บทความนี้ไม่มีจาก |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (ฝรั่งเศส: Antoine-Laurent de Lavoisier เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃twan lɔʁɑ̃ də lavwazje] ; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้ง (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี
อ็องตวน ลาวัวซีเย Antoine-Laurent de Lavoisier | |
---|---|
เกิด | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ปารีส , ราชอาณาจักรฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ปารีส , สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 | (50 ปี)
อาชีพ | เคมี |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
มีอิทธิพลต่อ | Guillaume-François Rouelle |
ลายมือชื่อ | |
ชีวิตตอนต้น
อ็องตวน ลาวัวซีเย เกิดในตระกูลผู้ดีตระกูลหนึ่ง ต่อมาได้ศึกษาต่อยังวิทยาลัยมาซาแร็ง (Mazarin College) ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และเคมี เขามีความสนใจอย่างแรงกล้าในวิชาเคมี โดยการชักจูงของเอเตียน กงดียัก (Étienne Condillac)
ต่อมา อ็องตวนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส พออายุได้ 25 ปี เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับการจุดไฟตามถนน ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 เขาได้แต่งงานกับมารี-อาน ปีแยเร็ต ปอลซ์ (Marie-Anne Pierrette Paulze) ซึ่งมีอายุเพียง 13 ปี ในขณะที่อ็องตวนอายุได้ 28 ปี
ผลงานที่สำคัญ
ด้านวิทยาศาสตร์
ช่วงปี พ.ศ. 2318 อ็องตวนได้พัฒนาการผลิตดินปืน และการใช้โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว ในการเกษตร งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาก็คือ การทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาไหม้ เขากล่าวว่าการเผาไหม้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน และการสลายสารอาหารในสิ่งมีชีวิต ก็คือปฏิกิริยาการเผาไหม้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ช้าและอ่อนกว่า จนทำให้ทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งกล่าวว่า เมื่อสสารถูกเผาไหม้ ก็จะปล่อยสารที่เรียกว่าโฟลจิสตันออกมา ต้องมีอันยกเลิกไป
นอกจากนี้ อ็องตวนยังได้ค้นพบว่า "อากาศที่ไหม้ไฟได้" ของเฮนรี คาเวนดิช ซึ่งอ็องตวนเรียกมันว่า ไฮโดรเจน (ภาษากรีกหมายถึง ผู้สร้างน้ำ) เมื่อรวมกับออกซิเจนจะได้หยดน้ำ ซึ่งไปตรงกับผลการทดลองของ
ในด้าน (stoichiometry) อ็องตวนได้ทดลองเผาฟอสฟอรัสและกำมะถันในอากาศ และพิสูจน์ได้ว่ามวลของผลิตภัณฑ์มีมากกว่ามวลของสารตั้งต้น ซึ่งมวลที่เพิ่มได้มาจากอากาศนั่นเอง จึงทำให้เกิดกฎการอนุรักษ์มวล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎทรงมวล
หนังสือของเขาชื่อ Traité Élémentaire de Chimie พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2332 ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์มวล และปฏิเสธการมีอยู่ของทฤษฎีโฟลจิสตัน
ด้านกฎหมายและการเมือง
นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส
ชีวิตบั้นปลาย
ต่อมาอ็องตวนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏโดยคณะปฏิวัติฝรั่งเศส และถูกตัดสินให้ประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337 ผู้พิพากษาให้เหตุผลในการตัดสินครั้งนี้ว่า “สาธารณรัฐของเราไม่ต้องการนักปราชญ์” จนทำให้โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กล่าวอย่างโศกเศร้าเสียใจว่าฝรั่งเศสจะไม่มีอะไรที่เหมือนผลงานของอ็องตวนไปชั่วศตวรรษ หนึ่งปีครึ่งให้หลังปรากฏว่าความผิดของอ็องตวนนั้นหามีไม่ ทรัพย์สินส่วนตัวของเขาถูกส่งให้แก่ภรรยาหม้าย พร้อมด้วยข้อความว่า "ถึงแม่หม้ายลาวัวซีเย ผู้ถูกตัดสินอย่างผิดพลาด"
แหล่งข้อมูลอื่น
- พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับอ็องตวน ลาวัวซีเย
- ผลงานของอ็องตวน ลาวัวซีเย (ภาษาฝรั่งเศส) 2004-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หน้าประวัติของอ็องตวน ลาวัวซีเย (ภาษาอังกฤษ) 2006-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud xxngtwn olrxng edx lawwsiey frngess Antoine Laurent de Lavoisier esiyngxanphasafrngess ɑ twan lɔʁɑ de lavwazje 26 singhakhm ph s 2286 8 phvsphakhm ph s 2337 epnnkwithyasastrchawfrngessphusungtxngcbchiwitlngodykioytin ekhamiphlngansakhykhux idtng hruxkdthrngmwl aelakarlmlangthvsdioflcistn sungepnpraoychnmakinkarsuksawichaekhmixxngtwn lawwsiey Antoine Laurent de Lavoisierekid26 singhakhm kh s 1743 1743 08 26 paris rachxanackrfrngessesiychiwit8 phvsphakhm kh s 1794 1794 05 08 50 pi paris satharnrthfrngessthi 1xachiphekhmixachiphthangwithyasastrsakhaekhmimixiththiphltxGuillaume Francois Rouellelaymuxchuxchiwittxntnxxngtwn lawwsiey ekidintrakulphuditrakulhnung txmaidsuksatxyngwithyalymasaaerng Mazarin College insakhawichakhnitsastr darasastr phvkssastr aelaekhmi ekhamikhwamsnicxyangaerngklainwichaekhmi odykarchkcungkhxngexetiyn kngdiyk Etienne Condillac phaphwad emxsieyxrlawwsieyaelaphrrya Portrait of Monsieur Lavoisier and his Wife odychk hluys dawid citrkrchawfrngess txma xxngtwnidrbeluxkihepnsmachikkhxngsmakhmwithyasastraehngfrngess phxxayuid 25 pi ekhaidekhiynbthkhwamekiywkbkarcudiftamthnn txmainpi ph s 2314 ekhaidaetngngankbmari xan piaeyert pxls Marie Anne Pierrette Paulze sungmixayuephiyng 13 pi inkhnathixxngtwnxayuid 28 piphlnganthisakhydanwithyasastr ruppnkhxngxxngtwn lawwsiey chwngpi ph s 2318 xxngtwnidphthnakarphlitdinpun aelakarichophaethsesiyminetrt hruxdinprasiw inkarekstr nganthisakhyxyanghnungkhxngekhakkhux karthdlxngekiywkbptikiriyakarephaihm ekhaklawwakarephaihmepnsingthiekiywkhxngkbxxksiecn aelakarslaysarxaharinsingmichiwit kkhuxptikiriyakarephaihmechnediywkn ephiyngaetchaaelaxxnkwa cnthaihthvsdioflcistn sungklawwa emuxssarthukephaihm kcaplxysarthieriykwaoflcistnxxkma txngmixnykelikip nxkcakni xxngtwnyngidkhnphbwa xakasthiihmifid khxngehnri khaewndich sungxxngtwneriykmnwa ihodrecn phasakrikhmaythung phusrangna emuxrwmkbxxksiecncaidhydna sungiptrngkbphlkarthdlxngkhxng indan stoichiometry xxngtwnidthdlxngephafxsfxrsaelakamathninxakas aelaphisucnidwamwlkhxngphlitphnthmimakkwamwlkhxngsartngtn sungmwlthiephimidmacakxakasnnexng cungthaihekidkdkarxnurksmwl hruxeriykxikchuxhnungwa kdthrngmwl hnngsuxkhxngekhachux Traite Elementaire de Chimie phimphemuxpi ph s 2332 phayinmienuxhaekiywkbkdkarxnurksmwl aelaptiesthkarmixyukhxngthvsdioflcistn dankdhmayaelakaremuxng nxkcakthixxngtwncasuksawithyasastraelw ekhayngsuksakdhmayaelakaremuxngcnidepnentibnthit emuxxayu 26 pi ekhaidepnecaphnknganekbxakr sungekhakidprbprungrabbphasixakraelakarkhlng phrxmkbphthnahnwywdinrabbemtrik ihepnmatrthanediywknthwpraethsfrngesschiwitbnplaytxmaxxngtwnthukklawhawaepnkbtodykhnaptiwtifrngess aelathuktdsinihpraharchiwitodykartdsirsa emuxwnthi 8 phvsphakhm ph s 2337 phuphiphaksaihehtuphlinkartdsinkhrngniwa satharnrthkhxngeraimtxngkarnkprachy cnthaihochaesf hluys lakrxngch nkkhnitsastrchawfrngess klawxyangoskesraesiyicwafrngesscaimmixairthiehmuxnphlngankhxngxxngtwnipchwstwrrs hnungpikhrungihhlngpraktwakhwamphidkhxngxxngtwnnnhamiim thrphysinswntwkhxngekhathuksngihaekphrryahmay phrxmdwykhxkhwamwa thungaemhmaylawwsiey phuthuktdsinxyangphidphlad aehlngkhxmulxunphiphithphnthesmuxncringekiywkbxxngtwn lawwsiey phlngankhxngxxngtwn lawwsiey phasafrngess 2004 10 10 thi ewyaebkaemchchin hnaprawtikhxngxxngtwn lawwsiey phasaxngkvs 2006 10 06 thi ewyaebkaemchchinwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb xxngtwn lawwsiey