เมืองฉอด หรือ รัฐฉอด เป็นรัฐหรืออาจเป็นนครรัฐอิสระของชนชาติไทแห่งหนึ่ง อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองฉอดมีกษัตริย์ปกครองตนเอง เรียกว่า "ขุน" ซึ่งคำไทยในยุคแรก หมายถึง กษัตริย์ อาจแปลว่า ผู้นำหรือเจ้าเมืองขนาดเล็ก เมืองฉอดเป็นรัฐที่ได้รับศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรสุโขทัย และจารึกวัดศรีชุมระบุว่าเมืองแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัยมาก่อน ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ระบุว่า เมืองฉอดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย ทว่าในศิลาจารึกหลักเดียวกันนั้น ได้กล่าวถึงศึกยุทธหัตถีระหว่างขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด กับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรสกษัตริย์สุโขทัย สุดท้ายขุนสามชนพ่ายแพ้ไป ไม่ปรากฏเรื่องราวของขุนสามชนในหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดอีก และศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งถูกสร้างขึ้นหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ระบุว่าเมืองฉอดได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยไปแล้ว
เมืองฉอด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไม่ทราบ–พุทธศตวรรษที่ 18 | |||||||||
สถานะ | นครรัฐ | ||||||||
เมืองหลวง | เมืองฉอด | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
กษัตริย์ (ขุน) | |||||||||
• ไม่ทราบปี – พ.ศ. 1800 | ขุนสามชน | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้ง | ไม่ทราบ | ||||||||
• ถูกผนวกเข้ากับสุโขทัย | พุทธศตวรรษที่ 18 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
ปัจจุบันมีความพยายามของนักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ในการตามหาที่ตั้งของเมืองฉอด ส่วนใหญ่มักเชื่อมโยงเมืองฉอดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งยังไม่พบหลักฐานที่จะสามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองเมืองได้จนถึงบัดนี้
ที่ตั้ง
ที่ตั้งของเมืองฉอดยังเป็นปริศนา ในศิลาจากรึกหลักที่ 1 ระบุถึงที่ตั้งของเมืองฉอด ว่าอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย ความว่า "...เบื้องตะวันตกรอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดีสมุทรหาเป็นแดน..." บางคนก็ว่าเมืองฉอด คือเทศบาลนครแม่สอด บ้างก็ว่าคือด่านแม่ละเมา บ้างก็ว่าโบราณสถานคอกช้างเผือกในตำบลท่าสายลวด หรืออาจเป็นเมืองตากเก่าในอำเภอบ้านตาก ซากเมืองโบราณในและ อำเภอแม่ระมาด และยังมีเมืองโบราณบ้านแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง ที่เข้าเค้าว่าอาจเป็นเมืองฉอดอีกแห่ง ซึ่งทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตาก
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เคยแสดงความเห็นว่าเมืองนี้อยู่ริมแม่น้ำฉอด แต่ต่อมาท่านได้แก้ไขด้วยลายมือใน สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร ระบุว่า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมย และอธิบายต่อว่า เมืองนี้มีผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่มีขนาดเล็กเกินที่จะรวบรวมคนไปตีเมืองตากได้ ด้วยเหตุนี้ ประเสริฐจึงอ้างความเห็นของนักโบราณคดีว่าเมืองฉอดอาจตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมยในฝั่งประเทศพม่า ในปาฐกถาเรื่องประวัติศาสตร์สุโขทัยในจารึก ประเสริฐให้ข้อมูลอีกว่า "...เมืองฉอดนี้เชื่อกันว่าอยู่ในประเทศพม่า แต่ตอนนี้วางไว้ที่แม่สอดชั่วคราว เพราะคนภาคเหนือออกเสียง ฉ ไม่ได้ ต้องออกเสียงเป็น ส ไป ฉอดจึงกลายเป็นสอด..." และรองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เสนอว่า เมืองฉอดคือเมืองเมียวดี ปัจจุบันขึ้นอยู่กับประเทศพม่า ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ ร่องรอยคูน้ำคันดินและกำแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยม อีกทั้งยังพบเศษเครื่องถ้วยยุคสุโขทัยด้วย
ขณะที่จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ทัศนะว่า ที่ตั้งของเมืองฉอด อาจจะเป็นเมืองโบราณบ้านแม่ต้าน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เมืองเก่าห้วยลึก ที่จังหวัดตาก ความว่า "…รัฐฉอดหรือเมืองฮอดนั้นประมาณกันว่าอยู่ที่บริเวณอำเภอแม่สอด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองจังหวัดตากเดี๋ยวนี้; ที่ประมาณอย่างนั้นเพราะชื่อแม่สอดยังเป็นชื่อเดียวกับฉอดอยู่ (ภาษาไทยพายัพออกเสียง ฉ เป็น ส หมด). แต่มาในระยะราว พ.ศ. 2500 นี้ ได้พบเมืองโบราณขนาดใหญ่มากเมืองหนึ่งในป่าทึบริมแม่น้ำเมย ที่บ้านแม่ต้านทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองตาก มีทรากโบราณวัตถุและพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมากแสดงว่าเป็นเมืองใหญ่ในยุคสุโขทัย, จึงทำให้นักโบราณคดีตั้งข้อสงสัยว่าที่นั่นอาจจะเป็นเมืองฉอดของพ่อขุนสามชน…. อย่างไรก็ดี เมืองร้างที่พบใหม่ที่ตำบลแม่ต้านนั้นอาจจะเป็นเมืองอื่นที่มิใช่ฉอดก็ได้ เพราะยังมีเมืองในแถบนี้อีกหลายเมืองที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกสุโขทัย แต่เรายังค้นไม่พบว่าอยู่ที่ใดแน่…"
แต่จากการพิสูจน์หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า เมืองโบราณบ้านแม่ต้านเป็นเมืองในวัฒนธรรมล้านนา มิใช่สุโขทัย และการสำรวจหลักฐานโบราณคดีเมืองโบราณหลายแห่งในเขตแอ่งแม่สอด ก็พบว่าทั้งหมดไม่ได้อยู่ร่วมสมัยอาณาจักรสุโขทัยเลย
ประวัติ
เมืองฉอดเป็นรัฐขนาดเล็กหรืออาจเป็นนครรัฐก่อร่างสร้างตัวราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แรกเริ่มยังไม่ขึ้นกับเมืองสุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองตนเอง เรียกว่า "ขุน" ซึ่งคำเรียกในยุคแรก หมายถึง กษัตริย์ อาจแปลว่า ผู้นำหรือเจ้าเมืองขนาดเล็ก เมืองฉอดมีรูปแบบศิลปวัฒนธรรมแบบสุโขทัย อีกทั้งยังเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่เชื่อมไปยังเมืองมอญ ออกทะเลที่อ่าวเมาะตะมะในมหาสมุทรอินเดียจิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่า เมืองฉอดเป็นรัฐของคนไทยอีกรัฐหนึ่งที่ได้ลุกฮือสลัดอำนาจของอาณาจักรขอมโบราณออกไป โดยเมืองฉอดมีสถานะเป็นรัฐอิสระดังเช่นรัฐสุโขทัยและล้านนา ในจารึกวัดศรีชุม ซึ่งถูกทำขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 ระบุว่า เมืองฉอดเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยมาตั้งแต่รัชสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุม โดยมีเนื้อหาระบุไว้ดังนี้
“...ในนครสุโขทัยนั้น พ่อขุนศรีนาวนำถุม...ศรีเสชนาไลดังอิงเป็นขุนยี่ขุนนางนักหนาแ...เป็นขุนในเมืองเชลียง...เมืองใต้ออกพ่อขุนนำถุม...เบื้องตะวันออกเถิงเบื้องหัวนอน เถิงขุนลุนตาขุนดาขุนด่าน ๏ ...เบื้องในหรดีเถิงฉอด เวียงเหล็ก เบื้องตะวันตกเถิงละพูน...”
เมืองฉอดปรากฏหลักฐานการดำรงอยู่ครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ 1 ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 ซึ่งเนื้อหาบางส่วนเป็นการอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างศิลาจารึก อย่างการกระทำยุทธหัตถีของขุนสามชน เจ้าผู้ครองเมืองฉอด ยกทัพไปตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1800 โดยมีพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จออกมาป้องกันการโจมตี ดังปรากฏความในจารึกด้านที่หนึ่งว่า
“...เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่ง ช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งชนช้างขุนสามชน...”
ในการสู้รบดังกล่าว พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กษัตริย์สุโขทัย ขณะนั้นมีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับชัยชนะจากการรบครั้งนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานพระนามาภิไธยว่า "พระรามคำแหง" ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่า "กูขับเข้าก่อนพ่อกู" ให้ความหมายว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยังไม่ทันได้เข้าไปชนช้างกับขุนสามชน แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชไสช้างไปสู้รับกับขุนสามชนเสียก่อน และได้ชัยชนะกลับมา หลังจากนั้นก็ขยายอิทธิพลปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้ามาอ่อนน้อมต่อสุโขทัยเป็นจำนวนมาก โดยในจารึกหลักที่ 1 ให้ข้อมูลหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือใน พ.ศ. 1826 ระบุว่าเมืองฉอดได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัย
เมืองฉอดปรากฏหลักฐานอีกครั้งในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลือไทย) (ภาษาไทย) หลักที่ 1 ด้านที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 1904 ระบุเนื้อหาว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลือไทย) ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากลังกาทวีปให้มาจำพรรษาในกรุงสุโขทัย โดยพระสังฆราชได้เดินทางผ่านเมืองฉอดด้วย และปรากฏอีกครั้งใน ซึ่งบันทึกในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลือไทย) โดยกล่าวถึงเมืองฉอดว่าเป็นเมืองในการปกครองด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีเนื้อความว่า
“...เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปดกลาย ท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาว ชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ...ตะวันออกคุง...เบื้องตะวันตกเท้าเมืองฉอด รอดแดนพัล...”
หลังจากนั้นก็ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับเมืองฉอดจนสิ้นกรุงสุโขทัย และเอกสารหลักฐานของยุคอาณาจักรอยุธยา ก็มิได้กล่าวถึงหรือปรากฎชื่อเมืองฉอดอีกเลย
การปกครอง
เมืองฉอดมีกษัตริย์ปกครองตนเอง เรียกว่า "ขุน" ซึ่งคำเรียกในยุคแรก หมายถึง กษัตริย์ อาจแปลว่า ผู้นำหรือเจ้าเมืองขนาดเล็ก เชื่อว่าประชากรคงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลภาษาไท และรัฐนี้มีอิสระเป็นของตัวเองมาก่อน ในจารึกวัดศรีชุม ให้ข้อมูลว่าเมืองฉอดเคยตกเป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัยเมื่อรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุม หลังการเสวยราชสมบัติของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมืองฉอดคงจะกระด้างกระเดื่องไม่ยอมขึ้นตรงต่อสุโขทัย พระนามของกษัตริย์เมืองฉอดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน มีเพียงคนเดียว คือขุนสามชน ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่า ขุนสามชนเป็นคนไทย เพราะในชื่อมีคำว่า "สาม" ซึ่งเป็นคำบอกลำดับลูกประกอบตามธรรมเนียมภาษาไทยแท้ปรากฏอยู่ด้วย แต่ ดร. กล่าวว่าชื่อช้างของขุนสามชน คือ "มาสเมือง" ไม่ใช่ชื่อตามธรรมเนียมไทย เพราะ "มาส" เป็นคำเขมร ภายหลังขุนสามชนได้พ่ายแพ้ในสงครามตีเมืองตากเมื่อ พ.ศ. 1800 และหลังจากนั้นหลักฐานศิลาจารึกของสุโขทัยในยุคหลังต่างระบุว่าเมืองฉอดได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมา
ทั้งนี้การที่หัวเมืองต่าง ๆ ยอมเข้ามารวมกับอาณาจักรสุโขทัยแบบหลวม ๆ เพราะเกรงกลัวพระบารมีของพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งกว่า แต่หากพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดไร้พระบารมีและความเข้มแข็ง หัวเมืองเหล่านี้จะแยกตัวออกเป็นอิสระทันที
อ้างอิง
- ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ ดร. (2531). ปาฐกถาชุด "สิรินธร" ครั้งที่ 4 เรื่อง "ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก" (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 7.
- ประวัติศาสตร์ไทย (PDF). p. 41–42.
- จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 115
- จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 235
- กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554, หน้า 64
- กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554, หน้า 72
- "จารึกวัดศรีชุม". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). 12 มกราคม 2567. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ ดร. (2547). ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ. p. 34.
- ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ ดร. (2547). ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ. p. 25.
- ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ผศ. ดร. (26 เมษายน 2565). ""เมืองตาก" ของ "พระเจ้าตาก" ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "ประวัติเมืองสุโขทัย". อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, ผศ. (7 มีนาคม 2562). "เมืองโบราณแม่ต้าน คือเมืองฉอดจริงหรือไม่ในทรรศนะของจิตร ภูมิศักดิ์". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอด" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. สืบค้นเมื่อ 2024-01-19.
{{}}
: CS1 maint: url-status ()[] - "นักประวัติศาสตร์ตั้งวงถกหาที่ตั้ง"เมืองฉอด"/นครเก่า 729 ปีก่อน-เชื่อคือแม่สอดวันนี้". ผู้จัดการออนไลน์. 5 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "ทีมนักประวัติศาสตร์ลุ้นหาที่ตั้ง "เมืองฉอด" ตามรอยศิลาจารึก 1-โยงสุโขทัย". ผู้จัดการออนไลน์. 28 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - ผิน ทุ่งคา (11 มกราคม 2567). "เจดีย์ที่ไม่มีใครรู้จัก กลายเป็น "เจดีย์ยุทธหัตถี" เพราะ "รีบสรุป" ก่อนศึกษา". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - วุฒิชัย มูลศิลป์ (2562). "ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กับความก้าวหน้าการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย". วารสารประวัติศาสตร์, หน้า 10
- ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ ดร. (2531). ปาฐกถาชุด "สิรินธร" ครั้งที่ 4 เรื่อง "ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก" (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 11.
- กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554, หน้า 95
- อุเทน วงศ์สถิตย์ (มกราคม–มิถุนายน 2562). คำบอกลำดับลูกของไทย (PDF). ดำรงวิชาการ 18(1). p. 69-70.
- กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554, หน้า 159
- "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช". โครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 2024-01-17.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - วุฒิชัย มูลศิลป์ (2562). "ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กับความก้าวหน้าการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย". วารสารประวัติศาสตร์, หน้า 8
- "จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) หลักที่ 1". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). 15 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "เมืองบางพาน". กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "จารึกวัดบูรพาราม". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 118
- ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ ดร. (2547). ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ. p. 128.
- ประวัติศาสตร์ไทย (PDF). p. 44.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
emuxngchxd hrux rthchxd epnrthhruxxacepnnkhrrthxisrakhxngchnchatiithaehnghnung xyuinchwngphuththstwrrsthi 18 emuxngchxdmikstriypkkhrxngtnexng eriykwa khun sungkhaithyinyukhaerk hmaythung kstriy xacaeplwa phunahruxecaemuxngkhnadelk emuxngchxdepnrththiidrbsilpwthnthrrmcakxanackrsuokhthy aelacarukwdsrichumrabuwaemuxngaehngniekhyepnswnhnungkhxngsuokhthymakxn insilacarukhlkthi 1 rabuwa emuxngchxdnitngxyuthangthistawntkkhxngemuxngsuokhthy thwainsilacarukhlkediywknnn idklawthungsukyuththhtthirahwangkhunsamchn ecaemuxngchxd kbphxkhunramkhaaehngmharach phrarachoxrskstriysuokhthy sudthaykhunsamchnphayaephip imprakteruxngrawkhxngkhunsamchninhlkthanhruxexksarxunidxik aelasilacarukhlkthi 1 sungthuksrangkhunhlngcakehtukarndngklaw krabuwaemuxngchxdidtkepnswnhnungkhxngxanackrsuokhthyipaelwemuxngchxdimthrab phuththstwrrsthi 18sthanankhrrthemuxnghlwngemuxngchxdkarpkkhrxngrachathipitykstriy khun imthrabpi ph s 1800khunsamchnprawtisastr kxtngimthrab thukphnwkekhakbsuokhthyphuththstwrrsthi 18kxnhna thdipxanackrsuokhthy xanackrsuokhthypccubnepnswnhnungkhxngpraethsithypraethsphma pccubnmikhwamphyayamkhxngnkprawtisastr aelankobrankhdi inkartamhathitngkhxngemuxngchxd swnihymkechuxmoyngemuxngchxdkbxaephxaemsxd cnghwdtak sungyngimphbhlkthanthicasamarthphisucnkhwamechuxmoyngrahwangthngsxngemuxngidcnthungbdnithitngthitngkhxngemuxngchxdyngepnprisna insilacakrukhlkthi 1 rabuthungthitngkhxngemuxngchxd waxyuthangthistawntkkhxngemuxngsuokhthy khwamwa ebuxngtawntkrxdemuxngchxd emuxng n hngsawdismuthrhaepnaedn bangkhnkwaemuxngchxd khuxethsbalnkhraemsxd bangkwakhuxdanaemlaema bangkwaobransthankhxkchangephuxkintablthasaylwd hruxxacepnemuxngtakekainxaephxbantak sakemuxngobraninaela xaephxaemramad aelayngmiemuxngobranbanaemtan xaephxthasxngyang thiekhaekhawaxacepnemuxngchxdxikaehng sungthnghmdlwntngxyuinekhtcnghwdtak sastracary dr praesrith n nkhr ekhyaesdngkhwamehnwaemuxngnixyurimaemnachxd aettxmathanidaekikhdwylaymuxin sarniphnthpraesrith n nkhr rabuwa tngxyurimaemnaemy aelaxthibaytxwa emuxngnimiphngemuxngepnsiehliymphunpha aetmikhnadelkekinthicarwbrwmkhniptiemuxngtakid dwyehtuni praesrithcungxangkhwamehnkhxngnkobrankhdiwaemuxngchxdxactngxyurimaemnaemyinfngpraethsphma inpathkthaeruxngprawtisastrsuokhthyincaruk praesrithihkhxmulxikwa emuxngchxdniechuxknwaxyuinpraethsphma aettxnniwangiwthiaemsxdchwkhraw ephraakhnphakhehnuxxxkesiyng ch imid txngxxkesiyngepn s ip chxdcungklayepnsxd aelarxngsastracary sriskr wlliophdm esnxwa emuxngchxdkhuxemuxngemiywdi pccubnkhunxyukbpraethsphma sungphbhlkthanthangobrankhdi idaek rxngrxykhunakhndinaelakaaephngemuxngrupsiehliym xikthngyngphbessekhruxngthwyyukhsuokhthydwy khnathicitr phumiskdi ihthsnawa thitngkhxngemuxngchxd xaccaepnemuxngobranbanaemtan hruxthichawbaneriykwa emuxngekahwyluk thicnghwdtak khwamwa rthchxdhruxemuxnghxdnnpramanknwaxyuthibriewnxaephxaemsxd thangtawntkechiyngitkhxngtwemuxngcnghwdtakediywni thipramanxyangnnephraachuxaemsxdyngepnchuxediywkbchxdxyu phasaithyphayphxxkesiyng ch epn s hmd aetmainrayaraw ph s 2500 ni idphbemuxngobrankhnadihymakemuxnghnunginpathubrimaemnaemy thibanaemtanthangtawntkechiyngehnuxkhxngemuxngtak mithrakobranwtthuaelaphraphuththrupsmysuokhthyepnxnmakaesdngwaepnemuxngihyinyukhsuokhthy cungthaihnkobrankhditngkhxsngsywathinnxaccaepnemuxngchxdkhxngphxkhunsamchn xyangirkdi emuxngrangthiphbihmthitablaemtannnxaccaepnemuxngxunthimiichchxdkid ephraayngmiemuxnginaethbnixikhlayemuxngthipraktchuxinsilacaruksuokhthy aeterayngkhnimphbwaxyuthiidaen aetcakkarphisucnhlkthanthangobrankhdi phbwa emuxngobranbanaemtanepnemuxnginwthnthrrmlanna miichsuokhthy aelakarsarwchlkthanobrankhdiemuxngobranhlayaehnginekhtaexngaemsxd kphbwathnghmdimidxyurwmsmyxanackrsuokhthyelyprawtiemuxngchxdepnrthkhnadelkhruxxacepnnkhrrthkxrangsrangtwrawchwngphuththstwrrsthi 18 aerkerimyngimkhunkbemuxngsuokhthy mikstriypkkhrxngtnexng eriykwa khun sungkhaeriykinyukhaerk hmaythung kstriy xacaeplwa phunahruxecaemuxngkhnadelk emuxngchxdmirupaebbsilpwthnthrrmaebbsuokhthy xikthngyngepnemuxngthitngxyubnesnthangkarkhathiechuxmipyngemuxngmxy xxkthaelthixawemaatamainmhasmuthrxinediycitr phumiskdi snnisthanwa emuxngchxdepnrthkhxngkhnithyxikrthhnungthiidlukhuxsldxanackhxngxanackrkhxmobranxxkip odyemuxngchxdmisthanaepnrthxisradngechnrthsuokhthyaelalanna incarukwdsrichum sungthukthakhuninchwngphuththstwrrsthi 19 20 rabuwa emuxngchxdekhyepnswnhnungkhxngxanackrsuokhthymatngaetrchsmyphxkhunsrinawnathum odymienuxharabuiwdngni innkhrsuokhthynn phxkhunsrinawnathum srieschnaildngxingepnkhunyikhunnangnkhnaae epnkhuninemuxngechliyng emuxngitxxkphxkhunnathum ebuxngtawnxxkethingebuxnghwnxn ethingkhunluntakhundakhundan ebuxnginhrdiethingchxd ewiyngehlk ebuxngtawntkethinglaphun phaphcalxngyuththhtthirahwangphxkhunramkhaaehngmharach say kbkhunsamchn khwa briewnthanphrabrmrachanusawriyphxkhunramkhaaehngmharach emuxngchxdprakthlkthankardarngxyukhrngaerkinsilacarukhlkthi 1 inrchsmykhxngphxkhunramkhaaehngmharachaehngxanackrsuokhthy srangkhunemux ph s 1826 sungenuxhabangswnepnkarxthibayeruxngrawthiekidkhunkxnkarsrangsilacaruk xyangkarkrathayuththhtthikhxngkhunsamchn ecaphukhrxngemuxngchxd ykthphiptiemuxngtak sungepnemuxnghnadankhxngxanackrsuokhthyemux ph s 1800 odymiphxkhunramkhaaehngmharach esdcxxkmapxngknkarocmti dngpraktkhwamincarukdanthihnungwa emuxkukhunihyidsibekaekha khunsamchnecaemuxngchxdmathemuxngtak phxkuiprb khunsamchnhwsay khunsamchnkhbmahwkhwa khunsamchnekluxnekhaiphrfahnais phxkuhniyyayphaycaecn kubhni kukhichangebkphl kukhbekhakxnphxku kutxchangdwykhunsamchn tnkuphung changkhunsamchntwchuxmasemuxngaeph khunsamchnphayhni phxkucungkhunchuxku chuxphraramkhaaehng ephuxkuphungchnchangkhunsamchn inkarsurbdngklaw phxkhunramkhaaehngmharach phrarachoxrskhxngphxkhunsrixinthrathity kstriysuokhthy khnannmiphrachnmayu 19 phrrsa idrbchychnacakkarrbkhrngni phxkhunsrixinthrathityphrarachthanphranamaphiithywa phraramkhaaehng sastracary dr praesrith n nkhr xthibaywa kukhbekhakxnphxku ihkhwamhmaywa phxkhunsrixinthrathityyngimthnidekhaipchnchangkbkhunsamchn aetphxkhunramkhaaehngmharachischangipsurbkbkhunsamchnesiykxn aelaidchychnaklbma hlngcaknnkkhyayxiththiphlprabpramhwemuxngtang ihekhamaxxnnxmtxsuokhthyepncanwnmak odyincarukhlkthi 1 ihkhxmulhlngcakehtukarndngklaw khuxin ph s 1826 rabuwaemuxngchxdidtkepnswnhnungkhxngsuokhthy emuxngchxdprakthlkthanxikkhrnginrchsmyphramhathrrmrachathi 1 luxithy phasaithy hlkthi 1 danthi 2 emux ph s 1904 rabuenuxhawa phramhathrrmrachathi 1 luxithy thrngxarathnaphramhasamisngkhrachcaklngkathwipihmacaphrrsainkrungsuokhthy odyphrasngkhrachidedinthangphanemuxngchxddwy aelapraktxikkhrngin sungbnthukinrchsmyphramhathrrmrachathi 1 luxithy odyklawthungemuxngchxdwaepnemuxnginkarpkkhrxngdanthistawntkkhxngemuxngsuokhthy mienuxkhwamwa ekhaskrachecdrxyhasibaepdklay thanidprabtthngpkkaw chawdanhntinethingfngkhxng tawnxxkkhung ebuxngtawntkethaemuxngchxd rxdaednphl hlngcaknnkimphbhlkthanekiywkbemuxngchxdcnsinkrungsuokhthy aelaexksarhlkthankhxngyukhxanackrxyuthya kmiidklawthunghruxprakdchuxemuxngchxdxikelykarpkkhrxngemuxngchxdmikstriypkkhrxngtnexng eriykwa khun sungkhaeriykinyukhaerk hmaythung kstriy xacaeplwa phunahruxecaemuxngkhnadelk echuxwaprachakrkhngepnklumchatiphnthuthiichphasatrakulphasaith aelarthnimixisraepnkhxngtwexngmakxn incarukwdsrichum ihkhxmulwaemuxngchxdekhytkepnswnhnungkhxngsuokhthyemuxrchsmykhxngphxkhunsrinawnathum hlngkareswyrachsmbtikhxngphxkhunsrixinthrathity emuxngchxdkhngcakradangkraeduxngimyxmkhuntrngtxsuokhthy phranamkhxngkstriyemuxngchxdethathiprakthlkthan miephiyngkhnediyw khuxkhunsamchn sungcitr phumiskdi snnisthanwa khunsamchnepnkhnithy ephraainchuxmikhawa sam sungepnkhabxkladblukprakxbtamthrrmeniymphasaithyaethpraktxyudwy aet dr klawwachuxchangkhxngkhunsamchn khux masemuxng imichchuxtamthrrmeniymithy ephraa mas epnkhaekhmr phayhlngkhunsamchnidphayaephinsngkhramtiemuxngtakemux ph s 1800 aelahlngcaknnhlkthansilacarukkhxngsuokhthyinyukhhlngtangrabuwaemuxngchxdidepnswnhnungkhxngxanackrsuokhthyeruxyma thngnikarthihwemuxngtang yxmekhamarwmkbxanackrsuokhthyaebbhlwm ephraaekrngklwphrabarmikhxngphramhakstriythiekhmaekhngkwa aethakphramhakstriysuokhthyphraxngkhidirphrabarmiaelakhwamekhmaekhng hwemuxngehlanicaaeyktwxxkepnxisrathnthixangxingpraesrith n nkhr sastracary dr 2531 pathkthachud sirinthr khrngthi 4 eruxng prawtisastrsuokhthycakcaruk PDF krungethph orngphimphculalngkrnmhawithyaly p 7 prawtisastrithy PDF p 41 42 citr phumiskdi ochmhnaskdinaithy krungethph sripyya 2550 hna 115 citr phumiskdi ochmhnaskdinaithy krungethph sripyya 2550 hna 235 knkwrrn osphnwicitr prawtisastrsuokhthy krungethph sarkhdi 2554 hna 64 knkwrrn osphnwicitr prawtisastrsuokhthy krungethph sarkhdi 2554 hna 72 carukwdsrichum sunymanusywithyasirinthr xngkhkrmhachn 12 mkrakhm 2567 subkhnemux 2024 01 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk praesrith n nkhr sastracary dr 2547 pramwlkhxmulekiywkbcarukphxkhunramkhaaehng PDF krungethph sankhxsmudaehngchati p 34 praesrith n nkhr sastracary dr 2547 pramwlkhxmulekiywkbcarukphxkhunramkhaaehng PDF krungethph sankhxsmudaehngchati p 25 tharngskdi ephchrelisxnnt phs dr 26 emsayn 2565 emuxngtak khxng phraecatak kxnepnkstriykrungthnburi khuxthiihnknaen silpwthnthrrm subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk prawtiemuxngsuokhthy xuthyanprawtisastrsuokhthy subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk phiphthn kraaecacnthr phs 7 minakhm 2562 emuxngobranaemtan khuxemuxngchxdcringhruximinthrrsnakhxngcitr phumiskdi mtichnxxniln subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk prawtikhwamepnmakhxngxaephxaemsxd PDF sankngankhnakrrmkarkhxmulkhawsarkhxngrachkar subkhnemux 2024 01 19 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk lingkesiy nkprawtisastrtngwngthkhathitng emuxngchxd nkhreka 729 pikxn echuxkhuxaemsxdwnni phucdkarxxniln 5 krkdakhm 2552 subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk thimnkprawtisastrlunhathitng emuxngchxd tamrxysilacaruk 1 oyngsuokhthy phucdkarxxniln 28 kumphaphnth 2553 subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk phin thungkha 11 mkrakhm 2567 ecdiythiimmiikhrruck klayepn ecdiyyuththhtthi ephraa ribsrup kxnsuksa silpwthnthrrm subkhnemux 2024 01 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk wuthichy mulsilp 2562 sastracary dr praesrith n nkhr kbkhwamkawhnakarsuksaprawtisastrsuokhthy warsarprawtisastr hna 10 praesrith n nkhr sastracary dr 2531 pathkthachud sirinthr khrngthi 4 eruxng prawtisastrsuokhthycakcaruk PDF krungethph orngphimphculalngkrnmhawithyaly p 11 knkwrrn osphnwicitr prawtisastrsuokhthy krungethph sarkhdi 2554 hna 95 xuethn wngssthity mkrakhm mithunayn 2562 khabxkladblukkhxngithy PDF darngwichakar 18 1 p 69 70 knkwrrn osphnwicitr prawtisastrsuokhthy krungethph sarkhdi 2554 hna 159 phxkhunramkhaaehngmharach okhrngkarsaranukrmithychbbeyawchn subkhnemux 2024 01 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk wuthichy mulsilp 2562 sastracary dr praesrith n nkhr kbkhwamkawhnakarsuksaprawtisastrsuokhthy warsarprawtisastr hna 8 carukwdpamamwng phasaithy hlkthi 1 sunymanusywithyasirinthr xngkhkrmhachn 15 thnwakhm 2566 subkhnemux 2024 01 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk emuxngbangphan klumephyaephraelaprachasmphnth subkhnemux 2024 01 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk carukwdburpharam sunymanusywithyasirinthr xngkhkrmhachn subkhnemux 2024 01 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk citr phumiskdi ochmhnaskdinaithy krungethph sripyya 2550 hna 118 praesrith n nkhr sastracary dr 2547 pramwlkhxmulekiywkbcarukphxkhunramkhaaehng PDF krungethph sankhxsmudaehngchati p 128 prawtisastrithy PDF p 44