ความน่ารัก (อังกฤษ: Cuteness) เป็นคำบ่งความรู้สึกที่ใช้แสดงความน่าพึงใจ/ความน่าดูน่าชมที่มักจะเกี่ยวข้องกับความเยาว์วัยและรูปร่างหน้าตา และยังเป็นคำบัญญัติทางวิทยาศาสตร์และแบบวิเคราะห์ในพฤติกรรมวิทยาอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้คำนี้เป็นคนแรก (ชาวออสเตรียชื่อว่าค็อนแรด ลอเร็นซ์) ได้เสนอความคิดในเรื่องแผนภาพทารก (อังกฤษ: baby schema, เยอรมัน: Kindchenschema) ซึ่งเป็นลักษณะทางใบหน้าและร่างกาย ที่ทำให้สัตว์หนึ่ง ๆ ปรากฏว่า "น่ารัก" และกระตุ้นให้ผู้อื่นช่วยดูแลรักษาสัตว์นั้น ๆ คำนี้สามารถใช้ในการชมบุคคลและสิ่งของที่น่าดูน่าชมหรือมีเสน่ห์
อีกอย่างหนึ่ง ความน่ารัก เป็นความสวยงามประเภทหนึ่งที่มีลักษณะละเอียดอ่อนและดึงดูดใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ความน่ารักมักจะเกิดจากส่วนประกอบของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายทารกหรือมีขนาดใกล้เคียงกับทารก และมักจะมีส่วนประกอบของความขี้เล่น ความเปราะบาง และการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รวมอยู่ด้วย เด็กเล็ก ๆ และสัตว์ในวัยเยาว์มักจะมีการกล่าวถึงในลักษณะความน่ารัก ในขณะเดียวกันสัตว์ใหญ่บางประเภทเช่นแพนด้ายักษ์ ก็ยังมีการกล่าวถึงความน่ารัก เนื่องจากลักษณะที่คล้ายคลึงกับทารก และมีสัดส่วนหัวขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย เทียบกับสัตว์ชนิดอื่น
ในประเทศญี่ปุ่น ความน่ารักได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าในสื่อต่าง ๆ เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หรือของใช้ส่วนตัว มักจะมีภาพแสดงความน่ารักออกมา หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐบาล การทหารก็ยังมีภาพแสดงความน่ารักออกมา ในขณะที่ไม่มีใช้กันในประเทศอื่นโดยถือว่าเป็นความไม่เหมาะสม ความน่ารักในปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดของบริษัทขายของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยได้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ตัวอย่างเช่นในสินค้า เฮลโล คิตตี้ หรือ โปเกมอน หรือแม้แต่ในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น หมีพูห์ หรือ มิกกี้เมาส์
ลักษณะของเด็กและความน่ารัก
นักวิชาการมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้กล่าวไว้ว่า ส่วนสัดของใบหน้าจะเปลี่ยนไปตามอายุเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของอวัยวะทั้งที่เป็นส่วนที่แข็งและส่วนที่นิ่ม และความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับในธรรมชาตินั้นทำให้สัตว์มีอายุน้อยมองดูน่ารัก โดยมีจมูกและปากที่เล็กกว่า หน้าผากที่ใหญ่กว่า และตาที่ใหญ่กว่าผู้ที่ถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ในส่วนของอวัยวะที่แข็ง กะโหลกศีรษะส่วนบรรจุสมอง (neurocranium) ได้เติบโตขึ้นมากแล้วในเด็ก แต่ว่ากระดูกที่จมูกและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหารจะเติบโตขึ้นในระดับสูงสุดต่อเมื่อภายหลัง ในส่วนของอวัยวะที่นิ่ม ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนคือหูและจมูกเป็นส่วนที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดชั่วชีวิต นอกจากนั้นแล้ว เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 25 ปี คิ้วจะเริ่มขยับลงจากเหนือเบ้าตามายังใต้เบ้าตา ส่วนคิ้วที่ทอดไปตามด้านข้างจะตกลงตามอายุ ทำให้ตาปรากฏว่าเล็กลง และส่วนแดงของปากจะบางลงเรื่อย ๆ ตามอายุเพราะการสูญเสียเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน: 78–729
มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า หน้าของเด็กชาวอิตาลีผิวขาวภาคเหนือที่หน้าตาน่าดู จะมี "ลักษณะของเด็กทารก" เช่น "หน้าผากที่กว้างกว่า", กรามที่เล็กกว่า, ขากรรไกรบนที่ใหญ่กว่าและเด่นกว่า, หน้าที่กว้างกว่า แบนกว่า, และมีลักษณะใบหน้าจากหน้าไปหลังที่ใหญ่กว่า เด็กชาวอิตาลีที่ใช้เป็นจุดอ้างอิง
หน้าที่ทางชีวภาพของความน่ารัก
ค็อนแรด ลอเร็นซ์ได้เสนอในปี ค.ศ. 1949 ว่า ลักษณะของเด็กทารกเหล่านี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อดูแลรักษาในผู้ใหญ่ เป็นการปรับตัวตามขบวนการวิวัฒนาการเพื่อให้มั่นใจว่า พ่อแม่จะดูแลลูก ๆ ของตน มีผลเป็นการสืบต่อสายพันธุ์ของสปีชีส์นั้น ๆ งานวิจัยวิทยาศาสตร์ต่อ ๆ มาเพิ่มหลักฐานให้กับทฤษฎีของลอเร็นซ์ ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานที่แสดงว่ามนุษย์ผู้ใหญ่มีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อทารกที่ดูน่ารักโดยเหมารวม และงานต่าง ๆ ก็แสดงด้วยว่า การตอบสนองต่อความน่ารัก ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงความน่าดูน่าชมของใบหน้า ดูจะเหมือนกันทั้งในวัฒนธรรมเดียวกันและในวัฒนธรรมต่าง ๆ กัน ในงานวิจัยทำที่มหาวิทยาลัยเอ็มมอรี่ในเมืองแอตแลนตา นักวิจัยพบโดยใช้ fMRI ว่า ภาพที่ดูน่ารักจะเพิ่มการทำงานในสมองที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าใกล้เบ้าตา (Orbitofrontal cortex) ซึ่งมีกิจเกี่ยวกับการประมวลผลทางประชานและการตัดสินใจ
