- บทความนี้ เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
ad hominem ซึ่งเป็นคำย่อจาก argumentum ad hominem เป็นรูปแบบการให้เหตุผลหลายอย่างซึ่งโดยมากเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย ปกติหมายถึงยุทธวิธีทางวาทศิลป์ที่ผู้พูดโจมตีอุปนิสัย แรงจูงใจ/เจตนา หรือลักษณะอื่นๆ ของอีกฝ่ายที่กำลังให้เหตุผล แทนที่จะโจมตีสาระของการให้เหตุผลเอง เป็นการเลี่ยงการสืบหาเหตุผลจริงๆ เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจโดยโจมตีบุคคลและมักจะใช้อุปนิสัยหรือพื้นเพของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เข้าประเด็นแต่สร้างอารมณ์ มีรูปแบบสามัญคือ "ก" อ้าง "ข้อเท็จจริง" แล้ว "ข" ก็อ้างว่า "ก" มีนิสัย มีคุณสมบัติ มีรูปร่างกายเป็นต้นที่น่ารังเกียจ เป็นการพูดนอกประเด็นแล้วก็สรุปว่า "ก" พูดไม่ถูก โดยไม่กล่าวถึงประเด็นอะไรๆ ที่กำลังโต้แย้ง
ในการโต้เถียงทางปรัชญาโดยเฉพาะบางอย่าง ad hominem อาจหมายถึงยุทธิวิธีทางวิภาษวิธีที่ใช้ความเชื่อและเหตุผลของอีกฝ่ายเพื่อโต้แย้งอีกฝ่ายเอง โดยไม่ได้ยอมรับความสมเหตุสมผลของความเชื่อและเหตุผลที่ใช้
มีการศึกษาการให้เหตุผลแบบ ad hominem มาอย่างช้าตั้งแต่สมัยกรีซโบราณแล้ว นักปรัชญาชาวอังกฤษ จอห์น ล็อก ได้รื้อฟื้นการศึกษาเหตุผลวิบัตินี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักการเมืองในปัจจุบันมักโจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วย ad hominem โดยอาจลงท้ายด้วยการตั้งชื่อเล่นที่ดูถูก
ประวัติ
การให้เหตุผลแบบ ad hominem ในรูปแบบต่างๆ ได้ศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีซโบราณ เช่น ดังที่พบในงานของอาริสโตเติล แต่ปกติก็จะไม่ใช่รูปแบบที่หมายถึงในปัจจุบัน
นักปรัชญาชาวอังกฤษจอห์น ล็อก และผู้รู้รอบด้านคือกาลิเลโอ กาลิเลอีได้รื้อฟื้นการศึกษาเหตุผลวิบัตินี้ในยุโรป แต่ก็ยังไม่ได้มุ่งเหตุผลวิบัติในรูปแบบที่หมายถึงในปัจจุบัน ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักตรรกะชาวอังกฤษริชาร์ด เวตลีย์ จึงได้ให้นิยามกว้างๆ ที่เริ่มเข้ากันกับความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน เขาระบุว่าเป็นการให้เหตุผลที่ "มุ่งสถานการณ์ อุปนิสัย ความเห็นที่ประกาศ หรือพฤติกรรมในอดีตของบุคคล"
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างช้า ad hominem ก็ได้ความหมายแล้วว่าเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ ซึ่งผู้โต้แย้งโจมตีฝ่ายตรงข้ามแทนที่จะพิสูจน์การให้เหตุผลว่าไม่ถูกต้อง แต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษ นักปรัชญาชาวออสเตรเลียชาลส์ แฮมบลิน ก็ได้โต้แย้งนิยามทำนองนี้ เขาระบุว่า การโจมตีบุคคลเมื่อให้เหตุผล ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเหตุผลวิบัติถ้าข้อความโจมตีนั้นๆ ไม่ได้ใช้เป็นข้อตั้งที่นำไปสู่ข้อสรุป แต่ข้อวิจารณ์นี้ก็ไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบัน ยกเว้นในด้านปรัชญาโดยเฉพาะๆ คำนี้หมายถึงการโจมตีอุปนิสัยหรือลักษณะของบุคคลเพื่อใช้ปฏิเสธการให้เหตุผลของบุคคลนั้น
ศัพท์
วลีภาษาละตินว่า argumentum ad hominem แปลว่า "การให้เหตุผลโต้แย้งบุคคล" ส่วนวลี ad mulierem และ ad feminam ใช้เมื่อโต้แย้งผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่จริงๆ คำว่า hominem (มีรากเป็น homo) ก็มีเพศเป็นกลางอยู่แล้วในภาษาละติน
รูปแบบ
เหตุผลวิบัติ ad hominem จัดเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย โดยเฉพาะจัดเป็นเหตุผลวิบัติโดยกำเนิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลวิบัติโดยประเด็น
