"โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก" เป็นบทความซึ่งตีพิมพ์โดย เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก ในวารสารวิทยาศาสตร์ "เนเจอร์" ฉบับที่ 171 หน้า 737-738 วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1953 บทความนี้เป็นผลงานชิ้นแรกซึ่งอธิบายการค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ การค้นพบดังกล่าวสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิชาชีววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาพันธุศาสตร์
บทความนี้มักเรียกขานกันว่าเป็น "ไข่มุก" แห่งวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นบทความที่สั้นและมีคำตอบเกี่ยวกับปริศนาพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ปริศนานี้เป็นคำถามที่ว่าเป็นไปได้อย่างไรที่คำสั่งทางพันธุกรรมถูกเก็บอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตและสามารถส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร บทความนี้นำเสนอทางออกที่ง่ายและสละสลวย ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่นักชีววิทยาจำนวนมากในเวลานั้น ผู้ซึ่งคิดว่าการส่งผ่านดีเอ็นเอจะเป็นสิ่งที่มีรายละเอียดซับซ้อนและยากที่จะเข้าใจมากกว่านี้
จุดกำเนิดของชีววิทยาโมเลกุลลล
การประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์และเคมีเข้ากับปัญหาทางชีววิทยานำไปสู่การพัฒนาความรู้ในด้านชีววิทยาโมเลกุล ชีววิทยาโมเลกุลนี้เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางชีววิทยาที่ระดับยีนและโปรตีน การค้นพบเกลียวคู่กรดนิวคลีอิกทำให้ชัดเจนว่ายีนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุลดีเอ็นเอและจะต้องมีหนทางที่เซลล์จะต้องใช้ประโยชน์จากยีนดีเอ็นเอในการสังเคราะห์โปรตีน
ไลนัส พอลิงเป็นนักเคมีผู้ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของโมเลกุล ในปี ค.ศ. 1951 พอลิงได้ตีพิมพ์โครงสร้างของเกลียวอัลฟา ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของโปรตีน เมื่อต้นปี ค.ศ. 1953 เขาได้ตีพิมพ์แบบจำลองเกลียวสามที่ไม่ถูกต้องของดีเอ็นเอ ทั้งคริกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตสัน รู้สึกว่าตนกำลังแข่งขันกับพอลิงเพื่อค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอก่อนอีกฝ่ายหนึ่ง
แมกซ์ เดลบรุก เป็นนักฟิสิกส์ผู้ซึ่งตระหนักถึงความเกี่ยวข้องกันบางประการของชีววิทยากับควอนตัมฟิสิกส์ ความคิดของเดลบรุกเกี่ยวกับพื้นฐานเชิงฟิสิกส์ของชีวิตนี้ได้กระตุ้นให้เออร์วิน ชเรอดิงเงอร์เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลอย่างมาก ชื่อว่า อะไรคือชีวิต (What is Life?) ซึ่งหนังสือเล่มนี้เองได้มีอิทธิพลย่างสำคัญต่อฟรานซิส คริก, เจมส์ ดี. วัตสัน และมัวริส วิลคินส์ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์สำหรับการค้นพบเกลียวคู่ดีเอ็นเอ ความพยายามของเดลบรุกในการทำให้ "กลุ่มเฟจ" เป็นที่รู้จัก (การสำรวจพันธุศาสตร์โดยวิธีการของไวรัสที่ทำให้แบคทีเรียติดเชื้อ) นั้นเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาชีววิทยาโมเลุกุลในภาพรวมช่วงแรก ๆ และการพัฒนาความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของวัตสันอีกด้วย
โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ
กรณีที่ว่าโครงสร้างของโมเลกุลนั้นง่ายที่จะทำให้สัมพันธ์กับหน้าที่ของมันนั้นไม่ถูกต้องเสมอไป สิ่งที่ทำให้โครงสร้างของดีเอ็นเอสัมพันธ์กับหน้าที่ของมันอย่างเห็นได้ชัดนั้นได้อธิบายพอประมาณไว้แล้วในตอนท้ายของบทความ: "มันหนีไม่พ้นการสังเกตของเราที่ว่าการเข้าคู่กันอย่างเฉพาะตามที่เราได้สันนิษฐานไว้นั้นจะบ่งบอกถึงกลไกการทำสำเนาสำหรับสารพันธุกรรมได้ทันที"
