วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)
วัดเวฬุวันมหาวิหาร | |
---|---|
เนินดินที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของพระมูลคันธกุฎี | |
ชื่อสามัญ | พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน |
ที่ตั้ง | ราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
ประเภท | อาราม |
ความพิเศษ | วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา |
จุดสนใจ | พระมูลคันธกุฎี, กลุ่มป่าไผ่ |
ส่วนหนึ่งของ |
คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่จำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา
วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดีย
วัดเวฬุวัน
เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน" หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต) พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาและจตุราริยสัจจ์ ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา
วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพาน
หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี
แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา
โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด
แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)
จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน
ปัจจุบันหลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ "พระมูลคันธกุฎี" ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น เนื่องจากมีกุโบร์ของชาวมุสลิมสร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน, "สระกลันทกนิวาป" ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ (ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดนี้)
จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตุรงคสันนิบาต)
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่เกิดในบริเวณวัดเวฬุวันมหาวิหาร แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย (เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด (ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้นในจุดใดของวัด
ในปัจจุบันกองโบราณคดีอินเดียได้แต่เพียงสันนิษฐานว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป" (โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกว่ารูป และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้ การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่ เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่) โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่ในจุดใด และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดยเชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดียดังกล่าว โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบุญจุดสำคัญ 1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ)
- พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย (เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ปัจจุบันเป็นปูชนียวัตถุสำคัญของวัดเวฬุวัน)
- กลุ่มป่าไผ่ในวัดเวฬุวันมหาวิหาร ที่มาของชื่อเวฬุวัน (วัดป่าไผ่ หรือวัดไผ่ล้อม)
- สระโบกขรณีกลันทกนิวาป (สระน้ำ) กลางวัดเวฬุวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าเคยแสดงพระสูตรหลายพระสูตรที่นี่
- ซุ้มพระพุทธรูปภายในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร
ดูเพิ่ม
- การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ
- วันมาฆบูชา เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวัดเวฬุวันมหาวิหาร
อ้างอิง
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค วักกลิสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- Bagri, S.C. Buddhist Pilgrimages & Tours in India. Nodida : Trishul Publication, 1992
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธนัญชานิสูตร
- อรรถกถาพระไตรปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค อรรถกถารถวินีตสูตร
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.
- ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์.ตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2539.
- อมตานันทะ,พระ และคณะ. เอกสารโครงการค้นคว้าพุทธสถานในแดนพุทธองค์ทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : เอกสารตีพิมพ์ถ่ายสำเนาจากต้นฉบับ, ม.ป.ป.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
wdewluwnmhawihar hrux phrawiharewluwnklnthkniwapsthan epnxaram wd aehngaerkinphraphuththsasna tngxyuiklechingekhaewpharbrrpht bnrimfngaemnasrswdisungmitoptharam bxnarxnobran khnxyurahwangklang nxkekhtkaaephngemuxngekarachkhvh xditemuxnghlwngkhxngaekhwnmkhth rthphihar praethsxinediyinpccubn hrux aekhwnmkhth chmphuthwip insmyphuththkal wdewluwnmhawiharenindinthiechuxwaepnthitngkhxngphramulkhnthkudichuxsamyphrawiharewluwnklnthkniwapsthanthitngrachkhvh rthphihar praethsxinediy praephthxaramkhwamphiesswd aehngaerkinphraphuththsasna cudsnicphramulkhnthkudi klumpaiphswnhnungkhxngsaranukrmphraphuththsasnaklumpaiphrmrun inklumobransthanwdewluwnmhawihar khawa ewluwn aeplwaswniph edimxaramaehngniepnphrarachxuthyankhxngphraecaphimphisar kstriyaekhwnmkhth tngxyunxkemuxngrachkhvh emuxphraphuththecatrsruaelwidesdcipyngemuxngrachkhvh phraecaphimphisarphrxmdwykharachbripharekhaipefa hlngcakthrngsdbthrrmaelwthrngeluxmiscungthwayswnewluwnepnphuththbucha dwythrngehnwaepnthisngbrmrun ehmaasahrbxyubaephythrrmkhxngphrasngkh thuxkntxmawasthanthiniepnwdaehngaerkinphraphuththsasna eriykwa wdewluwnmhawihar nxkcakniwdniyngepnsthanthiphraphuththecaaesdngoxwathpatiomkkhaekcanwn 1 250 rup aelwsngipepnphrathrrmthutprakasphrasasna xnepnthimakhxngwnmakhbucha wdewluwnmhawihar pccubnyngkhngxyu epnsakobransthaninswniphthirmrun misranakhnadihyphayin mirwrxbdan xyuinkhwamduaelkhxngthangrachkarxinediywdewluwnedimwdewluwnepnphrarachxuthyansahrbesdcpraphaskhxngphraecaphimphisar epnswnpaiphrmrunmirwrxbaelakaaephngekhaxxk ewluwnmixikchuxhnungpraktinphrasutrwa phrawiharewluwnklnthkniwapsthan hrux ewluwnklnthkniwap swnpaiphsthanthisahrbihehyuxaekkraaet phraecaphimphisaridthwayphrarachxuthyan aehngniepnwdinphraphuththsasnahlngcakidsdbphrathrrmethsnaaelacturariyscc n phrarachxuthyanltthiwn phrarachxuthyanswntalhnum odyinkhrngnnphraxngkhidbrrluphraosdabn epnphraxriybukhkhlinphraphuththsasna aelahlngcakkarthwayklnthkniwapsthanimnan xaramaehngnikidichepnsthanthisahrbphrasngkhprachumcaturngkhsnnibatkhrngihyinphraphuththsasna xnepnehtukarnsakhyinwnmakhbuchawdewluwnhlngkarpriniphphanhlngphraphuththecaesdcpriniphphan wdewluwnidrbkarduaelmatlxd odyechphaamulkhnthkudithimiphrasngkhefaduaelthakarpdkwadechdthupuladxasnaaelaptibtitxsthanthi phraphuththecaekhyprathbxyuthuk aehng ehmuxnsmythiphraphuththxngkhthrngphrachnmchiphxyumiidkhad odymikarptibtiechnnitidtxknkwaphnpi aetcakehtukarnyayemuxnghlwngaehngaekhwnmkhthhlaykhrnginchwng ph s 70 thierimcakxamatyaelarasdrphrxmicknthxdkstriynakhthsskaehngrachwngskhxngphraecaphimphisarxxkcakphrarachbllngk aelayksusunakhxamatysungmiechuxsayecalicchwiinkrungewsaliaehngaekhwnwchchieka ihepnkstriytngrachwngsihmaelw phraecasusunakhcungidthakaryayemuxnghlwngkhxngaekhwnmkhthipyngemuxngewsalixnepnemuxngedimkhxngtn aelakstriyphraxngkhtxmakhuxphraecakalaoskrach phuepnphrarachoxrskhxngphraecasusunakh idyayemuxnghlwngkhxngaekhwnmkhthxik cakemuxngewsaliipyngemuxngpatlibutr thaihemuxngrachkhvhthukldkhwamsakhylngaelathukthingrang sungepnsaehtusakhythithaihwdewluwnkhadphuxupthmphaelathukthingrangxyangsinechinginchwngphnpithdma odyprakthlkthanbnthukkhxnghlwngcinfaehiyn Fa hsien thiidekhamasubsasnainphuththphumiinchwngpi ph s 942 947 inchwngrchsmykhxngphraecacnthrkhuptthi 2 phraecawikrmathity aehngrachwngskhupta sungthanidbnthukiwwa emuxngrachkhvhxyuinsphaphprkhkphng aetyngthnidehnmulkhnthkudiwdewluwnpraktxyu aelayngkhngmiphraphiksuhlayrupchwyknduaelrksapdkwadxyuepnpraca aetimpraktwamikarbnthukthungsthanthiekidehtukarncaturngkhsnnibataetprakarid aethlngcaknnpraman 200 pi wdewluwnkthukthingrangip tambnthukkhxngphrathngsacng Hiuen Tsang sungidcarikmaemuxngrachkhvhrawpi ph s 1300 sungthanbnthukiwaetephiyngwa thanidehnaetephiyngsakmulkhnthkudisungmikaaephngaelaxithlxmrxbxyuethann insmynnemuxngrachkhvhoryrathungthisudaelw phrathngsacngidaetephiyngcdtaaehnngthitngthisthangrayathangkhxngsthupaelaobransthanekaaekxun inemuxngrachkhvhiwmak thaihepnpraoychnaeknkprawtisastraelankobrankhdiinkarkhnhaobransthantang inemuxngrachkhvhinpccubn cudaeswngbuyaelasphaphkhxngwdewluwninpccubn pccubnhlngthukthxdthingepnewlakwaphnpi