ศิลปะลพบุรี คือศิลปะในพุทธศตวรรษที่ 16–18 ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีศิลปกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะสถาปัตยกรรมของ ศิลปะสกุลช่างลพบุรีเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะศาสนาพุทธแบบลัทธิมหายาน ศิลปะสมัยนี้ส่วนมากเป็นภาพจำหลักด้วยศิลาและสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะการปั้นหล่อสัมฤทธิ์มีความเจริญมาก ท่วงทำนองในการปั้นหุ่นมีความชำนาญยิ่งทำให้กิริยาท่าทางไม่แข็งกร้าวแบบศิลปะขอมในประเทศกัมพูชา
ชื่อ
ชื่อเรียก ศิลปะลพบุรี มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรก ๆ โดยการค้นคว้าของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในพระนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ. 2469 ในหนังสือ ตำนานพระพุทธเจดีย์ และหนังสือ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร โดยศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ซึ่งพิมพ์ในปี พ.ศ. 2471 ก็ปรากฏในหนังสือโดยสรุปนิยามอย่างกว้าง ๆ
ต่อมาราว พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงใช้ชื่อเรียกนี้เพื่ออธิบายว่า "หมายถึงโบราณวัตถุสถานขอมที่ค้นพบในประเทศไทย รวมทั้งโบราณวัตถุสถาน ที่ทำ ขึ้นในประเทศไทย แต่ทำเลียนแบบศิลปะขอมในประเทศกัมพูชา ฉะนั้น ศิลปะสมัยลพบุรีในที่นี้จึงมีทั้งที่เป็นแบบขอมอย่างแท้จริง และที่ทำขึ้นเลียนแบบขอมอันมีลักษณะของตนเองผิดแปลกออกไปบ้าง"
เหตุผลการเรียกว่า ศิลปะลพบุรี คือ ประการแรก เมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองสำคัญมาก่อนการเกิดกรุงศรีอยุธยาและมีหลักฐานโบราณวัตถุสถานแบบขอม/เขมรมากมาย ประการสอง เมืองลพบุรีถูกหยิบยืมมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบก่อนสยามที่ไม่ต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอื่นใด ประการที่สาม เป็นเพราะภัยคุกคามของอาณานิคมฝรั่งเศสที่มีอำนาจยึดครองอินโดจีนเอาไว้ได้ในขณะนั้น
นอกจากนั้นยังมีเสนอชื่อหรือคำเรียกใหม่อยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น ศิลปะเขมร, ศิลปะขอม/เขมร (ที่พบ) ในประเทศไทย, ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย, สมัยอิทธิพลเขมร, ศิลปะที่มีแม่แบบจากเมืองพระนคร และศิลปะในลัทธิวัชรยานจากกัมพูชา เป็นต้น
ประติมากรรม
พระพุทธรูปสมัยลพบุรีมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมเขมร ทั้งเทคนิคการสร้างที่ใช้วัสดุหินทรายและรูปแบบศิลปกรรม สามารถแบ่งกลุ่มรูปแบบไว้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มีการผสมระหว่างทวารวดีกับศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18) กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่สืบทอดมาจากศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19) และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่พัฒนามาเป็นลักษณะท้องถิ่นอย่างแท้จริง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19)
ลักษณะทีท่าของพระพุทธรูปมีความรู้สึกเสมือนอยู่ในสภาพมีอำนาจแบบเทพเจ้าหรือกษัตริย์ มากกว่าที่จะเป็นสัญลักษณ์ของความหลุดพ้น ตามความเชื่อศรัทธาในคติมหายานแบบศรีวิชัยครั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ก็เป็นไปได้ ที่นิยมการสร้างรูปพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ นางปัญญาบารมีและรูปเหวัชระสัตว์
พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นนาคปรกปางสมาธิ ประทับนั่งเหนือขนดนาคสามชั้น พระชงฆ์มีสันเล็กน้อย พระเศียรยังแสดงเครื่องทรงคือมงกุฎทรงสูงที่ทำเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีประดับลายกลีบบัว พระเนตรปิดและเหลือบลงใต้ พระโอษฐ์แบะกว้าง ขอบพระโอษฐ์หนา ทรงแย้มพระโอษฐ์แบบบายน แต่มีลักษณะแตกต่างจาก ได้แก่ พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระวรกายยืดสูงกว่า
พระพุทธรูปสมัยลพบุรียังได้ให้อิทธิพลไปยังกลุ่มพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มพระพุทธรูปหินทรายที่มีพระพักตร์ค่อนข้างยาว และส่วนหนึ่งน่าจะให้อิทธิพลไปยังกลุ่มพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 ที่เชื่อว่าเป็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยด้วย
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมสร้างด้วยอิฐและหิน มีทั้งที่สร้างในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมมียอดเป็นชั้น ๆ ซ้อนกันขึ้นไปจนแหลมมนที่มุมของอาคารนี้จะย่อมุม ทำเป็นลดมุมแบบย่อเหลี่ยมลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปรางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมอินเดียที่เรียกว่า ศิขร
การตกแต่งสถาปัตยกรรมไม่นิยมพื้นที่ว่าง มักตกแต่งลวดลายดอกไม้ ใบไม้และลายประดิษฐ์ ตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ผังอาคารเป็นแบบง่าย ๆ แบบกากบาท มักมีการสร้างระเบียงคดล้อมรอบ สถาปัตยกรรมนี้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระโพธิสัตว์ พระพุทธรูปนิยมสร้างเป็น 3 องค์ อันหมายถึงธรรมกาย ได้แก่พระธรรม สัมโภคกาย และนิรมาณกาย
พุทธสถานที่สำคัญมักจะสร้างในพุทธศตวรรษที่ 17–18 เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน วัดพระพายหลวง พระปรางค์สามยอด และปราสาทเมืองสิงห์
แผนผังของสถาปัตยกรรมในศิลปะลพบุรีได้กลายเป็นต้นแบบการวางแผนผังวัดในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ที่เห็นได้ชัดเจนคือแผนผังของกลุ่มวัดขนาดใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนต้น
อ้างอิง
- สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปสมัยลพบุรี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2510.
- "ลพบุรีสมัยพระนารายณ์: ร่องรอยการพัฒนาในอดีตและมรดกทางวัฒนธรรม". ศิลปวัฒนธรรม.
- รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ประวัติ แนวความคิด และวิธีค้นคว้าวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2551), 134-181
- "พระพุทธรูปนาคปรกในพิพิธภัณฑ์ฯ สมเด็จพระนารายณ์ เป็นพุทธศิลป์แบบศิลปะลพบุรีที่แท้จริง?". ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน.
- "พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย".
- "ศิลปะสมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘". หน้าจั่ว.
- อานนท์ เรืองกาญจนวิทย์. "การออกแบบพระอุโบสถและพระวิหารแบบไทยประเพณีสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2173-2310)" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 44.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
silpalphburi khuxsilpainphuththstwrrsthi 16 18 thangphakhklang phakhtawnxxk phakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngpraethsithy misilpkrrm pratimakrrmaelasthaptykrrmaebbhnungthimilksnakhlaykbsilpasthaptykrrmkhxng silpaskulchanglphburiepnsilpathiekiywenuxnginsasnaphuthth sasnaphrahmn odyechphaasasnaphuththaebblththimhayan silpasmyniswnmakepnphaphcahlkdwysilaaelasmvththi odyechphaakarpnhlxsmvththimikhwamecriymak thwngthanxnginkarpnhunmikhwamchanayyingthaihkiriyathathangimaekhngkrawaebbsilpakhxminpraethskmphuchaphraprangkhsamyxd cnghwdlphburiphraprangkhwdphraphayhlwng cnghwdsuokhthyphraphuththrupsilpalphburichuxchuxeriyk silpalphburi mihlkthanwaekidkhunkhrngaerk odykarkhnkhwakhxngsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph inphraniphnthemuxpi ph s 2469 inhnngsux tananphraphuththecdiy aelahnngsux obranwtthuinphiphithphnthsthansahrbphrankhr odysastracaryyxrch eseds sungphimphinpi ph s 2471 kpraktinhnngsuxodysrupniyamxyangkwang txmaraw ph s 2510 sastracaryhmxmecasuphthrdis diskul thrngichchuxeriykniephuxxthibaywa hmaythungobranwtthusthankhxmthikhnphbinpraethsithy rwmthngobranwtthusthan thitha khuninpraethsithy aetthaeliynaebbsilpakhxminpraethskmphucha chann silpasmylphburiinthinicungmithngthiepnaebbkhxmxyangaethcring aelathithakhuneliynaebbkhxmxnmilksnakhxngtnexngphidaeplkxxkipbang ehtuphlkareriykwa