รูปแบบการเจริญเติบโตของเด็ก
นักโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยลอนดอนท่านหนึ่งกล่าวว่า วัยเยาว์ที่นานขึ้นในมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของ neoteny (วิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่)
ส่วนนักมานุษยวิทยาเชิงกายภาพท่านหนึ่งกล่าวว่า รูปแบบการเติบโตของเด็กดูเหมือนจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่ดูน่ารัก คือ สมองของเด็กจะมีขนาดเท่ากับผู้ใหญ่แล้วแม้ว่าจะมีขนาดกายเพียงแค่ 40% มี "การเจริญเติบโตของฟันเพียงแค่ 58%" และมี "การเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์เพียงแค่ 10%" และการเจริญเติบโตเช่นนี้ทำให้เด็กมีลักษณะเหมือนทารก (คือมีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าเล็ก ตัวเล็ก และระบบสืบพันธุ์ที่ยังไม่สมบูรณ์) นานกว่า "สปีชีส์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ" เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยา "การเลี้ยงดู" และ "ให้ความดูแล" จาก "บุคคลที่มีอายุมากกว่า"
ความแตกต่างระหว่างเพศ
ความรู้สึกว่าน่ารักของทารกนั้น ขึ้นอยู่กับเพศและพฤติกรรมของทางรก งานวิจัยปี ค.ศ. 2006 พบว่า ทารกหญิงจะปรากฏว่าน่ารักถ้ามีรูปร่างหน้าตาที่น่าดูน่าชมที่ปกติทารกหญิงมีมากกว่าทารกชาย ในขณะที่งานวิจัยในปี ค.ศ. 1990 พบว่า ความใส่ใจและพฤติกรรมของคนดูแลในการปกป้องรักษาทารกชาย อาจมีเหตุจากความรู้สึกล้วน ๆ ว่า เด็กนั้นมีความสุขและมีความน่าดูน่าชมแค่ไหน
เพศของคนดูสามารถกำหนดความแตกต่างของความรู้สึกว่าน่ารัก งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 พบว่า หญิงมีความอ่อนไหวต่อความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับความน่ารักมากกว่าชายที่มีอายุใกล้เคียงกัน ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ฮอร์โมนทางเพศของหญิงอาจมีความสำคัญในการกำหนดความน่ารัก
ผลเช่นนี้ก็พบด้วยในงานวิจัยปี ค.ศ. 1981 ที่นักวิจัยให้นักศึกษาปริญญาตรี 25 คน (ชาย 7 และหญิง 18) ให้คะแนนความน่ารักของทารกตามลักษณะต่าง ๆ เช่นอายุ พฤติกรรม และรูปร่างหน้าตาเช่นรูปร่างของศีรษะ และใบหน้า
ความชอบใจของเด็กเล็ก ๆ
งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 พบว่า เด็กเล็ก ๆ แสดงความชอบใจในใบหน้าที่คล้ายกับของทารกมากกว่า คือ มีใบหน้ากลม มีหน้าผากที่ใหญ่กว่า มีตาใหญ่กว่า มีจมูกและปากที่เล็กกว่า ในงานวิจัยในเด็ก 3-6 ขวบ นักวิจัยพบว่า เด็ก ๆ ชอบใจภาพแสดงดวงตาของสุนัข แมว และมนุษย์ที่คล้ายของทารก เปรียบเทียบกับสัตว์กลุ่มเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายทารกน้อยกว่า
ฮอร์โมนกับความรู้สึกว่าน่ารักต่าง ๆ กัน
มีข้อเสนอว่า ระดับฮอร์โมนอาจทำให้คนดูมีความรู้สึกว่าน่ารักต่าง ๆ กัน ค็อนแรด ลอเร็นซ์เสนอว่า "พฤติกรรมการดูแลรักษาและความรู้สึก" ต่อทารกเป็นกลไกทางธรรมชาตที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และจะเกิดการกระตุ้นโดยลักษณะความน่ารักต่าง ๆ เช่น "แก้มยุ้ย" และตาที่ใหญ่ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 เพิ่มขอบเขตในการทดสอบทฤษฎีนี้โดยเปลี่ยนแปลงรูปทารกที่ให้ดู เพื่อทดสอบสมรรถภาพต่าง ๆ กันของกลุ่มบุคคลในการตรวจจับความน่ารักที่ต่าง ๆ กัน แล้วได้พบว่า หญิงก่อนวัยหมดระดูสามารถตรวจจับความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันแต่หมดระดูแล้ว นอกจากหลักฐานนี้แล้ว ยังปรากฏด้วยว่า หญิงผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่เพิ่มระดับฮอร์โมนทางเพศ สามารถตรวจจับความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันที่ไม่ได้ใช้ยา
ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยได้รวบรวมหญิงอายุน้อย 24 คน ชายอายุน้อย 24 คน และหญิงอายุมากกว่า 24 คนเพื่อการทดลองนี้ นักวิจัยได้ทำงานทดลอง 3 อย่างที่แสดงเด็กทารกผิวขาวเชื้อสายชาวยุโรป แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองลงคะแนนเพื่อความน่ารักจาก 1 ถึง 7 งานทดลองแรกพบความแตกต่างกันของความสามารถในการกำหนดความน่ารักระหว่างกลุ่ม โดยออกแบบเพื่อกันอิทธิพลที่เกิดจากการมีประสบการณ์ร่วมกันหรือความกดดันทางสังคมออกไปแล้ว ส่วนงานทดลองที่สองพบว่า หญิงก่อนวัยหมดระดูสามารถกำหนดความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันที่หมดระดูแล้ว ซึ่งบอกเป็นนัยว่ามีอิทธิพลที่เกิดจากชีวภาพ ซึ่งใช้เป็นประเด็นการศึกษาในงานทดลองที่สาม คือนักวิจัยได้เปรียบเทียบความไวต่อความน่ารักระหว่างหญิงก่อนวัยหมดระดูที่ใช้และไม่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด งานทดลองนี้พบว่า กระบวนการเกี่ยวกับความรู้สึกว่าน่ารัก เปลี่ยนแปลงไปสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนทางเพศ (โดยเฉพาะคือโพรเจสเทอโรนและเอสโทรเจน) และดังนั้นฮอร์โมนทางเพศจึงมีผลต่อความไวต่อความน่ารัก
