นี่คือ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่การสถาปนากรุงคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 330 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโดยทั่วไปของจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ไปจนถึงการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลแก่จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีพระราชอำนาจในการใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการแยกตำแหน่งจักรพรรดิร่วม (symbasileis:ซิมบาซิเลอิส) ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นสถานะของผู้ปกครอง และไม่นับรวมที่ทำการอ้างสิทธิในตำแหน่งจักรพรรดิ
จักรพรรดิ แห่งโรมัน | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
Byzantine Palaiologos Eagle.svg | |
ที่ถูกใช้ในสมัย | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิไบแซนไทน์องค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช |
องค์สุดท้าย | จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส |
สถานพำนัก | |
ผู้แต่งตั้ง | ไม่ระบุ, โดยพฤตินัย, |
เริ่มระบอบ | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 |
สิ้นสุดระบอบ | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 (1,123 ปี 18 วัน) |
ตามประเพณีโบราณ สายสันตติวงศ์ของจักรพรรดิไบแซนไทน์จะเริ่มร่วมกับจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช จักรพรรดิคริสตศาสนิกชนพระองค์แรก ผู้ทรงสร้างเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาใหม่ในฐานะราชธานี นามว่า คอนสแตนติโนเปิล และเป็นผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง ลักษณะเด่นสำคัญของรัฐไบแซนไทน์ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน คือ ระบบการปกครองได้มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิลและถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยกับศาสนาคริสต์ที่เป็นศาสนาประจำชาติ
จักรพรรดิไบแซนไทน์ทุกพระองค์ขนามนามพระองค์เองว่า "จักรพรรดิโรมัน" คำว่า "ไบแซนไทน์" นั้นได้ถูกประกาศใช้โดยประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตำแหน่ง "จักรพรรดิโรมัน" ไม่ได้ถูกท้าทายมาก่อนจนกระทั่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสวมมงกุฎให้แก่กษัตริย์ชาวแฟรงก์ คือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ในฐานะ "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" (25 ธันวาคม ค.ศ. 800) เป็นการกระทำเพื่อตอบโต้พระราชพิธีราชาภิเษกไบแซนไทน์ จักรพรรดินีไอรีน ซึ่งเป็นสตรี โดยไม่ได้รับการยอมรับจาก
ตำแหน่งของจักรพรรดิทั้งหมดก่อนหน้าจักรพรรดิเฮราคลิอัสมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า "" (Augustus) ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งอื่นที่ใช้อย่าง (Dominus) ชื่อตำแหน่งทั้งหลายก่อนหน้ามาจาก (Imperator) ซีซาร์ (Caesar) และตามมาด้วย ออกัสตัส ต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิเฮราคลิอัส ชื่อตำแหน่งได้กลายเป็นภาษากรีกคือ (Basileus; ภาษากรีก:Βασιλεύς) ซึ่งมีความหมายแต่เดิมว่า ประมุข แต่ถูกใช้เพื่อแทนที่คำว่า ออกัสตัส ตามมาด้วยการสร้างศัตรูกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรปตะวันตก ตำแหน่ง "" (Autokrator; ภาษากรีก:Αὐτοκράτωρ) ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้น ในหลายศตวรรษต่อมา จักรพรรดิถูกกล่าวถึงโดยชาวคริสต์ตะวันตกว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งกรีก" ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิ จักรพรรดิจะเรียกตนเองว่า "[พระนามจักรพรรดิ]ในพระคริสต์ จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งชาวโรมัน"
ในช่วงยุคกลาง ระบบราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติแต่หลักไม่ได้ถูกทำให้เป็นทางการในจักรวรรดิ และการสืบราชสันตติวงศ์มีความเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าหลักการที่กำหนดเป็นกฎหมาย
รวมทั้งราชวงศ์พาลาโอโลกอส ได้อ้างสิทธิในจักรพรรดิไบแซนไทน์ขณะลี้ภัย มีจักรพรรดิทั้งหมด 99 พระองค์ในระยะเวลา 1,000 ปีของจักรวรรดิไบแซนไทน์
ราชวงศ์คอนสแตนติเนียน (ค.ศ. 306 - 363)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 "มหาราช" Constantine I "the Great" (ภาษากรีก: Κωνσταντῖνος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Gaius Flavius Valerius Aurelius Constantinus) | 19 กันยายน ค.ศ. 324 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 (12 ปี 245 วัน) | ประสูติที่นาอิซซัสราวปีค.ศ. 273/4 เป็นพระโอรสใน จักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัสกับจักรพรรดินีเฮเลนา ทรงได้รับการประกาศเป็นออกัสตัสแห่งจักรวรรดิตะวันตกหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 พระองค์กลายเป็นพระประมุขแห่งจักรวรรดิตะวันตกแต่เพียงพระองค์เดียวหลังจากในปีค.ศ. 312 ในปีค.ศ. 324 พระองค์ทรงกำจัดออกัสตัสตะวันออก จักรพรรดิลิซิเนียสและทรงรวมจักรวรรดิเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเสร็จสิ้นการปฏิรูปทางการบริหารและกองทัพที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ผู้ทรงเริ่มต้นนำไปสู่ จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสนพระทัยอย่างแข็งขันในศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการสร้างความเป็นคริสต์ในโลกโรมัน โดยผ่านการเรียกประชุมสังคายนาศาสนาครั้งแรกที่เมืองไนเซีย หรือ นิคาเอีย พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาขณะทรงใกล้จะสวรรคตบนแท่นบรรทม พระองค์ยังทรงปฏิรูปการสร้างเหรียญทองคำ และทรงริเริ่มการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยการสถาปนาเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาอีกครั้งในฐานะ "โรมใหม่" ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักในนามว่า คอนสแตนติโนเปิล พระองค์ได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง | |
จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 Constantius II (ภาษากรีก: Κωνστάντιος [Β'], ภาษาละติน: Flavius Iulius Constantius) | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 361 (24 ปี 136 วัน) | ประสูติในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 317 เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 พระองค์ทรงได้รับมรดกเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในปีค.ศ. 353 หลังจากทรงโค่นล้มอำนาจ ผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ทางตะวันตก รัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสมีกิจการทหารบริเวณชายแดนและความไม่ลงรอยระหว่างลัทธิเอเรียสที่จักรพรรดิทรงสนับสนุน กับผู้สนับสนุน "ออร์ทอดอกซ์"แห่งหลักข้อเชื่อไนซีน ในรัชสมัยของพระองค์ คอนสแตนติโนเปิลได้ถูกมอบสถานะที่เท่าเทียมกับโรม และมีการเริ่มสร้างฮายาโซฟีอาขึ้น จักรพรรดิคอนสแตนเชียสทรงแต่งตั้งและขึ้นเป็นซีซาร์ และทรงสวรรคตระหว่างเดินทางไปเผชิญหน้ากับจูเลียน ผู้ซึ่งลุกขึ้นต่อต้านพระองค์ | |
Constans I (ภาษากรีก: Κώνστας Α', ภาษาละติน: Flavius Iulius Constans ) | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 – มกราคม ค.ศ. 350 (12 ปี 223 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 323 เป็นพระโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเป็นซีซาร์นับตั้งแต่ค.ศ. 333 พระองค์ได้รับมรดกเป็นดินแดนตอนกลางของจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวทางฝั่งตะวันตกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 2 ในปีค.ศ. 348 ด้วยการสนับสนุนอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย พระองค์ทรงต่อต้านลัทธิเอเรียส จักรพรรดิคอนสแตนทรงถูกลอบปลงพระชนม์ระหว่างการพยายามก่อรัฐประหารของ | |
Julian "the Apostate" (ภาษากรีก: Ἰουλιανὸς "ὁ Παραβάτης", ภาษาละติน: Flavius Claudius Iulianus ) | 5 ตุลาคม ค.ศ. 361 – 28 มิถุนายน ค.ศ. 363 (1 ปี 266 วัน) | ประสูติในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 332 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส และเป็นพระญาติกับจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ทรงประกาศโดยกองทัพของพระองค์ในกอลในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนเชียส พระองค์สวรรคตในศึกสงครามกับจักรวรรดิแซสซานิด |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 363 - 364)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Jovian (ภาษากรีก: Ἰοβιανός, ภาษาละติน: Flavius Iovianus) | 28 มิถุนายน ค.ศ. 363 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364 (0 ปี 234 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 332 ทรงเป็นหัวหน้าราชองครักษ์ภายใต้จักรพรรดิจูเลียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิจูเลียนสวรรคต พระองค์สวรรคตระหว่างเสด็จกลับกรุงคอนสแตนติโนเปิล |
ราชวงศ์วาเล็นติเนียน (ค.ศ. 364 - 379)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Valentinian I (ภาษากรีก: Οὐαλεντιανός, ภาษาละติน: Flavius Valentinianus) | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 375 (11 ปี 264 วัน) | ประสูติในค.ศ. 321 ทรงเป็นนายทหารภายใต้จักรพรรดิจูเลียนและจักรพรรดิโจเวียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิโจเวียนสวรรคต ต่อมาพระองค์ทรงแต่งตั้งพระอนุชาคือ วาเล็นส เป็นจักรพรรดิทางตะวันออก พระองค์สวรรคตด้วยภาวะเลือดออกในสมองใหญ่ | |
Valens (ภาษากรีก: Οὐάλης, ภาษาละติน: Flavius Iulius Valens) | 28 มีนาคม ค.ศ. 364 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 378 (14 ปี 134 วัน) | ประสูติในค.ศ. 328 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิตะวันออกโดยจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 พระเชษฐา พระองค์สวรรคตในยุทธการที่เอเดรียโนเปิล | |
Gratian (ภาษากรีก: Γρατιανός, ภาษาละติน: Flavius Gratianus) | 9 สิงหาคม ค.ศ. 378 – 19 มกราคม ค.ศ. 379 (0 ปี 163 วัน) | ประสูติวันที่ 18 เมษายน/23 พฤษภาคม ค.ศ. 359 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิตะวันตก พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ตะวันออกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิวาเล็นส และพระองค์ทรงแต่งตั้งธีโอโดเซียสที่ 1 ขึ้นเป็นจักรพรรดิตะวันออก พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 383 ระหว่างการก่อกบฏของ |
ราชวงศ์ธีโอโดเซียน (ค.ศ. 379 - 457)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 "มหาราช" Theodosius I "the Great" (ภาษากรีก: Θεοδόσιος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Theodosius) | 19 มกราคม ค.ศ. 379 – 17 มกราคม ค.ศ. 395 (15 ปี 363 วัน) | ประสูติในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 347 เป็นขุนนางและผู้นำทหาร เป็นพระเชษฐภาดาในจักรพรรดิกราเชียน ผู้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นจักรพรรดิตะวันออก ตั้งแต่ค.ศ. 392 จนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว | |
จักรพรรดิอาร์เคดิอัส Arcadius (ภาษากรีก: Ἀρκάδιος, ภาษาละติน: Flavius Arcadius) | 17 มกราคม ค.ศ. 395 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 (13 ปี 105 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 377/378 ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ในปีค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งอย่างถาวรระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออก | |
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 Theodosius II (ภาษากรีก:Θεοδόσιος Β', ภาษาละติน: Flavius Theodosius) | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 (42 ปี 88 วัน) | ประสูติในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 401 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอาร์เคดิอัส ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ขณะทรงพระเยาว์องค์รักษ์เพรทอเรียน ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างค.ศ. 408 - 414 พระองค์สวรรคตจากอุบัติเหตุขณะทรงม้า | |
Pulcheria (ภาษากรีก:Πουλχερία, ภาษาละติน: Aelia Pulcheria) | 28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 – กรกฎาคม ค.ศ. 453 (3 ปี 337 วัน) | ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 398 หรือ 399 ทรงเป็นในพระธิดาของจักรพรรดิอาร์เคดิอัสและเป็น ขนิษฐาของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระนางทรงครองราชย์พร้อมพระสวามีคือ จักรพรรดิมาร์เชียน | |
Marcian (ภาษากรีก:Μαρκιανός, ภาษาละติน: Flavius Marcianus Augustus) | ค.ศ. 450 – มกราคม ค.ศ. 457 (4 ปี 31 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 396 เป็นทหารและนักการเมือง ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีปูลเชเรีย พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระองค์สวรรคตด้วยโรคเนื้อตายเน่า |
ราชวงศ์เลโอนิด (ค.ศ. 457 - 518)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Leo I "the Thracian" (ภาษากรีก:Λέων Α' ὁ Θρᾷξ, ὁ Μακέλλης, ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Valerius Leo) | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 457 – 18 มกราคม ค.ศ. 474 (16 ปี 345 วัน) | ประสูติที่ราวค.ศ. 400 และทรงมีต้นกำเนิดเป็นชาว เลโอทรงมาจากทหารระดับล่างและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาทหารชาวกอท ผู้ซึ่งเลือกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิมาร์เชียน พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ได้รับการสวมมงกุฎจากอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล รัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำถึงความสงบที่ชายแดนดานูบและสันติภาพกับเปอร์เซีย ซึ่งทำให้พระองค์สามารถเข้าแทรกแซงกิจการในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยการสนับสนุนผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ และทรงดำเนินการขยายดินแดนในเพื่อฟื้นฟูคาร์เธจจากชาวแวนดัลในปีค.ศ. 468 ในช่วงแรกทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดของแอสปาร์ จักรพรรดิเลโอทรงเริ่มต้นส่งเสริมชาวเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับชาวกอทของแอสปาร์ ด้วยการจัดการอภิเษกสมรสระหว่าง พระธิดากับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ ทาราซิโกดิสซา (จักรพรรดิเซโน) ด้วยการสนับสนุนจากชาวอิซอเรียน ในปีค.ศ. 471 แอสปาร์ถูกลอบสังหารและอำนาจของชาวกอทเหนือกองทัพก็สูญสิ้นไปด้วย | |
Leo II "the Little" (ภาษากรีก:Λέων Β' ὁ Μικρός, ภาษาละติน: Flavius Leo) | 18 มกราคม ค.ศ. 474 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 (0 ปี 303 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 467 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเลโอที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงเอเรียดเนกับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ เซโน ทรงถูกเลี้ยงดูในฐานะ ซีซาร์ และดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 473 หลังจากทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิเลโอที่ 2 พระองค์ได้สถาปนาพระราชบิดา เซโน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมและดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จักรพรรดิทรงสวรรคตหลังจากนั้นเพียงสั้นๆ มีความเป็นไปได้ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษ | |
จักรพรรดิเซโน Zeno (ภาษากรีก:Ζήνων, ภาษาละติน: Flavius Zeno) | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 – 9 เมษายน ค.ศ. 491 (16 ปี 143 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 425 ที่ ทรงมีพระนามเดิมว่า ทาราซิโกดิสซา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำกองทัพอิซอเรียนของจักรพรรดิเลโอที่ 1 ทรงก้าวขึ้นมาเป็น อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอเรียดเน พระราชธิดาในจักรพรรดิและทรงรับพระนาม เซโน มาใช้ และมีบทบาทสำคัญในการกำจัดและกองทัพชาวกอทของเขา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระโอรสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 474 และทรงเป็นประมุขแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระโอรสสวรรคต แต่ทรงต้องหลบหนีไปยังดินแดนของพระองค์ในปีค.ศ. 475 เพราะการกบฏ ก่อนที่บาซิลิสคัสจะสามารถยึดครองเมืองหลวงได้ในปีค.ศ. 476 จักรพรรดิเซโนทรงสร้างสันติภาพกับชาวแวนดัล ทรงเผชิญกับการต่อต้านของนายพลและ และทรงสร้างความสงบสุขในบอลข่านโดยทรงชักจูงให้ชาวออสโตรกอทภายใต้พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชให้อพยพไปยังอิตาลี รัชสมัยของจักรพรรดิเซโนทรงพบกับจุดจบของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยท่าทางที่ทรงทำให้พระองค์ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบ และคำประกาศแห่งของพระองค์ส่งผลให้เกิดกับพระสันตะปาปา ในรัชสมัยนี้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย | |
จักรพรรดิบาซิลิสคัส Basiliscus (ภาษากรีก:Βασιλίσκος, ภาษาละติน: Flavius Basiliscus) | 9 มกราคม ค.ศ. 475 – สิงหาคม ค.ศ. 476 (1 ปี 204 วัน) | เป็นนายพลและเป็นพระเทวันในจักรพรรดิเลโอที่ 1 พระองค์ได้ยึดอำนาจจากจักรพรรดิเซโนแต่พระองค์ก็ถูกโค่นล้มบัลลังก์โดยจักรพรรดิเซโนเช่นกัน พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 476/477 | |
Anastasius I Dicorus (ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Α' ὁ Δίκορος, ภาษาละติน: Flavius Anastasius) | 11 เมษายน ค.ศ. 491 – 9 กรกฎาคม ค.ศ. 518 (27 ปี 89 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 430 ที่ไดร์ราเคียม พระองค์เป็นเจ้ากรมการวัง () เมื่อพระองค์ได้ถูกเลือกโดยให้เป็นสวามีและต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มักถูกเรียกว่า "ไดคอรอส" (Dikoros, ภาษาละติน: Dicorus) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็น จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงปฏิรูปภาษีและและมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพระประมุขที่มัธยัสถ์ ดังนั้นในช่วงปลายรัชกาลพระองค์ได้สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก การที่ทรงมีความเห็นพระทัยเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวได้นำไปสู่การต่อต้านในวงกว้าง ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือและ รัชสมัยของพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นของชนบัลการ์ซึ่งเข้าไปรุกรานบอลข่านครั้งแรก และเกิดกับเปอร์เซียในการก่อตั้งเมือง พระองค์สวรรคตโดยไม่มีทายาท |
ราชวงศ์จัสติเนียน (ค.ศ. 518 - 602)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Justin I (ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Α', ภาษาละติน: Flavius Iustinus) | กรกฎาคม ค.ศ. 518 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 527 (9 ปี 31 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 450 ที่ เบเดเรียนา () เขต พระองค์เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์ในจักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 พระองค์ได้รับเลือกจากกองทัพให้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังการสวรรคตของอนาสตาซิออสที่ 1 | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 "มหาราช" Justinian I "the Great" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Petrus Sabbatius Iustinianus) | 1 สิงหาคม ค.ศ. 527 – 13/14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565 (38 ปี 105 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 482/483 ที่ พระองค์เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจัสตินที่ 1 ซึ่งเป็นไปได้ว่าทรงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 527 ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 1 เสด็จสวรรคต ทรงพยายามรวบรวมดินแดนทางฝั่งตะวันตกของจักรวรรดิอีกครั้ง โดยทรงพิชิตอิตาลี แอฟริกาเหนือและส่วนหนึ่งของสเปนอีกครั้ง และยังทรงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานระบบกฎหมายของชาติยุโรปสมัยใหม่ในเวลาต่อมา | |
จักรพรรดิจัสตินที่ 2 Justin II (ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Β', ภาษาละติน: Flavius Iustinus Iunior) | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 578 (12 ปี 325 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 520 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 พระองค์ได้เข้ายึดราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพและสภาซีเนท พระองค์เริ่มมีพระจริตฟั่นเฟือน ดังนั้นในปีค.ศ. 573 - 574 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของ พระมเหสี และในปีค.ศ. 574 - 578 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของไทบีเรียส คอนสแตนติน ผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์ | |
จักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 คอนสแตนติน Tiberius II Constantine (ภาษากรีก:Τιβέριος Β', ภาษาละติน: Flavius Tiberius Constantinus) | 5 ตุลาคม ค.ศ. 578 – 14 สิงหาคม ค.ศ. 582 (3 ปี 313 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 535 เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์ เป็นพระสหายและพระโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิจัสตินที่ 2 ได้รับอิสริยยศ ซีซาร์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในปีค.ศ. 574 ช่วงที่จักรพรรดิจัสตินที่ 2 ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทรงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 2 สวรรคต | |
