ขั้วท้องฟ้า หรือ ขั้วฟ้า (อังกฤษ: celestial pole) คือจุดที่แกนหมุนของโลกและทรงกลมท้องฟ้าตัดกัน มี 2 จุดคือขั้วท้องฟ้าเหนือ หรือ ขั้วฟ้าเหนือ (north celestial pole) ในซีกฟ้าเหนือ และ ขั้วท้องฟ้าใต้ หรือ ขั้วฟ้าใต้ (south celestial pole) ในซีกฟ้าใต้ ซึ่งยื่นมาจากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของแกนโลก ตามลำดับ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง วัตถุท้องฟ้าทั้งหมดก็จะดูเหมือนกับว่ากำลังโคจรรอบขั้วท้องฟ้าซึ่งอยู่นิ่ง
ขั้วท้องฟ้ายังเป็นขั้วของระบบพิกัดศูนย์สูตรด้วย โดยมีค่ามุมเดคลิเนชัน +90° ที่ขั้วท้องฟ้าเหนือ และเดคลิเนชัน -90° ที่ขั้วท้องฟ้าใต้ แม้ว่าขั้วท้องฟ้าดูเหมือนจะคงที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมเนื่องจากการเคลื่อนถอยของวิษุวัต โดยมีคาบการหมุนเป็น 25,700 ปี ดังนั้นดาวที่อยู่ที่ขั้วท้องฟ้าก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่สิ่งถาวร
แกนโลกยังมีการเคลื่อนที่เนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วย จึงทำให้ขั้วท้องฟ้ามีการขยับเขยื้อนเล็กน้อย เช่น ความเอียงของแกน เป็นต้น นอกเหนือจากการเคลื่อนที่ที่กล่าวข้างต้นแล้ว ตัววัตถุท้องฟ้าเองก็มีเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ยาวนานเนื่องมาจากการเคลื่อนที่เฉพาะด้วย
คำว่าขั้วท้องฟ้ายังสามารถนำไปใช้กับดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ด้วย โดยใช้แนวคิดเดียวกัน เนื่องจากดาวเคราะห์ในเอกภพมีแกนการหมุนของตัวเองแตกต่างกันไป ขั้วท้องฟ้าจึงอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากโลก และพารัลแลกซ์ก็ยังทำให้ตำแหน่งปรากฏของดาวแตกต่างจากตำแหน่งบนโลกด้วย
อ้างอิง
- ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
- Jim Kaler Professor Emeritus of Astronomy, University of Illinois. "Measuring the sky A quick guide to the Celestial Sphere". สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khwthxngfa hrux khwfa xngkvs celestial pole khuxcudthiaeknhmunkhxngolkaelathrngklmthxngfatdkn mi 2 cudkhuxkhwthxngfaehnux hrux khwfaehnux north celestial pole insikfaehnux aela khwthxngfait hrux khwfait south celestial pole insikfait sungyunmacakkhwolkehnuxaelakhwolkitkhxngaeknolk tamladb khnathiolkhmunrxbtwexng wtthuthxngfathnghmdkcaduehmuxnkbwakalngokhcrrxbkhwthxngfasungxyuningaephnphaphaesdngkhwamsmphnthrahwangkhwthxngfakbaeknhmunkhxngolk aelakhwamexiyngkhxngaeknesnthangkarekhluxnyaykhwthxngfaehnuxbnthrngklmthxngfaodymisunyklangxyuthikhwolkehnuxkhxngrabbphikdsuriywithienuxngcakkarekhluxnthxykhxngwisuwt khwthxngfayngepnkhwkhxngrabbphikdsunysutrdwy odymikhamumedkhlienchn 90 thikhwthxngfaehnux aelaedkhlienchn 90 thikhwthxngfait aemwakhwthxngfaduehmuxncakhngthi aetinkhwamepncringaelwmikarekhluxnthiepnwngklmenuxngcakkarekhluxnthxykhxngwisuwt odymikhabkarhmunepn 25 700 pi dngnndawthixyuthikhwthxngfakcaepliynaeplngiperuxy imichsingthawr aeknolkyngmikarekhluxnthienuxngcaksaehtuxun xikdwy cungthaihkhwthxngfamikarkhybekhyuxnelknxy echn khwamexiyngkhxngaekn epntn nxkehnuxcakkarekhluxnthithiklawkhangtnaelw twwtthuthxngfaexngkmiepliynaeplnginchwngewlathiyawnanenuxngmacakkarekhluxnthiechphaadwy khawakhwthxngfayngsamarthnaipichkbdawekhraahdwngxuniddwy odyichaenwkhidediywkn enuxngcakdawekhraahinexkphphmiaeknkarhmunkhxngtwexngaetktangknip khwthxngfacungxyuintaaehnngtang thiaetktangipcakolk aelapharlaelkskyngthaihtaaehnngpraktkhxngdawaetktangcaktaaehnngbnolkdwyxangxingsphthbyytisanknganrachbnthityspha Jim Kaler Professor Emeritus of Astronomy University of Illinois Measuring the sky A quick guide to the Celestial Sphere subkhnemux 10 March 2014