้อนเช่นนี้ ส่วนดนตรีแอมเบียนต์สัมพันธ์กับความสงบและการทบทวนความคิดความรู้สึกของตนเอง และเมื่อฟังเพลงที่เลือกเอง จะทำให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกที่บุคคลนั้นไม่ค่อยมีในช่วงนั้นของชีวิต ดังนั้น การให้ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้ อาจเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับบุคคลที่กำลังรับมือกับความเครียด
ด้วยแนวคิดเยี่ยงนี้ มีเทคนิคโดยเฉพาะหลายอย่างเพื่อลดความเครียดและผลเกี่ยวกับความเครียด รวมทั้ง
- ฟังดนตรีคลาสสิก
- ฟังดนตรีที่เลือกเพื่อช่วยให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมชีวิตได้
- ฟังเพลงที่ทำให้นึกถึงความทรงจำที่เป็นสุข
- ฟังเพลงที่ไม่ทำให้นึกถึงความทรงจำที่เศร้า
- ฟังเพลงโดยเป็นวิธีสร้างความผูกพันในกลุ่มสังคม
- ไม่ฟังเพลงที่ดังหรือเปี่ยมไปด้วยความโกรธ เช่น เฮฟวีเมทัล
เทคนิคโดยเฉพาะอีกอย่างที่ใช้ได้ก็คือใช้เป็นเครื่องย้อนเวลาในความจำ ด้วยวิธีนี้ ดนตรีช่วยให้หนีไปสู่ความจำที่ดีหรือไม่ดีแล้วจุดชนวนการตอบสนองเพื่อรับมือ มีการเสนอว่า ดนตรีสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการประสบความรู้สึกในความทรงจำจากอดีตอีก ดังนั้น การเลือกดนตรีที่รู้สึกดีอาจจะเป็นวิธีการลดความเครียดอย่างหนึ่ง
เทคนิคหนึ่งที่เริ่มใช้มากขึ้นก็คือการบำบัดด้วยเสียงแบบ vibroacoustic คือ ในช่วงการบำบัด คนไข้จะนอนลาดหลังบนที่นอนซึ่งมีลำโพงอยู่ข้างใน ที่ส่งคลื่นเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งคล้ายกับนั่งบนลำโพง subwoofer ซึ่งพบว่ามีประโยชน์ต่อโรคพาร์คินสัน ไฟโบรไมอัลเจีย และโรคซึมเศร้า และก็ยังมีงานวิจัยที่ทำอยู่เพื่อตรวจดูว่า มีประโยชน์ต่อคนไข้โรคอัลไซเมอร์ขั้นอ่อนหรือไม่
ข้อขัดแย้ง
งานวิจัยที่หาหลักฐานเชิงประสบการณ์เพื่อแสดงสหสัมพันธ์ระหว่างการฟังดนตรีกับการลดการตอบสนองต่อความเครียด ถูกวิจารณ์ว่ามีขนาดตัวอย่างน้อยเกินไป อีกอย่างก็คือเป็นการศึกษาที่ไม่ได้เป็นเรื่องการตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียดอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยอ้างว่า เพราะไม่ได้กำหนดตัวสร้างความเครียดโดยเฉพาะในงานมากมาย จึงยากที่จะกำหนดว่า การตอบสนองต่อความเครียดลดลงเพราะเหตุดนตรีหรือเพราะเหตุอื่น ๆ
ส่วนข้อวิจารณ์ทางทฤษฎีของการรับมือเช่นนี้ก็คือมันเป็นกลยุทธ์ระยะสั้น และไม่สามารถมีผลคงยืนในระยะยาว โดยอ้างว่า แม้ดนตรีจะมีประสิทธิผลลดความรู้สึกว่าเครียดของคนไข้ แต่อาจจะไม่ได้ทำอะไรต่อเหตุจริง ๆ ของการตอบสนองแบบเครียด เพราะว่าเหตุที่เป็นมูลของความเครียดไม่ได้แก้ และดังนั้น การตอบสนองแบบเครียดก็อาจจะกลับคืนมาหลังการบำบัดได้จบลง ผู้ที่มีแนวคิดนี้สนับสนุนให้ใช้กลยุทธ์รับมือเพ่งที่ปัญหา ที่จัดการตัวก่อความเครียดที่มีผลโดยตรง
สรุปเนื้อความ
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือต่อความเครียดมีหลักฐานว่ามีผลต่อการตอบสนองทางความเครียดของมนุษย์ โดยหลักฐานแสดงว่าลดความรู้สึกว่าเครียด และลดอาการปรากฏทางกายของความเครียดอื่น ๆ ด้วย เช่น อัตราหัวใจเต้น ความดันโลหิต และระดับฮอร์โมนที่ปล่อยเมื่อเครียด ดูเหมือนว่าดนตรีประเภทต่าง ๆ จะมีผลต่าง ๆ ต่อระดับความเครียด โดยดนตรีคลาสสิกและที่เลือกเองจะมีประสิทธิผลดีที่สุด แต่ว่า แม้จะมีหลักฐานเช่นนี้ ก็ยังมีนักวิชาการเป็นจำนวนมากที่ตั้งข้อสงสัยต่อประสิทธิผลของการรับมือด้วยกลยุทธ์นี้ ถึงอย่างนั้น กลยุทธ์ก็ยังอาจเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับคนไข้ที่ต้องการหาการแก้/บรรเทาปัญหาที่ง่ายและไม่แพงเพื่อช่วยตอบสนองต่อความเครียด