ad hominem อาจแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เช่น tu quoque, ตามสถานการณ์, ผิดเพราะเป็นพรรคพวก และแบบด่าว่า ทั้งหมดมีโครงคล้ายกับ ad hominem ธรรมดา ซึ่งก็คือแทนที่จะโต้แย้งการให้เหตุผล แต่กลับไปโจมตีอุปนิสัยของอีกฝ่าย แล้วสรุปว่านี่เป็นเหตุผลเพียงพอเพื่อปฏิเสธข้ออ้างของอีกฝ่าย
Tu quoque
Ad hominem tu quoque (แปลตามศัพท์ว่า "คุณเช่นกัน") เป็นการตอบโต้การถูกโจมตีด้วย ad hominem โดยโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งกลับด้วย ad hominem มีรูปแบบเป็น
- ก อ้างว่า a
- ข โจมตีลักษณะของ ก ว่ามีลักษณะ x ซึ่งแย่
- ก โจมตีกลับโดยอ้างว่า ข ก็มีลักษณะ x เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจผู้เป็นนักการเมืองด้วยได้ไปให้การบรรยายที่มหาวิทยาลัยว่าบริษัทของเขาดีอย่างไร และว่าระบบบ้านเมืองกำลังดำเนินไปด้วยดีขนาดไหน นักศึกษาถามเขาว่า "มันจริงไหมว่า ท่าน สส. กับบริษัทของท่าน สส. ได้ขายอาวุธให้แก่ผู้ปกครองของประเทศโลกที่สาม ผู้ใช้อาวุธนั้นทำร้ายประชาชนของตนเอง" นักธุรกิจตอบว่า "มันจริงไหมว่า มหาวิทยาลัยของนักศึกษาได้รับเงินทุนจากบริษัทเดียวกันที่นักศึกษาอ้างว่า ขายอาวุธให้แก่ประเทศเหล่านั้น นักศึกษาก็ไม่ใช่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนกัน" การโจมตีแบบ ad hominem ของนักศึกษาเข้าประเด็นกับสิ่งที่นักธุรกิจพยายามจะแสดง ดังนั้นจึงไม่ใช่เหตุผลวิบัติ แต่การโจมตีนักศึกษาไม่เข้าประเด็นกับสิ่งที่กำลังพูดนั้น ดังนั้น การโจมตีของนักธุรกิจแบบ tu quoque จึงเป็นเหตุผลวิบัติ
tu quoque ยังอาจมีนิยามอื่น คือเป็นเหตุผลวิบัติที่เกิดเมื่อโต้แย้งการให้เหตุผลโดยอาศัยประวัติของอีกฝ่าย เป็นการให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นกันเพราะไม่ได้พิสูจน์ข้อตั้งเดิมว่าเป็นเท็จ แม้ข้อตั้งของเหตุผลวิบัติเองอาจจะเป็นจริง แต่ความจริงฝ่ายตรงข้ามก็อาจจะเป็นเพียงคนพูดอย่างทำอย่าง หรือว่าอาจจะเปลี่ยนใจ แต่ก็ไม่ได้ทำข้อความดั้งเดิมให้น่าเชื่อถือน้อยลงทางตรรกะ ตัวอย่างคือ เมื่อแพทย์แนะนำให้คนไข้ลดน้ำหนัก แต่คนไข้อ้างว่าไม่จำเป็น เพราะหมอก็น้ำหนักเกินเหมือนกัน
ตามสถานการณ์
ad hominem ตามสถานการณ์เป็นการให้เหตุผลว่า คนที่มีอะไรบางอย่างเช่น การงาน ความร่ำรวย ทรัพย์สมบัติ หรือความสัมพันธ์ จะมีโอกาสมีจุดยืนบางอย่างมากกว่า เป็นการโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่ามีความเอนเอียง/อคติ แต่ก็เหมือนกับ ad hominem ประเภทอื่นๆ ว่า การโจมตีสถานการณ์อาจจะเป็นเหตุผลวิบัติหรือไม่ก็ได้ เพราะความเอนเอียงไม่จำเป็นต้องทำให้การให้เหตุผลไม่สมเหตุสมผล ความเป็นเหตุผลวิบัติจึงไม่แน่นอน นี่เหลื่อมกับเหตุผลวิบัติโดยกำเนิดซึ่งเป็นการให้เหตุผลว่าข้ออ้างไม่ถูกต้องเพราะแหล่งที่มา แต่ก็อาจเป็นการให้เห็นเหตุผลที่ดี ถ้าข้อตั้งถูกต้องและความเอนเอียงก็เข้าประเด็นกับการให้เหตุผล
ตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ พ่ออาจจะบอกลูกสาวว่าไม่ให้สูบบุหรี่เพราะจะเสียสุขภาพ เธอชี้ว่าแม้พ่อเองก็สูบบุหรี่ แต่นี่ก็ไม่ได้เปลี่ยนความเป็นจริงว่า การสูบบุหรี่อาจก่อโรคต่างๆ ความไม่คงเส้นคงวาของพ่อไม่ใช่เหตุผลที่สมควรในการปฏิเสธข้ออ้างของเขา
ad hominem โดยสถานการณ์ อาจไม่ใช่เหตุผลวิบัติ เช่นในกรณีที่ ก โจมตีบุคลิกภาพของ ข ผู้มีข้ออ้าง 1 โดยที่บุคลิกภาพของ ข ก็เข้าประเด็นกับข้ออ้าง 1 ด้วย มีตัวอย่างเป็นพยานในศาล ถ้าพยานเคยถูกจับได้ว่าโกงและโกหกมาก่อน ศาลควรจะเชื่อคำของพยานว่าเป็นจริงเลยหรือไม่ ไม่ควร
ผิดเพราะเป็นพรรคพวก
การโทษว่าผิดเพราะเป็นพรรคพวก (guilt by association) เป็นการโทษอีกฝ่ายว่าผิดเพราะมีความสัมพันธ์กับบุคคลหรือกลุ่มที่ถูกดิสเครดิตไปแล้ว อาจจัดเป็นเหตุวิบัติแบบ ad hominem รูปแบบหนึ่งที่โจมตีแหล่งที่มาเพราะมีความคิดเห็นคล้ายกัน โดยมีรูปแบบดังต่อไปนี้
- ก อ้างว่า 1
- ก มีความสัมพันธ์กับกลุ่ม ข ซึ่งมีชื่อเสียงไม่ดี
- ดังนั้น ความเห็นของ ก จึงไม่น่าเชื่อถือ
มีตัวอย่างเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2551 ที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีแซราห์ เพลิน โจมตีบารัก โอบามาว่าได้เคยร่วมงานกับบิล แอรส์ ผู้เป็นผู้นำกลุ่มก่อการร้าย Weather Underground ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 มาแล้ว แม้โอบามาจะได้ประณามการก่อการร้ายทุกอย่าง ฝ่ายตรงข้ามก็ยังโทษเขาฐานเป็นพรรคพวก ความผิดฐานเป็นพวกมักใช้ในการโต้แย้งทางสังคมและการเมือง โดยยังเกิดหลังเหตุการณ์สำคัญๆ อีกด้วยเช่น เรื่องอื้อฉาวหรือการก่อการร้าย ตัวอย่างเช่น การโจมตีคนอิสลามในสหรัฐได้เกิดมากสุดหลังวินาศกรรม 11 กันยายน
ad hominem แบบด่าว่า
ad hominem แบบด่าว่าเป็นการโจมตีอุปนิสัยของฝ่ายตรงข้ามโดยตรง นอกจากจะเป็นเหตุผลวิบัติแล้วยังไร้ประโยชน์อีกด้วย เพราะจะคุยกันดีๆ ไม่ได้หลังจากนั้น ประเด็นสำคัญในการตรวจสอบว่าเป็นเหตุผลวิบัติแบบ ad hominem หรือไม่ก็คือให้ดูว่า คำกล่าวโทษบุคคลนั้นจริงหรือไม่และเข้าประเด็นกับการให้เหตุผลหรือไม่ ตัวอย่างก็คือการซักพยานในศาล ที่ทนายซักค้านพยาน แล้วแสดงว่าพยานได้ถูกตัดสินในอดีตว่าโกหกศาล ถ้าข้อสรุปของทนายคือพยานกำลังโกหก นี่ก็จะเป็นเหตุผลวิบัติ แต่ถ้าข้อสรุปก็คือพยานเชื่อถือไม่ได้ นี้ไม่ใช่เหตุผลวิบัติ
การให้เหตุผลโดยอาศัยการยอมรับ (argument from commitment)
การให้เหตุผลแบบ ad hominem โดยอาศัยการยอมรับ (argument from commitment) เป็นการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผลโดยเป็นยุทธวิธีทางวิภาษวิธี ที่ใช้ความเชื่อ ความเชื่อมั่น และข้อสมมุติของอีกฝ่ายเพื่อโต้แย้งกับบุคคลนั้นเอง คือใช้เหตุผลซึ่งอาศัยสิ่งที่อีกฝ่ายเชื่อว่าเป็นจริง เป็นรูปแบบที่พบในการโต้แย้งทางปรัชญาโดยเฉพาะๆ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ex concessis argument (แปลว่า การให้เหตุผลจากสิ่งที่ได้ยอมรับแล้ว)
ในการโต้แย้ง
เหตุผลวิบัติแบบ ad hominem จัดว่าไม่สุภาพ และไม่ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการโต้แย้ง เป็นการโจมตีอุปนิสัยของอีกฝ่าย ผู้มักจะรู้สึกว่าต้องป้องกันตนเองจากการถูกกล่าวโทษว่าพูดอย่างทำอย่าง มันได้ผลจนถูกนำไปใช้ทางการเมืองอย่างแพร่หลาย แต่เพราะมองว่าไม่ดีและเป็นลูกเล่นสกปรก จึงได้ชื่อไม่ดีว่าเป็นเหตุผลวิบัติอย่างแน่นอน
นักเขียนเรื่องการเมืองอิสราเอลได้อธิบายรูปแบบการโจมตีอีกสองอย่างที่สามัญในช่วงการเลือกตั้ง ซึ่งอาศัยความจำที่มีร่วมกันระหว่างผู้โจมตีกับผู้ฟัง อย่างแรกคือ ad hominem โดยแบบอย่าง คือแบบอย่างหรือประวัติที่เคยมีมาก่อนของอีกฝ่ายทำให้อีกฝ่ายไม่คู่ควรกับตำแหน่ง เช่น "คู่แข่งของผมผิดพลาด (ตามการกล่าวหา) ในอดีต ดังนั้นเขาจึงผิดพลาดในปัจจุบัน" อย่างที่สองเป็น ad hominem โดยพฤติกรรม คือ "คู่แข่งของผมไม่ได้ให้เหตุผลอย่างบังควรในอดีต ดังนั้นตอนนี้ เขาก็ไม่บังควรเหมือนกัน" การโจมตีเช่นนี้อาศัยการที่ผู้ฟังไม่เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายกล่าวข้อความเท็จมากน้อยขนาดไหน
ข้อวิจารณ์ในความเป็นเหตุผลวิบัติ
การให้เหตุผลแบบ ad hominem จริงๆ ไม่ได้เป็นเหตุวิบัติเสมอไป ในบางกรณี พฤติกรรม อุปนิสัย แรงจูงใจเป็นต้น อาจเป็นประเด็นที่ถูกต้องตามเหตุผลและเข้าประเด็น เช่น เมื่อมันเกี่ยวกับการพูดอย่างทำอย่างของบุคคลนั้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Walton 2001, p. 208; Tindale 2007, p. 82.
