โกหยิว (ค.ศ. 174 – ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เกา โหรว (จีน: 高柔; พินอิน: Gāo Róu) ชื่อรอง เหวินฮุ่ย (จีน: 文惠; พินอิน: Wénhuì) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นญาติผู้น้องของโกกัน เดิมรับใช้ขุนศึกอ้วนเสี้ยวและโจโฉในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
โกหยิว (เกา โหรว) | |
---|---|
高柔 | |
เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์ฺ) | |
ดำรงตำแหน่ง ตุลาคม ค.ศ. 256 – ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | โจมอ / โจฮวน |
ก่อนหน้า | สุมาหู |
ถัดไป | เตงงาย |
(司徒 ซือถู) | |
ดำรงตำแหน่ง พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 248 – ตุลาคม ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | โจฮอง / โจมอ |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | |
(司空 ซือคง) | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน ค.ศ. 245 – พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 248 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | หวาง หลิง |
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – 27 กันยายน ค.ศ. 245 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง 223–? | |
กษัตริย์ | โจผี / โจยอย |
เสมียนหลวงผู้เตรียมเอกสาร (治書侍御史 จื้อชูชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 220 – ค.ศ. 223 | |
กษัตริย์ | โจผี |
เจ้าเมืองเองฉวน (潁川太守 อิ่งชฺวานไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 220 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
หัวหน้ารัฐบาล | โจโฉ |
ขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 213 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
หัวหน้ารัฐบาล | โจโฉ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 174 นครไคเฟิง มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | ตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 263 (89 ปี) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เหวินฮุ่ย (文惠) |
ยฺเหวียนโหว (元侯) | |
บรรดาศักดิ์ | อานกั๋วโหว (安國侯) |
ประวัติช่วงต้นและเข้าพึ่งโกกัน
โกหยิวเป็นชาวอำเภอยฺหวี่ (圉縣 ยฺหวี่เซี่ยน) เมืองตันลิว (陳留郡 เฉินหลิวจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณ นครไคเฟิง มณฑลเหอหนาน บิดาของโกหยิวชื่อเกา จิ้ง (高靖) รับราชการเป็นนายกองร้อยประจำเมืองจ๊ก (蜀郡都尉 สู่จฺวิ้นตูเว่ย์) แต่ตัวโกหยิวยังอยู่ที่เมืองตันลิวอันเป็นบ้านเกิด
ในปี ค.ศ. 192 เวลานั้นโจโฉเป็นข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว (兗州刺史 เหยี่ยนโจวชื่อฉื่อ) โกหยิวบอกกับผู้คนในเมืองว่าตันลิวจะกลายเป็นดินแดนที่ถูกล้อมรอบด้วยการศึกทั้งสี่ทิศ โจโฉยังมีความต้องการจะเข้าบุกไปทั้งสี่ทิศ จะต้องไม่อยู่ป้องกันกุนจิ๋วอย่างสงบ นอกจากนั้นเตียวเมาเจ้าเมืองตันลิวแม้ว่าดูเหมือนจะติดตามโจโฉอยู่ แต่เกรงว่าอาจจะทรยศขึ้นได้ จึงแนะนำให้ผู้คนทั้งหลายรีบออกจากตันลิวโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ในเวลานั้นทุกคนต่างเชื่อว่าเตียวเมาและโจโฉเป็นมิตรกัน และโกหยิวก็อายุยังน้อย จึงไม่สนใจคำของโกหยิว
โกหยิวมีลูกพี่ลูกน้องชื่อโกกันผู้เป็นหลานชาย (บุตรชายของพี่สาวหรือน้องสาว) ของอ้วนเสี้ยว เวลานั้นโกกันเชิญโกหยิวมาที่เหอเป่ย์ (河北; พื้นที่ฝั่งเหนือของแม่น้ำฮองโห) โกหยิวจึงพาครอบครัวเดินทางไปพึ่งโกกัน
เมื่อเกา จิ้งบิดาของโกหยิวเสียชีวิต โกหยิวไม่หวั่นเกรงกำลังทหารที่ซุ่มปล้นตามทางยาวไกล เสี่ยงเดินทางไปยังเมืองจ๊กเพื่อไปร่วมงานศพ ประสบความยากลำบากอย่างมาก หลังจากนั้น 3 ปีจึงกลับไปทางเหนือ
สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ
ในปี ค.ศ. 204 โกกันและโกหยิวสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ โจโฉตั้งให้โกหยิวเป็นนายอำเภอ (長 จ่าง) ของอำเภอเจียน (菅縣 เจียนเซี่ยน) ทุกคนในอำเภอเจียนต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของโกหยิว ข้าราชการที่เคยทุจริตหลายคนต่างลาออกอย่างสมัครใจเมื่อทราบว่าโกหยิวมาเป็นนายอำเภอ แต่โกหยิวยังให้ข้าราชการเหล่านี้คงอยู่ในราชการ ให้อภัยต่อเรื่องที่พวกเขาเคยทำในอดีต และทำให้พวกเขาทั้งหมดกลายเป็นข้าราชการที่ดี
