เอียวหงี (เสียชีวิต มีนาคมหรือเมษายน ค.ศ. 235) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หยาง อี๋ (จีน: 楊儀; พินอิน: Yáng Yí) ชื่อรอง เวย์กง (จีน: 威公; พินอิน: Wēigōng) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
เอียวหงี (หยาง อี๋) | |
---|---|
楊儀 | |
รูปปั้นของเอียวหงีในศาลจูกัดเหลียงที่ มณฑลฉ่านซี | |
ที่ปรึกษาทัพกลาง (中軍師 จงจฺวินชือ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 234 – ค.ศ. 235 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลสงบทัพ (綏軍將軍 ซุยจฺวินเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 230 – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
หัวหน้าเลขานุการของอัครมหาเสนาบดี (丞相長史 เฉิงเซี่ยงจ๋างฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 230 – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
เสนาธิการทัพ (參軍 ชานจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 225 – ค.ศ. 230 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
เจ้าเมืองฮองหลง (弘農太守 หงหนงไท่โฉ่ว) (แต่ในนาม) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 222 – ค.ศ. 225 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 219 – ค.ศ. 222 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 235 มณฑลเสฉวน |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เวย์กง (威公) |
ประวัติและการรับราชการช่วงต้น
เอียวหงีเป็นชาวเมืองซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) ในมณฑลเกงจิ๋ว ซึ่งอยู่บริเวณนครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน เอียวหงีเกิดในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและเริ่มรับราชการเป็นนายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) ภายใต้ฟู่ ฉฺวิน (傅羣) ข้าหลวง (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเกงจิ๋ว แต่ภายหลังเอียวหงีแปรพักตร์ไปเข้าด้วยกวนอู ขุนพลของขุนศึกเล่าปี่ กวนอูแต่งตั้งเอียวหงีให้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹 กงเฉา) และส่งตัวไปยังเซงโต๋ เมืองเอกของมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เพื่อพบกับเล่าปี่ เล่าปี่สนทนากับเอียวหงีในเรื่องยุทธวิธีและการเมืองและรู้สึกประทับใจกับคำพูดของเอียวหงีจึงตั้งให้เอียวหงีเป็นขุนนางผู้ช่วย (掾 เยฺวี่ยน) ในสำนักของตน เล่าปี่เลื่อนตำแหน่งให้เอียวหงีเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) ในปี ค.ศ. 219 หลังเล่าปี่สถาปนาตนเป็น "อ๋องแห่งฮันต๋ง" (漢中王 ฮั่นจงหวาง) หลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่ฮันต๋ง
ในปี ค.ศ. 221 เล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิและก่อตั้งรัฐจ๊กก๊กเพื่อต่อต้านการอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ราชวงศ์ฮั่นของโจผี ในปีถัดมาระหว่างที่เล่าปี่ยกทัพไปทำศึกกับซุนกวน อดีตพันธมิตรที่กลายเป็นศัตรู เอียวหงีทำให้เล่าป๋าผู้เป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ไม่พอใจ เล่าป๋าจึงให้เอียวหงีมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (弘農郡 หงหนงจฺวิน; อยู่บริเวณนคร มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเพียงตำแหน่งแต่ในนามเพราะเมืองฮองหลงไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของจ๊กก๊ก
