มัชฌิม (อังกฤษ: mean) ในทางสถิติศาสตร์มีความหมายได้สองทางคือ
- มัชฌิมเลขคณิต (ซึ่งแตกต่างจากมัชฌิมเรขาคณิตและ) ในบางบริบทมีการใช้คำว่า ค่าเฉลี่ย แทนความหมายของมัชฌิมเลขคณิต แต่ค่าเฉลี่ยนั้นมีหลายประเภทที่แตกต่างกัน อาทิ มัฌชิม มัธยฐาน ฐานนิยม ตัวอย่างเช่น ราคาเฉลี่ยของบ้านและอาคาร จะใช้มัธยฐานเป็นค่าเฉลี่ยเสมอ
- ค่าคาดหมายของตัวแปรสุ่ม บางครั้งก็เรียกว่า ค่าเฉลี่ยประชากร สำหรับตัวแปรสุ่ม X ที่มีค่าอยู่จริง มัชฌิมคือการคาดหมายค่าของ X แต่การแจกแจงความน่าจะเป็นบางอย่างไม่มีการนิยามมัชฌิม (หรือ) ดูกรณีตัวอย่างใน (Cauchy distribution)
สำหรับชุดข้อมูลหนึ่ง ๆ มัชฌิมคือผลบวกของสิ่งที่สังเกตการณ์ หารด้วยจำนวนครั้งที่สังเกตการณ์ มัชฌิมดังกล่าวมักจะมาคู่กันกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมัชฌิมใช้อธิบายตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูล ในขณะที่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้อธิบายความกระจัดกระจายของข้อมูล
นอกเหนือจากทางสถิติศาสตร์ มัชฌิมมักใช้ในเรื่องเรขาคณิตและคณิตวิเคราะห์ ซึ่งมัชฌิมหลายชนิดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ ในวงกว้าง แต่มีที่ใช้น้อยในสถิติศาสตร์ ดังรายชื่อต่อไปนี้
ตัวอย่าง
มัชฌิมเลขคณิต
มัชฌิมเลขคณิต เป็นค่าเฉลี่ยแบบมาตรฐานทั่วไป ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็น ค่าเฉลี่ย หรือ มัชฌิม เฉย ๆ
ตัวอย่าง มัชฌิมเลขคณิตของ 34, 27, 45, 55, 22, 34 (จำนวนหกค่า) คือ (34 + 27 + 45 + 55 + 22 + 34) / 6 = 217 / 6 ≈ 36.167
มัชฌิมชนิดนี้มักเป็นที่สับสนกับค่าเฉลี่ยอย่างอื่นที่คล้ายกัน เช่น มัธยฐานหรือฐานนิยม มัชฌิมเลขคณิตจะเป็นการคำนวณเลขคณิตของผลเฉลี่ยจากค่าหลาย ๆ ค่า หรือการแจกแจง หรือแม้แต่การแจกแจงเบ้ (skewed) ซึ่งไม่เหมือนกับค่ากึ่งกลาง (มัธยฐาน) หรือค่าที่ซ้ำกันมากที่สุด (ฐานนิยม)
มัชฌิมเรขาคณิต
มัชฌิมเรขาคณิต เป็นค่าเฉลี่ยที่มีประโยชน์สำหรับกลุ่มของจำนวนที่เกี่ยวข้องกับผลคูณ ไม่ใช่ผลบวก เช่น อัตราการเติบโต (เป็นเท่า หรือ ทวีคูณ) เป็นต้น
ตัวอย่าง มัชฌิมเรขาคณิตของ 34, 27, 45, 55, 22, 34 คือ (34 × 27 × 45 × 55 × 22 × 34)1/6 = 1,699,493,4001/6 ≈ 34.545
มัชฌิมฮาร์มอนิก
เป็นค่าเฉลี่ยที่มีประโยชน์สำหรับกลุ่มของจำนวนที่กำหนดความสัมพันธ์กับบาง เช่น ความเร็ว (ระยะทางต่อหน่วยเวลา) เป็นต้น
ตัวอย่าง มัชฌิมฮาร์มอนิกของ 34, 27, 45, 55, 22, 34 คือ
มัชฌิมทั่วไป
มัชฌิมกำลัง
(generalized mean) หรือรู้จักกันในชื่อ มัชฌิมกำลัง (power mean) หรือ มัชฌิมเฮิลเดอร์ (Hölder mean) คือภาวะนามธรรมของมัชฌิมกำลังสอง เลขคณิต เรขาคณิต และฮาร์มอนิก ซึ่งนิยามโดย
โดยการเลือกค่า m ที่ต้องการเป็นพารามิเตอร์
- m → ∞ จะได้
- m = 2 จะได้
- m = 1 จะได้ มัชฌิมเลขคณิต