ในปี ค.ศ. 205 โกกันก่อกบฏต่อโจโฉที่เป๊งจิ๋ว แม้ว่าโกหยิวไม่ได้เข้าร่วมกับโกกัน แต่โจโฉก็คิดจะสั่งประหารชีวิตโกหยิวเพราะเรื่องที่โกกันก่อขึ้น จึงให้โกหยิวเข้าไปในเรือนจำ ทำหน้าที่เป็นเสมียนตรวจสอบคนร้าย (刺奸令史 ชื่อเจียนลิ่งฉื่อ) แต่โกหยิวทำหน้าที่ได้ดีมาก การบังคับใช้กฎหมายถูกต้องเหมาะสม ในเรือนจำก็ไม่มีนักโทษยังที่ไม่ถูกตัดสินเหลืออยู่ โกหยิวตรวจสอบเอกสารจนดึกดื่นทุกคืนและเผลอหลับไปโดยถือเอกสารอยู่ เมื่อโจโฉทราบผลงานของโกหยิวดังนั้นก็เปลี่ยนใจเรื่องที่เคยคิดจะสั่งประหารชีวิตโกหยิว แล้วตั้งให้โกหยิวเป็นเจ้าหน้าที่สำนักยุ้งฉางของอัครมหาเสนาบดี (丞相倉曹屬 เฉิงเซี่ยงชางเฉาฉู่)
ตรวจราชการและเสนอแผน
ในปี ค.ศ. 211 โจโฉต้องการส่งจงฮิวและคนอื่น ๆ ไปปราบเตียวฬ่อ และโกหยิวเห็นว่าหากนำทัพไปทางตะวันตกจะทำให้ม้าเฉียวและหันซุยในระแวงว่าโจโฉต้องการโจมตีพวกตนและจะเป็นการบีบให้ทั้งคู่ก่อกบฏต่อโจโฉ จึงควรทำให้ซานฝู่ (三輔; เขตป้องกันสนับสนุน 3 เขตรอบเตียงฮัน) สงบลงเสียก่อน เมื่อซานฝู่สงบลงแล้ว เตียวฬ่อก็จะยอมจำนนแต่โดยดี แต่โจโฉไม่ฟังคำโกหยิว หลังจงฮิวและคนอื่น ๆ ยกทัพไปทางตะวันตก ม้าเฉียวและหันซุยก็ก่อกบฏขึ้นจริง ๆ
ในปี ค.ศ. 213 โจโฉขึ้นเป็นวุยก๋ง (魏公 เว่ย์กง) ก่อตั้งราชรัฐวุยก๊ก (魏國 เว่ย์กั๋ว) โกหยิวได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) ต่อมาย้ายไปเป็นขุนนางสำนักตรรกะของอัครมหาเสนาบดี (丞相理曹掾 เฉิงเซี่ยงหลี่เฉาเยฺวี่ยน) ในเวลานั้น นายทหารซ่ง จิน (宋金) และคนอื่น ๆ ในหับป๋า (合肥 เหอเฝย์) หนีืทัพ บางคนเสนอให้จับตัวมารดา ภรรยา และน้องชาย 2 คนของซ่ง จินมาประหารชีวิต แต่โกหยิวเห็นว่าการลงโทษอย่างรุนแรงไม่เพียงไม่ช่วยหยุดยั้งการหนีทัพของทหาร แต่ยังทำให้มีคนหนีทัพมากขึ้นเพราะเห็นว่าตนไม่เหลือทางอื่น การประนีประนอมอย่างมีน้ำใจต่างหากที่สามารถกุมใจทหารได้ โจโฉฟังคำของโกหยิว ครอบครัวที่ไม่มีความผิดของทหารหนีทัพจำนวนมากจึงรอดชีวิตมาได้
ต่อมาโกหยิวได้รับตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเองฉวน (潁川 อิ่งชฺวาน) แล้วกลับมาเป็นขุนนางสำนักกฎหมาย (法曹掾 ฝ่าเฉาเยฺวี่ยน) เวลานั้นราชสำนักแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (校事 เซี่ยวชื่อ) เพื่อตรวจสอบเหล่าขุนนาง โกหยิวเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเหล่านี้ไม่ได้อยู่เหนือขุนนางใด ๆ และไม่ได้อยู่ใต้ขุนนางใด ๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเจ้า ต๋า (趙達) และคนอื่น ๆ ใช้ความชอบและไม่ชอบส่วนตัวในการแสวงอำนาจและทรัพย์สินให้ตนเองหลายครั้ง จึงควรที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่เหล่านี้ แต่โจโฉไว้วางใจเจ้า ต๋าด้วยเชื่อว่าเจ้า ต๋าและคนอื่น ๆ สามารถทำงานตรวจสอบขุนนางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังความผิดฐานแสวงประโยชน์ของเจ้า ต๋าและคนอื่น ๆ ถูกเปิดเผย โจโฉจึงสังหารพวกเขาทั้งหมดเพื่อเป็นการขอโทษที่ไม่ฟังคำแนะนำของโกหยิว
ใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม
หลังจากที่โจผีขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 220 พระองค์ทรงแต่งตั้งให้โกหยิวเป็นเสมียนหลวงผู้เตรียมเอกสาร (治書侍御史 จื้อชูชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ) ให้มีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และตั้งตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นผู้เตรียมเอกสารบังคับกฎหมาย (治書執法 ชื่อชูจื๋อฝ่า) เวลานั้นมีคนจำนวนมากที่พูดให้ร้ายโจผี โจผีจึงมีรับสั่งให้จับตัวผู้ให้ร้ายมาประหารชีวิต และพระราชทานรางวัลให้กับผู้แจ้งชื่อผู้ให้ร้าย แต่ก็ทำให้มีหลายคนถูกกล่าวหาอย่างเป็นเท็จว่าเป็นผู้ให้ร้าย โกหยิวจึงทูลเสนอให้ยกเลิกรับสั่งนี้เพื่อปกป้องคนบริสุทธิ์จากการตกเป็นเหยื่อ แต่โจผีไม่ได้ทรงรับฟังในทันที ยังคงรับสั่งลงโทษผู้ให้ร้าย อย่างไรก็ตาม โกหยิวตรวจสอบทุกคดีว่าร้ายที่รายงานเข้ามาเพื่อหาข้อเท็จจริง หากเป็นความผิดเล็กน้อยก็จะตัดสินเป็นเพียงโทษปรับ
ในปี ค.ศ. 223 โกหยิวได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์)