"การเข้าคู่กันอย่างเฉพาะ" นั้นเป็นลักษณะที่สำคัญของแบบจำลองดีเอ็นเอของวัตสันและคริก ซึ่งเป็นการเข้าคู่กันของหน่วยย่อยนิวคลีโอไทด์ ในดีเอ็นเอ ปริมาณของกวานีนนั้นจะเท่ากับไซโตซีน และปริมาณของอะดีนีนจะเท่ากับไทมีน คู่ A:T และ C:G นั้นมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน หากจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว ความยาวของคู่เบสแต่ละคู่นั้นจะมีค่าเท่ากัน และจะพอเหมาะเท่ากับระหว่างสันหลังฟอสเฟตสองอัน คู่เบสจะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารล่อที่เป็นเคมีประเภทหนึ่งที่ง่ายที่จะแตกและง่ายที่จะก่อตัวขึ้นใหม่ หลังจากมีการรับรู้ถึงความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างคู่ A:T และ C:G แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น วัตสันและคริกก็ได้สร้างแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอพร้อมกับพันธะไฮโดรเจนที่แกนกลางของเกลียวซึ่งทำให้เกิดทางที่จะคล้ายเกลียวทั้งสองสำหรับการถอดแบบดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสิ่งต้องการสุดท้ายที่สำคัญสำหรับแบบจำลองโมเลกุลพันธุกรรมที่น่าจะเป็นไปได้
พร้อมกันนั้น การเข้าคู่เบสยังได้แสดงวิธีการทำสำเนาโมเลกุลดีเอ็นเออีกด้วย เพียงแค่ดึงสันหลังฟอสเฟตสองอันแยกจากกัน ซึ่งแต่ละสันหลังพร้อมกับส่วนประกอบ A, T, G และ C ซึ่งเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจน แต่ละสายนั้นจะสามารถใช้เป็นแม่แบบสำหรับการรวมกลุ่มกันของสายคู่เบสใหม่
เมื่อวัตสันและคริกสร้างแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอของพวกเขา ก็เป็นที่รู้กันแล้วว่าโปรตีนนั้นก่อให้เกิดลักษณะพิเศษส่วนใหญ่ของรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันจำนวนมากบนโลก ซึ่งในทางโครงสร้างแล้ว โปรตีนเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของหน่วยย่อยกรดอะมิโนเป็นสายยาว ในบางกรณี โมเลกุลทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอ จำเป็นต้องมีคำสั่งสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนที่พบได้ในเซลล์ จากแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอ ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างลำดับเส้นตรงของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลดีเอ็นเอกับลำดับเส้นตรงของกรดอะมิโนในโปรตีน รายละเอียดที่ว่าลำดับดีเอ็นเอสั่งให้สังเคราะห์โปรตีนชนิดใดนั้นได้มีการหาคำตอบโดยนักชีววิทยาโมเลกุลระหว่างปี ค.ศ. 1953 ถึง 1965 ฟรานซิส คริกมีบทบาทสำคัญในทั้งทฤษฎีและการวิเคราะห์การทดลองซึ่งนำไปสู่การทำความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของรหัสพันธุกรรม
อ้างอิง
- Watson JD, Crick FH (April 1953). "Molecular structure of nucleic acids; a structure for deoxyribose nucleic acid" (PDF). Nature. 171 (4356): 737–738. Bibcode:1953Natur.171..737W. doi:10.1038/171737a0. PMID 13054692.
- Pauling, L., and Corey R. B., Proc. N. A. S., 39, 84-97 (1953)
- Judson, Horace Freeland (1979). Eighth Day of Creation: Makers of the Revolution in Biology. New York: Simon & Schuster. ISBN .
- Discover the rules of DNA base pairing with an online simulator เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Perutz, MF; Randall, JT; Thomson, L; Wilkins, MH; Watson, JD (1969). "DNA helix". Science. 164 (887): 1537–9. doi:10.1126/science.164.3887.1537. PMID 5796048.
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น ((help)); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น ((help))
แหล่งข้อมูลอื่น
- Original text (Online version). Nature.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
okhrngsrangomelkulkhxngkrdniwkhlixik okhrngsrangsahrbkrddixxksiirobsniwkhlixik epnbthkhwamsungtiphimphody ecms di wtsn aelafransis khrik inwarsarwithyasastr enecxr chbbthi 171 hna 737 738 wnthi 25 emsayn kh s 1953 1 bthkhwamniepnphlnganchinaerksungxthibaykarkhnphbokhrngsrangekliywkhukhxngdiexnex karkhnphbdngklawsrangphlkrathbihyhlwngtxwichachiwwithya odyechphaaxyangyinginkarsuksaphnthusastr bthkhwamnimkeriykkhanknwaepn ikhmuk aehngwithyasastr enuxngcakepnbthkhwamthisnaelamikhatxbekiywkbprisnaphunthankhxngsingmichiwit prisnaniepnkhathamthiwaepnipidxyangirthikhasngthangphnthukrrmthukekbxyuphayinsingmichiwitaelasamarthsngphancakrunsurunidxyangir bthkhwamninaesnxthangxxkthingayaelaslaslwy sungsrangkhwamprahladicihaeknkchiwwithyacanwnmakinewlann phusungkhidwakarsngphandiexnexcaepnsingthimiraylaexiydsbsxnaelayakthicaekhaicmakkwani enuxha 1 cudkaenidkhxngchiwwithyaomelkulll 2 okhrngsrangaelahnathikhxngdiexnex 3 xangxing 4 aehlngkhxmulxuncudkaenidkhxngchiwwithyaomelkulllaek nbsp aephnphaphlksnaokhrngsrangthisakhykhxngekliywkhudiexnex aetphaphniimidaesdngbi diexnex karprayuktkhwamruthangfisiksaelaekhmiekhakbpyhathangchiwwithyanaipsukarphthnakhwamruindanchiwwithyaomelkul chiwwithyaomelkulniepnkhwamruthiekiywkhxngkbkhxmulthangchiwwithyathiradbyinaelaoprtin karkhnphbekliywkhukrdniwkhlixikthaihchdecnwayinnnepnswnhnungkhxngomelkuldiexnexaelacatxngmihnthangthiesllcatxngichpraoychncakyindiexnexinkarsngekhraahoprtin ilns phxlingepnnkekhmiphusungmixiththiphlxyangmakinkarphthnakhwamekhaicekiywkbokhrngsrangkhxngomelkul inpi kh s 1951 phxlingidtiphimphokhrngsrangkhxngekliywxlfa sungepnswnprakxbphunthanthisakhykhxngoprtin emuxtnpi kh s 1953 ekhaidtiphimphaebbcalxngekliywsamthiimthuktxngkhxngdiexnex 2 thngkhrikaelaodyechphaaxyangyingwtsn rusukwatnkalngaekhngkhnkbphxlingephuxkhnphbokhrngsrangdiexnexkxnxikfayhnung aemks edlbruk epnnkfisiksphusungtrahnkthungkhwamekiywkhxngknbangprakarkhxngchiwwithyakbkhwxntmfisiks khwamkhidkhxngedlbrukekiywkbphunthanechingfisikskhxngchiwitniidkratunihexxrwin cherxdingengxrekhiynhnngsuxthimixiththiphlxyangmak chuxwa xairkhuxchiwit What is Life sunghnngsuxelmniexngidmixiththiphlyangsakhytxfransis khrik ecms di wtsn aelamwris wilkhins phusungidrbrangwloneblsakhakaraephthysahrbkarkhnphbekliywkhudiexnex khwamphyayamkhxngedlbrukinkarthaih klumefc epnthiruck karsarwcphnthusastrodywithikarkhxngiwrsthithaihaebkhthieriytidechux nnepnkawsakhyinkarphthnachiwwithyaomelukulinphaphrwmchwngaerk aelakarphthnakhwamsnicthangwithyasastrkhxngwtsnxikdwy 3 okhrngsrangaelahnathikhxngdiexnexaekkrnithiwaokhrngsrangkhxngomelkulnnngaythicathaihsmphnthkbhnathikhxngmnnnimthuktxngesmxip singthithaihokhrngsrangkhxngdiexnexsmphnthkbhnathikhxngmnxyangehnidchdnnidxthibayphxpramaniwaelwintxnthaykhxngbthkhwam