การรับราชการช่วงกลาง
หลังการสวรรตตของเล่าปี่ในปี ค.ศ. 223 เอียวหงียังคงรับราชการกับจ๊กก๊กภายใต้เล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสและรัชทายาทของเล่าปี่ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากอัครมหาเสนาบดีจูกัดเหลียง
ในปี ค.ศ. 225 จูกัดเหลียงให้เอียวหงีย้ายไปสำนักของอัครมหาเสนาบดี ให้เอียวหงีทำหน้าที่เป็นเสนาธิการทัพ (參軍 ชานจฺวิน) ภายหลังในปีเดียวกัน เอียวหงีติดตามจูกัดเหลียงในการทัพรบกับกองกำลังกบฏและชนเผ่าต่าง ๆ ที่ก่อความไม่สงบในภาคใต้ของจ๊กก๊ก
ในปี ค.ศ. 227 เอียวหงีติดตามจูกัดเหลียงไปยังฮันต๋ง ในปี ค.ศ. 230 เอียวหงีได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างฉื่อ) และได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลสงบทัพ (綏軍將軍 ซุยจฺวินเจียงจฺวิน) ในช่วงหลายปีต่อมาเมื่อจูกัดเหลียงนำทัพบุกขึ้นเหนือรบกับวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊กหลายครั้ง เอียวหงีมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการทรัพยากรบุคคลและการขนส่ง
เอียวหงีไม่ลงรอยกับอุยเอี๋ยนขุนพลอาวุโสของจ๊กก๊กและมักทะเลาะกันบ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งอุยเอี๋ยนมักชักกระบี่ออกมากวัดแกว่งต่อหน้าเอียวหงี เอียวหงีจึงร้องไห้น้ำตาอาบแก้ม บิฮุยจึงเข้ามาหยุดการวิวาทของทั้งคู่และสามารถควบคุมทั้งคู่ได้ในช่วงเวลาที่จูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่ จูกัดเหลียงรู้สึกไม่สบายใจเรื่องที่เอียวหงีและอุยเอี๋ยนเข้ากันไม่ได้ แต่ก็ไม่อยากจะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะชื่นชมความสามารถของทั้งคู่
ในปี ค.ศ. 234 เอียวหงีติดตามจูกัดเหลียงในการบุกวุยก๊กอีกครั้งซึ่งนำไปสู่ภาวะคุมเชิงในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จ้าง จูกัดเหลียงป่วยเสียชีวิตระหว่างการคุมเชิงกัน ต่อมาเอียวหงีและคนอื่น ๆ ที่มีคำสั่งให้ถอยทัพกลับจ๊กก๊ก ในช่วงเวลานั้นความสัมพันธ์ระหว่างเอียวหงีและอุยเอี๋ยนแย่ลงจนถึงจุดแตกหัก ทั้งคู่ต่างก็กล่าวหาอีกฝ่ายว่าเป็นกบฏและเกือบจะเริ่มทำสงครามกลางเมืองในจ๊กก๊ก ความขัดแย้งสิ้นสุดลงด้วยการเสียชีวิตของอุยเอี๋ยน
ประวัติช่วงปลายและเสียชีวิต
หลังกลับมาที่นครเซงโต๋ เอียวหงีเห็นว่าตนคงมีความดีความชอบยิ่งใหญ่จึงเชื่อมั่นว่าตนจะได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของจูกัดเหลียงในฐานะผู้นำขุนนางราชสำนักจ๊กก๊กคนใหม่ เอียวหงีขอให้เจ้า เจิ้ง (趙正) ใช้วิชาอี้จิงทำนายดวงชะตาให้ตน แล้วก็ต้องผิดหวังที่คำทำนายไม่เป็นไปตามที่ตนคาดหวัง เมื่อจูกัดเหลียงยังมีชีวิตได้แอบสังเกตว่าเอียวหงีเป็นคนหุนหันพลันแล่นและใจแคบ จูกัดเหลียงจึงเลือกเจียวอ้วนให้เป็นผู้สืบทอดของตน หลังการเสียชีวิตของจูกัดเหลียง เจียวอ้วนได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) และข้าหลวง (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเอ๊กจิ๋ว ส่วนเอียวหงีได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาการทหารส่วนกลาง (中軍師 จงจฺวินซือ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจที่แท้จริง
