ข้าวโพด | |
---|---|
ข้าวโพดชนิดต่าง ๆ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Liliopsida |
อันดับ: | Poales |
วงศ์: | Poaceae |
สกุล: | |
สปีชีส์: | Z. mays |
ชื่อทวินาม | |
Zea mays L. |
ข้าวโพด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.) ชื่ออื่น ๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยาฆง (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5–2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ข้าวโพดเป็นพืชจำพวก รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7–10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1–2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8–20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30–100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อน ๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8–48 ใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ลำต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล
ถิ่นกำเนิด
เป็นที่ยอมรับกันว่า ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา อาจจะเป็นอเมริกากลางเช่นในประเทศเม็กซิโก หรืออาจจะเป็นอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา ยังไม่พบการปลูกข้าวโพดในทวีปอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2036 โคลัมบัสจึงนำข้าวโพดกลับไปยังยุโรปแล้วข้าวโพดจึงได้เกิดการขยายพันธุ์ต่อไป ปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด
การนำเข้ามาในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย คนไทยมักจะ นำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตาม ผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จัก และใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากในเวลานั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันข้าวโพดเป็นที่รู้จักและใช้เลี้ยงสัตว์ อย่างแพร่หลาย เพราะปัจจุบันประเทศไทยได้ผลผลิดจากข้าวโพด เป็นจำนวนมาก
ชนิดของข้าวโพด
โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 6 กลุ่ม คือ
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Flint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนบนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโทแซนทิน (Cryptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นวิตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว ประเทศไทยนิยมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบที่มีสีเหลืองเข้ม มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบตลอดทั้งปี กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ตอนกลางของประเทศ ภาคอีสานตอนบน และภาคเหนือ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากได้แก่ น่าน แพร่ เลย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เชียงใหม่
- ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
- ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
- ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซิน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
- ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกอะไมโลเพกทิน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง
- ข้าวโพดป่า (Pod Corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส ทูนิกา (Zea mays tunica) มีลักษณะใกล้เคียงข้าวโพดพันธุ์ป่า มีลำต้น และฝักเล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็กเท่าๆ กับเมล็ดข้าวโพดมีขั้วเปลือกหุ้มทุกเมล็ด และยังมีเปลือกหุ้มฝักอีกชั้นหนึ่งเหมือนข้าวโพดธรรมดาทั่วๆ ไป เมล็ดมีลักษณะต่างๆ กัน ข้าวโพดชนิดนี้ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5–0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1–8 มม.
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวโพด 100 กรัม จะให้พลังงาน 86 กิโลแคลอรี่ (คิดเป็น 10–19% ของพลังงานที่รางกายต้องการใน 1 วัน) และยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ดังแสดงในตาราง
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 360 กิโลจูล (86 กิโลแคลอรี) |
18.7 กรัม | |
แป้ง | 5.7 กรัม |
น้ำตาล | 6.26 กรัม |
ใยอาหาร | 2 กรัม |
1.35 กรัม | |
3.27 กรัม | |
ทริปโตเฟน | 0.023 กรัม |
ทรีโอนีน | 0.129 กรัม |
0.129 กรัม | |
ลิวซีน | 0.348 กรัม |
ไลซีน | 0.137 กรัม |
เมไธโอนีน | 0.067 กรัม |
0.026 กรัม | |
ฟีนิลอะลานีน | 0.150 กรัม |
ไทโรซีน | 0.123 กรัม |
วาลีน | 0.185 กรัม |
อาร์จินีน | 0.131 กรัม |
0.089 กรัม | |
อะลานีน | 0.295 กรัม |
กรดแอสปาร์ติก | 0.244 กรัม |
กลูตาเมต | 0.636 กรัม |
ไกลซีน | 0.127 กรัม |
0.292 กรัม | |
0.153 กรัม | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | (1%) 9 μg644 μg |
ไทอามีน (บี1) | (13%) 0.155 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (5%) 0.055 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (12%) 1.77 มก. |
(14%) 0.717 มก. | |
วิตามินบี6 | (7%) 0.093 มก. |
โฟเลต (บี9) | (11%) 42 μg |
วิตามินซี | (8%) 6.8 มก. |
แร่ธาตุ | |
เหล็ก | (4%) 0.52 มก. |
แมกนีเซียม | (10%) 37 มก. |
แมงกานีส | (8%) 0.163 มก. |
ฟอสฟอรัส | (13%) 89 มก. |
โพแทสเซียม | (6%) 270 มก. |
สังกะสี | (5%) 0.46 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 75.96 กรัม |
ลิงก์ไปยังฐานข้อมูลของ USDA ฝักข้าวโพดขนาดกลาง (ความยาว 634" ถึง 712") มีน้ำหนักเมล็ด 90 กรัม | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ปริมาณข้าวโพด
ข้าวโพดเลี้ยงสัตวมีการปลูกกันมากทั่วโลก และมีปริมาการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีมากกว่าธัญพืชชนิดอื่น ๆ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถผลิตข้าวโพดมากถึง 40% ของโลก และประเทศอื่นที่สามารถผลิตข้าวโพดได้มาก เช่น จีน, บราซิล, เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ฝรั่งเศสและอาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 2009 สามารถผลิตข้าวโพดได้ 817 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าข้าวและข้าวสาลีที่ผลิตได้ 678 และ 682 ล้านตัน ตามลำดับ ในปี ค.ศ. 2009 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่า 3,900 ล้านไร่
สิบอันดับประเทศผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ | |
---|---|
ประเทศ | ปริมาณ (ตัน) |
สหรัฐ | 353,699,441 |
จีน | 217,730,000 |
บราซิล | 80,516,571 |
อาร์เจนตินา | 32,119,211 |
ยูเครน | 30,949,550 |
อินเดีย | 23,290,000 |
เม็กซิโก | 22,663,953 |
อินโดนีเซีย | 18,511,853 |
ฝรั่งเศส | 15,053,100 |
แอฟริกาใต้ | 12,365,000 |
ทั้งโลก | 1,016,431,783 |
ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่นย่อยสลาย ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ 90% ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยังส่งเสริมการย่อยสลาย แอนทราซีนเอนโดซัลแฟน ซัลเฟตได้ด้วย จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์
อ้างอิง
- อุดมแก้ว, อารีย์ลักษณ์ (2012). หงสาภินันทน์, ทวีศักดฺ์ (บ.ก.). การปลูกข้าวโพดในประเทศไทย. ประเทศไทย: Something to read Co. p. 3. ISBN .
- "ข้าวโพด".ศูนย์องค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบค้นเมือ 2567-06-17
- "FAOSTAT". Food and Agriculture Organization of the United Nations. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2014.
- Chouychai W, Thongkukiatkul A, Upatham S, Lee H, Pokethitiyook P, Kruatrachue M (มกราคม 2009). "Plant-enhanced phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil" (PDF). Journal of Environmental Biology. 30 (1): 139–144. ISSN 0254-8704. PMID 20112876.
- K. Somtrakoon, W. Chouychai, H. Lee. Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation. International Journal of Phytoremediation. 2014. 16: 415–428. doi:10.1080/15226514.2013.803024
- K. Somtrakoon, M. Kruatrachue, H. Lee. Phytoremediation of Endosulfan Sulfate-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivations. Water, Air, & Soil Pollution. 2014. 225 (1886). doi:10.1007/s11270-014-1886-0.
ดูเพิ่ม
- พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. "หลักการอาหารสัตว์ หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์". ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ISBN .
- . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2007.
- "ข้าวโพด 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "Tracking the Ancestry of Corn Back 9,000 Years". New York Times. 25 พฤษภาคม 2010.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2011. reliable information source on where and what to conserve ex-situ, regarding Zea genepool
- Growing Corn Information on the uses and starting of corn seed
- Zea mays 2011-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ Plants For A Future
- Maize Genetics and Genomics Database project
- The Maize Genome Sequence Browser
- Corn ที่เว็บไซต์ Curlie
- Zea mays, corn taxonomy, facts, life cycle, kernel anatomy 2015-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ GeoChemBio.com
- Major topic "Zea mays": free full text articles ที่ National Library of Medicine
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khawophdkhawophdchnidtang karcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Plantaehmwd Magnoliophytachn Liliopsidaxndb Poaleswngs Poaceaeskul spichis Z mayschuxthwinamZea mays L lksnakhxngkhawophdZea mays fraise Zea mays Oaxacan Green Zea mays Ottofile giallo Tortonese khawophd chuxwithyasastr Zea mays Linn chuxxun khawsali sali ehnux khng krabi ophd it buxekhesa kaehriyng aemhxngsxn yakhng yala pttani nrathiwas epnphuchtrakulediywkbhyamilatnsung odyechliy 2 2 emtr khnadesnphasunyklangkhxnglatn 0 5 2 0 niw emldcakfkichepnxaharkhnaelastwlksnathangphvkssastrkhawophdepnphuchcaphwk rakchwkhraw eriykwa iphri hlngcakkhawophdecriyetibotidpraman 7 10 wn rakthawrcangxkkhunrxb khxplainradbitphundinpraman 1 2 niw rakthawrni emuxecriyetibotetmthicaaephxxkipodyrxbpraman 100 esntiemtr rakkhxngkhawophdepnrabbrakfxy fibrous root system nxkcakrakthixyuitdinaelw yngmirakyudehniyw brace root sungekidkhunrxb khxthixyuiklphiwdin milatntngtrngaekhngaerng enuxphayinfamkhlayfxngnasungpraman 1 4 emtr latnmikhx node aelaplxng internode plxngthixyuindinaelaiklphiwdinsn aelacakhxy yawkhunipthangdanplay plxngehnuxphundincamicanwnpraman 8 20 plxng latnsdmisiekhiyw ib yawri epnesntrngplayaehlm yawpraman 30 100 sm esnklangkhxngibcaehnidchd trngkhxbibmikhnxxn miekhiywib lksnakhxngibrwmthngsikhxngibaetktangknip aelwaetchnidkhxngphnthu bangphnthuibsiekhiyw bangphnthuibsimwngaelabangphnthuiblay canwnibkechnediywknxacmitngaet 8 48 ib dxktwphuaeladxktwemiyxyuintnediywkn chxdxktwphuxyuswnyxdkhxnglatn chxdxktwemiyxyutalngmaxyurahwangkabkhxngib aelalatn chxdxktwphu tassel xyutxnbnsudkhxnglatn dxktwphudxkhnungcamixbeksr anther 3 xb swndxktwemiyxyurwmknepnchx ekidkhuntxnkhxklang latn fkekidcakdxktwemiythiecriyetibotaelw fkxxncamisiekhiyw phxaekepnsinwlthinkaenidepnthiyxmrbknwa khawophdmithinkaenidinthwipxemrika xaccaepnxemrikaklangechninpraethsemksiok hruxxaccaepnxemrikait inpi ph s 2035 emuxkhrisotefxr okhlmbskhnphbthwipxemrika yngimphbkarplukkhawophdinthwipxun txmapi ph s 2036 okhlmbscungnakhawophdklbipyngyuorpaelwkhawophdcungidekidkarkhyayphnthutxip pccubnniymplukaephrhlayinaethbxemrika aekhnada samarthplukidinsphaphthiphumixakasaetktangknmak epnaehlngxaharthisakhykhxngstw ephraasamarthnamaeliyngstwidthngtn ib aelaemldkarnaekhamainpraethsithysahrbpraethsithy khnithymkca nakhawophdmaeliyngstwtngaethlngsngkhramolkkhrngthi 1 ody hmxmecasiththiphr kvdakr idnakhawophdphnthuthiicheliyngstwmaplukaelathdlxngicheliyngstw sunginkhnannyngepnthiruckknnxy cnkrathnghlngsngkhramolkkhrngthi 2 karichkhawophderimaephrhlaykhunenuxngcak hlwngsuwrrnwackksikicidnakareliyngikaebbkarkhamaerimsathit aelakratunihprachachnptibtitam phueliyngikcungruck aelaichkhawophdmakkhunkwaedim aetenuxngcakinewlannkhawophdmirakhasungaelahayak karichkhawophdcungichepnephiyngswnprakxbkhxngxaharhlk sungmiraaelaplaykhawepnswnihy aetinpccubnkhawophdepnthiruckaelaicheliyngstw xyangaephrhlay ephraapccubnpraethsithyidphlphlidcakkhawophd epncanwnmakchnidkhxngkhawophdodythwipkhawophdcdxxkepn 6 klum khux khawophdeliyngstwhruxkhawophdir Field Corn thiruckinpccubnechnkhawophdhwbum Dent Corn aelakhawophdhwaekhng Flint Corn sungepnkareriyktamlksnaemldkhawophdhwbumhruxhwbub khawophdchnidniemuxemldaehngaelwtrngswnhwbnsudcamirxybumlngip sungepnswnkhxngaepngsikhaw khawophdchnidnisakhymakaelaniymplukknmakin praethsshrthxemrika odyechphaathangaethbkhxrneblth sikhxngemldmitngaetkhawipcnthungehluxng enuxngcakmihlaysayphnthumioprtinnxykwaphwkkhawophdhwaekhng khawophdhwaekhng khawophdphnthuniswnbnsudkhxngemldmkmisiehluxngcdaelaemuxaehngcaaekhngmak phayinemldmisarthithaihkhawophdmisiehluxngcdepnsarihsithichux khripothaesnthin Cryptoxanthin sarniemuxstwidrbrangkaystwcaepliynsarniihepnwitaminex nxkcaknisarniyngchwyihikhaedngmisiaedngekhm chwyihikmiphiwhnng pak enux aelaaekhngmisiehluxngekhmkhun epnthiniymkhxngtladodyechphaaaethbxemrikaswnxngkvsnnniymichkhawophdkhaw praethsithyniymkhawophdeliyngstwaebbthimisiehluxngekhm mikarplukkhawophdeliyngstwekuxbtlxdthngpi kracayinphunthiphakhklang txnklangkhxngpraeths phakhxisantxnbn aelaphakhehnux phunthiplukkhawophdeliyngstwcanwnmakidaek nan aephr ely xutrditth ephchrburn lphburi echiyngihm khawophdhwan Sweet Corn epnkhawophdthikhnichrbprathan immikaraeprrup emldmkcaisaelaehiywemuxaeketmthi ephraaminatalmak kxnthicasukcamirshwanmakkwachnidxun cungeriykkhawophdhwan mihlaysayphnthu khawophdkhw Pop Corn epnkhawophdthikhnichrbprathan immikaraeprrup emldkhxnkhangaekhng sidiaelakhnadaetktangkn sahrbtangpraeths thaemldmilksnaaehlmeriykwa khawophdkhaw Rice Corn thaemldklm eriykwa khawophdikhmuk Pearl Corn khawophdaepng Flour Corn emldmisihlaychnid echn khaw khun hruxpnehluxngnid hruxsinaenginkhla hruxmithngsikhawaelasinaenginkhlainfkediywkn enuxngcakklayphnthu phwkthimiemldsikhlaaelaphwkklayphnthueriykwakhawophdxinediynaedng Squaw Corn hruxeriykidxikchuxwakhawophdphnthuphunemuxng Native Corn phwkkhawophdsikhlanicamiinxasin sungkwakhawophdthimiaepngsikhaw khawophdethiyn Waxy Corn epnkhawophdthikhnichrbprathan camiaepngthimilksnaechphaakhux numehniyw ephraainenuxaepngcaprakxbdwyaepngphwkxaimolephkthin Amylopectin swnkhawophdxun miaepngaexmiols Amylose prakxbxyudwy cungthaihaepngkhxnkhangaekhng khawophdpa Pod Corn michuxthangwithyasastrwa si emys thunika Zea mays tunica milksnaiklekhiyngkhawophdphnthupa milatn aelafkelkkwakhawophdthrrmda khnademldkhxnkhangelketha kbemldkhawophdmikhwepluxkhumthukemld aelayngmiepluxkhumfkxikchnhnungehmuxnkhawophdthrrmdathw ip emldmilksnatang kn khawophdchnidniimmikhwamsakhythangesrsthkic plukiwephuxkarsuksaethann khawophdthiicheliyngstwinpraethsithymihlayphnthu thiniymplukinpraethsithyidaek phnthukwetmala phiyi 12 Rep 1 kwetmala phibi 12 Rep 2 phibi 5 khawophdehniyw aelaoxepkh 2 miemldtngaetsikhaw siehluxngipcnthungsiaedng khnadkhxngemldkhunxyukbphnthu odythwipcamiesnphasunyklangxyuinchwng 0 5 0 8 sm kxnnamaeliyngstwcungtxngbdkxnephuxchwyihkaryxyaelakarphsmidphldikhun thibdaelwcamikhnadpraman 1 8 mm khunkhathangophchnakarkhawophd 100 krm caihphlngngan 86 kiolaekhlxri khidepn 10 19 khxngphlngnganthirangkaytxngkarin 1 wn aelayngxudmipdwywitaminaelaaerthatutang makmay dngaesdngintarang Sweetcorn yellow raw seeds only khunkhathangophchnakartx 100 krm 3 5 xxns phlngngan360 kiolcul 86 kiolaekhlxri kharobihedrt18 7 krmaepng5 7 krmnatal6 26 krmiyxahar2 krmikhmn1 35 krmoprtin3 27 krmthripotefn0 023 krmthrioxnin0 129 krm0 129 krmliwsin0 348 krmilsin0 137 krmemithoxnin0 067 krm0 026 krmfinilxalanin0 150 krmithorsin0 123 krmwalin0 185 krmxarcinin0 131 krm0 089 krmxalanin0 295 krmkrdaexspartik0 244 krmklutaemt0 636 krmiklsin0 127 krm0 292 krm0 153 krmwitaminwitaminexluthin sixaaesnthin 1 9 mg644 mgithxamin bi1 13 0 155 mk irobeflwin bi2 5 0 055 mk inxasin bi3 12 1 77 mk krdaephnothethnik bi5 14 0 717 mk witaminbi6 7 0 093 mk ofelt bi9 11 42 mgwitaminsi 8 6 8 mk aerthatuehlk 4 0 52 mk aemkniesiym 10 37 mk aemngkanis 8 0 163 mk fxsfxrs 13 89 mk ophaethsesiym 6 270 mk sngkasi 5 0 46 mk xngkhprakxbxunna75 96 krmlingkipyngthankhxmulkhxng USDA fkkhawophdkhnadklang khwamyaw 6 3 4 thung 7 1 2 minahnkemld 90 krmhnwy mg imokhrkrm mg millikrm IU hnwysaklpramanrxylakhraw odyichkaraenanakhxngshrthsahrbphuihy aehlngthima USDA FoodData Centralprimankhawophdkhawophdeliyngstwmikarplukknmakthwolk aelamiprimakarphlitthiephimmakkhunthukpimakkwathyphuchchnidxun praethsshrthxemrika samarthphlitkhawophdmakthung 40 khxngolk aelapraethsxunthisamarthphlitkhawophdidmak echn cin brasil emksiok xinodniesiy xinediy frngessaelaxarecntina inpi kh s 2009 samarthphlitkhawophdid 817 lantn sungmakkwakhawaelakhawsalithiphlitid 678 aela 682 lantn tamladb inpi kh s 2009 miphunthiplukkhawophdeliyngstwmakkwa 3 900 lanir sibxndbpraethsphuphlitkhawophdeliyngstwpraeths priman tn shrth 353 699 441 cin 217 730 000 brasil 80 516 571 xarecntina 32 119 211 yuekhrn 30 949 550 xinediy 23 290 000 emksiok 22 663 953 xinodniesiy 18 511 853 frngess 15 053 100 aexfrikait 12 365 000 thngolk 1 016 431 783praoychnindanxun khawophdsamarthsngesrimkaryxyslayphiexexchthipnepuxnindin echnyxyslay fiaennthrin iphrinid 90 thikhwamekhmkhnerimtn 100 millikrm kiolkrm aelayngsngesrimkaryxyslay aexnthrasinexnodslaefn sleftiddwy cungmipraoychntxkarnaipichfunfudinthipnepuxnsarmlphisxinthriyxangxingxudmaekw xariylksn 2012 hngsaphinnthn thwiskd b k karplukkhawophdinpraethsithy praethsithy Something to read Co p 3 ISBN 978 616 241 212 7 khawophd sunyxngkhkhwamrudanthrphyakrthrrmchatiaelasingaewdlxm subkhnemux 2567 06 17 FAOSTAT Food and Agriculture Organization of the United Nations subkhnemux 5 singhakhm 2014 Chouychai W Thongkukiatkul A Upatham S Lee H Pokethitiyook P Kruatrachue M mkrakhm 2009 Plant enhanced phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil PDF Journal of Environmental Biology 30 1 139 144 ISSN 0254 8704 PMID 20112876 K Somtrakoon W Chouychai H Lee Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation International Journal of Phytoremediation 2014 16 415 428 doi 10 1080 15226514 2013 803024 K Somtrakoon M Kruatrachue H Lee Phytoremediation of Endosulfan Sulfate Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivations Water Air amp Soil Pollution 2014 225 1886 doi 10 1007 s11270 014 1886 0 duephimphnthipha phngsephiycnthr hlkkarxaharstw hlkophchnsastraelakarprayukt phakhwichastwsastr khnaekstrsastr mhawithyalyechiyngihm 2547 krungethph oxediynsotr ISBN 974 97 1215 3 mhawithyalyekstrsastr khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 17 mkrakhm 2007 khawophd 2007 01 08 thi ewyaebkaemchchin ewbistkrmwichakarekstr aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb khawophd wikispichismikhxmulphasaxngkvsekiywkb Zea mays Tracking the Ancestry of Corn Back 9 000 Years New York Times 25 phvsphakhm 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 18 emsayn 2011 reliable information source on where and what to conserve ex situ regarding Zea genepool Growing Corn Information on the uses and starting of corn seed Zea mays 2011 04 18 thi ewyaebkaemchchin thi Plants For A Future Maize Genetics and Genomics Database project The Maize Genome Sequence Browser Corn thiewbist Curlie Zea mays corn taxonomy facts life cycle kernel anatomy 2015 03 06 thi ewyaebkaemchchin thi GeoChemBio com Major topic Zea mays free full text articles thi National Library of Medicine