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Elise, Labbe; และคณะ (2007). "Stress and Coping: The Effectiveness of Different Types of Music". Applied Psychophysiology and Feedback. 32 (3): 163–168.
- Yehuda, Nechama (2011). "Music and Stress". The Journal of Adult Development. 18: 85–94. doi:10.1007/s10804-010-9117-4.
- Sapolsky, Robert M (1998-04-15). Freeman, WH (บ.ก.). Why Zebras Don't Get Ulcers: An Updated Guide To Stress, Stress Related Diseases, and Coping (2nd ed.). ISBN .
- Carver, Charles S.; Connor-Smith, Jennifer (2010). "Personality and Coping". Annual Review of Psychology. 61: 679–704. doi:10.1146/annurev.psych.093008.100352. PMID 19572784.
- Weiten, W; Lloyd, M.A. (2008). Psychology Applied to Modern Life (9th ed.). Wadsworth Cengage Learning. ISBN .
- Alidina, Shamash (2015). The Mindful Way Through Stress. New York, NY: The Guilford Press. ISBN .
- Hanser, S. B.; Thompson, L. W. (1 November 1994). "Effects of a Music Therapy Strategy on Depressed Older Adults". Journal of Gerontology. 49 (6): P265–P269. doi:10.1093/geronj/49.6.p265. PMID 7963281.
- "PTSD". US Department of Veterans Affairs. สืบค้นเมื่อ 2015-04-09.
- "Research News: Music Therapy Program Helps Relieve PTSD Symptoms". Health Services Research & Development, U.S. Department of Veterans Affairs. 2014-01-06.
- Music and Memories
- "For Elders With Dementia, Musical Awakenings". NPR. 2012-04-18.
- Allen, K.; และคณะ (2001). "Normalization of Hypertensive Responses During Ambulatory Surgical Stress by Perioperative Music". Psychosomatic Medicine. 63 (3): 487–492. doi:10.1097/00006842-200105000-00019. PMID 11382277.
- Kent, Dawn. "Effect of Music on the Human Mind and Body". สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- Hanser, Suzanne B; Standley, Jayne M (1995). "Music Therapy Research and Applications in Pediatric Oncology Treatment". The Journal of Pediatric Oncological Nursing (12). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-16. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- Thoma, MV; La Marca, R; Brönnimann, R; Finkel, L; Ehlert, U; และคณะ (2013). "The Effect of Music on the Human Stress Response". PLoS ONE. 8 (8): e70156. doi:10.1371/journal.pone.0070156.
- "Music plays a role in cancer coping skills, study finds | CTCA". www.cancercenter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
The study showed that the patients who participated in the music therapy group possessed better coping skills and experienced improved social interactions, compared to their audiobook-listening counterparts
- "Music therapy helps patients cope with illness, regain health — UNC School of Medicine". UNC School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- "Families Coping with Terminal Illness through Music". trauma.blog.yorku.ca. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- Jiang, Jun; และคณะ (2013). "The effects of sedative and stimulative music on stress reduction depend on music preference". The Arts in Psychotherapy. 40 (2): 201–205. doi:10.1016/j.aip.2013.02.002.