การดูแลรักษามีสหสัมพันธ์กับความน่ารัก
ส่วนงานวิจัยในปี ค.ศ. 1990 บอกเป็นนัยว่า "ความเชื่อของผู้ใหญ่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่คาดหวังของเด็กทารก มีอิทธิพลต่อปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับเด็ก" ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่า "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความน่ารักในขั้นพื้นฐานอาจเกิดการปิดบังได้ในทารกบางคน" (คือผลที่เกิดจากความน่ารักของเด็กอาจเปลี่ยนไปได้ตามความคิดของผู้ใหญ่) งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 พบว่า ความรู้สึกของผู้ใหญ่ว่าเด็กน่ารักสามารถกระตุ้นระดับการดูแลรักษาเด็กและความรู้สึกชอบใจในเด็กที่ต่าง ๆ กัน แต่ก็สรุปความอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า "ความรู้สึกว่าควรดูแลรักษาเด็กในผู้ใหญ่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญกว่าในการกำหนดความน่ารักของเด็กผู้ชาย"
ตารางนี้แสดงการแต่งสัดส่วนใบหน้าภาพทารกโดยใช้ระบบดิจิทัล โดยปรับขึ้น (↑) หรือ ปรับลง (↓) เมื่อเทียบกับภาพที่ไม่ได้แต่ง มีผลให้ทารกรับการระบุว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก การปรับแต่งจำกัดอยู่ในระดับ ±2 ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อไม่ทำให้ผิดปกติจากใบหน้าจริง ๆตารางแสดงการปรับระดับความน่ารักของทารก | ||
---|---|---|
น่ารัก | ไม่น่ารัก | |
ความกว้างของใบหน้า | ||
ความยาวของหน้าผาก/ใบหน้า | ||
ความกว้างของตา/ใบหน้า | ||
ความยาวของจมูก/ศีรษะ | ||
ความกว้างของจมูก/ใบหน้า | ||
ความกว้างของปาก/ใบหน้า |
ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 แสดงหลักฐานว่า ควาน่ารักของทารกกระตุ้นการดูแลรักษาของผู้ใหญ่ แม้ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความน่ารักของภาพทารกแล้วสังเกตว่าผู้ร่วมการทดลองมีแรงจูงใจที่จะดูแลรักษาทารกแค่ไหน ผลงานวิจัยบอกเป็นนัยว่า คะแนนที่ให้กับความน่ารักของทารกสอดคล้องกับระดับแรงจูงใจในการดูแลทารก นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังใช้ fMRI เพื่อที่จะแสดงว่า เด็กที่มีใบหน้าที่มีลักษณะน่ารักมากกว่า จะทำให้เกิดการทำงานในเขตสมอง nucleus accumbens ที่เป็นส่วนของ basal ganglia และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความสุขใจมีการหัวเราะเป็นต้น และแรงจูงใจ ในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น งานวิจัยจึงช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกทางประสาทที่แผนภาพทารก (ที่น่ารัก) กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดูแลรักษา นอกจากนั้นแล้ว ทารกที่น่ารักมีโอกาสสูงกว่าที่จะได้รับเลี้ยงเป็นลูก และจะได้รับการระบุว่า "น่าชอบใจ ดูเป็นมิตร มีสุขภาพดี และเก่ง" สูงกว่าทารกที่น่ารักน้อยกว่า ซึ่งชี้ว่า ปฏิกิริยาต่อความน่ารักของทารกเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการในมนุษย์ เพราะเป็นฐานของการให้เกิดการดูแลและของความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ผู้เป็นคนดูแล
งานวิจัยของค็อนแรด ลอเร็นซ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 เสนอว่า รูปร่างศีรษะของทารกอาจทำให้ผู้ใหญ่เกิดการดูแลรักษาทารก และความรู้สึกว่าน่ารัก และหลังจากนั้นก็มีงานต่าง ๆ ที่แสดงความสำคัญของรูปร่างศีรษะของเด็ก แต่ว่า งานวิจัยในปี ค.ศ. 1981 งานหนึ่งพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างศีรษะของเด็กเหล่านั้น มักจะมีความผิดพลาดในวิธีการหรือใช้สิ่งเร้าที่ไม่ดี แต่ในที่สุดก็สรุปว่า รูปร่างศีรษะของทารกทำให้เกิดปฏิกิริยาเชิงบวกจากผู้ใหญ่จริง ๆ และเด็กที่มีรูปร่างศีรษะเหมือนทารกจะได้รับพิจารณาว่าน่ารักกว่า ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีให้คะแนนกับรูปเส้นของใบหน้าทารก คือมีการใช้ภาพเดียวกันในการให้ดูแต่ละครั้ง แต่ว่า รูปร่างของศีรษะแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปโดยฟังก์ชันการแปลงแบบ "cardioidal transformation" ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างศีรษะให้ไปเป็นไปตามลำดับอายุ แต่ว่า รูปร่างของลักษณะใบหน้าอื่น ๆ จะเหมือนเดิม งานวิจัยสรุปว่า ศีรษะที่ใหญ่ทำให้รู้สึกว่าน่ารัก แล้วจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อดูแลรักษาในเชิงบวกของผู้ใหญ่ นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ความรู้สึกว่าน่ารักยังขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างหน้าตาและพฤติกรรมอื่น ๆ ของเด็ก รวมทั้งอายุ
