พหุนิยม (Pluralism) เป็นหนึ่งในบรรดาคำหลายๆ คำที่ถูกหยิบยกไปใช้อย่างกว้างขวางในแทบจะทุกสาขา แต่โดยรวมแล้วจะมีนัยหมายถึงชุดของแนวคิดที่รับรู้ว่ามีความแตกต่างด้านแนวคิดอยู่ในสังคม และสนับสนุนในความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดเหล่านั้น รวมไปถึงต่อต้านการผูกขาดการตีความ หรือ การครอบงำโดยแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงแนวคิดเดียว เช่น พหุวัฒนธรรม (cultural pluralism) นั้นสนับสนุนแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และไม่ยอมรับการครอบงำด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง หรือ พหุนิยมเชิงญาณวิทยา (epistemological pluralism) ที่มองว่าองค์ความรู้นั้นมีวิธีการอธิบาย และเข้าถึงตัวองค์ความรู้ได้หลากหลายวิธี โดยมิได้ถูกครอบงำด้วยวิธี และรูปแบบการอธิบายของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งเพียงสำนักเดียว (Kurian, 2011: 1213)
อรรถาธิบาย
อเล็กซิส เดอ ต๊อกเกอร์วิลล์ (Alexis de Tocqueville) ชาวฝรั่งเศสผู้ได้ไปศึกษาสังคมอเมริกัน และได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เขาประสบพบเจอลงในหนังสือ “ประชาธิปไตยในอเมริกา” (Democracy in America) ที่มีใจความตอนหนึ่งอธิบายว่าสังคมอเมริกันนั้นมีลักษณะเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มสมาคมทางการเมือง (political association) โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยสมาคมเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวกันของอเมริกันชนเพื่อก่อให้เกิดพลังในการเคลื่อนไหว หรือ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน (Tocqueville, 2002: 180-186) ซึ่งจากคำอธิบายของต๊อกเกอวิลล์นั้น แม้เขาจะไม่ได้กล่าวออกมาตรงๆ แต่ดูเหมือนว่าต๊อกเกอวิลล์กำลังจะบอกผู้อ่านว่าสังคมอเมริกัน (ขณะนั้น) มีลักษณะเป็นสังคมพหุนิยมทางการเมืองในความหมายที่เราๆ ท่านๆ เข้าใจกันในปัจจุบันนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเปรียบเทียบกับบทบาทของภาคประชาสังคมในโลกสมัยใหม่ที่ได้เข้ามาเป็นพลังหลักที่มีบทบาทในการผลักดันทางการเมืองแทนการกำหนดวาระเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแทนที่วิธีคิดแบบชนชั้นนำทางการเมืองที่มีมาแต่เดิม
โดยคำว่าพหุนิยมในทางทฤษฎีการเมืองที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย คริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) ซึ่งได้ถูกหยิบยืมไปใช้อธิบายสังคมอย่างกว้างขวางในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศที่คุกกรุ่นไปด้วยบรรยากาศของการเดินขบวน และการประท้วงของสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อต่อต้านนายทุนผูกขาดในประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างตลบอบอวล และท่ามกลางบริบททางสังคมการเมืองเช่นนี้นี่เองที่ทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ - กลุ่มผลักดัน (interest - pressure group theory) ได้ถูกพัฒนาขึ้น และนำมาใช้อธิบายสังคม โดยเฉพาะสังคมอเมริกันอย่างชัดเจน และแพร่หลาย (Kurian, 2011: 1213; Badie, 2011: 1867 - 1868) โดยกลุ่มทางการเมืองเหล่านี้จะได้ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล และอำนาจต่อรองที่ทัดเทียมกันกับภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมก็หลังจากที่มีการประกาศนโยบาย “นิว ดีล” (New Deal) ในช่วงทศวรรษ 1930 โดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ซึ่งการก้าวเข้ามามีบทบาทในด้านการเจรจาต่อรองกับรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะของกลุ่มผลประโยชน์อันแตกต่างหลากหลายที่แข่งขันกันในสังคมอเมริกันนี่เองที่เป็นหัวใจของแนวคิดพหุนิยมทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับแต่นั้น
ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย
ท่ามกลางกระแสธารของการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในชั่วระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ยังผลให้ประเทศไทยปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ และอำนาจสูงสุดทางการเมือง หรือ อำนาจอธิปไตยก็มีที่มาจากเบื้องล่างคือประชาชน แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงตัวอักษรที่รจนาไว้ในรัฐธรรมนูญมากกว่าเป็นสิ่งที่การเมืองไทยในโลกแห่งความเป็นจริงดำเนินไป นั่นก็เพราะอำนาจทางการเมืองไทยนับแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงวนเวียนอยู่กับการต่อสู้ของบรรดาชนชั้นนำทางการเมืองไม่กี่กลุ่ม อาทิ กลุ่มคณะราษฎร กลุ่มอนุรักษ์นิยมเจ้า หรือ กลุ่มคณะทหาร เป็นต้น
แม้ในช่วงทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523 - 2533) ประเทศไทยจะเริ่มปรับตัวเข้าหากระแสทุนนิยมของค่ายโลกเสรีมากยิ่งขึ้น ยังผลให้เกิดกลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจต่างๆ ขึ้นในสังคมไทยมากมาย แต่ด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่ยังยึดติดอยู่กับระบอบอุปถัมภ์ ตลอดจนนโยบายพัฒนาประเทศแบบเน้นการพัฒนาจากส่วนกลาง และการรวมศูนย์อำนาจตลอดจนความมั่งคั่งไว้ที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงเป็นหลัก ประกอบกับการประสบวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ก็ได้ทำให้กลุ่มทุนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ถือโอกาสเติบโตขึ้นบนซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจของประเทศ และก้าวเข้ามามีอิทธิพลในทางการเมืองไทยเป็นอย่างมากในแทบจะทุกยุคทุกสมัยหลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน เช่น การมีบทบาทในการส่งตัวแทนเข้าไปนั่งทำงานในตำแหน่งสำคัญภายในคณะรัฐมนตรีหลายสมัยติดต่อกันของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านสินค้าเกษตรกรรมอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี (CP) เป็นต้น (กลุ่มติดตามบทบาทบรรษัท, 2552: 26)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าอำนาจทางการเมืองของไทยนั้น หากมองโดยผิวเผินก็อาจพบว่ามีการแข่งขันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มีตัวแทนอยู่ในสภาหอการค้าไทย กล่าวคือ ดูเหมือนว่าจะมีภาพที่เป็นพหุนิยมในทางการเมืองระดับหนึ่ง จากการที่กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ที่หลากหลายในสังคมนั้นได้เติบโตขึ้นในสังคมไทย จนสามารถเข้ามามีบทบาท และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่ทว่าหากพิจารณาให้ลึกลงไปแล้วกลับพบว่าแท้จริงแล้ว ผู้ที่มีอำนาจสำคัญในการผลักดันให้มีการออกนโยบายสาธารณะนั้นกลับถูกผูกขาดโดยกลุ่มคน หรือ กลุ่มบรรษัทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีเครือข่าย และอิงแอบกับชนชั้นนำทางการเมืองในระบบการเมืองทั้งสิ้น
สภาพทางการเมืองดังกล่าวของไทยจึงคล้ายกับสิ่งที่นักวิชาการตะวันตกอย่าง เอลเมอร์ เอริค แชทชไนเดอร์ (Elmer Eric Schattschneider) เรียกว่า “พหุนิยมชนชั้นนำ” (elite pluralism) กล่าวคือ แชทชไนเดอร์พยายามเปรียบเปรยแนวคิดพหุนิยมว่ามีสภาพคล้ายคลึงกับวงดนตรีที่แม้จะมีเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด แต่ก็ยังต้องอาศัยวาทยกร (conductor) หรือจำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีนำ (concertmaster) เสมอ ดังเช่นในกรณีของวงออร์เคสตรา (ซึ่งส่วนมากจะเป็นไวโอลินตัวแรกที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของวาทยกร) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้แชทชไนเดอร์จึงได้พยายามนำเสนอแนวคิดที่ผสมผสานกันระหว่างแนวคิดพหุนิยม และแนวคิดชนชั้นนำทางการเมืองในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง โดยเขามองว่าแม้นโยบายสาธารณะจะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการแข่งขันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ แต่แท้ที่จริงแล้วกลับแฝงไว้ด้วยวิธีคิดของชนชั้นนำที่ยังคงมีอิทธิพลอยู่ทั้งภายในกลุ่มผลประโยชน์เอง และระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ด้วยกันที่จะมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่จะสามารถมีอำนาจและอิทธิพลเพียงพอที่จะสามารถเจรจาต่อรองกับรัฐบาลเพื่อให้ภาครัฐเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเชิงนโยบายได้ (Schattschneider, 1975: XIX)
หนึ่งในบรรดาข้อถกเถียงที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในวงการศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่ก็คือ ข้อถกเถียงเกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองระหว่างทฤษฎีพหุนิยม กับ ทฤษฎีชนชั้นนำทางการเมือง (elitism) เพราะในขณะที่แนวคิดพหุนิยมนั้นมองว่าอำนาจทางการเมืองนั้น “กระจาย” ตัวไปตามกลุ่มผลประโยชน์ – กลุ่มผลักดันที่แข่งขันกันในการเข้ามามีอิทธิพลต่อการออกนโยบายสาธารณะของรัฐ (Dahl, 1971) ตรงกันข้าม แนวคิดชนชั้นนำทางการเมืองนั้นกลับมองอำนาจทางการเมืองว่า “กระจุก” ตัวอยู่ที่ชนชั้นนำเพียงไม่กี่คน หรือ ไม่กี่รูปแบบ เช่น ทหาร นายทุน และนักการเมือง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลในการกดปุ่มบังคับบัญชาทุกสิ่งทุกอย่างในการออกนโยบายสาธารณะของรัฐ (Mills, 1960: 276) โดยแนวคิดสองแนวนี้ยังคงเป็นแนวคิดหลัก ที่ต่อสู้ และขับเคี่ยวกันในเชิงความคิดเพื่อช่วงชิงความสามารถในการอธิบายการเมือง และสังคม ของทั้งอเมริกัน และนานาประเทศทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
- Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
- Tocqueville, Alexis de (2000). Democracy in America. Chicago: The University of Chicago Press.
- Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
- Badie, Bertrand, Dirk Berg-Schlosser, and Leonardo Morlino (2011). International encyclopedia of political science. Thousand Oaks, Calif. : SAGE Publications.
- กลุ่มติดตามบทบาทบรรษัท (2552). ซีพีกับเกษตรกรรมไทย. นนทบุรี: มูลนิธิชีววิถี.
- Schattschneider, Elmer Eric (1975). The semisovereign people. Illinois: The Dryden Press.
- Dahl, Robert (1971). Polyarchy participation and opposition. London: Yale University Press.
- Wright Mills, Charles (1960). The power elite. New York: Oxford University Press.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phhuniym Pluralism epnhnunginbrrdakhahlay khathithukhyibykipichxyangkwangkhwanginaethbcathuksakha aetodyrwmaelwcaminyhmaythungchudkhxngaenwkhidthirbruwamikhwamaetktangdanaenwkhidxyuinsngkhm aelasnbsnuninkhwamaetktanghlakhlaythangaenwkhidehlann rwmipthungtxtankarphukkhadkartikhwam hrux karkhrxbngaodyaenwkhididaenwkhidhnungephiyngaenwkhidediyw echn phhuwthnthrrm cultural pluralism nnsnbsnunaenwkhidthiihkhwamsakhykbkhwamaetktanghlakhlaythangdanwthnthrrm aelaimyxmrbkarkhrxbngadwyxiththiphlkhxngwthnthrrmidwthnthrrmhnung hrux phhuniymechingyanwithya epistemological pluralism thimxngwaxngkhkhwamrunnmiwithikarxthibay aelaekhathungtwxngkhkhwamruidhlakhlaywithi odymiidthukkhrxbngadwywithi aelarupaebbkarxthibaykhxngsankkhididsankkhidhnungephiyngsankediyw Kurian 2011 1213 xrrthathibayxelksis edx txkekxrwill Alexis de Tocqueville chawfrngessphuidipsuksasngkhmxemrikn aelaidthaythxderuxngrawthiekhaprasbphbecxlnginhnngsux prachathipityinxemrika Democracy in America thimiickhwamtxnhnungxthibaywasngkhmxemriknnnmilksnaepnsngkhmthietmipdwyklumsmakhmthangkaremuxng political