จักรพรรดิมอริซ Maurice (ภาษากรีก:Μαυρίκιος, ภาษาละติน: Flavius Mauricius Tiberius) | 14 สิงหาคม ค.ศ. 582 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 (20 ปี 100 วัน) | ประสูติราวปีค.ศ. 539 ที่ แคปพาโดเชีย เป็นข้าราชการและเป็นนายพลในเวลาต่อมา ได้อภิเษกสมรสกับ พระราชธิดาในจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 และทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 สวรรคต ทรงแต่งตั้ง พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 590 ทรงถูกโฟคาสปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 ที่ |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 602 - 610)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิโฟคาส Phocas (ภาษากรีก: Φωκᾶς, ภาษาละติน: Flavius Phocas) | 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 610 (7 ปี 315 วัน) | เป็นแม่ทัพในกองทัพบอลข่าน พระองค์ก่อการกบฏและล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดิมอริซ พระองค์ไม่ทรงไปที่นิยมและทรงปกครองอย่างกดขี่มากขึ้น สุดท้ายทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์โดยเฮราคลิอัส |
ราชวงศ์เฮราคลิเอียน (ค.ศ. 610 - 695)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิเฮราคลิอัส Heraclius (ภาษากรีก:Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Flavius Heraclius) | 5 ตุลาคม ค.ศ. 610 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641 (30 ปี 129 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 579 เป็นโอรสองค์โตในอุปราชแห่ง เริ่มก่อการกบฏต่อจักรพรรดิโฟคาสในปีค.ศ. 609 และปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 610 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิที่นำไปสู่ ซึ่งทรงได้รับชัยชนะแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง ทรงประกาศให้ภาษากรีกเป็นภาษาราชการแทนที่ภาษาลาติน | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 Constantine III พระนามทางการคือ เฮราคลิอัส โนวัส คอนสแตนตินัส(ภาษากรีก:Ἡράκλειος νέος Κωνσταντῖνος, ภาษาละติน: Heraclius Novus Constantinus) | 11 กุมภาพันธ์ – 24/26 พฤษภาคม ค.ศ. 641 (0 ปี 104 วัน) | ประสูติวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 612 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่ พระมเหสีองค์แรก ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 613 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระอนุชา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส พระราชบิดา จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 สวรรคตด้วยวัณโรค ซึ่งมีการเชื่อกันว่าทรงถูกลอบวางยาพิษโดย | |
จักรพรรดิเฮราโคลนาส Heraklonas พระนามทางการคือ คอนสแตนตินัส เฮราคลิอัส(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Constantinus Heraclius) | 11 กุมภาพันธ์ – กันยายน ค.ศ. 641 (0 ปี 201 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 626 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่ พระมเหสีองค์ที่สอง ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 638 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 พระเชษฐา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์ตินา พระราชมารดา แต่ทรงถูกบีบบังคับให้แต่งตั้งจักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 เป็นจักรพรรดิร่วมโดยกองทัพ และจักรพรรดิเฮราโคลนาสทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 641 | |
จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 Constans II พระนามทางการคือ คอนสแตนติน "เครา" (Constantine "the Bearded")(ภาษากรีก:Κῶνστας Β', ภาษาละติน: Constantus II) | กันยายน ค.ศ. 641 – 15 กันยายน ค.ศ. 668 (27 ปี 15 วัน) | ประสูติวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 630 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูร้อน ค.ศ. 641 หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ด้วยแรงผลักดันจากกองทัพ พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระปิตุลาถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ ทรงประกอบพิธีบัพติศมาเฮราคลิอัส และทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า คอนสแตนติน "คอนสแตนส" เป็นพระนามลำลอง ทรงย้ายไปประทับที่ซีรากูซา ที่ซึ่งทรงถูกลอบปลงพระชนม์ คาดว่าน่าจะเป็นคำสั่งของ | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 "เครา" Constantine IV "the Bearded" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Δ' ὁ Πωγωνάτος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus IV) | 15 กันยายน ค.ศ. 668 – กันยายน ค.ศ. 685 (17 ปี 350 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 652 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ นักประวัติศาสตร์เสนอว่าไม่ควรเรียกพระองค์ว่า "คอนสแตนติน เครา" เพื่อจะได้ไม่สับสนกับพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์สามารถต้านทางการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)ได้ และสวรรคตด้วยโรคบิด | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่" Justinian II "the Slit-nosed" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II) ครั้งที่ 1 | กันยายน ค.ศ. 685 – ค.ศ. 695 (10 ปี 91 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 669 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 681 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์จากการกบฏของกองทัพในปีค.ศ. 695 ทรงถูกตัดพระนาสิก (ดังสมญานามของพระองค์) และเนรเทศไปที่ และทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 705 |
สมัยอนาธิปไตย 20 ปี (ค.ศ. 695 - 717)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Leontios (ภาษากรีก:Λεόντιος, ภาษาละติน: LEONTIVS) | ค.ศ. 695 – ค.ศ. 698 (3 ปี 0 วัน) | เป็นนายพลจาก ทรงทำการปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ แต่หลังจากทรงครองราชย์ได้ไม่กี่ปีทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 698 และทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706 | |
Tiberius III Apsimar (ภาษากรีก:Τιβέριος Γ' Ἀψίμαρος, ภาษาละติน: Tiberios III) | ค.ศ. 698 – ค.ศ. 705 (7 ปี 0 วัน) | เป็นนายพลกองทัพเรือที่มีเชื้อสายเยอรมัน พระนามเดิมคือ อัพซิมาร์ ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิลีออนติออสหลังจากล้มเหลวในการขยายอาณาเขต ทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า ไทบีเรียส จนกระทั่งถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ในปีค.ศ. 705 ทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706 | |
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่" Justinian II "the Slit-nosed" (ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II) ครั้งที่ 2 | สิงหาคม ค.ศ. 705 – ธันวาคม ค.ศ. 711 (6 ปี 122 วัน) | เสด็จกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ด้วยการสนับสนุนจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ทรงแต่งตั้ง พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 706 พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์อีกครั้งและถูกปลงพระชนม์โดยการกบฏของกองทัพ | |
Philippikos Bardanes (ภาษากรีก:Φιλιππικὸς Βαρδάνης, ภาษาละติน: Philippicus Bardanes) | ธันวาคม ค.ศ. 711 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 713 (1 ปี 185 วัน) | เป็นนายพลเชื้อสายชาวอาร์มีเนีย ทรงปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ และต่อมาทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารชาว | |
Anastasios II (ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Β', ภาษาละติน: Anastasios II) | มิถุนายน ค.ศ. 713 – พฤศจิกายน ค.ศ. 715 (2 ปี 153 วัน) | นามเดิมคือ อาร์เตมิออส ทรงเป็นขุนนางและราชเลขานุการในจักรพรรดิฟิลิปปิคอส ต่อมาทรงถูกผลักดันขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยเหล่าทหารที่ทำการล้มล้างจักรพรรดิฟิลิปปิคอส จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารอีกกลุ่มหนึ่ง พระองค์พยายามกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 718 แต่ไม่ประสบความสำเร็จและทรงถูกปลงพระชนม์ | |
Theodosios III (ภาษากรีก:Θεοδόσιος Γ', ภาษาละติน: Theodosius III) | พฤษภาคม ค.ศ. 715 – 25 มีนาคม ค.ศ. 717 (1 ปี 329 วัน) | เป็นขุนนางในกรมคลัง พระองค์ได้รับการประกาศเป็นจักรพรรดิจากการกบฏของทหารชาวออบซิเกียน ได้เสด็จเข้าสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 715 ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของเลโอเดอะอิซอเรียน จากนั้นทรงผนวชเข้าสู่ศาสนา |
ราชวงศ์อิซอเรียน (ค.ศ. 717 - 802)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Leo III the Isaurian (ภาษากรีก:Λέων Γ΄ ὁ Ἴσαυρος, ภาษาละติน: Leo III the Isaurian) | 25 มีนาคม ค.ศ. 717 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 741 (24 ปี 85 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 685 ใน ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์หลังจากทรงก่อกบฏได้ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 717 ทรงได้ชัยชนะต่อชาวอาหรับในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)และทรงริเริ่มการทำลายรูปเคารพ | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 "พระนามมูลสัตว์" Constantine V "the Dung-named" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ε΄ ὁ Κοπρώνυμος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus V) | 18 มิถุนายน ค.ศ. 741 – 14 กันยายน ค.ศ. 775 (34 ปี 88 วัน) | ประสูติในปี ค.ศ. 718 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 3 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 720 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต หลังจากทรงได้รับชัยชนะในการช่วงชิงบัลลังก์ของอาร์ตาบาสดอส และพระองค์ยังป้องกันเมืองคอนสแตนติโนเปิลจากชาวบัลการ์ได้ พระองค์ยังคงดำเนินพระราโชบายตามพระราชบิดาคือ การทำลายรูปเคารพ และทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับชาวอาหรับและชาวบัลการ์หลายครั้ง พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "พระนามมูลสัตว์" จากนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้เป็นปรปักษ์กับพระองค์ | |
Artabasdos (ภาษากรีก:Ἀρτάβασδος, ภาษาละติน: Artabasdus) | 18 มิถุนายน ค.ศ. 741/742 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 743 (2 ปี 155 วัน) | นายพลและพระชามาดา (ลูกเขย) ในจักรพรรดิเลโอที่ 3 เป็นเคานท์แห่งชาวออบซิเกียน ทรงเป็นผู้นำกบฏเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่พ่ายแพ้และถูกปลดโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ซึ่งพระองค์ถูกทำให้พระเนตรบอดและโกนพระเกศา | |
Leo IV "the Khazar" (ภาษากรีก:Λέων Δ΄ ὁ Χάζαρος, ภาษาละติน: Leo IV) | 14 กันยายน ค.ศ. 775 – 8 กันยายน ค.ศ. 780 (4 ปี 360 วัน) | ประสูติวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 750 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 751 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาที่สวรรคต | |
Constantine VI (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΣΤ΄, ภาษาละติน: Flavius Constantinus VI) | 8 กันยายน ค.ศ. 780 – สิงหาคม ค.ศ. 797 (16 ปี 326 วัน) | ประสูติค.ศ. 771 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 776 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเลโอที่ 4 ในปีค.ศ. 780 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีน พระราชมารดาจนถึงปีค.ศ. 790 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 ทรงขัดแย้งกับพระราชมารดา พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ในปีค.ศ. 797 ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกคุมขัง พระอาการประชวรนี้ทำให้พระองค์สวรรคตในเวลาต่อมาอีกไม่นาน | |
จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ Irene of Athens (ภาษากรีก:Εἰρήνη ἡ Αθηναία, ภาษาละติน: Irene Atheniensis) | สิงหาคม ค.ศ. 797 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 802 (Error in : Fractions are not supported ปี 123 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 752 ในเอเธนส์ พระนางอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 พระราชโอรสในปีค.ศ. 780 - 790 พระนางทรงโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระโอรสในปีค.ศ. 797 และทรงครองราชบัลลังก์ในฐานะ "จักรพรรดินีนาถ" พระประมุขสตรีพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิล พระนางทรงเรียกพระนางเองในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระนางไม่ได้รับการยอมรับจากพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรม ทรงสวมมงกุฏให้กับชาร์เลอมาญในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 800 ถือเป็นการหยามเกียรติของจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรพรรดินีไอรีนทรงเลื่อมใสในรูปเคารพและทรงประกาศฟื้นฟูอีกครั้งหลังจากที่ในรัชสมัยก่อนหน้ามีการทำลายรูปเคารพอย่างต่อเนื่อง จักรพรรดินีไอรีนทรงพยายามประคับประคองราชบัลลังก์แต่ท้ายที่สุดทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยการรัฐประหารวังหลวงในปีค.ศ. 802 พระนางถูกเนรเทศและถูกบังคับให้ปั่นขนแกะเพื่อเป็นรายได้ยังชีพ พระนางไอรีนสวรรคตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 803 |
ราชวงศ์นิเคโฟเรียน (ค.ศ. 802 - 813)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Nikephoros I (ภาษากรีก:Νικηφόρος Α΄ ὁ Λογοθέτης, ภาษาละติน: Nicephorus I) | 31 ตุลาคม ค.ศ. 802 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 811 (Error in : Fractions are not supported ปี 237 วัน) | เดิมเป็น (เสนาบดีคลัง) ในรัชสมัยจักรพรรดินีไอรีน ทรงได้รับการสนับสนุนจากแพทริเซียนและขันทีในการรัฐประหารโค่นล้มจักรพรรดินีไอรีน จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านพวกบุลการ์ แต่พระองค์สวรรคตในสนามรบ ในรัชสมัยนี้ทรงทำการฟื้นฟูการบูชารูปเคารพสืบต่อเนื่องมาจากสมัยจักรพรรดินีไอรีน | |
Staurakios (ภาษากรีก:Σταυράκιος, ภาษาละติน: Stauracius) | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 811 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 811 (0 ปี 68 วัน) | ทรงเป้นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 803 ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต แต่พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บอย่างหนักในยุทธการที่พลิสกา ส่งผลให้พระวรกายซีกซ้ายของพระองค์เป็นอัมพาต พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ และพระองค์เสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในเวลาต่อมา | |
Michael I Rangabe (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Α΄ Ραγγαβὲ, ภาษาละติน: Michael I Rhangabus) | 2 ตุลาคม ค.ศ. 811 – 22 มิถุนายน ค.ศ. 813 (1 ปี 263 วัน) | ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 พระองค์ครองราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิสตอราคิออส หลังจากพระองค์สละราชบัลลังก์ จักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 สละราชบัลลังก์หลังจากเหตุการณ์การก่อกบฏของเลโอ เดอะอาร์มีเนียน และเสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 844 ขณะครองราชย์ทรงครองราชย์ร่วมกับพระโอรส คือ ในฐานะจักรพรรดิร่วม |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 813 - 820)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Leo V "the Armenian" (ภาษากรีก:Λέων Ε' ὁ Ἀρμένιος, ภาษาละติน: Leo V Armenius) | 11 กรกฎาคม ค.ศ. 813 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 820 (7 ปี 167 วัน) | ทรงเป็นนายพลชาวอาร์มีเนียโดยกำเนิด ประสูติราวค.ศ. 775 ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 และได้เป็นจักรพรรดิ ทรงแต่งตั้ง ซิมบาติออส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในชื่อใหม่ว่า ในวันคริสต์มาส ค.ศ. 813 ทรงให้มีการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ขึ้นอีกครั้ง จักรพรรดิเลโอที่ 5 ทรงถูกปลงพระชนม์ ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของมิคาเอล เดอะอะมอเรียน |
ราชวงศ์อะมอเรียน (ค.ศ. 820 - 867)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Michael II "the Amorian" (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Β΄ ὁ ἐξ Ἀμορίου, ภาษาละติน: Michael II) | 25 ธันวาคม ค.ศ. 820 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 829 (8 ปี 281 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 770 ที่ ได้เป็นทหารในกองทัพ ด้วยทรงเป็นพระสหายในจักรพรรดิเลโอที่ 5 ทำให้ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นเป็นนายทหารระดับสูง แต่ก็ถูกกล่าวหาว่าทรงสมคบคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิเลโอที่ 5 ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ จักรพรรดิมิคาเอลทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้จากการก่อกบฏของ รัชสมัยนี้ทรงสูญเสียครีตให้แก่อาหรับ และต้องทรงเผชิญกับ พระองค์ทรงสนับสนุนการทำลายรูปเคารพ | |
Theophilos (ภาษากรีก:Θεόφιλος, ภาษาละติน: Theophilus) | 2 ตุลาคม ค.ศ. 829 – 20 มกราคม ค.ศ. 842 (12 ปี 110 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 813 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 2 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 821 พระองค์ขึ้นสืบบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต จักรพรรดิธีโอฟิโลสทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ทรงทำลายรูปเคารพ พระองค์ทรงใช้เวลาในพระชนม์ชีพของพระองค์ในการทำสงครามกับมุสลิมอาหรับโดยตลอดนับตั้งแต่ค.ศ. 831 | |
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 "ขี้เมา" Michael III "the Drunkard" (ภาษากรีก:ΘεόφιλοςΜιχαὴλ Γ΄ ὁ Μέθυσος, ภาษาละติน: Michael III) | 20 มกราคม ค.ศ. 842 – 23 กันยายน ค.ศ. 867 (25 ปี 246 วัน) | ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 840 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิธีโอฟิโลส ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของ พระราชมารดาจนถึงค.ศ. 856 ในช่วงปีค.ศ. 862 - 866 ทรงถูกควบคุมภายใต้อำนาจและอิทธิพลของ พระมาตุลา (พระเชษฐาในสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอโดรา) รัชสมัยนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยบาซิล เดอะมาซิโดเนียน ทรงได้รับฉายานามว่า “มิคาเอลขี้เมา” (the Drunkard) โดยนักประวัติศาสตร์ของราชวงศ์มาซิโดเนียนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์และสนับสนุนจักรพรรดิบาซิล แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความเห็นใหม่ว่าทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำรงอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามกับอาหรับ หรือ การทำให้บัลแกเรียนับถือศาสนาคริสต์ |
ราชวงศ์มาซิโดเนียน (ค.ศ. 867 - 1056)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Basil I "the Macedonian" (ภาษากรีก:Βασίλειος Α΄ ὁ Μακεδὸν, ภาษาละติน: Basilius I Macedonius) | ค.ศ. 867 – 2 สิงหาคม ค.ศ. 886 (19 ปี 245 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 811 ที่เขต ได้มีชื่อเสียงจากการเป็นข้าราชการในราชสำนัก และได้กลายเป็นคนโปรดของจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 และช่วงชิงราชบัลลังก์มาเป็นของพระองค์ ทรงสถาปนาราชวงศ์มาซิโดเนียน พระองค์ประสบความสำเร็จในการรบสมรภูมิตะวันออกกับชาวอาหรับและพวก และทรงสามารถปกครองภาคใต้ของอิตาลีได้อีกครั้ง | |
Leo VI "the Wise" (ภาษากรีก:Λέων ΣΤ΄ ὁ Σοφὸς, ภาษาละติน: Leo VI Sapiens) | ค.ศ. 886 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 (26 ปี 163 วัน) | ประสูติวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 866 มีความสับสนว่าพระองค์ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 หรือจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 จักรพรรดิเลโอทรงเป็นที่รู้จักในฐานะที่ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน แต่กระนั้นพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง รัชสมัยของพระองค์ อยู่ในช่วงจุดรุ่งเรืองมุสลิมซึ่งได้ยกกองทัพเรือเข้าปล้น ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือ และทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรียในรัชสมัยของ | |
จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ Alexander (ภาษากรีก:Ἀλέξανδρος, ภาษาละติน: Alexander) | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 913 (1 ปี 26 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 870 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาในปีค.ศ. 879 ทรงดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมมาเป็นระยะเวลานาน โดยทรงถูกกีดกันจากอำนาจโดยจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐา เมื่อพระเชษฐาสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิไบแซนไทน์พระองค์แรกที่ใช้คำว่า “autocrator” (αὑτοκράτωρ πιστὸς εὑσεβὴς βασιλεὺς) บนเหรียญเพื่อเป็นการฉลองการเป็นอิสระจากการเป็นพระจักรพรรดิร่วมมาถึง 33 ปี พระองค์ก็ทรงปลดที่ปรึกษาและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งของจักรพรรดิเลโอจนแทบหมดสิ้นรวมทั้งผู้บังคับบัญชากองทัพเรือและพระสังฆราช ทรงบังคับ พระมเหสีในจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐาของพระองค์ ให้ไปประทับในสำนักชี พระองค์ทรงเริ่มต้นสงครามกับบัลแกเรียใน จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตหลังจากการเล่นโปโลจากความเหน็ดเหนื่อยหลังจากทรงอยู่ในราชบัลลังก์เพียง 1 ปี | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 "ผู้ประสูติในรัชกาล" Constantine VII "the Purple-born" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ζ΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VII Porphyrogenitus) | 6 มิถุนายน ค.ศ. 913 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 (46 ปี 156 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิเลโอที่ 6 ประสูติวันที่ 17/18 พฤษภาคม ค.ศ. 905 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 908 ช่วงต้นรัชกาลทรงถูกครอบงำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของ พระราชมารดา และอัครบิดร และในปีค.ศ. 919 ทรงอยู่ภายใต้จอมพลเรือ โรมานอส เลกาเปนอส ผู้ซึ่งให้จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 อภิเษกสมรสกับบุตรสาว คือ และโรมานอสได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโสในปีค.ศ. 920 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกกีดกันจากการเมืองในช่วงการปกครองของเลกาเปนอส แต่ด้วยความช่วยเหลือของพระมเหสี จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสามารถยึดพระราชอำนาจคืนมาได้โดยทรงปลดพระโอรสของจักรพรรดิโรมานอสออกจากราชบัลลังก์ในต้นปีค.ศ. 945 รัชสมัยนี้ทรงขัดแย้งและทำสงครามกับ เอมีร์แห่งอเลปโปทางตะวันออกและทรงล้มเหลวในการพิชิตเกาะครีต และนโยบายสนับสนุนชนชั้นสูงของพระองค์ได้เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการปกครองของเลกาเปนอสซึ่งต่อต้าน (ระบบที่ผูกขาดอำนาจโดยชนชั้นสูง) พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในการสนับสนุน โดยทรงส่งเสริมงานสารานุกรมและประวัติศาสตร์ ทรงมีชื่อเสียงในการทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสองเล่ม “” และ “” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปการปกครองประเทศและพิธีการ ตามลำดับ ซึ่งพระองค์ทรงรวบรวมเป็นประมวลงานนิพนธ์เพื่อมอบให้แก่พระโอรส คือ จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 959 ซึ่งมีข่าวลือว่า จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระโอรส หรือ พระสุณิสา ทำการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์ | |
Romanos I Lekapenos (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Α΄ Λεκαπηνὸς, ภาษาละติน: Romanus I Lacapenus) | 17 ธันวาคม ค.ศ. 920 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 944 (23 ปี 365 วัน) | เป็นจอมพลเรือที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย โรมานอสทรงก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้ปกครองของยุวจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ในการต่อต้านแผนการยึดราชบัลลังก์ของนายพล หลังจากที่ทรงเป็นพระสัสสุระในจักรพรรดิ พระองค์ก็มียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งทรงประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโส โดยครองราชบัลลังก์ร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 รัชสมัยของพระองค์นับว่าเป็นจุดจบในการทำสงครามกับบัลแกเรียและได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ในการพิชิตตะวันออกภายใต้กองทัพของ จักรพรรดิโรมานอสทรงแต่งตั้งพระโอรส คือ , และ ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเหนือจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 แต่จักรพรรดิโรมานอสก็ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยพระโอรสสองพระองค์หลังและถูกส่งไปคุมขังที่เกาะในฐานะบาทหลวงในอาราม พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 948 | |
Romanos II "the Purple-born" (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Β΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Romanus II) | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 – 15 มีนาคม ค.ศ. 963 (3 ปี 126 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวที่ยังทรงพระชนม์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 พระองค์ประสูติในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 938 และทรงสิบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ซึ่งมีข่าวลือว่าพระองค์ หรือ พระมเหสีทรงลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ด้วยยาพิษ จักรพรรดิโรมานอสทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต แม้ว่ารัฐบาลของพระองค์ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้อำนาจของขันที รัชสมัยของพระองค์ประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับศัตรูทางตะวันออกคือ และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเกาะครีตภายใต้กองทัพของ จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 963 ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษโดยจักรพรรดิดนีธีโอฟาโน พระมเหสี | |
Nikephoros II Phokas (ภาษากรีก:Νικηφόρος Β΄ Φωκᾶς, ภาษาละติน: Nicephorus II Phocas) | 16 สิงหาคม ค.ศ. 963 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 969 (6 ปี 117 วัน) | เป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรุ่นของพระองค์ ประสูติราวปีค.ศ. 912 ใน ที่ทรงอำนาจ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์ภายใต้การสนับสนุนจากกองทัพและประชาชนในฐานะผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงพระเยาว์ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ พระมเหสีในจักรพรรดิรัชกาลก่อน ตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรงทำสงครามกับตะวันออก โดยทรงสามารถยึดครองซีเรียส่วนใหญ่ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา คือ จอห์น ทซิมิสเคส โดยทรงวางแผนกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ซึ่งทรงได้กลายเป็นคู่รักกับจอห์น ทซิมิสเคส ผู้หนุ่มกว่าและมีเสน่ห์ | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทซิมิสเคส John I Tzimiskes (ภาษากรีก:Ἰωάννης Α΄ Κουρκούας ὁ Τσιμισκὴς, ภาษาละติน: Ioannes I Tzimisces) | 11 ธันวาคม ค.ศ. 969 – 10 มกราคม ค.ศ. 976 (6 ปี 30 วัน) | เป็นพระนัดดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 ทซิมิสเคสประสูติราวค.ศ. 925 เป็นแม่ทัพผู้มีความสามารถ ทรงพยายามห่างจากจักรพรรดิผู้เป็นพระมาตุลา และนำไปสู่การวางแผนสมรู้ร่สวมคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิร่วมกับเหล่านายพลที่ไม่พอใจจักรพรรดิ และทรงได้รับความช่วยเหลือในแผนการจากจักรพรรดินีธีโอฟาโน จอห์น ทซิมิสเคสจึงได้เป็นจักรพรรดิและเป็นผู้สำเร็จราชการในพระโอรสผู้ทรงพระเยาว์ของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทรงพยายามอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ผู้ทรงเป็นจักรพรรดินีมาสองรัชกาล แต่อัครบิดรทรงประกาศว่าจะไม่ประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระองค์ถ้าไม่ทรงลงโทษผู้ก่อการลอบปลงพระชนม์ และถอดถอน "จักรพรรดินีผู้ชั่วร้าย" ออกจากราชสำนัก จักรพรรดิจอห์นทรงพยายามประนีประนอมกับฝ่ายศาสนาจึงเนรเทศจักรพรรดินีธีโอฟาโนออกไป ในฐานะประมุข จักรพรรดิจอห์นทรงทำสงครามกับในบัลแกเรียในสงครามและเป็นจุดล่มสลายของจักรวรรดิบัลแกเรีย โดยไบแซนไทน์ได้รับชัยชนะ จากนั้นทรงยกทัพไปทำสงครามด้านตะวันออก ซึ่งพระองค์สวรรคตอย่างกะทันหัน | |
จักรพรรดิบาซิลที่ 2 "ผู้ปราบบุลการ์" Basil II "the Bulgar-Slayer" (ภาษากรีก:Βασίλειος Β΄ ὁ Βουλγαροκτόνος, ภาษาละติน: Basilius II Bulgaroctonus) | 10 มกราคม ค.ศ. 976 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 (49 ปี 339 วัน) | เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 958 ทศวรรษแรกของรัชกาล ทรงเป็นขัดแย้งกับ มหาเสนาบดีผู้ทรงอำนาจ ทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรีย และเกิดกบฏในเอเชียไมเนอร์ซึ่งนำโดยกลุ่มนายพล จักรพรรดิบาซิลทรวพยายามสร้างความมั่นคงของราชบัลลังก์โดยทรงเป็นพันธมิตรกับ ทรงให้ พระขนิษฐาเสกสมรสกับเจ้าชายวลาดิมีร์ และจากนั้นทรงปราบปรามกบฏ พระองค์ทรงเริ่ม บัลแกเรียถูกปราบอย่างราบคาบในปีค.ศ. 1018 หลังจากภาวะสงครามถึง 20 ปี โดยมีเพียงเหตุการณ์ที่ทำให้การบุกบัลแกเรียต้องหยุดชะงักเพียงชั่วขณะ คือ การทำสงครามประปรายในซีเรียต่อต้านราชวงศ์ฟาติมียะห์ จักรพรรดิบาซิลยังทรงขยายอาณาเขตไปถึงอาร์เมเนียส่วนใหญ่ รัชกาลของพระองค์ถูกพิจารณาว่าเป็นจุดรุ่งเรืองถึงขีดสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุคกลาง | |
Constantine VIII "the Purple-born" (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Η΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VIII) | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 (2 ปี 332 วัน) | เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 960 และทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนมีนาคม ค.ศ. 962 ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 พระองค์ทรงใช้เวลาเพื่อความเกษมสำราญ ในช่วงรัชกาลอันสั้นของพระองค์ ทรงเป็นประมุขผู้ไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมือง ทำให้ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของข้าราชสำนักโดยง่าย และทรงสงสัยว่าจะมีแผนการปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางฝ่ายทหาร ทำให้กลุ่มขุนนางจำนวนมากถูกจับทำให้ตาบอดและถูกเนรเทศ ในขณะที่ทรงใกล้สวรรคต พระองค์ทรงเลือกโรมานอส อาร์กีรอสให้เป็นพระสวามีในเจ้าหญิงโซอี พระราชธิดาซึ่งจะทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อไป | |
จักรพรรดินีโซอี "ผู้ประสูติในรัชกาล" Zoe "the Purple-born" (ภาษากรีก:Ζωὴ Πορφυρογέννητη, ภาษาละติน: Zoë) | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 – มิถุนายน ค.ศ. 1050 (21 ปี 200 วัน) | เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระนางทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระบิดาสวรรคต พระนางทรงเป็นเชื้อพระวงศ์มาซิโดเนียนที่ยังทรงพระชนม์อยู่กับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา ทรงมีพระสวามีทั้งหมดสามพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 (1028 - 1034), จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 (1034 - 1041) และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 (1042 - 1050) ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้เป็นจักรพรรดิเคียงข้างราชบัลลังก์ของพระนาง จักรพรรดินีโซอีทรงพยายามรักษาพระราชอำนาจของพระนาง ด้วยการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ซึ่งพระนางทรงพยายามจำกัดบทบาทของพระนางธีโอโดรา พระขนิษฐา อยู่เสมอจนกระทั่งทรงสวรรคต | |
Romanos III Argyros (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Γ΄ Ἀργυρὸς, ภาษาละติน: Romanus III Argyrus) | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 – 11 เมษายน ค.ศ. 1034 (5 ปี 147 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 968 เป็นข้าราชการอาวุโสซึ่งได้ถูกเลือกโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงใกล้สวรรคต ให้เสกสมรสกับเจ้าหญิงโซอี พระธิดาของพระองค์ จักรพรรดิโรมานอสได้ครองราชย์ร่วมกับจักรพรรดินีโซอีหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 สวรรคต เพียงไม่กี่วัน จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตในปีค.ศ. 1034 มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยแผนการของจักรพรรดินีโซอีและมิคาเอล พาฟลาโกเนียน คู่รักของพระนาง ด้วยการวางยาพิษ รัดพระศอ และจับพระองค์กดน้ำในห้องสรง | |
Michael IV "the Paphlagonian" (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Δ΄ ὁ Παφλαγὼν, ภาษาละติน: Michael IV Paphlagon) | 11 เมษายน ค.ศ. 1034 – 10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 (7 ปี 243 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1010 เดิมทรงมีพื้นเพมาจากชาวนาในพาฟลาโกเนีย ทรงกลายมาเป็นคู่รักของจักรพรรดินีโซอีในขณะที่จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 ยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ขึ้นครองราชย์หลังจากจักรพรรดิโรมานอสสวรรคตและเป็นพระสวามีในจักรพรรดินีโซอี จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงมีพระสิริโฉม เฉลียวฉลาดและพระทัยกว้าง ในทางกลับกันทรงไม่ได้รับการศึกษาและทรงทรมานจากโรคลมชัก เนื่องจากทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเชษฐา คือ ซึ่งเป็นหัวหน้าขันที ทำให้รัชกาลของพระองค์ประสบความสำเร็จพอสมควรในการปราบปรามกบฏภายใน แต่ความพยายามในการยึดซิซิลีประสบความล้มเหลว พระองค์สวรรคตหลังจากทรงประชวรมาเป็นเวลานาน | |
Michael V Kalaphates (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ε΄ ὁ Καλαφάτης, ภาษาละติน: Michael V Calaphates) | 10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 – 20 เมษายน ค.ศ. 1042 (0 ปี 131 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1015 ทรงเป็นพระนัดดาและเป็นพระโอรสเลี้ยงในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ในรัชกาลของพระองค์ทรงพยายามกีดกันอำนาจของจักรพรรดินีโซอี พระมารดาเลี้ยง ทรงมีพระราชโองการเนรเทศจักรพรรดินีโซอีออกจากราชบัลลังก์เพื่อจะได้ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว พระราชโองการของพระองค์ทำให้เกิดการจลาจล กลุ่มผู้ก่อการจลาจลได้ล้มพระราชวังเพื่อเรียกร้องให้ฟื้นฟูจักรพรรดินีโซอีกลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์ต้องทรงยอมให้จักรพรรดินีโซอีคืนสู่บัลลังก์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1042 โดยทรงครองราชย์ร่วมกับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในวันถัดมาโดยพระราชโองการของจักรพรรดินีธีโอโดรา พระองค์ทรงถูกตอนพระคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ทำให้พระเนตรบอดและถูกโกนพระเกศา พระองค์สวรรคตในฐานะพระในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1042 | |
Theodora (ภาษากรีก:Θεοδώρα, ภาษาละติน: Theodora) | 19 เมษายน ค.ศ. 1042 – หลัง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1056 (14 ปี 134 วัน) | ทรงเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดินีโซอี ประสูติในปีค.ศ. 984 ทรงเป็นจักรพรรดินีร่วมในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1056 หลังจากจักรพรรดินีโซอีทรงอภิเษกสมรสกับพระสวามีองค์ที่สาม คือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1042 จักรพรรดินีธีโอโดราทรงถูกพระเชษฐภคินีกีดกันจากพระราชอำนาจอีกครั้ง หลังจากจักรพรรดินีโซอีสวรรคตในปีค.ศ. 1050 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 สวรรคตในปีค.ศ. 1055 จักรพรรดินีธีโอโดราจึงทรงได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ และทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต พระนางทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์องค์ต่อไป หลังสวรรคตของจักรพรรดินีธีโอโดรา จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเข้าถึงจุดเสื่อมและเริ่มฟื้นฟูอีกครั้งในรัชสมัยจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส | |
Constantine IX Monomachos (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Θ΄ Μονομάχος, ภาษาละติน: Constantinus IX Monomachus) | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1042 – 7/8 หรือ 11 มกราคม ค.ศ. 1055 (12 ปี 214 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 1000 ในตระกูลขุนนาง พระชนม์ชีพของพระองค์ไม่เด่นชัด แต่ทรงถูกเนรเทศไปยังเลสบอสโดยจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงกลับมาเมื่อจักรพรรดินีโซอีทรงเลือกพระองค์เป็นพระสวามี จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ทรงสนับสนุนชนชั้นพ่อค้าและทรงสนับสนุนกลุ่มปัญญาชน ในขณะที่ทรงตีห่างจากขุนนางฝ่ายทหาร พระองค์ทรงเป็นประมุขที่โปรดเรื่องกามารมณ์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างฟุ่มเฟือยกับพระสนมของพระองค์ และทรงถวายทานแก่อารามจำนวนมาก หลักๆคือ และ ในรัชกาลของพระองค์ทรงถูกรุกรานโดยในบอลข่าน และการรุกรานจากราชวงศ์เซลจุคทางตะวันออก เกิดการกบฏของและ และเกิดครั้งใหญ่ระหว่างคริสตจักรโรมกับคริสตจักรคอนสแตนติโนเปิล |
ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 1056 - 1057)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Michael VI Bringas (ภาษากรีก:Μιχαὴλ ΣΤ΄ Βρίγγας, ภาษาละติน: Michael VI Stratioticus) | กันยายน ค.ศ. 1056 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1057 (0 ปี 365 วัน) | เป็นข้าราชการราชสำนักและเป็น ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทก่อนที่จักรพรรดินีธีโอโดราจะสวรรคต จักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 ทรงถูกถอดถอนออกจากราชบัลลงก์โดยการกบฏของกองทัพภายใต้การนำของไอแซ็ค โคมเนนอส พระองค์ทรงเสด็จไปประทับในอาราม ซึ่งทรงสวรรคตในปีค.ศ. 1059 |
ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1057 - 1059)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Isaac I Komnenos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Α΄ Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Isaacius I Comnenus) | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1057 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1059 (2 ปี 170 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 1005 ทรงเป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์ขึ้นสู่อำนาจด้วยการนำกองทัพจากตะวันออกและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์อย่างเป็นทางการหลังจากจักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 สละราชบัลลังก์ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1057 พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูท้องพระคลังของจักรวรรดิที่หมดลงและทรงพยายามสร้างรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเข้มแข็งและเป็นทางการ จักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 ทรงสละราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1059 และเสด็จสวรรคตราวค.ศ. 1061 |
ราชวงศ์ดูคาส (ค.ศ. 1059 - 1081)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Constantine X Doukas (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ι΄ Δούκας, ภาษาละติน: Constantinus X Ducas) | 24 พฤษจิกายน ค.ศ. 1059 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067 (7 ปี 179 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 1006 ทรงเป็นนายพลและเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับไอแซ็ค โคมเนนอส และสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 สละราชบัลลังก์ ทรงแต่งตั้งพระโอรสสามคนคือ , และ เป็นจักรพรรดิร่วม ทรงปฏิเสธที่จะสานต่อแนวทางการปฏิรูปของจักรพรรดิไอแซ็ค พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิที่ไม่เป็นที่นิยมในวงกว้างเนื่องจากทรงประกาศขึ้นภาษีเพื่อจะนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับกองทัพ | |
มิคาอิลที่ 7 ดูคาส Michael VII Doukas (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ζ΄ Δούκας, ภาษาละติน: Michael VII Ducas) | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1078 (10 ปี 306 วัน) | ประสูติ ค.ศ. 1050 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 1059 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ในช่วงวัยเยาว์ ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของ พระมารดา ในปีค.ศ. 1067 - 1068 และทรงผลักไสจักรพรรดิผู้ทรงพระเยาว์ให้ไปอยู่ในการควบคุมของพระสวามีองค์ที่สองของพระนาง คือ โรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีส ในปีค.ศ. 1068 - 1071 เมื่อทรงเจริญพระชันษาในปีค.ศ. 1071 - 1078 พระองค์ทรงสถาปนา พระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วม พร้อมกับพระอนุชาของพระองค์เอง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของ นิเคโฟรอส โบตาเนอาตีส และสวรรคตราวปีค.ศ. 1090 | |
Romanos IV Diogenes (ภาษากรีก:Ρωμανὸς Δ΄ Διογένης, ภาษาละติน: Romanus IV Diogenes) | 1 มกราคม ค.ศ. 1068 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 1071 (3 ปี 296 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1032 เป็นนายพลผู้ประสบความสำเร็จและเสกสมรสกับ และทรงกลายเป็นจักรพรรดิอาวุโส เป็นผู้ปกครองแก่พระโอรสของพระนางที่ประสูติกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยสมาชิกราชนิกูลดูคาสหลังจาก ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดในปีเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1072 ถูกเนรเทศ และสวรรคตในเวลาต่อมา | |
Nikephoros III Botaneiates (ภาษากรีก:Νικηφόρος Γ΄ Βοτανειάτης, ภาษาละติน: Nicephorus III Botaniates) | 31 มีนาคม ค.ศ. 1078 – 4 เมษายน ค.ศ. 1081 (3 ปี 4 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1001 เป็นแห่ง พระองค์ทรงก่อกบฏต่อต้านจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 และได้รับการต้อนรับในเมืองหลวง พระองค์ต้องเผชิญกับการกบฏหลายครั้ง แต่ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยตระกูล พระองค์ทรงเสด็จไปประทับที่อาราม ที่ซึ่งทรงสวรรคตในวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน (ค.ศ. 1081) |
ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1081 - 1185)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส Alexios I Komnenos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius I Comnenus) | 4 เมษายน ค.ศ. 1081 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 (37 ปี 133 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1056 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอส เป็นนายพลที่โดดเด่น พระองค์ทรงล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 รัชสมัยของพระองค์ต้องรบพุ่งกับนอร์มันและราชวงศ์เซลจุค และการมาถึงของสงครามครูเสดครั้งที่ 1และการจัดตั้งรัฐนักรบครูเสดอิสระ พระองค์ยังคงให้คอนสแตนติน ดูคาสดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมต่อไปจนถึงค.ศ. 1087 และทรงแต่งตั้งจอห์น พระโอรสองค์โตเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งความเสื่อมของจักรวรรดิและทรงเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร, ทางการเศรษฐกิจ และทางการได้ดินแดนคืนที่เรียกว่าสมัย “” (Komnenian restoration) | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส John II Komnenos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Β' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes II Comnenus) | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 – 8 เมษายน ค.ศ. 1143 (24 ปี 236 วัน) | ประสูติวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1087 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์ต้องประสบกับสงครามกับเติร์ก ทรงเป็นพระประมุขที่เป็นที่นิยมและทรงตระหนี่ พระองค์ยังทรงเป็นที่รู้จักในพระนามว่า "จอห์น คนดี" ทรงแต่งตั้งพระโอรสองค์โตคือ เป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1122 และพระโอรสได้สิ้นพระชนม์ก่อนหน้าพระองค์ | |
จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส Manuel I Komnenos (ภาษากรีก:Μανουὴλ Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Manuel I Comnenus) | ค.ศ. 1143 – 24 กันยายน ค.ศ. 1180 (37 ปี 299 วัน) | ประสูติวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระโอรสองค์ที่สี่และองค์สุดท้องในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิแทนที่พระเชษฐาคือ โดยพระราชบิดาก่อนที่จะสวรรคต ทรงเป็นพระประมุขที่เข้มแข็ง พระองค์ทรงก่อสงครามกับเติร์ก และอ่อนน้อมต่อราชอาณาจักรฮังการี ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือรัฐครูเสด และทรงพยายามรื้อฟื้นดินแดนคืนในอิตาลีแต่ไม่สำเร็จ ความฟุ่มเฟือยและการทำสงครามาอย่างต่อเนื่องได้ทำให้ทรัพยากรของจักรวรรดิลดน้อยลง | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอส Alexios II Komnenos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος B' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius II Comnenus) | 24 กันยายน ค.ศ. 1180 – ตุลาคม ค.ศ. 1183 (3 ปี 6 วัน) | ประสูติวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1162 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 ในช่วงปีค.ศ. 1180 - 1182 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของพระมารดาคือ พระนางมาเรียทรงถูกรัฐประหารโดยอันโดรนิคอส โคมเนนอส พระญาติในราชวงศ์ ซึ่งได้บีบบังคับให้จักรพรรดิอเล็กซิออสมีพระราชโองการประหารพระมารดา จากนั้นอันโดรนิคอสได้กลายเป็นจักรพรรดิร่วม ท้ายที่สุดได้โค่นล้มจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 เพื่อขึ้นครองบัลลังก์แทน จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 ทรงถูกปลงพระชนม์ | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส Andronikos I Komnenos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Andronicus I Comnenus) | ค.ศ. 1183 – 11 กันยายน ค.ศ. 1185 (2 ปี 285 วัน) | ประสูติราวค.ศ. 1118 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โดยเป็นโอรสในพระอนุชาของจักรพรรดิจอห์นที่ 2 คือ ทรงเป็นนายพล ทรงถูกจับกุมหลังจากที่ทรงวางแผนสมคบคิดต่อต้านจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระปิตุลา แต่หลบหนีไปได้และใช้เวลา 15 ปีในการลี้ภัยไปยังราชสำนักต่างๆของยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง พระองค์ทรงยึดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรียแห่งแอนติออกในปีค.ศ. 1182 และต่อมาทรงยึดราชบัลลังก์จากจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 พระนัดดา พระองค์ทรงเป็นพระประมุขที่ไม่ได้รับความนิยม พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์และทรงถูกรุมประชาทัณฑ์โดยการลุกฮือของประชาชนจนสวรรคต |
ราชวงศ์อันเจลอส (ค.ศ. 1185 - 1204)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส Isaac II Angelos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus) | ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1195 ครั้งที่ 1 (10 ปี 0 วัน) | ประสูติในเดือนกันยายน ค.ศ. 1156 ไอแซ็คก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ได้จากการที่เป็นผู้นำการลุกฮือต่อต้านจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 รัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยการกบฏและสงครามในบอลข่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านการฟื้นฟูบัลแกเรีย จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 ทรงถูกโค่นล้ม ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุมโดย จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 อันเจลอส Alexios III Angelos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Γ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius III Angelus) | ค.ศ. 1195 – 17/18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203 (8 ปี 230 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1153 จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ทรงเป็นพระเชษฐาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 รัชสมัยของพระองค์ประสบกับการปกครองที่ไม่มั่นคงและอำนาจการปกครองของแคว้นต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยกองทัพครูเสดในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 และทรงหลบหนีจากคอนสแตนติโนเปิล ทรงลี้ภัยและเดินทางไปยังกรีซและเอเชียไมเนอร์ เพื่อแสวงหาการสนับสนุนให้พระองค์กลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์สวรรคตหลังจากทรงถูกจับกุมในจักรวรรดิไนเซียในปีค.ศ. 1211 | |
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส Isaac II Angelos (ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus) | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203 – 27/28 มกราคม ค.ศ. 1204 ครั้งที่ 2 (0 ปี 194 วัน) | ทรงได้รับการฟื้นฟูราชบัลลังก์อีกครั้งโดยนักรบครูเสดแม้ว่าจะทรงพระเนตรบอด อำนาจของพระองค์ทรงตกอยู่กับจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 พระโอรส เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 และสวรรคตในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1204 คาดว่าอาจจะทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 อันเจลอส Alexios IV Angelos (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Δ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius IV Angelus) | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1203 – 27/28 มกราคม ค.ศ. 1204 (0 ปี 180 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1182 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 พระองค์ทรงเข้าร่วมในกองทัพครูเสดครั้งที่สี่เพื่อนำพระราชบิดากลับคืนสู่ราชบัลลังก์ และทรงได้ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดาหลังจากทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระปิตุลาแล้ว เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 พระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยการรัดพระศอในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ | |
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 ดูคาส "มอร์ทซูฟลอส" Alexios V Doukas "Mourtzouphlos" (ภาษากรีก:Ἀλέξιος Ε' Δούκας ὁ Μούρτζουφλος, ภาษาละติน: Alexius V Ducas) | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1204 – 13 เมษายน ค.ศ. 1204 (0 ปี 68 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1140 เป็นพระชามาดา (บุตรเขย) ในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นขุนนางที่โดดเด่น พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 และจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในการรัฐประหาร พระองค์พยายามขับไล่กองทัพครูเสด แต่กองทัพครูเสดได้เข้า ทำให้มอร์ทซูฟลอสต้องทรงหลบหนี พระองค์เสด็จไปพบกับอดีตจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ที่ทรงลี้ภัยอยู่ แต่อดีตจักรพรรดิทรงให้กองทัพซุ่มโจมตีและมีพระบัญชาทำให้พระเนตรของจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 บอด เพื่อให้พระองค์ไม่สามารถอ้างสิทธิในบัลลังก์ได้ พระองค์ทรงถูกทั้งทหารของพระองค์และศัตรูทอดทิ้ง และทรงถูกจับกุมโดยกองทัพครูเสด พะรองค์ทรงถูกตัดสินประหารชีวิตในโทษฐานกบฏต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1205 |
ราชวงศ์ลาสคาริส (จักรวรรดิไนเซีย ค.ศ. 1204 - 1261)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
Theodore I Laskaris (ภาษากรีก:Θεόδωρος Α΄ Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus I Lascares) | ค.ศ. 1205 – ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222 (17 ปี 365 วัน) | ประสูติในราวค.ศ. 1174 พระองค์ทรงมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการที่ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์ได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิโดยประชาชนของคอนสแตนติโนเปิลในวันที่เมืองพ่ายแพ้ต่อกองทัพครูเสด พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังไนเซีย ที่ซึ่งธีโอดอร์ทรงจัดตั้งกลุ่มชาวกรีกเพื่อต่อต้านชาวลาติน พระองค์ทรงประกาศพระองค์เองเป็นจักรพรรดิหลังการสิ้นพระชนม์ของคอนสแตนตินในปีค.ศ. 1205 จักรพรรดิธีโอดอร์ทรงสวมมงกุฎในปีค.ศ. 1208 พระองค์ทรงพยายามขัดขวางการเดินทัพของลาตินในเอเชียและทรงขับไล่การโจมตีของเซลยุค ทรงสถาปนาจักรวรรดิไนเซียซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของชาวกรีกที่เข้มแข็ง | |
John III Doukas Vatatzes (ภาษากรีก:Ἰωάννης Γ' Δούκας Βατάτζης, ภาษาละติน: Ioannes III Ducas Batatzes) | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254 (31 ปี 323 วัน) | ประสูติในราวค.ศ. 1192 ทรงกลายเป็นพระชามาดาและรัชทายาทในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1212 ทรงเป็นประมุขและนักการทหารที่มีความสามารถ พระองค์ทรงขยายจักรวรรดิไปยังบิธีเนีย เทรซและมาซิโดเนีย เพื่อเป็นการชดใช้ของจักรวรรดิละติน บัลแกเรียและรัฐกรีกที่เป็นศัตรูอย่าง | |
Theodore II Laskaris (ภาษากรีก:Θεόδωρος Β' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus II Lascares) | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1258 (3 ปี 288 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1221/1222 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มตระกูลขุนนางใหญ่ๆ และพระองค์ทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับบัลแกเรียและทรงขยายอาณาเขตเข้าไปในแอลเบเนีย | |
John IV Laskaris (ภาษากรีก:Ἰωάννης Δ' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Ioannes IV Ducas Lascares) | 18 สิงหาคม ค.ศ. 1258 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1261 (3 ปี 109 วัน) | ประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1250 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ ทำให้พระองค์ทรงตกอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหาร ต่อมาทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของมิคาเอล พาลาโอโลกอส ผู้ซึ่งในเวลาไม่กี่เดือนได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโส หลังจากกองทัพไนเซียสามารถฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลคืนมาได้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1261 พาลาโอโลกอสสามารถกีดกันจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ออกจากอำนาจอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุม จักรพรรดิจอห์นที่ 4 สวรรคตในปีค.ศ. 1305 |
ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ฟื้นฟูคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1261 - 1453)
พระนาม | รัชกาล ระยะเวลาครองราชย์ | พระประวัติ | |
---|---|---|---|
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส Michael VIII Palaiologos (ภาษากรีก:Μιχαὴλ Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Michael VIII Palaeologus) | 1 มกราคม ค.ศ. 1259 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1282 (23 ปี 344 วัน) | ประสูติในปีค.ศ. 1223 เป็นพระปนัดดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 โดยการสมรส ทรงเป็นจักรพรรดิอาวุโสในรัชสมัยของจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ในปีค.ศ. 1259 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากคืนจากจักรวรรดิละติน และเปลี่ยนจากจักรวรรดิไนเซียเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ยุคฟื้นฟู | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอส Andronikos II Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus II Palaeologus) | 11 ธันวาคม ค.ศ. 1282 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328 (45 ปี 165 วัน) | ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1259 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงสวามมงกุฎในปีค.ศ. 1272 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงโปรดบาทหลวงและปัญญาชน ทรงละเลยด้านการทหาร และรัชกาลของพระองค์ต้องประสบกับการล่มสลายของอิทธิพลจักรวรรดิไบแซนไทน์ในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ทรงแต่งตั้งจักรพรรดิมิคาเอลที่ 9 พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม ในช่วงที่ยืดเยื้อ พระองค์ทรงถูกบังคับให้รับรองพระนัดดาคือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม และจากนั้นจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 ก็ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในทันที อดีตจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 สวรรคตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1332 | |
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอส Andronikos III Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Γ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus III Palaeologus) | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1341 (13 ปี 22 วัน) | ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1297 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิร่วมมิคาเอลที่ 9 และทรงได้รับการแต่งต้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1316 ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิที่ตีเสมอกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1321 พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พระอัยกาออกจากราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1328 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงได้รับการสนับสนุนจาก รัชสมัยของพระองค์ทรงปราชัยต่อ แต่ทรงประสบความสำเร็จในยุโรป พระองค์ทรงสามารถฟื้นฟูอิไพรัสและได้ | |
John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) | 15 มิถุนายน ค.ศ. 1341 – 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 ครั้งที่ 1 (35 ปี 58 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พระองค์ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมหรือได้รับการประกาศว่าเป็นองค์รัชทายาทในครั้งที่พระราชบิดาสวรรคต ซึ่งทำให้เกิดระหว่างพระองค์กับผู้สำเร็จราชการของพระองค์เองและเป็นเสนาธิการคนสนิทของพระราชบิดาคือ ซึ่งได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิร่วม ความขัดแย้งได้สิ้นสุดในปีค.ศ. 1347 โดยคันตาคูเซนอสได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโส แต่พระองค์ก็ถูกโค่นจากราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 ในช่วง ได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ให้เป็นจักรพรรดิร่วม และก็ถูกโค่นล้มจากราชบัลลังก์เช่นกันในปีค.ศ. 1357 จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงมีคำวิงวอนไปยังตะวันตกเพื่อให้ช่วยเหลือในการรบกับออตโตมัน แต่ในปีค.ศ. 1371 พระองค์ทรงถูกบังคับให้ยอมรับอำนาจของออตโตมัน พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1376 โดยพระโอรสของพระองค์เอง คือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 | |
John VI Kantakouzenos (ภาษากรีก:Ἰωάννης ΣΤ' Καντακουζηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes VI Cantacuzenus) | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1354 (7 ปี 299 วัน) | ทรงเป็นพระญาติฝ่ายมารดาของตระกูล พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1341 และทรงได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโสเป็นเวลาสิบปีหลังจากสิ้นสุดในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 พระองค์ทรงเข้าเป็นบาทหลวง สวรรคตในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1354 | |
Andronikos IV Palaiologos (ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Δ΄ Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus IV Palaeologus) | 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 – 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379 (2 ปี 323 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 6 พระองค์ประสูติวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1348 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1352 พระองค์ทรงปลดพระราชบิดาออกจากราชบัลลังก์ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 และทรงครองราชย์จนกระทั่งทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1379 พระองค์ทรงได้รับการรับรองอีกครั้งในฐานะจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1381 และทรงได้รับแคว้นเป็น พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1385 | |
John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379 – 14 เมษายน ค.ศ. 1390 ครั้งที่ 2 (10 ปี 287 วัน) | ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงประนีประนอมกับจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระโอรส ในปีค.ศ. 1381 ทรงแต่งตั้งพระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วมอีกครั้ง จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 1390 โดยพระราชนัดดา คือ จักรพรรดิจอห์นที่ 7 | |
John VII Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ζ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VII Palaeologus) | 14 เมษายน ค.ศ. 1390 – 17 กันยายน ค.ศ. 1390 (11 ปี 78 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระองค์ประสูติในปีค.ศ. 1370 และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในรัชสมัยของพระราชบิดาในปีค.ศ. 1377 - 1379 พระองค์ทรงช่วงชิงราชบัลลังก์มาจากพระอัยกา จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงครองราชย์เป็นเวลาห้าเดือนในปีค.ศ. 1390 แต่เนื่องด้วยออตโตมันเข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย พระองค์จึงต้องประนีประนอมกับจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระอัยกาและจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระปิตุลา พระองค์ทรงป้องกันกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากการรุกรานของออตโตมันในปีค.ศ. 1399 - 1402 และทรงได้รับเทสซาโลนีกาเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย ซึ่งพระองค์ทรงปกครองจนกระทั่งสวรรคตในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1408 | |
John V Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus) | 17 กันยายน ค.ศ. 1390 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 ครั้งที่ 3 (0 ปี 152 วัน) | ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิจนกระทั่งสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 | |
จักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พาลาโอโลกอส Manuel II Palaiologos (ภาษากรีก:Μανουὴλ Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Manuel II Palaeologus) | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425 (34 ปี 155 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระองค์ประสูติในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1350 ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1373 พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโสหลังจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 สวรรคต พระองค์ทรงเดินทางไปเยือนราชสำนักในยุโรปตะวันตกเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือในการต่อต้านพวกเติร์ก และทรงใช้เหตุการณ์ที่ออตโตมันพ่ายแพ้ในต่อกองทัพของราชวงศ์ตีมูร์ เพื่อยึดดินแดนคืนและสลัดความเป็นเบื้องล่างของออตโตมัน | |
จักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอส John VIII Palaiologos (ภาษากรีก:Ἰωάννης Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VIII Palaeologus) | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1448 (23 ปี 102 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1392 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมราวปีค.ศ. 1416 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงพยายามแสวงหาการช่วยเหลือในการต่อต้านออตโตมันที่ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง พระองค์จึงทรงยอมรับในในปีค.ศ. 1439 | |
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส Constantine XI Palaiologos (ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΙΑ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Constantinus XI Palaeologus) | 6 มกราคม ค.ศ. 1449 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 (4 ปี 143 วัน) | ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สี่ในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 ทรงเป็นตั้งแต่ค.ศ. 1428 พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามซึ่งสามารถผนวกและทรงทำให้ดัชชีเอเธนส์กลับมาอยู่ภายใต้อำนาจของไบแซนไทน์ แต่ไม่ทรงสามารถขับไล่กองทัพเติร์กที่เข้ามาโจมตีภายใต้การนำของ พระเชษฐาของพระองค์ได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิจอห์นที่ 8 ต่อมาทรงสวรรคต ทำให้สุลต่านองค์ใหม่แห่งออตโตมัน สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงต้องการขยายอำนาจมาที่คอนสแตนติโนเปิล จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับในการรวมศาสนจักรและทรงย้ำถึงการขอความช่วยเหลือจากตะวันตก แต่ก็ไร้ผล พระองค์ปฏิเสธที่จะยอมแพ้ต่อออตโตมัน ท้ายที่สุดพระองค์สวรรคตในสงครามจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 |
ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)
พระรูป | พระนาม | สถานะ | ประสูติ | เริ่มอ้างสิทธิ | สิ้นสุดการอ้างสิทธิ | สิ้นพระชนม์ |
---|---|---|---|---|---|---|
เดสปอทแห่งมอเรีย Demetrios Palaiologos (Δημήτριος Παλαιολόγος) | พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 | ราว ค.ศ. 1407 | ค.ศ. 1453 | ค.ศ. 1460 | ค.ศ. 1470 | |
เดสปอทแห่งมอเรีย Thomas Palaiologos (Θωμᾶς Παλαιολόγος) | พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 | ราว ค.ศ. 1409 | ค.ศ. 1453 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1470 | |
เดสปอทแห่งมอเรีย Andreas Palaiologos ((Ἀνδρέας Παλαιολόγος) | พระโอรสในเจ้าชายโทมัส | ราว ค.ศ. 1453 | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 | ค.ศ. 1502 ทรงขายสิทธิในราชบัลลังก์ไบแซนไทน์แก่กษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และกษัตริย์คาทอลิก สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 | ค.ศ. 1502 |
อ้างอิง
- Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
- Hooker, Richard (4 June 2007). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-10-12.
- p. 183, Karayannopoulous, Yanis, "State Organization, Social Structure, Economy, and Commerce," History of Hunamity - Scientific and Cultural Development from the Seventh to the Sixteenth Centuries, Vol. IV, M. A. Al-Bakhit, L. Bazin, S. M. Cissoko and M. S. Asimov, Editors, UNESCO, Paris (2000)
- Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
- Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine I the Great". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 498–500. ISBN .
- Gregory, Timothy E. (1991). "Constantius II". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. p. 524. ISBN .
- Gregory, Timothy E. (1991). "Constans". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. p. 496. ISBN .
- Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Leo I". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1206–1207. ISBN .
- Kazhdan, Alexander P. (1991). "Leo II". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1207–1208. ISBN .
- Gregory, Timothy E. (1991). "Zeno". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. p. 2223. ISBN .
- Gregory, Timothy E. (1991). "Anastasios I". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 86–87. ISBN .
- McKay/HillA History of World Societies. Bedford/St. Martin's, 9th edition. 2012
- Ostrogorsky, George., History of the Byzantine State, Rutgers University Press (1969) p261.
- Ostrogorsky, p261
- Kazhdan, Alexander; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VII Porphyrogennetos". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 502–503. ISBN .
- Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VIII". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 503–504. ISBN .
- Canduci, Alexander (2010), Triumph & Tragedy: The Rise and Fall of Rome's Immortal Emperors, Pier 9, ISBN p.266
- Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine IX Monomachos". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. p. 504. ISBN .
- Talbot, Alice-Mary (1991). "Constantine XI Palaiologos". ใน (บ.ก.). . New York; Oxford: Oxford University Press. p. 505. ISBN .
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
nikhux rayphranamckrphrrdiibaesnithn tngaetkarsthapnakrungkhxnsaetntionepilinpikh s 330 sungepncuderimtnodythwipkhxngckrwrrdiormntawnxxk hrux ckrwrrdiibaesnithn ipcnthungkaresiykrungkhxnsaetntionepilaekckrwrrdixxtotmninpi kh s 1453 miephiyngckrphrrdiethannthiidrbkaryxmrbwaepnphupkkhrxngthithuktxngtamkdhmayaelamiphrarachxanacinkarichxanacxthipity rwmthngkaraeyktaaehnngckrphrrdirwm symbasileis simbasielxis phusungimekhyepnsthanakhxngphupkkhrxng aelaimnbrwmthithakarxangsiththiintaaehnngckrphrrdickrphrrdi aehngormnrachathipityinxditByzantine Palaiologos Eagle svgthithukichinsmyckrphrrdikhxnsaetntinthi 11 ckrphrrdiibaesnithnxngkhsudthaypthmkstriy ckrphrrdikhxnsaetntinmharachxngkhsudthay ckrphrrdikhxnsaetntinthi 11 phalaoxolkxssthanphankphuaetngtng imrabu odyphvtiny erimrabxb 11 phvsphakhm kh s 330sinsudrabxb 29 phvsphakhm kh s 1453 1 123 pi 18 wn tampraephniobran saysnttiwngskhxngckrphrrdiibaesnithncaerimrwmkbckrphrrdiormn ckrphrrdikhxnsaetntinmharach ckrphrrdikhristsasnikchnphraxngkhaerk phuthrngsrangemuxngbiaesnethiymkhunmaihminthanarachthani namwa khxnsaetntionepil aelaepnphusungidrbkarykyxngcakckrphrrdiibaesnithninsmyhlnginthanarupaebbkhxngphupkkhrxng lksnaednsakhykhxngrthibaesnithnidekidkhuninrchsmyckrphrrdikhxnsaetntin khux rabbkarpkkhrxngidmisunyklangxyuthikhxnsaetntionepilaelathukkhrxbngathangwthnthrrmodykbsasnakhristthiepnsasnapracachati ckrphrrdiibaesnithnthukphraxngkhkhnamnamphraxngkhexngwa ckrphrrdiormn khawa ibaesnithn nnidthukprakasichodyprawtisastrniphnthtawntkinkhriststwrrsthi 16 taaehnng ckrphrrdiormn imidthukthathaymakxncnkrathngsmedcphrasntapapathrngprakxbphrarachphithirachaphieskswmmngkudihaekkstriychawaefrngk khux phraecacharelxmay inthana ckrphrrdiormnxnskdisiththi 25 thnwakhm kh s 800 epnkarkrathaephuxtxbotphrarachphithirachaphieskibaesnithn ckrphrrdiniixrin sungepnstri odyimidrbkaryxmrbcak taaehnngkhxngckrphrrdithnghmdkxnhnackrphrrdiehrakhlixsmitaaehnngxyangepnthangkarwa Augustus thungaemwacamitaaehnngxunthiichxyang Dominus chuxtaaehnngthnghlaykxnhnamacak Imperator sisar Caesar aelatammadwy xxksts txmainrchsmyckrphrrdiehrakhlixs chuxtaaehnngidklayepnphasakrikkhux Basileus phasakrik Basileys sungmikhwamhmayaetedimwa pramukh aetthukichephuxaethnthikhawa xxksts tammadwykarsrangstrukbckrwrrdiormnxnskdisiththiinyuorptawntk taaehnng Autokrator phasakrik Aὐtokratwr idthuknamaichmakkhun inhlaystwrrstxma ckrphrrdithukklawthungodychawkhristtawntkwaepn ckrphrrdiaehngkrik inchwngsudthaykhxngckrwrrdi ckrphrrdicaeriyktnexngwa phranamckrphrrdi inphrakhrist ckrphrrdiaelaxttathiptyaehngchawormn inchwngyukhklang rabbrachwngsthuxepneruxngpktiaethlkimidthukthaihepnthangkarinckrwrrdi aelakarsubrachsnttiwngsmikhwamepnkhnbthrrmeniympraephnimakkwahlkkarthikahndepnkdhmay rwmthngrachwngsphalaoxolkxs idxangsiththiinckrphrrdiibaesnithnkhnaliphy mickrphrrdithnghmd 99 phraxngkhinrayaewla 1 000 pikhxngckrwrrdiibaesnithnrachwngskhxnsaetntieniyn kh s 306 363 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdikhxnsaetntinthi 1 mharach Constantine I the Great phasakrik Kwnstantῖnos A ὁ Megas phasalatin Gaius Flavius Valerius Aurelius Constantinus 19 knyayn kh s 324 22 phvsphakhm kh s 337 12 pi 245 wn prasutithinaxisssrawpikh s 273 4 epnphraoxrsin ckrphrrdikhxnsaetntixs khlxrskbckrphrrdiniehelna thrngidrbkarprakasepnxxkstsaehngckrwrrditawntkhlngcakkarswrrkhtkhxngphrarachbidainwnthi 25 krkdakhm kh s 306 phraxngkhklayepnphrapramukhaehngckrwrrditawntkaetephiyngphraxngkhediywhlngcakinpikh s 312 inpikh s 324 phraxngkhthrngkacdxxkststawnxxk ckrphrrdilisieniysaelathrngrwmckrwrrdiepnhnungediywxikkhrng aelathrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywcnkrathngswrrkht ckrphrrdikhxnsaetntinthrngesrcsinkarptirupthangkarbriharaelakxngthphthierimtnmatngaetsmyckrphrrdiidoxkhliechiyn phuthrngerimtnnaipsu ckrphrrdikhxnsaetntinthrngsnphrathyxyangaekhngkhninsasnakhrist phraxngkhthrngmibthbathsakhyinkarphthnakarsrangkhwamepnkhristinolkormn odyphankareriykprachumsngkhaynasasnakhrngaerkthiemuxnginesiy hrux nikhaexiy phraxngkhthrngekharbbphtismakhnathrngiklcaswrrkhtbnaethnbrrthm phraxngkhyngthrngptirupkarsrangehriyythxngkha aelathrngrierimkarkxsrangkhnadihy dwykarsthapnaemuxngbiaesnethiymkhunmaxikkhrnginthana ormihm sungmkcaepnthiruckinnamwa khxnsaetntionepil phraxngkhidrbkarykyxngcakckrphrrdiibaesnithninsmyhlnginthanarupaebbkhxngphupkkhrxngckrphrrdikhxnsaetnechiysthi 2 Constantius II phasakrik Kwnstantios B phasalatin Flavius Iulius Constantius 22 phvsphakhm kh s 337 5 tulakhm kh s 361 24 pi 136 wn prasutiinwnthi 7 singhakhm kh s 317 epnphraoxrsxngkhthisxnginckrphrrdikhxnsaetntinthi 1 phraxngkhthrngidrbmrdkepndinaednckrwrrdiormnhlngphrarachbidaswrrkht aelaepnckrphrrdiaetephiyngphuediywinpikh s 353 hlngcakthrngokhnlmxanac phuchwngchingrachbllngkthangtawntk rchsmykhxngckrphrrdikhxnsaetnechiysmikickarthharbriewnchayaednaelakhwamimlngrxyrahwanglththiexeriysthickrphrrdithrngsnbsnun kbphusnbsnun xxrthxdxks aehnghlkkhxechuxinsin inrchsmykhxngphraxngkh khxnsaetntionepilidthukmxbsthanathiethaethiymkborm aelamikarerimsranghayaosfixakhun ckrphrrdikhxnsaetnechiysthrngaetngtngaelakhunepnsisar aelathrngswrrkhtrahwangedinthangipephchiyhnakbcueliyn phusunglukkhuntxtanphraxngkhConstans I phasakrik Kwnstas A phasalatin Flavius Iulius Constans 22 phvsphakhm kh s 337 mkrakhm kh s 350 12 pi 223 wn prasutirawkh s 323 epnphraoxrsxngkhthisaminckrphrrdikhxnsaetntinthi 1 thrngepnsisarnbtngaetkh s 333 phraxngkhidrbmrdkepndinaedntxnklangkhxngckrwrrdiormnhlngphrarachbidaswrrkht aelathrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywthangfngtawntkhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdikhxnsaetntinthi 2 inpikh s 348 dwykarsnbsnunxathaenechiysaehngxaelksanedriy phraxngkhthrngtxtanlththiexeriys ckrphrrdikhxnsaetnthrngthuklxbplngphrachnmrahwangkarphyayamkxrthpraharkhxngJulian the Apostate phasakrik Ἰoylianὸs ὁ Parabaths phasalatin Flavius Claudius Iulianus 5 tulakhm kh s 361 28 mithunayn kh s 363 1 pi 266 wn prasutiineduxnphvsphakhm kh s 332 epnphranddainckrphrrdikhxnsaetntixs khlxrs aelaepnphrayatikbckrphrrdikhxnsaetnechiysthi 2 thrngprakasodykxngthphkhxngphraxngkhinkxlinthanackrphrrdithithuktxngtamkdhmayhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdikhxnsaetnechiys phraxngkhswrrkhtinsuksngkhramkbckrwrrdiaesssanidimichrachwngs kh s 363 364 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiJovian phasakrik Ἰobianos phasalatin Flavius Iovianus 28 mithunayn kh s 363 17 kumphaphnth kh s 364 0 pi 234 wn prasutirawkh s 332 thrngepnhwhnarachxngkhrksphayitckrphrrdicueliyn thrngidrbkareluxkodykxngthphhlngcakckrphrrdicueliynswrrkht phraxngkhswrrkhtrahwangesdcklbkrungkhxnsaetntionepilrachwngswaelntieniyn kh s 364 379 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiValentinian I phasakrik Oὐalentianos phasalatin Flavius Valentinianus 26 kumphaphnth kh s 364 17 phvscikayn kh s 375 11 pi 264 wn prasutiinkh s 321 thrngepnnaythharphayitckrphrrdicueliynaelackrphrrdiocewiyn thrngidrbkareluxkodykxngthphhlngcakckrphrrdiocewiynswrrkht txmaphraxngkhthrngaetngtngphraxnuchakhux waelns epnckrphrrdithangtawnxxk phraxngkhswrrkhtdwyphawaeluxdxxkinsmxngihyValens phasakrik Oὐalhs phasalatin Flavius Iulius Valens 28 minakhm kh s 364 9 singhakhm kh s 378 14 pi 134 wn prasutiinkh s 328 thrngidrbkaraetngtngepnckrphrrditawnxxkodyckrphrrdiwaelntieniynthi 1 phraechstha phraxngkhswrrkhtinyuththkarthiexedriyonepilGratian phasakrik Gratianos phasalatin Flavius Gratianus 9 singhakhm kh s 378 19 mkrakhm kh s 379 0 pi 163 wn prasutiwnthi 18 emsayn 23 phvsphakhm kh s 359 epnphraoxrsinckrphrrdiwaelntieniynthi 1 thrngepnckrphrrditawntk phraxngkhkhunkhrxngbllngktawnxxkhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdiwaelns aelaphraxngkhthrngaetngtngthioxodesiysthi 1 khunepnckrphrrditawnxxk phraxngkhthuklxbplngphrachnminwnthi 25 singhakhm kh s 383 rahwangkarkxkbtkhxngrachwngsthioxodesiyn kh s 379 457 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdithioxodesiysthi 1 mharach Theodosius I the Great phasakrik 8eodosios A ὁ Megas phasalatin Flavius Theodosius 19 mkrakhm kh s 379 17 mkrakhm kh s 395 15 pi 363 wn prasutiinwnthi 11 mkrakhm kh s 347 epnkhunnangaelaphunathhar epnphraechsthphadainckrphrrdikraechiyn phuthrngaetngtngihphraxngkhepnckrphrrditawnxxk tngaetkh s 392 cnkrathngswrrkht phraxngkhthrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywckrphrrdixarekhdixs Arcadius phasakrik Ἀrkadios phasalatin Flavius Arcadius 17 mkrakhm kh s 395 1 phvsphakhm kh s 408 13 pi 105 wn prasutiinpikh s 377 378 thrngepnphraoxrsxngkhotinckrphrrdithioxodesiysthi 1 thrngkhrxngrachbllngkhlngkarswrrkhtkhxngphrarachbida inpikh s 395 ckrwrrdiormnthukaebngxyangthawrrahwangckrwrrdiormntawntkaelackrwrrdiormntawnxxkckrphrrdithioxodesiysthi 2 Theodosius II phasakrik 8eodosios B phasalatin Flavius Theodosius 1 phvsphakhm kh s 408 28 krkdakhm kh s 450 42 pi 88 wn prasutiinwnthi 10 emsayn kh s 401 thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdixarekhdixs thrngkhrxngrachbllngkhlngkarswrrkhtkhxngphrarachbida khnathrngphraeyawxngkhrksephrthxeriyn idepnphusaercrachkaraethnphraxngkhrahwangkh s 408 414 phraxngkhswrrkhtcakxubtiehtukhnathrngmaPulcheria phasakrik Poylxeria phasalatin Aelia Pulcheria 28 krkdakhm kh s 450 krkdakhm kh s 453 3 pi 337 wn prasutiinwnthi 19 mkrakhm kh s 398 hrux 399 thrngepninphrathidakhxngckrphrrdixarekhdixsaelaepn khnisthakhxngckrphrrdithioxodesiysthi 2 phranangthrngkhrxngrachyphrxmphraswamikhux ckrphrrdimarechiynMarcian phasakrik Markianos phasalatin Flavius Marcianus Augustus kh s 450 mkrakhm kh s 457 4 pi 31 wn prasutiinpikh s 396 epnthharaelankkaremuxng thrngkhunepnckrphrrdihlngcakxphiesksmrskbckrphrrdinipulecheriy phraechsthphkhiniinckrphrrdithioxodesiysthi 2 phraxngkhswrrkhtdwyorkhenuxtayenarachwngseloxnid kh s 457 518 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdieloxthi 1 edxathraechiyn Leo I the Thracian phasakrik Lewn A ὁ 8rᾷ3 ὁ Makellhs ὁ Megas phasalatin Flavius Valerius Leo 7 kumphaphnth kh s 457 18 mkrakhm kh s 474 16 pi 345 wn prasutithirawkh s 400 aelathrngmitnkaenidepnchaw eloxthrngmacakthharradblangaelathahnathiepnphuchwyphubychathharchawkxth phusungeluxkphraxngkhkhunepnckrphrrdihlngcakkarswrrkhtkhxngckrphrrdimarechiyn phraxngkhthrngepnckrphrrdiphraxngkhaerkthiidrbkarswmmngkudcakxkhrbidraehngkhxnsaetntionepil rchsmykhxngphraxngkhepnthicdcathungkhwamsngbthichayaedndanubaelasntiphaphkbepxresiy sungthaihphraxngkhsamarthekhaaethrkaesngkickarinckrwrrdiormntawntk dwykarsnbsnunphumisiththiinrachbllngk aelathrngdaeninkarkhyaydinaedninephuxfunfukharethccakchawaewndlinpikh s 468 inchwngaerkthrngepnpramukhhunechidkhxngaexspar ckrphrrdieloxthrngerimtnsngesrimchawephuxthwngdulxanackbchawkxthkhxngaexspar dwykarcdkarxphiesksmrsrahwang phrathidakbphunachawxisxeriynkhux tharasiokdissa ckrphrrdieson dwykarsnbsnuncakchawxisxeriyn inpikh s 471 aexsparthuklxbsngharaelaxanackhxngchawkxthehnuxkxngthphksuysinipdwyLeo II the Little phasakrik Lewn B ὁ Mikros phasalatin Flavius Leo 18 mkrakhm kh s 474 17 phvscikayn kh s 474 0 pi 303 wn prasutirawkh s 467 epnphrarachnddainckrphrrdieloxthi 1 phanthangphrarachthidakhuxecahyingexeriydenkbphunachawxisxeriynkhux eson thrngthukeliyngduinthana sisar aeladarngepnckrphrrdirwminvduibimrwng kh s 473 hlngcakthrngkhrxngrachyepnckrphrrdieloxthi 2 phraxngkhidsthapnaphrarachbida eson khunepnckrphrrdirwmaeladarngepnphusaercrachkaraethnphraxngkh ckrphrrdithrngswrrkhthlngcaknnephiyngsn mikhwamepnipidwathrngthuklxbwangyaphisckrphrrdieson Zeno phasakrik Zhnwn phasalatin Flavius Zeno 17 phvscikayn kh s 474 9 emsayn kh s 491 16 pi 143 wn prasutirawkh s 425 thi thrngmiphranamedimwa tharasiokdissa inthanathithrngepnphunakxngthphxisxeriynkhxngckrphrrdieloxthi 1 thrngkawkhunmaepn xphiesksmrskbecahyingexeriyden phrarachthidainckrphrrdiaelathrngrbphranam eson maich aelamibthbathsakhyinkarkacdaelakxngthphchawkxthkhxngekha phraxngkhidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwmkbphraoxrsinwnthi 9 kumphaphnth kh s 474 aelathrngepnpramukhaetephiyngphuediywhlngcakphraoxrsswrrkht aetthrngtxnghlbhniipyngdinaednkhxngphraxngkhinpikh s 475 ephraakarkbt kxnthibasiliskhscasamarthyudkhrxngemuxnghlwngidinpikh s 476 ckrphrrdiesonthrngsrangsntiphaphkbchawaewndl thrngephchiykbkartxtankhxngnayphlaela aelathrngsrangkhwamsngbsukhinbxlkhanodythrngchkcungihchawxxsotrkxthphayitphraecathioxdxrikhmharachihxphyphipyngxitali rchsmykhxngckrphrrdiesonthrngphbkbcudcbkhxngckrphrrdiaehngckrwrrdiormntawntk dwythathangthithrngthaihphraxngkhimthrngepnthiniymchmchxb aelakhaprakasaehngkhxngphraxngkhsngphlihekidkbphrasntapapa inrchsmynickrwrrdiormntawntklmslayckrphrrdibasiliskhs Basiliscus phasakrik Basiliskos phasalatin Flavius Basiliscus 9 mkrakhm kh s 475 singhakhm kh s 476 1 pi 204 wn epnnayphlaelaepnphraethwninckrphrrdieloxthi 1 phraxngkhidyudxanaccakckrphrrdiesonaetphraxngkhkthukokhnlmbllngkodyckrphrrdiesonechnkn phraxngkhswrrkhtinpikh s 476 