เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ หรือ สำนักพราหมณ์พระราชครูในสำนักพระราชวัง เป็นโบสถ์พราหมณ์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และ
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า |
ประเทศ | ประเทศไทย |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | ไทย |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
เริ่มก่อตั้ง | พ.ศ. 2327 |
ทิศทางด้านหน้า | ทิศตะวันออก |
ชื่อทางการ: เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ | |
แต่งตั้ง | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
หมายเลขอ้างอิง | 0000001 |
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2327 แล้วโปรดให้นำพราหมณ์จากภาคใต้ขึ้นมาประจำราชสำนัก ทำหน้าที่ประกอบพระราชพิธีสำหรับพระองค์และราชอาณาจักร ภายในเทวสถานมีโบสถ์ทั้งหมด 3 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีกำแพงล้อมรอบ ปัจจุบันมีอายุได้ 240 ปี
เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้าที่ 5281 ลำดับที่ 11 ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492
ศิลปกรรม
เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม (พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง คือ
- สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูนต่ำ รูปพระอิศวร พระแม่อุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูปพระอิศวรประทับยืน และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีกสามสิบเอ็ดองค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจา มีศิวลึงค์สององค์ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูปพระพรหมสามองค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 และพระสรัสวดี สองข้างแท่นลด มีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิ และพระอุมาทรงโคนันทิ ทางด้านซ้ายมือเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปนางกระดานสามองค์สำหรับใช้ในการพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ประกอบด้วยนางกระดานพระแม่ธรณี (แผ่นซ้าย) นางกระดานนางพระคงคา (แผ่นกลาง) และกระดานพระอาทิตย์และพระจันทร์ (แผ่นริม) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระอิศวร พระอุมา พระคเณศ) วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีช้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพมุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
- สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวรห้าองค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์
- สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในประดิษฐานบุษบกสามองค์เคียงกันประกอบด้วยเทวรูป พระลักษมี (บุษบกองค์ซ้ายมือ) พระนารายณ์ (บุษบกองค์กลาง) พระภูมิเทวี (บุษบกองค์ขวามือ) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ นอกจากนี้ยังมี หอเวทวิทยาคม อยู่ภายในโบสถ์พราหมณ์อีกด้วย ซึ่งจัดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพวิชาการต่าง ๆ เกี่ยวกับวรรณคดี พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ทางศาสนาพราหมณ์ โหราศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บำเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกันตามโอกาสอันควร หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้านประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย เปิดให้ประชาชนเข้าไปค้นคว้าเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาฮินดู
อ้างอิง
- เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- "ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู". ศูนย์ข้อมูลกลางด้านศาสนา. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help))[] - กรมการศาสนา, ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า 175-6
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน, ตอนที่ 64, เล่ม 66, 22 พฤศจิกายน 2492, หน้า 2580
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ethwsthanobsthphrahmn hrux sankphrahmnphrarachkhruinsankphrarachwng epnobsthphrahmnaehnghnung tngxyuaekhwngesachingcha ekhtphrankhr krungethphmhankhr iklesachingcha aelaethwsthanobsthphrahmnsasnasasnasasnahinduekhtekhtphrankhrcnghwdkrungethphmhankhrthitngthitng268 thnnbandinsx aekhwngesachingchapraethspraethsithysthaptykrrmpraephthithyphukxtngphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharacherimkxtngph s 2327thisthangdanhnathistawnxxkobransthanthikhunthaebiynodykrmsilpakrchuxthangkar ethwsthanobsthphrahmnaetngtng22 phvscikayn ph s 