association odythwipinchiwitpracawn odysmakhmehlaniekidcakkarrwmtwknkhxngxemriknchnephuxkxihekidphlnginkarekhluxnihw hrux txsuephuxeriykrxngbangsingbangxyangthiepnepahmayrwmkn Tocqueville 2002 180 186 sungcakkhaxthibaykhxngtxkekxwillnn aemekhacaimidklawxxkmatrng aetduehmuxnwatxkekxwillkalngcabxkphuxanwasngkhmxemrikn khnann milksnaepnsngkhmphhuniymthangkaremuxnginkhwamhmaythiera than ekhaickninpccubnnnexng odyechphaaxyangyinghakepriybethiybkbbthbathkhxngphakhprachasngkhminolksmyihmthiidekhamaepnphlnghlkthimibthbathinkarphlkdnthangkaremuxngaethnkarkahndwaraekiywkbnoybaysatharnaaethnthiwithikhidaebbchnchnnathangkaremuxngthimimaaetedim odykhawaphhuniyminthangthvsdikaremuxngthieraekhaickninpccubnnnthuknamaichkhrngaerkody khrisetiyn owlf Christian Wolff sungidthukhyibyumipichxthibaysngkhmxyangkwangkhwanginchwngtnkhriststwrrsthi 20 odyechphaainpraethsxngkvs aelashrthxemrika sunginkhnannepnpraethsthikhukkrunipdwybrryakaskhxngkaredinkhbwn aelakarprathwngkhxngshphaphaerngngantang ephuxtxtannaythunphukkhadinpraethsxutsahkrrmkhnadihyxyangtlbxbxwl aelathamklangbribththangsngkhmkaremuxngechnniniexngthithvsdiklumphlpraoychn klumphlkdn interest pressure group theory idthukphthnakhun aelanamaichxthibaysngkhm odyechphaasngkhmxemriknxyangchdecn aelaaephrhlay Kurian 2011 1213 Badie 2011 1867 1868 odyklumthangkaremuxngehlanicaidkawkhunmamixiththiphl aelaxanactxrxngthithdethiymknkbphakhthurkic aelaphakhxutsahkrrmkhlngcakthimikarprakasnoybay niw dil New Deal inchwngthswrrs 1930 odyprathanathibdiaefrngklin di rusewlth Franklin D Roosevelt sungkarkawekhamamibthbathindankarecrcatxrxngkbrthinkarkahndnoybaysatharnakhxngklumphlpraoychnxnaetktanghlakhlaythiaekhngkhnkninsngkhmxemriknniexngthiepnhwickhxngaenwkhidphhuniymthangkaremuxngthiekidkhunnbaetnntwxyangkarnaipichinpraethsithythamklangkraaestharkhxngkarphthnaprachathipityithyinchwrayaewla 80 pithiphanmanbtngaetmikarepliynaeplngkarpkkhrxnginpi ph s 2475 thiyngphlihpraethsithypkkhrxngodyrabxbrththrrmnuy aelaxanacsungsudthangkaremuxng hrux xanacxthipitykmithimacakebuxnglangkhuxprachachn aetsingtang ehlanikduehmuxncaepnephiyngtwxksrthircnaiwinrththrrmnuymakkwaepnsingthikaremuxngithyinolkaehngkhwamepncringdaeninip nnkephraaxanacthangkaremuxngithynbaethlngkarepliynaeplngkarpkkhrxngkyngkhngwnewiynxyukbkartxsukhxngbrrdachnchnnathangkaremuxngimkiklum xathi klumkhnarasdr klumxnurksniymeca hrux klumkhnathhar epntn aeminchwngthswrrs 1980 ph s 2523 2533 praethsithycaerimprbtwekhahakraaesthunniymkhxngkhayolkesrimakyingkhun yngphlihekidklumthun klumthurkictang khuninsngkhmithymakmay aetdwyokhrngsrangkhwamsmphnthkhxngkhninsngkhmthiyngyudtidxyukbrabxbxupthmph tlxdcnnoybayphthnapraethsaebbennkarphthnacakswnklang aelakarrwmsunyxanactlxdcnkhwammngkhngiwthikrungethphmhankhrsungepnemuxnghlwngepnhlk prakxbkbkarprasbwikvtiesrsthkickhrngihyinpi ph s 2540 kidthaihklumthunephiyngbangklumethannthithuxoxkasetibotkhunbnsakprkhkphngthangesrsthkickhxngpraeths aelakawekhamamixiththiphlinthangkaremuxngithyepnxyangmakinaethbcathukyukhthuksmyhlngcaknncnthungpccubn echn karmibthbathinkarsngtwaethnekhaipnngthanganintaaehnngsakhyphayinkhnarthmntrihlaysmytidtxknkhxngbristhyksihythangdansinkhaekstrkrrmxyangekhruxecriyophkhphnth hrux siphi CP epntn klumtidtambthbathbrrsth 2552 26 dngnn caehnidwaxanacthangkaremuxngkhxngithynn