วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป (หรือเรียก วิกฤตยูโรโซน) เป็นวิกฤตหนี้นานหลายปีซึ่งกำลังเกิดขึ้นในรัฐสมาชิกยูโรโซนหลายรัฐนับแต่สิ้นปี 2552 รัฐเหล่านี้ (ประเทศกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน ไซปรัส) ไม่สามารถใช้หนี้หรือก่อหนี้ใหม่ชดใช้หนี้เก่า ซึ่งหนี้ภาครัฐของตนหรือให้เงินกู้ธนาคารชาติซึ่งมีหนี้พ้นตัว โดยปราศจากความช่วยเหลือของภาคีภายนอกอย่างกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ธนาคารกลางยุโรปหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีเฉพาะประเทศกรีซที่ผิดนัดชำระหนี้ของตนในปี 2558 หลังได้รับการลดหนี้ในปี 2555 และมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ตั้งแต่ปี 2553–2558
ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2552 ความกลัววิกฤตหนี้สาธารณะเริ่มมีขึ้นในหมู่นักลงทุน โดยเป็นผลมาจากระดับหนี้สินภาคเอกชนและภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ร่วมกับคลื่นการลดระดับหนี้สินภาครัฐในบางประเทศยุโรป สาเหตุของวิกฤตดังกล่าวแตกต่างกันไปตามประเทศ ในหลายประเทศ หนี้สินภาคเอกชนเกิดจากการโอนหนี้สินภาคเอกชนจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหนี้สาธารณะ โดยการให้เงินช่วยเหลือระบบการธนาคารและการสนองเพื่อชะลอเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกของรัฐบาล ในประเทศกรีซ ค่าจ้างภาครัฐและข้อผูกมัดบำนาญที่ไม่ยั่งยืนยิ่งทำให้หนี้สินสูงขึ้นอีก โครงสร้างของยูโรโซนที่เป็นสหภาพการเงิน (เงินสกุลเดียว) โดยปราศจากสหภาพการคลัง (กฎภาษีและบำนาญสาธารณะต่างกัน) มีส่วนให้เกิดวิกฤตการณ์ และทำให้ผู้นำยุโรปไม่สามารถสนองต่อปัญหาได้
สถานการณ์เริ่มตึงเครียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นปี พ.ศ. 2553 ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกยูโรโซน กรีซไอร์แลนด์ และโปรตุเกส และประเทศสหภาพยุโรปบางประเทศนอกพื้นที่ดังกล่าวด้วยไอซ์แลนด์ ประเทศซึ่งประสบวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดใน พ.ศ. 2551 เมื่อระบบการธนาคารระหว่างประเทศทั้งหมดล้มลง กลายเป็นว่าได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตหนี้สาธารณะ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ธนาคารได้ ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงจากเงินช่วยเหลือธนาคาร วิกฤตความเชื่อมั่นได้เกิดขึ้นด้วยการเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลขยายและมีการประกันความเสี่ยงสวอปการผิดนัดชำระหนี้ ระหว่างประเทศเหล่านี้กับสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ที่สำคัญที่สุดคือ เยอรมนี
ขณะที่การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะถูกประกาศมากที่สุดในประเทศยูโรโซนไม่กี่ประเทศ แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นที่รับรู้กันตลอดทั้งภูมิภาค ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มปรากฏสู่ผิวหน้า ความกังวลส่วนใหญ่อยู่ที่การก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้สาธารณะของกรีซ ชาวกรีกโดยทั่วไปปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด และแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการประท้วง ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์วิกฤตการณ์ถูกรัฐบาลกรีซควบคุมไว้ได้อีกครั้ง โดยรัฐบาลจัดการผ่านมาตรการรัดเข็มขัดใหม่ และผู้นำสหภาพยุโรปสัญญาจะให้เงินสนับสนุนแก่กรีซ
ความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลของรัฐบาลและระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ประกอบกับสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง ได้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในตลาดการเงิน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยุโรปได้อนุมัติเงินช่วยเหลือครอบคลุมมูลค่าราว 750,000 ล้านยูโร โดยมีเป้าหมายรองรับเสถียรภาพทางการเงินทั่วยุโรป โดยการตั้ง (European Financial Stability Facility)
ในปี พ.ศ. 2553 วิกฤตหนี้สินส่วนใหญ่มีศูนยฺกลางจากสถานการณ์ในกรีซ ที่ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มประเทศยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศตกลงที่จะให้กู้ยืมเงิน 110,000 ล้านยูโรแก่กรีซ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดในกรีซอย่างเข้มงวด นอกจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นยังได้มีการให้เงินช่วยเหลือมูลค่า 85,000 ล้านยูโรแก่ไอร์แลนด์ในเดือนพฤศจิกายน และ 78,000 ล้านยูโรแก่โปรตุเกสในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 วิกฤตครั้งนี้นับเป็นวิกฤตในยูโรโซนครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้นำยูโรโซนประชุมกันในกรุงบรัสเซลส์ตกลงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นมาตรการซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันการล้มของเศรษฐกิจประเทศสมาชิกเนื่องจากหนี้สาธารณะ รวมทั้งข้อเสนอให้ลดมูลค่าทางบัญชีของพันธบัตรกรีซลง 50% เพื่อลดหนี้สินของกรีซ 100,000 ล้านยูโร เพิ่มกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรปเป็น 1 ล้านล้านยูโร และกำหนดให้ธนาคารยุโรปเพิ่มทุน 9% จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้นำยูโรโซนชุดเดียวกับที่ขยายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยยูโรโซนได้ขยายคำขาดต่อกรีซ ทั้งประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซีแห่งฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลแห่งเยอรมนี แถลงต่อสาธารณะว่า รัฐบาลทั้งสองสุดทนกับเศรษฐกิจกรีซที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากแล้ว เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในยุโรป ผู้นำอียูจึงได้ตกลงสร้างสหภาพการเงินร่วม ซึ่งมีการผูกมัดให้ประเทศสมาชิกนำรัฐบัญญัติงบประมาณสมดุลมาใช้
ขณะที่หนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเฉพาะในประเทศยูโรโซนไม่กี่ประเทศ แต่ก็ได้มาเป็นปัญหาที่รับรู้ได้ทั้งยูโรโซน อย่างไรก็ดี สกุลเงินยุโรปยังเสถียรอยู่ จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ยูโรกระทั่งมีการซื้อขายกับคู่ค้ารายใหญ่ของกลุ่มสูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตการณ์เริ่มต้นเสียอีก สามประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กรีซ ไอร์แลนด์และโปรตุเกส รวมกันคิดเป็น 6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของยูโรโซน
สาเหตุ
วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปได้เป็นผลมาจากปัจจัยซับซ้อนหลายปัจจัยประกอบกัน รวมทั้งโลกาภิวัฒน์ของการเงิน ภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายระหว่างช่วง พ.ศ. 2545-2551 ซึ่งกระตุ้นการปฏิบัติให้กู้ยืมและกู้ยืมความเสี่ยงสูง การค้าระหว่างประเทศไม่สมดุล ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แตกนับแต่นั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าใน พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้น ทางเลือกนโยบายการเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายเพื่อสิทธิสูง และวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการธนาคารที่ประสบปัญหาและผู้ถือพันธบัตรเอกชน ภาระหนี้เอกชนที่แบกรับหรือการสูญเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม (socializing)
การบรรยายหนึ่งอธิบายสาเหตุของวิกฤตการณ์ว่า เริ่มต้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญของเงินออมซึ่งสามารถนำไปลงทุนได้ระหว่างช่วง พ.ศ. 2543-2550 เมื่อแหล่งตราสารหนี้ของโลกเพิ่มขึ้นจากอย่างน้อย 36 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐใน พ.ศ. 2543 เป็น 70 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐเมื่อถึง พ.ศ. 2550 "แหล่งเงินยักษ์" นี้เพิ่มขึ้นในฐานะเงินออมจากชาติกำลังพัฒนาอัตราเติบโตสูง ซึ่งเข้าสู่ตลาดทุนโลก นักลงทุนผู้มองหาผลตอบแทนที่สูงกว่าที่ให้โดยพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐจึงแสวงหาทางเลือกใหม่ทั่วโลก การล่อใจที่เสนอโดยเงินออมที่มีให้พร้อมเช่นนั้นชนะนโยบายและกลไกการควบคุมจำกัดในประเทศแล้วประเทศเล่า เมื่อนักลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกแสวงหาผลตอบแทน และได้เกิดฟองสบู่ฟองแล้วฟองเล่าทั่วโลก เมื่อฟองสบู่เหล่านี้แตกก็ได้ทำให้ราคาสินทรัพย์ (เช่น การเคหะและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์) ลดลง หนี้สินซึ่งยังติดค้างต่อนักลงทุนทั่วโลกยังอยู่ที่ราคาเต็ม จึงก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลและระบบการธนาคารของประเทศต่าง ๆ
การที่ประเทศยุโรปเข้ามาพัวพันกับวิกฤตการณ์การกู้ยืมและลงทุนเงินนั้นมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ธนาคารของไอร์แลนด์ให้กู้ยืมเงินแก่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และได้ก่อฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ขนาดมหึมา เมื่อฟองสบู่แตก รัฐบาลและผู้เสียภาษีของไอร์แลนด์จึงต้องแบกรับหนี้สินของเอกชน ในกรีซ รัฐบาลเพิ่มการผูกมัดกับข้ารัฐการในรูปของการจ่ายเงินเกินพอและผลประโยชน์บำนาญอย่างยิ่ง ระบบการธนาคารของไอซ์แลนด์เติบโตอย่างมาก ก่อให้เกิดหนี้สินต่อนักลงทุนทั่วโลก ("หนี้สินภายนอก") หลายเท่าของจีดีพี
การติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกหมายความว่า หากประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยง ระบบการธนาคารของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ขอกู้ชาวอิตาลีเป็นหนี้ธนาคารฝรั่งเศสถึง 366,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สุทธิ) หากอิตาลีไม่อาจจัดหาเงินทุนให้ได้ ระบบการธนาคารและเศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าวเรียกว่า "การแพร่ระบาดทางการเงิน" อีกปัจจัยหนึ่งของการติดต่อระหว่างกัน คือ มโนทัศน์การคุ้มครองหนี้ สถาบันซึ่งเข้าสู่สัญญาเรียกว่า สวอปการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งส่งผลให้ต้องจ่ายเงินหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นต่อตราสารหนี้โดยเจาะจง (รวมทั้งพันธบัตรที่รัฐบาลออก) แต่ ด้วยสามารถซื้อสวอปการผิดนัดชำระหนี้ได้หลายอันบนความปลอดภัยเดียวกัน จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเสี่ยงใดที่ระบบการธนาคารแต่ละประเทศจำต้องสวอปการผิดนัดชำระหนี้