เดิมทีเมื่อเอียวหงีกำลังรับราชการในตำแหน่งราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) เจียวอ้วนมีตำแหน่งที่ต่ำกว่าเอียวหงี แต่ภายหลังทั้งคู่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าเลขานุการของจูกัดเหลียง เอียวหงีมองว่าตัวเองสูงส่งและเห็นว่าตนเหนือกว่าเจียวอ้วนเพราะตนเริ่มรับราชการในจ๊กก๊กมายาวนานกว่าเจียวอ้วน หลังเจียวอ้วนขึ้นเป็นผู้นำขุนนางขุนใหม่ของราชสำนักจ๊กก๊ก เอียวหงีก็มักบ่นแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผย คนอื่น ๆ ต่างเพิกเฉยต่อเอียวหงีเพราะเอียวหงีเลือกใช้คำที่หยาบคายในการถ่ายทอดความคับข้องใจ ยกเว้นเพียงบิฮุยคนเดียวที่คอยปลอบโยนเอียวหงี ครั้งหนึ่งเอียวหงีพูดกับบิฮุยว่า "เมื่อครั้งท่านอัครมหาเสนาบดี (จูกัดเหลียง) สิ้นชีพ ข้าควรนำคนไปเข้าด้วยกับวุยเสียถ้ารู้ว่าข้าจะต้องลงเอยเช่นทุกวันนี้ ข้าเสียดายอย่างมากแต่บัดนี้ข้าทำอะไรไม่ได้แล้ว" บิฮุยลอบรายงานเรื่องที่เอียวหงีพูดไปยังราชสำนักจ๊กก๊ก
ต้นปี ค.ศ. 235 เอียวหงีถูกปลดจากตำแหน่ง ถูกลดสถานะลงเป็นสามัญชน และถูกเทรเทศไปอยู่เมืองแก่กุ๋น (漢嘉郡 ฮั่นเจียจฺวิ้น; อยู่บริเวณ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ระหว่างที่อยู่ในเมืองแก่กุ๋น เอียวหงีเขียนฎีกาถึงราชสำนักจ๊กก๊กด้วยสำนวนภาษาที่ใส่อารมณ์รุนแรงเพื่อแสดงความคับข้องใจและด่าว่าราชสำนัก ราชสำนักตัดสินว่าเอียวหงีมีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีคำสั่งให้จับตัวเอียวหงี เอียวหงีจึงฆ่าตัวตาย ครอบครัวของเอียวหงีกลับไปยังนครเซงโต๋หลังการเสียชีวิตของเอียวหงี
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- เล่าปี่ดำรงยศเป็นขุนพลซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจฺวิน) ภายใต้ราชสำนักฮั่น ชื่อตำแหน่งเต็มของเอียวหงีจึงเป็น "ขุนนางผู้ช่วยในสำนักกิจการทหารของขุนพลซ้าย" (左將軍兵曹掾 จั่วเจียงจฺวินปิงเฉาเยฺวี่ยน)
- โจผีโค่นล้มราชวงศ์ฮั่นในปลายปี ค.ศ. 220 โดยการบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิลำดับสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นให้สละบัลลังก์ให้ตน ภายหลังโจผีจึงก่อตั้งรัฐวุยก๊กโดยตนเป็นจักรพรรดิลำดับแรก เหตุการณ์นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอย่างเป็นทางการ
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่(อุยเอี๋ยน#เสียชีวิต)
- จือจื้อทงเจี้ยนเล่มที่ 73 ระบุว่าเหตุการณ์ที่นำสู่การฆ่าตัวตายของเอียวหงีอยู่ในช่วงระหว่างวันติงซื่อของเดือน 2 ถึงวันเกิงอิ๋นของเดือน 3 ในศักราชชิงหลงปีที่ 3 ในรัชสมัยของโจยอย เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 14 มีนาคมถึง 16 เมษายน ค.ศ. 235 ในปฏิทินจูเลียน
อ้างอิง
- (楊儀字威公,襄陽人也。建安中,為荊州刺史傅羣主簿,背羣而詣襄陽太守關羽。羽命為功曹,遣奉使西詣先主。先主與語論軍國計策,政治得失,大恱之,因辟為左將軍兵曹掾。及先主為漢中王,拔儀為尚書。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- (先主稱尊號,東征吳,儀與尚書令劉巴不睦,左遷遙署弘農太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- (建興三年,丞相亮以為參軍,署府事,將南行。五年,隨亮漢中。八年,遷長史,加綏軍將軍。亮數出軍,儀常規畫分部,籌度糧穀,不稽思慮,斯須便了。軍戎節度,取辦於儀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- (值軍師魏延與長史楊儀相憎惡,每至並坐爭論,延或舉刃擬儀,儀泣涕橫集。禕常入其坐間,諫喻分別,終亮之世,各盡延、儀之用者,禕匡救之力也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (亮深惜儀之才幹,憑魏延之驍勇,常恨二人之不平,不忍有所偏廢也。十二年,隨亮出屯谷口。亮卒于敵場。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- (儀旣領軍還,又誅討延,自以為功勳至大,宜當代亮秉政,呼都尉趙正以周易筮之,卦得家人,默然不恱。而亮平生宓指,以儀性狷狹,意在蔣琬,琬遂為尚書令、益州刺史。儀至,拜為中軍師,無所統領,從容而已。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- (初,儀為先主尚書,琬為尚書郎,後雖俱為丞相參軍長史,儀每從行,當其勞劇,自為年宦先琬,才能踰之,於是怨憤形于聲色,歎咤之音發於五內。時人畏其言語不節,莫敢從也,惟後軍師費禕往慰省之。儀對禕恨望,前後云云,又語禕曰:「往者丞相亡沒之際,吾若舉軍以就魏氏,處世寧當落度如此邪!令人追悔不可復及。」禕密表其言。十三年,廢儀為民,徙漢嘉郡。儀至徙所,復上書誹謗,辭指激切,遂下郡収儀。儀自殺,其妻子還蜀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
exiywhngi esiychiwit minakhmhruxemsayn kh s 235 michuxinphasacinklangwa hyang xi cin 楊儀 phinxin Yang Yi chuxrxng ewykng cin 威公 phinxin Weigōng epnkhunnangkhxngrthckkkinyukhsamkkkhxngcinexiywhngi hyang xi 楊儀ruppnkhxngexiywhngiinsalcukdehliyngthi mnthlchansithipruksathphklang 中軍師 cngc winchux darngtaaehnng kh s 234 234 kh s 235 235 kstriyelaesiynkhunphlsngbthph 綏軍將軍 suyc wineciyngc win darngtaaehnng kh s 230 230 kh s 234 234 kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliynghwhnaelkhanukarkhxngxkhrmhaesnabdi 丞相長史 echingesiyngcangchux darngtaaehnng kh s 230 230 kh s 234 234 kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngesnathikarthph 參軍 chanc win darngtaaehnng kh s 225 225 kh s 230 230 kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngecaemuxnghxnghlng 弘農太守 hnghnngithochw aetinnam darngtaaehnng kh s 222 222 kh s 225 225 kstriyelapi elaesiynhwhnarthbalcukdehliyngrachelkhathikar 尚書 changchu darngtaaehnng kh s 219 219 kh s 222 222 kstriyelapihwhnarthbalcukdehliyngkhxmulswnbukhkhlekidimthrab nkhresiynghyang mnthlhuepyesiychiwitkh s 235 mnthleschwnxachiphkhunnangchuxrxngewykng 威公 prawtiaelakarrbrachkarchwngtnexiywhngiepnchawemuxngsnghyng 襄陽 esiynghyang inmnthlekngciw sungxyubriewnnkhresiynghyang mnthlhuepyinpccubn exiywhngiekidinchwngplayrachwngshntawnxxkaelaerimrbrachkarepnnaythaebiyn 主簿 cupu phayitfu ch win 傅羣 khahlwng 刺史 chuxchux khxngmnthlekngciw aetphayhlngexiywhngiaeprphktripekhadwykwnxu khunphlkhxngkhunsukelapi kwnxuaetngtngexiywhngiihepnecahnathipkkhrxng 功曹 kngecha aelasngtwipyngesngot emuxngexkkhxngmnthlexkciw sungkhrxbkhlumphunthikhxngmnthleschwnaelankhrchngchinginpccubn ephuxphbkbelapi elapisnthnakbexiywhngiineruxngyuththwithiaelakaremuxngaelarusukprathbickbkhaphudkhxngexiywhngicungtngihexiywhngiepnkhunnangphuchwy 掾 ey wiyn insankkhxngtn elapieluxntaaehnngihexiywhngiepnrachelkhathikar 尚書 changchu inpi kh s 219 hlngelapisthapnatnepn xxngaehnghntng 漢中王 hncnghwang hlngidrbchychnainyuththkarthihntng inpi kh s 221 elapisthapnatnepnckrphrrdiaelakxtngrthckkkephuxtxtankarxangsiththiinrachbllngkrachwngshnkhxngocphi inpithdmarahwangthielapiykthphipthasukkbsunkwn xditphnthmitrthiklayepnstru exiywhngithaihelapaphuepnhwhnasankrachelkhathikar 尚書令 changchuling imphxic elapacungihexiywhngimitaaehnngepnecaemuxng 弘農郡 hnghnngc win xyubriewnnkhr mnthlehxhnaninpccubn sungepnephiyngtaaehnngaetinnamephraaemuxnghxnghlngimidxyuinxanaekhtkhxngckkkkarrbrachkarchwngklanghlngkarswrrttkhxngelapiinpi kh s 223 exiywhngiyngkhngrbrachkarkbckkkphayitelaesiynphuepnoxrsaelarchthayathkhxngelapisungidrbkarchwyehluxcakxkhrmhaesnabdicukdehliyng inpi kh s 225 cukdehliyngihexiywhngiyayipsankkhxngxkhrmhaesnabdi ihexiywhngithahnathiepnesnathikarthph 參軍 chanc win phayhlnginpiediywkn exiywhngitidtamcukdehliynginkarthphrbkbkxngkalngkbtaelachnephatang thikxkhwamimsngbinphakhitkhxngckkk inpi kh s 227 exiywhngitidtamcukdehliyngipynghntng inpi kh s 230 exiywhngiideluxnkhnepnhwhnaelkhanukar 長史 cangchux aelaidrbkaraetngtngepnkhunphlsngbthph 綏軍將軍 suyc wineciyngc win inchwnghlaypitxmaemuxcukdehliyngnathphbukkhunehnuxrbkbwuykkthiepnrthxrikhxngckkkhlaykhrng exiywhngimihnathirbphidchxbcdkarthrphyakrbukhkhlaelakarkhnsng exiywhngiimlngrxykbxuyexiynkhunphlxawuoskhxngckkkaelamkthaelaaknbxykhrng khrnghnungxuyexiynmkchkkrabixxkmakwdaekwngtxhnaexiywhngi exiywhngicungrxngihnataxabaekm bihuycungekhamahyudkarwiwathkhxngthngkhuaelasamarthkhwbkhumthngkhuidinchwngewlathicukdehliyngyngmichiwitxyu cukdehliyngrusukimsbayiceruxngthiexiywhngiaelaxuyexiynekhaknimid aetkimxyakcaekhakhangfayidfayhnungephraachunchmkhwamsamarthkhxngthngkhu inpi kh s 234 exiywhngitidtamcukdehliynginkarbukwuykkxikkhrngsungnaipsuphawakhumechinginyuththkarthithungrabxucang cukdehliyngpwyesiychiwitrahwangkarkhumechingkn txmaexiywhngiaelakhnxun thimikhasngihthxythphklbckkk inchwngewlannkhwamsmphnthrahwangexiywhngiaelaxuyexiynaeylngcnthungcudaetkhk thngkhutangkklawhaxikfaywaepnkbtaelaekuxbcaerimthasngkhramklangemuxnginckkk khwamkhdaeyngsinsudlngdwykaresiychiwitkhxngxuyexiynprawtichwngplayaelaesiychiwithlngklbmathinkhresngot exiywhngiehnwatnkhngmikhwamdikhwamchxbyingihycungechuxmnwatncaidrbeluxkihepnphusubthxdtaaehnngkhxngcukdehliynginthanaphunakhunnangrachsankckkkkhnihm exiywhngikhxiheca ecing 趙正 ichwichaxicingthanaydwngchataihtn aelwktxngphidhwngthikhathanayimepniptamthitnkhadhwng emuxcukdehliyngyngmichiwitidaexbsngektwaexiywhngiepnkhnhunhnphlnaelnaelaicaekhb cukdehliyngcungeluxkeciywxwnihepnphusubthxdkhxngtn hlngkaresiychiwitkhxngcukdehliyng eciywxwnidrbkaraetngtngepnhwhnasankrachelkhathikar 尚書令 changchuling aelakhahlwng 刺史 chuxchux khxngmnthlexkciw swnexiywhngiidrbtaaehnngthipruksakarthharswnklang 中軍師 cngc winsux sungepntaaehnngthiimmixanacthiaethcring edimthiemuxexiywhngikalngrbrachkarintaaehnngrachelkhathikar 尚書 changchu eciywxwnmitaaehnngthitakwaexiywhngi aetphayhlngthngkhuidrbkaraetngtngepnhwhnaelkhanukarkhxngcukdehliyng exiywhngimxngwatwexngsungsngaelaehnwatnehnuxkwaeciywxwnephraatnerimrbrachkarinckkkmayawnankwaeciywxwn hlngeciywxwnkhunepnphunakhunnangkhunihmkhxngrachsankckkk exiywhngikmkbnaesdngkhwamimphxicxyangepidephy khnxun tangephikechytxexiywhngiephraaexiywhngieluxkichkhathihyabkhayinkarthaythxdkhwamkhbkhxngic ykewnephiyngbihuykhnediywthikhxyplxboynexiywhngi khrnghnungexiywhngiphudkbbihuywa emuxkhrngthanxkhrmhaesnabdi cukdehliyng sinchiph khakhwrnakhnipekhadwykbwuyesiytharuwakhacatxnglngexyechnthukwnni khaesiydayxyangmakaetbdnikhathaxairimidaelw bihuylxbraynganeruxngthiexiywhngiphudipyngrachsankckkk tnpi kh s 235 exiywhngithukpldcaktaaehnng thukldsthanalngepnsamychn aelathukethrethsipxyuemuxngaekkun 漢嘉郡 hneciyc win xyubriewn mnthleschwninpccubn rahwangthixyuinemuxngaekkun exiywhngiekhiyndikathungrachsankckkkdwysanwnphasathiisxarmnrunaerngephuxaesdngkhwamkhbkhxngicaeladawarachsank rachsanktdsinwaexiywhngimikhwamphidthanhminphrabrmedchanuphaphaelamikhasngihcbtwexiywhngi exiywhngicungkhatwtay khrxbkhrwkhxngexiywhngiklbipyngnkhresngothlngkaresiychiwitkhxngexiywhngiduephimraychuxbukhkhlinyukhsamkkhmayehtuelapidarngysepnkhunphlsay 左將軍 cweciyngc win phayitrachsankhn chuxtaaehnngetmkhxngexiywhngicungepn khunnangphuchwyinsankkickarthharkhxngkhunphlsay 左將軍兵曹掾 cweciyngc winpingechaey wiyn ocphiokhnlmrachwngshninplaypi kh s 220 odykarbngkhbphraecaehiynet ckrphrrdiladbsudthaykhxngrachwngshnihslabllngkihtn phayhlngocphicungkxtngrthwuykkodytnepnckrphrrdiladbaerk ehtukarnnithuxepncuderimtnkhxngxyangepnthangkar duraylaexiydephimetimthixuyexiyn esiychiwit cuxcuxthngeciynelmthi 73 rabuwaehtukarnthinasukarkhatwtaykhxngexiywhngixyuinchwngrahwangwntingsuxkhxngeduxn 2 thungwnekingxinkhxngeduxn 3 inskrachchinghlngpithi 3 inrchsmykhxngocyxy ethiybidkbchwngewlarahwangwnthi 14 minakhmthung 16 emsayn kh s 235 inptithincueliynxangxing 楊儀字威公 襄陽人也 建安中 為荊州刺史傅羣主簿 背羣而詣襄陽太守關羽 羽命為功曹 遣奉使西詣先主 先主與語論軍國計策 政治得失 大恱之 因辟為左將軍兵曹掾 及先主為漢中王 拔儀為尚書 cdhmayehtusamkk elmthi 40 先主稱尊號 東征吳 儀與尚書令劉巴不睦 左遷遙署弘農太守 cdhmayehtusamkk elmthi 40 建興三年 丞相亮以為參軍 署府事 將南行 五年 隨亮漢中 八年 遷長史 加綏軍將軍 亮數出軍 儀常規畫分部 籌度糧穀 不稽思慮 斯須便了 軍戎節度 取辦於儀 cdhmayehtusamkk elmthi 40 值軍師魏延與長史楊儀相憎惡 每至並坐爭論 延或舉刃擬儀 儀泣涕橫集 禕常入其坐間 諫喻分別 終亮之世 各盡延 儀之用者 禕匡救之力也 cdhmayehtusamkk elmthi 44 亮深惜儀之才幹 憑魏延之驍勇 常恨二人之不平 不忍有所偏廢也 十二年 隨亮出屯谷口 亮卒于敵場 cdhmayehtusamkk elmthi 40 儀旣領軍還 又誅討延 自以為功勳至大 宜當代亮秉政 呼都尉趙正以周易筮之 卦得家人 默然不恱 而亮平生宓指 以儀性狷狹 意在蔣琬 琬遂為尚書令 益州刺史 儀至 拜為中軍師 無所統領 從容而已 cdhmayehtusamkk elmthi 40 初 儀為先主尚書 琬為尚書郎 後雖俱為丞相參軍長史 儀每從行 當其勞劇 自為年宦先琬 才能踰之 於是怨憤形于聲色 歎咤之音發於五內 時人畏其言語不節 莫敢從也 惟後軍師費禕往慰省之 儀對禕恨望 前後云云 又語禕曰 往者丞相亡沒之際 吾若舉軍以就魏氏 處世寧當落度如此邪 令人追悔不可復及 禕密表其言 十三年 廢儀為民 徙漢嘉郡 儀至徙所 復上書誹謗 辭指激切 遂下郡収儀 儀自殺 其妻子還蜀 cdhmayehtusamkk elmthi 40 brrnanukrm tnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu