เร่ว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
สกุล: | |
สปีชีส์: | A. villosum |
ชื่อทวินาม | |
Amomum villosum Wall. |
เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับ กระวานข่า ขิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Amomum villosum Wall. วงศ์ : Zingiberaceae ชื่อสามัญ : Bustard cardamom, Tavoy cardamom ชื่ออื่น : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ) แหล่งที่พบ: พบภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม: เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยในที่ร่มรำไร เกิดตามป่า ทั่วไปไม่มีต้นไม้ปกคลุม
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์: ต้นฤดูฝน (เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน)
ลักษณะ :ใบยาวเรียว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลงผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่นมีขนาดสั้น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดินสีเขียว ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม มีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ
ส่วนที่ใช้ : เมล็ดจากผลที่แก่จัด ราก ต้น ใบ ดอก ผล
สรรพคุณ :
- เมล็ดจากผลที่แก่จัด
- - เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- - แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร
- ราก - แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม
- ต้น
- - แก้คลื่นเหียน อาเจียน
- ใบ
- - ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ
- ดอก
- - แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย
- ผล
- - รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวด
วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด โดยนำเมล็ดในของผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้เมล็ด
เอกลักษณ์ของอาหารเมืองจันท์
อาหารหลายจานของจันทบุรีใช้เร่วเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งทำให้มีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะในน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว ที่เป็นอาหารประจำท้องถิ่นของเมืองจันท์ชื่อ ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงนอกจากน้ำก๋วยเตี๋ยวจะต้องมีรสหวานจากเนื้อหมูและกระดูกหมูแล้ว ยังต้องหอมกลิ่นเครื่องเทศ คำว่า “เลียง” หมายถึงอาหารที่นำมาโขลกด้วยครก ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงเป็นการนำสับปะรด หัวไชเท้า และสมุนไพรที่ประกอบด้วยโป๊ยกั๊ก อบเชย ตะไคร้ ข่า ลูกมะกรูด และเร่วหอมโขลกรวมกันมาทำเป็นน้ำซุป การใส่เร่วหอมลงไปช่วยเพิ่มรสหวาน แต่ก็อย่าต้มทิ้งไว้นานเกินไปเพราะจะยิ่งฉุน หลายร้านจึงตักเร่วออกหลังจากเคี่ยวไปแล้ว 4 ชั่วโมง แล้วตักราดลงไปบนเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ลวก
คนจันทบุรียังใส่เร่วหอมลงไปในเครื่องพริกแกงป่า โดยรวมเข้ากับหัวไพล กระวาน และขิงแห้ง ซึ่งเพิ่มเข้าไปจากเครื่องพริกแกงของภาคกลางทำให้มีกลิ่นหอมแตกต่าง และมีสีเขียวเหลือง รสชาติเผ็ดร้อน ผัดกับเนื้อสัตว์แล้วเติมน้ำกลายเป็นแกงป่าที่มีกลิ่นหอมและรสหวานนิดๆ หนึ่งในอาหารท้องถิ่นที่หากินได้เฉพาะที่จันทบุรีเช่นกัน
นอกจากนี้เหง้าอ่อนและแขนงอ่อนของเร่วหอม ใช้รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกได้
อ้างอิง
- "เร่วหอม".
- "เร่วหอม พืชสมุนไพร".
- "เร่วหอม เครื่องเทศกลิ่นหอมละมุนในชามก๋วยเตี๋ยวเมืองจันท์".
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
erwkarcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Plantaexndb Zingiberaleswngs Zingiberaceaeskul spichis A villosumchuxthwinamAmomum villosum Wall erwepnphuchlmluk miehngahruxlatnxyuindin cdepnphuchwngsediywkb krawankha khing chuxwithyasastr Amomum villosum Wall wngs Zingiberaceae chuxsamy Bustard cardamom Tavoy cardamom chuxxun hmakaehnng sraburi hmakening xisan maxi hmakxi mahmakxi echiyngihm hnxenng chyphumi aehlngthiphb phbphakhxisan phakhehnux phakhklang sphaphaewdlxmthiehmaasm ecriyetibotiddiindinthukchnid odyechphaadinrwnsuyinthirmrair ekidtampa thwipimmitnimpkkhlum vdukalthiichpraoychn tnvdufn eduxn phvsphakhm mithunayn lksna ibyaweriyw ibediyw eriyngslb rupkhxbkhnan hruxrupkhxbkhnanaekmibhxk kwang 4 7 sm yaw 12 20 sm playibaehlmaelahxyokhnglngphiwibsiekhiywekhmepnmn kanibepnaephnmikhnadsn eriyngxdaennkhlaylatnbndinsiekhiyw xxkdxkepnchxcakyxdthiaethngkhunmacakehnga dxkmisikhawkanchxdxksn eksrtwphuthiepnhmn aephepnaephnkhlayklibdxksikhaw milayesntamkhwang sinatalsm phlaehngaetkid rupthrngklm mikhnsiaedngpkkhlum emldsinatalekhm miklinhxm erwmihlaychnid echn erwhxm erwchang erwkx swnthiich emldcakphlthiaekcd rak tn ib dxk phl srrphkhun emldcakphlthiaekcd epnyaaekthxngkhun thxngxudefx khblm aekkhlunehiynxaeciyn khbnanmhlngcakkhlxdbutrrak aekhud aekix aekikhesuxngsum tn aekkhlunehiyn xaeciynib khblm aekpssawaphikardxk aekphisxnekidepnemdphunkhntamrangkayphl rksaorkhridsidwngthwar aekthxngxudefx aekpwd withiaelaprimanthiich aekxakarthxngxud thxngefx khblmaenncukesiyd odynaemldinkhxngphlaekmabdepnphng rbprathankhrngla 1 3 krm praman 3 9 phl wnla 3 khrng hlngxahar ichepnekhruxngeths odyichemldexklksnkhxngxaharemuxngcnthxaharhlaycankhxngcnthburiicherwepnswnprakxbsakhy sungthaihmiklinaelarschatithiepnexklksn odyechphaainnasupkwyetiyw thiepnxaharpracathxngthinkhxngemuxngcnthchux kwyetiywhmueliyngnxkcaknakwyetiywcatxngmirshwancakenuxhmuaelakradukhmuaelw yngtxnghxmklinekhruxngeths khawa eliyng hmaythungxaharthinamaokhlkdwykhrk kwyetiywhmueliyngepnkarnasbpard hwichetha aelasmuniphrthiprakxbdwyopykk xbechy taikhr kha lukmakrud aelaerwhxmokhlkrwmknmathaepnnasup kariserwhxmlngipchwyephimrshwan aetkxyatmthingiwnanekinipephraacayingchun hlayrancungtkerwxxkhlngcakekhiywipaelw 4 chwomng aelwtkradlngipbnesnkwyetiywesncnthlwk khncnthburiyngiserwhxmlngipinekhruxngphrikaekngpa odyrwmekhakbhwiphl krawan aelakhingaehng sungephimekhaipcakekhruxngphrikaekngkhxngphakhklangthaihmiklinhxmaetktang aelamisiekhiywehluxng rschatiephdrxn phdkbenuxstwaelwetimnaklayepnaekngpathimiklinhxmaelarshwannid hnunginxaharthxngthinthihakinidechphaathicnthburiechnkn nxkcakniehngaxxnaelaaekhnngxxnkhxngerwhxm ichrbprathansdrwmkbnaphrikidxangxing erwhxm erwhxm phuchsmuniphr erwhxm ekhruxngethsklinhxmlamuninchamkwyetiywemuxngcnth