นักการเมืองบางคน ที่โดดเด่นคือ อังเกลา แมร์เคิล ย้ำถือว่าความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์เป็นของเฮดจ์ฟันด์ และนักวิเคราะห์คนอื่นว่า "สถาบันที่จ่ายเงินช่วยเหลือด้วยพันธบัตรสาธารณะ กำลังแสวงหาประโยชน์จากวิกฤตการณ์งบประมาณในกรีซและที่อื่น" แม้สถาบันการเงินบางแห่งจะได้รับกำไรชัดเจนจากหนี้สาธารณะกรีซที่พอกพูนขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาวได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ดังกล่าว
ระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น
พ.ศ. 2535 สมาชิกสหภาพยุโรปลงนามสนธิสัญญามาสทริชท์ ซึ่งภายใต้สนธิสัญญานั้น ประเทศทั้งหลายสัญญาว่าจะจำกัดการใช้จ่ายแบบขาดดุลและระดับหนี้ อย่างไรก็ดี รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวนหนึ่ง รวมทั้งกรีซและอิตาลี สามารถหลีกเลี่ยงกฎเหล่านี้และพรางการขาดดุลและระดับหนี้ของตนได้ ผ่านการใช้โครงสร้างเงินตราอันซับซ้อนและความเสี่ยงด้านเครดิต โครงสร้างนี้ได้รับการออกแบบโดยธนาคารลงทุนสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียง ผู้ได้รับค่าตอบแทนมากมายสำหรับบริการ ส่วนธนาคารลงทุนเองนั้นมีความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพียงเล็กน้อย จากการคุ้มครองทางกฎหมายพิเศษสำหรับคู่สัญญาตราสารอนุพันธ์ (derivatives counterparty) การปฏิรูปการเงินภายในสหรัฐอเมริกานับแต่วิกฤตการณ์การเงิน เพียงแต่ช่วยเสริมการคุ้มครองพิเศษต่อตราสารอนุพันธ์ รวมทั้งการเข้าถึงการรับประกันของรัฐได้มากขึ้น ขณะที่ลดการเปิดเผยต่อตลาดการเงินที่กว้างกว่า
นักการเมืองสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์เพิกเฉยและรับรองกรีซว่ามีเศรษฐกิจปกติ แม้ในความเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์จะชี้ว่าสกุลเงินยูโรกำลังอยู่ในอันตราย นักลงทุนสันนิษฐานว่า พวกเขาให้กู้ยืมแก่รัฐบาลเยอรมนีที่เข้มแข็ง ขณะที่ซื้อพันธบัตรยูโรจากรัฐบาลกรีซที่อ่อนแอกว่าอย่างเป็นนัย ความเป็นอริทางประวัติศาสตร์ต่อตุรกีทำให้กรีซเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศจนสูง และเร่งให้เกิดการขาดดุลภาคสาธารณะ โดยได้รับเงินทุนจากธนาคารเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นหลัก
"นักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกทำให้กลัว" หลายคนได้ประณามความเชื่อที่ได้รับความนิยมในสื่อว่า ระดับหนี้ประเทศยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐเกินตัว ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของพวกเขา ระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะ การจ่ายเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ให้แก่ภาคการเงินรหว่างวิกฤตการณ์การเงินปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกช้าหลังจากนั้น การขาดดุลการเงินเฉลี่ยในพื้นที่ยูโรใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 0.6% ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 7% ระหว่างวิกฤตการณ์การเงิน ในช่วงเดียวกัน หนี้สาธารณะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 66% เป็น 84% ของจีดีพี ผู้แต่งหนังสือยังเน้นว่าการขาดดุลการเงินในพื้นที่ยูโรนั้น เสถียรหรือแม้กระทั่งหดลงนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน พอล ครุกแมน ว่า กรีซที่เป็นประเทศเดียวที่ขาดความรับผิดชอบทางการเงินเป็นหัวใจของวิกฤตการณ์
ไม่ว่าทางใด ระดับหนี้ที่สูงเพียงอย่างเดียวไม่อาจอธิบายวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ ตามข้อมูล ดิอีโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต ฐานะของพื้นที่ยูโรดู "ไม่เลวรายลงและในบางแง่มุม ค่อนข้างดีกว่าฐานะของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร" การขาดดุลงบประมาณสำหรับพื้นที่ยูโรทั้งหมด (ดูกราฟ) ต่ำกว่ามากและอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีของรัฐบาลพื้นที่ยุโรปที่ 86% ใน พ.ศ. 2553 เป็นระดับเดียวกับอัตราของสหรัฐอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น ความเป็นหนี้ของภาคเอกชนทั่วพื้นที่ยูโรต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจแองโกล-แซกซอน (ประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ) ที่พุ่งขึ้น
ความไม่สมดุลทางการค้า
นักวิจารณ์อย่างนักหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียลไทมส์ มาร์ติน วูลฟ์ ได้ประเมินว่ารากเหง้าของวิกฤตเติบโตมาจากความไม่สมดุลทางการค้า เขาสังเกตในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึง 2550 ว่า เยอรมนีมีหนี้สาธารณะและการขาดดุลการเงินเทียบกับจีดีพี ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับสมาชิกยูโรโซนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ในช่วงเดียวกัน ประเทศเหล่านี้ (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลีและสเปน) มีดุลการชำระเงินเลวกว่ามาก ขณะที่การค้าส่วนเกินของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็น % ต่อจีดีพีหลัง พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา แต่การขาดดุลของอิตาลี ฝรั่งเศสและสเปนล้วนเลวลง
ล่าสุด ฐานะการค้าของกรีซเริ่มดีขึ้น ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 การนำเข้าลดลง 12% ขณะที่การส่งออกเติบโต 15% (40% แก่ประเทศนอกกลุ่มอียูเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553)
ความไม่ยืดหยุ่นของนโยบายการเงิน
เพราะสมาชิกภาพของยูโรโซนสถาปนานโยบายการเงินเดียว รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจึงไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพัง ที่ขัดแย้งกัน สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าที่เศรษฐกิจนอกยูโรโซนที่เล็กกว่าเผชิญ เช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถ "พิมพ์เงิน" เพื่อจ่ายเจ้าหนี้และบรรเทาความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งทางเลือกดังกล่าวไม่อาจกระทำได้ในกรณีรัฐอย่างฝรั่งเศส โดย "การพิมพ์เงิน" หน่วยเงินของประเทศนั้นจะมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับคู่ค้า (ยูโรโซน) ทำให้การส่งออกถูกลง ซึ่งโดยหลักการแล้วทำให้ดุลการค้าดีขึ้น เพิ่มจีดีพีและมีรายได้จากภาษีอากรสูงขึ้นเมื่อวัดในรูปตัวเงิน ยิ่งไปกว่านั้น ในทางกลับกัน สินทรัพย์ที่ถือในสกุลเงินซึ่งได้ลดค่าลงทำให้ผู้ถือประสบความสูญเสีย ตัวอย่างเช่นเมื่อถึงปลาย พ.ศ. 2554 หลังอัตราการแลกเปลี่ยนตกลง 25% และเงินเฟ้อสูงขึ้น 5% นักลงทุนยูโรโซนในสเตอร์ลิง ซึ่งติดกับอัตราแลกเปลี่ยนยูโร ได้รับมูลค่าการจ่ายเงินหนี้นี้คืนลดลงประมาณ 30%
การสูญเสียความเชื่อมั่น
ก่อนหน้าการลุกลามของวิกฤตการณ์ ทั้งผู้วางระเบียบและธนาคารต่างสันนิษฐานว่า หนี้สาธารณะจากยูโรโซนนั้นปลอดภัย ธนาคารมีการถือครองพันธบัตรจากเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าอยู่มาก เช่น กรีซ ซึ่งเสนอค่าธรรมเนียมพิเศษเล็ก ๆ และดูเหมือนยังมีสภาพดีอยู่เท่า ๆ กัน
หากเมื่อวิกฤตการณ์ลุกลามขึ้น ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าพันธบัตรกรีซ และอาจรวมถึงพันธบัตรประเทศอื่นด้วย ให้ความเสี่ยงสูงกว่ามาก การรู้เห็นการขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของหนี้สาธารณะยุโรปเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของธนาคารที่มีรายได้มากจากการจัดจำหน่ายพันธบัตร การสูญเสียความเชื่อมั่นนั้นสังเกตได้จากราคาสวอปการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือด้านการเงินของประเทศ (ดูกราฟ)
ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนมีความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของผู้วางนโยบาย ที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว เพราะหลายประเทศซึ่งใช้เงินสกุลยูโรมีทางเลือกนโยบายการเงินน้อยกว่ามาก (เช่น ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถพิมพ์เงินในสกุลของตนเพื่อจ่ายผู้ถือหนี้ได้) ทางแก้บางอย่างต้องอาศัยความร่วมมือหลายประเทศ และธนาคารกลางยุโรปมีอาณัติควบคุมเงินเฟ้อแต่ไม่มีอาณัติการจ้างงาน ซึ่งขัดกับธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งมีอาณัติทั้งสอง ตามข้อมูลของ ดิอีโคโนมิสต์ วิกฤตการณ์นี้ "เป็นวิกฤติการเมืองมากพอ ๆ กับทางเศรษฐกิจ" และเป็นผลของข้อเท็จจริงที่ว่าพื้นที่ยูโรไม่ได้รับการสนับสนุนจากสินส่วนสถาบัน (และพันธบัตรลูกหนี้ร่วมคู่) ของรัฐ
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เอสแอนด์พีกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของประเทศระยะยาวแก่ 15 สมาชิกยูโรโซนไว้ที่ "เฝ้ามองความน่าเชื่อถือ" (CreditWatch) โดยแสดงเจตนาลดระดับ เอสแอนด์พีเขียนเช่นนี้เนื่องจาก "ความเครียดเกี่ยวกับระบบจากห้าปัจจัยที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) สภาวะการปล่อยสินเชื่อที่รัดกุมขึ้นทั่วยูโรโซน, 2) ส่วนชดเชยความเสี่ยง (risk premium) ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดต่อประเทศยูโรโซนจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งบางประเทศที่ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในระดับ "AAA", 3) ความไม่ลงรอยกันต่อเนื่องในหมู่ผู้วางนโยบายยุโรป ว่าจะรับมือกับวิกฤตความเชื่อมั่นของตลาดฉับพลันอย่างไร และ ในระยะยาว ว่าจะประกันการบรรจบกันทางเศรษฐกิจ การเงินและภาษีที่ดีกว่าในบรรดาสมาชิกยูโรโซนอย่างไร, 4) ระดับความเป็นนี้ภาครัฐและครัวเรือนที่สูงทัวพื้นที่ยูโรโซนอันกว้างใหญ่, และ 5) ความเสี่ยงการถดถอยทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในยูโรโซนโดยรวมใน พ.ศ. 2555 ขณะนี้ เราคาดหวังว่าปริมาณการผลิตจะลดลงปีหน้าในประเทศอย่างสเปน โปรตุเกสและกรีซ แต่ปัจจุบันเรากำหนดความเป็นไปได้ 40% ที่ปริมาณการผลิตจะลดลงในยูโรโซนทั้งหมด"
วิกฤตหนี้สินกรีซ
สาเหตุ
เศรษฐกิจกรีซเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในยูโรโซนตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึง 2550 ระหว่างช่วงนั้น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.2% ต่อปี โดยมีเงินลงทุนต่างประเทศท่วมประเทศ เศรษฐกิจอันแข็งแกร่งและผลตอบแทนพันธมิตรรัฐบาลที่ตกลง ทำให้รัฐบาลกรีซดำเนินขาดดุลทางโครงสร้างครั้งใหญ่ ตามบทบรรณาธิการตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์กรีซฝ่ายขวา Kathimerini การขาดดุลสาธารณะใหญ่ ๆ เป็นหนึ่งในลักษณะที่เป็นโครงสร้างทางสังคมของกรีซนับตั้งแต่สมัยฟื้นฟูประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2517 หลังโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารฝ่ายขวา รัฐบาลต้องการนำประชากรส่วนที่เอียงซ้ายและเคยถูกตัดสิทธิต่าง ๆ กลับเข้าสู่เศรษฐกิจกระแสหลัก และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกลาว รัฐบาลกรีซหลายชุดจึงดำเนินการขาดดุลครั้งใหญ่เพื่อจัดหาเงินทุนแก่อาชีพภาคเอกชน บำนาญและประโยชน์ทางสังคมอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 หนี้ต่อจีดีพีของกรีซอยู่เหนือระดับ 100%
เดิมการลดค่าเงินช่วยการกู้ยืม หลังการเริ่มใช้เงินสกุลยูโรในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เดิมกรีซสามารถกู้ยืมได้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำกว่าสามารถควบคุมได้ วิกฤตการณ์การเงินปลายยคริสต์ทศวรรษ 2000 ซึ่งเริ่มต้นใน พ.ศ. 2550 ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงโดยเฉพาะต่อกรีซ อุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดสองแห่งของประเทศ คือ การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางเรือ ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายโดยมีรายได้ลดลง 15% ใน พ.ศ. 2552
รัฐบาลกรีซได้รายงานสถิติทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของประเทศอย่างผิด ๆ มาอย่างต่อเนื่องและเจตนา เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านการเงินของยูโรโซน เมื่อถึงต้นปี พ.ศ. 2553 มีการค้นพบกว่ากรีซได้จ่ายเงินให้แก่โกลด์แมนแซกส์และธนาคารอื่น ๆ เป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐเป็นค่านายหน้าตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เพื่อจัดการธุรกรรมเพื่อปกปิดระดับการกู้ยืมที่แท้จริง จุดประสงค์ของการตกลงที่ทำโดยรัฐบาลกรีซหลายสมัยนี้เพื่อให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินได้เกินกว่ารายได้ ขณะที่ซ่อนตัวเลขหนี้สินที่แท้จริงจากผู้สังเกตการณ์ของสหภาพยุโรป
ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลจอร์จ ปาปันเดรอูได้ทบทวนหนี้สินของประเทศจากที่เคยประมาณไว้ที่ 6% เป็น 12.7% ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 หนี้สินภาครัฐของกรีซอยู่ที่ประมาณ 13.6% ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้สินภาครัฐสูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับจีดีพี หนี้สินภาครัฐของกรีซประมาณการอยู่ที่ 216,000 ล้านยูโรในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ตลาดพันธบัตรรัฐบาลกรีซนั้นน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ โดยมีบางรายงานเสนอแนะว่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซนั้นกว่า 70% ถือครองโดยบุคคลต่างด้าว
ต่อมา วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 เรดติงหนี้สินกรีซถูกลดลงเหลือระดับแรกของสถานะ "ขยะ" โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส ท่ามกลางความกลัวว่าจะเกิดการผิดชำระหนี้โดยรัฐบาลกรีซ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสองปีเพิ่มสูงขึ้นเป็นถึง 15.3% หลังจากการลดสถานะดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามถึงความสามารถของกรีซที่จะก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้ที่มีอยู่แล้ว สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สประเมินว่า ในเหตุการณ์ที่นักลงทุนที่ถูกผิดชำระหนี้นั้นจะสูญเสียเงินลงทุนของตนไปถึง 30-50% ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงหลังจากมีแถลงการณ์ดังกล่าว
หลังจากการลดระดับโดยฟิทช์ มูดีส์ และเอสแอนด์พี อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลกรีซเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ทั้งในลักษณะสมบูรณ์และเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน อัตราดอกเบี้ยได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีการลดระดับเรตติงลงอย่างต่อเนื่อง
มาตรการรัดเข็มขัดและข้อตกลงกู้ยืม
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 รัฐสภากรีซผ่านร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดรายจ่ายภาครัฐลงถึง 48,000 ล้านยูโรโดยการดำเนินมาตรการหลายอย่าง รวมทั้งการลดค่าจ้างภาคเอกชน เมื่อวันที่ 23 เมษายน รัฐบาลกรีซร้องขอให้มีการส่งเงินช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กรีซนั้นต้องการเงินก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม มิฉะนั้นแล้วหนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 11,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
วันที่ 2 พฤษภาคม ได้มีการบรรลุข้อตกลงกู้ยืมระหว่างกรีซ กลุ่มประเทศยูโรโซนอื่น และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ข้อตกลงประกอบด้วยเงินกู้ทันที 45,000 ล้านยูโรที่จะได้รับในปี พ.ศ. 2553 และเงินกู้อื่น ๆ จะได้รับในภายหลัง ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000 ล้านยูโรตามที่ได้ตกลงกันไว้ ดอกเบี้ยของการให้กู้ครั้งนี้เป็น 5% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงสำหรับเงินช่วยเหลือทางเศรษฐกิจใด ๆ รัฐบาลกรีซตกลงที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดรอบที่สี่และห้าในเวลาต่อมา มาตรการเหล่านี้ประกอบด้วย
- ภาคเอกชนจะต้องจำกัดโบนัสลงเหลือ 1,000 ยูโร ทุกสองปี และยกเลิกโบนัสสำหรับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 3,000 ยูโรต่อเดือน
- จำกัดการจ่ายเงินบำนาญจนถึงเดือนที่ 13 และ 14 เหลือ 800 ยูโรต่อเดือน ยกเลิกสำหรับผู้ได้รับเงินบำนาญเกินกว่า 2,500 ยูโรต่อเดือน
- การจ่ายคืนภาษีพิเศษตามเงินบำนาญที่ได้รับ
- มีการเตรียมแก้กฎหมายเกี่ยวกับการลาหยุดงานและการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา
- ตั้งภาษีพิเศษเพื่อเรียกเก็บผลกำไรของบริษัท
- เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 23%, 11% และ 5.5%
- เพิ่มภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย 10% และภาษีแอลกอฮอล์ ยาสูบและเชื้อเพลิง
- การปรับอายุเกษียณของชายและหญิงให้เท่ากัน
- การจัดตั้งกองทุนเสถียรภาพการเงิน
- อายุเกษียณเฉลี่ยของลูกจ้างในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 61 เป็น 65 ปี
- ลดจำนวนบริษัทของเอกชนลงจาก 6,000 เหลือ 2,000 แห่ง
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 การนัดหยุดงานทั่วไปทั่วประเทศมีขึ้นในกรุงเอเธนส์ เพื่อประท้วงต่อการลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มภาษี มีผู้เสียชีวิต 3 คน ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน และถูกจับกุม 107 คน
ความเสี่ยงการผิดชำระหนี้
เมื่อไม่ได้รับความตกลงให้เงินช่วยเหลือ จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซจะถูกบีบให้ผิดชำระหนี้ในหนี้บางส่วนของตน เบี้ยประกันของหนี้สินกรีซเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่แสดงให้เห็นว่า มีโอกาสสูงที่กรีซจะผิดชำระหนี้หรือต้องปรับโครงสร้างใหม่ นักวิเคราะห์ชี้ว่าโอกาสที่รัฐบาลกรีซจะผิดชำระหนี้หรือต้องปรับโครงสร้างใหม่นั้นอยู่ระหว่าง 25-90% การผิดชำระหนี้นั้นมีแนวโน้มสูงว่าจะเกิดขึ้นในรูปของการปรับโครงสร้าง โดยกรีซจะจ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้เฉพาะหนี้บางส่วนเท่านั้น อาจเพียง 50 หรือ 25% พฤติการณ์ดังกล่าวจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารเงินสกุลยูโรไม่มั่นคง ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากความมั่นคงของรัฐบาล
เนื่องจากกรีซเป็นสมาชิกยูโรโซน มัจึงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ฝ่ายเดียวด้วยนโยบายการเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาขยายงบดุลอีก 1.3 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกขึ้น ที่สำคัญคือการพิมพ์เงินเพิ่มและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยการซื้อหนี้ค้างชำระ
ผลกระทบโดยรวมจากความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซอาจผิดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปโดยรวมไม่มากนัก เศรษฐกิจกรีซคิดเป็น 2.5% ของเศรษฐกิจยูโรโซน ยิ่งความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซจะผิดชำระหนี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนสูญเสียความมั่นใจในประเทศยูโรโซนอื่นตามไปด้วย ความกังวลดังกล่าวมุ่งไปยังโปรตุเกสและไอร์แลนด์ ซึ่งทั้งสองประเทศมีหนี้สูงและประเด็นการขาดดุล อิตาลีเองก็มีหนี้สูง แต่สถานะงบประมาณแผ่นดินยังดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศยุโรปทั้งหมด และไม่ถูกพิจารณาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด ด้านสเปนมีหนี้ต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คิดเป็นเพียง 53% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2553 น้อยกว่าเยอรมนี ฝรั่งเศสหรือสหรัฐอเมริกาถึงมากกว่า 20% และน้อยกว่าอิตาลี ไอร์แลนด์ และกรีซถึงมากกว่า 60% ทั้งยังไม่เผชิญความเสี่ยงที่จะผิดชำระหนี้แต่อย่างใด สเปนและอิตาลีมีเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าและมีความสำคัญมากกว่ากรีซ ทั้งสองประเทศมีหนี้ส่วนใหญ่ควบคุมอยู่ภายในประเทศ และมีสถานะทางการเงินดีกว่ากรีซและโปรตุเกส ทำให้การผิดชำระหนี้มีแนวโน้มน้อยที่จะเกิดขึ้น นอกเสียจากว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงกว่านี้
การกระจายไปนอกกรีซ
หนึ่งในความกังวลที่เป็นศูนย์กลางก่อนหน้าจะมีการให้เงินช่วยเหลือนั้น คือว่าวิกฤตครั้งนี้อาจลุกลามออกไปนอกประเทศกรีซ วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจประเทศยุโรปอื่น ๆ ลดลงตามไปด้วย ไอร์แลนด์ ที่มีหนี้สาธารณะ 14.3% ของจีดีพี สหราชอาณาจักร ที่มีหนี้สาธารณะ 12.6% สเปน ที่มีหนี้สาธารณะ 11.2% และโปรตุเกส ที่มีหนี้สาธารณะ 9.4% เป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด
ในปี พ.ศ. 2553 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้พยากรณ์ว่าจะมีการเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลอีกถึง 16 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในประเทศสมาชิก 30 ประเทศ กรีซเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของประเทศอุตสาหกรรมที่ประสบกับความยุ่งยากในตลาดจากระดับหนี้ที่สูงขึ้น แม้กระทั่งประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ก็ได้เคยเจอกับช่วงเวลาที่มีปัญหาเมื่อนักลงทุนผละหนีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเงินสาธารณะและเศรษฐกิจ
อ้างอิง
- "Long-term interest rate statistics for EU Member States". ECB. 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- Wearden, Graeme (20 กันยายน 2011). "EU debt crisis: Italy hit with rating downgrade". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2011.