อิทธิพลต่อสื่อ
นักวิชาการทางมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้กล่าวว่า ใบหน้าของลิง สุนัข นก และแม้แต่หน้ารถยนต์ สามารถทำให้ดูน่ารักขึ้นโดยการแปลงแบบ "cardioidal transformation" คือ การแปลงสภาพให้ใบหน้าดูเป็นผู้ใหญ่น้อยกว่าและน่ารักกว่า จะทำให้ลักษณะต่าง ๆ ด้านบนของหน้าขยายออกทางด้านข้างและทางด้านบน ในขณะที่ทำให้ลักษณะของใบหน้าด้านล่างลดเข้าทั้งทางด้านข้างและทางด้านล่าง
นักบรรพมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งกล่าวว่า ตามประวัติแล้วมีการวาดมิกกี้ เมาส์ให้เหมือนกับเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีศีรษะที่ใหญ่ขึ้น ตาที่ใหญ่ขึ้น กะโหลกศีรษะที่ป่องออก หน้าผากที่ลาดเอียงน้อยลงและกลมขึ้น มีขาที่สั้น หนา และอ้วนขึ้น มีแขนหนาขึ้น และจมูกที่หนาขึ้นซึ่งทำให้เหมือนกับยื่นออกมาน้อยลง แล้วเสนอว่า การเปลี่ยนรูปร่างของมิกกี้ เมาส์มีจุดหมายเพื่อเพิ่มความนิยมโดยทำให้น่ารักขึ้นและดูเป็นภัยน้อยลง และได้กล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงให้รูปร่างเหมือนกับเด็กเช่นนี้ เลียนแบบวิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่ (Neoteny)
ความรู้สึกว่าน่ารักมีความแตกต่างกันในระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่า ความรู้สึกว่าน่ารักอาจจะมีความสัมพันธ์กับความปรารถนาเพื่อจะเป็นที่ยอมรับของสังคม
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- รูปภาพเกี่ยวกับความน่ารัก ที่ฟลิคเกอร์
- cuteoverload 2013-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Gould, S.J. (1980). (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-08. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
- เดิมใน Gould, S.J. (1980). The Panda's Thumb: More Reflections in Natural History. US: W.W. Norton & Company. ISBN .
- Lorenz, Konrad (1971). Studies in Animal and Human Behavior. Cambridge, MA: Harvard Univ Press.
- Glocker, ML; Langleben, DD; Ruparel, K; Loughead, JW; Valdez, JN; Griffin, MD; Sachser, N; Gur, RC (2009-06-02). . Proc Natl Acad Sci U S A. 106 (22): 9115–9119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
- . OED Online. March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2013. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
- Jones, D.; และคณะ (December 1995). "Sexual Selection, Physical Attractiveness, and Facial Neoteny: Cross-cultural Evidence and Implications [and Comments and Reply]". Current Anthropology. 36 (5): 723–748. doi:10.1086/204427. S2CID 52840802. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
- Preedy, V.R. (2012). Handbook of anthropometry: Physical measures of human form in health and disease. New York: Springer Science. ISBN .
- Van Duuren, Mike; Kendell-Scott, Linda; Stark, Natalie. . King Alfred's College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Schneider, Avie (2013-01-10). "Agreed, Baby Pandas Are Cute. But Why?". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 2013-01-13.
- doi:10.1080/00438243.1970.9979467
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - Collins, D.; และคณะ (1973). Background to archaeology: Britain in its European setting. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN .
- Bogin, B (1997). "Evolutionary Hypotheses for Human Childhood". Yearbook of Physical Anthropology. 40: 63–89.
- Koyama, Reiko; Takahashi, Yuwen; Mori, Kazuo (2006). "Assessing the cuteness of children: Significant factors and gender differences". Social Behavior and Personality. 34 (9): 1087–1100. doi:10.2224/sbp.2006.34.9.1087.
- Karraker, Katherine; Stern, Marilyn (1990). "Infant physical attractiveness and facial expression: Effects on adult perceptions". Basic and Applied Social Psychology. 11 (4): 371–385. doi:10.1207/s15324834basp1104_2.
- Sprengelmeyer, R; Perrett, D.; Fagan, E.; Cornwell, R.; Lobmaier, J.; Sprengelmeyer, A.; Aasheim, H.; Black, I.; Cameron, L.; Crow, S.; Milne, N.; Rhodes, E.; Young, A. (2009). "The Cutest Little Baby Face: A Hormonal Link to Sensitivity to Cuteness in Infant Faces". Psychological Science. 20 (9): 149–154. 10.1.1.468.7485. doi:10.1111/j.1467-9280.2009.02272.x. PMID 19175530. S2CID 1040565.
