ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เค็งอิจิ ฟูกูอิ (ญี่ปุ่น: 福井 謙一; โรมาจิ: Fukui Ken'ichi) เป็นนักเคมีชาวญี่ปุ่นและเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี โดยได้รับรางวัลนี้ใน ค.ศ. 1981 ร่วมกับจากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมี งานของฟูกูอิมุ่งเน้นไปที่บทบาทของ (Frontier Molecular Orbital; FMO) ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะโมเลกุลที่เกิดปฏิกิริยาเกิดพันธะเคมีแบบหลวม ๆ และมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ในออร์บิทัลที่บริเวณรอยต่อ ได้แก่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลระดับสูงสุดที่มีอิเล็กตรอนเต็ม (Highest Occupied Molecular Orbital) หรือโฮโม (HOMO) และออร์บิทัลเชิงโมเลกุลระดับต่ำสุดที่ไม่มีอิเล็กตรอน (Lowest Unoccupied Molecular Orbital) หรือลูโม (LUMO)
เค็งอิจิ ฟูกูอิ | |
---|---|
เกิด | 4 ตุลาคม ค.ศ. 1918 อำเภออิโกมะ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 9 มกราคม ค.ศ. 1998 เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น | (79 ปี)
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
พลเมือง | ญี่ปุ่น |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยหลวงเกียวโต |
มีชื่อเสียงจาก | ออร์บิทัลที่บริเวณรอยต่อ |
คู่สมรส | โทโมเอะ โฮริเอะ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1947) |
บุตร | 2 (เท็ตสึยะและมิยาโกะ) |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยเกียวโต |
วัยเด็ก
ฟูกูอิเกิดที่จังหวัดนาระ เขาเป็นลูกชายคนโตของเรียวกิจิและชิเอะ ฟูกูอิ และมีพี่น้องสามคน พ่อของฟูกูอิเป็นพ่อค้าที่ค้าขายกับชาวต่างชาติ ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1938 และ 1941 ขณะที่ฟูกูอิเป็นนักศึกษานั้น ฟูกูอิเริ่มสนใจกลศาสตร์ควอนตัมและสมการอันเลื่องชื่อของแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ เขายังเริ่มเกิดความคิดว่าการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการผสมผสานกันอย่างลงตัวของศาสตร์ที่แทบจะไม่เกี่ยวข้องกัน
ฟูกูอิให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร เดอะเคมิคัลอินเทลลิเจนเซอร์ (อังกฤษ: The Chemical Intelligencer) เกี่ยวกับเส้นทางสู่วงการเคมีตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้น โดยเล่าว่าฟูกูอิไม่เคยสนใจเคมีเป็นพิเศษหรือชอบวิชาเคมีในสมัยเรียนมัธยมเลย อย่างไรก็ตาม เรียวกิจิผู้เป็นพ่อได้ปรึกษากับศาสตราจารย์เก็งอิตสึ คิตะ (ญี่ปุ่น: 喜多源逸; โรมาจิ: Kita Gen-itsu) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยหลวงเกียวโตและเป็นเพื่อนสนิทของเรียวกิจิเกี่ยวกับการศึกษาของฟูกูอิ ศาสตราจารย์คิตะแนะนำว่าฟูกูอิควรศึกษาด้านเคมี ซึ่งฟูกูอิก็ตัดสินใจเชื่อคำแนะนำ เขาเล่าว่าในสมัยเรียนนั้นเคมีเป็นวิชาที่ยากเพราะดูเหมือนจะต้องท่องจำ และเขาชอบส่วนที่เป็นเหตุผลมากกว่าส่วนของการท่องจำ
หลังจบการศึกษาใน ค.ศ. 1941 ฟูกูอิเข้าทำงานในห้องปฏิบัติการเชื้อเพลิงของกองทัพญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในสองปีถัดมาฟูกูอิได้เป็นอาจารย์ด้านเชื้อเพลิงที่มหาวิทยาลัยหลวงเกียวโตและเริ่มทำงานเป็นนักเคมีอินทรีย์
งานทางวิทยาศาสตร์
ฟูกูอิเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีเชิงฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตตั้งแต่ ค.ศ. 1951 ถึง 1982 นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมเคมีแห่งประเทศญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1983 และ 1984 และได้รับรางวัลอื่นนอกเหนือจากรางวัลโนเบลได้แก่บุคคลทรงคุณค่าด้านวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1981 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1 ใน ค.ศ. 1988 และรางวัลอื่น ๆ
ใน ค.ศ. 1952 ฟูกูอิได้ตีพิมพ์ผลงานร่วมกับเทจิโร โยเนซาวะ (ญี่ปุ่น: 米澤貞次郎; โรมาจิ: Yonezawa Teijirō) และฮารูโอะ ชิงงู เกี่ยวกับทฤษฎีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างออร์บิทัลเชิงโมเลกุลและการเกิดปฏิกิริยาเคมีของในวารสาร Journal of Chemical Physics ในขณะนั้นแนวคิดของเขายังไม่เป็นที่ยอมรับนัก อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับหลังจากที่และได้ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1965 ซึ่งมีแผนภาพแสดงว่าโมเลกุลบางคู่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ง่ายในขณะที่บางคู่ไม่เกิดปฏิกิริยา ซึ่งพื้นฐานของกฎดังกล่าวมาจากสมมาตรของโมเลกุลและความเป็นไปได้ที่อิเล็กตรอนจะจัดตัว ฟูกูอิยอมรับว่าเขาเข้าใจดีขึ้นจากผลงานของวูดเวิร์ดและฮ็อฟมันว่าไม่ใช่แค่ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนเท่านั้นที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมบัติของโนดหรือบริเวณที่ไม่พบอิเล็กตรอนของออร์บิทัลก็มีความสำคัญเช่นกัน
มุมมอง
ฟูกูอิได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารใน ค.ศ. 1985 โดยวิพากษ์วิจารณ์ธรรมเนียมที่มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นดำเนินการวิจัย เขาระบุว่ามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีระบบที่แบ่งชนชั้นตายตัว ซึ่งแม้ว่าจะมีประโยชน์กับงานวิจัยถ้ากลุ่มวิจัยดังกล่าวจะทำงานในสาขาหรือธีมเดียวก็ตาม แต่ระบบดังกล่าวนั้นสร้างข้อจำกัดให้กับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยฟูกูอิระบุว่าถ้านักวิทยาศาสตร์ต้องการสร้างผลงานของตัวเอง พวกเขาต้องเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เขามองว่าต่อให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จะยังขึ้นเป็นอาจารย์ระดับสูงไม่ได้ในวัยหนุ่มสาวก็ตาม พวกเขาควรจะได้รับการสนับสนุนให้สร้างผลงานของตัวเองได้แล้ว นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์เดียวกัน ฟูกูอิยังวิจารณ์การวิจัยของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในญี่ปุ่นโดยมองว่าธุรกิจมักจะเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจของตนมากกว่าที่จะสร้างงานวิจัยเคมีพื้นฐาน ฟูกูอิมองว่างานวิจัยพื้นฐานที่ให้ผลในระยะยาวควรได้รับการสนับสนุนแม้ว่าเราจะยังไม่รู้เป้าหมายหรือยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ได้อย่างไรก็ตาม
นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์ลงในเดอะเคมิคัลอินเทลลิเจนเซอร์นั้น เขายังแสดงความเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นพยายามไล่ตามชาติตะวันตกโดยการนำเข้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากพวกเขา และมองว่าการสร้างความรู้พื้นฐานเป็นเรื่องใหม่ในสังคมญี่ปุน และงานวิจัยพื้นฐานในญี่ปุ่นยังไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินมากเท่ากับในชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ฟูกูอิตระหนักดีว่าสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
เกียรติยศ
ฟูกูอิได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบว่าออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่บริเวณรอยต่อ (โฮโมและลูโม) สามารถทำนายการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ โดยมาจากข้อสังเกตหลักสามข้อตามทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล เมื่อโมเลกุลสองโมเลกุลเกิดอันตรกิริยากัน
- ออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเต็มจะผลักกัน
- ประจุบวกในนิวเคลียสของโมเลกุลหนึ่งจะดึงดูดอิเล็กตรอนของอีกโมเลกุลหนึ่ง
- ออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเต็มของโมเลกุลหนึ่งและออร์บิทัลว่างของอีกโมเลกุลหนึ่งจะเกิดอันตรกิริยากัน (โดยเฉพาะโฮโมและลูโม) ทำให้เกิดแรงดึงดูด
จากข้อสังเกตดังกล่าว ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่บริเวณรอยต่อสรุปความสัมพันธ์ความไวต่อปฏิกิริยาเคมีและอันตรกิริยาระหว่างโฮโมจากโมเลกุลหนึ่งและลูโมของอีกโมเลกุลหนึ่ง ซึ่งช่วยอธิบายกฎการทำนายของวูดเวิร์ด-ฮ็อฟมันในปฏิกิริยาเทอร์มอลเพอริไซคลิก ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า "ปฏิกิริยาเพอริไซคลิกที่สถานะพื้นจะเป็นไปได้เชิงสมมาตรเมื่อจำนวนของ (4q+2)s และ (4r)a รวมกันเป็นจำนวนคี่"
ฟูกูอิได้รับเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกชาวต่างชาติของราชสมาคมใน ค.ศ. 1989
ชีวิตส่วนตัว
ฟูกูอิแต่งงานกับโทโมเอะ โฮริเอะ ตั้งแต่ ค.ศ. 1947 และมีลูกสองคน ได้แก่เท็ตสึยะและมิยาโกะ
ฟูกูอิเสียชีวิตในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1998 ที่เกียวโตจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- "Fukui's Frontiers: The first Japanese scientist to win a Nobel Prize introduced the concept of frontier orbitals" (PDF). Pubs.acs.org. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
- . Nobelprize.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-13. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
- ; Nakatsuji, H. (2001). "Kenichi Fukui. 4 October 1918 -- 9 January 1998: Elected F.R.S. 1989". . 47: 223. doi:10.1098/rsbm.2001.0013.
- Fukui, K (November 1982). "Role of Frontier Orbitals in Chemical Reactions". Science. 218 (4574): 747–754. Bibcode:1982Sci...218..747F. doi:10.1126/science.218.4574.747. PMID 17771019.
- Fukui, K.; Yonezawa, T.; Shingu, H. (1952). "A Molecular Orbital Theory of Reactivity in Aromatic Hydrocarbons". The Journal of Chemical Physics. 20 (4): 722. Bibcode:1952JChPh..20..722F. doi:10.1063/1.1700523.
- Bell J, Johnstone B, Nakaki S: The new face of Japanese science. New Scientist, March 21, 1985, p. 31.
- Sri Kantha S: Kenichi Fukui. In, Biographical Encyclopedia of Scientists, edited by Richard Olson, Marshall Cavendish Corp, New York, 1998, pp. 456–458. [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- The Chemical Intelligencer 1995, 1(2), 14-18, Springer-Verlag, New York, Inc.
- . Jce.divched.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
- Theory of orientation and stereoselection (1975), ISBN
- An Einstein dictionary, Greenwood Press, Westport, CT, by Sachi Sri Kantha ; foreword contributed by Kenichi Fukui (1996), ISBN
- Frontier orbitals and reaction paths : selected papers of Kenichi Fukui (1997) ISBN
- The science and technology of carbon nanotubes edited by Kazuyoshi Tanaka, Tokio Yamabe, Kenichi Fukui (1999), ISBN
- Martin Weil (1998-11-01). "NOBEL-WINNING CHEMIST KENICHI FUKUI DIES".
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud ekhngxici fukuxi yipun 福井 謙一 ormaci Fukui Ken ichi epnnkekhmichawyipunaelaepnchawexechiykhnaerkthiidrbrangwloneblsakhaekhmi odyidrbrangwlniin kh s 1981 rwmkbcakkarkhnkhwaekiywkbklikkarekidptikiriyaekhmi ngankhxngfukuximungennipthibthbathkhxng Frontier Molecular Orbital FMO inkarekidptikiriyaekhmi odyechphaaomelkulthiekidptikiriyaekidphnthaekhmiaebbhlwm aelamixielktrxnbrrcuxyuinxxrbithlthibriewnrxytx idaekxxrbithlechingomelkulradbsungsudthimixielktrxnetm Highest Occupied Molecular Orbital hruxohom HOMO aelaxxrbithlechingomelkulradbtasudthiimmixielktrxn Lowest Unoccupied Molecular Orbital hruxluom LUMO ekhngxici fukuxiekid4 tulakhm kh s 1918 1918 10 04 xaephxxiokma cnghwdnara praethsyipunesiychiwit9 mkrakhm kh s 1998 1998 01 09 79 pi ekiywot praethsyipunsychatiyipunphlemuxngyipunsisyekamhawithyalyhlwngekiywotmichuxesiyngcakxxrbithlthibriewnrxytxkhusmrsothomexa ohriexa tngaet kh s 1947 butr2 ethtsuyaaelamiyaoka rangwlrangwloneblsakhaekhmi 1981 ekhruxngrachxisriyaphrnwthnthrrm 1981 ekhruxngrachxisriyaphrnxathityxuthychnthi 1 1988 phakhismachikchawtangchatikhxngrachsmakhm 1989 xachiphthangwithyasastrsakhaekhmisthabnthithanganmhawithyalyekiywotwyedkfukuxiekidthicnghwdnara ekhaepnlukchaykhnotkhxngeriywkiciaelachiexa fukuxi aelamiphinxngsamkhn phxkhxngfukuxiepnphxkhathikhakhaykbchawtangchati chwngrahwang kh s 1938 aela 1941 khnathifukuxiepnnksuksann fukuxierimsnicklsastrkhwxntmaelasmkarxneluxngchuxkhxngaexrwin cherxdingengxr ekhayngerimekidkhwamkhidwakarkhnphbthangwithyasastrekidcakkarphsmphsanknxyanglngtwkhxngsastrthiaethbcaimekiywkhxngkn fukuxiihsmphasninnitysar edxaekhmikhlxinethlliecnesxr xngkvs The Chemical Intelligencer ekiywkbesnthangsuwngkarekhmitngaetsmyeriynmthymtn odyelawafukuxiimekhysnicekhmiepnphiesshruxchxbwichaekhmiinsmyeriynmthymely xyangirktam eriywkiciphuepnphxidpruksakbsastracaryekngxitsu khita yipun 喜多源逸 ormaci Kita Gen itsu sungepnsastracarythimhawithyalyhlwngekiywotaelaepnephuxnsnithkhxngeriywkiciekiywkbkarsuksakhxngfukuxi sastracarykhitaaenanawafukuxikhwrsuksadanekhmi sungfukuxiktdsinicechuxkhaaenana ekhaelawainsmyeriynnnekhmiepnwichathiyakephraaduehmuxncatxngthxngca aelaekhachxbswnthiepnehtuphlmakkwaswnkhxngkarthxngca hlngcbkarsuksain kh s 1941 fukuxiekhathanganinhxngptibtikarechuxephlingkhxngkxngthphyipunrahwangsngkhramolkkhrngthisxng insxngpithdmafukuxiidepnxacarydanechuxephlingthimhawithyalyhlwngekiywotaelaerimthanganepnnkekhmixinthriynganthangwithyasastrxnusawriykhxngekhngxici fukuxithimhawithyalyekiywot fukuxiepnsastracarydanekhmiechingfisiksthimhawithyalyekiywottngaet kh s 1951 thung 1982 nxkcakni ekhayngdarngtaaehnngprathansmakhmekhmiaehngpraethsyipunrahwang kh s 1983 aela 1984 aelaidrbrangwlxunnxkehnuxcakrangwloneblidaekbukhkhlthrngkhunkhadanwthnthrrmin kh s 1981 ekhruxngrachxisriyaphrnxathityxuthychnthi 1 in kh s 1988 aelarangwlxun in kh s 1952 fukuxiidtiphimphphlnganrwmkbethcior oyensawa yipun 米澤貞次郎 ormaci Yonezawa Teijirō aelaharuoxa chingngu ekiywkbthvsdiaesdngkhwamsmphnthrahwangxxrbithlechingomelkulaelakarekidptikiriyaekhmikhxnginwarsar Journal of Chemical Physics inkhnannaenwkhidkhxngekhayngimepnthiyxmrbnk xyangirktam aenwkhidnierimepnthiyxmrbhlngcakthiaelaidtiphimphin kh s 1965 sungmiaephnphaphaesdngwaomelkulbangkhusamarthekidptikiriyaidngayinkhnathibangkhuimekidptikiriya sungphunthankhxngkddngklawmacaksmmatrkhxngomelkulaelakhwamepnipidthixielktrxncacdtw fukuxiyxmrbwaekhaekhaicdikhuncakphlngankhxngwudewirdaelahxfmnwaimichaekhkhwamhnaaennkhxngxielktrxnethannthimiphltxkarekidptikiriyaekhmi smbtikhxngondhruxbriewnthiimphbxielktrxnkhxngxxrbithlkmikhwamsakhyechnknmummxngfukuxiidihsmphasnkbnitysarin kh s 1985 odywiphakswicarnthrrmeniymthimhawithyalyaelaxutsahkrrminyipundaeninkarwicy ekharabuwamhawithyalyinyipunmirabbthiaebngchnchntaytw sungaemwacamipraoychnkbnganwicythaklumwicydngklawcathanganinsakhahruxthimediywktam aetrabbdngklawnnsrangkhxcakdihkbnkwithyasastrrunihm odyfukuxirabuwathankwithyasastrtxngkarsrangphlngankhxngtwexng phwkekhatxngerimtngaetwyhnumsaw ekhamxngwatxihnkwithyasastrrunihmcayngkhunepnxacaryradbsungimidinwyhnumsawktam phwkekhakhwrcaidrbkarsnbsnunihsrangphlngankhxngtwexngidaelw nxkcakniinbthsmphasnediywkn fukuxiyngwicarnkarwicykhxngthurkichruxxutsahkrrminyipunodymxngwathurkicmkcaennipthikarphthnathurkickhxngtnmakkwathicasrangnganwicyekhmiphunthan fukuximxngwanganwicyphunthanthiihphlinrayayawkhwridrbkarsnbsnunaemwaeracayngimruepahmayhruxyngimruwacanaipichidxyangirktam nxkcakniinbthsmphasnlnginedxaekhmikhlxinethlliecnesxrnn ekhayngaesdngkhwamehnwapraethsyipunphyayamiltamchatitawntkodykarnaekhakhwamruthangwithyasastrcakphwkekha aelamxngwakarsrangkhwamruphunthanepneruxngihminsngkhmyipun aelanganwicyphunthaninyipunyngimidrbkarsnbsnundankarenginmakethakbinchatitawntk xyangirktam fukuxitrahnkdiwasthankarndngklawerimepliynaeplngipinthangthidikhunekiyrtiysfukuxiidrbrangwloneblsakhaekhmicakkarkhnphbwaxxrbithlechingomelkulthibriewnrxytx ohomaelaluom samarththanaykarekidptikiriyaekhmiid odymacakkhxsngekthlksamkhxtamthvsdixxrbithlechingomelkul emuxomelkulsxngomelkulekidxntrkiriyakn xxrbithlthimixielktrxnetmcaphlkkn pracubwkinniwekhliyskhxngomelkulhnungcadungdudxielktrxnkhxngxikomelkulhnung xxrbithlthimixielktrxnetmkhxngomelkulhnungaelaxxrbithlwangkhxngxikomelkulhnungcaekidxntrkiriyakn odyechphaaohomaelaluom thaihekidaerngdungdud cakkhxsngektdngklaw thvsdixxrbithlechingomelkulthibriewnrxytxsrupkhwamsmphnthkhwamiwtxptikiriyaekhmiaelaxntrkiriyarahwangohomcakomelkulhnungaelaluomkhxngxikomelkulhnung sungchwyxthibaykdkarthanaykhxngwudewird hxfmninptikiriyaethxrmxlephxriiskhlik sungnaipsukhxsrupthiwa ptikiriyaephxriiskhlikthisthanaphuncaepnipidechingsmmatremuxcanwnkhxng 4q 2 s aela 4r a rwmknepncanwnkhi fukuxiidrbeluxkihepnphakhismachikchawtangchatikhxngrachsmakhmin kh s 1989chiwitswntwfukuxiaetngngankbothomexa ohriexa tngaet kh s 1947 aelamiluksxngkhn idaekethtsuyaaelamiyaoka fukuxiesiychiwitinwnthi 9 mkrakhm kh s 1998 thiekiywotcakorkhekiywkbthangedinxaharduephimsthaniyxyekhmisthaniyxypraethsyipunrangwloneblsakhaekhmixangxing Fukui s Frontiers The first Japanese scientist to win a Nobel Prize introduced the concept of frontier orbitals PDF Pubs acs org subkhnemux 2015 11 09 Nobelprize org khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 08 13 subkhnemux 2015 11 09 Nakatsuji H 2001 Kenichi Fukui 4 October 1918 9 January 1998 Elected F R S 1989 47 223 doi 10 1098 rsbm 2001 0013 Fukui K November 1982 Role of Frontier Orbitals in Chemical Reactions Science 218 4574 747 754 Bibcode 1982Sci 218 747F doi 10 1126 science 218 4574 747 PMID 17771019 Fukui K Yonezawa T Shingu H 1952 A Molecular Orbital Theory of Reactivity in Aromatic Hydrocarbons The Journal of Chemical Physics 20 4 722 Bibcode 1952JChPh 20 722F doi 10 1063 1 1700523 Bell J Johnstone B Nakaki S The new face of Japanese science New Scientist March 21 1985 p 31 Sri Kantha S Kenichi Fukui In Biographical Encyclopedia of Scientists edited by Richard Olson Marshall Cavendish Corp New York 1998 pp 456 458 ixexsbiexn immi The Chemical Intelligencer 1995 1 2 14 18 Springer Verlag New York Inc Jce divched org khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 02 08 subkhnemux 2015 11 09 Theory of orientation and stereoselection 1975 ISBN 978 3 642 61917 5 An Einstein dictionary Greenwood Press Westport CT by Sachi Sri Kantha foreword contributed by Kenichi Fukui 1996 ISBN 0 313 28350 8 Frontier orbitals and reaction paths selected papers of Kenichi Fukui 1997 ISBN 978 981 02 2241 3 The science and technology of carbon nanotubes edited by Kazuyoshi Tanaka Tokio Yamabe Kenichi Fukui 1999 ISBN 978 0080426969 Martin Weil 1998 11 01 NOBEL WINNING CHEMIST KENICHI FUKUI DIES