ซนโนโจอิ (ญี่ปุ่น: 尊皇攘夷; โรมาจิ: そんのうじょうい; : Sonnō jōi; "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน") เป็นชื่อของปรัชญาการเมืองและของญี่ปุ่นที่มีรากฐานมาจาก (Neo-Confucianism) ซึ่งได้กลายเป็นคำขวัญทางการเมืองในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 - 1860 ในความพยายามล้มล้างรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงยุคบะคุมะสึ
กำเนิด
คำขวัญ "ซนโนโจอิ" (ในรูปอักษรคันจิเขียน 尊王攘夷 หรือ 尊皇攘夷 เสียงภาษาจีนกลางคือ ซุนหวังหรั่งอี้ zūnwáng rǎngyí) มีจุดกำเนิดในจีนสมัยโบราณจากฉีหวนกง ผู้ปกครองรัฐฉีในยุคชุนชิว ในสมัยนั้นราชวงศ์โจวตะวันออกได้สูญเสียอำนาจการควบคุมบรรดารัฐสามนตราชและเผชิญกับการรุกรานของชนเผ่าต่างชาตินอกด่านบ่อยครั้ง ฉีหวนกงได้เริ่มใช้คำขวัญดังกล่าวอย่างเปิดเผยเพื่อเรียกร้องให้บรรดาเจ้าผู้ครองรัฐสามนตราชอื่นๆ เคารพยำเกรงต่อราชวงศ์โจว ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วฉีหวนกงเองก็เคยใช้อำนาจของตนครอบงำบรรดารัฐเหล่านั้นและเมินเฉยต่ออำนาจสูงสุดของราชสำนักโจวก็ตาม
ในประเทศญี่ปุ่น ปรัชญาดังกล่าวสามารถสืบหาร่องรอยได้จากงานเขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ของ และ บัณฑิตใน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์จักรพรรดิญี่ปุ่นและฐานะอันสูงส่งของราชวงศ์ในการปกครองชนชาติอื่น แนวคิดดังกล่าวได้รับการขยายโดย บัณฑิตแห่งสำนักคิด "โคะคุกะคุ" (國學/国学; "การศึกษาเกี่ยวกับชาติ") และพบได้ในทฤษฎี "ซนโนรง" (尊皇論 sonnōron) ของ ซึ่งว่าด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุดต่อจักรพรรดิ ซึ่งบอกเป็นนัยว่าผู้ที่มีความจงรักภักดีน้อยนั้นควรยกให้รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะเป็นผู้ปกครอง
บัณฑิตชาวแคว้นมิโตะ ได้เริ่มนำวลี "ซนโนโจอิ" เข้ามาใช้ในญี่ปุ่นสมัยใหม่ผ่านงานเขียนของตนชื่อ "ชินรง" ในปี ค.ศ. 1825 โดยที่คำว่า "ซนโน" หมายถึง แสดงออกต่อความเคารพนับถือของรัฐบาลโชกุนที่มีต่อองค์จักรพรรดิ และ "โจอิ" หมายถึงการประณามต่อต้านศาสนาคริสต์
อิทธิพล
จากการรุกล้ำน่านน้ำญี่ปุ่นของเรือสินค้าต่างชาติที่มีมากขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นโยบายปิดประเทศ () จึงถูกตั้งคำถามมากยิ่งขึ้น วลี "โจอิ" (ขับคนป่าเถื่อน) ได้กลายเป็นปฏิกิริยาต่อต้านสนธิสัญญาคะนะงะวะ ซึ่งบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาวต่างชาติในปี ค.ศ. 1853 ภายใต้การคุกคามทางการทหารของพลเรือจัตวา ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "" นั้น การลงนามในสนธิสัญญาได้เกิดขึ้นภายใต้การคุกคามขู่เข็ญและการคัดค้านอย่างรุนแรงจากซามูไรหลายกลุ่ม ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะไร้ซึ่งอำนาจในการต่อต้านชาวต่างชาติแม้ว่าทางราชสำนักจะแสดงเจตจำนงดังกล่าวออกมาอย่างชัดเจนก็ตาม ได้กลายเป็นสิ่งที่ และผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลโทะกุงะวะอื่นๆ ชี้ว่าหลักการ "ซนโน" (เทิดทูนจักรพรรดิ) ในปรัชญาดังกล่าวไม่ทำงาน และรัฐบาลโชกุน (บะคุฟุ) จะต้องถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลที่สามารถแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิได้มากกว่านี้ด้วยการตอบสนองตามเจตจำนงขององค์จักรพรรดิ