- Tindale 2007, p. 82.
- Nuchelmans 1993, p. 43.
- Walton 2001, pp. 208–210.
- van Eemeren & Grootendorst 2015, pp. 615–626.
- Walton 2001, p. 210.
- Tindale 2007, p. 91.
- Olivesi 2010; Sommers 1991.
- Lewis & Short 1879, p. 859-860.
- Walton 2008, p. 190; Bowell & Kemp 2010, pp. 201-213; Copi 1986, pp. 112-113.
- van Eemeren 2001, p. 142.
- Wrisley 2019, p. 88; Walton 2015, pp. 431-435; Lavery & Hughes 2008, p. 132.
- Wrisley 2019, p. 89.
- Wrisley 2019, pp. 89–91.
- Tindale 2007, pp. 94–96.
- Walton 1998, pp. 18-21; Wrisley 2019, pp. 77-78.
- Walton 2001, p. 211.
- Walton 2001, p. 213.
- Walton 1998, pp. 18–21.
- Kolb 2019, pp. 351–352.
- Tindale 2007, pp. 92–93.
- Hansen 2019, 1. The core fallacies.
- Walton 2006, p. 123.
- Wrisley 2019, pp. 86–87.
- Merriam-Webster 2019, note1.
- Walton 2001.
- Weston 2018, p. 82.
- Walton 2006, p. 122.
- Orkibi 2018, pp. 497–498.
- Walton 2008, p. 170.
อ้างอิงอื่นๆ
- Bowell, Tracy; Kemp, Gary (2010). Critical Thinking: A Concise Guide. Abingdon, Oxon: Routledge. ISBN .
- Copi, Irving M. (1986). Informal Logic. Macmillan. ISBN .
- Hansen, Hans (2019). "Fallacies". ใน Zalta, Edward N. (บ.ก.). The Stanford Encyclopedia of Philosophy.
- Kolb, Leigh (2019). "Guilt by Association". ใน Robert Arp; Steven Barbone; Michael Bruce (บ.ก.). Bad Arguments: 100 of the Most Important Fallacies in Western Philosophy. Wiley Blackwell. pp. 351–353. doi:10.1002/9781119165811.ch83. ISBN . S2CID 187211421.
- Lavery, Jonathan; Hughes, Willam (2008-05-27). Critical Thinking, fifth edition: An Introduction to the Basic Skills. Broadview Press. ISBN .
- Lewis, Charlton; Short, Charles (1879). A Latin Dictionary. Nigel Gourlay. ISBN .
- Merriam-Webster (2019). "Definition of Ad Hominem". สืบค้นเมื่อ 2020-01-08.
- Nuchelmans, Gäbriel (1993). "On the Fourfold Root of the Argumentum ad Hominem". ใน Krabbe, Erik C. W.; Dalitz, Renée José; Smit, Pier (บ.ก.). Empirical Logic and Public Debate.
- Olivesi, Aurélie (2010-04-05). "L'interrogation sur la compétence politique en 2007 : une question de genre ?". Quaderni (ภาษาฝรั่งเศส) (72): 59–74. doi:10.4000/quaderni.486. ISSN 0987-1381.
- Orkibi, Eithan (2018-02-27). "Precedential Ad Hominem in Polemical Exchange: Examples from the Israeli Political Debate". Argumentation. 32 (4): 485–499. doi:10.1007/s10503-018-9453-2. ISSN 0920-427X. S2CID 254261480.
- Sommers, Christina (March 1991). "Argumentum ad feminam". Journal of Social Philosophy (ภาษาอังกฤษ). 22 (1): 5–19. doi:10.1111/j.1467-9833.1991.tb00016.x. ISSN 0047-2786.
- Taylor, Charles (1995). "Explanation and Practical Reason". Philosophical Arguments. Harvard University Press. pp. 34–60. ISBN .
- Tindale, Christopher W. (2007-01-22). Fallacies and Argument Appraisal. Cambridge University Press. ISBN .
- van Eemeren, F. H. (2001). Crucial Concepts in Argumentation Theory. Amsterdam University Press. ISBN .
- van Eemeren, Frans H.; Grootendorst, Rob (2015). "The History of the Argumentum Ad Hominem Since the Seventeenth Century". Argumentation Library. Cham: Springer International Publishing. doi:10.1007/978-3-319-20955-5_32. ISBN . ISSN 1566-7650.
- Walton, Douglas N. (1998). Ad Hominem Arguments. University of Alabama Press. ISBN .
- Walton, Douglas N. (2001). "Argumentation Schemes and Historical Origins of the Circumstantial Ad Hominem Argument" (PDF). Argumentation. 15 (2): 207–221. doi:10.1023/A:1011120100277. ISSN 0920-427X. S2CID 16864574.
- Walton, Douglas N. (2006). Fundamentals of Critical Argumentation. Cambridge University Press. ISBN .
- Walton, Douglas N. (2008). Informal Logic: A Pragmatic Approach. Cambridge University Press.
- Walton, Douglas N. (2015-04-27). "informal logic". ใน Audi Robert (บ.ก.). The Cambridge Dictionary of Philosophy. Cambridge University Press. ISBN .
- Weston, Anthony (2018). A Rulebook for Arguments. Hackett Publishing Company, Incorporated. ISBN .
- Wong, Andrew David (2017). Unmitigated Skepticism: The Nature and Scope of Pyrrhonism (PDF) (วิทยานิพนธ์). University of California.
- Wrisley, George (2019). "Ad Hominem: Circumstantial". ใน Robert Arp; Steven Barbone; Michael Bruce (บ.ก.). Bad Arguments: 100 of the Most Important Fallacies in Western Philosophy. Wiley Blackwell. pp. 77–82. doi:10.1002/9781119165811.ch9. ISBN . S2CID 171674012.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Ad hominem ที่
- Argumentum Ad Hominem
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnimichuxepnphasaxun hruxichxksrinphasaxun enuxngcaktxngkarkhngiwtamtnchbb hruximmichuxphasaithythiehmaasmbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha ad hominem sungepnkhayxcak argumentum ad hominem epnrupaebbkarihehtuphlhlayxyangsungodymakepnehtuphlwibtixrupny pktihmaythungyuththwithithangwathsilpthiphuphudocmti xupnisy aerngcungic ectna hruxlksnaxun khxngxikfaythikalngihehtuphl aethnthicaocmtisarakhxngkarihehtuphlexng epnkareliyngkarsubhaehtuphlcring epnkarebiyngebnkhwamsnicodyocmtibukhkhlaelamkcaichxupnisyhruxphunephkhxngfaytrngkhamthiimekhapraednaetsrangxarmn mirupaebbsamykhux k xang khxethccring aelw kh kxangwa k minisy mikhunsmbti miruprangkayepntnthinarngekiyc epnkarphudnxkpraednaelwksrupwa k phudimthuk odyimklawthungpraednxair thikalngotaeyng inkarotethiyngthangprchyaodyechphaabangxyang ad hominem xachmaythungyuththiwithithangwiphaswithithiichkhwamechuxaelaehtuphlkhxngxikfayephuxotaeyngxikfayexng odyimidyxmrbkhwamsmehtusmphlkhxngkhwamechuxaelaehtuphlthiich mikarsuksakarihehtuphlaebb ad hominem maxyangchatngaetsmykrisobranaelw nkprchyachawxngkvs cxhn lxk idruxfunkarsuksaehtuphlwibtiniinchwngkhriststwrrsthi 17 nkkaremuxnginpccubnmkocmtifaytrngkhamdwy ad hominem odyxaclngthaydwykartngchuxelnthiduthukprawtixarisotetil 384 322 kxnkhristskrach idekhrditwaepnphuaeykaeyakarihehtuphlthiotaeyngbukhkhl kbthiotaeyngehtuphl karihehtuphlaebb ad hominem inrupaebbtang idsuksamatngaetsmykrisobran echn dngthiphbinngankhxngxarisotetil aetpktikcaimichrupaebbthihmaythunginpccubn nkprchyachawxngkvscxhn lxk aelaphururxbdankhuxkalielox kalielxiidruxfunkarsuksaehtuphlwibtiniinyuorp aetkyngimidmungehtuphlwibtiinrupaebbthihmaythunginpccubn txmainklangkhriststwrrsthi 19 nktrrkachawxngkvsrichard ewtliy cungidihniyamkwang thierimekhaknkbkhwamhmaythiichinpccubn ekharabuwaepnkarihehtuphlthi mungsthankarn xupnisy khwamehnthiprakas hruxphvtikrrminxditkhxngbukhkhl intnkhriststwrrsthi 20 epnxyangcha ad hominem kidkhwamhmayaelwwaepnehtuphlwibtithangtrrka sungphuotaeyngocmtifaytrngkhamaethnthicaphisucnkarihehtuphlwaimthuktxng aettxnplaykhriststwrrs nkprchyachawxxsetreliychals aehmblin kidotaeyngniyamthanxngni ekharabuwa karocmtibukhkhlemuxihehtuphl imcaepntxngthaihepnehtuphlwibtithakhxkhwamocmtinn imidichepnkhxtngthinaipsukhxsrup aetkhxwicarnnikimidrbkaryxmrbxyangkwangkhwang inpccubn ykewnindanprchyaodyechphaa khanihmaythungkarocmtixupnisyhruxlksnakhxngbukhkhlephuxichptiesthkarihehtuphlkhxngbukhkhlnnsphthwliphasalatinwa argumentum ad hominem aeplwa karihehtuphlotaeyngbukhkhl swnwli ad mulierem aela ad feminam ichemuxotaeyngphuhyingodyechphaa aetcring khawa hominem mirakepn homo kmiephsepnklangxyuaelwinphasalatinrupaebbehtuphlwibti ad hominem cdepnehtuphlwibtixrupny odyechphaacdepnehtuphlwibtiodykaenid sungepnswnhnungkhxngehtuphlwibtiodypraedn ad hominem xacaebngepnhmwdtang echn tu quoque tamsthankarn phidephraaepnphrrkhphwk aelaaebbdawa thnghmdmiokhrngkhlaykb ad hominem thrrmda sungkkhuxaethnthicaotaeyngkarihehtuphl aetklbipocmtixupnisykhxngxikfay aelwsrupwaniepnehtuphlephiyngphxephuxptiesthkhxxangkhxngxikfay Tu quoque Ad hominem tu quoque aepltamsphthwa khunechnkn epnkartxbotkarthukocmtidwy ad hominem odyocmtixikfayhnungklbdwy ad hominem mirupaebbepn k xangwa a kh ocmtilksnakhxng k wamilksna x sungaey k ocmtiklbodyxangwa kh kmilksna x ehmuxnkn twxyangechn nkthurkicphuepnnkkaremuxngdwyidipihkarbrryaythimhawithyalywabristhkhxngekhadixyangir aelawarabbbanemuxngkalngdaeninipdwydikhnadihn nksuksathamekhawa mncringihmwa than ss kbbristhkhxngthan ss idkhayxawuthihaekphupkkhrxngkhxngpraethsolkthisam phuichxawuthnntharayprachachnkhxngtnexng nkthurkictxbwa mncringihmwa mhawithyalykhxngnksuksaidrbenginthuncakbristhediywknthinksuksaxangwa khayxawuthihaekpraethsehlann nksuksakimichbrisuththiphudphxngehmuxnkn karocmtiaebb ad hominem khxngnksuksaekhapraednkbsingthinkthurkicphyayamcaaesdng dngnncungimichehtuphlwibti aetkarocmtinksuksaimekhapraednkbsingthikalngphudnn dngnn karocmtikhxngnkthurkicaebb tu quoque cungepnehtuphlwibti tu quoque yngxacminiyamxun khuxepnehtuphlwibtithiekidemuxotaeyngkarihehtuphlodyxasyprawtikhxngxikfay epnkarihehtuphlthiimsmehtusmphlechnknephraaimidphisucnkhxtngedimwaepnethc aemkhxtngkhxngehtuphlwibtiexngxaccaepncring aetkhwamcringfaytrngkhamkxaccaepnephiyngkhnphudxyangthaxyang hruxwaxaccaepliynic aetkimidthakhxkhwamdngedimihnaechuxthuxnxylngthangtrrka twxyangkhux emuxaephthyaenanaihkhnikhldnahnk aetkhnikhxangwaimcaepn ephraahmxknahnkekinehmuxnkn tamsthankarn ad hominem tamsthankarnepnkarihehtuphlwa khnthimixairbangxyangechn karngan khwamrarwy thrphysmbti hruxkhwamsmphnth camioxkasmicudyunbangxyangmakkwa epnkarocmtifaytrngkhamwamikhwamexnexiyng xkhti aetkehmuxnkb ad hominem praephthxun wa karocmtisthankarnxaccaepnehtuphlwibtihruximkid ephraakhwamexnexiyngimcaepntxngthaihkarihehtuphlimsmehtusmphl khwamepnehtuphlwibticungimaennxn niehluxmkbehtuphlwibtiodykaenidsungepnkarihehtuphlwakhxxangimthuktxngephraaaehlngthima aetkxacepnkarihehnehtuphlthidi thakhxtngthuktxngaelakhwamexnexiyngkekhapraednkbkarihehtuphl twxyangngay xyanghnungkhux phxxaccabxkluksawwaimihsubbuhriephraacaesiysukhphaph ethxchiwaaemphxexngksubbuhri aetnikimidepliynkhwamepncringwa karsubbuhrixackxorkhtang khwamimkhngesnkhngwakhxngphximichehtuphlthismkhwrinkarptiesthkhxxangkhxngekha ad hominem odysthankarn xacimichehtuphlwibti echninkrnithi k ocmtibukhlikphaphkhxng kh phumikhxxang 1 odythibukhlikphaphkhxng kh kekhapraednkbkhxxang 1 dwy mitwxyangepnphyaninsal thaphyanekhythukcbidwaokngaelaokhkmakxn salkhwrcaechuxkhakhxngphyanwaepncringelyhruxim imkhwr phidephraaepnphrrkhphwk karothswaphidephraaepnphrrkhphwk