ในปี ค.ศ. 226 เนื่องจากโจผีทรงมีความแค้นและไม่พอพระทัยเป้า ซฺวิน (鮑勳) มาเป็นเวลานาน จึงมีพระประสงค์จะเลี่ยงกฎหมายเพื่อหาเหตุประหารชีวิตเป้า ซฺวินด้วยความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ โกหยิวทูลปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามรับสั่ง โจผีจึงมีรับสั่งย้ายโกหยิวออกจากตำแหน่ง และตั้งเสนาบดีตุลาการคนใหม่ทันทีให้ปฏิบัติตามรับสั่ง และประหารเป้า ซฺวินได้ในที่สุดโดยไม่ทรงฟังคำทูลทัดทานของขุนนางหลายคน ภายหลังจากเป้า ซฺวินถูกประหารชีวิต โกหยิวได้กลับมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีตุลาการตามเดิม
แนะนำช่วยเหลือนาย
เมื่อโจยอยขึ้นสืบราชบัลลังก์ถัดจากโจผีในปี ค.ศ. 226 โกหยิวได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเหยียนโช่วถิงโหว (延壽亭侯) โกหยิวเคยทูลแนะนำให้โจยอยทรงคัดเลือกบัณฑิตผู้มีความสามารถมาเป็นขุนนางผู้ใหญ่เพื่อแสดงคำสอนในลัทธิขงจื๊อ นอกจากนี้โกหยิวยังทูลแนะนำให้โจยอยหยุดการก่อสร้างพระราชวังและลดจำนวนพระสนมลง เพื่อลดภาระของราษฎรและป้องกันไม่ให้อำนาจรัฐสิ้นลง โจยอยทรงเห็นด้วยทั้งหมด
ต่อมาหลิว กุย (劉龜) ผู้มีตำแหน่งขุนนางจัดการการเกษตรอำเภออี้หยาง (宜陽典農 อี้หยางเตี่ยนหนง) ได้ลอบล่ากระต่ายในเขตล่าสัตว์ส่วนพระองค์ จาง จิง (張京) ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹 กงเฉา) ของหลิว กุยจึงไปยื่นคำฟ้องกล่าวโทษหลิว กุย แต่โจยอยทรงเพียงให้จับตัวหลิว กุยมาขังคุก และปกปิดชื่อของจาง จิงในฐานะผู้ยื่นคำฟ้องไว้ โกหยิวทูลขอให้โจยอยเผยชื่อผู้ยื่นคำฟ้องแต่โจยอยทรงปฏิเสธ โกหยิวจึงทูลว่า "เสนาบดีตุลาการเป็นความยุติธรรมของแผ่นดิน จะปล่อยให้ความสุขและความโกรธของผู้ทรงเกียรติสูงสุดมาทำลายกฎหมายได้อย่างไร" หลังจากที่โกหยิวถวายฎีกาอีกครั้ง คำที่ลึกซึ้งของโกหยิวทำให้โจยอยทรงตระหนักได้ในที่สุด จึงเผยชื่อจาง จิงไปเพื่อให้จาง จิงและหลิว กุยได้รับการพิจารณาคดีใหม่และให้ได้รับโทษที่เหมาะสมกับความผิดของแต่ละคน
ขึ้นมามีตำแหน่งชั้นซานกง
ภายหลังโกหยิวได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง) ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 245 ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) และในปี ค.ศ. 248 ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู)
ในการช่วงชิงอำนาจระหว่างโจซองและสุมาอี้ โกหยิวให้การสนับสนุนสุมาอี้ ในปี ค.ศ. 249 สุมาอี้ก่อการรัฐประหารสุสานโกเบงเหลงโดยโกหยิวได้เข้าร่วมก่อการ โดยใช้คทาอาญาสิทธิ์เข้ารักษาการดูแลกิจการของมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) และยึดอำนาจในการบัญชาการค่ายทหารของโจซอง หลังจากโจซองถูกประหารชีวิตโดยคำสั่งของสุมาอี้ โกหยิวได้รับบรรดาศักดิ์เป็นว่ายซุ่ยเซียงโหว (萬歲鄉侯)
ในปี ค.ศ. 254 โจมอขึ้นครองราชย์ โกหยิวได้รับบรรดาศักดิ์อานกั๋วโหว (安國侯) และขึ้นมามีตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์ฺ)
หลังจากโจฮวนขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 260 ศักดินาของโกหยิวได้เพิ่มขึ้น โกหยิวมอบศักดินาทั้งหมดของตนให้กับบุตรชาย 2 คนที่มีบรรดาศักดิ์ระดับถิงโหว (亭侯)
ในปี ค.ศ. 263 เดือน 9 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 โกหยิวเสียชีวิตขณะอายุ 90 ปี (ตาม) ได้รับสมัญญานามว่า ยฺเหวียนโหว (元侯)
เกา หุน (高渾) หลานชายของโกหยิวได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ของโกหยิว ในช่วงศักราชในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮวน ได้มีการเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ของเกา หุนเป็นชางลู่จื่อ (昌陸子)
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- พระราชประวัติโจฮวนในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าโกหยิวเสียชีวิตในเดือน 9 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 ในรัชสมัยของโจฮวน เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 ตุลาคมถึง 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน ชีวประวัติโกหยิวในจดหมายเหตุสามก๊กยังบันทึกว่าโกหยิวมีอายุ 90 ปี (ตาม) เมื่อเขาเสียชีวิต เมื่อคำนวณแล้วปีเกิดของโกหยิวจึงเป็นปี ค.ศ. 174
- ศักราชเจิ้งฉื่อปีที่ 6 เดือน 8 วันติงเม่า (丁卯) ในรัชสมัยของจักรพรรดิโจฮอง
อ้างอิง
- ([景元四年]秋九月,太尉高柔薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- (景元四年,年九十薨,謚曰元侯。) จดหมายเหตุสากก๊ก เล่มที่ 24.