aelaidrbkarburnaodykxngobrankhdixinediyinchwngthixinediyyngepnxananikhmkhxngxngkvs wdewluwn yngkhngmienindinobransthanthiyngimidkhudkhnxikmak sthanthisakhy thiphuththsasnikchninpccubnniymipnmskarkhux phramulkhnthkudi thipccubnyngimidthakarkhudkhn enuxngcakmikuobrkhxngchawmuslimsrangthbiwkhangbnenindin sraklnthkniwap sungpccubnrthbalxinediyidthakarburnaihmxyangswyngam aela lancaturngkhsnnibat xnepnlanelk misumpradisthanphraphuththrupyunpangprathanphrxyuklangsum lanniepncudsakhythichawphuththniymmathakarewiynethiynskkara lanniepnlanthikxngobrankhdixinediysnnisthanwaphraphuththxngkhthrngaesdngoxwathpatiomkkhincudni cudthiekidehtukarnsakhyinwnmakhbucha lancaturngkhsnnibat thungaemwaehtukarncaturngkhsnnibatcaepnehtukarnsakhyyingthiekidinbriewnwdewluwnmhawihar aetthwaimpraktraylaexiydinbnthukkhxngsmnthutchawcinaelainphraitrpidkaetxyangidwaehtukarnihyniekidkhun n cudidkhxngwdewluwn rwmthngcakkarkhudkhnthangobrankhdikimprakthlkthanwamikarthaekhruxnghmay esahin hruxsthuprabusthanthiprachumcaturngkhsnnibatiwaetxyangid tampktiaelwbriewnthiekidehtukarnsakhythangphraphuththsasna mkcaphbsthupobranhruxesahinphraecaxoskmharachsranghruxpkiwephuxepnekhruxnghmaysakhysahrbphuaeswngbuy thaihinpccubnimsamarththrabodyaenchdwaehtukarncaturngkhsnnibatekidkhunincudidkhxngwd inpccubnkxngobrankhdixinediyidaetephiyngsnnisthanwa ehtukarndngklawekidinbriewnlandanthistawntkkhxngsraklnthkniwap odysnnisthanexacakexksarhlkthanwaehtukarndngklawmiphrasngkhprachumknmakthungsxngphnkwarup aelaekidinchwngthiphraphuththxngkhphungidthrngrbthwayxaramaehngni karprachumkhrngnnkhngyngtxngnngprachumkntamlaninpaiph enuxngcakesnasnahruxorngthrrmsphakhnadihyyngkhngimidsrangkhun aelaodyechphaaxyangyinginpccubnlandanthistawntkkhxngsraklnthkniwap epnlankwanglanediywinbriewnwdthiimmiobransthanxuntngxyu odyidnaphraphuththrupyunpangprathanphrippradisthaniwbriewnsumelk klanglan aelaeriykwa lancaturngkhsnnibat sunginpccubnkyngimmikhxsrupaenchdwalancaturngkhsnnibatthiaethcringxyuincudid aelayngkhngmichawphuththbangklumsrangsumphraphuththrupiwinbriewnxunkhxngwdodyechuxwacudthitnsrangnnepnlancaturngkhsnnibatthiaethcring aetphuththsasnikchnchawithyswnihykechuxtamkhxsnnisthankhxngkxngobrankhdixinediydngklaw odyniymnbthuxknwasumphraphuththrupklanglanniepncudskkarakhxngchawithyphumaaeswngbuycudsakhy 1 in 2 aehngkhxngemuxngrachkhvh xikcudhnungkhuxphramulkhnthkudibnyxdekhakhichchkut phraphuththrupyunklangmnthlobransthanwdewluwnmhawihar emuxngrachkhvh rthphihar xinediy epnphraphuththrupsrangihm pccubnepnpuchniywtthusakhykhxngwdewluwn klumpaiphinwdewluwnmhawihar thimakhxngchuxewluwn wdpaiph hruxwdiphlxm sraobkkhrniklnthkniwap srana klangwdewluwnmhawihar phraphuththecaekhyaesdngphrasutrhlayphrasutrthini sumphraphuththrupphayinobransthanwdewluwnmhawiharduephimkaraeswngbuykhxngchawphuththindinaednphuththphumi wnmakhbucha ehtukarnsakhythiekidinwdewluwnmhawiharxangxingwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb Rajgir phraitrpidk elmthi 17 phrasuttntpidk elmthi 9 sngyuttnikay khnthwarwrrkh wkklisutr phraitrpitkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 1 ekhathungemux 5 6 52 Bagri S C Buddhist Pilgrimages amp Tours in India Nodida Trishul Publication 1992 phrathrrmkittiwngs thxngdi suretoch p th 9 rachbnthit phcnanukrmephuxkarsuksaphuththsasn chud khawd wdrachoxrsaram krungethph ph s 2548 phraitrpidk elmthi 13 phrasuttntpidk elmthi 5 mchchimnikay mchchimpnnask thnychanisutr xrrthkthaphraitrpidk mchchimnikay mulpnnask oxpmmwrrkh xrrthktharthwinitsutr phraitrpidk elmthi 4 phrawinypidk elmthi 4 mhawrrkh phakh 1 thrngrbphraewluwnepnsngkhikawas phraitrpidk elmthi 4 phrawinypidk elmthi 4 mhawrrkh phakh 1 phraphrhmkhunaphrn prayuthth pyut ot phuththsthaninxinediy ewluwnmhawihar emuxngrachkhvh krungethph orngphimphmhaculalngkrnrachwithyaly 2541 iphorcn khumiphorcn tamrxybathphrasasda krungethph sankphimphthrrmspha 2539 xmtanntha phra aelakhna exksarokhrngkarkhnkhwaphuththsthaninaednphuththxngkhthangwichakar krungethphmhankhr exksartiphimphthaysaenacaktnchbb m p p