- m → 0 จะได้ มัชฌิมเรขาคณิต
- m = −1 จะได้ มัชฌิมฮาร์มอนิก
- m → −∞ จะได้
มัชฌิมกึ่งเลขคณิต
(quasi-arithmetic mean หรือ generalized f-mean) เป็นมัชฌิมที่มีความทั่วไปมากขึ้นไปกว่ามัชฌิมกำลัง นิยามโดย
โดยการเลือกฟังก์ชัน f ที่มีอินเวิร์ส เป็นพารามิเตอร์
- จะได้ มัชฌิมเลขคณิต
- จะได้ มัชฌิมฮาร์มอนิก
- จะได้ มัชฌิมกำลัง
- จะได้ มัชฌิมเรขาคณิต
มัชฌิมถ่วงน้ำหนัก
หรือ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (โดยปกติจะเป็นมัชฌิมเลขคณิตที่ถ่วงน้ำหนัก) จะใช้ในกรณีที่ต้องการผสานค่าของน้ำหนักข้อมูลเข้ากับค่าเฉลี่ย จากตัวอย่างสุ่มในประชากรเดียวกันด้วยขนาดที่แตกต่างกัน
ซึ่ง wi แทนค่าน้ำหนักของข้อมูลของแต่ละตัว
อ้างอิง
- สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "9.1 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง". เอกสารการสอนชุดวิชาคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อธุรกิจ หน่วยที่ 8-15. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552. หน้า 472–488.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
mchchim xngkvs mean inthangsthitisastrmikhwamhmayidsxngthangkhux mchchimelkhkhnit sungaetktangcakmchchimerkhakhnitaela inbangbribthmikarichkhawa khaechliy aethnkhwamhmaykhxngmchchimelkhkhnit aetkhaechliynnmihlaypraephththiaetktangkn xathi mchchim mthythan thanniym twxyangechn rakhaechliykhxngbanaelaxakhar caichmthythanepnkhaechliyesmx khakhadhmaykhxngtwaeprsum bangkhrngkeriykwa khaechliyprachakr sahrbtwaeprsum X thimikhaxyucring mchchimkhuxkarkhadhmaykhakhxng X aetkaraeckaecngkhwamnacaepnbangxyangimmikarniyammchchim hrux dukrnitwxyangin Cauchy distribution sahrbchudkhxmulhnung mchchimkhuxphlbwkkhxngsingthisngektkarn hardwycanwnkhrngthisngektkarn mchchimdngklawmkcamakhuknkbswnebiyngebnmatrthan sungmchchimichxthibaytaaehnngkungklangkhxngkhxmul inkhnathiswnebiyngebnmatrthanichxthibaykhwamkracdkracaykhxngkhxmul nxkehnuxcakthangsthitisastr mchchimmkichineruxngerkhakhnitaelakhnitwiekhraah sungmchchimhlaychnidthuksrangkhunmaephuxcudprasngkhtang inwngkwang aetmithiichnxyinsthitisastr dngraychuxtxipnitwxyangmchchimelkhkhnit mchchimelkhkhnit epnkhaechliyaebbmatrthanthwip sungmkeriykknwaepn khaechliy hrux mchchim echy x 1n i 1nxi displaystyle bar x frac 1 n cdot sum i 1 n x i dd twxyang mchchimelkhkhnitkhxng 34 27 45 55 22 34 canwnhkkha khux 34 27 45 55 22 34 6 217 6 36 167 mchchimchnidnimkepnthisbsnkbkhaechliyxyangxunthikhlaykn echn mthythanhruxthanniym