hakmxngodyphiwephinkxacphbwamikaraekhngkhnrahwangklumphlpraoychn khux klumthurkictang thimitwaethnxyuinsphahxkarkhaithy klawkhux duehmuxnwacamiphaphthiepnphhuniyminthangkaremuxngradbhnung cakkarthiklumthurkic aelaklumphlpraoychntang thixangwaepntwaethnkhxngphlpraoychnthihlakhlayinsngkhmnnidetibotkhuninsngkhmithy cnsamarthekhamamibthbath aelaepnswnhnungkhxngkrabwnkarkahndnoybaysatharna aetthwahakphicarnaihluklngipaelwklbphbwaaethcringaelw phuthimixanacsakhyinkarphlkdnihmikarxxknoybaysatharnannklbthukphukkhadodyklumkhn hrux klumbrrsthephiyngimkirayethann sungklumkhnehlaniklwnaelwaetmiekhruxkhay aelaxingaexbkbchnchnnathangkaremuxnginrabbkaremuxngthngsin sphaphthangkaremuxngdngklawkhxngithycungkhlaykbsingthinkwichakartawntkxyang exlemxr exrikh aechthchinedxr Elmer Eric Schattschneider eriykwa phhuniymchnchnna elite pluralism klawkhux aechthchinedxrphyayamepriybepryaenwkhidphhuniymwamisphaphkhlaykhlungkbwngdntrithiaemcamiekhruxngdntrihlakhlaychnid aetkyngtxngxasywathykr conductor hruxcaepntxngmiekhruxngdntrina concertmaster esmx dngechninkrnikhxngwngxxrekhstra sungswnmakcaepniwoxlintwaerkthixyuthangdansaymuxkhxngwathykr epntn dwyehtuniaechthchinedxrcungidphyayamnaesnxaenwkhidthiphsmphsanknrahwangaenwkhidphhuniym aelaaenwkhidchnchnnathangkaremuxnginkarxthibaypraktkarnthangkaremuxng odyekhamxngwaaemnoybaysatharnacaepnphllphththiekidcakkaraekhngkhnrahwangklumphlpraoychntang aetaeththicringaelwklbaefngiwdwywithikhidkhxngchnchnnathiyngkhngmixiththiphlxyuthngphayinklumphlpraoychnexng aelarahwangklumphlpraoychndwyknthicamiephiyngimkiklumethannthicasamarthmixanacaelaxiththiphlephiyngphxthicasamarthecrcatxrxngkbrthbalephuxihphakhrthepliynaeplngkartdsinicechingnoybayid Schattschneider 1975 XIX hnunginbrrdakhxthkethiyngthisakhythisudprakarhnunginwngkarsuksarthsastrsmyihmkkhux khxthkethiyngekiywkbxanacthangkaremuxngrahwangthvsdiphhuniym kb thvsdichnchnnathangkaremuxng elitism ephraainkhnathiaenwkhidphhuniymnnmxngwaxanacthangkaremuxngnn kracay twiptamklumphlpraoychn klumphlkdnthiaekhngkhnkninkarekhamamixiththiphltxkarxxknoybaysatharnakhxngrth Dahl 1971 trngknkham aenwkhidchnchnnathangkaremuxngnnklbmxngxanacthangkaremuxngwa kracuk twxyuthichnchnnaephiyngimkikhn hrux imkirupaebb echn thhar naythun aelankkaremuxng sungbukhkhlehlanilwnaelwaetmixiththiphlinkarkdpumbngkhbbychathuksingthukxyanginkarxxknoybaysatharnakhxngrth Mills 1960 276 odyaenwkhidsxngaenwniyngkhngepnaenwkhidhlk thitxsu aelakhbekhiywkninechingkhwamkhidephuxchwngchingkhwamsamarthinkarxthibaykaremuxng aelasngkhm khxngthngxemrikn aelananapraethsthwolk rwmthngpraethsithy macnkrathngthungpccubnxangxingKurian George Thomas 2011 The encyclopedia of political science Washington CQ Press Tocqueville Alexis de 2000 Democracy in America Chicago The University of Chicago Press Kurian George Thomas 2011 The encyclopedia of political science Washington CQ Press Badie Bertrand Dirk Berg Schlosser and Leonardo Morlino 2011 International encyclopedia of political science Thousand Oaks Calif SAGE Publications klumtidtambthbathbrrsth 2552 siphikbekstrkrrmithy nnthburi mulnithichiwwithi Schattschneider Elmer Eric 1975 The semisovereign people Illinois The Dryden Press Dahl Robert 1971 Polyarchy participation and opposition London Yale University Press Wright Mills Charles 1960 The power elite New York Oxford University Press