- Alley, Thomas (1981). "Head shape and the perception of cuteness" (PDF). Developmental Psychology. 17 (5): 650–654. doi:10.1037/0012-1649.17.5.650. สืบค้นเมื่อ 2015-02-04.
- Borgi, M.; และคณะ (2014). "Baby schema in human and animal faces induces cuteness perception and gaze allocation in children". In Frontiers in Psychology. 5 (411).
- Glocker, Melanie; Daniel D. Langleben; Kosha Ruparel; James W. Loughead; Ruben C. Gur; Norbert Sachser (2008). "Baby Schema in Infant Faces Induces Cuteness Perception and Motivation for Caretaking in Adults". Ethology. 115 (3): 257–263. doi:10.1111/j.1439-0310.2008.01603.x. PMC 3260535. PMID 22267884.
- Kleck, Robert E.; Stephen A. Richardson; Ronald, Linda (1974). "Physical appearance cues and interpersonal attraction in children". Child Development. 45 (2): 305–310. doi:10.2307/1127949. JSTOR 1127949.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khwamnark xngkvs Cuteness epnkhabngkhwamrusukthiichaesdngkhwamnaphungic khwamnadunachmthimkcaekiywkhxngkbkhwameyawwyaelarupranghnata aelayngepnkhabyytithangwithyasastraelaaebbwiekhraahinphvtikrrmwithyaxikdwykarepliynsdswntang khxngsirsaaelaibhna odyechphaakhnadkhakrrikrbnodyepriybethiybkbkhakrrikrlang tamxayu mnusychxbicstwthimilksnakhlay edk khuxmitaihy kaohlksirsathipxngxxk khangthiimyunxxk khxlmnsay swnstwthimitaelk pakcmukyaw khxlmnkhwa imthaihekidptikiriyaechnediywkn khxnaerd lxerns nkwithyasastrthiichkhaniepnkhnaerk chawxxsetriychuxwakhxnaerd lxerns idesnxkhwamkhidineruxngaephnphaphthark xngkvs baby schema eyxrmn Kindchenschema sungepnlksnathangibhnaaelarangkay thithaihstwhnung praktwa nark aelakratunihphuxunchwyduaelrksastwnn khanisamarthichinkarchmbukhkhlaelasingkhxngthinadunachmhruxmiesnh xikxyanghnung khwamnark epnkhwamswyngampraephthhnungthimilksnalaexiydxxnaeladungdudicodyechphaaxyangyingsahrbedk khwamnarkmkcaekidcakswnprakxbkhxngsingthimilksnakhlaytharkhruxmikhnadiklekhiyngkbthark aelamkcamiswnprakxbkhxngkhwamkhieln khwamepraabang aelakarchwyehluxtwexngimidrwmxyudwy edkelk aelastwinwyeyawmkcamikarklawthunginlksnakhwamnark inkhnaediywknstwihybangpraephthechnaephndayks kyngmikarklawthungkhwamnark enuxngcaklksnathikhlaykhlungkbthark aelamisdswnhwkhnadihyemuxethiybkbkhnadrangkay ethiybkbstwchnidxun inpraethsyipun khwamnarkidklaymaepnswnhnungkhxngwthnthrrm caehnidwainsuxtang esuxpha xahar khxngeln hruxkhxngichswntw mkcamiphaphaesdngkhwamnarkxxkma hruxaemaethnwynganrthbal karthharkyngmiphaphaesdngkhwamnarkxxkma inkhnathiimmiichkninpraethsxunodythuxwaepnkhwamimehmaasm khwamnarkinpccubnidepnswnhnungkhxngaephnkartladkhxngbristhkhaykhxng odyechphaaxyangyinginpraethsyipun odyidklayepncudkhaythisakhy twxyangechninsinkha ehlol khitti hrux opekmxn hruxaemaetinwthnthrrmtawntk echn hmiphuh hrux mikkiemaslksnakhxngedkaelakhwamnarknkwichakarmanusywithyathimhawithyalykhxrenlidklawiwwa swnsdkhxngibhnacaepliyniptamxayuenuxngcakkhwamepliynaeplngkhxngxwywathngthiepnswnthiaekhngaelaswnthinim aelakhwamepliynaeplngthiepniptamladbinthrrmchatinnthaihstwmixayunxymxngdunark odymicmukaelapakthielkkwa hnaphakthiihykwa aelatathiihykwaphuthithungwyphuihyaelw inswnkhxngxwywathiaekhng kaohlksirsaswnbrrcusmxng neurocranium idetibotkhunmakaelwinedk aetwakradukthicmukaelaswnxun thiekiywkhxngkbkarekhiywxaharcaetibotkhuninradbsungsudtxemuxphayhlng inswnkhxngxwywathinim swnthiepnkradukxxnkhuxhuaelacmukepnswnthiotkhuneruxy tlxdchwchiwit nxkcaknnaelw erimtntngaetxayu 25 pi khiwcaerimkhyblngcakehnuxebatamayngitebata swnkhiwthithxdiptamdankhangcatklngtamxayu thaihtapraktwaelklng aelaswnaedngkhxngpakcabanglngeruxy tamxayuephraakarsuyesiyenuxeyuxekiywphn 78 729 minganwicyhnungthiphbwa hnakhxngedkchawxitaliphiwkhawphakhehnuxthihnatanadu cami lksnakhxngedkthark echn hnaphakthikwangkwa kramthielkkwa khakrrikrbnthiihykwaaelaednkwa hnathikwangkwa aebnkwa aelamilksnaibhnacakhnaiphlngthiihykwa edkchawxitalithiichepncudxangxing hnathithangchiwphaphkhxngkhwamnark khxnaerd lxernsidesnxinpi kh s 1949 wa