guilt by association epnkarothsxikfaywaphidephraamikhwamsmphnthkbbukhkhlhruxklumthithukdisekhrditipaelw xaccdepnehtuwibtiaebb ad hominem rupaebbhnungthiocmtiaehlngthimaephraamikhwamkhidehnkhlaykn odymirupaebbdngtxipni k xangwa 1 k mikhwamsmphnthkbklum kh sungmichuxesiyngimdi dngnn khwamehnkhxng k cungimnaechuxthux mitwxyangepnkareluxktngprathanathibdishrth ph s 2551 thiphusmkhrchingtaaehnngrxngprathanathibdiaesrah ephlin ocmtibark oxbamawaidekhyrwmngankbbil aexrs phuepnphunaklumkxkarray Weather Underground tngaetkhristthswrrs 1960 maaelw aemoxbamacaidpranamkarkxkarraythukxyang faytrngkhamkyngothsekhathanepnphrrkhphwk khwamphidthanepnphwkmkichinkarotaeyngthangsngkhmaelakaremuxng odyyngekidhlngehtukarnsakhy xikdwyechn eruxngxuxchawhruxkarkxkarray twxyangechn karocmtikhnxislaminshrthidekidmaksudhlngwinaskrrm 11 knyayn ad hominem aebbdawa ad hominem aebbdawacdwaaeysudinladbkhnkhwamkhdaeyngknkhxngekraehm Graham s Hierarchy of Disagreement ad hominem aebbdawaepnkarocmtixupnisykhxngfaytrngkhamodytrng nxkcakcaepnehtuphlwibtiaelwyngirpraoychnxikdwy ephraacakhuykndi imidhlngcaknn praednsakhyinkartrwcsxbwaepnehtuphlwibtiaebb ad hominem hruximkkhuxihduwa khaklawothsbukhkhlnncringhruximaelaekhapraednkbkarihehtuphlhruxim twxyangkkhuxkarskphyaninsal thithnayskkhanphyan aelwaesdngwaphyanidthuktdsininxditwaokhksal thakhxsrupkhxngthnaykhuxphyankalngokhk nikcaepnehtuphlwibti aetthakhxsrupkkhuxphyanechuxthuximid niimichehtuphlwibti karihehtuphlodyxasykaryxmrb argument from commitment karihehtuphlaebb ad hominem odyxasykaryxmrb argument from commitment epnkarihehtuphlthismehtusmphlodyepnyuththwithithangwiphaswithi thiichkhwamechux khwamechuxmn aelakhxsmmutikhxngxikfayephuxotaeyngkbbukhkhlnnexng khuxichehtuphlsungxasysingthixikfayechuxwaepncring epnrupaebbthiphbinkarotaeyngthangprchyaodyechphaa kxnkhriststwrrsthi 20 michuxeriykxikxyanghnungwa ex concessis argument aeplwa karihehtuphlcaksingthiidyxmrbaelw inkarotaeyngehtuphlwibtiaebb ad hominem cdwaimsuphaph aelaimchwysrangbrryakasthidiinkarotaeyng epnkarocmtixupnisykhxngxikfay phumkcarusukwatxngpxngkntnexngcakkarthukklawothswaphudxyangthaxyang mnidphlcnthuknaipichthangkaremuxngxyangaephrhlay aetephraamxngwaimdiaelaepnlukelnskprk cungidchuximdiwaepnehtuphlwibtixyangaennxn nkekhiyneruxngkaremuxngxisraexlidxthibayrupaebbkarocmtixiksxngxyangthisamyinchwngkareluxktng sungxasykhwamcathimirwmknrahwangphuocmtikbphufng xyangaerkkhux ad hominem odyaebbxyang khuxaebbxyanghruxprawtithiekhymimakxnkhxngxikfaythaihxikfayimkhukhwrkbtaaehnng echn khuaekhngkhxngphmphidphlad tamkarklawha inxdit dngnnekhacungphidphladinpccubn xyangthisxngepn ad hominem odyphvtikrrm khux khuaekhngkhxngphmimidihehtuphlxyangbngkhwrinxdit dngnntxnni ekhakimbngkhwrehmuxnkn karocmtiechnnixasykarthiphufngimehnxyangchdecnwathngsxngfayklawkhxkhwamethcmaknxykhnadihnkhxwicarninkhwamepnehtuphlwibtikarihehtuphlaebb ad hominem cring imidepnehtuwibtiesmxip inbangkrni phvtikrrm xupnisy aerngcungicepntn xacepnpraednthithuktxngtamehtuphlaelaekhapraedn echn emuxmnekiywkbkarphudxyangthaxyangkhxngbukhkhlnnduephimsthaniyxyprchyakarxangxanac khawplxm erdehrring chuxesiyng hunfangxangxingWalton 2001 p 208 Tindale 2007 p 82 Tindale 2007 p 82 Nuchelmans 1993 p 43 Walton 2001 pp 208 210 van Eemeren amp Grootendorst 2015 pp 615 626 Walton 2001 p 210 Tindale 2007 p 91 Olivesi 2010 Sommers 1991 Lewis amp Short 1879 p 859 860 Walton 2008 p 190 Bowell amp Kemp 2010 pp 201 213 Copi 1986 pp 112 113 van Eemeren 2001 p 142 Wrisley 2019 p 88 Walton 2015 pp 431 435 Lavery amp Hughes 2008 p 132 Wrisley 2019 p 89 Wrisley 2019 pp 89 91 Tindale 2007 pp 94 96 Walton 1998 pp 18 21 Wrisley 2019 pp 77 78 Walton 2001 p 211 Walton 2001 p 213 Walton 1998 pp 18 21 Kolb 2019 pp 351 352 Tindale 2007 pp 92 93 Hansen 2019 1 The core fallacies Walton 2006 p 123 Wrisley 2019 pp 86 87 Merriam Webster 2019 note1 Walton 2001 Weston 2018 p 82 Walton 2006 p 122 Orkibi 2018 pp 497 498 Walton 2008 p 170 xangxingxun Bowell Tracy Kemp Gary 2010 Critical Thinking A Concise Guide Abingdon Oxon Routledge ISBN 978 0 415 47183 1 Copi Irving M 1986 Informal Logic Macmillan ISBN 978 0 02 324940 2 Hansen Hans 2019 Fallacies in Zalta Edward N b k The Stanford Encyclopedia of Philosophy Kolb Leigh 2019 Guilt by Association in Robert Arp Steven Barbone Michael Bruce b k Bad Arguments 100 of the Most Important Fallacies in Western Philosophy Wiley Blackwell pp 351 353 doi 10 1002 9781119165811 ch83 ISBN 978 1 119 16580 4 S2CID 187211421 Lavery Jonathan Hughes Willam 2008 05 27 Critical Thinking fifth edition An Introduction to the Basic Skills Broadview Press ISBN 978 1 77048 111 4 Lewis Charlton Short Charles 1879 A Latin Dictionary Nigel Gourlay ISBN 9781999855789 Merriam Webster 2019 Definition of Ad Hominem subkhnemux 2020 01 08 Nuchelmans Gabriel 1993 On the Fourfold Root of the Argumentum ad Hominem in Krabbe Erik C W Dalitz Renee Jose Smit Pier b k Empirical Logic and Public Debate Olivesi Aurelie 2010 04 05 L interrogation sur la competence politique en 2007 une question de genre Quaderni phasafrngess 72 59 74 doi 10 4000 quaderni 486 ISSN 0987 1381 Orkibi Eithan 2018 02 27 Precedential Ad Hominem in Polemical Exchange Examples from the Israeli Political Debate Argumentation 32 4 485 499 doi 10 1007 s10503 018 9453 2 ISSN 0920 427X S2CID 254261480 Sommers Christina March 1991 Argumentum ad feminam Journal of Social Philosophy phasaxngkvs 22 1 5 19 doi 10 1111 j 1467 9833 1991 tb00016 x ISSN 0047 2786 Taylor Charles 1995 Explanation and Practical Reason Philosophical Arguments Harvard University Press pp 34 60 ISBN 9780674664760 Tindale Christopher W 2007 01 22 Fallacies and Argument Appraisal Cambridge University Press ISBN 978 1 139 46184 9 van Eemeren F H 2001 Crucial Concepts in Argumentation Theory Amsterdam University Press ISBN 978 90 5356 523 0 van Eemeren Frans H Grootendorst Rob 2015 The History of the Argumentum Ad Hominem Since the Seventeenth Century Argumentation Library Cham Springer International Publishing doi 10 1007 978 3 319 20955 5 32 ISBN 978 3 319 20954 8 ISSN 1566 7650 Walton Douglas N 1998 Ad Hominem Arguments University of Alabama Press ISBN 978 0 8173 0922 0 Walton Douglas N 2001 Argumentation Schemes and Historical Origins of the Circumstantial Ad Hominem Argument PDF Argumentation 15 2 207 221 doi 10 1023 A 1011120100277 ISSN 0920 427X S2CID 16864574 Walton Douglas N 2006 Fundamentals of Critical Argumentation Cambridge University Press ISBN 978 0 521 82319 7 Walton Douglas N 2008 Informal Logic A Pragmatic Approach Cambridge University Press Walton Douglas N 2015 04 27 informal logic in Audi Robert b k The Cambridge Dictionary of Philosophy Cambridge University Press ISBN 978 1 107 01505 0 Weston Anthony 2018 A Rulebook for Arguments Hackett Publishing Company Incorporated ISBN 978 1 62466 655 1 Wong Andrew David 2017 Unmitigated Skepticism The Nature and Scope of Pyrrhonism PDF withyaniphnth University of California Wrisley George 2019 Ad Hominem Circumstantial in Robert Arp Steven Barbone Michael Bruce b k Bad Arguments 100 of the Most Important Fallacies in Western Philosophy Wiley Blackwell pp 77 82 doi 10 1002 9781119165811 ch9 ISBN 978 1 119 16580 4 S2CID 171674012 aehlngkhxmulxunAd hominem thi Argumentum Ad Hominem