477Anastasius I Dicorus phasakrik Ἀnastasios A ὁ Dikoros phasalatin Flavius Anastasius 11 emsayn kh s 491 9 krkdakhm kh s 518 27 pi 89 wn prasutirawpikh s 430 thiidrraekhiym phraxngkhepnecakrmkarwng emuxphraxngkhidthukeluxkodyihepnswamiaelatxcaknnepnckrphrrdi phraxngkhmkthukeriykwa idkhxrxs Dikoros phasalatin Dicorus enuxngcakphraxngkhthrngepn ckrphrrdixnastasixxsthrngptirupphasiaelaaelamikarphisucnaelwwaepnphrapramukhthimthysth dngnninchwngplayrchkalphraxngkhidsrangkhwammngkhngxyangmak karthithrngmikhwamehnphrathyechuxmnwaphraecamilksnaediywidnaipsukartxtaninwngkwang thiehnidchdthisudkhuxaela rchsmykhxngphraxngkhepncuderimtnkhxngchnblkarsungekhaiprukranbxlkhankhrngaerk aelaekidkbepxresiyinkarkxtngemuxng phraxngkhswrrkhtodyimmithayathrachwngscstieniyn kh s 518 602 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiJustin I phasakrik Ἰoystῖnos A phasalatin Flavius Iustinus krkdakhm kh s 518 1 singhakhm kh s 527 9 pi 31 wn prasutirawpikh s 450 thi ebederiyna ekht phraxngkhepnnaythharaelaepnphubychakarkxngthharrachxngkhrksinckrphrrdixnastasixxsthi 1 phraxngkhidrbeluxkcakkxngthphihkhunepnckrphrrdihlngkarswrrkhtkhxngxnastasixxsthi 1ckrphrrdicstieniynthi 1 mharach Justinian I the Great phasakrik Ἰoystinianὸs A ὁ Megas phasalatin Flavius Petrus Sabbatius Iustinianus 1 singhakhm kh s 527 13 14 phvscikayn kh s 565 38 pi 105 wn prasutirawpikh s 482 483 thi phraxngkhepnphranddainckrphrrdicstinthi 1 sungepnipidwathrngidrbkaryksthanakhunepnckrphrrdirwminwnthi 1 emsayn kh s 527 thrngkhunsubrachbllngkhlngcakckrphrrdicstinthi 1 esdcswrrkht thrngphyayamrwbrwmdinaednthangfngtawntkkhxngckrwrrdixikkhrng odythrngphichitxitali aexfrikaehnuxaelaswnhnungkhxngsepnxikkhrng aelayngthrngepnphumiswnsakhyinkarprachumkdhmayaephng Corpus Iuris Civilis sungcaepnkarwangrakthanrabbkdhmaykhxngchatiyuorpsmyihminewlatxmackrphrrdicstinthi 2 Justin II phasakrik Ἰoystῖnos B phasalatin Flavius Iustinus Iunior 14 phvscikayn kh s 565 5 tulakhm kh s 578 12 pi 325 wn prasutirawpikh s 520 epnphrarachnddainckrphrrdicstieniynthi 1 phraxngkhidekhayudrachbllngkhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdicstieniynthi 1 dwykarsnbsnuncakkxngthphaelasphasienth phraxngkherimmiphracritfnefuxn dngnninpikh s 573 574 thrngxyuphayitkarsaercrachkaraephndinkhxng phramehsi aelainpikh s 574 578 thrngxyuphayitkarsaercrachkaraephndinkhxngithbieriys khxnsaetntin phubychakarkxngthharrachxngkhrksckrphrrdiithbieriysthi 2 khxnsaetntin Tiberius II Constantine phasakrik Tiberios B phasalatin Flavius Tiberius Constantinus 5 tulakhm kh s 578 14 singhakhm kh s 582 3 pi 313 wn prasutirawpikh s 535 epnnaythharaelaepnphubychakarkxngthharrachxngkhrks epnphrashayaelaphraoxrsbuythrrminckrphrrdicstinthi 2 idrbxisriyys sisar aelaidrbkaraetngtngepnphusaercrachkaraethnphraxngkh inpikh s 574 chwngthickrphrrdicstinthi 2 thrngmiphrastifnefuxn thrngidkhunsubrachbllngkhlngcakckrphrrdicstinthi 2 swrrkhtckrphrrdimxris Maurice phasakrik Mayrikios phasalatin Flavius Mauricius Tiberius 14 singhakhm kh s 582 22 phvscikayn kh s 602 20 pi 100 wn prasutirawpikh s 539 thi aekhpphaodechiy epnkharachkaraelaepnnayphlinewlatxma idxphiesksmrskb phrarachthidainckrphrrdiithbieriysthi 2 aelathrngsubrachbllngkhlngcakckrphrrdiithbieriysthi 2 swrrkht thrngaetngtng phraoxrskhunepnckrphrrdirwminpikh s 590 thrngthukofkhaspldcakrachbllngkaelaplngphrachnminwnthi 27 phvscikayn kh s 602 thiimichrachwngs kh s 602 610 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdiofkhas Phocas phasakrik Fwkᾶs phasalatin Flavius Phocas 23 phvscikayn kh s 602 4 tulakhm kh s 610 7 pi 315 wn epnaemthphinkxngthphbxlkhan phraxngkhkxkarkbtaelalmrachbllngkkhxngckrphrrdimxris phraxngkhimthrngipthiniymaelathrngpkkhrxngxyangkdkhimakkhun sudthaythrngthukpldcakrachbllngkaelaplngphrachnmodyehrakhlixsrachwngsehrakhliexiyn kh s 610 695 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdiehrakhlixs Heraclius phasakrik Ἡrakleios phasalatin Flavius Heraclius 5 tulakhm kh s 610 11 kumphaphnth kh s 641 30 pi 129 wn prasutirawkh s 579 epnoxrsxngkhotinxuprachaehng erimkxkarkbttxckrphrrdiofkhasinpikh s 609 aelapldphraxngkhxxkcakbllngkineduxntulakhm kh s 610 phraxngkhthrngepnckrphrrdithinaipsu sungthrngidrbchychnaaetkimsamarthhyudyng thrngprakasihphasakrikepnphasarachkaraethnthiphasalatinckrphrrdikhxnsaetntinthi 3 Constantine III phranamthangkarkhux ehrakhlixs onws khxnsaetntins phasakrik Ἡrakleios neos Kwnstantῖnos phasalatin Heraclius Novus Constantinus 11 kumphaphnth 24 26 phvsphakhm kh s 641 0 pi 104 wn prasutiwnthi 3 phvsphakhm kh s 612 epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdiehrakhlixssungprasutiaet phramehsixngkhaerk thrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminpikh s 613 phraxngkhthrngsubrachbllngkphrxmckrphrrdiehraokhlnas phraxnucha hlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdiehrakhlixs phrarachbida ckrphrrdikhxnsaetntinthi 3 swrrkhtdwywnorkh sungmikarechuxknwathrngthuklxbwangyaphisodyckrphrrdiehraokhlnas Heraklonas phranamthangkarkhux khxnsaetntins ehrakhlixs phasakrik Kwnstantinos Ἡrakleios phasalatin Constantinus Heraclius 11 kumphaphnth knyayn kh s 641 0 pi 201 wn prasutiinpikh s 626 epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdiehrakhlixssungprasutiaet phramehsixngkhthisxng thrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminpikh s 638 phraxngkhthrngsubrachbllngkphrxmckrphrrdikhxnsaetntinthi 3 phraechstha hlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdiehrakhlixs thrngklayepnckrphrrdiaetephiyngphuediywhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrdikhxnsaetntinthi 3 thrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxngsmedcphraphnpihlwngmartina phrarachmarda aetthrngthukbibbngkhbihaetngtngckrphrrdikhxnsaetnsthi 2 epnckrphrrdirwmodykxngthph aelackrphrrdiehraokhlnasthrngthukpldcakrachbllngkodyineduxnknyayn kh s 641ckrphrrdikhxnsaetnsthi 2 Constans II phranamthangkarkhux khxnsaetntin ekhra Constantine the Bearded phasakrik Kῶnstas B phasalatin Constantus II knyayn kh s 641 15 knyayn kh s 668 27 pi 15 wn prasutiwnthi 7 phvscikayn kh s 630 epnphraoxrsinckrphrrdikhxnsaetntinthi 3 thrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminvdurxn kh s 641 hlngcakphrarachbidaswrrkht dwyaerngphlkdncakkxngthph phraxngkhthrngklayepnckrphrrdiaetephiyngphuediywhlngcakckrphrrdiehraokhlnas phrapitulathukbibbngkhbihslarachbllngk thrngprakxbphithibphtismaehrakhlixs aelathrngkhrxngrachydwyphranamwa khxnsaetntin khxnsaetns epnphranamlalxng thrngyayipprathbthisirakusa thisungthrngthuklxbplngphrachnm khadwanacaepnkhasngkhxngckrphrrdikhxnsaetntinthi 4 ekhra Constantine IV the Bearded phasakrik Kwnstantinos D ὁ Pwgwnatos phasalatin Flavius Constantinus IV 15 knyayn kh s 668 knyayn kh s 685 17 pi 350 wn prasutirawkh s 652 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakthickrphrrdikhxnsaetnsthi 2 phrarachbidathuklxbplngphrachnm nkprawtisastresnxwaimkhwreriykphraxngkhwa khxnsaetntin ekhra ephuxcaidimsbsnkbphrarachbidakhxngphraxngkh phraxngkhsamarthtanthangkarlxmkrungkhxnsaetntionepil kh s 674 678 id aelaswrrkhtdwyorkhbidckrphrrdicstieniynthi 2 cmukohw Justinian II the Slit nosed phasakrik Ἰoystinianὸs B ὁ Ῥinotmhtos phasalatin Flavius Iustinianus II khrngthi 1 knyayn kh s 685 kh s 695 10 pi 91 wn prasutirawkh s 669 phraxngkhthrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminpikh s 681 aelathrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywhlngcakckrphrrdikhxnsaetntinthi 4 phrarachbidaswrrkht phraxngkhthrngthukpldxxkcakrachbllngkcakkarkbtkhxngkxngthphinpikh s 695 thrngthuktdphranasik dngsmyanamkhxngphraxngkh aelaenrethsipthi aelathrngklbkhunsurachbllngkinpikh s 705smyxnathipity 20 pi kh s 695 717 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiLeontios phasakrik Leontios phasalatin LEONTIVS kh s 695 kh s 698 3 pi 0 wn epnnayphlcak thrngthakarpldckrphrrdicstieniynthi 2 xxkcakrachbllngk aethlngcakthrngkhrxngrachyidimkipithrngthukokhnrachbllngkinpikh s 698 aelathrngthukplngphrachnmineduxnkumphaphnth kh s 706Tiberius III Apsimar phasakrik Tiberios G Ἀpsimaros phasalatin Tiberios III kh s 698 kh s 705 7 pi 0 wn epnnayphlkxngthpheruxthimiechuxsayeyxrmn phranamedimkhux xphsimar thrngkxkbttxckrphrrdilixxntixxshlngcaklmehlwinkarkhyayxanaekht thrngkhrxngrachydwyphranamwa ithbieriys cnkrathngthukokhnrachbllngkodyckrphrrdicstieniynthi 2 inpikh s 705 thrngthukplngphrachnmineduxnkumphaphnth kh s 706ckrphrrdicstieniynthi 2 cmukohw Justinian II the Slit nosed phasakrik Ἰoystinianὸs B ὁ Ῥinotmhtos phasalatin Flavius Iustinianus II khrngthi 2 singhakhm kh s 705 thnwakhm kh s 711 6 pi 122 wn esdcklbkhunsurachbllngkdwykarsnbsnuncakckrwrrdiblaekeriythi 1 thrngaetngtng phraoxrskhunepnckrphrrdirwminpikh s 706 phraxngkhthrngthukokhnlmrachbllngkxikkhrngaelathukplngphrachnmodykarkbtkhxngkxngthphPhilippikos Bardanes phasakrik Filippikὸs Bardanhs phasalatin Philippicus Bardanes thnwakhm kh s 711 3 mithunayn kh s 713 1 pi 185 wn epnnayphlechuxsaychawxarmieniy thrngpldckrphrrdicstieniynthi 2 xxkcakrachbllngk aelatxmathrngthukokhnlmrachbllngkcakkarkbtkhxngthharchawAnastasios II phasakrik Ἀnastasios B phasalatin Anastasios II mithunayn kh s 713 phvscikayn kh s 715 2 pi 153 wn namedimkhux xaretmixxs thrngepnkhunnangaelarachelkhanukarinckrphrrdifilippikhxs txmathrngthukphlkdnkhunsurachbllngkodyehlathharthithakarlmlangckrphrrdifilippikhxs ckrphrrdixnastasixxsthrngthukokhnlmrachbllngkcakkarkbtkhxngthharxikklumhnung phraxngkhphyayamklbkhunsurachbllngkxikkhrnginpikh s 718 aetimprasbkhwamsaercaelathrngthukplngphrachnmTheodosios III phasakrik 8eodosios G phasalatin Theodosius III phvsphakhm kh s 715 25 minakhm kh s 717 1 pi 329 wn epnkhunnanginkrmkhlng phraxngkhidrbkarprakasepnckrphrrdicakkarkbtkhxngthharchawxxbsiekiyn idesdcekhasukrungkhxnsaetntionepilineduxnphvscikayn kh s 715 thrngslarachbllngkcakkarkbtkhxngeloxedxaxisxeriyn caknnthrngphnwchekhasusasnarachwngsxisxeriyn kh s 717 802 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiLeo III the Isaurian phasakrik Lewn G ὁ Ἴsayros phasalatin Leo III the Isaurian 25 minakhm kh s 717 18 mithunayn kh s 741 24 pi 85 wn prasutirawkh s 685 in thrngkhunkhrxngrachbllngkhlngcakthrngkxkbtidinvduibimphli kh s 717 thrngidchychnatxchawxahrbinkarlxmkrungkhxnsaetntionepil kh s 717 718 aelathrngrierimkarthalayrupekharphckrphrrdikhxnsaetntinthi 5 phranammulstw Constantine V the Dung named phasakrik Kwnstantinos E ὁ Koprwnymos phasalatin Flavius Constantinus V 18 mithunayn kh s 741 14 knyayn kh s 775 34 pi 88 wn prasutiinpi kh s 718 epnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdieloxthi 3 thrngepnckrphrrdirwmtngaetkh s 720 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht hlngcakthrngidrbchychnainkarchwngchingbllngkkhxngxartabasdxs aelaphraxngkhyngpxngknemuxngkhxnsaetntionepilcakchawblkarid phraxngkhyngkhngdaeninphraraochbaytamphrarachbidakhux karthalayrupekharph aelathrngidrbchychnainsngkhramkbchawxahrbaelachawblkarhlaykhrng phraxngkhthrngidrbphrasmyyawa phranammulstw caknkbnthukprawtisastrphuepnprpkskbphraxngkhArtabasdos phasakrik Ἀrtabasdos phasalatin Artabasdus 18 mithunayn kh s 741 742 2 phvscikayn kh s 743 2 pi 155 wn nayphlaelaphrachamada lukekhy inckrphrrdieloxthi 3 epnekhanthaehngchawxxbsiekiyn thrngepnphunakbtekhayudkrungkhxnsaetntionepil aetphayaephaelathukpldodyckrphrrdikhxnsaetntinthi 5 sungphraxngkhthukthaihphraentrbxdaelaoknphraeksaLeo IV the Khazar phasakrik Lewn D ὁ Xazaros phasalatin Leo IV 14 knyayn kh s 775 8 knyayn kh s 780 4 pi 360 wn prasutiwnthi 25 mkrakhm kh s 750 epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdikhxnsaetntinthi 5 thrngepnckrphrrdirwmtngaetkh s 751 phraxngkhthrngsubrachbllngktxcakphrarachbidathiswrrkhtConstantine VI phasakrik Kwnstantinos ST phasalatin Flavius Constantinus VI 8 knyayn kh s 780 singhakhm kh s 797 16 pi 326 wn prasutikh s 771 thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdieloxthi 4 thrngepnckrphrrdirwminpikh s 776 aelathrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywhlngcakkarswrrkhtkhxngckrphrrdieloxthi 4 inpikh s 780 thrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxngsmedcphraphnpihlwngixrin phrarachmardacnthungpikh s 790 ckrphrrdikhxnsaetntinthi 6 thrngkhdaeyngkbphrarachmarda phraxngkhthrngthukokhnrachbllngkodyphrarachesawniykhxngsmedcphraphnpihlwng inpikh s 797 thrngthukthaihphraentrbxdaelathukkhumkhng phraxakarprachwrnithaihphraxngkhswrrkhtinewlatxmaxikimnanckrphrrdiniixrinaehngexethns Irene of Athens phasakrik Eἰrhnh ἡ A8hnaia phasalatin Irene Atheniensis singhakhm kh s 797 31 tulakhm kh s 802 Error in Template Nts Fractions are not supported pi 123 wn prasutirawkh s 752 inexethns phranangxphiesksmrskbckrphrrdieloxthi 4 thrngepnphusaercrachkaraethnphraxngkhinckrphrrdikhxnsaetntinthi 6 phrarachoxrsinpikh s 780 790 phranangthrngokhnlmrachbllngkkhxngphraoxrsinpikh s 797 aelathrngkhrxngrachbllngkinthana ckrphrrdininath phrapramukhstriphraxngkhaerkaehngckrwrrdiibaesnithnaelakhxnsaetntionepil phranangthrngeriykphranangexnginthana ckrphrrdiaehngchawormn karkhunkhrxngrachbllngkkhxngphranangimidrbkaryxmrbcakphrasntapapaaehngkrungorm thrngswmmngkutihkbcharelxmayinthanackrphrrdiormnxnskdisiththiinpikh s 800 thuxepnkarhyamekiyrtikhxngckrwrrdiormntawnxxk ckrphrrdiniixrinthrngeluxmisinrupekharphaelathrngprakasfunfuxikkhrnghlngcakthiinrchsmykxnhnamikarthalayrupekharphxyangtxenuxng ckrphrrdiniixrinthrngphyayamprakhbprakhxngrachbllngkaetthaythisudthrngthukokhnrachbllngkodykarrthpraharwnghlwnginpikh s 802 phranangthukenrethsaelathukbngkhbihpnkhnaekaephuxepnrayidyngchiph phranangixrinswrrkhtinwnthi 9 singhakhm kh s 803rachwngsniekhoferiyn kh s 802 813 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiNikephoros I phasakrik Nikhforos A ὁ Logo8eths phasalatin Nicephorus I 31 tulakhm kh s 802 26 krkdakhm kh s 811 Error in Template Nts Fractions are not supported pi 237 wn edimepn esnabdikhlng inrchsmyckrphrrdiniixrin thrngidrbkarsnbsnuncakaephthriesiynaelakhnthiinkarrthpraharokhnlmckrphrrdiniixrin ckrphrrdiniekhofrxsthi 1 thrngprasbkhwamsaercinkarthasngkhramtxtanphwkbulkar aetphraxngkhswrrkhtinsnamrb inrchsmynithrngthakarfunfukarbucharupekharphsubtxenuxngmacaksmyckrphrrdiniixrinStaurakios phasakrik Stayrakios phasalatin Stauracius 26 krkdakhm kh s 811 2 tulakhm kh s 811 0 pi 68 wn thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdiniekhofrxsthi 1 thrngepnckrphrrdirwmineduxnthnwakhm kh s 803 thrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht aetphraxngkhthrngidrbbadecbxyanghnkinyuththkarthiphliska sngphlihphrawrkaysiksaykhxngphraxngkhepnxmphat phraxngkhthrngthukbngkhbihslarachbllngk aelaphraxngkhesdcipprathbinxaram thisungswrrkhtinewlatxmaMichael I Rangabe phasakrik Mixaὴl A Raggabὲ phasalatin Michael I Rhangabus 2 tulakhm kh s 811 22 mithunayn kh s 813 1 pi 263 wn thrngepnphrachamadainckrphrrdiniekhofrxsthi 1 phraxngkhkhrxngrachbllngktxcakckrphrrdistxrakhixxs hlngcakphraxngkhslarachbllngk ckrphrrdimikhaexlthi 1 slarachbllngkhlngcakehtukarnkarkxkbtkhxngelox edxaxarmieniyn aelaesdcipprathbinxaram thisungswrrkhtinwnthi 11 mkrakhm kh s 844 khnakhrxngrachythrngkhrxngrachyrwmkbphraoxrs khux inthanackrphrrdirwmimichrachwngs kh s 813 820 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiLeo V the Armenian phasakrik Lewn E ὁ Ἀrmenios phasalatin Leo V Armenius 11 krkdakhm kh s 813 25 thnwakhm kh s 820 7 pi 167 wn thrngepnnayphlchawxarmieniyodykaenid prasutirawkh s 775 thrngkxkbttxckrphrrdimikhaexlthi 1 aelaidepnckrphrrdi thrngaetngtng simbatixxs phraoxrskhunepnckrphrrdirwminchuxihmwa inwnkhristmas kh s 813 thrngihmikarthalayrupekharphsmyibaesnithnkhunxikkhrng ckrphrrdieloxthi 5 thrngthukplngphrachnm sungnacaepnfimuxkhxngmikhaexl edxaxamxeriynrachwngsxamxeriyn kh s 820 867 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiMichael II the Amorian phasakrik Mixaὴl B ὁ ἐ3 Ἀmorioy phasalatin Michael II 25 thnwakhm kh s 820 2 tulakhm kh s 829 8 pi 281 wn prasutiinpikh s 770 thi idepnthharinkxngthph dwythrngepnphrashayinckrphrrdieloxthi 5 thaihidrbkareluxnkhnkhunepnnaythharradbsung aetkthukklawhawathrngsmkhbkhidplngphrachnmckrphrrdieloxthi 5 sungthrngkhunkhrxngrachysubtx ckrphrrdimikhaexlthrngrxdphrachnmchiphmaidcakkarkxkbtkhxng rchsmynithrngsuyesiykhritihaekxahrb aelatxngthrngephchiykb phraxngkhthrngsnbsnunkarthalayrupekharphTheophilos phasakrik 8eofilos phasalatin Theophilus 2 tulakhm kh s 829 20 mkrakhm kh s 842 12 pi 110 wn prasutiinpikh s 813 epnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdimikhaexlthi 2 thrngepnckrphrrdirwmtngaetkh s 821 phraxngkhkhunsubbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht ckrphrrdithioxfiolsthrngepnckrphrrdiphraxngkhsudthaythithrngthalayrupekharph phraxngkhthrngichewlainphrachnmchiphkhxngphraxngkhinkarthasngkhramkbmuslimxahrbodytlxdnbtngaetkh s 831ckrphrrdimikhaexlthi 3 khiema Michael III the Drunkard phasakrik 8eofilosMixaὴl G ὁ Me8ysos phasalatin Michael III 20 mkrakhm kh s 842 23 knyayn kh s 867 25 pi 246 wn prasutiinwnthi 19 mkrakhm kh s 840 thrngepnphraoxrsinckrphrrdithioxfiols thrngkhunsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht thrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxng phrarachmardacnthungkh s 856 inchwngpikh s 862 866 thrngthukkhwbkhumphayitxanacaelaxiththiphlkhxng phramatula phraechsthainsmedcphraphnpihlwngthioxodra rchsmynithuxepncudsinsudkhxngkarthalayrupekharphsmyibaesnithn phraxngkhthrngthuklxbplngphrachnmodybasil edxamasiodeniyn thrngidrbchayanamwa mikhaexlkhiema the Drunkard odynkprawtisastrkhxngrachwngsmasiodeniynphuepnptipkstxphraxngkhaelasnbsnunckrphrrdibasil aetnkprawtisastrsmyihmmikhwamehnihmwathrngepnphumibthbathsakhyinkardarngxanackhxngckrwrrdiibaesnithninkhriststwrrsthi 9 imwacaepnkarthasngkhramkbxahrb hrux karthaihblaekeriynbthuxsasnakhristrachwngsmasiodeniyn kh s 867 1056 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiBasil I the Macedonian phasakrik Basileios A ὁ Makedὸn phasalatin Basilius I Macedonius kh s 867 2 singhakhm kh s 886 19 pi 245 wn prasutirawkh s 811 thiekht idmichuxesiyngcakkarepnkharachkarinrachsank aelaidklayepnkhnoprdkhxngckrphrrdimikhaexlthi 3 phraxngkhidlxbplngphrachnmckrphrrdimikhaexlthi 3 aelachwngchingrachbllngkmaepnkhxngphraxngkh thrngsthapnarachwngsmasiodeniyn phraxngkhprasbkhwamsaercinkarrbsmrphumitawnxxkkbchawxahrbaelaphwk aelathrngsamarthpkkhrxngphakhitkhxngxitaliidxikkhrngLeo VI the Wise phasakrik Lewn ST ὁ Sofὸs phasalatin Leo VI Sapiens kh s 886 11 phvsphakhm kh s 912 26 pi 163 wn prasutiwnthi 19 knyayn kh s 866 mikhwamsbsnwaphraxngkhthrngepnphraoxrsinckrphrrdibasilthi 1 hruxckrphrrdimikhaexlthi 3 ckrphrrdieloxthrngepnthiruckinthanathithrngepnphukhngaekeriyn aetkrannphraxngkhthrngphayaephinsngkhramhlaykhrng rchsmykhxngphraxngkh xyuinchwngcudrungeruxngmuslimsungidykkxngthpheruxekhapln sungthisakhythisudkhux aelathrngprasbkhwamlmehlwinkarthasngkhramkbblaekeriyinrchsmykhxngckrphrrdixelksanedxr Alexander phasakrik Ἀle3andros phasalatin Alexander 11 phvsphakhm kh s 912 6 mithunayn kh s 913 1 pi 26 wn prasutiinpikh s 870 thrngepnphraoxrsinckrphrrdibasilthi 1 aelathrngkhunepnckrphrrdirwmkbphrarachbidainpikh s 879 thrngdarngepnckrphrrdirwmmaepnrayaewlanan odythrngthukkidkncakxanacodyckrphrrdieloxthi 6 phraechstha emuxphraechsthaswrrkht phraxngkhthrngepnckrphrrdiibaesnithnphraxngkhaerkthiichkhawa autocrator aὑtokratwr pistὸs eὑsebὴs basileὺs bnehriyyephuxepnkarchlxngkarepnxisracakkarepnphrackrphrrdirwmmathung 33 pi phraxngkhkthrngpldthipruksaaelaphuthiidrbaetngtngkhxngckrphrrdieloxcnaethbhmdsinrwmthngphubngkhbbychakxngthpheruxaelaphrasngkhrach thrngbngkhb phramehsiinckrphrrdieloxthi 6 phraechsthakhxngphraxngkh ihipprathbinsankchi phraxngkhthrngerimtnsngkhramkbblaekeriyin ckrphrrdixelksanedxresdcswrrkhthlngcakkarelnopolcakkhwamehndehnuxyhlngcakthrngxyuinrachbllngkephiyng 1 pickrphrrdikhxnsaetntinthi 7 phuprasutiinrchkal Constantine VII the Purple born phasakrik Kwnstantinos Z ὁ Porfyrogennhtos phasalatin Constantinus VII Porphyrogenitus 6 mithunayn kh s 913 9 phvscikayn kh s 959 46 pi 156 wn thrngepnphraoxrsinckrphrrdieloxthi 6 prasutiwnthi 17 18 phvsphakhm kh s 905 aelathrngkhunepnckrphrrdirwminwnthi 15 phvsphakhm kh s 908 chwngtnrchkalthrngthukkhrxbngaodyphusaercrachkaraephndin khrngaerkthrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxng phrarachmarda aelaxkhrbidr aelainpikh s 919 thrngxyuphayitcxmphlerux ormanxs elkaepnxs phusungihckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 xphiesksmrskbbutrsaw khux aelaormanxsidkhrxngrachyepnckrphrrdixawuosinpikh s 920 ckrphrrdikhxnsaetntinthrngthukkidkncakkaremuxnginchwngkarpkkhrxngkhxngelkaepnxs aetdwykhwamchwyehluxkhxngphramehsi ckrphrrdikhxnsaetntinthrngsamarthyudphrarachxanackhunmaidodythrngpldphraoxrskhxngckrphrrdiormanxsxxkcakrachbllngkintnpikh s 945 rchsmynithrngkhdaeyngaelathasngkhramkb exmiraehngxelpopthangtawnxxkaelathrnglmehlwinkarphichitekaakhrit aelanoybaysnbsnunchnchnsungkhxngphraxngkhidepnipinthangtrngknkhamkbkarpkkhrxngkhxngelkaepnxssungtxtan rabbthiphukkhadxanacodychnchnsung phraxngkhthrngepnthiruckinkarsnbsnun odythrngsngesrimngansaranukrmaelaprawtisastr thrngmichuxesiynginkarthrngphrarachniphnthhnngsuxsxngelm aela sungepneruxngrawekiywkbsilpkarpkkhrxngpraethsaelaphithikar tamladb sungphraxngkhthrngrwbrwmepnpramwlnganniphnthephuxmxbihaekphraoxrs khux ckrphrrdiormanxsthi 2 phraxngkhswrrkhtinpikh s 959 sungmikhawluxwa ckrphrrdiormanxsthi 2 phraoxrs hrux phrasunisa thakarwangyaphislxbplngphrachnmRomanos I Lekapenos phasakrik Rwmanὸs A Lekaphnὸs phasalatin Romanus I Lacapenus 17 thnwakhm kh s 920 16 thnwakhm kh s 944 23 pi 365 wn epncxmphleruxthimichatikaenidtatxy ormanxsthrngkawkhunsuxanacinthanaphupkkhrxngkhxngyuwckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 inkartxtanaephnkaryudrachbllngkkhxngnayphl hlngcakthithrngepnphrasssurainckrphrrdi phraxngkhkmiysthabrrdaskdisungkhuntamladb cnkrathngthrngprakxbphithirachaphieskphraxngkhexngkhunepnckrphrrdixawuos odykhrxngrachbllngkrwmkbckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 rchsmykhxngphraxngkhnbwaepncudcbinkarthasngkhramkbblaekeriyaelaidrbchychnakhrngihyinkarphichittawnxxkphayitkxngthphkhxng ckrphrrdiormanxsthrngaetngtngphraoxrs khux aela khunepnckrphrrdirwmehnuxckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 aetckrphrrdiormanxskthrngthuklmrachbllngkodyphraoxrssxngphraxngkhhlngaelathuksngipkhumkhngthiekaainthanabathhlwnginxaram phraxngkhswrrkhtthinninwnthi 15 mithunayn kh s 948Romanos II the Purple born phasakrik Rwmanὸs B ὁ Porfyrogennhtos phasalatin Romanus II 9 phvscikayn kh s 959 15 minakhm kh s 963 3 pi 126 wn thrngepnphraoxrsephiyngxngkhediywthiyngthrngphrachnmkhxngckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 phraxngkhprasutiinwnthi 15 minakhm kh s 938 aelathrngsibrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht sungmikhawluxwaphraxngkh hrux phramehsithrnglxbplngphrachnmckrphrrdikhxnsaetntinthi 7 dwyyaphis ckrphrrdiormanxsthrngkhrxngrachycnkrathngswrrkht aemwarthbalkhxngphraxngkhswnihycaxyuphayitxanackhxngkhnthi rchsmykhxngphraxngkhprasbkhwamsaercinkarthasngkhramkbstruthangtawnxxkkhux aelaprasbkhwamsaercinkarfunfuekaakhritphayitkxngthphkhxng ckrphrrdiormanxsswrrkhtxyangkathnhninpikh s 963 khnathrngmiphrachnmayu 25 phrrsa mikhawluxwathrngthuklxbplngphrachnmdwyyaphisodyckrphrrdidnithioxfaon phramehsiNikephoros II Phokas phasakrik Nikhforos B Fwkᾶs phasalatin Nicephorus II Phocas 16 singhakhm kh s 963 11 thnwakhm kh s 969 6 pi 117 wn epnnayphlthiprasbkhwamsaercsungsudinrunkhxngphraxngkh prasutirawpikh s 912 in thithrngxanac hlngcakkarswrrkhtkhxngckrphrrdiormanxsthi 2 phraxngkhthrngkhunkhrxngbllngkphayitkarsnbsnuncakkxngthphaelaprachachninthanaphusaercrachkarkhxngckrphrrdibasilthi 2 aelackrphrrdikhxnsaetntinthi 8 sungthrngphraeyaw phraxngkhidxphiesksmrskb phramehsiinckrphrrdirchkalkxn tlxdrchkalkhxngphraxngkh thrngthasngkhramkbtawnxxk odythrngsamarthyudkhrxngsieriyswnihy phraxngkhthrngthuklxbplngphrachnmodyphrandda khux cxhn thsimisekhs odythrngwangaephnkbckrphrrdinithioxfaon sungthrngidklayepnkhurkkbcxhn thsimisekhs phuhnumkwaaelamiesnhckrphrrdicxhnthi 1 thsimisekhs John I Tzimiskes phasakrik Ἰwannhs A Koyrkoyas ὁ Tsimiskὴs phasalatin Ioannes I Tzimisces 11 thnwakhm kh s 969 10 mkrakhm kh s 976 6 pi 30 wn epnphranddainckrphrrdiniekhofrxsthi 2 thsimisekhsprasutirawkh s 925 epnaemthphphumikhwamsamarth thrngphyayamhangcakckrphrrdiphuepnphramatula aelanaipsukarwangaephnsmrurswmkhidplngphrachnmckrphrrdirwmkbehlanayphlthiimphxicckrphrrdi aelathrngidrbkhwamchwyehluxinaephnkarcakckrphrrdinithioxfaon cxhn thsimisekhscungidepnckrphrrdiaelaepnphusaercrachkarinphraoxrsphuthrngphraeyawkhxngckrphrrdiormanxsthi 2 ckrphrrdicxhnthi 1 thrngphyayamxphiesksmrskbckrphrrdinithioxfaon phuthrngepnckrphrrdinimasxngrchkal aetxkhrbidrthrngprakaswacaimprakxbphithirachaphieskihphraxngkhthaimthrnglngothsphukxkarlxbplngphrachnm aelathxdthxn ckrphrrdiniphuchwray xxkcakrachsank ckrphrrdicxhnthrngphyayampranipranxmkbfaysasnacungenrethsckrphrrdinithioxfaonxxkip inthanapramukh ckrphrrdicxhnthrngthasngkhramkbinblaekeriyinsngkhramaelaepncudlmslaykhxngckrwrrdiblaekeriy odyibaesnithnidrbchychna caknnthrngykthphipthasngkhramdantawnxxk sungphraxngkhswrrkhtxyangkathnhnckrphrrdibasilthi 2 phuprabbulkar Basil II the Bulgar Slayer phasakrik Basileios B ὁ Boylgaroktonos phasalatin Basilius II Bulgaroctonus 10 mkrakhm kh s 976 15 thnwakhm kh s 1025 49 pi 339 wn epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdiormanxsthi 2 prasutiinpikh s 958 thswrrsaerkkhxngrchkal thrngepnkhdaeyngkb mhaesnabdiphuthrngxanac thrngprasbkhwamlmehlwinkarthasngkhramkbblaekeriy aelaekidkbtinexechiyimenxrsungnaodyklumnayphl ckrphrrdibasilthrwphyayamsrangkhwammnkhngkhxngrachbllngkodythrngepnphnthmitrkb thrngih phrakhnisthaesksmrskbecachaywladimir aelacaknnthrngprabpramkbt phraxngkhthrngerim blaekeriythukprabxyangrabkhabinpikh s 1018 hlngcakphawasngkhramthung 20 pi odymiephiyngehtukarnthithaihkarbukblaekeriytxnghyudchangkephiyngchwkhna khux karthasngkhrampraprayinsieriytxtanrachwngsfatimiyah ckrphrrdibasilyngthrngkhyayxanaekhtipthungxaremeniyswnihy rchkalkhxngphraxngkhthukphicarnawaepncudrungeruxngthungkhidsudkhxngckrwrrdiibaesnithninyukhklangConstantine VIII the Purple born phasakrik Kwnstantinos H ὁ Porfyrogennhtos phasalatin Constantinus VIII 15 thnwakhm kh s 1025 11 phvscikayn kh s 1028 2 pi 332 wn epnphraoxrsxngkhthisxnginckrphrrdiormanxsthi 2 prasutiinpikh s 960 aelathrngidrbkarsthapnaepnckrphrrdirwmineduxnminakhm kh s 962 inrahwangrchkalkhxngckrphrrdibasilthi 2 phraxngkhthrngichewlaephuxkhwameksmsaray inchwngrchkalxnsnkhxngphraxngkh thrngepnpramukhphuimsnphrathykickarbanemuxng thaihthrngtkxyuphayitxiththiphlkhxngkharachsankodyngay aelathrngsngsywacamiaephnkarpldphraxngkhxxkcakrachbllngk odyechphaaklumkhunnangfaythhar thaihklumkhunnangcanwnmakthukcbthaihtabxdaelathukenreths inkhnathithrngiklswrrkht phraxngkhthrngeluxkormanxs xarkirxsihepnphraswamiinecahyingosxi phrarachthidasungcathrngkhunsubrachbllngktxipckrphrrdiniosxi phuprasutiinrchkal Zoe the Purple born phasakrik Zwὴ Porfyrogennhth phasalatin Zoe 12 phvscikayn kh s 1028 mithunayn kh s 1050 21 pi 200 wn epnphrarachthidainckrphrrdikhxnsaetntinthi 8 phranangthrngsubrachbllngkhlngcakphrabidaswrrkht phranangthrngepnechuxphrawngsmasiodeniynthiyngthrngphrachnmxyukbecahyingthioxodra phrakhnistha thrngmiphraswamithnghmdsamphraxngkh idaek ckrphrrdiormanxsthi 3 1028 1034 ckrphrrdimikhaexlthi 4 1034 1041 aelackrphrrdikhxnsaetntinthi 9 1042 1050 sungthngsamphraxngkhidepnckrphrrdiekhiyngkhangrachbllngkkhxngphranang ckrphrrdiniosxithrngphyayamrksaphrarachxanackhxngphranang dwykarsnbsnuncakhlayfay sungphranangthrngphyayamcakdbthbathkhxngphranangthioxodra phrakhnistha xyuesmxcnkrathngthrngswrrkhtRomanos III Argyros phasakrik Rwmanὸs G Ἀrgyrὸs phasalatin Romanus III Argyrus 15 phvscikayn kh s 1028 11 emsayn kh s 1034 5 pi 147 wn prasutiinpikh s 968 epnkharachkarxawuossungidthukeluxkodyckrphrrdikhxnsaetntinthi 8 sungthrngiklswrrkht ihesksmrskbecahyingosxi phrathidakhxngphraxngkh ckrphrrdiormanxsidkhrxngrachyrwmkbckrphrrdiniosxihlngcakckrphrrdikhxnsaetntinthi 8 swrrkht ephiyngimkiwn ckrphrrdiormanxsswrrkhtinpikh s 1034 mikhawluxwathrngthuklxbplngphrachnmodyaephnkarkhxngckrphrrdiniosxiaelamikhaexl phaflaokeniyn khurkkhxngphranang dwykarwangyaphis rdphrasx aelacbphraxngkhkdnainhxngsrngMichael IV the Paphlagonian phasakrik Mixaὴl D ὁ Paflagὼn phasalatin Michael IV Paphlagon 11 emsayn kh s 1034 10 thnwakhm kh s 1041 7 pi 243 wn prasutiinpikh s 1010 edimthrngmiphunephmacakchawnainphaflaokeniy thrngklaymaepnkhurkkhxngckrphrrdiniosxiinkhnathickrphrrdiormanxsthi 3 yngthrngphrachnmxyu aelaidkhunkhrxngrachyhlngcakckrphrrdiormanxsswrrkhtaelaepnphraswamiinckrphrrdiniosxi ckrphrrdimikhaexlthi 4 thrngmiphrasiriochm echliywchladaelaphrathykwang inthangklbknthrngimidrbkarsuksaaelathrngthrmancakorkhlmchk enuxngcakthrngidrbkarsnbsnuncakphraechstha khux sungepnhwhnakhnthi thaihrchkalkhxngphraxngkhprasbkhwamsaercphxsmkhwrinkarprabpramkbtphayin aetkhwamphyayaminkaryudsisiliprasbkhwamlmehlw phraxngkhswrrkhthlngcakthrngprachwrmaepnewlananMichael V Kalaphates phasakrik Mixaὴl E ὁ Kalafaths phasalatin Michael V Calaphates 10 thnwakhm kh s 1041 20 emsayn kh s 1042 0 pi 131 wn prasutiinpikh s 1015 thrngepnphranddaaelaepnphraoxrseliynginckrphrrdimikhaexlthi 4 inrchkalkhxngphraxngkhthrngphyayamkidknxanackhxngckrphrrdiniosxi phramardaeliyng thrngmiphrarachoxngkarenrethsckrphrrdiniosxixxkcakrachbllngkephuxcaidthrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediyw phrarachoxngkarkhxngphraxngkhthaihekidkarclacl klumphukxkarclaclidlmphrarachwngephuxeriykrxngihfunfuckrphrrdiniosxiklbkhunsubllngk phraxngkhtxngthrngyxmihckrphrrdiniosxikhunsubllngkinwnthi 19 emsayn kh s 1042 odythrngkhrxngrachyrwmkbecahyingthioxodra phrakhnistha ckrphrrdimikhaexlthi 5 thrngthukpldcakrachbllngkinwnthdmaodyphrarachoxngkarkhxngckrphrrdinithioxodra phraxngkhthrngthuktxnphrakhuyhthan xwywaephs thaihphraentrbxdaelathukoknphraeksa phraxngkhswrrkhtinthanaphrainwnthi 24 singhakhm kh s 1042Theodora phasakrik 8eodwra phasalatin Theodora 19 emsayn kh s 1042 hlng 31 singhakhm kh s 1056 14 pi 134 wn thrngepnphrakhnisthainckrphrrdiniosxi prasutiinpikh s 984 thrngepnckrphrrdinirwminwnthi 19 emsayn kh s 1056 hlngcakckrphrrdiniosxithrngxphiesksmrskbphraswamixngkhthisam khux ckrphrrdikhxnsaetntinthi 9 ineduxnmithunayn kh s 1042 ckrphrrdinithioxodrathrngthukphraechsthphkhinikidkncakphrarachxanacxikkhrng hlngcakckrphrrdiniosxiswrrkhtinpikh s 1050 aelackrphrrdikhxnsaetntinthi 9 swrrkhtinpikh s 1055 ckrphrrdinithioxodracungthrngidrbphrarachxanacinkarpkkhrxngckrwrrdixyangetmthi aelathrngkhrxngrachycnkrathngswrrkht phranangthrngaetngtngihepnphusubrachbllngkxngkhtxip hlngswrrkhtkhxngckrphrrdinithioxodra ckrwrrdiibaesnithnerimekhathungcudesuxmaelaerimfunfuxikkhrnginrchsmyckrphrrdixelksixxsthi 1 okhmennxsConstantine IX Monomachos phasakrik Kwnstantinos 8 Monomaxos phasalatin Constantinus IX Monomachus 11 mithunayn kh s 1042 7 8 hrux 11 mkrakhm kh s 1055 12 pi 214 wn prasutirawkh s 1000 intrakulkhunnang phrachnmchiphkhxngphraxngkhimednchd aetthrngthukenrethsipyngelsbxsodyckrphrrdimikhaexlthi 4 thrngklbmaemuxckrphrrdiniosxithrngeluxkphraxngkhepnphraswami ckrphrrdikhxnsaetntinthi 9 thrngsnbsnunchnchnphxkhaaelathrngsnbsnunklumpyyachn inkhnathithrngtihangcakkhunnangfaythhar phraxngkhthrngepnpramukhthioprderuxngkamarmn thrngdarngphrachnmchiphxyangfumefuxykbphrasnmkhxngphraxngkh aelathrngthwaythanaekxaramcanwnmak hlkkhux aela inrchkalkhxngphraxngkhthrngthukrukranodyinbxlkhan aelakarrukrancakrachwngseslcukhthangtawnxxk ekidkarkbtkhxngaela aelaekidkhrngihyrahwangkhristckrormkbkhristckrkhxnsaetntionepilimichrachwngs kh s 1056 1057 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiMichael VI Bringas phasakrik Mixaὴl ST Briggas phasalatin Michael VI Stratioticus knyayn kh s 1056 31 singhakhm kh s 1057 0 pi 365 wn epnkharachkarrachsankaelaepn idrbkarsthapnaepnrchthayathkxnthickrphrrdinithioxodracaswrrkht ckrphrrdimikhaexlthi 6 thrngthukthxdthxnxxkcakrachbllngkodykarkbtkhxngkxngthphphayitkarnakhxngixaeskh okhmennxs phraxngkhthrngesdcipprathbinxaram sungthrngswrrkhtinpikh s 1059rachwngsokhmennxs khrngthi 1 kh s 1057 1059 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiIsaac I Komnenos phasakrik Ἰsaakios A Komnhnὸs phasalatin Isaacius I Comnenus 5 mithunayn kh s 1057 22 phvscikayn kh s 1059 2 pi 170 wn prasutirawkh s 1005 thrngepnnayphlthiprasbkhwamsaerc phraxngkhkhunsuxanacdwykarnakxngthphcaktawnxxkaelaprakastnepnckrphrrdi sungphraxngkhthrngkhrxngrachyxyangepnthangkarhlngcakckrphrrdimikhaexlthi 6 slarachbllngkinwnthi 31 singhakhm kh s 1057 phraxngkhthrngphyayamfunfuthxngphrakhlngkhxngckrwrrdithihmdlngaelathrngphyayamsrangrthbalklangthimixanacekhmaekhngaelaepnthangkar ckrphrrdiixaeskhthi 1 thrngslarachbllngkinpikh s 1059 aelaesdcswrrkhtrawkh s 1061rachwngsdukhas kh s 1059 1081 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiConstantine X Doukas phasakrik Kwnstantinos I Doykas phasalatin Constantinus X Ducas 24 phvscikayn kh s 1059 22 phvsphakhm kh s 1067 7 pi 179 wn prasutirawkh s 1006 thrngepnnayphlaelaepnphnthmitrthiaenbaennkbixaeskh okhmennxs aelasubrachbllngkhlngcakckrphrrdiixaeskhthi 1 slarachbllngk thrngaetngtngphraoxrssamkhnkhux aela epnckrphrrdirwm thrngptiesththicasantxaenwthangkarptirupkhxngckrphrrdiixaeskh phraxngkhthrngklayepnckrphrrdithiimepnthiniyminwngkwangenuxngcakthrngprakaskhunphasiephuxcanaipichcayekiywkbkxngthphmikhaxilthi 7 dukhas Michael VII Doukas phasakrik Mixaὴl Z Doykas phasalatin Michael VII Ducas 22 phvsphakhm kh s 1067 24 minakhm kh s 1078 10 pi 306 wn prasuti kh s 1050 epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdikhxnsaetntinthi 10 thrngepnckrphrrdirwmtngaetkh s 1059 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht inchwngwyeyaw thrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxng phramarda inpikh s 1067 1068 aelathrngphlkisckrphrrdiphuthrngphraeyawihipxyuinkarkhwbkhumkhxngphraswamixngkhthisxngkhxngphranang khux ormanxsthi 4 idoxecnis inpikh s 1068 1071 emuxthrngecriyphrachnsainpikh s 1071 1078 phraxngkhthrngsthapna phraoxrsepnckrphrrdirwm phrxmkbphraxnuchakhxngphraxngkhexng phraxngkhthrngslarachbllngkcakkarkbtkhxng niekhofrxs obtaenxatis aelaswrrkhtrawpikh s 1090Romanos IV Diogenes phasakrik Rwmanὸs D Diogenhs phasalatin Romanus IV Diogenes 1 mkrakhm kh s 1068 24 tulakhm kh s 1071 3 pi 296 wn prasutiinpikh s 1032 epnnayphlphuprasbkhwamsaercaelaesksmrskb aelathrngklayepnckrphrrdixawuos epnphupkkhrxngaekphraoxrskhxngphranangthiprasutikbckrphrrdikhxnsaetntinthi 10 thrngthukpldcakrachbllngkodysmachikrachnikuldukhashlngcak thrngthukthaihphraentrbxdinpieduxnkrkdakhm kh s 1072 thukenreths aelaswrrkhtinewlatxmaNikephoros III Botaneiates phasakrik Nikhforos G Botaneiaths phasalatin Nicephorus III Botaniates 31 minakhm kh s 1078 4 emsayn kh s 1081 3 pi 4 wn prasutiinpikh s 1001 epnaehng phraxngkhthrngkxkbttxtanckrphrrdimikhaexlthi 7 aelaidrbkartxnrbinemuxnghlwng phraxngkhtxngephchiykbkarkbthlaykhrng aetthrngthuklmrachbllngkodytrakul phraxngkhthrngesdcipprathbthixaram thisungthrngswrrkhtinwnthi 10 thnwakhm piediywkn kh s 1081 rachwngsokhmennxs khrngthi 2 kh s 1081 1185 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdixelksixxsthi 1 okhmennxs Alexios I Komnenos phasakrik Ἀle3ios A Komnhnὸs phasalatin Alexius I Comnenus 4 emsayn kh s 1081 15 singhakhm kh s 1118 37 pi 133 wn prasutiinpikh s 1056 epnphranddainckrphrrdiixaeskhthi 1 okhmennxs epnnayphlthioddedn phraxngkhthrnglmrachbllngkkhxngckrphrrdiniekhofrxsthi 3 rchsmykhxngphraxngkhtxngrbphungkbnxrmnaelarachwngseslcukh aelakarmathungkhxngsngkhramkhruesdkhrngthi 1aelakarcdtngrthnkrbkhruesdxisra phraxngkhyngkhngihkhxnsaetntin dukhasdarngepnckrphrrdirwmtxipcnthungkh s 1087 aelathrngaetngtngcxhn phraoxrsxngkhotepnckrphrrdirwminpikh s 1092 phraxngkhthrngsamarthhyudyngkhwamesuxmkhxngckrwrrdiaelathrngerimkarepliynaeplngthangkarthhar thangkaresrsthkic aelathangkariddinaednkhunthieriykwasmy Komnenian restoration ckrphrrdicxhnthi 2 okhmennxs John II Komnenos phasakrik Ἰwannhs B Komnhnὸs phasalatin Ioannes II Comnenus 15 singhakhm kh s 1118 8 emsayn kh s 1143 24 pi 236 wn prasutiwnthi 13 knyayn kh s 1087 epnphraoxrsxngkhotinckrphrrdixelksixxsthi 1 thrngidrbkarsthapnaepnckrphrrdirwminpikh s 1092 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht rchsmykhxngphraxngkhtxngprasbkbsngkhramkbetirk thrngepnphrapramukhthiepnthiniymaelathrngtrahni phraxngkhyngthrngepnthiruckinphranamwa cxhn khndi thrngaetngtngphraoxrsxngkhotkhux epnckrphrrdirwminpikh s 1122 aelaphraoxrsidsinphrachnmkxnhnaphraxngkhckrphrrdimanuexlthi 1 okhmennxs Manuel I Komnenos phasakrik Manoyὴl A Komnhnὸs phasalatin Manuel I Comnenus kh s 1143 24 knyayn kh s 1180 37 pi 299 wn prasutiwnthi 28 phvscikayn kh s 1118 epnphraoxrsxngkhthisiaelaxngkhsudthxnginckrphrrdicxhnthi 2 phraxngkhthrngidrbeluxkihepnckrphrrdiaethnthiphraechsthakhux odyphrarachbidakxnthicaswrrkht thrngepnphrapramukhthiekhmaekhng phraxngkhthrngkxsngkhramkbetirk aelaxxnnxmtxrachxanackrhngkari thrngmixanacsungsudehnuxrthkhruesd aelathrngphyayamruxfundinaednkhuninxitaliaetimsaerc khwamfumefuxyaelakarthasngkhramaxyangtxenuxngidthaihthrphyakrkhxngckrwrrdildnxylngckrphrrdixelksixxsthi 2 okhmennxs Alexios II Komnenos phasakrik Ἀle3ios B Komnhnὸs phasalatin Alexius II Comnenus 24 knyayn kh s 1180 tulakhm kh s 1183 3 pi 6 wn prasutiwnthi 14 knyayn kh s 1162 epnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdimanuexlthi 1 inchwngpikh s 1180 1182 thrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxngphramardakhux phranangmaeriythrngthukrthpraharodyxnodrnikhxs okhmennxs phrayatiinrachwngs sungidbibbngkhbihckrphrrdixelksixxsmiphrarachoxngkarpraharphramarda caknnxnodrnikhxsidklayepnckrphrrdirwm thaythisudidokhnlmckrphrrdixelksixxsthi 2 ephuxkhunkhrxngbllngkaethn ckrphrrdixelksixxsthi 2 thrngthukplngphrachnmckrphrrdixnodrnikhxsthi 1 okhmennxs Andronikos I Komnenos phasakrik Ἀndronikos A Komnhnὸs phasalatin Andronicus I Comnenus kh s 1183 11 knyayn kh s 1185 2 pi 285 wn prasutirawkh s 1118 epnphranddainckrphrrdicxhnthi 2 odyepnoxrsinphraxnuchakhxngckrphrrdicxhnthi 2 khux thrngepnnayphl thrngthukcbkumhlngcakthithrngwangaephnsmkhbkhidtxtanckrphrrdicxhnthi 2 phrapitula aethlbhniipidaelaichewla 15 piinkarliphyipyngrachsanktangkhxngyuorptawnxxkaelatawnxxkklang phraxngkhthrngyudtaaehnngphusaercrachkarkhxngsmedcphraphnpihlwngmaeriyaehngaexntixxkinpikh s 1182 aelatxmathrngyudrachbllngkcakckrphrrdixelksixxsthi 2 phrandda phraxngkhthrngepnphrapramukhthiimidrbkhwamniym phraxngkhthrngthukokhnlmrachbllngkaelathrngthukrumprachathnthodykarlukhuxkhxngprachachncnswrrkhtrachwngsxneclxs kh s 1185 1204 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdiixaeskhthi 2 xneclxs Isaac II Angelos phasakrik Ἰsaakios B Ἄggelos phasalatin Isaacius II Angelus kh s 1185 kh s 1195 khrngthi 1 10 pi 0 wn prasutiineduxnknyayn kh s 1156 ixaeskhkawkhunsubllngkidcakkarthiepnphunakarlukhuxtxtanckrphrrdixnodrnikhxsthi 1 rchsmykhxngphraxngkhetmipdwykarkbtaelasngkhraminbxlkhan odyechphaaxyangyingkartxtankarfunfublaekeriy ckrphrrdiixaeskhthi 2 thrngthukokhnlm thrngthukthaihphraentrbxdaelathukcbkumody ckrphrrdixelksixxsthi 3 phraechsthakhxngphraxngkhckrphrrdixelksixxsthi 3 xneclxs Alexios III Angelos phasakrik Ἀle3ios G Ἄggelos phasalatin Alexius III Angelus kh s 1195 17 18 krkdakhm kh s 1203 8 pi 230 wn prasutiinpikh s 1153 ckrphrrdixelksixxsthi 3 thrngepnphraechsthainckrphrrdiixaeskhthi 2 rchsmykhxngphraxngkhprasbkbkarpkkhrxngthiimmnkhngaelaxanackarpkkhrxngkhxngaekhwntangidephimmakkhun phraxngkhthrngthukokhnrachbllngkodykxngthphkhruesdinsngkhramkhruesdkhrngthi 4 aelathrnghlbhnicakkhxnsaetntionepil thrngliphyaelaedinthangipyngkrisaelaexechiyimenxr ephuxaeswnghakarsnbsnunihphraxngkhklbkhunsubllngk phraxngkhswrrkhthlngcakthrngthukcbkuminckrwrrdiinesiyinpikh s 1211ckrphrrdiixaeskhthi 2 xneclxs Isaac II Angelos phasakrik Ἰsaakios B Ἄggelos phasalatin Isaacius II Angelus 18 krkdakhm kh s 1203 27 28 mkrakhm kh s 1204 khrngthi 2 0 pi 194 wn thrngidrbkarfunfurachbllngkxikkhrngodynkrbkhruesdaemwacathrngphraentrbxd xanackhxngphraxngkhthrngtkxyukbckrphrrdixelksixxsthi 4 phraoxrs enuxngcakthrnglmehlwinkartxrxngphlpraoychncakkhxeriykrxngkhxngnkrbkhruesd thaihphraxngkhthrngthukokhnrachbllngkxikkhrngodyxelksixxs dukhasineduxnmkrakhm kh s 1204 aelaswrrkhtinwnthi 28 mkrakhm kh s 1204 khadwaxaccathrngthukplngphrachnmdwyyaphisckrphrrdixelksixxsthi 4 xneclxs Alexios IV Angelos phasakrik Ἀle3ios D Ἄggelos phasalatin Alexius IV Angelus 1 singhakhm kh s 1203 27 28 mkrakhm kh s 1204 0 pi 180 wn prasutiinpikh s 1182 thrngepnphraoxrsinckrphrrdiixaeskhthi 2 phraxngkhthrngekharwminkxngthphkhruesdkhrngthisiephuxnaphrarachbidaklbkhunsurachbllngk aelathrngidkhrxngrachyrwmkbphrarachbidahlngcakthrngidrbchychnatxckrphrrdixelksixxsthi 3 phrapitulaaelw enuxngcakthrnglmehlwinkartxrxngphlpraoychncakkhxeriykrxngkhxngnkrbkhruesd thaihphraxngkhthrngthukokhnrachbllngkxikkhrngodyxelksixxs dukhasineduxnmkrakhm kh s 1204 phraxngkhthrngthukplngphrachnmdwykarrdphrasxinwnthi 8 kumphaphnthckrphrrdixelksixxsthi 5 dukhas mxrthsuflxs Alexios V Doukas Mourtzouphlos phasakrik Ἀle3ios E Doykas ὁ Moyrtzoyflos phasalatin Alexius V Ducas 5 kumphaphnth kh s 1204 13 emsayn kh s 1204 0 pi 68 wn prasutiinpikh s 1140 epnphrachamada butrekhy inckrphrrdixelksixxsthi 3 aelaepnkhunnangthioddedn phraxngkhthrngokhnlmckrphrrdiixaeskhthi 2 aelackrphrrdixelksixxsthi 4 inkarrthprahar phraxngkhphyayamkhbilkxngthphkhruesd aetkxngthphkhruesdidekha thaihmxrthsuflxstxngthrnghlbhni phraxngkhesdcipphbkbxditckrphrrdixelksixxsthi 3 thithrngliphyxyu aetxditckrphrrdithrngihkxngthphsumocmtiaelamiphrabychathaihphraentrkhxngckrphrrdixelksixxsthi 5 bxd ephuxihphraxngkhimsamarthxangsiththiinbllngkid phraxngkhthrngthukthngthharkhxngphraxngkhaelastruthxdthing aelathrngthukcbkumodykxngthphkhruesd pharxngkhthrngthuktdsinpraharchiwitinothsthankbttxckrphrrdixelksixxsthi 4 ineduxnthnwakhm kh s 1205rachwngslaskharis ckrwrrdiinesiy kh s 1204 1261 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtiTheodore I Laskaris phasakrik 8eodwros A Laskaris phasalatin Theodorus I Lascares kh s 1205 thnwakhm kh s 1221 1222 17 pi 365 wn prasutiinrawkh s 1174 phraxngkhthrngmichuxesiyngkhunmacakkarthithrngepnphrachamadainckrphrrdixelksixxsthi 3 phraechsthakhxngphraxngkhidrbeluxkihepnckrphrrdiodyprachachnkhxngkhxnsaetntionepilinwnthiemuxngphayaephtxkxngthphkhruesd phraxngkhidesdcliphyipynginesiy thisungthioxdxrthrngcdtngklumchawkrikephuxtxtanchawlatin phraxngkhthrngprakasphraxngkhexngepnckrphrrdihlngkarsinphrachnmkhxngkhxnsaetntininpikh s 1205 ckrphrrdithioxdxrthrngswmmngkudinpikh s 1208 phraxngkhthrngphyayamkhdkhwangkaredinthphkhxnglatininexechiyaelathrngkhbilkarocmtikhxngeslyukh thrngsthapnackrwrrdiinesiysungepnrthsubthxdkhxngchawkrikthiekhmaekhngJohn III Doukas Vatatzes phasakrik Ἰwannhs G Doykas Batatzhs phasalatin Ioannes III Ducas Batatzes 15 thnwakhm kh s 1221 1222 3 phvscikayn kh s 1254 31 pi 323 wn prasutiinrawkh s 1192 thrngklayepnphrachamadaaelarchthayathinckrphrrdithioxdxrthi 1 inpikh s 1212 thrngepnpramukhaelankkarthharthimikhwamsamarth phraxngkhthrngkhyayckrwrrdiipyngbithieniy ethrsaelamasiodeniy ephuxepnkarchdichkhxngckrwrrdilatin blaekeriyaelarthkrikthiepnstruxyangTheodore II Laskaris phasakrik 8eodwros B Laskaris phasalatin Theodorus II Lascares 3 phvscikayn kh s 1254 18 singhakhm kh s 1258 3 pi 288 wn prasutiinpikh s 1221 1222 thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdicxhnthi 3 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht rchsmykhxngphraxngkhepnrchsmythiekidkhwamkhdaeyngrahwangklumtrakulkhunnangihy aelaphraxngkhthrngidrbchychnainsngkhramkbblaekeriyaelathrngkhyayxanaekhtekhaipinaexlebeniyJohn IV Laskaris phasakrik Ἰwannhs D Laskaris phasalatin Ioannes IV Ducas Lascares 18 singhakhm kh s 1258 25 thnwakhm kh s 1261 3 pi 109 wn prasutiinwnthi 25 thnwakhm kh s 1250 thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdithioxdxrthi 2 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht enuxngcakyngthrngphraeyaw thaihphraxngkhthrngtkxyuphayitkarsaercrachkarkhxngcnkrathngekhathuklxbsnghar txmathrngxyuphayitkarsaercrachkarkhxngmikhaexl phalaoxolkxs phusunginewlaimkieduxnidkhrxngrachyepnckrphrrdixawuos hlngcakkxngthphinesiysamarthfunfukrungkhxnsaetntionepilkhunmaidineduxnsinghakhm kh s 1261 phalaoxolkxssamarthkidknckrphrrdicxhnthi 4 xxkcakxanacxyangsmburn phraxngkhthrngthukthaihphraentrbxdaelathukcbkum ckrphrrdicxhnthi 4 swrrkhtinpikh s 1305rachwngsphalaoxolkxs funfukhxnsaetntionepil kh s 1261 1453 phranam rchkal rayaewlakhrxngrachy phraprawtickrphrrdimikhaexlthi 8 phalaoxolkxs Michael VIII Palaiologos phasakrik Mixaὴl H Palaiologos phasalatin Michael VIII Palaeologus 1 mkrakhm kh s 1259 11 thnwakhm kh s 1282 23 pi 344 wn prasutiinpikh s 1223 epnphrapnddainckrphrrdixelksixxsthi 3 aelaepnphranddainckrphrrdicxhnthi 3 odykarsmrs thrngepnckrphrrdixawuosinrchsmykhxngckrphrrdicxhnthi 4 inpikh s 1259 phraxngkhthrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywinwnthi 25 thnwakhm kh s 1261 phraxngkhthrngfunfukrungkhxnsaetntionepilcakkhuncakckrwrrdilatin aelaepliyncakckrwrrdiinesiyepnckrwrrdiibaesnithnyukhfunfuckrphrrdixnodrnikhxsthi 2 phalaoxolkxs Andronikos II Palaiologos phasakrik Ἀndronikos B Palaiologos phasalatin Andronicus II Palaeologus 11 thnwakhm kh s 1282 24 phvsphakhm kh s 1328 45 pi 165 wn prasutiinwnthi 25 minakhm kh s 1259 thrngepnphraoxrsinckrphrrdimikhaexlthi 7 phraxngkhidrbkarsthapnaepnckrphrrdirwmineduxnknyayn kh s 1261 phraxngkhthrngswammngkudinpikh s 1272 phraxngkhthrngsubrachbllngkepnckrphrrdiaetephiyngphuediywhlngcakphrarachbidaswrrkht phraxngkhthrngoprdbathhlwngaelapyyachn thrnglaelydankarthhar aelarchkalkhxngphraxngkhtxngprasbkbkarlmslaykhxngxiththiphlckrwrrdiibaesnithninexechiyimenxr phraxngkhthrngaetngtngckrphrrdimikhaexlthi 9 phraoxrskhunepnckrphrrdirwm inchwngthiyudeyux phraxngkhthrngthukbngkhbihrbrxngphranddakhux ckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 khunepnckrphrrdirwm aelacaknnckrphrrdixnodrnikhxsthi 2 kthrngthukpldcakrachbllngkinthnthi xditckrphrrdixnodrnikhxsthi 2 swrrkhtinwnthi 13 kumphaphnth kh s 1332ckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 phalaoxolkxs Andronikos III Palaiologos phasakrik Ἀndronikos G Palaiologos phasalatin Andronicus III Palaeologus 24 phvsphakhm kh s 1328 15 mithunayn kh s 1341 13 pi 22 wn prasutiinwnthi 25 minakhm kh s 1297 thrngepnphraoxrsinckrphrrdirwmmikhaexlthi 9 aelathrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminpikh s 1316 dwythrngepnckrphrrdithitiesmxkntngaeteduxnkrkdakhm kh s 1321 phraxngkhthrngokhnlmckrphrrdixnodrnikhxsthi 2 phraxykaxxkcakrachbllngkinpikh s 1328 aelathrngepnckrphrrdiaetephiyngphuediywcnkrathngswrrkht phraxngkhthrngidrbkarsnbsnuncak rchsmykhxngphraxngkhthrngprachytx aetthrngprasbkhwamsaercinyuorp phraxngkhthrngsamarthfunfuxiiphrsaelaidJohn V Palaiologos phasakrik Ἰwannhs E Palaiologos phasalatin Ioannes V Palaeologus 15 mithunayn kh s 1341 12 singhakhm kh s 1376 khrngthi 1 35 pi 58 wn thrngepnphraoxrsephiyngphraxngkhediywinckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 phraxngkhimthrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwmhruxidrbkarprakaswaepnxngkhrchthayathinkhrngthiphrarachbidaswrrkht sungthaihekidrahwangphraxngkhkbphusaercrachkarkhxngphraxngkhexngaelaepnesnathikarkhnsnithkhxngphrarachbidakhux sungidkhrxngrachyepnckrphrrdirwm khwamkhdaeyngidsinsudinpikh s 1347 odykhntakhuesnxsidrbkarrbrxngihepnckrphrrdixawuos aetphraxngkhkthukokhncakrachbllngkodyckrphrrdicxhnthi 5 inpikh s 1354 inchwng idrbkaraetngtngcakckrphrrdicxhnthi 5 ihepnckrphrrdirwm aelakthukokhnlmcakrachbllngkechnkninpikh s 1357 ckrphrrdicxhnthi 5 thrngmikhawingwxnipyngtawntkephuxihchwyehluxinkarrbkbxxtotmn aetinpikh s 1371 phraxngkhthrngthukbngkhbihyxmrbxanackhxngxxtotmn phraxngkhthrngthukokhnrachbllngkinpikh s 1376 odyphraoxrskhxngphraxngkhexng khux ckrphrrdixnodrnikhxsthi 4John VI Kantakouzenos phasakrik Ἰwannhs ST Kantakoyzhnὸs phasalatin Ioannes VI Cantacuzenus 8 kumphaphnth kh s 1347 4 thnwakhm kh s 1354 7 pi 299 wn thrngepnphrayatifaymardakhxngtrakul phraxngkhidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminwnthi 26 tulakhm kh s 1341 aelathrngidrbkarrbrxngihepnckrphrrdixawuosepnewlasibpihlngcaksinsudinwnthi 8 kumphaphnth kh s 1347 phraxngkhthrngthukokhnrachbllngkodyckrphrrdicxhnthi 5 inpikh s 1354 phraxngkhthrngekhaepnbathhlwng swrrkhtinwnthi 15 mithunayn kh s 1354Andronikos IV Palaiologos phasakrik Ἀndronikos D Palaiologos phasalatin Andronicus IV Palaeologus 12 singhakhm kh s 1376 1 krkdakhm kh s 1379 2 pi 323 wn thrngepnphraoxrsinckrphrrdicxhnthi 5 aelaepnphranddainckrphrrdicxhnthi 6 phraxngkhprasutiwnthi 2 emsayn kh s 1348 aelathrngkhunepnckrphrrdirwminpikh s 1352 phraxngkhthrngpldphrarachbidaxxkcakrachbllngkinwnthi 12 singhakhm kh s 1376 aelathrngkhrxngrachycnkrathngthrngthukokhnrachbllngkinpikh s 1379 phraxngkhthrngidrbkarrbrxngxikkhrnginthanackrphrrdirwminpikh s 1381 aelathrngidrbaekhwnepn phraxngkhswrrkhtthinninwnthi 28 mithunayn kh s 1385John V Palaiologos phasakrik Ἰwannhs E Palaiologos phasalatin Ioannes V Palaeologus 1 krkdakhm kh s 1379 14 emsayn kh s 1390 khrngthi 2 10 pi 287 wn thrngklbkhunsurachbllngkinthanackrphrrdixawuos phraxngkhthrngpranipranxmkbckrphrrdixnodrnikhxsthi 4 phraoxrs inpikh s 1381 thrngaetngtngphraoxrsepnckrphrrdirwmxikkhrng ckrphrrdicxhnthi 5 thrngthukokhnrachbllngkxikkhrnginpikh s 1390 odyphrarachndda khux ckrphrrdicxhnthi 7John VII Palaiologos phasakrik Ἰwannhs Z Palaiologos phasalatin Ioannes VII Palaeologus 14 emsayn kh s 1390 17 knyayn kh s 1390 11 pi 78 wn thrngepnphraoxrsinckrphrrdixnodrnikhxsthi 4 phraxngkhprasutiinpikh s 1370 aelathrngidrbkaraetngtngepnckrphrrdirwminrchsmykhxngphrarachbidainpikh s 1377 1379 phraxngkhthrngchwngchingrachbllngkmacakphraxyka ckrphrrdicxhnthi 5 thrngkhrxngrachyepnewlahaeduxninpikh s 1390 aetenuxngdwyxxtotmnekhamaepnkhnklanginkariklekliy phraxngkhcungtxngpranipranxmkbckrphrrdicxhnthi 5 phraxykaaelackrphrrdimanuexlthi 2 phrapitula phraxngkhthrngpxngknkrungkhxnsaetntionepilcakkarrukrankhxngxxtotmninpikh s 1399 1402 aelathrngidrbethssaolnikaepnthrphysinthikhrxbkhrxngtamkdhmay sungphraxngkhthrngpkkhrxngcnkrathngswrrkhtinwnthi 22 knyayn kh s 1408John V Palaiologos phasakrik Ἰwannhs E Palaiologos phasalatin Ioannes V Palaeologus 17 knyayn kh s 1390 16 kumphaphnth kh s 1391 khrngthi 3 0 pi 152 wn thrngklbkhunsurachbllngkinthanackrphrrdixawuos phraxngkhthrngepnckrphrrdicnkrathngswrrkhtineduxnkumphaphnth kh s 1391ckrphrrdimanuexlthi 2 phalaoxolkxs Manuel II Palaiologos phasakrik Manoyὴl B Palaiologos phasalatin Manuel II Palaeologus 16 kumphaphnth kh s 1391 21 krkdakhm kh s 1425 34 pi 155 wn thrngepnphraoxrsxngkhthisxnginckrphrrdicxhnthi 5 phraxngkhprasutiinwnthi 27 mithunayn kh s 1350 thrngkhunepnckrphrrdirwminpikh s 1373 phraxngkhkhunepnckrphrrdixawuoshlngcakckrphrrdicxhnthi 5 swrrkht phraxngkhthrngedinthangipeyuxnrachsankinyuorptawntkephuxaeswnghakhwamchwyehluxinkartxtanphwketirk aelathrngichehtukarnthixxtotmnphayaephintxkxngthphkhxngrachwngstimur ephuxyuddinaednkhunaelasldkhwamepnebuxnglangkhxngxxtotmnckrphrrdicxhnthi 8 phalaoxolkxs John VIII Palaiologos phasakrik Ἰwannhs H Palaiologos phasalatin Ioannes VIII Palaeologus 21 krkdakhm kh s 1425 31 tulakhm kh s 1448 23 pi 102 wn thrngepnphraoxrsxngkhotinckrphrrdimanuexlthi 2 phraxngkhprasutiwnthi 18 thnwakhm kh s 1392 thrngepnckrphrrdirwmrawpikh s 1416 phraxngkhthrngsubrachbllngkhlngcakphrarachbidaswrrkht phraxngkhthrngphyayamaeswnghakarchwyehluxinkartxtanxxtotmnthifunfukhunmaxikkhrng phraxngkhcungthrngyxmrbininpikh s 1439ckrphrrdikhxnsaetntinthi 11 phalaoxolkxs Constantine XI Palaiologos phasakrik Kwnstantinos IA Palaiologos phasalatin Constantinus XI Palaeologus 6 mkrakhm kh s 1449 29 phvsphakhm kh s 1453 4 pi 143 wn thrngepnphraoxrsxngkhthisiinckrphrrdimanuexlthi 2 phraxngkhprasutiwnthi 8 kumphaphnth kh s 1405 thrngepntngaetkh s 1428 phraxngkhthrngprasbkhwamsaercinkarthasngkhramsungsamarthphnwkaelathrngthaihdchchiexethnsklbmaxyuphayitxanackhxngibaesnithn aetimthrngsamarthkhbilkxngthphetirkthiekhamaocmtiphayitkarnakhxng phraechsthakhxngphraxngkhidkhrxngrachyepnckrphrrdicxhnthi 8 txmathrngswrrkht thaihsultanxngkhihmaehngxxtotmn sultanemhehmdthi 2 thrngtxngkarkhyayxanacmathikhxnsaetntionepil ckrphrrdikhxnsaetntinthrngyxmrbinkarrwmsasnckraelathrngyathungkarkhxkhwamchwyehluxcaktawntk aetkirphl phraxngkhptiesththicayxmaephtxxxtotmn thaythisudphraxngkhswrrkhtinsngkhramcakkaresiykrungkhxnsaetntionepilinwnthi 29 phvsphakhm kh s 1453rachwngsphalaoxolkxs phuxangsiththiinrachbllngk phrarup phranam sthana prasuti erimxangsiththi sinsudkarxangsiththi sinphrachnmedspxthaehngmxeriy Demetrios Palaiologos Dhmhtrios Palaiologos phraoxrsinckrphrrdimanuexlthi 2 phraxnuchainckrphrrdicxhnthi 8 aelackrphrrdikhxnsaetntinthi 11 raw kh s 1407 kh s 1453 kh s 1460 kh s 1470edspxthaehngmxeriy Thomas Palaiologos 8wmᾶs Palaiologos phraoxrsinckrphrrdimanuexlthi 2 phraxnuchainckrphrrdicxhnthi 8 aelackrphrrdikhxnsaetntinthi 11 raw kh s 1409 kh s 1453 12 phvsphakhm kh s 1465 12 phvsphakhm kh s 1470edspxthaehngmxeriy Andreas Palaiologos Ἀndreas Palaiologos phraoxrsinecachayothms raw kh s 1453 12 phvsphakhm kh s 1465 kh s 1502 thrngkhaysiththiinrachbllngkibaesnithnaekkstriyfrngess phraecahluysthi 12 aelakstriykhathxlik smedcphrarachininathxisaeblthi 1 kbphraecaefrnnodthi 5 kh s 1502xangxingNicol Donald MacGillivray Last Centuries of Byzantium 1261 1453 Cambridge University Press Second Edition 1993 p 72 Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium not an inviolable principle Emperors particularly in the later period would take pains to nominate their sons as co emperors for the rule of a dynasty made for stability and continuity But in theory the road to the throne was a carriere ouverte aux talents career open to talents Hooker Richard 4 June 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 06 26 subkhnemux 2014 10 12 p 183 Karayannopoulous Yanis State Organization Social Structure Economy and Commerce History of Hunamity Scientific and Cultural Development from the Seventh to the Sixteenth Centuries Vol IV M A Al Bakhit L Bazin S M Cissoko and M S Asimov Editors UNESCO Paris 2000 Nicol Donald MacGillivray Last Centuries of Byzantium 1261 1453 Cambridge University Press Second Edition 1993 p 72 Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium not an inviolable principle Emperors particularly in the later period would take pains to nominate their sons as co emperors for the rule of a dynasty made for stability and continuity But in theory the road to the throne was a carriere ouverte aux talents career open to talents Gregory Timothy E Cutler Anthony 1991 Constantine I the Great in b k New York Oxford Oxford University Press pp 498 500 ISBN 978 0 19 504652 6 Gregory Timothy E 1991 Constantius II in b k New York Oxford Oxford University Press p 524 ISBN 978 0 19 504652 6 Gregory Timothy E 1991 Constans in b k New York Oxford Oxford University Press p 496 ISBN 978 0 19 504652 6 Gregory Timothy E Cutler Anthony 1991 Leo I in b k New York Oxford Oxford University Press pp 1206 1207 ISBN 978 0 19 504652 6 Kazhdan Alexander P 1991 Leo II in b k New York Oxford Oxford University Press pp 1207 1208 ISBN 978 0 19 504652 6 Gregory Timothy E 1991 Zeno in b k New York Oxford Oxford University Press p 2223 ISBN 978 0 19 504652 6 Gregory Timothy E 1991 Anastasios I in b k New York Oxford Oxford University Press pp 86 87 ISBN 978 0 19 504652 6 McKay HillA History of World Societies Bedford St Martin s 9th edition 2012 Ostrogorsky George History of the Byzantine State Rutgers University Press 1969 p261 ISBN 0 8135 0599 2 Ostrogorsky p261 Kazhdan Alexander Cutler Anthony 1991 Constantine VII Porphyrogennetos in b k New York Oxford Oxford University Press pp 502 503 ISBN 978 0 19 504652 6 Brand Charles M Cutler Anthony 1991 Constantine VIII in b k New York Oxford Oxford University Press pp 503 504 ISBN 978 0 19 504652 6 Canduci Alexander 2010 Triumph amp Tragedy The Rise and Fall of Rome s Immortal Emperors Pier 9 ISBN 978 1 74196 598 8 p 266 Brand Charles M Cutler Anthony 1991 Constantine IX Monomachos in b k New York Oxford Oxford University Press p 504 ISBN 978 0 19 504652 6 Talbot Alice Mary 1991 Constantine XI Palaiologos in b k New York Oxford Oxford University Press p 505 ISBN 978 0 19 504652 6