mchchimelkhkhnitcaepnkarkhanwnelkhkhnitkhxngphlechliycakkhahlay kha hruxkaraeckaecng hruxaemaetkaraeckaecngeb skewed sungimehmuxnkbkhakungklang mthythan hruxkhathisaknmakthisud thanniym mchchimerkhakhnit mchchimerkhakhnit epnkhaechliythimipraoychnsahrbklumkhxngcanwnthiekiywkhxngkbphlkhun imichphlbwk echn xtrakaretibot epnetha hrux thwikhun epntn x i 1nxi 1 n displaystyle bar x left prod i 1 n x i right 1 n dd twxyang mchchimerkhakhnitkhxng 34 27 45 55 22 34 khux 34 27 45 55 22 34 1 6 1 699 493 4001 6 34 545 mchchimharmxnik epnkhaechliythimipraoychnsahrbklumkhxngcanwnthikahndkhwamsmphnthkbbang echn khwamerw rayathangtxhnwyewla epntn x n i 1n1xi 1 displaystyle bar x n cdot left sum i 1 n frac 1 x i right 1 dd twxyang mchchimharmxnikkhxng 34 27 45 55 22 34 khux 6134 127 145 155 122 134 33 0179836 displaystyle frac 6 frac 1 34 frac 1 27 frac 1 45 frac 1 55 frac 1 22 frac 1 34 approx 33 0179836 dd mchchimthwip mchchimkalng generalized mean hruxruckkninchux mchchimkalng power mean hrux mchchimehiledxr Holder mean khuxphawanamthrrmkhxngmchchimkalngsxng elkhkhnit erkhakhnit aelaharmxnik sungniyamody x m 1n i 1nxim 1 m displaystyle bar x m left frac 1 n cdot sum i 1 n x i m right 1 m dd odykareluxkkha m thitxngkarepnpharamietxr m caid m 2 caid m 1 caid mchchimelkhkhnit m 0 caid mchchimerkhakhnit m 1 caid mchchimharmxnik m caidmchchimkungelkhkhnit quasi arithmetic mean hrux generalized f mean epnmchchimthimikhwamthwipmakkhunipkwamchchimkalng niyamody x f 1 1n i 1nf xi displaystyle bar x f 1 left frac 1 n cdot sum i 1 n f x i right dd odykareluxkfngkchn f thimixinewirs epnpharamietxr f x x displaystyle f x x caid mchchimelkhkhnit f x 1x displaystyle f x frac 1 x caid mchchimharmxnik f x xm displaystyle f x x m caid mchchimkalng f x ln x displaystyle f x ln x caid mchchimerkhakhnitmchchimthwngnahnk hrux khaechliythwngnahnk odypkticaepnmchchimelkhkhnitthithwngnahnk caichinkrnithitxngkarphsankhakhxngnahnkkhxmulekhakbkhaechliy caktwxyangsuminprachakrediywkndwykhnadthiaetktangkn x i 1nwi xi i 1nwi displaystyle bar x frac sum i 1 n w i cdot x i sum i 1 n w i dd sung wi aethnkhanahnkkhxngkhxmulkhxngaetlatwxangxingsakhawichawithyakarcdkar mhawithyalysuokhthythrrmathirach 9 1 karwdaenwonmekhasuswnklang exksarkarsxnchudwichakhnitsastraelasthitiephuxthurkic hnwythi 8 15 phimphkhrngthi 23 krungethph sankphimphmhawithyalysuokhthythrrmathirach 2552 hna 472 488 ISBN 974 613 367 5