ความโปร่งใส (ทางการเมือง) (political transparency) หมายถึง ความสามารถของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะเข้าถึง และอภิปรายเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เอกสาร และข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะ การใช้อำนาจบริหารประเทศของรัฐบาลและทางราชการ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และในระบบราชการ โดยที่มาของคำว่าความโปร่งใสนี้มาจากความหมายในทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่นำไปใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุที่มีคุณสมบัติ “โปร่งใส” คือ วัตถุที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านผิวของวัตถุทำให้สามารถมองทะลุพื้นผิวของวัตถุได้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายในเชิงการเมืองยังมีความหมายที่ลึกกว่าแค่เพียงการมองเห็นการทำงานของรัฐบาล และราชการ แต่ยังรวมถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าใจ มีส่วนร่วม และควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อีกด้วย (Kurian, 2011: 1686)
อรรถาธิบาย
ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ที่หัวใจของการรักษาอำนาจทางการเมืองอยู่ที่การครอบครองข้อมูลข่าวสาร ซึ่งข้อมูลในที่นี้มีหมายความรวมถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ด้วยเหตุนี้ในสมัยโรมันจึงเป็นยุคที่ห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน เนื่องจากเป็นความรู้เกี่ยวกับกลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐ (บวรศักดิ์, 2554: 5-6) ดังนั้น ด้วยความที่ผู้ปกครองตั้งแต่สมัยโบราณใช้อำนาจปกครองโดยที่ผู้ใต้ปกครองไม่สามารถเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของรัฐบาล ผู้ปกครองจึงไม่จำเป็นจะต้องได้รับความนิยมชมชอบ (popularity) หรือ ความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง แต่จะปกครองด้วยความกลัว (ของผู้ถูกปกครอง) และความรุนแรงแทนนั่นเอง
การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลและการผูกขาดอำนาจการเมือง เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดสงครามกลางเมืองในอังกฤษ (ค.ศ. 1642-1649) ที่ทำให้ประชาชน หรือ ผู้ถูกปกครองต่างตระหนักในความจำเป็นของความโปร่งใสทางการเมือง หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ศักยภาพในการตรวจสอบรัฐบาลไม่ว่าจะโดยรัฐสภา หรือ โดยประชาชน ซึ่งจิตวิญญาณของหลักการดังกล่าวนี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) พร้อมๆกันกับการเกิดลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม ที่ในทางกฎหมายมหาชน แนวความคิดความโปร่งใสของรัฐบาลในช่วงสงครามกลางเมืองของอังกฤษได้นำไปสู่การวางกลไกทางสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “การตรวจสอบถ่วงดุล” (checks and balances) ที่ซ้อนอยู่ภายใต้หลักการแบ่งแยกอำนาจ (separation of powers) ของทั้งสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนหลักการความโปร่งใสทางการเมืองที่ได้รับอิทธิพลมาจากกลไกการถ่วงดุลอำนาจตามระบบรัฐสภาของอังกฤษที่ฝ่ายบริหารจะต้องถูกตรวจสอบการทำงานโดยฝ่ายนิติบัญญัติอยู่เสมอ (Wormuth, 1949: 72) ดังนั้น กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลของทั้งสามอำนาจ นอกจากจะเป็นการทำให้แต่ละฝ่ายจะต้องทำงานอย่างเปิดเผยเพราะจะถูกตรวจสอบจากอีกสอง อำนาจแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยให้ประชาชนซึ่งเป็นแหล่งที่มาอันชอบธรรมของอำนาจทางการเมืองได้รับรู้อีกด้วย
