ร่ายเป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ
ความหมายและลักษณะ
ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง
กำเนิดและวิวัฒนาการ
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) สันนิษฐานว่าร่ายเป็นของไทยแท้ มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ด้วยปรากฏหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีสุโขทัยคือสุภาษิตพระร่วง และต่อมาจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวรรณคดีอยุธยาเรื่องโองการแช่งน้ำในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) สันนิษฐานว่าร่ายเป็นของไทยแท้ เพราะคนไทยนิยมพูดเป็นสัมผัสคล้องจอง ดังปรากฏประโยคคล้องจองในสำนวนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กาพย์พระมุนีเดินดงของภาคเหนือ และคำแอ่วของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า คำว่า "ร่าย" ตัดมาจาก "ร่ายมนต์" สังเกตจากโองการแช่งน้ำที่มีร่ายดั้นปรากฏเป็นเรื่องแรกและมีเนื้อหาเป็นคำประกาศในการดื่มน้ำสาบาน
วิวัฒนาการของร่ายน่าจะเริ่มจากสำนวนคล้องจองในศิลาจารึกและความนิยมพูดคล้องจองของคนไทยแต่โบราณ ในบทที่พระภิกษุใช้เทศนาก็ปรากฏลักษณะการคล้องจองอยู่ เป็นการรับส่งสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังวรรคถัดไป โดยไม่ได้กำหนดความสั้นยาวของพยางค์อย่างตายตัว ซึ่งลักษณะนี้ใกล้เคียงกับร่ายประเภท "ร่ายยาว" มากที่สุด จึงมีการสันนิษฐานว่า ร่ายยาวเป็นร่ายที่เกิดขึ้นในอันดับแรกสุด ต่อมาจึงเกิด "ร่ายโบราณ" ซึ่งกำหนดจำนวนพยางค์และจุดสัมผัมคล้องจองตายตัว และตามมาด้วย "ร่ายดั้น" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงดั้นเข้ามา สุดท้ายจึงเกิด "ร่ายสุภาพ" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงสุภาพเข้ามา
ประเภท
ร่ายมีสี่ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:
- ร่ายยาว
- ร่ายโบราณ
- ร่ายดั้น
- ร่ายสุภาพ
ฉันทลักษณ์ของร่าย
1. ร่ายยาว
ร่ายยาว คือ ร่ายที่ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ แต่ละวรรคจึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำหนึ่งคำใดในวรรคถัดไป จะแต่งสั้นยาวเท่าไรเมื่อจบนิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่าง โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้
— กาพย์มหาชาติ สักรบรรพ
2. ร่ายโบราณ
ร่ายโบราณ คือ ร่ายที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมีคำห้าคำเป็นหลัก บทหนึ่งต้องแต่งให้มากกว่าห้าวรรคขึ้นไป การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง หรือสาม คำใดคำหนึ่งของวรรคถัดไป และยังกำหนดอีกว่า หากส่งด้วยคำเอก ต้องสัมผัสด้วยคำเอก คำโทก็ด้วยคำโท คำตายก็ด้วยคำตาย ในการจบบทนั้น ห้ามไม่ให้ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ประสมอยู่เป็นคำจบบท อาจจบด้วยถ้อยคำ และอาจแต่งให้มีสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง ...พระบาทเสด็จ บ มิช้า พลหัวหน้าพะกัน แกว่งตาวฟันฉฉาด แกว่งดาบฟาดฉฉัด ซ้องหอกซัดยยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยย้าย ข้างซ้ายรบ บ มิคลา ข้างขวารบ บ มิแคล้ว แกล้วแลแกล้วชิงข้า กล้าแลกกล้าชิงขัน รุมกันพุ่งกันแทง เข้าต่อแย้งต่อยุทธ์ โห่อึงอุดเอาชัย เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หน้าไม้ดาปืนดาษ ธนูสาดศรแผลง แข็งต่อแข็งง่าง้าง ช้างพะช้างชนกัน ม้าผกผันคลุกเคล้า เข้ารุกรวนทวนแทง รแรงเร่งมาหนา ถึงพิมพิสารครราช พระบาทขาดคอช้าง ขุนพลคว้างขวางรบ กันพระศพกษัตริย์ หนีเมื้อเมืองท่านไท้ ครั้นพระศพเข้าได้ ลั่นเขื่อนให้หับทวาร ท่านนา ตัวอย่างแบบมีสร้อยสลับวรรค เจ้าเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผื่อเหลือแห่งพร้อง โอเอ็นดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา.