silpalphburi khux prakaraerk emuxnglphburisungepnemuxngsakhymakxnkarekidkrungsrixyuthyaaelamihlkthanobranwtthusthanaebbkhxm ekhmrmakmay prakarsxng emuxnglphburithukhyibyummaichephuxepnsylksnthangwthnthrrmaebbkxnsyamthiimtxngkarihepnswnhnungkhxngxanackrxunid prakarthisam epnephraaphykhukkhamkhxngxananikhmfrngessthimixanacyudkhrxngxinodcinexaiwidinkhnann nxkcaknnyngmiesnxchuxhruxkhaeriykihmxyubxykhrngimwacaepn silpaekhmr silpakhxm ekhmr thiphb inpraethsithy silparwmaebbekhmrinpraethsithy smyxiththiphlekhmr silpathimiaemaebbcakemuxngphrankhr aelasilpainlththiwchryancakkmphucha epntnpratimakrrmphraphuththrupsmylphburimiphunthansubenuxngmacakwthnthrrmekhmr thngethkhnikhkarsrangthiichwsduhinthrayaelarupaebbsilpkrrm samarthaebngklumrupaebbiw 3 klumkhux klumthi 1 mikarphsmrahwangthwarwdikbsilpaekhmr rawklangthungplayphuththstwrrsthi 18 klumthi 2 rupaebbthisubthxdmacaksilpaekhmr rawklangthungplayphuththstwrrsthi 18 thungklangphuththstwrrsthi 19 aelaklumthi 3 klumthiphthnamaepnlksnathxngthinxyangaethcring playphuththstwrrsthi 18 thungplayphuththstwrrsthi 19 lksnathithakhxngphraphuththrupmikhwamrusukesmuxnxyuinsphaphmixanacaebbethphecahruxkstriy makkwathicaepnsylksnkhxngkhwamhludphn tamkhwamechuxsrththainkhtimhayanaebbsriwichykhrngrachwngsiselnthrkepnipid thiniymkarsrangrupphraphuththrup phraophthistw nangpyyabarmiaelarupehwchrastw phraphuththrupswnihyepnnakhprkpangsmathi prathbnngehnuxkhndnakhsamchn phrachngkhmisnelknxy phraesiyryngaesdngekhruxngthrngkhuxmngkudthrngsungthithaepnchn aetlachnmipradblayklibbw phraentrpidaelaehluxblngit phraoxsthaebakwang khxbphraoxsthhna thrngaeymphraoxsthaebbbayn aetmilksnaaetktangcak idaek phraphktryawepnrupikhmakkwa phrawrkayyudsungkwa phraphuththrupsmylphburiyngidihxiththiphlipyngklumphraphuththrupinsmyxyuthyatxntndwy odyechphaaklumphraphuththruphinthraythimiphraphktrkhxnkhangyaw aelaswnhnungnacaihxiththiphlipyngklumphraphuththrupaebbxuthxngrunthi 3 thiechuxwaepnxiththiphlkhxngsilpasuokhthydwysthaptykrrmsthaptykrrmsrangdwyxithaelahin mithngthisranginsasnaphrahmnaelasasnaphuthth lksnasthaptykrrmepnxakharrupsiehliymmiyxdepnchn sxnknkhunipcnaehlmmnthimumkhxngxakharnicayxmum thaepnldmumaebbyxehliymlksnaechnnieriykwa prangkh sungidrbxiththiphlmacaksthaptykrrmxinediythieriykwa sikhr kartkaetngsthaptykrrmimniymphunthiwang mktkaetnglwdlaydxkim ibimaelalaypradisth tamswntang khxngxakhar phngxakharepnaebbngay aebbkakbath mkmikarsrangraebiyngkhdlxmrxb sthaptykrrmniichepnthipradisthanphraphuththrupphraophthistw phraphuththrupniymsrangepn 3 xngkh xnhmaythungthrrmkay idaekphrathrrm smophkhkay aelanirmankay phuththsthanthisakhymkcasranginphuththstwrrsthi 17 18 echnprasathhinphimay prasathhinphnmwn wdphraphayhlwng phraprangkhsamyxd aelaprasathemuxngsingh aephnphngkhxngsthaptykrrminsilpalphburiidklayepntnaebbkarwangaephnphngwdinsmysuokhthyaelaxyuthya thiehnidchdecnkhuxaephnphngkhxngklumwdkhnadihyinsmyxyuthyatxntnxangxingsuphthrdis diskul m c silpsmylphburi phrankhr krmsilpakr 2510 lphburismyphranarayn rxngrxykarphthnainxditaelamrdkthangwthnthrrm silpwthnthrrm rungorcn thrrmrungeruxng prawti aenwkhwamkhid aelawithikhnkhwawichaprawtisastrsilpaithy krungethph emuxngobran 2551 134 181 phraphuththrupnakhprkinphiphithphnth smedcphranarayn epnphuththsilpaebbsilpalphburithiaethcring sunyxachiphaelathurkicmtichn phraphuththrupsakhyaelaphuththsilpindinaednithy silpasmylphburi phuththstwrrsthi 16 18 hnacw xannth eruxngkaycnwithy karxxkaebbphraxuobsthaelaphrawiharaebbithypraephnismyxyuthyatxnplay ph s 2173 2310 PDF mhawithyalysilpakr p 44