ทว่าในการปกครองสมัยใหม่ ยังคงมีพื้นที่ที่เรียกว่า “ความลับของทางการ” ซึ่งยังเป็นข้อยกเว้นของหลักความโปร่งใสทางการเมือง เนื่องจากบางครั้ง การปกครองจำเป็นต้องอาศัยความลับในการดำเนินการต่างๆ ที่ยังไม่อาจเปิดเผยให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบได้จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมด้วยเหตุผลสำคัญหลายๆประการตั้งแต่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยไปจนถึงเพื่อผลประโยชน์แห่งรัฐ ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการที่พนักงานสอบสวนไม่อาจเปิดเผยข้อเท็จจริงให้สื่อทราบได้เพราะจะเป็นการทำให้สูญเสียรูปคดีไป ด้วยเหตุนี้ทุกๆรัฐบาลในโลกสมัยใหม่จึงยังคงสงวนพื้นที่ที่เรียกว่า “ความลับของทางการ” เอาไว้ไม่มากก็น้อย
แต่ในบางครั้งฝ่ายผู้ปกครอง หรือ รัฐบาลเองก็ใช้ข้ออ้างเรื่องความลับของทางการมากีดกัน และขัดขวางประชาชนในการรับรู้ข้อมูลทางการเมืองการปกครองเพื่อที่จะเอาเปรียบ หรือ ซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ลดพื้นที่ “ความลับของทางการ” ลง และจัดระบบของการเข้าถึงข้อมูล และเอกสารของทางการโดยประชาชนอย่างเป็นระบบ เช่น การออกรัฐบัญญัติสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (Rights to Information Act : RTI) ของอินเดียในปี ค.ศ. 2005 และรัฐบัญญัติอิสรภาพในการเข้าถึงข้อมูล (Freedom of Information Act : FOIA) ของสหรัฐฯ ที่บังคับให้หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องเปิดเผยข้อมูลในการบริหารบ้านเมืองเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายลูกที่บังคับให้หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดทำสิ่งพิมพ์ทางการเหล่านี้ให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีองค์กรที่เรียกว่า "องค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ" (Transparency International) ที่จะคอยจัดทำดัชนีภาพลักษณ์ของการทุจริตคอร์รัปชั่นออกมาเป็นรายงานประจำปีทุกๆ ปี เพื่อให้คนจากทั่วโลกสามารถรับรู้ถึงพัฒนาการ และความเป็นไปของความโปร่งใสทางการเมืองของรัฐบาลจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย นอกจากนี้ “สื่อ” (media) ที่เสรี และเป็นมืออาชีพ ก็เป็นกลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่จะช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสทางการเมือง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนของรัฐได้จากการรายงาน และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงอย่างปราศจากอคติ และการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 ขึ้นชื่อเรื่องรัฐบาลที่มีความเป็นระบบราชการสูงจนนักวิชาการอย่าง เฟร็ด ดับบลิว ริกส์ (Fred W. Riggs) เรียกการปกครองของไทยว่าเป็นรัฐราชการ หรือ รัฐอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) ซึ่งหมายถึงการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการที่สร้างภาพลักษณ์ของความเป็นผู้ปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย และมองประชาชนเจ้าของอำนาจเป็นเพียงผู้ถูกปกครอง ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 - 2540 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการของคนไทยจึงถูกกีดกันประการหนึ่งจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับประชาชนที่เป็นเสมือนเจ้านาย กับ บ่าว กับอีกประการหนึ่งจากขั้นตอน และกระบวนการที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก และซับซ้อน สร้างขั้นตอนเกินจำเป็น (red tape) ของระบบราชการไทย
จนกระทั่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 และ 71/10 (5) ได้นำไปสู่การออกพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 6 ที่มีใจความสำคัญว่าการบริหารราชการแผ่นดินนั้นจะต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และบริการตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งการอำนวยความสะดวกนี้รวมถึงมาตรา 43 ที่ระบุว่า
"การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น"
จะเห็นได้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวของไทยนั้นระบุถึงหลักการความโปร่งใสทางการเมืองอย่างชัดเจนเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของโลกตะวันตก แต่จะสังเกตได้ว่าประเทศไทยเองก็เป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ยังคงมีการสงวนรักษาพื้นที่ที่เรียกว่า "ความลับของทางการ" อยู่ด้วยเช่นกัน แตกต่างก็ตรงที่ พื้นที่ตรงจุดนี้ของไทยนั้นยังไม่ได้รับการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernize) โดยการจัดระบบ และทำให้เกิดความชัดเจนให้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นพื้นที่สีเทานี้ด้วยการตรากฎหมายเฉพาะ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในอินเดีย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยในปัจจุบันจึงยังคงมีช่องโหว่ของกระบวนการตรวจสอบ และการทำให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ทั้งกระบวนการออกนโยบายสาธารณะ และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ และข้าราชการทางการเมือง ซึ่งในหลายกรณีมักเกิดขึ้นผ่านข้ออ้างของนักการเมือง และข้าราชการดังที่ระบุในตัวบทกฎหมายว่า เป็นเรื่องของความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย ซึ่งไม่อาจมีใครสามารถพิสูจน์ หรือ รับรู้ความเป็นจริงดังกล่าวนั้นได้เลยนอกเสียจากตัวรัฐบาล ดังนั้นก้าวต่อไปของกระบวนการสร้างความโปร่งใสของรัฐบาลไทย จึงอยู่ที่การยอมเปิดเผยพื้นที่สีเทานี้ให้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการออกกฎหมาย หรือ การกำหนดกลไกการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่างๆ จึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเจตนารมณ์ของแนวคิดเรื่องความโปร่งใสทางการเมืองได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยกำหนดวิธีการเปิดเผยข้อมูลไว้ 3 วิธี ได้แก่
- การพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7)
- การจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดู (มาตรา 9) และ
- การจัดหาให้เอกชนเป็นการเฉพาะราย (มาตรา 11)
และยังมีองค์กรเพื่อความโปร่งใสเป็นของเราเอง ซึ่งมีหลักการทำงาน และกุศโลบายที่คล้ายคลึงกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ คือคอยติดตามและเฝ้าระวังในเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตต่างๆ เพียงแต่จะไม่มีการทำรายงานประจำปีออกมาเหมือนกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ
อ้างอิง
- Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
- บวรศักดิ์ อุวรรโณ (2554). กฎหมายมหาชน เล่ม 1. กรุงเพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- Wormuth, Francis D. (1949). The origins of modern constitutionalism. New York: Harper & Brothers.
- Ackerman, Susan Rose (1999). Corruption and government: causes, consequences, and reform. Cambridge: Cambridge University Press.
- Riggs, Fred W. (1966). Thailand: the modernization of a bureaucratic polity. Honolulu: East-West Center Press.
- อเนก เหล่าธรรมทัศน์ (2553). สองนคราประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ใน www.oic.go.th
- ใน http://www.transparency-thailand.org
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khwamoprngis thangkaremuxng political transparency hmaythung khwamsamarthkhxngprachachninrabxbprachathipitythicaekhathung aelaxphiprayekiywkbkhxethccring exksar aelakhxmulekiywkbkartdsinicdaeninnoybaysatharna karichxanacbriharpraethskhxngrthbalaelathangrachkar tlxdcnkaraetngtngbukhkhlekhasutaaehnngthangkaremuxng aelainrabbrachkar odythimakhxngkhawakhwamoprngisnimacakkhwamhmayinthangwithyasastrkayphaphthinaipichxthibaykhunlksnakhxngwtthuthimikhunsmbti oprngis khux wtthuthiaesngswangsamarthlxdphanphiwkhxngwtthuthaihsamarthmxngthaluphunphiwkhxngwtthuidnnexng aetxyangirktam khwamhmayinechingkaremuxngyngmikhwamhmaythilukkwaaekhephiyngkarmxngehnkarthangankhxngrthbal aelarachkar aetyngrwmthungkarthiprachachnsamarthekhaic miswnrwm aelakhwbkhumtrwcsxbkarthangankhxngrthbalidxikdwy Kurian 2011 1686 xrrthathibaytngaetobrankalmaaelw thihwickhxngkarrksaxanacthangkaremuxngxyuthikarkhrxbkhrxngkhxmulkhawsar sungkhxmulinthinimihmaykhwamrwmthungkhwamrukhwamekhaicekiywkbkaremuxngkarpkkhrxng dwyehtuniinsmyormncungepnyukhthihamimihmikareriynkarsxnekiywkbkdhmaymhachn enuxngcakepnkhwamruekiywkbklik aelasthabnthangkaremuxngkarpkkhrxngkhxngrth bwrskdi 2554 5 6 dngnn dwykhwamthiphupkkhrxngtngaetsmyobranichxanacpkkhrxngodythiphuitpkkhrxngimsamarthekhaic aelamikhwamruekiywkbklikkarthangankhxngrthbal phupkkhrxngcungimcaepncatxngidrbkhwamniymchmchxb popularity hrux khwamyinyxmcakphuitpkkhrxng aetcapkkhrxngdwykhwamklw khxngphuthukpkkhrxng aelakhwamrunaerngaethnnnexng karpidknkarekhathungkhxmulaelakarphukkhadxanackaremuxng erimepliynaeplngiphlngcakekidsngkhramklangemuxnginxngkvs kh s 1642 1649 thithaihprachachn hrux phuthukpkkhrxngtangtrahnkinkhwamcaepnkhxngkhwamoprngisthangkaremuxng hrux xiknyhnungkkhux skyphaphinkartrwcsxbrthbalimwacaodyrthspha hrux odyprachachn sungcitwiyyankhxnghlkkardngklawniidsathxnxxkmaihehnepnrupthrrmphayhlngcakkarptiwtixemrika kh s 1776 aelakarptiwtifrngess kh s 1789 phrxmknkbkarekidlththirththrrmnuyniym thiinthangkdhmaymhachn aenwkhwamkhidkhwamoprngiskhxngrthbalinchwngsngkhramklangemuxngkhxngxngkvsidnaipsukarwangklikthangsthabnkaremuxnginrththrrmnuythieriykwa kartrwcsxbthwngdul checks and balances thisxnxyuphayithlkkaraebngaeykxanac separation of powers khxngthngshrthxemrika aelafrngess sungepnaenwkhidthisnbsnunhlkkarkhwamoprngisthangkaremuxngthiidrbxiththiphlmacakklikkarthwngdulxanactamrabbrthsphakhxngxngkvsthifaybriharcatxngthuktrwcsxbkarthanganodyfaynitibyytixyuesmx Wormuth 1949 72 dngnn klikkartrwcsxbthwngdulkhxngthngsamxanac nxkcakcaepnkarthaihaetlafaycatxngthanganxyangepidephyephraacathuktrwcsxbcakxiksxng xanacaelw yngcatxngepidephyihprachachnsungepnaehlngthimaxnchxbthrrmkhxngxanacthangkaremuxngidrbruxikdwy thwainkarpkkhrxngsmyihm yngkhngmiphunthithieriykwa khwamlbkhxngthangkar sungyngepnkhxykewnkhxnghlkkhwamoprngisthangkaremuxng enuxngcakbangkhrng karpkkhrxngcaepntxngxasykhwamlbinkardaeninkartang thiyngimxacepidephyihprachachnthwipidrbthrabidcnkwacathungewlathiehmaasmdwyehtuphlsakhyhlayprakartngaetephuxrksakhwamsngberiybrxyipcnthungephuxphlpraoychnaehngrth sungepnipinlksnaediywknkbkarthiphnkngansxbswnimxacepidephykhxethccringihsuxthrabidephraacaepnkarthaihsuyesiyrupkhdiip dwyehtunithukrthbalinolksmyihmcungyngkhngsngwnphunthithieriykwa khwamlbkhxngthangkar exaiwimmakknxy aetinbangkhrngfayphupkkhrxng hrux rthbalexngkichkhxxangeruxngkhwamlbkhxngthangkarmakidkn aelakhdkhwangprachachninkarrbrukhxmulthangkaremuxngkarpkkhrxngephuxthicaexaepriyb hrux sxnernbangsingbangxyangthiimchxbmaphakl dwyehtuniinpccubncungidekidkhbwnkarekhluxnihwephuxeriykrxngihldphunthi khwamlbkhxngthangkar lng aelacdrabbkhxngkarekhathungkhxmul aelaexksarkhxngthangkarodyprachachnxyangepnrabb echn karxxkrthbyytisiththiinkarekhathungkhxmul Rights to Information Act RTI khxngxinediyinpi kh s 2005 aelarthbyytixisrphaphinkarekhathungkhxmul Freedom of Information Act FOIA khxngshrth thibngkhbihhnwyngankhxngrthbalcatxngepidephykhxmulinkarbriharbanemuxngemuxkhrbkahndrayaewlathikdhmaykahndodyimxachlikeliyngid nxkcakniyngmikdhmaylukthibngkhbihhnwyngankhxngrthcatxngcdthasingphimphthangkarehlaniihepnexksarxielkthrxniksephuxihprachachnthwipsamarthekhathungidphankarechuxmtxekhruxkhayirsayxinethxrent nxkcakniinpccubnyngmixngkhkrthieriykwa xngkhkrephuxkhwamoprngisrahwangpraeths Transparency International thicakhxycdthadchniphaphlksnkhxngkarthucritkhxrrpchnxxkmaepnraynganpracapithuk pi ephuxihkhncakthwolksamarthrbruthungphthnakar aelakhwamepnipkhxngkhwamoprngisthangkaremuxngkhxngrthbalcakthwthukmumolkxikdwy nxkcakni sux media thiesri aelaepnmuxxachiph kepnklikthisakhyxikprakarhnunginrabxbesriprachathipitysmyihm thicachwythahnathitrwcsxbkhwamoprngisthangkaremuxng aelasrangkhwamechuxmnihaekprachachnkhxngrthidcakkarrayngan aelaephyaephrkhxmulkhawsarthithuktxng aelaethiyngtrngxyangprascakxkhti aelakaraethrkaesngcakfaykaremuxngtwxyangkarnaipichinpraethsithypraethsithytngaettnthswrrs 2500 khunchuxeruxngrthbalthimikhwamepnrabbrachkarsungcnnkwichakarxyang efrd dbbliw riks Fred W Riggs eriykkarpkkhrxngkhxngithywaepnrthrachkar hrux rthxamatyathipity bureaucratic polity sunghmaythungkarbriharrachkaraephndinkhxngkharachkarthisrangphaphlksnkhxngkhwamepnphupkkhrxngaebbecakhunmulnay aelamxngprachachnecakhxngxanacepnephiyngphuthukpkkhrxng dngnnchwngewlatngaetpi ph s 2500 2540 karekhathungkhxmulkhawsarkhxngthangrachkarkhxngkhnithycungthukkidknprakarhnungcakrabbkhwamsmphnthrahwangkharachkarkbprachachnthiepnesmuxnecanay kb baw kbxikprakarhnungcakkhntxn aelakrabwnkarthithaihekidkhwamyungyak aelasbsxn srangkhntxnekincaepn red tape khxngrabbrachkarithy cnkrathngphrarachbyytiraebiybbriharrachkaraephndin ph s 2534 matra 3 1 aela 71 10 5 idnaipsukarxxkphrarachkvsdika wadwyhlkeknth aelawithikarbriharkickarbanemuxngthidi ph s 2546 sungrabuiwxyangchdecninmatra 6 thimiickhwamsakhywakarbriharrachkaraephndinnncatxngkxihekidprasiththiphaph khwamkhumkha ldkhntxnthiimcaepn aelabrikartlxdcnxanwykhwamsadwkihaekprachachn sungkarxanwykhwamsadwknirwmthungmatra 43 thirabuwa karptibtirachkarineruxngid odypktiihthuxwaepneruxngepidephy ewnaetkrnimikhwamcaepnxyangyingephuxpraoychninkarrksakhwammnkhngkhxngpraeths khwammnkhngthangesrsthkic karrksakhwamsngberiybrxykhxngprachachn hruxkarkhumkhrxngsiththiswnbukhkhl cungihkahndepnkhwamlbidethathicaepn caehnidwakdhmaychbbdngklawkhxngithynnrabuthunghlkkarkhwamoprngisthangkaremuxngxyangchdecnechnediywknkbthiekidkhunkbrabbkaremuxngkarpkkhrxngkhxngolktawntk aetcasngektidwapraethsithyexngkepnechnediywkbpraethsxun thiyngkhngmikarsngwnrksaphunthithieriykwa khwamlbkhxngthangkar xyudwyechnkn aetktangktrngthi phunthitrngcudnikhxngithynnyngimidrbkarthaihepnsmyihm modernize odykarcdrabb aelathaihekidkhwamchdecnihekidkhuninbriewnthiepnphunthisiethanidwykartrakdhmayechphaa dngechnthiekidkhuninxinediy shrthxemrika aelaxikhlay praeths dngnn praethsithyinpccubncungyngkhngmichxngohwkhxngkrabwnkartrwcsxb aelakarthaihekidkhwamoprngisinkarbriharrachkaraephndinkhxngrth thngkrabwnkarxxknoybaysatharna aelakaraetngtngoykyaykharachkarpraca aelakharachkarthangkaremuxng sunginhlaykrnimkekidkhunphankhxxangkhxngnkkaremuxng aelakharachkardngthirabuintwbthkdhmaywa epneruxngkhxngkhwammnkhng aelakhwamsngberiybrxy sungimxacmiikhrsamarthphisucn hrux rbrukhwamepncringdngklawnnidelynxkesiycaktwrthbal dngnnkawtxipkhxngkrabwnkarsrangkhwamoprngiskhxngrthbalithy cungxyuthikaryxmepidephyphunthisiethaniihchdecnmakkhun imwacadwykarxxkkdhmay hrux karkahndklikkartrwcsxbcakxngkhkrxisratang cungcathaihpraethsithysamarthbrrluectnarmnkhxngaenwkhideruxngkhwamoprngisthangkaremuxngidxyangaethcring pccubnpraethsithymiphrarachbyytikhxmulkhawsarkhxngrachkar ph s 2540 thiidkahndihhnwyngankhxngrthepidephykhxmulkhawsarkhxngthangrachkarihaekprachachnthwip odykahndwithikarepidephykhxmuliw 3 withi idaek karphimphinrachkiccanuebksa matra 7 karcdiwihprachachntrwcdu matra 9 aela karcdhaihexkchnepnkarechphaaray matra 11 aelayngmixngkhkrephuxkhwamoprngisepnkhxngeraexng sungmihlkkarthangan aelakusolbaythikhlaykhlungkbxngkhkrephuxkhwamoprngisrahwangpraeths khuxkhxytidtamaelaefarawngineruxngthiekiywkbkarthucrittang ephiyngaetcaimmikartharaynganpracapixxkmaehmuxnkbxngkhkrephuxkhwamoprngisrahwangpraethsxangxingKurian George Thomas 2011 The encyclopedia of political science Washington CQ Press bwrskdi xuwrron 2554 kdhmaymhachn elm 1 krungeph sankphimphaehngculalngkrnmhawithyaly Wormuth Francis D 1949 The origins of modern constitutionalism New York Harper amp Brothers Ackerman Susan Rose 1999 Corruption and government causes consequences and reform Cambridge Cambridge University Press Riggs Fred W 1966 Thailand the modernization of a bureaucratic polity Honolulu East West Center Press xenk ehlathrrmthsn 2553 sxngnkhraprachathipity krungethph khbif phrarachbyytikhxmulkhawsarkhxngthangrachkar ph s 2540 in www oic go th in http www transparency thailand org