- (高柔字文惠,陳留圉人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (父靖,為蜀郡都尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (柔留鄉里) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (謂邑中曰:「今者英雄並起,陳留四戰之地也。曹將軍雖據兗州,本有四方之圖,未得安坐守也。而張府君先得志於陳留,吾恐變乘閒作也,欲與諸君避之。」)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (眾人皆以張邈與太祖善,柔又年少,不然其言。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (柔從兄幹,袁紹甥也,在河北呼柔,柔舉宗從之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (會靖卒於西州,時道路艱澀,兵寇縱橫,而柔冒艱險詣蜀迎喪,辛苦荼毒,無所不嘗,三年乃還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (太祖平袁氏,以柔為菅長。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (縣中素聞其名,姧吏數人皆自引去。柔教曰:「昔邴吉臨政,吏嘗有非,猶尚容之。況此諸吏,於吾未有失乎!其召復之。」咸還,皆自勵,咸為佳吏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (高幹旣降,頃之以并州叛。柔自歸太祖,太祖欲因事誅之,以為刺姧令史;處法允當,獄無留滯,辟為丞相倉曹屬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (太祖欲遣鍾繇等討張魯,柔諫,以為今猥遣大兵,西有韓遂、馬超,謂為己舉,將相扇動作逆,宜先招集三輔,三輔苟平,漢中可傳檄而定也。繇入關,遂、超等果反。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (魏國初建,為尚書郎。轉拜丞相理曹掾) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (鼓吹宋金等在合肥亡逃。舊法,軍征士亡,考竟其妻子。太祖患猶不息,更重其刑。金有母妻及二弟皆給官,主者奏盡殺之。柔啟曰:「士卒亡軍,誠在可疾,然竊聞其中時有悔者。愚謂乃宜貸其妻子,一可使賊中不信,二可使誘其還心。正如前科,固已絕其意望,而猥復重之,柔恐自今在軍之士,見一人亡逃,誅將及己,亦且相隨而走,不可復得殺也。此重刑非所以止亡,乃所以益走耳。」太祖曰:「善。」即止不殺金母、弟,蒙活者甚衆。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (遷為潁川太守,復還為法曹掾。時置校事盧洪、趙達等,使察羣下,柔諫曰:「設官分職,各有所司。今置校事,旣非居上信下之旨。又達等數以憎愛擅作威福,宜檢治之。」太祖曰:「卿知達等,恐不如吾也。要能刺舉而辨衆事,使賢人君子為之,則不能也。昔叔孫通用羣盜,良有以也。」達等後姧利發,太祖殺之以謝於柔。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (民間數有誹謗妖言,帝疾之,有妖言輒殺,而賞告者。柔上疏曰:「今妖言者必戮,告之者輒賞。旣使過誤無反善之路,又將開凶狡之羣相誣罔之漸,誠非所以息姧省訟,緝熈治道也。昔周公作誥,稱殷之祖宗,咸不顧小人之怨。在漢太宗,亦除妖言誹謗之令。臣愚以為宜除妖謗賞告之法,以隆天父養物之仁。」帝不即從,而相誣告者滋甚。帝乃下詔:「敢以誹謗相告者,以所告者罪罪之。」於是遂絕。校事劉慈等,自黃初初數年之閒,舉吏民姧罪以萬數,柔皆請懲虛實;其餘小小挂法者,不過罰金。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (四年,遷為廷尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (帝以宿嫌,欲枉法誅治書執法鮑勛,而柔固執不從詔命。帝怒甚,遂召柔詣臺;遣使者承指至廷尉考竟勛,勛死乃遣柔還寺。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (明帝即位,封柔延壽亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (時博士執經,柔上疏曰:「臣聞遵道重學,聖人洪訓;褒文崇儒,帝者明義。昔漢末陵遲,禮樂崩壞,雄戰虎爭,以戰陣為務,遂使儒林之羣,幽隱而不顯。太祖初興,愍其如此,在於撥亂之際,並使郡縣立教學之官。高祖即位,遂闡其業,興復辟雍,州立課試,於是天下之士,復聞庠序之教,親俎豆之禮焉。陛下臨政,允迪叡哲,敷弘大猷,光濟先軌,雖夏啟之承基,周成之繼業,誠無以加也。然今博士皆經明行脩,一國清選,而使遷除限不過長,懼非所以崇顯儒術,帥勵怠惰也。孔子稱『舉善而教不能則勸』,故楚禮申公,學士銳精,漢隆卓茂,搢紳競慕。臣以為博士者,道之淵藪,六藝所宗,宜隨學行優劣,待以不次之位。敦崇道教,以勸學者,於化為弘。」帝納之。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (後大興殿舍,百姓勞役;廣采衆女,充盈後宮;後宮皇子連夭,繼嗣未育。柔上疏曰:「二虜狡猾,潛自講肄,謀動干戈,未圖束手;宜畜養將士,繕治甲兵,以逸待之。而頃興造殿舍,上下勞擾;若使吳、蜀知人虛實,通謀并勢,復俱送死,甚不易也。昔漢文惜十家之資,不營小臺之娛;去病慮匈奴之害,不遑治第之事。況今所損者非惟百金之費,所憂者非徒北狄之患乎?可粗成見所營立,以充朝宴之儀。訖罷作者,使得就農。二方平定,復可徐興。昔軒轅以二十五子,傳祚彌遠;周室以姬國四十,歷年滋多。陛下聦達,窮理盡性,而頃皇子連多夭逝,熊羆之祥又未感應。羣下之心,莫不悒戚。周禮,天子后妃以下百二十人,嬪嬙之儀,旣以盛矣。竊聞後庭之數,或復過之,聖嗣不昌,殆能由此。臣愚以為可妙簡淑媛,以備內官之數,其餘盡遣還家。且以育精養神,專靜為寶。如此,則螽斯之徵,可庶而致矣。」帝報曰:「知卿忠允,乃心王室,輒克昌言;他復以聞。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (時獵法甚峻。宜陽典農劉龜竊於禁內射兎,其功曹張京詣校事言之。帝匿京名,收龜付獄。柔表請告者名,帝大怒曰:「劉龜當死,乃敢獵吾禁地。送龜廷尉,廷尉便當考掠,何復請告者主名,吾豈妄收龜邪?」柔曰:「廷尉,天下之平也,安得以至尊喜怒而毀法乎?」重復為奏,辭指深切。帝意寤,乃下京名。即還訊,各當其罪。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (轉為太常) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (旬日遷司空) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (後徙司徒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (太傅司馬宣王奏免曹爽,皇太后詔召柔假節行大將軍事,據爽營。太傅謂柔曰:「君為周勃矣。」爽誅,進封萬歲鄉侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (高貴鄉公即位,進封安國侯,轉為太尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (常道鄉公即位,增邑并前四千,前後封二子亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (景元四年,年九十薨,謚曰元侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