lksnakhxngedktharkehlani thaihekidptikiriyaephuxduaelrksainphuihy epnkarprbtwtamkhbwnkarwiwthnakarephuxihmnicwa phxaemcaduaelluk khxngtn miphlepnkarsubtxsayphnthukhxngspichisnn nganwicywithyasastrtx maephimhlkthanihkbthvsdikhxnglxerns yktwxyangechn mihlkthanthiaesdngwamnusyphuihymiptikiriyaechingbwktxtharkthidunarkodyehmarwm aelangantang kaesdngdwywa kartxbsnxngtxkhwamnark sungodythw iphmaythungkhwamnadunachmkhxngibhna ducaehmuxnknthnginwthnthrrmediywknaelainwthnthrrmtang kn innganwicythathimhawithyalyexmmxriinemuxngaextaelnta nkwicyphbodyich fMRI wa phaphthidunarkcaephimkarthanganinsmxngthikhxrethksklibhnaphakswnhnaiklebata Orbitofrontal cortex sungmikicekiywkbkarpramwlphlthangprachanaelakartdsinicrupaebbkarecriyetibotkhxngedknkobrankhdithimhawithyalylxndxnthanhnungklawwa wyeyawthinankhuninmnusyepnswnhnungkhxng neoteny wiwthnakarthangthrrmchatikhxngmnusythimirupranglksnabangxyangehmuxnedkaeminwyphuihy swnnkmanusywithyaechingkayphaphthanhnungklawwa rupaebbkaretibotkhxngedkduehmuxncamicudprasngkhephuxephimrayaewlathidunark khux smxngkhxngedkcamikhnadethakbphuihyaelwaemwacamikhnadkayephiyngaekh 40 mi karecriyetibotkhxngfnephiyngaekh 58 aelami karecriyetibotkhxngrabbsubphnthuephiyngaekh 10 aelakarecriyetibotechnnithaihedkmilksnaehmuxnthark khuxmikaohlksirsaihy hnaelk twelk aelarabbsubphnthuthiyngimsmburn nankwa spichiskhxngstweliynglukdwynmxun epnehtuihekidptikiriya kareliyngdu aela ihkhwamduael cak bukhkhlthimixayumakkwa khwamaetktangrahwangephskhwamrusukwanarkkhxngtharknn khunxyukbephsaelaphvtikrrmkhxngthangrk nganwicypi kh s 2006 phbwa tharkhyingcapraktwanarkthamirupranghnatathinadunachmthipktitharkhyingmimakkwatharkchay inkhnathinganwicyinpi kh s 1990 phbwa khwamisicaelaphvtikrrmkhxngkhnduaelinkarpkpxngrksatharkchay xacmiehtucakkhwamrusuklwn wa edknnmikhwamsukhaelamikhwamnadunachmaekhihn ephskhxngkhndusamarthkahndkhwamaetktangkhxngkhwamrusukwanark nganwicyinpi kh s 2009 phbwa hyingmikhwamxxnihwtxkhwamaetktangelk nxy ekiywkbkhwamnarkmakkwachaythimixayuiklekhiyngkn sungbxkepnnywa hxromnthangephskhxnghyingxacmikhwamsakhyinkarkahndkhwamnark phlechnnikphbdwyinnganwicypi kh s 1981 thinkwicyihnksuksapriyyatri 25 khn chay 7 aelahying 18 ihkhaaennkhwamnarkkhxngtharktamlksnatang echnxayu phvtikrrm aelarupranghnataechnruprangkhxngsirsa aelaibhnakhwamchxbickhxngedkelk nganwicyinpi kh s 2014 phbwa edkelk aesdngkhwamchxbicinibhnathikhlaykbkhxngtharkmakkwa khux miibhnaklm mihnaphakthiihykwa mitaihykwa micmukaelapakthielkkwa innganwicyinedk 3 6 khwb nkwicyphbwa edk chxbicphaphaesdngdwngtakhxngsunkh aemw aelamnusythikhlaykhxngthark epriybethiybkbstwklumediywknthimilksnakhlaytharknxykwahxromnkbkhwamrusukwanarktang knmikhxesnxwa radbhxromnxacthaihkhndumikhwamrusukwanarktang kn khxnaerd lxernsesnxwa phvtikrrmkarduaelrksaaelakhwamrusuk txtharkepnklikthangthrrmchatthimimatngaetkaenid aelacaekidkarkratunodylksnakhwamnarktang echn aekmyuy aelatathiihy nganwicyinpi kh s 2009 ephimkhxbekhtinkarthdsxbthvsdiniodyepliynaeplngruptharkthiihdu ephuxthdsxbsmrrthphaphtang knkhxngklumbukhkhlinkartrwccbkhwamnarkthitang kn aelwidphbwa hyingkxnwyhmdradusamarthtrwccbkhwamnarkiddikwahyingwyediywknaethmdraduaelw nxkcakhlkthanniaelw yngpraktdwywa hyingphuichyaemdkhumkaenidthiephimradbhxromnthangephs samarthtrwccbkhwamnarkiddikwahyingwyediywknthiimidichya innganwicypi kh s 2009 nkwicyidrwbrwmhyingxayunxy 24 khn chayxayunxy 24 khn aelahyingxayumakkwa 24 khnephuxkarthdlxngni nkwicyidthanganthdlxng 3 xyangthiaesdngedktharkphiwkhawechuxsaychawyuorp aelwihphurwmkarthdlxnglngkhaaennephuxkhwamnarkcak 1 thung 7 nganthdlxngaerkphbkhwamaetktangknkhxngkhwamsamarthinkarkahndkhwamnarkrahwangklum odyxxkaebbephuxknxiththiphlthiekidcakkarmiprasbkarnrwmknhruxkhwamkddnthangsngkhmxxkipaelw swnnganthdlxngthisxngphbwa hyingkxnwyhmdradusamarthkahndkhwamnarkiddikwahyingwyediywknthihmdraduaelw sungbxkepnnywamixiththiphlthiekidcakchiwphaph sungichepnpraednkarsuksainnganthdlxngthisam khuxnkwicyidepriybethiybkhwamiwtxkhwamnarkrahwanghyingkxnwyhmdraduthiichaelaimichyaemdkhumkaenid nganthdlxngniphbwa krabwnkarekiywkbkhwamrusukwanark epliynaeplngipsmphnthkbradbhxromnthangephs odyechphaakhuxophrecsethxornaelaexsothrecn aeladngnnhxromnthangephscungmiphltxkhwamiwtxkhwamnarkkarduaelrksamishsmphnthkbkhwamnarkswnnganwicyinpi kh s 1990 bxkepnnywa khwamechuxkhxngphuihyekiywkbbukhlikphaphaelaphvtikrrmthikhadhwngkhxngedkthark mixiththiphltxptismphnthkhxngphuihykbedk sungepnhlkthanthiaesdngwa praktkarnekiywkbkhwamnarkinkhnphunthanxacekidkarpidbngidintharkbangkhn khuxphlthiekidcakkhwamnarkkhxngedkxacepliynipidtamkhwamkhidkhxngphuihy nganwicyinpi kh s 2006 phbwa khwamrusukkhxngphuihywaedknarksamarthkratunradbkarduaelrksaedkaelakhwamrusukchxbicinedkthitang kn aetksrupkhwamxikxyanghnungdwywa khwamrusukwakhwrduaelrksaedkinphuihyepnxngkhprakxbthisakhykwainkarkahndkhwamnarkkhxngedkphuchay tarangniaesdngkaraetngsdswnibhnaphaphtharkodyichrabbdicithl odyprbkhun hrux prblng emuxethiybkbphaphthiimidaetng miphlihtharkrbkarrabuwanarkhruximnark karprbaetngcakdxyuinradb 2 khxngkhaebiyngebnmatrthan ephuximthaihphidpkticakibhnacring tarangaesdngkarprbradbkhwamnarkkhxngtharknark imnarkkhwamkwangkhxngibhna khwamyawkhxnghnaphak ibhna khwamkwangkhxngta ibhna khwamyawkhxngcmuk sirsa khwamkwangkhxngcmuk ibhna khwamkwangkhxngpak ibhna swnxiknganwicyhnunginpi kh s 2009 aesdnghlkthanwa khwanarkkhxngtharkkratunkarduaelrksakhxngphuihy aemphuimichyati khux nkwicyihphurwmkarthdlxngihkhaaennkhwamnarkkhxngphaphtharkaelwsngektwaphurwmkarthdlxngmiaerngcungicthicaduaelrksatharkaekhihn phlnganwicybxkepnnywa khaaennthiihkbkhwamnarkkhxngtharksxdkhlxngkbradbaerngcungicinkarduaelthark nxkcaknnaelw nkwicyyngich fMRI ephuxthicaaesdngwa edkthimiibhnathimilksnanarkmakkwa cathaihekidkarthanganinekhtsmxng nucleus accumbens thiepnswnkhxng basal ganglia aelamibthbathsakhyekiywkbkhwamsukhicmikarhweraaepntn aelaaerngcungic inradbthisungkwa dngnn nganwicycungchwyephimkhwamekhaicekiywkbklikthangprasaththiaephnphaphthark thinark kratunihekidphvtikrrmkarduaelrksa nxkcaknnaelw tharkthinarkmioxkassungkwathicaidrbeliyngepnluk aelacaidrbkarrabuwa nachxbic duepnmitr misukhphaphdi aelaekng sungkwatharkthinarknxykwa sungchiwa ptikiriyatxkhwamnarkkhxngtharkepnswnsakhykhxngphthnakarinmnusy ephraaepnthankhxngkarihekidkarduaelaelakhxngkhwamsmphnthrahwangedkkbphuihyphuepnkhnduael nganwicykhxngkhxnaerd lxernsinchwngkhristthswrrs 1940 esnxwa ruprangsirsakhxngtharkxacthaihphuihyekidkarduaelrksathark aelakhwamrusukwanark aelahlngcaknnkmingantang thiaesdngkhwamsakhykhxngruprangsirsakhxngedk aetwa nganwicyinpi kh s 1981 nganhnungphbwa nganwicyekiywkbruprangsirsakhxngedkehlann mkcamikhwamphidphladinwithikarhruxichsingerathiimdi aetinthisudksrupwa ruprangsirsakhxngtharkthaihekidptikiriyaechingbwkcakphuihycring aelaedkthimiruprangsirsaehmuxntharkcaidrbphicarnawanarkkwa innganwicyni nkwicyihnksuksachnpriyyatriihkhaaennkbrupesnkhxngibhnathark khuxmikarichphaphediywkninkarihduaetlakhrng aetwa ruprangkhxngsirsaaetlakhrngcaepliynipodyfngkchnkaraeplngaebb cardioidal transformation sungepliynruprangsirsaihipepniptamladbxayu aetwa ruprangkhxnglksnaibhnaxun caehmuxnedim nganwicysrupwa sirsathiihythaihrusukwanark aelwcungthaihekidptikiriyaephuxduaelrksainechingbwkkhxngphuihy nkwicyidtngkhxsngektiwdwywa khwamrusukwanarkyngkhunxyukblksnarupranghnataaelaphvtikrrmxun khxngedk rwmthngxayuxiththiphltxsuxnkwichakarthangmanusywithyathimhawithyalykhxrenlidklawwa ibhnakhxngling sunkh nk aelaaemaethnarthynt samarththaihdunarkkhunodykaraeplngaebb cardioidal transformation khux karaeplngsphaphihibhnaduepnphuihynxykwaaelanarkkwa cathaihlksnatang danbnkhxnghnakhyayxxkthangdankhangaelathangdanbn inkhnathithaihlksnakhxngibhnadanlangldekhathngthangdankhangaelathangdanlang nkbrrphmanusywithyathimichuxesiyngphuhnungklawwa tamprawtiaelwmikarwadmikki emasihehmuxnkbedkephimkhuneruxy odymisirsathiihykhun tathiihykhun kaohlksirsathipxngxxk hnaphakthiladexiyngnxylngaelaklmkhun