ระบบปกครองแบบพ่อปกครองลูก (อังกฤษ: Paternalism) เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะการปกครองแบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “พ่อ” และประชาชนเปรียบเสมือน “ลูก” ในทางคำศัพท์จะใช้เรียกแทนพฤติกรรมของบุคคล องค์กร หรือการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพและความอิสระของประชาชนในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัดสิทธิของคนบางกลุ่มและให้คนบางกลุ่มที่เป็นส่วนน้อยของสังคมมีสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าคนส่วนใหญ่ หรือใช้เรียกกฎหมายที่เข้ามาจำกัดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป เช่น กฎหมายห้ามขายสุราและของมึนเมาในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ทั้งนี้การแปลคำว่า Paternalism เป็น “ระบบพ่อปกครองลูก” เนื่องจาก Paternalism มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคำว่า Pater หมายถึง พ่อ ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า –ism หมายถึง ลัทธิ แต่ต้องไม่สับสนกับคำว่า Patriarchy คือ “ปิตาธิปไตย” ที่หมายถึงระบบสังคมที่ลักษณะบางอย่างแสดงออกถึงการให้คุณค่าความเป็นชายมากกว่าและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ (Kurian, 2011: 1196)
อรรถาธิบาย
แนวคิดระบบพ่อปกครองลูกที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษก็คือ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่ของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ซึ่งได้อธิบายว่าพระมหากษัตริย์นั้นมีความชอบธรรมในการใช้ไม่ใช่เพราะความศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิดเทวสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ได้สืบทอดสิทธิอำนาจดังกล่าวมาจากอดัมที่เป็นมนุษย์ชายคนแรกที่ทำหน้าที่ปกครองภรรยาของเขา คือ อีฟ และบุตรของเขา ดังนั้นฐานที่มาของของพระมหากษัตริย์จึงมาจากสถาบันทางสังคมพื้นฐานนั่นก็คือสถาบันครอบครัวที่มีอดัมเป็นต้นแบบ และในกรณีของราชอาณาจักรก็คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพระมหากษัตริย์ทำหน้าที่เป็นบิดาของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงนั่นเอง (Filmer, 1991 :1-11)
ในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ระบบพ่อปกครองลูก หมายถึง อำนาจเผด็จการอำนาจนิยมที่ทำการควบคุมและชี้นำประชาชน ในเชิงการปกครอง รัฐระบบพ่อปกครองลูกจะจัดหาการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดบริการน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การสาธารณสุข เป็นต้น แต่ก็จะทำการปกครองและควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจน และเน้นส่งเสริมการพัฒนาประเทศจากทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง การอธิบายการเมืองระบบพ่อปกครองลูกในยุคหนึ่งจะใช้เพื่อทำความเข้าใจประเทศในกลุ่มสังคมนิยม หรือ Soviet bloc ที่รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของกลไกตลาดและควบคุมสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (Melich, 2011: 1196) นอกจากนี้ ระบบพ่อปกครองลูก ยังอาจหมายรวมไปถึงการกำหนดนโยบายแบบ ‘คุณพ่อรู้ดี’ คือ การที่รัฐ หรือ ผู้ปกครองนั้นเชื่อว่าประชาชนอาจไม่เข้าใจว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเองคืออะไร ด้วยฐานคิดเช่นนี้ ทำให้เชื่อว่า ผู้มีอำนาจ หรือ ผู้ปกครองต่างหากที่สมควรเป็นผู้กำหนดนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่ประชาชน
สำหรับสังคมไทย คำว่าระบบพ่อปกครองลูกจะถูกใช้แทนการปกครองของรัฐบาลที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในสมัยสุโขทัยนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า มีข้าราชการเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า "ลูกขุน" โดยมีพระมหากษัตริย์เป็น "พ่อขุน" และมีประชาชนเป็น "ท่วย" หรือ "ไพร่ฟ้า" เพราะฉะนั้น กษัตริย์ในฐานะพ่อจึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครองลูกได้ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่พ่อก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองลูกอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การที่พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพาร และประชาชนเปรียบเสมือนลูก ทำให้การปกครองมีลักษณะใกล้ชิดกัน และเมื่อเกิดปัญหาสังคมขึ้น พระมหากษัตริย์จะลงมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอง “พ่อปกครองลูก” เป็นคำที่ใช้เรียกระบอบการปกครองสมัยสุโขทัย ก่อนที่จะมีการสถาปนาความคิดแบบธรรมราชาและเทวราชา
ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย
ในงานศึกษาของ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (2552) งานศึกษาชิ้นสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคคณะราษฎร์ไปสู่กลุ่มอำนาจเก่า นำโดยจอมพลสฤษดิ์ที่สถาปนาระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (despotic paternalism) ซึ่งแปลคำว่า Paternalism เป็น “พ่อขุน” หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจบารมี และมีความใกล้ชิดกับประชาชนในแบบของพ่อปกครองลูกของตัวเอง ซึ่งการแปลว่า “พ่อขุน” เป็นความพยายามเล่นคำเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองสมัยสุโขทัยแบบ “พ่อปกครองลูก” เพื่อกล่าวว่าการเมืองไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ได้นำหลักการดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง การแสดงความเป็นพ่อสามารถทำได้จากการส่งข้าราชการไปเป็นหูเป็นตา หรือลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียน “ลูก ๆ” ในต่างจังหวัด เพื่อคอยดูแลวิถีชีวิตไม่ว่าจะเรื่องใหญ่ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาการศึกษา เป็นต้น หรือเรื่องเล็ก ๆ เช่น การช่วยแนะนำการดับเพลิง การดูแลถนนให้สะอาดเรียบร้อย และจัดการนักเลงอันธพาล เป็นต้น
อ้างอิง
- Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
- Filmer, Robert (1991). Patriarcha and Other Writings. Cambridge: Cambridge University Press.
- Melich, Jiri S. (2011). “Paternalism”. In Kurian, George Thomas et al. The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.
- ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (2552). ใน พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (ผู้แปล). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
rabbpkkhrxngaebbphxpkkhrxngluk xngkvs Paternalism epnkhasphththiicheriyklksnakarpkkhrxngaebbobranthiphupkkhrxngepnesmuxn phx aelaprachachnepriybesmuxn luk inthangkhasphthcaicheriykaethnphvtikrrmkhxngbukhkhl xngkhkr hruxkarpkkhrxngthicakdsiththiesriphaphaelakhwamxisrakhxngprachachninbangkhwamhmaycaichaethnkareriykrabbsngkhmthicakdsiththikhxngkhnbangklumaelaihkhnbangklumthiepnswnnxykhxngsngkhmmisiththiphiessthiehnuxkwakhnswnihy hruxicheriykkdhmaythiekhamacakdsiththiswnbukhkhlmakekinip echn kdhmayhamkhaysuraaelakhxngmunemainwnsakhythangsasna epntn thngnikaraeplkhawa Paternalism epn rabbphxpkkhrxngluk enuxngcak Paternalism miraksphthmacakphasalatinkhawa Pater hmaythung phx sungemuxrwmkbkhawa ism hmaythung lththi aettxngimsbsnkbkhawa Patriarchy khux pitathipity thihmaythungrabbsngkhmthilksnabangxyangaesdngxxkthungkarihkhunkhakhwamepnchaymakkwaaelathaihekidkhwamimethaethiymknthangephs Kurian 2011 1196 xrrthathibayaenwkhidrabbphxpkkhrxnglukthiepnthiruckknmakthisudinolktawntk odyechphaaxyangyinginolkthiichphasaxngkvskkhux karnaaenwkhiddngklawmaichsrangkhwamchxbthrrmihaekkhxngsthabnphramhakstriyxngkvsinsmykhriststwrrsthi 17 odyesxr orebirt filemxr Sir Robert Filmer sungidxthibaywaphramhakstriynnmikhwamchxbthrrminkarichimichephraakhwamskdisiththitamaenwkhidethwsiththi hakaetepnephraaphraxngkhidsubthxdsiththixanacdngklawmacakxdmthiepnmnusychaykhnaerkthithahnathipkkhrxngphrryakhxngekha khux xif aelabutrkhxngekha dngnnthanthimakhxngkhxngphramhakstriycungmacaksthabnthangsngkhmphunthannnkkhuxsthabnkhrxbkhrwthimixdmepntnaebb aelainkrnikhxngrachxanackrkkhuxkhrxbkhrwkhnadihythimiphramhakstriythahnathiepnbidakhxngehlaxanapracharasdrthngpwngnnexng Filmer 1991 1 11 inthangrthsastrsmyihm rabbphxpkkhrxngluk hmaythung xanacephdckarxanacniymthithakarkhwbkhumaelachinaprachachn inechingkarpkkhrxng rthrabbphxpkkhrxnglukcacdhakarbrikarsatharnaaelaokhrngsrangphunthanihkbprachachnxyangiklchid echn karcdbrikarnaprapa iffa thnn karsatharnsukh epntn aetkcathakarpkkhrxngaelakhwbkhumxyangekhmngwddwykdraebiybthichdecn aelaennsngesrimkarphthnapraethscakthngthangesrsthkicaelakhwammnkhng karxthibaykaremuxngrabbphxpkkhrxnglukinyukhhnungcaichephuxthakhwamekhaicpraethsinklumsngkhmniym hrux Soviet bloc thirthbalaethrkaesngkarthangankhxngkliktladaelakhwbkhumsiththiesriphaphkhxngpceckbukhkhl Melich 2011 1196 nxkcakni rabbphxpkkhrxngluk yngxachmayrwmipthungkarkahndnoybayaebb khunphxrudi khux karthirth hrux phupkkhrxngnnechuxwaprachachnxacimekhaicwaphlpraoychnthiaethcringkhxngtnexngkhuxxair dwythankhidechnni thaihechuxwa phumixanac hrux phupkkhrxngtanghakthismkhwrepnphukahndnoybaythiepnphlpraoychnthiaethcringihaekprachachn sahrbsngkhmithy khawarabbphxpkkhrxnglukcathukichaethnkarpkkhrxngkhxngrthbalthimiphramhakstriyepnphunainsmysuokhthynn thaihekhaicidwa mikharachkarekidkhunaelweriykwa lukkhun odymiphramhakstriyepn phxkhun aelamiprachachnepn thwy hrux iphrfa ephraachann kstriyinthanaphxcungsamarthichxanaceddkhadinkarpkkhrxnglukid ephuxihlukechuxfng aetphxkmihnathiinkarpkpxngkhumkhrxnglukxyangiklchidesmuxnepnkhrxbkhrwediywkn karthiphramhakstriyepnesmuxnphxhruxkharachkarbriphar aelaprachachnepriybesmuxnluk thaihkarpkkhrxngmilksnaiklchidkn aelaemuxekidpyhasngkhmkhun phramhakstriycalngmaaekikhpyhadngklawexng phxpkkhrxngluk epnkhathiicheriykrabxbkarpkkhrxngsmysuokhthy kxnthicamikarsthapnakhwamkhidaebbthrrmrachaaelaethwrachatwxyangkarnaipichinpraethsithyinngansuksakhxng thks echlimetiyrn 2552 ngansuksachinsakhyekiywkbkaremuxngithychwngepliynphancakyukhkhnarasdripsuklumxanaceka naodycxmphlsvsdithisthapnarabxbphxkhunxupthmphaebbephdckar despotic paternalism sungaeplkhawa Paternalism epn phxkhun hmaythung rupaebbkarpkkhrxngthiphunamixanacbarmi aelamikhwamiklchidkbprachachninaebbkhxngphxpkkhrxnglukkhxngtwexng sungkaraeplwa phxkhun epnkhwamphyayamelnkhaephuxihsxdkhlxngkbkarpkkhrxngsmysuokhthyaebb phxpkkhrxngluk ephuxklawwakaremuxngithyinyukhcxmphlsvsdiidnahlkkardngklawklbmaichxikkhrng karaesdngkhwamepnphxsamarththaidcakkarsngkharachkaripepnhuepnta hruxlngphunthiipeyiymeyiyn luk intangcnghwd ephuxkhxyduaelwithichiwitimwacaeruxngihy echn karphthnaesrsthkic karphthnakarsuksa epntn hruxeruxngelk echn karchwyaenanakardbephling karduaelthnnihsaxaderiybrxy aelacdkarnkelngxnthphal epntnxangxingKurian George Thomas 2011 The encyclopedia of political science Washington CQ Press Filmer Robert 1991 Patriarcha and Other Writings Cambridge Cambridge University Press Melich Jiri S 2011 Paternalism In Kurian George Thomas et al The Encyclopedia of Political Science Washington D C CQ Press thks echlimetiyrn 2552 in phrrni chtrphlrks m r w prakaythxng sirisukh aelatharngskdi ephchrelisxnnt phuaepl karemuxngrabbphxkhunxupthmphaebbephdckar phimphkhrngthi 3 krungethph mulnithiokhrngkartarasngkhmsastraelamnusysastr