- (孫渾嗣。咸熈中,開建五等,以柔等著勳前朝,改封渾昌陸子。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
okhyiw kh s 174 tulakhmhruxphvscikayn kh s 263 michuxinphasacinklangwa eka ohrw cin 高柔 phinxin Gao Rou chuxrxng ehwinhuy cin 文惠 phinxin Wenhui epnkhunnangkhxngrthwuykkinyukhsamkkkhxngcin epnyatiphunxngkhxngokkn edimrbichkhunsukxwnesiywaelaocochinchwngplayyukhrachwngshntawnxxkokhyiw eka ohrw 高柔esnabdiklaohm 太尉 ithewy darngtaaehnng tulakhm kh s 256 256 tulakhmhruxphvscikayn kh s 263 263 kstriyocmx ochwnkxnhnasumahuthdipetngngay 司徒 suxthu darngtaaehnng phvsphakhmhruxmithunayn kh s 248 248 tulakhm kh s 256 256 kstriyochxng ocmxkxnhnathdip 司空 suxkhng darngtaaehnng 27 knyayn kh s 245 245 phvsphakhmhruxmithunayn kh s 248 248 kstriyochxngkxnhnathdiphwang hlingesnabdiphithikar 太常 ithchang darngtaaehnng kh s 27 knyayn kh s 245 245 kstriyochxngesnabditulakar 廷尉 thingewy darngtaaehnng 223 kstriyocphi ocyxyesmiynhlwngphuetriymexksar 治書侍御史 cuxchuchux y wichux darngtaaehnng kh s 220 220 kh s 223 223 kstriyocphiecaemuxngexngchwn 潁川太守 xingch wanithochw darngtaaehnng kh s kh s 220 220 kstriyphraecaehiynethwhnarthbalocochkhunnangsankrachelkhathikar 尚書郎 changchuhlang darngtaaehnng kh s 213 213 kh s kstriyphraecaehiynethwhnarthbalocochkhxmulswnbukhkhlekidkh s 174 nkhrikhefing mnthlehxhnanesiychiwittulakhmhruxphvscikayn kh s 263 89 pi butreka c wineka taneka kwangbuphkarieka cing bida yatiokkn yati xachiphkhunnangchuxrxngehwinhuy 文惠 y ehwiynohw 元侯 brrdaskdixankwohw 安國侯 prawtichwngtnaelaekhaphungokknokhyiwepnchawxaephxy hwi 圉縣 y hwiesiyn emuxngtnliw 陳留郡 echinhliwc win sungpccubnxyubriewn nkhrikhefing mnthlehxhnan bidakhxngokhyiwchuxeka cing 高靖 rbrachkarepnnaykxngrxypracaemuxngck 蜀郡都尉 suc wintuewy aettwokhyiwyngxyuthiemuxngtnliwxnepnbanekid inpi kh s 192 ewlannocochepnkhahlwngmnthlkunciw 兗州刺史 ehyiynocwchuxchux okhyiwbxkkbphukhninemuxngwatnliwcaklayepndinaednthithuklxmrxbdwykarsukthngsithis ocochyngmikhwamtxngkarcaekhabukipthngsithis catxngimxyupxngknkunciwxyangsngb nxkcaknnetiywemaecaemuxngtnliwaemwaduehmuxncatidtamocochxyu aetekrngwaxaccathryskhunid cungaenanaihphukhnthnghlayribxxkcaktnliwodyerwephuxhlikeliyngsngkhramthixaccaekidkhun aetinewlannthukkhntangechuxwaetiywemaaelaocochepnmitrkn aelaokhyiwkxayuyngnxy cungimsnickhakhxngokhyiw okhyiwmilukphiluknxngchuxokknphuepnhlanchay butrchaykhxngphisawhruxnxngsaw khxngxwnesiyw ewlannokknechiyokhyiwmathiehxepy 河北 phunthifngehnuxkhxngaemnahxngoh okhyiwcungphakhrxbkhrwedinthangipphungokkn emuxeka cingbidakhxngokhyiwesiychiwit okhyiwimhwnekrngkalngthharthisumplntamthangyawikl esiyngedinthangipyngemuxngckephuxiprwmngansph prasbkhwamyaklabakxyangmak hlngcaknn 3 picungklbipthangehnuxswamiphkditxocochinpi kh s 204 okknaelaokhyiwswamiphkditxococh ocochtngihokhyiwepnnayxaephx 長 cang khxngxaephxeciyn 菅縣 eciynesiyn thukkhninxaephxeciyntangekhyidyinchuxesiyngkhxngokhyiw kharachkarthiekhythucrithlaykhntanglaxxkxyangsmkhricemuxthrabwaokhyiwmaepnnayxaephx aetokhyiwyngihkharachkarehlanikhngxyuinrachkar ihxphytxeruxngthiphwkekhaekhythainxdit aelathaihphwkekhathnghmdklayepnkharachkarthidi inpi kh s 205 okknkxkbttxocochthiepngciw aemwaokhyiwimidekharwmkbokkn aetocochkkhidcasngpraharchiwitokhyiwephraaeruxngthiokknkxkhun cungihokhyiwekhaipineruxnca thahnathiepnesmiyntrwcsxbkhnray 刺奸令史 chuxeciynlingchux aetokhyiwthahnathiiddimak karbngkhbichkdhmaythuktxngehmaasm ineruxncakimminkothsyngthiimthuktdsinehluxxyu okhyiwtrwcsxbexksarcndukdunthukkhunaelaephlxhlbipodythuxexksarxyu emuxocochthrabphlngankhxngokhyiwdngnnkepliyniceruxngthiekhykhidcasngpraharchiwitokhyiw aelwtngihokhyiwepnecahnathisankyungchangkhxngxkhrmhaesnabdi 丞相倉曹屬 echingesiyngchangechachu trwcrachkaraelaesnxaephninpi kh s 211 ocochtxngkarsngcnghiwaelakhnxun ipprabetiywlx aelaokhyiwehnwahaknathphipthangtawntkcathaihmaechiywaelahnsuyinraaewngwaocochtxngkarocmtiphwktnaelacaepnkarbibihthngkhukxkbttxococh cungkhwrthaihsanfu 三輔 ekhtpxngknsnbsnun 3 ekhtrxbetiynghn sngblngesiykxn emuxsanfusngblngaelw etiywlxkcayxmcannaetodydi aetocochimfngkhaokhyiw hlngcnghiwaelakhnxun ykthphipthangtawntk maechiywaelahnsuykkxkbtkhuncring inpi kh s 213 ocochkhunepnwuykng 魏公 ewykng kxtngrachrthwuykk 魏國 ewykw okhyiwidrbkaraetngtngepnkhunnangsankrachelkhathikar 尚書郎 changchuhlang txmayayipepnkhunnangsanktrrkakhxngxkhrmhaesnabdi 丞相理曹掾 echingesiynghliechaey wiyn inewlann naythharsng cin 宋金 aelakhnxun inhbpa 合肥 ehxefy hniuthph bangkhnesnxihcbtwmarda phrrya aelanxngchay 2 khnkhxngsng cinmapraharchiwit aetokhyiwehnwakarlngothsxyangrunaerngimephiyngimchwyhyudyngkarhnithphkhxngthhar aetyngthaihmikhnhnithphmakkhunephraaehnwatnimehluxthangxun karpranipranxmxyangminaictanghakthisamarthkumicthharid ocochfngkhakhxngokhyiw khrxbkhrwthiimmikhwamphidkhxngthharhnithphcanwnmakcungrxdchiwitmaid txmaokhyiwidrbtaaehnngecaemuxng 太守 ithochw khxngemuxngexngchwn 潁川 xingch wan aelwklbmaepnkhunnangsankkdhmay 法曹掾 faechaey wiyn ewlannrachsankaetngtngecahnathitrwcsxb 校事 esiywchux ephuxtrwcsxbehlakhunnang okhyiwehnwaecahnathitrwcsxbehlaniimidxyuehnuxkhunnangid aelaimidxyuitkhunnangid xikthngecahnathitrwcsxbeca ta 趙達 aelakhnxun ichkhwamchxbaelaimchxbswntwinkaraeswngxanacaelathrphysinihtnexnghlaykhrng cungkhwrthicatrwcsxbecahnathiehlani aetocochiwwangiceca tadwyechuxwaeca taaelakhnxun samarththangantrwcsxbkhunnangidxyangmiprasiththiphaph phayhlngkhwamphidthanaeswngpraoychnkhxngeca taaelakhnxun thukepidephy ocochcungsngharphwkekhathnghmdephuxepnkarkhxothsthiimfngkhaaenanakhxngokhyiwichkdhmayxyangethiyngthrrmhlngcakthiocphikhunkhrxngrachyepnckrphrrdiinpi kh s 220 phraxngkhthrngaetngtngihokhyiwepnesmiynhlwngphuetriymexksar 治書侍御史 cuxchuchux y wichux ihmibrrdaskdiradbkwnileha 關內侯 kwanenyohw aelatngtaaehnngephimetimepnphuetriymexksarbngkhbkdhmay 治書執法 chuxchucuxfa ewlannmikhncanwnmakthiphudihrayocphi ocphicungmirbsngihcbtwphuihraymapraharchiwit aelaphrarachthanrangwlihkbphuaecngchuxphuihray aetkthaihmihlaykhnthukklawhaxyangepnethcwaepnphuihray okhyiwcungthulesnxihykelikrbsngniephuxpkpxngkhnbrisuththicakkartkepnehyux aetocphiimidthrngrbfnginthnthi yngkhngrbsnglngothsphuihray xyangirktam okhyiwtrwcsxbthukkhdiwaraythiraynganekhamaephuxhakhxethccring hakepnkhwamphidelknxykcatdsinepnephiyngothsprb inpi kh s 223 okhyiwidrbtaaehnngepnesnabditulakar 廷尉 thingewy inpi kh s 226 enuxngcakocphithrngmikhwamaekhnaelaimphxphrathyepa s win 鮑勳 maepnewlanan cungmiphraprasngkhcaeliyngkdhmayephuxhaehtupraharchiwitepa s windwykhwamphidelk nxy okhyiwthulptiesththicaptibtitamrbsng ocphicungmirbsngyayokhyiwxxkcaktaaehnng aelatngesnabditulakarkhnihmthnthiihptibtitamrbsng aelapraharepa s winidinthisudodyimthrngfngkhathulthdthankhxngkhunnanghlaykhn phayhlngcakepa s winthukpraharchiwit okhyiwidklbmadarngtaaehnngesnabditulakartamedimaenanachwyehluxnayemuxocyxykhunsubrachbllngkthdcakocphiinpi kh s 226 okhyiwidrbphrarachthanbrrdaskdiepnehyiynochwthingohw 延壽亭侯 okhyiwekhythulaenanaihocyxythrngkhdeluxkbnthitphumikhwamsamarthmaepnkhunnangphuihyephuxaesdngkhasxninlththikhngcux nxkcakniokhyiwyngthulaenanaihocyxyhyudkarkxsrangphrarachwngaelaldcanwnphrasnmlng ephuxldpharakhxngrasdraelapxngknimihxanacrthsinlng ocyxythrngehndwythnghmd txmahliw kuy 劉龜 phumitaaehnngkhunnangcdkarkarekstrxaephxxihyang 宜陽典農 xihyangetiynhnng idlxblakratayinekhtlastwswnphraxngkh cang cing 張京 phuepnecahnathipkkhrxng 功曹 kngecha khxnghliw kuycungipyunkhafxngklawothshliw kuy aetocyxythrngephiyngihcbtwhliw kuymakhngkhuk aelapkpidchuxkhxngcang cinginthanaphuyunkhafxngiw okhyiwthulkhxihocyxyephychuxphuyunkhafxngaetocyxythrngptiesth okhyiwcungthulwa esnabditulakarepnkhwamyutithrrmkhxngaephndin caplxyihkhwamsukhaelakhwamokrthkhxngphuthrngekiyrtisungsudmathalaykdhmayidxyangir hlngcakthiokhyiwthwaydikaxikkhrng khathiluksungkhxngokhyiwthaihocyxythrngtrahnkidinthisud cungephychuxcang cingipephuxihcang cingaelahliw kuyidrbkarphicarnakhdiihmaelaihidrbothsthiehmaasmkbkhwamphidkhxngaetlakhnkhunmamitaaehnngchnsankngphayhlngokhyiwideluxntaaehnngkhunepnesnabdiphithikar 太常 ithchang txmainwnthi 27 knyayn kh s 245 idkhunepnesnabdioythathikar 司空 suxkhng aelainpi kh s 248 idkhunepnesnabdimhadithy 司徒 suxthu inkarchwngchingxanacrahwangocsxngaelasumaxi okhyiwihkarsnbsnunsumaxi inpi kh s 249 sumaxikxkarrthpraharsusanokebngehlngodyokhyiwidekharwmkxkar odyichkhthaxayasiththiekharksakarduaelkickarkhxngmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win aelayudxanacinkarbychakarkhaythharkhxngocsxng hlngcakocsxngthukpraharchiwitodykhasngkhxngsumaxi okhyiwidrbbrrdaskdiepnwaysuyesiyngohw 萬歲鄉侯 inpi kh s 254 ocmxkhunkhrxngrachy okhyiwidrbbrrdaskdixankwohw 安國侯 aelakhunmamitaaehnngesnabdiklaohm 太尉 ithewy hlngcakochwnkhunkhrxngrachyinpi kh s 260 skdinakhxngokhyiwidephimkhun okhyiwmxbskdinathnghmdkhxngtnihkbbutrchay 2 khnthimibrrdaskdiradbthingohw 亭侯 inpi kh s 263 eduxn 9 khxngskrachcing y ehwiynpithi 4 okhyiwesiychiwitkhnaxayu 90 pi tam idrbsmyyanamwa y ehwiynohw 元侯 eka hun 高渾 hlanchaykhxngokhyiwidsubthxdbrrdaskdikhxngokhyiw inchwngskrachinrchsmyckrphrrdiochwn idmikarepliynbrrdaskdikhxngeka hunepnchanglucux 昌陸子 duephimraychuxbukhkhlinyukhsamkkhmayehtuphrarachprawtiochwnincdhmayehtusamkkbnthukwaokhyiwesiychiwitineduxn 9 khxngskrachcing y ehwiynpithi 4 inrchsmykhxngochwn ethiybidkbchwngewlarahwangwnthi 20 tulakhmthung 17 phvscikayn kh s 