mikhathisn hna aelaxwnkhun miaekhnhnakhun aelacmukthihnakhunsungthaihehmuxnkbyunxxkmanxylng aelwesnxwa karepliynruprangkhxngmikki emasmicudhmayephuxephimkhwamniymodythaihnarkkhunaeladuepnphynxylng aelaidklawxikdwywa karepliynaeplngihruprangehmuxnkbedkechnni eliynaebbwiwthnakarthangthrrmchatikhxngmnusythimirupranglksnabangxyangehmuxnedkaeminwyphuihy Neoteny khwamrusukwanarkmikhwamaetktangkninrahwangwthnthrrmtang sungaesdngwa khwamrusukwanarkxaccamikhwamsmphnthkbkhwamprarthnaephuxcaepnthiyxmrbkhxngsngkhmduephimkhwamngam khawaxi khwamnarkinwthnthrrmyipun aehlngkhxmulxunrupphaphekiywkbkhwamnark thiflikhekxr cuteoverload 2013 11 01 thi ewyaebkaemchchinechingxrrthaelaxangxingGould S J 1980 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 10 08 subkhnemux 2014 10 26 edimin Gould S J 1980 The Panda s Thumb More Reflections in Natural History US W W Norton amp Company ISBN 0 393 01380 4 Lorenz Konrad 1971 Studies in Animal and Human Behavior Cambridge MA Harvard Univ Press Glocker ML Langleben DD Ruparel K Loughead JW Valdez JN Griffin MD Sachser N Gur RC 2009 06 02 Proc Natl Acad Sci U S A 106 22 9115 9119 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 11 20 subkhnemux 2014 10 26 OED Online March 2012 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux February 16 2013 subkhnemux 2012 04 29 Jones D aelakhna December 1995 Sexual Selection Physical Attractiveness and Facial Neoteny Cross cultural Evidence and Implications and Comments and Reply Current Anthropology 36 5 723 748 doi 10 1086 204427 S2CID 52840802 subkhnemux 22 January 2017 Preedy V R 2012 Handbook of anthropometry Physical measures of human form in health and disease New York Springer Science ISBN 978 1 4419 1787 4 Van Duuren Mike Kendell Scott Linda Stark Natalie King Alfred s College khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2007 09 27 subkhnemux 2014 10 26 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint multiple names authors list lingk Schneider Avie 2013 01 10 Agreed Baby Pandas Are Cute But Why National Public Radio subkhnemux 2013 01 13 doi 10 1080 00438243 1970 9979467 This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Collins D aelakhna 1973 Background to archaeology Britain in its European setting Cambridge Cambridge University Press ISBN 9780521098083 Bogin B 1997 Evolutionary Hypotheses for Human Childhood Yearbook of Physical Anthropology 40 63 89 Koyama Reiko Takahashi Yuwen Mori Kazuo 2006 Assessing the cuteness of children Significant factors and gender differences Social Behavior and Personality 34 9 1087 1100 doi 10 2224 sbp 2006 34 9 1087 Karraker Katherine Stern Marilyn 1990 Infant physical attractiveness and facial expression Effects on adult perceptions Basic and Applied Social Psychology 11 4 371 385 doi 10 1207 s15324834basp1104 2 Sprengelmeyer R Perrett D Fagan E Cornwell R Lobmaier J Sprengelmeyer A Aasheim H Black I Cameron L Crow S Milne N Rhodes E Young A 2009 The Cutest Little Baby Face A Hormonal Link to Sensitivity to Cuteness in Infant Faces Psychological Science 20 9 149 154 10 1 1 468 7485 doi 10 1111 j 1467 9280 2009 02272 x PMID 19175530 S2CID 1040565 Alley Thomas 1981 Head shape and the perception of cuteness PDF Developmental Psychology 17 5 650 654 doi 10 1037 0012 1649 17 5 650 subkhnemux 2015 02 04 Borgi M aelakhna 2014 Baby schema in human and animal faces induces cuteness perception and gaze allocation in children In Frontiers in Psychology 5 411 Glocker Melanie Daniel D Langleben Kosha Ruparel James W Loughead Ruben C Gur Norbert Sachser 2008 Baby Schema in Infant Faces Induces Cuteness Perception and Motivation for Caretaking in Adults Ethology 115 3 257 263 doi 10 1111 j 1439 0310 2008 01603 x PMC 3260535 PMID 22267884 Kleck Robert E Stephen A Richardson Ronald Linda 1974 Physical appearance cues and interpersonal attraction in children Child Development 45 2 305 310 doi 10 2307 1127949 JSTOR 1127949