- Terry Gross (2011-10-04). "NPR-Michael Lewis-How the Financial Crisis Created a New Third World-October 2011". Npr.org. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- Koba, Mark (13 มิถุนายน 2012). "CNBC-Europe's Economic Crisis-What You Need to Know-Mark Thoma-June 13, 2012". Finance.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012.
- George Matlock (16 กุมภาพันธ์ 2010). . Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2010.
- "Acropolis now". The Economist. 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2011.
- Brian Blackstone; Tom Lauricella; Neil Shah (5 February 2010). "Global Markets Shudder: Doubts About U.S. Economy and a Debt Crunch in Europe Jolt Hopes for a Recovery". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 May 2010.
- Bruce Walker (9 เมษายน 2010). . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2010.
- . Financialmirror.com. 28 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- "Gilt yields rise amid UK debt concerns". Financial Times. 18 February 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
- "How the Euro Became Europe's Greatest Threat," Der Spiegel, 20 June 2011.
- "Greek debt crisis: eurozone ministers meet amid deepening gloom," The Guardian, 19 June 2011.
- "A long day in Greece," The Economist, 16 June 2011
- "Athens protests: Syntagma Square on frontline of European austerity protests," The Guardian, 19 June 2011.
- "EU leaders pledge to do what is needed to help Greece". BBC, 23 June 2011
- . The Daily Telegraph. London. 19 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
- "Fiscal Deficit and Unemployment Rate, FT". สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- "Timeline: Greece's economic crisis". Reuters. 3 February 2010. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
- "EU ministers offer 750bn-euro plan to support currency". BBC News. 10 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010.
- Gabi Thesing; Flavia Krause-Jackson (3 May 2010). "Greece Gets $146 Billion Rescue in EU, IMF Package". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 10 May 2010.
- Treanor, Jill; Elliott, Larry (24 November 2010). "Ireland to get €85bn loan in deal that will nationalise its banks". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
- Sarah Butler (11 April 2011). "Portugal prepares to meet EU and IMF to negotiate bail-out". The Daily Telegraph. UK. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
- Portugal's 78bn euro bail-out is formally approved BBC News Business, 16 May 2011, Retrieved 19 May 2011
- Forelle, Charles; David Gauthier-Villars; Marcus Walker (3 Nov 2011). "Europe Gives Greece an Ultimatum". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2 Nov 2011.
- Pidd, Helen (2011-12-02). "Angela Merkel vows to create 'fiscal union' across eurozone". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
- "European fiscal union: what the experts say". London: Guardian. 2011-12-02. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
- "How the Euro Became Europe's Greatest Threat". Der Spiegel. 20 June 2011.
- "RPT-UPDATE 1-Schaeuble says markets have confidence in euro". Reuters. 22 สิงหาคม 2011.
- Euro in US Dollar
- . Reuters. 15 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13. สืบค้นเมื่อ 2012-03-04.
- "The Euro's PIG-Headed Masters". . 3 มิถุนายน 2011.
- NYT Review of Books-Touring the Ruins of the Old Economy-September 2011
- Lewis, Michael (2011). Boomerang – Travels in the New Third World. Norton. ISBN .
- NPR-The Giant Pool of Money-May 2008
- NYT-It's All Connected-An Overview of the Euro Crisis-October 2011
- NYT-It's All Connected-A Spectators Guide to the Euro Crisis
- The Economist-No Big Bazooka-October 29, 2011
- "Merkel Slams Euro Speculation, Warns of 'Resentment' (Update 1)". BusinessWeek. 23 February 2010. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
- Laurence Knight (22 December 2010). "Europe's Eastern Periphery". BBC. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
- "PIIGS Definition". investopedia.com. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
- Bernd Riegert. "Europe's next bankruptcy candidates?". dw-world.com. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
- Nikolaos D. Philippas. (ภาษากรีก). skai.gr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 17 May 2011.
- Louise Story; Landon Thomas Jr.; Nelson D. Schwartz (14 February 2010). "Wall St. Helped to Mask Debt Fueling Europe's Crisis". New York Times. New York. pp. A1. สืบค้นเมื่อ 19 September 2011.
- Michael Simkovic, Secret Liens and the Financial Crisis of 2008, American Bankruptcy Law Journal, Vol. 83, p. 253, 2009
- Michael Simkovic, Bankruptcy Immunities, Transparency, and Capital Structure, Presentation at the World Bank, January 11, 2011
- Michael Simkovic, Paving the Way for the Next Financial Crisis, Banking & Financial Services Policy Report, Vol. 29, No. 3, 2010
- Manolopoulos, J. . London: Anthem Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
- . Atterres. 27 ตุลาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2011. (. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2012.)
- "Eurozone Problems". New York Times. 30 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012.
- "State of the Union: Can the euro zone survive its debt crisis? (p.4)" (PDF). . 1 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2011.
- (6 ธันวาคม 2011). "Merkozy failed to save the eurozone". . สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2011.
- (PDF). www.statistics.gr. . 9 ธันวาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2011.
- Project Syndicate-Martin Feldstein-The French Don't Get It-December 2011
- Inman, Phillip (2012-01-03). "If surpluses cause as many problems as debts, maybe we need to tax creditors". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 2012-01-03.
- Liz Alderman; Susanne Craig (November 10, 2011). "Europe's Banks Turned to Safe Bonds and Found Illusion". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- "Greece: Foreign Capital Inflows Up « Embassy of Greece in Poland Press & Communication Office". Greeceinfo.wordpress.com. 17 September 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- Floudas, Demetrius A (March 2010). "The Greek Financial Crisis 2010: Chimerae and Pandaemonium". Hughes Hall Seminar Series: University of Cambridge.
- "Back down to earth with a bang" (ภาษาอังกฤษ). . 3 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010.
- Tristan Berteloot; Donald Hebert (29 April 2010). "Onze questions-réponses sur la crise grecque – Économie – L'Obs" (ภาษาฝรั่งเศส). NouvelObs.com. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
- Aoife White (12 มกราคม 2010). . Brussels: . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 – โดยทาง .
- "Rehn: No other state will need a bail-out – EU Observer". สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- "Greece Paid Goldman $300 Million To Help It Hide Its Ballooning Debts – Business Insider". สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- Story, Louise; Thomas Jr, Landon; Schwartz, Nelson D. (14 February 2010). "Wall St. Helped to Mask Debt Fueling Europe's Crisis". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- "Greece's sovereign-debt crunch: A very European crisis". The Economist. 4 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010.
- "Greek Deficit Revised to 13.6%; Moody's Cuts Rating (Update2) – Bloomberg.com". สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- . The Daily Telegraph. London. 19 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- "Greek Debt Concerns Dominate – Who Will Be Next? – Seeking Alpha". สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- "Greece's sovereign-debt crisis: Still in a spin". The Economist. 15 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010.
- Ewing, Jack (27 April 2010). "Cuts to Debt Rating Stir Anxiety in Europe". The New York Times.
- "BBC News – Greek credit status downgraded to 'junk'". 27 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- "Markets hit by Greece junk rating". BBC News. 27 April 2010.
- "Timeline: Greece's economic crisis". Reuters. 3 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- "ECB: Long-term interest rates". สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- Ingrid Melander (5 March 2010). "Greek parliament passes austerity bill". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- . Irish Times. 23 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-03. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- "Greek minister says IMF debt talks are 'going well'". BBC. 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- Christos Ziotis; Natalie Weeks (20 April 2010). "Greek Bailout Talks Could Take Three Weeks; Bond Payment Looms". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- Steven Erlanger (24 March 2010). "Europe Looks at the I.M.F. With Unease as Greece Struggles". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- Gabi Thesing; Flavia Krause-Jackson (3 May 2010). "Greece Gets $146 Billion Rescue in EU, IMF Package". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- Kerin Hope (2 May 2010). "EU puts positive spin on Greek rescue". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 6 May 2010.
- [Fourth raft of new measures] (ภาษากรีก). In.gr. 2 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- Friedman, Thomas L. (14 May 2010). "Greece's newest odyssey". San Diego, California: San Diego Union-Tribune. pp. B6.
- Dan Bilefsky; Judy Dempsey (5 May 2010). "Three Reported Killed in Greek Protests". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- "'De-facto' Greek default 80% sure: Global Insight – MarketWatch". MarketWatch. 28 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- . CNBC. 1 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
- "Greece Turning Viral Sparks Search for EU Solutions (Update2) – Bloomberg.com". Bloomberg. 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- . Blogs.reuters.com. 27 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- Frierson, Burton (14 January 2010). "Fed's balance sheet liabilities hit record". Reuters.
- "UPDATE: Greek, Spain, Portugal Debt Insurance Costs Fall Sharply – WSJ.com". The Wall Street Journal. 29 April 2010. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
- "BBC News – Q&A: Greece's economic woes". BBC. 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- "Italy Not Among Most at Risk in Crisis, Moody's Says (Update1)". Bloomberg. 7 May 2010. สืบค้นเมื่อ 10 May 2010.
- "Finfacts Ireland Missing Page". Finfacts.ie. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
- Murado, Miguel-Anxo (1 May 2010). "Repeat with us: Spain is not Greece". The Guardian. London.
- "Daniel Gros: The Euro Can Survive a Greek Default – WSJ.com". The Wall Street Journal. 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- Abigail Moses (26 April 2010). "Greek Contagion Concern Spurs Sovereign Default Risk to Record". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 30 April 2010.
- O'Grady, Sean; Lichfield, John (7 May 2010), "'Very real' threat that Greek contagion could spread to Britain", The Independent, London
- Duncan, Hugo (8 February 2010), , London Evening Standard, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06, สืบค้นเมื่อ 2011-05-23
- "/ Reports – Sovereigns: Debt levels raise fears of further downgrades". Financial Times. 24 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Google – public data: Government Debt in Europe
- Diagram of Interlocking Debt Positions of European Countries New York Times 1 พฤษภาคม 2010
- Interactive Map of the Debt Crisis Economist Magazine, 9 กุมภาพันธ์ 2011
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
wikvthnisatharnayuorp hruxeriyk wikvtyuorosn epnwikvthninanhlaypisungkalngekidkhuninrthsmachikyuorosnhlayrthnbaetsinpi 2552 rthehlani praethskris oprtueks ixraelnd sepn isprs imsamarthichhnihruxkxhniihmchdichhnieka sunghniphakhrthkhxngtnhruxihenginkuthnakharchatisungmihniphntw odyprascakkhwamchwyehluxkhxngphakhiphaynxkxyangkxngthunrksaesthiyrphaphkarenginyuorp EFSF thnakharklangyuorphruxkxngthunkarenginrahwangpraeths miechphaapraethskristhiphidndcharahnikhxngtninpi 2558 hlngidrbkarldhniinpi 2555 aelamatrkarchwyehluxxun tngaetpi 2553 2558xtradxkebiyrayayawkhxngthukpraethsyuorosn ykewnexsoteniy phltxbaethntladrxngkhxngphnthbtrrthbalsungmikhrbkahnpidthungsibpi phltxbaethn 6 hruxsungkwachiwatladenginnnmikhwamsngsycringcngekiywkbkhwammikhunkhakhxngekhrdit tngaetplay ph s 2552 khwamklwwikvthnisatharnaerimmikhuninhmunklngthun odyepnphlmacakradbhnisinphakhexkchnaelaphakhrththiephimkhunthwolk rwmkbkhlunkarldradbhnisinphakhrthinbangpraethsyuorp saehtukhxngwikvtdngklawaetktangkniptampraeths inhlaypraeths hnisinphakhexkchnekidcakkaroxnhnisinphakhexkchncakfxngsbuxsngharimthrphyipepnhnisatharna odykarihenginchwyehluxrabbkarthnakharaelakarsnxngephuxchalxesrsthkichlngfxngsbuaetkkhxngrthbal inpraethskris khacangphakhrthaelakhxphukmdbanaythiimyngyunyingthaihhnisinsungkhunxik okhrngsrangkhxngyuorosnthiepnshphaphkarengin enginskulediyw odyprascakshphaphkarkhlng kdphasiaelabanaysatharnatangkn miswnihekidwikvtkarn aelathaihphunayuorpimsamarthsnxngtxpyhaid sthankarnerimtungekhriydodyechphaaxyangyingintnpi ph s 2553 sungrwmipthungsmachikyuorosn krisixraelnd aelaoprtueks aelapraethsshphaphyuorpbangpraethsnxkphunthidngklawdwyixsaelnd praethssungprasbwikvtkarnkhrngihythisudin ph s 2551 emuxrabbkarthnakharrahwangpraethsthnghmdlmlng klayepnwaidrbphlkrathbnxycakwikvthnisatharna enuxngcakrthbalimsamarthcayenginchwyehluxaekthnakharid inshphaphyuorp odyechphaaxyangyingpraethsthihnisatharnaephimkhunxyangrunaerngcakenginchwyehluxthnakhar wikvtkhwamechuxmnidekidkhundwykarephimphltxbaethnphnthbtrrthbalkhyayaelamikarpraknkhwamesiyngswxpkarphidndcharahni rahwangpraethsehlanikbsmachikshphaphyuorpxun thisakhythisudkhux eyxrmni khnathikarephimkhunkhxnghnisatharnathukprakasmakthisudinpraethsyuorosnimkipraeths aetpyhadngklawkepnthirbrukntlxdthngphumiphakh ineduxnphvsphakhm ph s 2554 wikvtkarndngklawerimpraktsuphiwhna khwamkngwlswnihyxyuthikarkxhniihmephuxchdichhnisatharnakhxngkris chawkrikodythwipptiesthmatrkarrdekhmkhd aelaaesdngkhwamimphxicxxkmadwykarprathwng playeduxnmithunayn ph s 2554 sthankarnwikvtkarnthukrthbalkriskhwbkhumiwidxikkhrng odyrthbalcdkarphanmatrkarrdekhmkhdihm aelaphunashphaphyuorpsyyacaihenginsnbsnunaekkris khwamkngwlekiywkbkarkhaddulkhxngrthbalaelaradbhnithiephimsungkhunthwolk prakxbkbsthankarnhnisatharnayuorpthielwraylngxyangtxenuxng idthaihekidkhwamtuntrahnkintladkarengin emuxwnthi 9 phvsphakhm ph s 2553 rthmntrikrathrwngkarkhlngyuorpidxnumtienginchwyehluxkhrxbkhlummulkharaw 750 000 lanyuor odymiepahmayrxngrbesthiyrphaphthangkarenginthwyuorp odykartng European Financial Stability Facility inpi ph s 2553 wikvthnisinswnihymisuny klangcaksthankarninkris thisungmikhwamkngwlekiywkbhnisatharnathiephimsungkhun wnthi 2 phvsphakhm ph s 2553 klumpraethsyuorosnaelakxngthunkarenginrahwangpraethstklngthicaihkuyumengin 110 000 lanyuoraekkris odymienguxnikhwacatxngdaeninmatrkarrdekhmkhdinkrisxyangekhmngwd nxkcakkarihkhwamchwyehluxthangkarenginaekkrisdngklawaelw hlngcaknnyngidmikarihenginchwyehluxmulkha 85 000 lanyuoraekixraelndineduxnphvscikayn aela 78 000 lanyuoraekoprtueksineduxnphvsphakhm ph s 2554 wikvtkhrngninbepnwikvtinyuorosnkhrngaerknbtngaetkxtngkhunemux ph s 2542 ineduxntulakhm ph s 2554 phunayuorosnprachumkninkrungbrseslstklngaephnkratunesrsthkic epnmatrkarsungxxkaebbmaephuxpxngknkarlmkhxngesrsthkicpraethssmachikenuxngcakhnisatharna rwmthngkhxesnxihldmulkhathangbychikhxngphnthbtrkrislng 50 ephuxldhnisinkhxngkris 100 000 lanyuor ephimkxngthunrksaesthiyrphaphkarenginyuorpepn 1 lanlanyuor aelakahndihthnakharyuorpephimthun 9 cnthungeduxnphvscikayn ph s 2554 phunayuorosnchudediywkbthikhyayaephnkratunesrsthkicephuxchwyyuorosnidkhyaykhakhadtxkris thngprathanathibdinikxla sarkxsiaehngfrngess aelanaykrthmntrixngekla aemrekhilaehngeyxrmni aethlngtxsatharnawa rthbalthngsxngsudthnkbesrsthkickristhietmipdwykhwamyungyakaelw ephuxfunfukhwamechuxmninyuorp phunaxiyucungidtklngsrangshphaphkarenginrwm sungmikarphukmdihpraethssmachiknarthbyytingbpramansmdulmaich khnathihnisatharnaidephimkhunxyangmakechphaainpraethsyuorosnimkipraeths aetkidmaepnpyhathirbruidthngyuorosn xyangirkdi skulenginyuorpyngesthiyrxyu cnthungklangeduxnphvscikayn ph s 2554 yuorkrathngmikarsuxkhaykbkhukharayihykhxngklumsungkwaelknxyemuxethiybkbchwngwikvtkarnerimtnesiyxik sampraethsthiidrbphlkrathbmakthisud kris ixraelndaelaoprtueks rwmknkhidepn 6 khxngphlitphnthmwlrwmphayinpraethskhxngyuorosnsaehtuhnisatharnainhnwydxllarshrthaelarxylatxcidiphi ph s 2553 khxngbangpraethsyuorp wikvthnisatharnayuorpidepnphlmacakpccysbsxnhlaypccyprakxbkn rwmthngolkaphiwthnkhxngkarengin phawakarplxysinechuxthingayrahwangchwng ph s 2545 2551 sungkratunkarptibtiihkuyumaelakuyumkhwamesiyngsung karkharahwangpraethsimsmdul fxngsbuxsngharimthrphysungidaetknbaetnn karetibotthangesrsthkicthichain ph s 2551 aelahlngcaknn thangeluxknoybaykarenginsungekiywkhxngkbrayidaelaraycaykhxngrthbal odyechphaaxyangyingkarichcayephuxsiththisung aelawithikarthipraethstang ichephuxihenginchwyehluxaekxutsahkrrmkarthnakharthiprasbpyhaaelaphuthuxphnthbtrexkchn pharahniexkchnthiaebkrbhruxkarsuyesiykhwamepnxnhnungxnediywkninsngkhm socializing karbrryayhnungxthibaysaehtukhxngwikvtkarnwa erimtncakkarephimkhunxyangsakhykhxngenginxxmsungsamarthnaiplngthunidrahwangchwng ph s 2543 2550 emuxaehlngtrasarhnikhxngolkephimkhuncakxyangnxy 36 lanlandxllarshrthin ph s 2543 epn 70 lanlandxllarshrthemuxthung ph s 2550 aehlngenginyks niephimkhuninthanaenginxxmcakchatikalngphthnaxtraetibotsung sungekhasutladthunolk nklngthunphumxnghaphltxbaethnthisungkwathiihodyphnthbtrkrathrwngkarkhlngshrthcungaeswnghathangeluxkihmthwolk karlxicthiesnxodyenginxxmthimiihphrxmechnnnchnanoybayaelaklikkarkhwbkhumcakdinpraethsaelwpraethsela emuxnklngthuntrasarhnithwolkaeswnghaphltxbaethn aelaidekidfxngsbufxngaelwfxngelathwolk emuxfxngsbuehlaniaetkkidthaihrakhasinthrphy echn karekhhaaelaxsngharimthrphyechingphanichy ldlng hnisinsungyngtidkhangtxnklngthunthwolkyngxyuthirakhaetm cungkxihekidkhathamekiywkbkhwamsamarthinkarcharahnikhxngrthbalaelarabbkarthnakharkhxngpraethstang karthipraethsyuorpekhamaphwphnkbwikvtkarnkarkuyumaelalngthunenginnnmihlaywithiaetktangknip twxyangechn thnakharkhxngixraelndihkuyumenginaekphuphthnaxsngharimthrphy aelaidkxfxngsbuxsngharimthrphykhnadmhuma emuxfxngsbuaetk rthbalaelaphuesiyphasikhxngixraelndcungtxngaebkrbhnisinkhxngexkchn inkris rthbalephimkarphukmdkbkharthkarinrupkhxngkarcayenginekinphxaelaphlpraoychnbanayxyangying rabbkarthnakharkhxngixsaelndetibotxyangmak kxihekidhnisintxnklngthunthwolk hnisinphaynxk hlayethakhxngcidiphi kartidtxrahwangkninrabbkarenginolkhmaykhwamwa hakpraethshnungphidndcharahnisatharnahruxekhasuphawaesrsthkicthdthxy yxmthaihhniexkchnphaynxkbangswnxyuinkhwamesiyng rabbkarthnakharkhxngpraethsecahnikephchiykhwamsuyesiy twxyangechn ineduxntulakhm ph s 2554 phukhxkuchawxitaliepnhnithnakharfrngessthung 366 000 landxllarshrth suththi hakxitaliimxaccdhaenginthunihid rabbkarthnakharaelaesrsthkicfrngessxactkxyuphayitaerngkddnxyangmak sungcamiphlkrathbtxecahnifrngess epntn sungkrnidngklaweriykwa karaephrrabadthangkarengin xikpccyhnungkhxngkartidtxrahwangkn khux monthsnkarkhumkhrxnghni sthabnsungekhasusyyaeriykwa swxpkarphidndcharahni CDS sungsngphlihtxngcayenginhakekidkarphidndcharahnikhuntxtrasarhniodyecaacng rwmthngphnthbtrthirthbalxxk aet dwysamarthsuxswxpkarphidndcharahniidhlayxnbnkhwamplxdphyediywkn