263 inptithinkrikxeriyn chiwprawtiokhyiwincdhmayehtusamkkyngbnthukwaokhyiwmixayu 90 pi tam emuxekhaesiychiwit emuxkhanwnaelwpiekidkhxngokhyiwcungepnpi kh s 174 skrachecingchuxpithi 6 eduxn 8 wntingema 丁卯 inrchsmykhxngckrphrrdiochxngxangxing 景元四年 秋九月 太尉高柔薨 cdhmayehtusamkk elmthi 4 景元四年 年九十薨 謚曰元侯 cdhmayehtusakkk elmthi 24 高柔字文惠 陳留圉人也 cdhmayehtusamkk elmthi 24 父靖 為蜀郡都尉 cdhmayehtusamkk elmthi 24 柔留鄉里 cdhmayehtusamkk elmthi 24 謂邑中曰 今者英雄並起 陳留四戰之地也 曹將軍雖據兗州 本有四方之圖 未得安坐守也 而張府君先得志於陳留 吾恐變乘閒作也 欲與諸君避之 cdhmayehtusamkk elmthi 24 眾人皆以張邈與太祖善 柔又年少 不然其言 cdhmayehtusamkk elmthi 24 柔從兄幹 袁紹甥也 在河北呼柔 柔舉宗從之 cdhmayehtusamkk elmthi 24 會靖卒於西州 時道路艱澀 兵寇縱橫 而柔冒艱險詣蜀迎喪 辛苦荼毒 無所不嘗 三年乃還 cdhmayehtusamkk elmthi 24 太祖平袁氏 以柔為菅長 cdhmayehtusamkk elmthi 24 縣中素聞其名 姧吏數人皆自引去 柔教曰 昔邴吉臨政 吏嘗有非 猶尚容之 況此諸吏 於吾未有失乎 其召復之 咸還 皆自勵 咸為佳吏 cdhmayehtusamkk elmthi 24 高幹旣降 頃之以并州叛 柔自歸太祖 太祖欲因事誅之 以為刺姧令史 處法允當 獄無留滯 辟為丞相倉曹屬 cdhmayehtusamkk elmthi 24 太祖欲遣鍾繇等討張魯 柔諫 以為今猥遣大兵 西有韓遂 馬超 謂為己舉 將相扇動作逆 宜先招集三輔 三輔苟平 漢中可傳檄而定也 繇入關 遂 超等果反 cdhmayehtusamkk elmthi 24 魏國初建 為尚書郎 轉拜丞相理曹掾 cdhmayehtusamkk elmthi 24 鼓吹宋金等在合肥亡逃 舊法 軍征士亡 考竟其妻子 太祖患猶不息 更重其刑 金有母妻及二弟皆給官 主者奏盡殺之 柔啟曰 士卒亡軍 誠在可疾 然竊聞其中時有悔者 愚謂乃宜貸其妻子 一可使賊中不信 二可使誘其還心 正如前科 固已絕其意望 而猥復重之 柔恐自今在軍之士 見一人亡逃 誅將及己 亦且相隨而走 不可復得殺也 此重刑非所以止亡 乃所以益走耳 太祖曰 善 即止不殺金母 弟 蒙活者甚衆 cdhmayehtusamkk elmthi 24 遷為潁川太守 復還為法曹掾 時置校事盧洪 趙達等 使察羣下 柔諫曰 設官分職 各有所司 今置校事 旣非居上信下之旨 又達等數以憎愛擅作威福 宜檢治之 太祖曰 卿知達等 恐不如吾也 要能刺舉而辨衆事 使賢人君子為之 則不能也 昔叔孫通用羣盜 良有以也 達等後姧利發 太祖殺之以謝於柔 cdhmayehtusamkk elmthi 24 民間數有誹謗妖言 帝疾之 有妖言輒殺 而賞告者 柔上疏曰 今妖言者必戮 告之者輒賞 旣使過誤無反善之路 又將開凶狡之羣相誣罔之漸 誠非所以息姧省訟 緝熈治道也 昔周公作誥 稱殷之祖宗 咸不顧小人之怨 在漢太宗 亦除妖言誹謗之令 臣愚以為宜除妖謗賞告之法 以隆天父養物之仁 帝不即從 而相誣告者滋甚 帝乃下詔 敢以誹謗相告者 以所告者罪罪之 於是遂絕 校事劉慈等 自黃初初數年之閒 舉吏民姧罪以萬數 柔皆請懲虛實 其餘小小挂法者 不過罰金 cdhmayehtusamkk elmthi 24 四年 遷為廷尉 cdhmayehtusamkk elmthi 24 帝以宿嫌 欲枉法誅治書執法鮑勛 而柔固執不從詔命 帝怒甚 遂召柔詣臺 遣使者承指至廷尉考竟勛 勛死乃遣柔還寺 cdhmayehtusamkk elmthi 24 明帝即位 封柔延壽亭侯 cdhmayehtusamkk elmthi 24 時博士執經 柔上疏曰 臣聞遵道重學 聖人洪訓 褒文崇儒 帝者明義 昔漢末陵遲 禮樂崩壞 雄戰虎爭 以戰陣為務 遂使儒林之羣 幽隱而不顯 太祖初興 愍其如此 在於撥亂之際 並使郡縣立教學之官 高祖即位 遂闡其業 興復辟雍 州立課試 於是天下之士 復聞庠序之教 親俎豆之禮焉 陛下臨政 允迪叡哲 敷弘大猷 光濟先軌 雖夏啟之承基 周成之繼業 誠無以加也 然今博士皆經明行脩 一國清選 而使遷除限不過長 懼非所以崇顯儒術 帥勵怠惰也 孔子稱 舉善而教不能則勸 故楚禮申公 學士銳精 漢隆卓茂 搢紳競慕 臣以為博士者 道之淵藪 六藝所宗 宜隨學行優劣 待以不次之位 敦崇道教 以勸學者 於化為弘 帝納之 cdhmayehtusamkk elmthi 24 後大興殿舍 百姓勞役 廣采衆女 充盈後宮 後宮皇子連夭 繼嗣未育 柔上疏曰 二虜狡猾 潛自講肄 謀動干戈 未圖束手 宜畜養將士 繕治甲兵 以逸待之 而頃興造殿舍 上下勞擾 若使吳 蜀知人虛實 通謀并勢 復俱送死 甚不易也 昔漢文惜十家之資 不營小臺之娛 去病慮匈奴之害 不遑治第之事 況今所損者非惟百金之費 所憂者非徒北狄之患乎 可粗成見所營立 以充朝宴之儀 訖罷作者 使得就農 二方平定 復可徐興 昔軒轅以二十五子 傳祚彌遠 周室以姬國四十 歷年滋多 陛下聦達 窮理盡性 而頃皇子連多夭逝 熊羆之祥又未感應 羣下之心 莫不悒戚 周禮 天子后妃以下百二十人 嬪嬙之儀 旣以盛矣 竊聞後庭之數 或復過之 聖嗣不昌 殆能由此 臣愚以為可妙簡淑媛 以備內官之數 其餘盡遣還家 且以育精養神 專靜為寶 如此 則螽斯之徵 可庶而致矣 帝報曰 知卿忠允 乃心王室 輒克昌言 他復以聞 cdhmayehtusamkk elmthi 24 時獵法甚峻 宜陽典農劉龜竊於禁內射兎 其功曹張京詣校事言之 帝匿京名 收龜付獄 柔表請告者名 帝大怒曰 劉龜當死 乃敢獵吾禁地 送龜廷尉 廷尉便當考掠 何復請告者主名 吾豈妄收龜邪 柔曰 廷尉 天下之平也 安得以至尊喜怒而毀法乎 重復為奏 辭指深切 帝意寤 乃下京名 即還訊 各當其罪 cdhmayehtusamkk elmthi 24 轉為太常 cdhmayehtusamkk elmthi 24 旬日遷司空 cdhmayehtusamkk elmthi 24 後徙司徒 cdhmayehtusamkk elmthi 24 太傅司馬宣王奏免曹爽 皇太后詔召柔假節行大將軍事 據爽營 太傅謂柔曰 君為周勃矣 爽誅 進封萬歲鄉侯 cdhmayehtusamkk elmthi 24 高貴鄉公即位 進封安國侯 轉為太尉 cdhmayehtusamkk elmthi 24 常道鄉公即位 增邑并前四千 前後封二子亭侯 cdhmayehtusamkk elmthi 24 景元四年 年九十薨 謚曰元侯 cdhmayehtusamkk elmthi 24 孫渾嗣 咸熈中 開建五等 以柔等著勳前朝 改封渾昌陸子 cdhmayehtusamkk elmthi 24 brrnanukrmtnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu