สัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ วิภังค์ ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและ คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์
ผู้แต่ง
ในนิคมคาถาของสัมโมหวิโนทนี ระบุไว้ว่า พระพุทธโฆสะเป็นผู้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นโดยรับการอาราธณาจากพระเถระรูปหนึ่งในคณะ แห่งลังกาทวีป ซึ่งท่านพักอาศัยอยู่และได้แต่งคัมภีร์หลายคัมภีร์ ณ สถานที่แห่งนี้ โดยการรจนาของท่านได้ทำการรวมเอาสาระแห่งอรรถกถาของอาจารย์ในอดีตไว้ ทั้งนี้ คาดว่าสัมโมหวิโนทนีรจนาขึ้นหลังคัมภีร์วิสุทธิมรรค
เนื้อหา
คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีแบ่งออกเป็น 40 ภาณวาร (หมวด) เนื้อหาหลักเป็นการอธิบายหลักธรรมอันลึกซึ้งของพระอภิธรรม ซึ่งพระอภิธรรมนั้นเป็นการแจกแจงข้อธรรมล้วน ๆ ไม่มีเรื่องราวอธิบายประกอบ โดยเฉพาะในส่วนของคัมภีร์วิภังค์ อันเป็นคัมภีร์ที่ 2 จากทั้งหมด 7 คัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎกนั้น เป็นการยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด แต่แม้จะเป็นการอธิบายข้อธรรมโดยละเอียด ก็ยังยากที่จะพิจารณาให้เข้าใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลเชิงลึก
ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้รจนาจึงใช้วิธีการอธิบายด้วยการยกอุปมาบ้าง ด้วยการยกตัวอย่างจากเรื่องราวจากพุทธประวัติของพระโคตมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าในอดีตบ้าง เรื่องราวในอดีตบ้าง มีการวินิฉัยคำศัทพ์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์บ้าง (วินิจฉัยโดยอรรถ) นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายข้อธรรม โดยโยงกับวิธีการปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนาต่าง ๆ เช่น การพิจารณาอสุภกรรมฐาน และตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 เป็นอาทิ
ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สัมโมหวิโนทนี มีลักษณะเป็นทั้งสารานุกรม โดยการอธิบายหลักธรรมด้วยการอุปมาและอ้างอิงข้อมูลและเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาแล้ว คัมภีร์นี้ยังมีลักษณะเป็นพจนานุกรม ด้วยการวินิฉัยคำศัทพ์ที่ปรากฏ และยังมีลักษณะเป็นคู่มือในการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ในข้อหลังนี้มีส่วนทำให้คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี มีส่วนคล้ายคลึลงกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธโฆสะอยู่ไม่น้อย ดังที่ระบุไว้แล้วว่า คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีนี้รจนาขึ้นหลังคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงอาจได้รับอิทธิพลจากกันไม่มาก็น้อย
ตัวอย่างเนื้อหา
ตัวอย่างการอธิบายศัทพ์วินิฉัย เช่น ในอายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ อายตนวิภังคนิเทศ (บาลีข้อ 97) วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ ท่านผู้รจนาได้ทำการอธิบายศัพท์ที่ปรากฏในเนื้อความตอนนี้เช่น "สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่าโสต เพราะอรรถว่าได้ยิน" และ "อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่าธรรม เพราะอรรถว่าย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน" เป็นต้น
ตัวอย่างการอธิบายโดยยกอุปมาอุปมัย เช่นใน ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ ว่าด้วยการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ ได้ใช้วิธีการอุปมาลักษณะต่าง ๆ เพื่ออธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทได้อย่างแหลมคมและเห็นภาพ อีกทั้งยังมีความละเอียดลึกซึ้ง เฉพาะวิภังค์นี้มีความยาวกว่า 100 หน้ากระดาษพิมพ์แบบสมัยใหม่ แต่โดยคร่าว ๆ แล้วท่านผู้รจนาได้อธิบายนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ 4 นัยหลัก ๆ เพื่อแสดงถึงเหตุและปัจจัยอันก่อให้เกิดภพชาติ และการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และในท้ายที่สุดผู้รจนาย้ำว่า บัณฑิต "พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ประกอบความ เพียรเนือง ๆ ก็จะพึงได้ความหยั่งลงในประเภทแห่งปัจจยาการอันลึกซึ้งนี้ได้
ตัวอย่างการอธิบายโดยยกเรื่องราว เช่นในอารรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์ ว่าด้วยความมัวเมาต่าง ๆ ท่านผู้รจนาได้ยกตัวอย่างเรื่องเล่าและตัวอย่างจากพุทธประวัติมาประกอบให้เกิดความเข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ในการอธิบายส่าวนของอัตริจฉตานิทเทส หรือการอธิบายความอยากได้เกินประมาณ ท่านได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวของพระเจ้าพาราณสีหลงไหลนางกินนรีจนถึงกับทิ้งพระเทวี แต่สุดท้ายก็ต้องสูญเสียทั้งพระเทวีและนางกินนรีเพราะความละโมบ เป็นต้น
ตัวอย่างการอธิบายแนวทางการปฏิบัติ เช่นการระบุถึงวิธีมนสิการ หรือพิจารณาธาตุโดยอาการต่าง ๆ 10 อย่างอันประกอบขึ้นมาเป็นร่างกาย ในส่วนของธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ ธาตุวิภังคนิเทศ วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ โดยท่านผู้รจนาได้เน้นหนักว่า การวิปัสสนาเพื่อบรรลุพระอรหัตนั้น "พึงชำระปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์ เพราะว่าการเจริญกรรมฐานย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีล" แล้วชี้ว่า "วิธีทำการชำระจตุปาริสุทธิศีลนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ" จากนั้นจึงพิจารณา หรือมนสิการ อาการต่าง ๆ ดังนี้ เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น
คัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง
- ฎีกาวิภังคปกรณ์ พระอานันทาจารย์ แต่งที่ลังกาทวีป
- อนุฎีกาวิภังคปกรณ์ พระอานันทะ แต่งที่ลังกาทวีป
- พระญาณกิตติเถระ แต่งที่เชียงใหม่
- (คุยหัตถทีปนี) วิภังควัณณา ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
อ้างอิง
- วรรณคดีบาลี. หน้า 78
- The Life and Work of Buddhaghosa. หน้า 84
- ประวัติคัมภีร์บาลี. หน้า 104
- สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 2 หน้า 1041 - 1042
- Ven. P. A. Payutto. A note on interpreting the principle of Dependent Origination
- Ven. P. A. Payutto. A note on interpreting the principle of Dependent Origination
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 163
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 438 - 574
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 2 หน้า 871 - 872
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 209 - 266
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี หน้า 107
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี หน้า 112
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี หน้า 114
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี หน้า 116
บรรณานุกรม
- Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.
- Ven. P. A. Payutto. A note on interpreting the principle of Dependent Origination ใน http://www.abuddhistlibrary.com/Buddhism/B%20-%20Theravada/Teachers/Ven%20Payutto/Dependent%20Origination/Appendix.htm
- คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี. กรุงเทพมหานคร. มหามกุฏราชวิทยาลัย.
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 1
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังค์. พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 2 ภาค 2
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
smomhwionthni epnkhmphirxrrthkthaxthibaykhwaminkhmphirwiphngkh sungepnkhmphirthi 2 inbrrdaphraxphithrrmpidk 7 khmphir khux wiphngkh pukhkhlbyyti kthawtthu ymkaela khmphirniepnphlngankhxngphraphuththokhsa hruxphraphuththokhsacaryaetngkhunodyxasyxrrthkthaphasasinghlchuxmhapccriyphuaetnginnikhmkhathakhxngsmomhwionthni rabuiwwa phraphuththokhsaepnphurcnakhmphirnikhunodyrbkarxarathnacakphraethraruphnunginkhna aehnglngkathwip sungthanphkxasyxyuaelaidaetngkhmphirhlaykhmphir n sthanthiaehngni odykarrcnakhxngthanidthakarrwmexasaraaehngxrrthkthakhxngxacaryinxditiw thngni khadwasmomhwionthnircnakhunhlngkhmphirwisuththimrrkhenuxhakhmphirsmomhwionthniaebngxxkepn 40 phanwar hmwd enuxhahlkepnkarxthibayhlkthrrmxnluksungkhxngphraxphithrrm sungphraxphithrrmnnepnkaraeckaecngkhxthrrmlwn immieruxngrawxthibayprakxb odyechphaainswnkhxngkhmphirwiphngkh xnepnkhmphirthi 2 cakthnghmd 7 khmphirkhxngphraxphithrrmpidknn epnkarykhmwdthrrmkhuntngepnhwkhxeruxngaelwaeykaeyaxxkxthibaychiaecngwinicchyodylaexiyd aetaemcaepnkarxthibaykhxthrrmodylaexiyd kyngyakthicaphicarnaihekhaic enuxngcakepnkhxmulechingluk dwyehtuni thanphurcnacungichwithikarxthibaydwykarykxupmabang dwykaryktwxyangcakeruxngrawcakphuththprawtikhxngphraokhtmphuththecaaelaphraphuththecainxditbang eruxngrawinxditbang mikarwinichykhasthphthipraktxyuinphrakhmphirbang winicchyodyxrrth nxkcakni yngmikarxthibaykhxthrrm odyoyngkbwithikarptibtitamaenwthangwipssnatang echn karphicarnaxsuphkrrmthan aelatamaenwthangstiptthan 4 epnxathi dwyehtuni cungxacklawidwa smomhwionthni milksnaepnthngsaranukrm odykarxthibayhlkthrrmdwykarxupmaaelaxangxingkhxmulaelaeruxngrawthiekidkhunmaaelw khmphirniyngmilksnaepnphcnanukrm dwykarwinichykhasthphthiprakt aelayngmilksnaepnkhumuxinkarptibtithrrmtamhlkthrrmthipraktinphraitrpidk inkhxhlngnimiswnthaihkhmphirsmomhwionthni miswnkhlaykhlulngkbkhmphirwisuththimrrkh phlnganxnyingihykhxngphraphuththokhsaxyuimnxy dngthirabuiwaelwwa khmphirsmomhwionthninircnakhunhlngkhmphirwisuththimrrkh cungxacidrbxiththiphlcakknimmaknxytwxyangenuxhatwxyangkarxthibaysthphwinichy echn inxaytnwiphngkh suttntphachniy xaytnwiphngkhnieths balikhx 97 wrrnnasuttntphachniy thanphurcnaidthakarxthibaysphththipraktinenuxkhwamtxnniechn sunatiti ost chuxwaost ephraaxrrthwaidyin aela xt ton lk khn tharytiti thm ma chuxwathrrm ephraaxrrthwayxmthrngiwsunglksnakhxngtn epntn twxyangkarxthibayodyykxupmaxupmy echnin pccyakarwiphngkh suttntphachniy xrrthkthapticcsmuppathwiphngkh wadwykarxthibaypticcsmupbath sungphraxrrthkthacary idichwithikarxupmalksnatang ephuxxthibayhlkpticcsmupbathidxyangaehlmkhmaelaehnphaph xikthngyngmikhwamlaexiydluksung echphaawiphngkhnimikhwamyawkwa 100 hnakradasphimphaebbsmyihm aetodykhraw aelwthanphurcnaidxthibaynyaehngpticcsmupbathid 4 nyhlk ephuxaesdngthungehtuaelapccyxnkxihekidphphchati aelakarewiynwaytayekidimmithisinsud aelainthaythisudphurcnayawa bnthit phungepnphumistithukemux prakxbkhwam ephiyrenuxng kcaphungidkhwamhynglnginpraephthaehngpccyakarxnluksungniid twxyangkarxthibayodyykeruxngraw echninxarrthkthakhuththkwtthuwiphngkh wadwykhwammwematang thanphurcnaidyktwxyangeruxngelaaelatwxyangcakphuththprawtimaprakxbihekidkhwamekhaicednchdkhun echn inkarxthibaysawnkhxngxtricchtanitheths hruxkarxthibaykhwamxyakidekinpraman thanidyktwxyang eruxngrawkhxngphraecapharansihlngihlnangkinnricnthungkbthingphraethwi aetsudthayktxngsuyesiythngphraethwiaelanangkinnriephraakhwamlaomb epntn twxyangkarxthibayaenwthangkarptibti echnkarrabuthungwithimnsikar hruxphicarnathatuodyxakartang 10 xyangxnprakxbkhunmaepnrangkay inswnkhxngthatuwiphngkh suttntphachniy thatuwiphngkhnieths wrrnnasuttntphachniy odythanphurcnaidennhnkwa karwipssnaephuxbrrluphraxrhtnn phungcharaparisuththisil 4 ihbrisuththi ephraawakarecriykrrmthanyxmsaercaekbukhkhlphumisil aelwchiwa withithakarcharactuparisuththisilnn phungthrabodynythiklawiwinwisuththimrrkhnnaehla caknncungphicarna hruxmnsikar xakartang dngni echn eksa olma nkha thnta toc epntnkhmphirthiekiywkhxngdikawiphngkhpkrn phraxannthacary aetngthilngkathwip xnudikawiphngkhpkrn phraxanntha aetngthilngkathwip phrayankittiethra aetngthiechiyngihm khuyhtththipni wiphngkhwnna impraktchuxphuaetngxangxingwrrnkhdibali hna 78 The Life and Work of Buddhaghosa hna 84 prawtikhmphirbali hna 104 smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 2 hna 1041 1042 Ven P A Payutto A note on interpreting the principle of Dependent Origination Ven P A Payutto A note on interpreting the principle of Dependent Origination phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 1 hna 163 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 1 hna 438 574 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 2 hna 871 872 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 1 hna 209 266 phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali hna 107 phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali hna 112 phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali hna 114 phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali hna 116brrnanukrmBimala Charan Law 1923 The Life and Work of Buddhaghosa Calcutta Thacker Spink amp Co Ven P A Payutto A note on interpreting the principle of Dependent Origination in http www abuddhistlibrary com Buddhism B 20 20Theravada Teachers Ven 20Payutto Dependent 20Origination Appendix htm khnacarymhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly 2550 wrrnkhdibali krungethph kxngwichakar mhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali krungethphmhankhr mhamkutrachwithyaly phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 1 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly smomhwionthni xrrthkthawiphngkh phraxphithrrmpidk elm 2 phakh 2