cungimepnthiaenchdwakhwamesiyngidthirabbkarthnakharaetlapraethscatxngswxpkarphidndcharahni nkkaremuxngbangkhn thioddednkhux xngekla aemrekhil yathuxwakhwamrbphidchxbtxwikvtkarnepnkhxngehdcfnd aelankwiekhraahkhnxunwa sthabnthicayenginchwyehluxdwyphnthbtrsatharna kalngaeswnghapraoychncakwikvtkarnngbpramaninkrisaelathixun aemsthabnkarenginbangaehngcaidrbkairchdecncakhnisatharnakristhiphxkphunkhuninrayasn aetinrayayawidnaipsuwikvtkarndngklaw radbhnisatharnathisungkhun hnisatharnakhxngyuorosn eyxrmniaelapraethsthiidrbphlkrathbethiybkbcidiphikhxngklumkarkhaddulngbpramanphakhrthkhxngyuorosnethiybkbshrthxemrikaaelashrachxanackr ph s 2535 smachikshphaphyuorplngnamsnthisyyamasthrichth sungphayitsnthisyyann praethsthnghlaysyyawacacakdkarichcayaebbkhaddulaelaradbhni xyangirkdi rthsmachikshphaphyuorpcanwnhnung rwmthngkrisaelaxitali samarthhlikeliyngkdehlaniaelaphrangkarkhaddulaelaradbhnikhxngtnid phankarichokhrngsrangengintraxnsbsxnaelakhwamesiyngdanekhrdit okhrngsrangniidrbkarxxkaebbodythnakharlngthunshrthxemrikathimichuxesiyng phuidrbkhatxbaethnmakmaysahrbbrikar swnthnakharlngthunexngnnmikhwamesiyngdansinechuxephiyngelknxy cakkarkhumkhrxngthangkdhmayphiesssahrbkhusyyatrasarxnuphnth derivatives counterparty karptirupkarenginphayinshrthxemrikanbaetwikvtkarnkarengin ephiyngaetchwyesrimkarkhumkhrxngphiesstxtrasarxnuphnth rwmthngkarekhathungkarrbpraknkhxngrthidmakkhun khnathildkarepidephytxtladkarenginthikwangkwa nkkaremuxngshphaphyuorpinbrseslsephikechyaelarbrxngkriswamiesrsthkicpkti aeminkhwamepncringthangesrsthsastrcachiwaskulenginyuorkalngxyuinxntray nklngthunsnnisthanwa phwkekhaihkuyumaekrthbaleyxrmnithiekhmaekhng khnathisuxphnthbtryuorcakrthbalkristhixxnaexkwaxyangepnny khwamepnxrithangprawtisastrtxturkithaihkrisephimngbpramandankarpxngknpraethscnsung aelaerngihekidkarkhaddulphakhsatharna odyidrbenginthuncakthnakhareyxrmniaelafrngessepnhlk hnisatharnaepn txcidiphi ph s 2553 nkesrsthsastrthithukthaihklw hlaykhnidpranamkhwamechuxthiidrbkhwamniyminsuxwa radbhnipraethsyuorpthiephimsungkhunekidkhuncakkarichcayphakhrthekintw tamkhxmulkarwiekhraahkhxngphwkekha radbhnithiephimkhunepnephraa karcayenginchwyehluxkxnihyihaekphakhkarenginrhwangwikvtkarnkarenginplaykhristthswrrs 2000 aelakaretibotthangesrsthkicthwolkchahlngcaknn karkhaddulkarenginechliyinphunthiyuorin ph s 2550 xyuthi 0 6 kxnthicaephimepn 7 rahwangwikvtkarnkarengin inchwngediywkn hnisatharnaechliyephimkhuncak 66 epn 84 khxngcidiphi phuaetnghnngsuxyngennwakarkhaddulkarengininphunthiyuornn esthiyrhruxaemkrathnghdlngnbaettnkhristthswrrs 1990 nkesrsthsastrchawxemrikn phxl khrukaemn wa kristhiepnpraethsediywthikhadkhwamrbphidchxbthangkarenginepnhwickhxngwikvtkarn imwathangid radbhnithisungephiyngxyangediywimxacxthibaywikvtkarndngklawid tamkhxmul dixiokhonmisthxinethlliecnsyunit thanakhxngphunthiyuordu imelwraylngaelainbangaengmum khxnkhangdikwathanakhxngshrthxemrikahruxshrachxanackr karkhaddulngbpramansahrbphunthiyuorthnghmd dukraf takwamakaelaxtraswnhnitxcidiphikhxngrthbalphunthiyuorpthi 86 in ph s 2553 epnradbediywkbxtrakhxngshrthxemrika yingipkwann khwamepnhnikhxngphakhexkchnthwphunthiyuortakwamakemuxethiybkbesrsthkicaexngokl aesksxn praethsthiphudphasaxngkvs thiphungkhun khwamimsmdulthangkarkha dulbychiedinsaphdethiybkbcidiphi ph s 2553 nkwicarnxyangnkhnngsuxphimph ifaennechiylithms martin wulf idpraeminwarakehngakhxngwikvtetibotmacakkhwamimsmdulthangkarkha ekhasngektinchwngkxnwikvtkarn tngaet ph s 2542 thung 2550 wa eyxrmnimihnisatharnaaelakarkhaddulkarenginethiybkbcidiphi dikwamakemuxethiybkbsmachikyuorosnthiidrbphlkrathbhnkthisud inchwngediywkn praethsehlani oprtueks ixraelnd xitaliaelasepn midulkarcharaenginelwkwamak khnathikarkhaswnekinkhxngeyxrmniephimkhunepn txcidiphihlng ph s 2542 epntnma aetkarkhaddulkhxngxitali frngessaelasepnlwnelwlng lasud thanakarkhakhxngkriserimdikhun inchwngeduxnphvscikayn ph s 2553 thungeduxntulakhm ph s 2554 karnaekhaldlng 12 khnathikarsngxxketibot 15 40 aekpraethsnxkklumxiyuemuxethiybkbeduxntulakhm ph s 2553 khwamimyudhyunkhxngnoybaykarengin ephraasmachikphaphkhxngyuorosnsthapnanoybaykarenginediyw rthsmachikaetlarthcungimxacdaeninkaridodylaphng thikhdaeyngkn sthankarnnikxihekidkhwamesiyngphidndcharahnisungkwathiesrsthkicnxkyuorosnthielkkwaephchiy echn shrachxanackr sungsamarth phimphengin ephuxcayecahniaelabrrethakhwamesiyngkarphidndcharahni sungthangeluxkdngklawimxackrathaidinkrnirthxyangfrngess ody karphimphengin hnwyenginkhxngpraethsnncamikhaldlngemuxethiybkbkhukha yuorosn thaihkarsngxxkthuklng sungodyhlkkaraelwthaihdulkarkhadikhun ephimcidiphiaelamirayidcakphasixakrsungkhunemuxwdinruptwengin yingipkwann inthangklbkn sinthrphythithuxinskulenginsungidldkhalngthaihphuthuxprasbkhwamsuyesiy twxyangechnemuxthungplay ph s 2554 hlngxtrakaraelkepliyntklng 25 aelaenginefxsungkhun 5 nklngthunyuorosninsetxrling sungtidkbxtraaelkepliynyuor idrbmulkhakarcayenginhninikhunldlngpraman 30 karsuyesiykhwamechuxmn rakhaswxpkarphidndcharahnikhxngbangpraethsyuorptngaeteduxnmithunayn ph s 2553 thungknyayn ph s 2554 aekntngepnxtrahmunla basis point sungradb 1 000 hmaythung txngichengin 1 landxllarshrth khumkhrxnghni 10 landxllarshrthepnewlahapi kxnhnakarluklamkhxngwikvtkarn thngphuwangraebiybaelathnakhartangsnnisthanwa hnisatharnacakyuorosnnnplxdphy thnakharmikarthuxkhrxngphnthbtrcakesrsthkicxxnaexkwaxyumak echn kris sungesnxkhathrrmeniymphiesselk aeladuehmuxnyngmisphaphdixyuetha kn hakemuxwikvtkarnluklamkhun kepnthiprackswaphnthbtrkris aelaxacrwmthungphnthbtrpraethsxundwy ihkhwamesiyngsungkwamak karruehnkarkhadaekhlnkhxmulekiywkbkhwamesiyngkhxnghnisatharnayuorpepnphlpraoychnthbsxnkhxngthnakharthimirayidmakcakkarcdcahnayphnthbtr karsuyesiykhwamechuxmnnnsngektidcakrakhaswxpkarphidndcharahnithisungkhun sungchiihehnthungkhwamkhadhwngkhxngtladekiywkbkhwamnaechuxthuxdankarenginkhxngpraeths dukraf yingipkwann nklngthunmikhwamsngsyekiywkbkhwamepnipidkhxngphuwangnoybay thicaybyngwikvtkarndngklawidxyangrwderw ephraahlaypraethssungichenginskulyuormithangeluxknoybaykarenginnxykwamak echn praethsehlaniimsamarthphimphengininskulkhxngtnephuxcayphuthuxhniid thangaekbangxyangtxngxasykhwamrwmmuxhlaypraeths aelathnakharklangyuorpmixantikhwbkhumenginefxaetimmixantikarcangngan sungkhdkbthnakharklangshrth sungmixantithngsxng tamkhxmulkhxng dixiokhonmist wikvtkarnni epnwikvtikaremuxngmakphx kbthangesrsthkic aelaepnphlkhxngkhxethccringthiwaphunthiyuorimidrbkarsnbsnuncaksinswnsthabn aelaphnthbtrlukhnirwmkhu khxngrth emuxwnthi 5 thnwakhm ph s 2554 exsaexndphikahndradbkhwamnaechuxthuxkhxngpraethsrayayawaek 15 smachikyuorosniwthi efamxngkhwamnaechuxthux CreditWatch odyaesdngectnaldradb exsaexndphiekhiynechnnienuxngcak khwamekhriydekiywkbrabbcakhapccythismphnthkn idaek 1 sphawakarplxysinechuxthirdkumkhunthwyuorosn 2 swnchdechykhwamesiyng risk premium thisungkhunxyangehnidchdtxpraethsyuorosncanwnephimmakkhun rwmthngbangpraethsthipccubnthukcdihxyuinradb AAA 3 khwamimlngrxykntxenuxnginhmuphuwangnoybayyuorp wacarbmuxkbwikvtkhwamechuxmnkhxngtladchbphlnxyangir aela inrayayaw wacapraknkarbrrcbknthangesrsthkic karenginaelaphasithidikwainbrrdasmachikyuorosnxyangir 4 radbkhwamepnniphakhrthaelakhrweruxnthisungthwphunthiyuorosnxnkwangihy aela 5 khwamesiyngkarthdthxythangesrsthkicthisungkhuninyuorosnodyrwmin ph s 2555 khnani erakhadhwngwaprimankarphlitcaldlngpihnainpraethsxyangsepn oprtueksaelakris aetpccubnerakahndkhwamepnipid 40 thiprimankarphlitcaldlnginyuorosnthnghmd wikvthnisinkrissaehtu esrsthkickrisepnhnunginesrsthkicoterwthisudinyuorosntngaet ph s 2543 thung 2550 rahwangchwngnn xtraetibotthangesrsthkicxyuthi 4 2 txpi odymienginlngthuntangpraethsthwmpraeths esrsthkicxnaekhngaekrngaelaphltxbaethnphnthmitrrthbalthitklng thaihrthbalkrisdaeninkhaddulthangokhrngsrangkhrngihy tambthbrrnathikartiphimphodyhnngsuxphimphkrisfaykhwa Kathimerini karkhaddulsatharnaihy epnhnunginlksnathiepnokhrngsrangthangsngkhmkhxngkrisnbtngaetsmyfunfuprachathipityin ph s 2517 hlngokhnlmrthbalephdckarthharfaykhwa rthbaltxngkarnaprachakrswnthiexiyngsayaelaekhythuktdsiththitang klbekhasuesrsthkickraaeshlk aelaephuxbrrluwtthuprasngkhdngklaw rthbalkrishlaychudcungdaeninkarkhaddulkhrngihyephuxcdhaenginthunaekxachiphphakhexkchn banayaelapraoychnthangsngkhmxun tngaet ph s 2536 hnitxcidiphikhxngkrisxyuehnuxradb 100 edimkarldkhaenginchwykarkuyum hlngkarerimichenginskulyuorineduxnmkrakhm ph s 2544 edimkrissamarthkuyumidenuxngcakxtradxkebiyphnthbtrrthbalthitakwasamarthkhwbkhumid wikvtkarnkarenginplayykhristthswrrs 2000 sungerimtnin ph s 2550 idmiphlkrathbihyhlwngodyechphaatxkris xutsahkrrmihythisudsxngaehngkhxngpraeths khux karthxngethiywaelakarkhnsngsinkhathangerux idrbphlkrathbxyangelwrayodymirayidldlng 15 in ph s 2552 rthbalkrisidrayngansthitithangesrsthkicxyangepnthangkarkhxngpraethsxyangphid maxyangtxenuxngaelaectna ephuxihduehmuxnwaepniptamaenwptibtidankarenginkhxngyuorosn emuxthungtnpi ph s 2553 mikarkhnphbkwakrisidcayenginihaekokldaemnaesksaelathnakharxun epncanwnhlayrxylandxllarshrthepnkhanayhnatngaet ph s 2544 epntnma ephuxcdkarthurkrrmephuxpkpidradbkarkuyumthiaethcring cudprasngkhkhxngkartklngthithaodyrthbalkrishlaysmyniephuxihrthbalsamarthichcayenginidekinkwarayid khnathisxntwelkhhnisinthiaethcringcakphusngektkarnkhxngshphaphyuorp inpi ph s 2552 rthbalcxrc papnedrxuidthbthwnhnisinkhxngpraethscakthiekhypramaniwthi 6 epn 12 7 ineduxnphvsphakhm ph s 2553 hnisinphakhrthkhxngkrisxyuthipraman 13 6 sungthuxwaepnhnunginpraethsthimihnisinphakhrthsungthisudinolkemuxethiybkbcidiphi hnisinphakhrthkhxngkrispramankarxyuthi 216 000 lanyuorineduxnmkrakhm ph s 2553 tladphnthbtrrthbalkrisnnnaechuxthuxsahrbnklngthuntangpraeths odymibangraynganesnxaenawaphnthbtrrthbalkrisnnkwa 70 thuxkhrxngodybukhkhltangdaw txma wnthi 27 emsayn ph s 2553 erdtinghnisinkristhukldlngehluxradbaerkkhxngsthana khya odysaetndardaexndphwrs thamklangkhwamklwwacaekidkarphidcharahniodyrthbalkris xtradxkebiykhxngphnthbtrrthbalsxngpiephimsungkhunepnthung 15 3 hlngcakkarldsthanadngklaw nkwiekhraahbangkhntngkhathamthungkhwamsamarthkhxngkristhicakxhniihmephuxchdichhnithimixyuaelw saetndardaexndphwrspraeminwa inehtukarnthinklngthunthithukphidcharahninncasuyesiyenginlngthunkhxngtnipthung 30 50 tladhlkthrphythwolkprbtwldlnghlngcakmiaethlngkarndngklaw hlngcakkarldradbodyfithch mudis aelaexsaexndphi xtradxkebiyphnthbtrrthbalkrisephimsungkhuninpi ph s 2553 thnginlksnasmburnaelaemuxepriybethiybkbphnthbtrrthbaleyxrmn xtradxkebiyidephimsungkhun odyechphaaxyangyinghlngcakmikarldradberttinglngxyangtxenuxng matrkarrdekhmkhdaelakhxtklngkuyum wnthi 5 minakhm ph s 2553 rthsphakrisphanrangrthbyytikhumkhrxngesrsthkic sungkhadwacachwyldraycayphakhrthlngthung 48 000 lanyuorodykardaeninmatrkarhlayxyang rwmthngkarldkhacangphakhexkchn emuxwnthi 23 emsayn rthbalkrisrxngkhxihmikarsngenginchwyehluxthangesrsthkickhxngshphaphyuorpaelakxngthunkarenginrahwangpraeths krisnntxngkarenginkxnwnthi 19 phvsphakhm michannaelwhnicaephimkhunepnthung 11 300 landxllarshrth wnthi 2 phvsphakhm idmikarbrrlukhxtklngkuyumrahwangkris klumpraethsyuorosnxun aelakxngthunkarenginrahwangpraeths khxtklngprakxbdwyenginkuthnthi 45 000 lanyuorthicaidrbinpi ph s 2553 aelaenginkuxun caidrbinphayhlng sungkhidepnmulkhathnghmd 110 000 lanyuortamthiidtklngkniw dxkebiykhxngkarihkukhrngniepn 5 sungthuxwakhxnkhangsungsahrbenginchwyehluxthangesrsthkicid rthbalkristklngthicadaeninmatrkarrdekhmkhdrxbthisiaelahainewlatxma matrkarehlaniprakxbdwy phakhexkchncatxngcakdobnslngehlux 1 000 yuor thuksxngpi aelaykelikobnssahrbphuthimirayidmakkwa 3 000 yuortxeduxn cakdkarcayenginbanaycnthungeduxnthi 13 aela 14 ehlux 800 yuortxeduxn ykeliksahrbphuidrbenginbanayekinkwa 2 500 yuortxeduxn karcaykhunphasiphiesstamenginbanaythiidrb mikaretriymaekkdhmayekiywkbkarlahyudnganaelakarcaykhathanganlwngewla tngphasiphiessephuxeriykekbphlkairkhxngbristh ephimphasimulkhaephimepn 23 11 aela 5 5 ephimphasisinkhafumefuxy 10 aelaphasiaexlkxhxl yasubaelaechuxephling karprbxayueksiynkhxngchayaelahyingihethakn karcdtngkxngthunesthiyrphaphkarengin xayueksiynechliykhxnglukcanginphakhexkchnephimkhuncak 61 epn 65 pi ldcanwnbristhkhxngexkchnlngcak 6 000 ehlux 2 000 aehng emuxwnthi 5 phvsphakhm ph s 2553 karndhyudnganthwipthwpraethsmikhuninkrungexethns ephuxprathwngtxkarldkhaichcayaelakarephimphasi miphuesiychiwit 3 khn idrbbadecbhlaysibkhn aelathukcbkum 107 khn khwamesiyngkarphidcharahni emuximidrbkhwamtklngihenginchwyehlux cungmikhwamepnipidthiwakriscathukbibihphidcharahniinhnibangswnkhxngtn ebiypraknkhxnghnisinkrisephimsungkhuncnthungradbthiaesdngihehnwa mioxkassungthikriscaphidcharahnihruxtxngprbokhrngsrangihm nkwiekhraahchiwaoxkasthirthbalkriscaphidcharahnihruxtxngprbokhrngsrangihmnnxyurahwang 25 90 karphidcharahninnmiaenwonmsungwacaekidkhuninrupkhxngkarprbokhrngsrang odykriscacayenginkhunaekecahniechphaahnibangswnethann xacephiyng 50 hrux 25 phvtikarndngklawcathaihxtradxkebiyrahwangthnakharenginskulyuorimmnkhng sungcatxngidrbkarsnbsnuncakkhwammnkhngkhxngrthbal enuxngcakkrisepnsmachikyuorosn mcungimsamarthkratunesrsthkicidfayediywdwynoybaykarenginid yktwxyangechn thnakharklangshrthxemrikakhyayngbdulxik 1 3 lanlandxllarshrthnbtngaetekidwikvtkarenginthwolkkhun thisakhykhuxkarphimphenginephimaelaxdchidenginekhasurabbodykarsuxhnikhangchara phlkrathbodyrwmcakkhwamepnipidthiwakrisxacphidcharahnicasngphlkrathbtxesrsthkicyuorpodyrwmimmaknk esrsthkickriskhidepn 2 5 khxngesrsthkicyuorosn yingkhwamepnipidthiwakriscaphidcharahnimakyingkhunethaid kyingthaihnklngthunsuyesiykhwammnicinpraethsyuorosnxuntamipdwy khwamkngwldngklawmungipyngoprtueksaelaixraelnd sungthngsxngpraethsmihnisungaelapraednkarkhaddul xitaliexngkmihnisung aetsthanangbpramanaephndinyngdikwakhaechliykhxngpraethsyuorpthnghmd aelaimthukphicarnaxyuinklumpraethsthimikhwamesiyngsungsud dansepnmihnitaemuxethiybkbklumpraethsphthnaaelw khidepnephiyng 53 khxngcidiphi inpi ph s 2553 nxykwaeyxrmni frngesshruxshrthxemrikathungmakkwa 20 aelanxykwaxitali ixraelnd aelakristhungmakkwa 60 thngyngimephchiykhwamesiyngthicaphidcharahniaetxyangid sepnaelaxitalimiesrsthkicthiihykwaaelamikhwamsakhymakkwakris thngsxngpraethsmihniswnihykhwbkhumxyuphayinpraeths aelamisthanathangkarengindikwakrisaelaoprtueks thaihkarphidcharahnimiaenwonmnxythicaekidkhun nxkesiycakwasthankarncaelwraylngkwanikarkracayipnxkkrishnunginkhwamkngwlthiepnsunyklangkxnhnacamikarihenginchwyehluxnn khuxwawikvtkhrngnixacluklamxxkipnxkpraethskris wikvtkarndngklawthaihkhwamechuxmninesrsthkicpraethsyuorpxun ldlngtamipdwy ixraelnd thimihnisatharna 14 3 khxngcidiphi shrachxanackr thimihnisatharna 12 6 sepn thimihnisatharna 11 2 aelaoprtueks thimihnisatharna 9 4 epnklumpraethsthimikhwamesiyngsungsud inpi ph s 2553 xngkhkarephuxkhwamrwmmuxthangesrsthkicaelakarphthna OECD idphyakrnwacamikarephimphnthbtrrthbalxikthung 16 lanlandxllarshrthinpraethssmachik 30 praeths krisepntwxyangthioddednkhxngpraethsxutsahkrrmthiprasbkbkhwamyungyakintladcakradbhnithisungkhun aemkrathngpraethsxyangshrthxemrika eyxrmniaelashrachxanackr kidekhyecxkbchwngewlathimipyhaemuxnklngthunphlahnikarpramulphnthbtrrthbal enuxngcakkhwamkngwlekiywkbkarenginsatharnaaelaesrsthkicxangxing Long term interest rate statistics for EU Member States ECB 12 July 2011 subkhnemux 22 July 2011 Wearden Graeme 20 knyayn 2011 EU debt crisis Italy hit with rating downgrade The Guardian UK subkhnemux 20 knyayn 2011 Terry Gross 2011 10 04 NPR Michael Lewis How the Financial Crisis Created a New Third World October 2011 Npr org subkhnemux 2012 07 07 Koba Mark 13 mithunayn 2012 CNBC Europe s Economic Crisis What You Need to Know Mark Thoma June 13 2012 Finance yahoo com ekbcakaehlngedimemux 17 thnwakhm 2012 subkhnemux 7 krkdakhm 2012 George Matlock 16 kumphaphnth 2010 Reuters khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 20 knyayn 2020 subkhnemux 28 emsayn 2010 Acropolis now The Economist 29 April 2010 subkhnemux 22 June 2011 Brian Blackstone Tom Lauricella Neil Shah 5 February 2010 Global Markets Shudder Doubts About U S Economy and a Debt Crunch in Europe Jolt Hopes for a Recovery The Wall Street Journal subkhnemux 10 May 2010 Bruce Walker 9 emsayn 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 13 emsayn 2010 subkhnemux 28 emsayn 2010 Financialmirror com 28 April 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 06 01 subkhnemux 5 May 2010 Gilt yields rise amid UK debt concerns Financial Times 18 February 2010 subkhnemux 15 April 2011 How the Euro Became Europe s Greatest Threat Der Spiegel 20 June 2011 Greek debt crisis eurozone ministers meet amid deepening gloom The Guardian 19 June 2011 A long day in Greece The Economist 16 June 2011 Athens protests Syntagma Square on frontline of European austerity protests The Guardian 19 June 2011 EU leaders pledge to do what is needed to help Greece BBC 23 June 2011 The Daily Telegraph London 19 February 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 02 22 subkhnemux 29 April 2010 Fiscal Deficit and Unemployment Rate FT subkhnemux 5 May 2010 Timeline Greece s economic crisis Reuters 3 February 2010 subkhnemux 29 April 2010 EU ministers offer 750bn euro plan to support currency BBC News 10 phvsphakhm 2010 subkhnemux 11 phvsphakhm 2010 Gabi Thesing Flavia Krause