mnhniimphnkarsngektkhxngerathiwakarekhakhuknxyangechphaatamthieraidsnnisthaniwnncabngbxkthungklikkarthasaenasahrbsarphnthukrrmidthnthi karekhakhuknxyangechphaa nnepnlksnathisakhykhxngaebbcalxngdiexnexkhxngwtsnaelakhrik sungepnkarekhakhuknkhxnghnwyyxyniwkhlioxithd 4 indiexnex primankhxngkwaninnncaethakbisotsin aelaprimankhxngxadinincaethakbithmin khu A T aela C G nnmiokhrngsrangthikhlaykhlungkn hakcaklawodylaexiydaelw khwamyawkhxngkhuebsaetlakhunncamikhaethakn aelacaphxehmaaethakbrahwangsnhlngfxseftsxngxn khuebscathukyudekhadwykndwyphnthaihodrecn sungepnsarlxthiepnekhmipraephthhnungthingaythicaaetkaelangaythicakxtwkhunihm hlngcakmikarrbruthungkhwamkhlaykhlungknkhxngokhrngsrangkhu A T aela C G aelw imnanhlngcaknn wtsnaelakhrikkidsrangaebbcalxngekliywkhudiexnexphrxmkbphnthaihodrecnthiaeknklangkhxngekliywsungthaihekidthangthicakhlayekliywthngsxngsahrbkarthxdaebbdiexnex sungepnsingtxngkarsudthaythisakhysahrbaebbcalxngomelkulphnthukrrmthinacaepnipid phrxmknnn karekhakhuebsyngidaesdngwithikarthasaenaomelkuldiexnexxikdwy ephiyngaekhdungsnhlngfxseftsxngxnaeykcakkn sungaetlasnhlngphrxmkbswnprakxb A T G aela C sungechuxmkndwyphnthaihodrecn aetlasaynncasamarthichepnaemaebbsahrbkarrwmklumknkhxngsaykhuebsihm emuxwtsnaelakhriksrangaebbcalxngekliywkhudiexnexkhxngphwkekha kepnthiruknaelwwaoprtinnnkxihekidlksnaphiessswnihykhxngrupaebbsingmichiwitthiaetktangkncanwnmakbnolk sunginthangokhrngsrangaelw oprtinekidkhuncakkarrwmtwknkhxnghnwyyxykrdxamionepnsayyaw inbangkrni omelkulthangphnthukrrm diexnex caepntxngmikhasngsahrbkarsngekhraahoprtinthiphbidinesll cakaebbcalxngekliywkhudiexnex kepnthichdecnaelwwacatxngmikhwamsmphnthknrahwangladbesntrngkhxngniwkhlioxithdinomelkuldiexnexkbladbesntrngkhxngkrdxamioninoprtin raylaexiydthiwaladbdiexnexsngihsngekhraahoprtinchnididnnidmikarhakhatxbodynkchiwwithyaomelkulrahwangpi kh s 1953 thung 1965 fransis khrikmibthbathsakhyinthngthvsdiaelakarwiekhraahkarthdlxngsungnaipsukarthakhwamekhaicthiluksungyingkhunkhxngrhsphnthukrrm 5 xangxingaek Watson JD Crick FH April 1953 Molecular structure of nucleic acids a structure for deoxyribose nucleic acid PDF Nature 171 4356 737 738 Bibcode 1953Natur 171 737W doi 10 1038 171737a0 PMID 13054692 Pauling L and Corey R B Proc N A S 39 84 97 1953 Judson Horace Freeland 1979 Eighth Day of Creation Makers of the Revolution in Biology New York Simon amp Schuster ISBN 9788796947853 Discover the rules of DNA base pairing with an online simulator ekbthawr 2011 05 27 thi ewyaebkaemchchin Perutz MF Randall JT Thomson L Wilkins MH Watson JD 1969 DNA helix Science 164 887 1537 9 doi 10 1126 science 164 3887 1537 PMID 5796048 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a imruckpharamietxr author separator thuklaewn help imruckpharamietxr month thuklaewn help aehlngkhxmulxunaekOriginal text Online version Nature ekhathungcak https th wikipedia org w index php title okhrngsrangomelkulkhxngkrdniwkhlixik okhrngsrangsahrbkrddixxksiirobsniwkhlixik amp oldid 11149708