- Brownley, Kimberly; และคณะ (1995). "Effects of music on physiological and affective responses to graded treadmill exercise in trained and untrained runners". International Journal of Psychophysiology. 19: 193–201. doi:10.1016/0167-8760(95)00007-f.
- "Music as medicine". American Psychiatric Association. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- Pelletier, Cori L. (2004). "The Effect of Music on Decreasing Arousal Due to Stress: A Meta-Analysis". Journal of Music Therapy. 41: 192–214. doi:10.1093/jmt/41.3.192.
- Iwanaga, M.; Ikeda, M.; Iwaki, T. (1 September 1996). "The Effects of Repetitive Exposure to Music on Subjective and Physiological Responses". Journal of Music Therapy. 33 (3): 219–230. doi:10.1093/jmt/33.3.219.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karichdntriepnklyuththrbmux xngkvs Music as a coping strategy epnkarichdntri imwacaodyfnghruxeln ephuxldxakarkhxngkhwamekhriydthangkayic aelaldtwkhwamekhriydexngdwy karichdntrirbmuxkbkhwamekhriydepntwxyangklyuththkarrbmuxthiephngxarmn odymxngwaepnkarprbtwthidi adaptive ephraaldhruxkacdkhwamrusukthiekidkhuntxbsnxngtxkhwamekhriyd imichcdkartwkxkhwamekhriydodytrng phuthisnbsnunkarbabdechnnixangwa karichdntrichwyldradbkhwamekhriydthikhnikhrusuk aelayngldlksnathiwdidthangchiwphaph echn radbhxromnxiphienfrinaelakhxrtisxl sunghlngemuxekhriydxikdwy 1 nxkcaknnaelw opraekrmbabddwydntriyngmihlkthanthithasaidwa chwyldxakarsumesraaelawitkkngwlodyrayayaw 2 enuxha 1 thvsdihlk 2 hlkthansakhy 2 1 hlkthancakkhatxbkhnikh 2 1 1 phltxkhwambadecbthangic 2 1 2 khwamekhriydaeladntriinwngkaraephthy 2 2 hlkthanthangsrirphaph 3 ethkhnikhodyechphaa 4 khxkhdaeyng 5 srupenuxkhwam 6 duephim 7 echingxrrthaelaxangxingthvsdihlkaekbthkhwamhlk karrbmux citwithya insakhacitwithya klyuththkarrbmux coping strategy epnethkhnikhhruxkarptibtixairxyanghnungthimungldhruxbriharphllbthimakbkhwamekhriyd khux aemwakhwamekhriydcaepnkartxbsnxngthangchiwphaphtamthrrmchati aetnkchiwwithyaaelacitwithyaidaesdnghlkthanxyangsa wa khwamekhriydmakekinsamarthmiphllbtxkhwamxyuepnsukhthngthangkayic 3 dngnn khwamcaepnephuxhawithithichwyrbmuxaelaldradbkhwamekhriydthiimthuksukhphaphepneruxngchdecn miklyuththkarrbmuxepnrxy aelakarichdntrikepnwithiechphaaxyanghnungephuxchwytanphllbkhxngkhwamekhriyd 4 aelaephraamiklyuththmakthungkhnadni nkcitwithyacungidaebngklyuththxxkepn 3 hmwd khux 5 ephngkarpraeminihm Appraisal mungepliynkhwamkhid ephraawa khwamekhriydkacdidodykarihehtuphl epliynkhaniym epliynrupaebbkarkhid hruxichmuktlk ephngpyha Problem mungepliynehtukhxngkhwamekhriydodytrng sungxaccaepnkarkacdhruxprbtwihekhakbtwsrangkhwamekhriyd ephngxarmn Emotion mungepliynptikiriyathangxarmntxtwkxkhwamekhriyd echnkarecriysmathi krrmthan karhnipsnicsingxun karplxyxarmn karldkhwamekhriydxingsti MBSR epntn 6 ephraawakarrbmuxodyichdntrimungepliynptikiriyathangxarmnkhxngbukhkhltxehtukarnbangxyang cungcdwaepnklyuththkarrbmuxthiephngxarmn khuxaethnthicaphyayamepliynhruxkacdtwsrangkhwamekhriydodytrng karrbmuxxasykarepliynptikiriyathangxarmnaelathangickhxngbukhkhltxtwsrangkhwamekhriyd odyldxakarkhwamekhriydthimitxsrirphaph hruxodybrrethakartxbsnxngthangxarmnthimitxkhwamekhriydhlkthansakhyaeknkcitwithyaaelaphurksaphyabalerw niiderimihewlaaelakhwamsnictxkarichdntriepnklyuththkarrbmux aelaphlthimitxkhnikh inwrrnkrrmineruxngdntriaelakhwamekhriyd hlkthanechingprasbkarnthiphbmkcdklumekhadwykntamwithithiidkhxmul sungmixyu 2 withihlk khux idkhxmulcakkhatxbkhxngkhnikh hruxwaidodywithiwdthangsrirphaph aemwacaichwithikarthiaetktangkn ngansuksaodymakaesdngwa dntriaebbtang smphnthkbphltang txxarmnkhxngkhnthisumesrahruxekhriyd hlkthancakkhatxbkhnikhaek withikarekbkhxmulthiniymxyanghnungkkhuxekbkhatxbcakkhnikh sungimtxngichkhxmulthangkayphaphthixacimsadwkekbinbangkrni sungepnkhxmulthangicthiepnxtwisy ephraawaimtxngwdxairthirangkayaetepnkarthamkhathampraephthwa khunrusukxyangir ephuxidkhatxb lt 7 hlngcakidkhxmul kcamikarwiekhraahthangsthitiephuxhashsmphnthrahwangklikkarrbmuxaelaphlkhxngmntxkartxbsnxngtxkhwamekhriyd epnwithithiniymsahrbedkaelaphusungxayu sungchwypxngknimihphlepliynephraaehtukhwamtunklwkhxngkhnikh phusnbsnunwithinixangwa thathamedkdwykhathamthwipthiimnaklw edkcarusuksbayicbxkradbkhwamekhriydkhxngtnexngtamthirusuk ngansuksadwywithiechnniaesdnghlkthanwa dntrimiprasiththiphlldradbkhwamekhriydthikhnikhrusuk phltxkhwambadecbthangicaek khwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic PTSD epnkhwamphidpktithangkhwamekhriydthiekidcakptikiriyathangxarmnthirunaerngenuxngcakehtukarnekhriydsaethuxnicinxdit PTSD ekuxbthnghmdekidcakprasbkarnsaethuxnicinxdit xaccamitwcudchnwnechn phaph esiyng hruxraylaexiydthangprasathsmphsxun thiekiywkbprasbkarn sungxacsrangkhwamekhriyd khwamtuntrahnk hruxkhwamwitkkngwlxyangrunaerng PTSD epneruxngsamyinklumthharphansuk aelasamarthwinicchybxykhrngidinphuthithukkhmkhunhruxthuktharayxyangtharunxyangxun 8 thakhnikh PTSD smphnthephlng hnungkbkhwamcasaethuxnic ephlngcacudchnwnkartxbsnxngepnkhwamekhriyd khwamwitkkngwlmakkwapkti 9 aemwacafnthngimidwaephlngepnpccyediywthicudchnwnkhwamekhriydaelakhwamtuntrahnk aetwaephlngepnsingthicaidngayephraamicnghwa miesiyngthanxng hruxenuxephlngthicaidngay aetwa karsmphnthephlngkbkartxbsnxngthangicimichepneruxngaennxnwacathaihkhidthungkhwamcathiimdi ephraawa ephlngbxykhrngsmphnthkbkhwamcathisukhic yktwxyangechn mihlkthanthiaesdngwakarihixphxdthimiephlngeka txkhnthixyuinsthanphyabal epnwithikarldkhwamekhriydsahrbphusungwyidxyanghnung 10 mikarichdntribabdphawasmxngesuxmodyichwithikhlaykbkarbrihar PTSD aetwa caennkarhadntrithicudchnwnkhwamcahruxkhwamrusukthidi aethnthicacudchnwnxarmnechinglb 9 hlngcakthikhnikhfngdntri caehnxarmnaelalksnathipidicaelaehinhang epliynepndiic epidic aelamikhwamsukh mihlkthanaebbbxkela anecdotal makmaythiaesdngprasiththiphlkhxngdntriineruxngni yktwxyangechn imwacaepn PTSD hruxphawasmxngesuxm thakhnikhmikhnrkthiesiychiwitip ekhakxaccasmphnthephlngbangephlngkbkhn nn aelakaridyinesiyngephlngkxacthaihralukthungkhwamsukhhruxkhwamesrathiluksung nxkcaknnaelw thamikhwamsmphnthbangxyang echnkbkhusmrs emuxepidephlngthiichinngansmrs kxacihekidptikiriyathangxarmnthirunaerng sungsamarthcudchnwnkhwamthrngcaaelakhwamekhriydthithaihthukkh aetephlngidephlnghnungcakkhwamthrngcannxaccacudchnwnxairkid phlkhxngdntritxkhnikhsmxngesuxmphbwachwyihkhnikhxxkcaklksnaehmuxnsngwnthathi aelathaihrxngephlngaelaekidkhwamsukh ethiybkbbukhlikthipidicaelaehinhangodythwip 11 khnikhxaccathungkbtaoknephraakhwamsukhthiidinkarfngephlngthiekhyidyininwyedk innganthdlxng hlngcakthikhnikhfngephlngthitnchxb kcamikarsmphasnsungkhnikhcaaesdngkhwamkratuxruxrn ephraawamikhwamsukhthiidfngephlng aelakcaphudwatnchxbephlngniaekhihnaelaphudthungkhwamthrngcathiephlngthaihnukthung 9 khwamekhriydaeladntriinwngkaraephthyaek karichdntriepnklyuththkarrbmuxsamarthprayuktichinwngkaraephthyidxikdwy yktwxyangechn khnikhthifngephlnginchwngkarphatdhruxinchwngfuntwphbwaradbkhwamdnklbipsupktiiderwkwakhnikhthiimfng nxkehnuxipcakkarrusukwasthankarnkhwbkhumidaelakhwamepnxyuthidi 12 ngansuksayngaesdngxikdwywa smachikkhrxbkhrwhruxphxaemkhxngkhnikhcaekhriydnxylngemuxfngephlngkhnathirx aelawitkkngwlnxylngeruxngphlkarphatd 13 karfngephlngkmipraoychndwyinkarrksaorkhmaernginedk 14 khux odyichinekhsehlaniodyepnethkhnikhlxkhwamsnicechnthithainkarbabdodyeln play therapy sungmunglxkhnikhihsniceruxngxunnxkcakkhwamrusukecbhruxekhriydemuxkalngrksa ihipinkickrrmthiephlidephlin odyepliynkhwamsnicthaihecbnxylng sungsamarthichiddwykbphusungxayuinsthanrksaphyabalhruxsthanthiduael khux karbabddwydntriinsthanthiehlanildkhwamkawrawaelakhwamkrawnkrawaykhxngphusungxayu 13 aetephraawa phlkarsuksaehlanihlaynganxasykhatxbcakkhnikhodymak cungmipyhawa dntrimiphlldradbkhwamekhriydcring ethair 15 karichdntriepnklyuththkarrbmuxidlxngichkbkhnikhmaernghlaykhrng aeladumixnakhtthidi echn ngansuksahnungthdlxngkbkhnikh 113 khnthikalngplukthayeslltnkaenid stem cell transplant odyaeykkhnikhxxkepn 2 klum klumhnungpraphnthenuxephlngekiywkbchiwitkhkhxngtnaelwsrangmiwsikwidioxkhxngtwexng aelaihklumxunfngkarxanhnngsux phlaesdngwa klummiwsikwidioxmithksakarrbmuxaelaptismphnththangsngkhmthidikwaodyepriybethiyb odyepliynkhwamsniccakkhwamecbaelakhwamekhriydthimakbkarrksa aelaihoxkasaesdngkhwamrusukkhxngtn 16 nganwicyxiknganhnungthimhawithyalynxrthaekhorilnaaesdngkarprbprungxyangnaaeplkicinkarrksaedkhyingkhnhnungthiekidmaphudimid nkbabdcamahaethxephuxrxngephlngkbethx ephraawannepnsingediywthiethxthaid aelakarrxngephlngthaihethxphudidxyangnaxscrry ephraakarrxngephlngaelakarphudkhlayknodythrrmchati aelachwysrangkarechuxmtxthangwngcrprasathinsmxng 17 inorngphyabalediywkn nkbabdcaipeyiymedk thukwnaelaelndntrikbedk odythngrxngephlngaelaichekhruxngdntri dntrithaihekidkhwamkhidsrangsrrkh chwyldkhwamekhriydthimakbkarrksa aelaihedksnicsingxunnxkcaksphaphaewdlxmkhxngekha nxkcaknnaelw klyuththkarrbmuxkhxngkhrxbkhrwaelaphuduaelksakhymaksahrbphuthimiorkhhnkhruxrayaerng ephraawa bukhkhlehlanitxngduaelkhnthitnrkodyhlk nxkcakcaekhriydephraaehnkhnthirkepnthukkhaelw nkbabdidchwysmachikkhrxbkhrwehlani odyrxngephlngaelaelnekhruxngdntri ephuxihsnicsingxunnxkcakeruxngekhriydemuxchwykhnthirkinkarbabdrksa aelaehmuxnkbthipraktinkhnikhexng karbabddwydntrichwyihkhnduaelsamarthrbmuxkbxarmnaelasthankarnekhriydinchiwitpracawnid 18 hlkthanthangsrirphaphaek ngansuksaxun sungtrwcsxbkartxbsnxngkhxngbukhkhltxkhwamekhriydinrupaebbthiekhmkhnkwa aesdngwa karichdntrisamarthbrrethaphlthangsrirphaphthibxykhrngsmphnthkbkhwamekhriyd echn ldkhwamdnolhithruxxtrahwic 12 1 wrrnkrrmodymaktrwcsxbkarichdntriepnklyuththrbmuxodyichekhruxngmuxwdechn kartrwckhluniffahwic EKG hruxekhruxngwdhwic ephuxaesdngkhwamsmphnthrahwangdntrikbphlthangsrirphaphthichdecnkwa 12 inngansuksaehlani phurwmkarthdlxngmkcaprasbkbtwkxkhwamekhriydaelwihfngdntri inkhnathinkwicywdkhwamepliynaeplngthangsrirphaph aelabangnganaesdngwa karichdntrithieyn hruxthichxb samarthldkhwamtungekhriydaelakhwamwitkkngwlinphuihy 19 sungekidbxykwaaelaehnchdkwainchwngklbkhunsuphawatharngdul aetmiprasiththiphlnxykwaemuxkalngephchiykbkhwamekhriyd 12 swnngansuksaxunkxihekidsthankarnekhriyd echnihwingbnsayphan inkhnathiihfngdntripraephthtang ngansuksaechnniaesdngwa xtrakarhayickhxngphurwmkarthdlxngsungkwaemuxfngephlngthierwkwa thaethiybkbimfnghruxfngephlngklxmprasath 20 nxkcakcaephimxtrakarhayicaelw karfngephlngyngmiphlthangsrirphaphxun xikdwy odyrwm aelw ngansuksaaesdngwa dntrimiprasiththiphlinkarldphlkhxngkhwamekhriydtxrangkaymnusy sungxacepliynxtrahwicetn xtrakarhayic hruxaemaetldkhwamrusukxxnepliy nixaccaehninephlngthimicnghwaaelaesiyngsungtathiimethakn echn esiyngtamiphlsngbrangbtxrangkay inkhnathiesiyngsungmkcaepntwkxkhwamekhriydtxrangkay 13 nxkcaknnaelw yngmikaresnxdwywa thakhnikhsamartheluxkephlngfnginchwngfunsphaph karklbepnpkticaerwkhunaelamiprasiththiphaphdikwa ethiybkbthamikarkahndpraephthdntrithitnimchxb 1 dngnn thaichwithikarekbhlkthanaebbprwisy echn EKG nkwicykcasamarthkacdkhabidebuxnbangxyangthismphnthkbwithikartrwcsxbthithamkhnikh aelaihkhashsmphnththichdecnkwarahwangkarichdntrikbphltxkartxbsnxngtxkhwamekhriyd 12 ethkhnikhodyechphaaaekmiethkhnikhechphaaxyanghnunginkarichdntriepnklyuthth sungkkhuxkareluxkfngpraephthdntrithismphnthkbradbkhwamekhriydthitakwa yktwxyangechn inpraethstawntk mikaresnxwakarfngdntrikhlassikhruxkareluxkephlngfngexngsamarthldradbkhwamekhriydinphuihy 1 swndntrithierw esiyngdng hruxthimxngolkinaengrayxacephimradbkhwamekhriyd aetwa khnhlaykhnkphbwa karrabayxarmncaephimkhunemuxfngdntrithierarxnechnni swndntriaexmebiyntsmphnthkbkhwamsngbaelakarthbthwnkhwamkhidkhwamrusukkhxngtnexng aelaemuxfngephlngthieluxkexng cathaihrusukwasamarthkhwbkhumehtukarnid sungxacepnkhwamrusukthibukhkhlnnimkhxymiinchwngnnkhxngchiwit dngnn karihkhwamrusukwakhwbkhumehtukarnid xacepnsingthimikhasahrbbukhkhlthikalngrbmuxkbkhwamekhriyd dwyaenwkhideyiyngni miethkhnikhodyechphaahlayxyangephuxldkhwamekhriydaelaphlekiywkbkhwamekhriyd rwmthng 7 fngdntrikhlassik fngdntrithieluxkephuxchwyihrusukwasamarthkhwbkhumchiwitid fngephlngthithaihnukthungkhwamthrngcathiepnsukh fngephlngthiimthaihnukthungkhwamthrngcathiesra fngephlngodyepnwithisrangkhwamphukphninklumsngkhm imfngephlngthidnghruxepiymipdwykhwamokrth echn ehfwiemthl ethkhnikhodyechphaaxikxyangthiichidkkhuxichepnekhruxngyxnewlainkhwamca dwywithini dntrichwyihhniipsukhwamcathidihruximdiaelwcudchnwnkartxbsnxngephuxrbmux mikaresnxwa dntrismphnthxyangiklchidkbkarprasbkhwamrusukinkhwamthrngcacakxditxik dngnn kareluxkdntrithirusukdixaccaepnwithikarldkhwamekhriydxyanghnung 7 ethkhnikhhnungthierimichmakkhunkkhuxkarbabddwyesiyngaebb vibroacoustic khux inchwngkarbabd khnikhcanxnladhlngbnthinxnsungmilaophngxyukhangin thisngkhlunesiyngkhwamthita sungkhlaykbnngbnlaophng subwoofer sungphbwamipraoychntxorkhpharkhinsn ifobrimxleciy aelaorkhsumesra aelakyngminganwicythithaxyuephuxtrwcduwa mipraoychntxkhnikhorkhxlisemxrkhnxxnhruxim 21 khxkhdaeyngaeknganwicythihahlkthanechingprasbkarnephuxaesdngshsmphnthrahwangkarfngdntrikbkarldkartxbsnxngtxkhwamekhriyd thukwicarnwamikhnadtwxyangnxyekinip 15 xikxyangkkhuxepnkarsuksathiimidepneruxngkartxbsnxngtxtwsrangkhwamekhriydxairxyangidxyanghnungodyechphaa odyxangwa ephraaimidkahndtwsrangkhwamekhriydodyechphaainnganmakmay cungyakthicakahndwa kartxbsnxngtxkhwamekhriydldlngephraaehtudntrihruxephraaehtuxun 22 swnkhxwicarnthangthvsdikhxngkarrbmuxechnnikkhuxmnepnklyuththrayasn aelaimsamarthmiphlkhngyuninrayayaw odyxangwa aemdntricamiprasiththiphlldkhwamrusukwaekhriydkhxngkhnikh aetxaccaimidthaxairtxehtucring khxngkartxbsnxngaebbekhriyd 23 ephraawaehtuthiepnmulkhxngkhwamekhriydimidaek aeladngnn kartxbsnxngaebbekhriydkxaccaklbkhunmahlngkarbabdidcblng phuthimiaenwkhidnisnbsnunihichklyuththrbmuxephngthipyha thicdkartwkxkhwamekhriydthimiphlodytrngsrupenuxkhwamaekkarichdntriepnklyuththrbmuxtxkhwamekhriydmihlkthanwamiphltxkartxbsnxngthangkhwamekhriydkhxngmnusy odyhlkthanaesdngwaldkhwamrusukwaekhriyd aelaldxakarpraktthangkaykhxngkhwamekhriydxun dwy echn xtrahwicetn khwamdnolhit aelaradbhxromnthiplxyemuxekhriyd duehmuxnwadntripraephthtang camiphltang txradbkhwamekhriyd odydntrikhlassikaelathieluxkexngcamiprasiththiphldithisud aetwa aemcamihlkthanechnni kyngminkwichakarepncanwnmakthitngkhxsngsytxprasiththiphlkhxngkarrbmuxdwyklyuththni thungxyangnn klyuththkyngxacepnthangeluxkxyanghnungsahrbkhnikhthitxngkarhakaraek brrethapyhathingayaelaimaephngephuxchwytxbsnxngtxkhwamekhriydduephimaekkarrbmux citwithya karldkhwamekhriydxingsti karcdkarkhwamekhriydechingxrrthaelaxangxingaek 1 0 1 1 1 2 1 3 Elise Labbe aelakhna 2007 Stress and Coping The Effectiveness of Different Types of Music Applied Psychophysiology and Feedback 32 3 163 168 Yehuda Nechama 2011 Music and Stress The Journal of Adult Development 18 85 94 doi 10 1007 s10804 010 9117 4 Sapolsky Robert M 1998 04 15 Freeman WH b k Why Zebras Don t Get Ulcers An Updated Guide To Stress Stress Related Diseases and Coping 2nd ed ISBN 978 0 7167 3210 5 Carver Charles S Connor Smith Jennifer 2010 Personality and Coping Annual Review of Psychology 61 679 704 doi 10 1146 annurev psych 093008 100352 PMID 19572784 Weiten W Lloyd M A 2008 Psychology Applied to Modern Life 9th ed Wadsworth Cengage Learning ISBN 0 495 55339 5 Alidina Shamash 2015 The Mindful Way Through Stress New York NY The Guilford Press ISBN 978 1 4625 0940 9 7 0 7 1 7 2 Hanser S B Thompson L W 1 November 1994 Effects of a Music Therapy Strategy on Depressed Older Adults Journal of Gerontology 49 6 P265 P269 doi 10 1093 geronj 49 6 p265 PMID 7963281 PTSD US Department of Veterans Affairs subkhnemux 2015 04 09 9 0 9 1 9 2 Research News Music Therapy Program Helps Relieve PTSD Symptoms Health Services Research amp Development U S Department of Veterans Affairs 2014 01 06 Music and Memories For Elders With Dementia Musical Awakenings NPR 2012 04 18 12 0 12 1 12 2 12 3 12 4 Allen K aelakhna 2001 Normalization of Hypertensive Responses During Ambulatory Surgical Stress by Perioperative Music Psychosomatic Medicine 63 3 487 492 doi 10 1097 00006842 200105000 00019 PMID 11382277 13 0 13 1 13 2 Kent Dawn Effect of Music on the Human Mind and Body subkhnemux 2016 04 10 Hanser Suzanne B Standley Jayne M 1995 Music Therapy Research and Applications in Pediatric Oncology Treatment The Journal of Pediatric Oncological Nursing 12 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 09 16 subkhnemux 2016 11 08 15 0 15 1 Thoma MV La Marca R Bronnimann R Finkel L Ehlert U aelakhna 2013 The Effect of Music on the Human Stress Response PLoS ONE 8 8 e70156 doi 10 1371 journal pone 0070156 Music plays a role in cancer coping skills study finds CTCA www cancercenter com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 04 24 subkhnemux 2016 04 21 The study showed that the patients who participated in the music therapy group possessed better coping skills and experienced improved social interactions compared to their audiobook listening counterparts Music therapy helps patients cope with illness regain health UNC School of Medicine UNC School of Medicine khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 04 12 subkhnemux 2016 04 21 Families Coping with Terminal Illness through Music trauma blog yorku ca subkhnemux 2016 04 21 Jiang Jun aelakhna 2013 The effects of sedative and stimulative music on stress reduction depend on music preference The Arts in Psychotherapy 40 2 201 205 doi 10 1016 j aip 2013 02 002 Brownley Kimberly aelakhna 1995 Effects of music on physiological and affective responses to graded treadmill exercise in trained and untrained runners International Journal of Psychophysiology 19 193 201 doi 10 1016 0167 8760 95 00007 f Music as medicine American Psychiatric Association subkhnemux 2016 04 19 Pelletier Cori L 2004 The Effect of Music on Decreasing Arousal Due to Stress A Meta Analysis Journal of Music Therapy 41 192 214 doi 10 1093 jmt 41 3 192 Iwanaga M Ikeda M Iwaki T 1 September 1996 The Effects of Repetitive Exposure to Music on Subjective and Physiological Responses Journal of Music Therapy 33 3 219 230 doi 10 1093 jmt 33 3 219 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karichdntriepnklyuththrbmux amp oldid 12025785