หลักปรัชญาซนโนโจอิจึงได้ถูกนำมาปรับใช้เป็นคำประกาศออกศึก (battle cry) ของกลุ่มกบฏแคว้นโจชูและแคว้นซะสึมะ ซึ่งทางราชสำนักที่เกียวโตก็มีท่าทีเข้าข้างขบวนการข้างต้นอย่างไม่น่าประหลาดใจนัก จักรพรรดิโคเมทรงเห็นด้วยในความรู้สึกดังกล่าวเป็นการส่วนพระองค์ และทรงทำลายธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักที่มีมานานนับร้อยปีด้วยการเข้ามามีบทบาทในกิจการของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ทรงอาศัยโอกาสดังกล่าววิพากษ์วิจารณ์สนธิสัญญาต่างๆ อย่างรุนแรงและพยายามเข้าแทรกแซงการสืบทอดตำแหน่งโชกุน ความพยายามของพระองค์มาถึงจุดสูงสุดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1863 ด้วยการออก "พระราชโองการขับไล่ชาวป่าเถื่อน" (攘夷勅命) ถึงแม้รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะจะไม่มีความตั้งใจปฏิบัติตามพระราชโองการดังกล่าว แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้จุดประกายให้เกิดการสู้รบต่อต้านตัวรัฐบาลโชกุนเองและต่อต้านชาวต่างชาติที่อยู่ในญี่ปุ่น กรณีดังกล่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกรณีการตายของพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ล เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน อันเกิดจากการถูกกล่าวหาว่าไม่แสดงความเคารพต่อไดเมียวผู้หนึ่ง เป็นเหตุให้รัฐบาลโชกุนต้องชดใช้สินไหมให้แก่รัฐบาลอังกฤษเป็นเงินถึง 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนี้ยังรวมถึงการโจมตีเรือสินค้าต่างชาติที่ชิโมะโนะเซะกิอีกด้วย ส่วนซามูไรไร้นายหรือโรนิน ก็ได้รวมตัวกันเพื่อเป้าหมายคือ การลอบสังหารชาวต่างชาติและข้าราชการของรัฐบาลโชกุน
สิ่งนี้ได้ทำให้จุดสูงสุดของขบวนการ "ซนโนโจอิ" ผ่านพ้นไป เนื่องจากมหาอำนาจชาติตะวันตกได้ตอบสนองด้วยการเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงคราม และตามด้วยการระดมยิงถล่มเมืองคะโงะชิมะ เมืองเอกของแคว้นซะสึมะ เมื่อข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่มีการตอบสนอง ในขณะที่เหตุดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นมิอาจสู้กับอำนาจการทหารของชาติตะวันตกได้ แต่ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของรัฐบาลโชกุนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การกบฏในหัวเมืองพันธมิตรต่างๆ และการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลในการฟื้นฟูสมัยเมจิ
ตัวคำขวัญ "ซนโนโจอิ" แท้จริงแล้วไม่เคยได้ใช้เป็นนโยบายรัฐบาลหรือกลุ่มกบฏใดๆ เลย เป็นแต่เพียงวาทกรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคว้นซะสึมะนั้นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาติตะวันตกจากการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่และเทคโนโลยีต่างๆ
สิ่งสืบทอด
หลังจากที่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการฟื้นฟูพระราชอำนาจของจักรพรรดิเมจิ คำขวัญ "ซนโนโจอิ" ได้ถูกแทนที่ด้วยวลี "" (富国強兵) หรือ "ประเทศมั่งคั่ง กำลังทัพเข้มแข็ง" ซึ่งเป็นคำขวัญในการรณรงค์เพื่อสร้างชาติในยุคเมจิ และจะเป็นเมล็ดพันธุ์ของการเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หมายเหตุ
- Jansen, pp. 314-5.
- Hagiwara, p. 35.
อ้างอิง
- Akamatsu, Paul. (1972). Meiji 1868: Revolution and Counter-Revolution in Japan (Miriam Kochan, translator). New York: Harper & Row.
- (1972). The Meiji Restoration. Stanford: Stanford University Press.
- (1961). Chōshū in the Meiji Restoration. Cambridge: Harvard University Press.