2492hmayelkhxangxing0000001ethwrupphrhmaelasthanphraxiswrprawtiphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharachthrngphrakrunaoprdekla ihsrangethwsthanobsthphrahmnkhunemux ph s 2327 aelwoprdihnaphrahmncakphakhitkhunmapracarachsank thahnathiprakxbphrarachphithisahrbphraxngkhaelarachxanackr phayinethwsthanmiobsththnghmd 3 hlng epnxakharkxxiththuxpunchnediyw mikaaephnglxmrxb pccubnmixayuid 240 pi ethwsthanidkhunthaebiynepnobransthansakhykhxngchati prakasiwinrachkiccanuebksa elmthi 66 txnthi 64 wnthi 2 phvscikayn phuththskrach 2492 hnathi 5281 ladbthi 11 prakas n wnthi 18 phvscikayn phuththskrach 2492silpkrrmemuxedinekhamacakpratuthangekha camiethwalykhnadelk epnthipradisthanethwrupphraphrhm phraphusrang sungtngxyuklangbxna srangkhunemux phuththskrach 2515 phayinethwsthan camiobsthxyu 3 hlng khux sthanphraxiswr obsthihy xyudanhlngethwalyphraphrhm kxsrangdwyxiththuxpunimmiphail obsthhlngnicamikhnadihykwahlngxunthukhlng hlngkhathachnld 1 chn hnabndanhnamiethwruppunpnnunta rupphraxiswr phraaemxuma aelaekhruxngmngkhlrupsngkh kls kumph xyuinwiman itrupwimanmipunpnepnrupemkhaelaokhnnthi hnabndanhlngimmilwdlay phayinsthanphraxiswr miethwrupphraxiswrprathbyun aelayngmiethwrupkhnadklangxiksamsibexdxngkh pradisthaninebyca chukchi thdipdanhlngebyca misiwlungkhsxngxngkh danhnaebycamichnld pradisthanethwrupphraphrhmsamxngkh phrarachkhruwamethphmuniepnphusrang emuxphuththskrach 2514 aelaphrasrswdi sxngkhangaethnld miethwrupphraxiswrthrngokhnnthi aelaphraxumathrngokhnnthi thangdansaymuxepnthipradisthanethwrupnangkradansamxngkhsahrbichinkarphrarachphithitriymphway tripway prakxbdwynangkradanphraaemthrni aephnsay nangkradannangphrakhngkha aephnklang aelakradanphraxathityaelaphracnthr aephnrim trngklangobsthmiesalksnakhlayesachingcha 2 tn sung 2 50 emtr sahrbprakxb phithichahngsinphrarachphithitriymphway tripway inwnaerm 1 kha eduxnyi phraxiswr phraxuma phrakhens wnaerm 5 kha eduxnyi phranarayn aelawnaerm 3 kha eduxnyi phraphrhm phithichahngsinwnaerm 1 kha aelawnaerm 5 kha eduxnnn epnphithithimimaaelwtngaetsmyrchkalthi 1 swninwnaerm 3 kha epnphithithiephingcdihmikhuninrchsmyphrabathsmedcphraprminthrmhaphumiphlxdulyedch phayhlngcakthiphrarachkhruwamethphmuni idcdsrangethwrupphraphrhmthwayenuxnginmhamngkhlsmywnechlimphrachnmphrrsakhrb 3 rxb phrankstr sthanphraphikhenswr obsthklang srangdwyxiththuxpun miphailthngdanhnaaeladanhlng karkxsrangyngkhngsilpaxyuthyathisrangobsththimiphail twobsthimmilwdlay hlngkhamichnld 1 chn hnabneriyb immirupethwruppunpnehmuxnsthanphraxiswr phayinobsthmiethwrupphraphikhenswrhaxngkh lwnthadwyhin khux hinekrnit 1 xngkh hinthray 1 xngkh hinekhiyw 2 xngkh thadwysarid 1 xngkh pradisthanbnebyca prathbnngthukxngkh sthanphranarayn obsthrim srangdwyxiththuxpun miphailthngdanhnaaeladanhlng karkxsrangthaechnediywkbsthanphraphikhenswr phayinpradisthanbusbksamxngkhekhiyngknprakxbdwyethwrup phralksmi busbkxngkhsaymux phranarayn busbkxngkhklang phraphumiethwi busbkxngkhkhwamux trngklangobsthmiesalksnakhlayesachingchakhnadyxm sahrbprakxbphithichahngs nxkcakniyngmi hxewthwithyakhm xyuphayinobsthphrahmnxikdwy sungcdepnhxngsmudechphaakic ekbrwbrwmsrrphwichakartang ekiywkbwrrnkhdi phithikrrm prawtisastrthangsasnaphrahmn ohrasastr wthnthrrmpraephni aelayngepnthiprakxbphithikrrmthangsasna baephykusl aesdngphrathrrmethsna pathktha xphipraysnthna aelaaelkepliynkhwamkhidehnknaelakntamoxkasxnkhwr hxewthwithyakhmaehngniepnsunysuksa khnkhwa wicy aelarwbrwmsrrphwithyakardanpraephniaelaphithikrrmaehnghnunginpraethsithy epidihprachachnekhaipkhnkhwaephuxsuksahakhxmulekiywkbsasnahindu xangxingethwsthanobsthphrahmn sasnsthaninsasnaphrahmn hindu sunykhxmulklangdansasna subkhnemux 16 krkdakhm 2562 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help lingkesiy krmkarsasna prawtikhwamepnmakhxngphraphuththsasnaaelaxngkhkarsasnatang inpraethsithy 2016 03 03 thi ewyaebkaemchchin hna 175 6 rachkiccanuebksa prakaskrmsilpakr eruxngkahndbychiobranwtthusthan txnthi 64 elm 66 22 phvscikayn 2492 hna 2580aehlngkhxmulxunaephnthiaelaphaphthaythangxakaskhxng ethwsthanobsthphrahmn phaphthaydawethiymcakwikiaemepiy hruxkuekilaemps aephnthicaklxngduaemp hruxehiywiok phaphthaythangxakascakethxrraesirfewxr 13 45 08 N 100 30 01 E 13 752344 N 100 500371 E 13 752344 100 500371