3. ร่ายดั้น
ร่ายดั้น คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายโบราณ แต่ไม่เคร่งเรื่องการรับสัมผัสระหว่างชนิดคำ คือ คำเอกไม่จำเป็นต้องรับด้วยคำเอก เป็นต้น ส่วนการจบบท ใช้บาทที่สามและสี่ของโคลงดั้นมาปิดท้ายบท และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง ศรีสุนทรประฌาม งามด้วยเบญจพิธ องค์ประดิษฐ์อุตดม อัญขยมประจงถวาย พร้อมด้วยกายวาจาจิต...มวลมารพ่ายแพ้สูญ สิ้นเสร็จ ทรงพระคุณล้ำล้น เลิศครู
— ลิลิตดั้นมาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย - พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
4. ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพ คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายดั้นทุกประการ ส่วนการจบบท ใช้โคลงสองสุภาพจบ และนิยมมีคำสร้อยปิดท้ายด้วย และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง สรวมสวัสดิวิชัย เกริกกรุงไกรเกรียงยศ เกียรติปรากฏขจรขจาย สบายทั่วแหล่งหล้า ฝนฟ้าฉ่ำชุ่มชล ไพศรพณ์ผลพูนเพิ่ม เหิมใจราษฎร์บำเทิง...ประเทศสยามชื่นช้อย ทุกข์ขุกเข็ญใหญ่น้อย นาศไร้แรงเกษม โสตเทอญ
— ลิลิตนิทราชาคริต - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ้างอิง
- พระยาอนุมานราชธน. (2515). การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
- พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2514). ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก. กุรงเทพฯ: โรงพิมพ์ของคุรุสภา.
- ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
rayepnrxykrxngaebbhnung misipraephthidaek rayyaw raysuphaph raydn aelarayobrankhwamhmayaelalksnaray khux khapraphnthpraephthrxykrxngaebbhnungthiaetngngaythisud aelamichnthlksnnxykwarxykrxngpraephthxun thaphicarnaihdicaphbwaraymilksnaiklekhiyngkbkhapraphnthpraephthrxyaekwmak ephiyngaetkahndthikhlxngcxngaelabngkhbwrrnyuktinbangaehngkaenidaelawiwthnakarphrasarpraesrith tri nakhaprathip snnisthanwarayepnkhxngithyaeth mimaaetsmyphxkhunramkhaaehng dwyprakthlkthankhrngaerkinwrrnkhdisuokhthykhuxsuphasitphrarwng aelatxmacungpraktepnrupepnrangkhuninwrrnkhdixyuthyaeruxngoxngkaraechngnainsmysmedcphraramathibdithi 1 phrayaxupkitsilpsar nim kaycnachiwa snnisthanwarayepnkhxngithyaeth ephraakhnithyniymphudepnsmphskhlxngcxng dngpraktpraoykhkhlxngcxnginsanwnsilacarukphxkhunramkhaaehng kaphyphramuniedindngkhxngphakhehnux aelakhaaexwkhxngphakhtawnxxkechiyngehnux nxkcakniyngsnnisthanwa khawa ray tdmacak raymnt sngektcakoxngkaraechngnathimiraydnpraktepneruxngaerkaelamienuxhaepnkhaprakasinkardumnasaban wiwthnakarkhxngraynacaerimcaksanwnkhlxngcxnginsilacarukaelakhwamniymphudkhlxngcxngkhxngkhnithyaetobran inbththiphraphiksuichethsnakpraktlksnakarkhlxngcxngxyu epnkarrbsngsmphscakwrrkhhnaipyngwrrkhthdip odyimidkahndkhwamsnyawkhxngphyangkhxyangtaytw sunglksnaniiklekhiyngkbraypraephth rayyaw makthisud cungmikarsnnisthanwa rayyawepnraythiekidkhuninxndbaerksud txmacungekid rayobran sungkahndcanwnphyangkhaelacudsmphmkhlxngcxngtaytw aelatammadwy raydn sungmikarprayuktkdeknthkhxngokhlngdnekhama sudthaycungekid raysuphaph sungmikarprayuktkdeknthkhxngokhlngsuphaphekhamapraephthraymisipraephth