Jackson 3 May 2010 Greece Gets 146 Billion Rescue in EU IMF Package Bloomberg subkhnemux 10 May 2010 Treanor Jill Elliott Larry 24 November 2010 Ireland to get 85bn loan in deal that will nationalise its banks The Guardian subkhnemux 19 May 2011 Sarah Butler 11 April 2011 Portugal prepares to meet EU and IMF to negotiate bail out The Daily Telegraph UK subkhnemux 18 April 2011 Portugal s 78bn euro bail out is formally approved BBC News Business 16 May 2011 Retrieved 19 May 2011 Forelle Charles David Gauthier Villars Marcus Walker 3 Nov 2011 Europe Gives Greece an Ultimatum Wall Street Journal subkhnemux 2 Nov 2011 Pidd Helen 2011 12 02 Angela Merkel vows to create fiscal union across eurozone London Guardian subkhnemux 2011 12 02 European fiscal union what the experts say London Guardian 2011 12 02 subkhnemux 2011 12 02 How the Euro Became Europe s Greatest Threat Der Spiegel 20 June 2011 RPT UPDATE 1 Schaeuble says markets have confidence in euro Reuters 22 singhakhm 2011 Euro in US Dollar Reuters 15 November 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 07 13 subkhnemux 2012 03 04 The Euro s PIG Headed Masters 3 mithunayn 2011 NYT Review of Books Touring the Ruins of the Old Economy September 2011 Lewis Michael 2011 Boomerang Travels in the New Third World Norton ISBN 978 0 393 08181 7 NPR The Giant Pool of Money May 2008 NYT It s All Connected An Overview of the Euro Crisis October 2011 NYT It s All Connected A Spectators Guide to the Euro Crisis The Economist No Big Bazooka October 29 2011 Merkel Slams Euro Speculation Warns of Resentment Update 1 BusinessWeek 23 February 2010 subkhnemux 28 April 2010 Laurence Knight 22 December 2010 Europe s Eastern Periphery BBC subkhnemux 17 May 2011 PIIGS Definition investopedia com subkhnemux 17 May 2011 Bernd Riegert Europe s next bankruptcy candidates dw world com subkhnemux 17 May 2011 Nikolaos D Philippas phasakrik skai gr khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 06 23 subkhnemux 17 May 2011 Louise Story Landon Thomas Jr Nelson D Schwartz 14 February 2010 Wall St Helped to Mask Debt Fueling Europe s Crisis New York Times New York pp A1 subkhnemux 19 September 2011 Michael Simkovic Secret Liens and the Financial Crisis of 2008 American Bankruptcy Law Journal Vol 83 p 253 2009 Michael Simkovic Bankruptcy Immunities Transparency and Capital Structure Presentation at the World Bank January 11 2011 Michael Simkovic Paving the Way for the Next Financial Crisis Banking amp Financial Services Policy Report Vol 29 No 3 2010 Manolopoulos J London Anthem Press khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 17 subkhnemux 2011 11 13 Atterres 27 tulakhm 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 28 phvscikayn 2011 subkhnemux 19 thnwakhm 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 26 emsayn 2012 Eurozone Problems New York Times 30 mkrakhm 2012 subkhnemux 4 kumphaphnth 2012 State of the Union Can the euro zone survive its debt crisis p 4 PDF 1 minakhm 2011 subkhnemux 1 thnwakhm 2011 6 thnwakhm 2011 Merkozy failed to save the eurozone subkhnemux 9 thnwakhm 2011 PDF www statistics gr 9 thnwakhm 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 7 emsayn 2012 subkhnemux 8 thnwakhm 2011 Project Syndicate Martin Feldstein The French Don t Get It December 2011 Inman Phillip 2012 01 03 If surpluses cause as many problems as debts maybe we need to tax creditors The Guardian UK subkhnemux 2012 01 03 Liz Alderman Susanne Craig November 10 2011 Europe s Banks Turned to Safe Bonds and Found Illusion The New York Times subkhnemux November 11 2011 Greece Foreign Capital Inflows Up Embassy of Greece in Poland Press amp Communication Office Greeceinfo wordpress com 17 September 2009 subkhnemux 5 May 2010 Floudas Demetrius A March 2010 The Greek Financial Crisis 2010 Chimerae and Pandaemonium Hughes Hall Seminar Series University of Cambridge Back down to earth with a bang phasaxngkvs 3 minakhm 2010 subkhnemux 12 phvsphakhm 2010 Tristan Berteloot Donald Hebert 29 April 2010 Onze questions reponses sur la crise grecque Economie L Obs phasafrngess NouvelObs com subkhnemux 20 January 2020 Aoife White 12 mkrakhm 2010 Brussels khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 7 tulakhm 2010 odythang Rehn No other state will need a bail out EU Observer subkhnemux 6 May 2010 Greece Paid Goldman 300 Million To Help It Hide Its Ballooning Debts Business Insider subkhnemux 6 May 2010 Story Louise Thomas Jr Landon Schwartz Nelson D 14 February 2010 Wall St Helped to Mask Debt Fueling Europe s Crisis The New York Times subkhnemux 6 May 2010 Greece s sovereign debt crunch A very European crisis The Economist 4 kumphaphnth 2010 subkhnemux 2 phvsphakhm 2010 Greek Deficit Revised to 13 6 Moody s Cuts Rating Update2 Bloomberg com subkhnemux 2 May 2010 The Daily Telegraph London 19 February 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 02 22 subkhnemux 2 May 2010 Greek Debt Concerns Dominate Who Will Be Next Seeking Alpha subkhnemux 2 May 2010 Greece s sovereign debt crisis Still in a spin The Economist 15 emsayn 2010 subkhnemux 2 phvsphakhm 2010 Ewing Jack 27 April 2010 Cuts to Debt Rating Stir Anxiety in Europe The New York Times BBC News Greek credit status downgraded to junk 27 April 2010 subkhnemux 2 May 2010 Markets hit by Greece junk rating BBC News 27 April 2010 Timeline Greece s economic crisis Reuters 3 March 2010 subkhnemux 2 May 2010 ECB Long term interest rates subkhnemux 2 May 2010 Ingrid Melander 5 March 2010 Greek parliament passes austerity bill Reuters subkhnemux 6 May 2010 Irish Times 23 April 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 11 03 subkhnemux 6 May 2010 Greek minister says IMF debt talks are going well BBC 25 April 2010 subkhnemux 6 May 2010 Christos Ziotis Natalie Weeks 20 April 2010 Greek Bailout Talks Could Take Three Weeks Bond Payment Looms Bloomberg subkhnemux 6 May 2010 Steven Erlanger 24 March 2010 Europe Looks at the I M F With Unease as Greece Struggles The New York Times subkhnemux 6 May 2010 Gabi Thesing Flavia Krause Jackson 3 May 2010 Greece Gets 146 Billion Rescue in EU IMF Package Bloomberg subkhnemux 6 May 2010 Kerin Hope 2 May 2010 EU puts positive spin on Greek rescue Financial Times subkhnemux 6 May 2010 Fourth raft of new measures phasakrik In gr 2 May 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 05 05 subkhnemux 2011 05 22 Friedman Thomas L 14 May 2010 Greece s newest odyssey San Diego California San Diego Union Tribune pp B6 Dan Bilefsky Judy Dempsey 5 May 2010 Three Reported Killed in Greek Protests The New York Times subkhnemux 5 May 2010 De facto Greek default 80 sure Global Insight MarketWatch MarketWatch 28 April 2010 subkhnemux 2 May 2010 CNBC 1 March 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 06 10 subkhnemux 2011 05 23 Greece Turning Viral Sparks Search for EU Solutions Update2 Bloomberg com Bloomberg 29 April 2010 subkhnemux 2 May 2010 Blogs reuters com 27 April 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 05 01 subkhnemux 5 May 2010 Frierson Burton 14 January 2010 Fed s balance sheet liabilities hit record Reuters UPDATE Greek Spain Portugal Debt Insurance Costs Fall Sharply WSJ com The Wall Street Journal 29 April 2010 cakaehlngedimemux 2010 05 02 subkhnemux 2011 05 23 BBC News Q amp A Greece s economic woes BBC 30 April 2010 subkhnemux 2 May 2010 Italy Not Among Most at Risk in Crisis Moody s Says Update1 Bloomberg 7 May 2010 subkhnemux 10 May 2010 Finfacts Ireland Missing Page Finfacts ie subkhnemux 15 April 2011 Murado Miguel Anxo 1 May 2010 Repeat with us Spain is not Greece The Guardian London Daniel Gros The Euro Can Survive a Greek Default WSJ com The Wall Street Journal 29 April 2010 subkhnemux 2 May 2010 Abigail Moses 26 April 2010 Greek Contagion Concern Spurs Sovereign Default Risk to Record Bloomberg subkhnemux 30 April 2010 O Grady Sean Lichfield John 7 May 2010 Very real threat that Greek contagion could spread to Britain The Independent London Duncan Hugo 8 February 2010 London Evening Standard khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 06 06 subkhnemux 2011 05 23 Reports Sovereigns Debt levels raise fears of further downgrades Financial Times 24 February 2010 subkhnemux 5 May 2010 aehlngkhxmulxunGoogle public data Government Debt in Europe Diagram of Interlocking Debt Positions of European Countries New York Times 1 phvsphakhm 2010 Interactive Map of the Debt Crisis Economist Magazine 9 kumphaphnth 2011