ข้าวแกง หรือ ข้าวราดแกง อาหารคาวชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการนำกับข้าวประเภทต่างๆ มาราดลงบนข้าวสวย หรืออาจเป็นชุดตั้งโต๊ะ กับข้าวประกอบด้วยแกงเผ็ดและของเคียงแก้เผ็ดเป็นสำคัญ นอกจากแกงเผ็ด ยังมีผัดเผ็ด และอาจมีน้ำพริก ส่วนของเคียงแก้เผ็ด มักเป็นของทอด เช่น ปลาทอด เนื้อทอด กุนเชียงทอด และไข่ทั้งหลาย และผัดต่าง ๆ
ประวัติ
กรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ตลาดในพระนคร เช่นตลาดท่าขันหน้าวังตรา นอกจากมีสินค้าที่เป็นอาหารสดแล้ว ยังมีสินค้าที่ปรุงสำเร็จรูปแล้วมาจำหน่าย ได้แก่ ข้าวแกง เมี่ยวห่อ มะพร้าวเผา อาหารจีน กล้วยต้ม ปลาทะเลย่าง ปูเค็ม ปลากระเบนย่าง ฯลฯ โดยระบุว่าขายข้าวแกงขายคนราชการ
รัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1–3 แม้การค้าอาหารจะพบได้ทั่วไปทั่วกรุงเทพฯ ทั้งตลาดน้ำและตลาดบก แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ซื้ออาหารสดเพื่อปรุงอาหารที่บ้าน สันนิษฐานว่าพฤติกรรมการกินข้าวนอกบ้านน่าจะเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังสนธิสัญญาเบาว์ริง มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมรวมถึงตัดถนนสายแรก ผู้คนเริ่มอยู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมถนน ทำให้ผู้คนเริ่มกินข้าวนอกบ้านมากขึ้น เริ่มจะมีร้านข้าวแกงในแถบพระนครใน
คำว่าข้าวแกง ปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความว่า "เดิมกินข้าวไม่ได้ โกรธว่ากับข้าวไม่อร่อยบ่อย ๆ จนครั้งหนึ่งวานให้กรมหมื่นปราบซื้อข้าวแกงมากิน" กล่าวกันว่า ทรงโปรดเสวยข้าวแกงยิ่งนัก จนเมื่อเสด็จประพาสต้นตามท้องที่ต่าง ๆ ก็มักจะมีผู้จัดหาข้าวแกงมาถวายให้เสวยอยู่เสมอ
จากหนังสือ สารบาญชีส่วนที่ 2 คือราษฎรในจังหวัด ถนนแลตรอก จ.ศ. 1245 สำหรับเจ้าพนักงานกรมไปรษณีย์กรุงเทพมหานคร เล่ม 2 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่ามีร้านขายอาหารประเภทข้าวแกงจำนวน 57 ร้าน ร้านขายก๋วยเตี๋ยว 10 ร้าน ร้านขายผัดหมี่ 14 ร้าน ร้านขายข้าวตัม 2 ร้าน ร้านขายขนมจีน 3 ร้าน และร้านขายเครื่องเกาเหลา 6 ร้าน ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 พบการหาบเร่ขายข้าวแกง
ลาวัณย์ โชตามระ นักเขียนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อกว่าร้อยปีก่อน มีร้านขายข้าวแกงตาเพ็ง ยายพุก ตั้งอยู่สี่แยกมีศาลาใหญ่หลังหนึ่ง เรียกกันว่า ศาลาตาเพ็ง สองผัวเมียที่ขายข้าวแกงจนร่ำรวยเป็นเศรษฐี
นอกจากนั้นยังมีร้านอาหารริมทางโดยเฉพาะบริเวณโรงบ่อน ส่วนใหญ่เป็นร้านชาวจีนแต้จิ๋ว มีร้านข้าวแกงขาย โดยพระยาอนุมานราชธน บันทึกว่า "ร้านขายข้าวแกงเหล่านี้ขายคนจีนชั้นกรรมกร แต่คนไทยก็เคยไปนั่งยอง ๆ แยงแย่อยู่บนม้ายาวกินเหมือนกัน เพราะเป็นอาหารราคาถูก"
ปัจจุบัน
ร้านขายข้าวราดแกงในสมัยปัจจุบันมีขายทั่วไป ทั้งในรูปแบบร้านอาหาร เพิงขายอาหาร ในปั๊มน้ำมัน ฯลฯ โดยจะมีพนักงานตักข้าวสวย ราดบนแกง ร่วมกับกับข้าวอื่น ตามลูกค้าสั่ง ร้านทั่วไปส่วนใหญ่ที่มีที่นั่งมักขายตอนเช้า ตามแหล่งชุมชน ส่วนร้านข้าวแกงสำหรับคนกินมื้อเย็นส่วนใหญ่อยู่ในตลาด มักเรียกว่าข้าวแกงหน้าตลาดหรืออาหารถุง ปัจจุบันในกรุงเทพ ร้านข้าวแกงที่เป็นที่นิยมยังมีข้าวแกงปักษ์ใต้
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. "Diversity of Food Culture in Ayutthaya Period" (23): 80.
{{}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
((help)) - "ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการกินอาหารไทยตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม". p. 20.
- "ประวัติศาสตร์ข้าวแกง จากชนชั้นกลาง สู่อาหารสามัญประจำเมือง | จากรากสู่เรา". ไทยพีบีเอส.
- โดม ไกรปกรณ์. "การค้าอาหารในสังคมไทย สมัยอยุธยาตอนปลายสมัยการปฏิรูปประเทศ". p. 89.
- คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-06.
- "ประวัติศาสตร์ปากว่าง: Street Food ไทยสมัยก่อนกินอะไร". วอยซ์ออนไลน์.
- สุธน สุขพิศิษฐ์ (23 สิงหาคม 2562). "วิวัฒนาการของข้าวแกง จากกับข้าวในบ้าน กับข้าวผูกปิ่นโต สู่กับข้าวร้อยอย่างในร้านริมถนน". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
((help))
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khawaekng hrux khawradaekng xaharkhawchnidhnung thiekidcakkarnakbkhawpraephthtang maradlngbnkhawswy hruxxacepnchudtngota kbkhawprakxbdwyaekngephdaelakhxngekhiyngaekephdepnsakhy nxkcakaekngephd yngmiphdephd aelaxacminaphrik swnkhxngekhiyngaekephd mkepnkhxngthxd echn plathxd enuxthxd kunechiyngthxd aelaikhthnghlay aelaphdtang khawaekngprawtikrungsrixyuthya insmykrungsrixyuthya thitladinphrankhr echntladthakhnhnawngtra nxkcakmisinkhathiepnxaharsdaelw yngmisinkhathiprungsaercrupaelwmacahnay idaek khawaekng emiywhx maphrawepha xaharcin klwytm plathaelyang puekhm plakraebnyang l odyrabuwakhaykhawaekngkhaykhnrachkar rtnoksinthr insmyrtnoksinthr chwngrchkalthi 1 3 aemkarkhaxaharcaphbidthwipthwkrungethph thngtladnaaelatladbk aetphukhnswnihyksuxxaharsdephuxprungxaharthiban snnisthanwaphvtikrrmkarkinkhawnxkbannacaerimtninsmyrchkalthi 4 hlngsnthisyyaebawring mikarepliynaeplngthangesrsthkic mikarkhudkhlxngphdungkrungeksmrwmthungtdthnnsayaerk phukhnerimxyutngthinthanxyurimthnn thaihphukhnerimkinkhawnxkbanmakkhun erimcamirankhawaeknginaethbphrankhrin khawakhawaekng praktinphrarachhtthelkhainphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw rchkalthi 5 mikhwamwa edimkinkhawimid okrthwakbkhawimxrxybxy cnkhrnghnungwanihkrmhmunprabsuxkhawaekngmakin klawknwa thrngoprdeswykhawaekngyingnk cnemuxesdcpraphastntamthxngthitang kmkcamiphucdhakhawaekngmathwayiheswyxyuesmx cakhnngsux sarbaychiswnthi 2 khuxrasdrincnghwd thnnaeltrxk c s 1245 sahrbecaphnkngankrmiprsniykrungethphmhankhr elm 2 insmyrchkalthi 5 phbwamirankhayxaharpraephthkhawaekngcanwn 57 ran rankhaykwyetiyw 10 ran rankhayphdhmi 14 ran rankhaykhawtm 2 ran rankhaykhnmcin 3 ran aelarankhayekhruxngekaehla 6 ran inchwngplaysmyrchkalthi 5 thungtnrchkalthi 7 phbkarhaberkhaykhawaekng lawny ochtamra nkekhiynidklawiwwa emuxkwarxypikxn mirankhaykhawaekngtaephng yayphuk tngxyusiaeykmisalaihyhlnghnung eriykknwa salataephng sxngphwemiythikhaykhawaekngcnrarwyepnesrsthi nxkcaknnyngmiranxaharrimthangodyechphaabriewnorngbxn swnihyepnranchawcinaetciw mirankhawaekngkhay odyphrayaxnumanrachthn bnthukwa rankhaykhawaekngehlanikhaykhncinchnkrrmkr aetkhnithykekhyipnngyxng aeyngaeyxyubnmayawkinehmuxnkn ephraaepnxaharrakhathuk pccubn rankhaykhawradaeknginsmypccubnmikhaythwip thnginrupaebbranxahar ephingkhayxahar inpmnamn l odycamiphnkngantkkhawswy radbnaekng rwmkbkbkhawxun tamlukkhasng ranthwipswnihythimithinngmkkhaytxnecha tamaehlngchumchn swnrankhawaekngsahrbkhnkinmuxeynswnihyxyuintlad mkeriykwakhawaeknghnatladhruxxaharthung pccubninkrungethph rankhawaekngthiepnthiniymyngmikhawaekngpksitduephimxahartamsngxangxingephchrrung ethiynpiworcn Diversity of Food Culture in Ayutthaya Period 23 80 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a Cite journal txngkar journal help prawtisastrwthnthrrmkarkinxaharithytngaetxditcnthungkxnrthbal cxmphl p phibulsngkhram p 20 prawtisastrkhawaekng cakchnchnklang suxaharsamypracaemuxng cakraksuera ithyphibiexs odm ikrpkrn karkhaxaharinsngkhmithy smyxyuthyatxnplaysmykarptiruppraeths p 89 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 05 27 subkhnemux 2014 07 06 prawtisastrpakwang Street Food ithysmykxnkinxair wxysxxniln suthn sukhphisisth 23 singhakhm 2562 wiwthnakarkhxngkhawaekng cakkbkhawinban kbkhawphukpinot sukbkhawrxyxyanginranrimthnn edxakhlawd subkhnemux 8 tulakhm 2562 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite news title aemaebb Cite news cite news a trwcsxbkhawnthiin access date help