eriyngladbtamkarkaenidcakkxniphlngid dngni rayyaw rayobran raydn raysuphaphchnthlksnkhxngray1 rayyaw rayyaw khux raythiimkahndcanwnkhainwrrkhhnung aetlawrrkhcungxacmikhanxymakaetktangknip karsmphs khasudthaykhxngwrrkhhnasmphskbkhahnungkhaidinwrrkhthdip caaetngsnyawethairemuxcbniymlngthaydwykhawa aelwael nnael niethid onnethid chani chann l epntn twxyang ophthist ot smedcphrabrmophthistw xnsrangsmdungsprmtthbarmi emuxcarbworrtneruxngsriaepdprakar aedsanknithawmkhwanethewsr kthulaekthawshsentrchani kaphymhachati skrbrrph 2 rayobran rayobran khux raythikahndihwrrkhhnungmikhahakhaepnhlk bthhnungtxngaetngihmakkwahawrrkhkhunip karsmphs khasudthaykhxngwrrkhhnasmphskbkhathihnung sxng hruxsam khaidkhahnungkhxngwrrkhthdip aelayngkahndxikwa haksngdwykhaexk txngsmphsdwykhaexk khaothkdwykhaoth khataykdwykhatay inkarcbbthnn hamimihichkhathimirupwrrnyuktprasmxyuepnkhacbbth xaccbdwythxykha aelaxacaetngihmisrxyslbwrrkhkid twxyang phrabathesdc b micha phlhwhnaphakn aekwngtawfnchchad aekwngdabfadchchd sxnghxksdyyung sxnghxkphungyyay khangsayrb b mikhla khangkhwarb b miaekhlw aeklwaelaeklwchingkha klaaelkklachingkhn rumknphungknaethng ekhatxaeyngtxyuthth ohxungxudexachy esiyngpunifkukkxng saethuxnthxngphsutha hnaimdapundas thnusadsraephlng aekhngtxaekhngngangang changphachangchnkn maphkphnkhlukekhla ekharukrwnthwnaethng raerngerngmahna thungphimphisarkhrrach phrabathkhadkhxchang khunphlkhwangkhwangrb knphrasphkstriy hniemuxemuxngthanith khrnphrasphekhaid lnekhuxnihhbthwar thanna twxyangaebbmisrxyslbwrrkh ecaephuxehluxaephndin naphi hlakrabilinaehlnghla naphi bxkaelwcaiwhnaaehngid naphi khwamxayikhrchwyid naphi xayaekkhnisrthanhw naphi aehnngtwtaydikwa naphi sxngphixyathamephux naphi ecbephuxehluxaehngphrxng oxexndurknxng xyasacatay hnungra lilitphralx 3 raydn raydn khux raythikahndkhainwrrkhaelakarsmphsehmuxnrayobran aetimekhrngeruxngkarrbsmphsrahwangchnidkha khux khaexkimcaepntxngrbdwykhaexk epntn swnkarcbbth ichbaththisamaelasikhxngokhlngdnmapidthaybth aelaxacaetngihmikhasrxyslbwrrkhkid twxyang srisunthrpracham ngamdwyebycphith xngkhpradisthxutdm xykhympracngthway phrxmdwykaywacacit mwlmarphayaephsuy sinesrc thrngphrakhunlaln eliskhru lilitdnmatapitukhunkhathabrryay phrayaxupkitsilpsar nim kaycnachiwa 4 raysuphaph raysuphaph khux raythikahndkhainwrrkhaelakarsmphsehmuxnraydnthukprakar swnkarcbbth ichokhlngsxngsuphaphcb aelaniymmikhasrxypidthaydwy aelaxacaetngihmikhasrxyslbwrrkhkid twxyang srwmswsdiwichy ekrikkrungikrekriyngys ekiyrtipraktkhcrkhcay sbaythwaehlnghla fnfachachumchl iphsrphnphlphunephim ehimicrasdrbaething praethssyamchunchxy thukkhkhukekhyihynxy nasiraerngeksm ostethxy lilitnithrachakhrit phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwxangxingphrayaxnumanrachthn 2515 karsuksawrrnkhdiinaengwrrnsilp krungethph brrnakhar phrayaxupkitsilpsar 2514 chumnumniphnth x n k kurngethph orngphimphkhxngkhuruspha rachbnthitysthan 2546 phcnanukrmchbbrachbnthitysthan ph s 2542 krungethph nanmibukhsphbliekhchns