- and Gilbert Rozman, eds. (1986). Japan in Transition: from Tokugawa to Meiji. Princeton: . 10-/13-; OCLC 12311985
- ____________. (2000). The Making of Modern Japan. Cambridge: . 10-/13-; OCLC 44090600
- Shiba, Ryotaro. (1998). The Last Shogun: The Life of Tokugawa Yoshinobu. Tokyo: Kodansha.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha snonocxi yipun 尊皇攘夷 ormaci そんのうじょうい thbsphth Sonnō jōi ethidthunckrphrrdi khbkhnpaethuxn epnchuxkhxngprchyakaremuxngaelakhxngyipunthimirakthanmacak Neo Confucianism sungidklayepnkhakhwythangkaremuxnginchwngkhristthswrrsthi 1850 1860 inkhwamphyayamlmlangrthbalochkunothakungawainchwngyukhbakhumasuphaphphimphyipuninpi kh s 1861 aesdngxxkthungkartxtankhntangchati ocxi 攘夷 khbkhnpaethuxn kaenidkhakhwy snonocxi inrupxksrkhnciekhiyn 尊王攘夷 hrux 尊皇攘夷 esiyngphasacinklangkhux sunhwnghrngxi zunwang rǎngyi micudkaenidincinsmyobrancakchihwnkng phupkkhrxngrthchiinyukhchunchiw insmynnrachwngsocwtawnxxkidsuyesiyxanackarkhwbkhumbrrdarthsamntrachaelaephchiykbkarrukrankhxngchnephatangchatinxkdanbxykhrng chihwnkngiderimichkhakhwydngklawxyangepidephyephuxeriykrxngihbrrdaecaphukhrxngrthsamntrachxun ekharphyaekrngtxrachwngsocw thungaemwainkhwamepncringaelwchihwnkngexngkekhyichxanackhxngtnkhrxbngabrrdarthehlannaelaeminechytxxanacsungsudkhxngrachsankocwktam inpraethsyipun prchyadngklawsamarthsubharxngrxyidcaknganekhiyninchwngkhriststwrrsthi 17 khxng aela bnthitin sungmienuxhaekiywkbkhwamskdisiththikhxngrachwngsckrphrrdiyipunaelathanaxnsungsngkhxngrachwngsinkarpkkhrxngchnchatixun aenwkhiddngklawidrbkarkhyayody bnthitaehngsankkhid okhakhukakhu 國學 国学 karsuksaekiywkbchati aelaphbidinthvsdi snonrng 尊皇論 sonnōron khxng sungwadwykhwamcngrkphkdixyangsungsudtxckrphrrdi sungbxkepnnywaphuthimikhwamcngrkphkdinxynnkhwrykihrthbalochkunothakungawaepnphupkkhrxng bnthitchawaekhwnmiota iderimnawli snonocxi ekhamaichinyipunsmyihmphannganekhiynkhxngtnchux chinrng inpi kh s 1825 odythikhawa snon hmaythung aesdngxxktxkhwamekharphnbthuxkhxngrthbalochkunthimitxxngkhckrphrrdi aela ocxi hmaythungkarpranamtxtansasnakhristxiththiphlphlnganphaphphimphaekaimkhxng aesdngphaphsamuirphayitthngkhakhwy snonocxi rahwangehtukarn inpi kh s 1864ehtukarnthinamamuki sungepnehtuihphxkhachawxngkvschux charl elnnxks richardsn esiychiwitemuxwnthi 14 knyayn kh s 1862 cakkarruklanannayipunkhxngeruxsinkhatangchatithimimakkhuninchwngplaykhriststwrrsthi 18 aelatnkhriststwrrsthi 19 noybaypidpraeths cungthuktngkhathammakyingkhun wli ocxi khbkhnpaethuxn idklayepnptikiriyatxtansnthisyyakhanangawa sungbngkhbihyipunepidpraethskhakhaykbchawtangchatiinpi kh s 1853 phayitkarkhukkhamthangkarthharkhxngphleruxctwa sungepnthiruckinchux nn karlngnaminsnthisyyaidekidkhunphayitkarkhukkhamkhuekhyaelakarkhdkhanxyangrunaerngcaksamuirhlayklum khxethccringthiwarthbalochkunothakungawairsungxanacinkartxtanchawtangchatiaemwathangrachsankcaaesdngectcanngdngklawxxkmaxyangchdecnktam idklayepnsingthi aelaphunaklumtxtanrthbalothakungawaxun chiwahlkkar snon ethidthunckrphrrdi inprchyadngklawimthangan aelarthbalochkun bakhufu catxngthukaethnthidwyrthbalthisamarthaesdngkhwamcngrkphkditxckrphrrdiidmakkwanidwykartxbsnxngtamectcanngkhxngxngkhckrphrrdi hlkprchyasnonocxicungidthuknamaprbichepnkhaprakasxxksuk battle cry khxngklumkbtaekhwnocchuaelaaekhwnsasuma sungthangrachsankthiekiywotkmithathiekhakhangkhbwnkarkhangtnxyangimnaprahladicnk ckrphrrdiokhemthrngehndwyinkhwamrusukdngklawepnkarswnphraxngkh aelathrngthalaythrrmeniymptibtikhxngrachsankthimimanannbrxypidwykarekhamamibthbathinkickarkhxngrthxyangepnrupthrrm thrngxasyoxkasdngklawwiphakswicarnsnthisyyatang xyangrunaerngaelaphyayamekhaaethrkaesngkarsubthxdtaaehnngochkun khwamphyayamkhxngphraxngkhmathungcudsungsudineduxnminakhm kh s 1863 dwykarxxk phrarachoxngkarkhbilchawpaethuxn 攘夷勅命 thungaemrthbalochkunothakungawacaimmikhwamtngicptibtitamphrarachoxngkardngklaw aetxyangnxythisudkidcudprakayihekidkarsurbtxtantwrthbalochkunexngaelatxtanchawtangchatithixyuinyipun krnidngklawthimichuxesiyngthisudkhuxkrnikartaykhxngphxkhachawxngkvschux charl elnnxks richardsn xnekidcakkarthukklawhawaimaesdngkhwamekharphtxidemiywphuhnung epnehtuihrthbalochkuntxngchdichsinihmihaekrthbalxngkvsepnenginthung 100 000 pxndsetxrling nxkcakniyngrwmthungkarocmtieruxsinkhatangchatithichiomaonaesakixikdwy swnsamuirirnayhruxornin kidrwmtwknephuxepahmaykhux karlxbsngharchawtangchatiaelakharachkarkhxngrthbalochkun singniidthaihcudsungsudkhxngkhbwnkar snonocxi phanphnip enuxngcakmhaxanacchatitawntkidtxbsnxngdwykareriykrxngkhaptikrrmsngkhram aelatamdwykarradmyingthlmemuxngkhaongachima emuxngexkkhxngaekhwnsasuma emuxkhxeriykrxngdngklawimmikartxbsnxng inkhnathiehtudngklawaesdngihehnwayipunmixacsukbxanackarthharkhxngchatitawntkid aetkyngsathxnihehnthungkhwamxxnaexkhxngrthbalochkunmakyingkhun naipsukarkbtinhwemuxngphnthmitrtang aelakarsinsudxanackhxngrthbalinkarfunfusmyemci twkhakhwy snonocxi aethcringaelwimekhyidichepnnoybayrthbalhruxklumkbtid ely epnaetephiyngwathkrrmxyanghnungethann odyechphaaxyangyingaekhwnsasumannmikhwamsmphnththiiklchidkbchatitawntkcakkarsuxxawuthyuthothpkrnsmyihmaelaethkhonolyitangsingsubthxdhlngcakthiklayepnsylksnaehngkarfunfuphrarachxanackhxngckrphrrdiemci khakhwy snonocxi idthukaethnthidwywli 富国強兵 hrux praethsmngkhng kalngthphekhmaekhng sungepnkhakhwyinkarrnrngkhephuxsrangchatiinyukhemci aelacaepnemldphnthukhxngkarekhluxnihwkhxngyipuninchwngsngkhramolkkhrngthi 2hmayehtuJansen pp 314 5 Hagiwara p 35 xangxingAkamatsu Paul 1972 Meiji 1868 Revolution and Counter Revolution in Japan Miriam Kochan translator New York Harper amp Row 1972 The Meiji Restoration Stanford Stanford University Press 1961 Chōshu in the Meiji Restoration Cambridge Harvard University Press and Gilbert Rozman eds 1986 Japan in Transition from Tokugawa to Meiji Princeton 10 ISBN 0691054592 13 ISBN 9780691054599 OCLC 12311985 2000 The Making of Modern Japan Cambridge 10 ISBN 0674003349 13 ISBN 9780674003347 OCLC 44090600 Shiba Ryotaro 1998 The Last Shogun The Life of Tokugawa Yoshinobu Tokyo Kodansha ISBN 1 56836 246 3