มีการแนะนำว่า บทความนี้ควรกับ สภาพนำยวดยิ่ง () |
ตัวนำยวดยิ่ง (อังกฤษ: superconductor) เป็นธาตุหรือสารประกอบที่จะนำไฟฟ้าได้ร้อยเปอร์เซ็นต์โดยไม่มีความต้านทานไฟฟ้าและไม่มีการสูญเสียพลังงาน ภายใต้อุณหภูมิค่าหนึ่งหรือที่เรียกว่าอุณหภูมิวิกฤต ซึ่งถือเป็นสมบัติทางฟิสิกส์ที่สำคัญ
ตัวนำยวดยิ่งเป็นวัสดุที่มีสมบัติทางด้านฟิสิกส์ของแข็ง (Solid-state physics) ที่โดดเด่นกว่าวัสดุชนิดอื่นสองด้านสำคัญ คือ สมบัติทางไฟฟ้าและสมบัติทางแม่เหล็ก ในระยะแรกการค้นพบตัวนำยวดยิ่งจะพบอยู่เฉพาะในรูปแบบของโลหะบริสุทธิ์ ต่อมามีการค้นพบที่หลากหลายขึ้น ได้แก่ ตัวนำยวดยิ่งแบบโลหะ โลหะผสมหรือแม้แต่เซรามิก
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถนำทฤษฎีตัวนำยวดยิ่งมาประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้โดยอาศัยสมบัติโดดเด่นที่ว่าวัสดุนี้มีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์และการลอยตัวเหนือแม่เหล็กได้ เช่น รถไฟความเร็วสูงแม็กเลฟ (Maglev) ของญี่ปุ่น ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงเนื่องจากไม่มีแรงเสียดทานจากพื้น หรือแม้แต่ในทางการแพทย์ก็มีการนำมาสร้างเครื่องมือสำหรับวินิจฉัยโรคที่สำคัญ คือ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กหรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ประวัติการค้นพบตัวนำยวดยิ่ง
การค้นพบตัวนำยวดยิ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์แบ่งการค้นพบเป็นสองยุค คือ การค้นพบตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม และการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง
การค้นพบตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม
- ในปี ค.ศ. 1911 นักฟิสิกส์ชาวดัตช์ชื่อ ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส เขาได้นำปรอทไปทำการทดลองเพื่อวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งโอนเนิสคิดว่าปรอทเป็นโลหะที่มีความบริสุทธิ์ที่สุดในขณะนั้นและความต้านทานจะลดลงแบบเอกซ์โพเนนเชียล (exponential) ที่จุดเดือดของฮีเลียมเหลวซึ่งจะพบตำแหน่งที่มีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ได้ แต่ผลการทดลองพบว่าความต้านทานของไฟฟ้าของปรอทบริสุทธิ์ลดลงอย่างสม่ำเสมอเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำเมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 4.2 เคลวิน ความต้านทานไฟฟ้าของปรอทลดลงอย่างรวดเร็ว แต่การทดลองไม่ได้มีการลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียล (exponential) ตามที่คาดไว้เนื่องจากความต้านทานไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าน้อยกว่า 10-6 เท่าของความต้านทานไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความต้านทานไฟฟ้าของปรอทเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิ 4.2 เคลวินและต่อมาโอนเนิสพบว่าการเกิดความต้านทานเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใดนั้นสามารถเกิดกับโลหะหลายชนิดโดยไม่ขึ้นกับความบริสุทธิ์ของสาร จึงเรียกปรากฏที่สารไร้ความต้านทานนี้ว่า “สภาพนำยวดยิ่ง” (Superconductivity) และเรียกอุณหภูมิที่ทำให้เกิดสภาพนำยวดยิ่งว่า “อุณหภูมิวิกฤติ” (Critical Temperature,TC)
- ในปี ค.ศ. 1913 โอนเนิสได้ทำการทดลองซึ่งพบว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำยวดยิ่งได้ ถ้าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมีค่าต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่ง และเมื่อความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมีค่าสูงกว่าค่านี้แล้ว วัสดุจะกลายสภาพเป็นตัวนำปกติ เรียกความหนาแน่นกระแสนั้นว่า “ความหนาแน่นกระแสวิกฤติ” (Critical Current Density, JC) ซึ่งปริมาณความหนาแน่นกระแสวิกฤตนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยความหนาแน่นกระแสวิกฤติจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง
- ในปี ค.ศ. 1914 โอนเนิสพบว่าสนามแม่เหล็กสามารถทำลายสภาพนำยวดยิ่งได้เช่นเดียวกับความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าวิกฤต เรียกสนามแม่เหล็กนี้ว่า “สนามแม่เหล็กวิกฤต” (Critical magnetic field, HC) นั่นคือถ้าสนามแม่เหล็กมีความเข้มมากกว่าสนามแม่เหล็กวิกฤตแล้วตัวนำยวดยิ่งจะกลายสภาพเป็นตัวนำปกติ
- ในปี ค.ศ. 1916 ซิลส์บี (Silsbee) ศึกษาสภาพนำยวดยิ่ง ในลวดตัวยวดยิ่งกับสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำและได้อธิบายว่า “กระแสวิกฤตเหนี่ยวนำคือปัจจัยที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กวิกฤตที่ผิวของลวด” ดังนั้นปัจจัยที่ทำลายสภาพนำยวดยิ่งคือ อุณหภูมิ ความหนาแน่นกระแส และสนามแม่เหล็ก
- ในปี ค.ศ. 1933 ไมสเนอร์และออคเซนฟิลด์ (Meissner & Ochsenfeld) พบสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของตัวนำยวดยิ่ง คือเมื่อทำให้ตัวนำยวดยิ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ พบว่าตัวนำยวดยิ่งจะเกิดการเปลี่ยนสภาพเป็นตัวนำยวดยิ่งและหากใส่สนามแม่เหล็กภายนอกเข้าไป สนามแม่เหล็กจะไม่สามารถพุ่งผ่านเข้าไปในเนื้อตัวนำได้เนื่องจากสนามแม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่ผิวของตัวนำยวดยิ่งและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นทำให้เกิดสนามแม่เหล็กต่อต้านสนามแม่เหล็กภายนอกที่ใส่เข้าไปเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ (Meissner effect) แต่ในทางกลับกันถ้าตัวนำยวดยิ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤต ตัวนำยวดยิ่งจะกลายเป็นสภาพเป็นตัวนำปกติ สนามแม่เหล็กจะสามารถทะลุผ่านเข้าไปในเนื้อผิวตัวนำยวดยิ่งได้
การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง
- ในปี ค.ศ. 1986 เบทนอสและมูลเลอร์ (Bednorz & Muller) ได้ทำการวิจัยซึ่งจากงานวิจัยดังกล่าวค้นพบสภาพตัวนำยวดยิ่งของสารกลุ่มใหม่ที่มีองค์ประกอบของคอปเปอร์ออกไซด์ (CuO2) เป็นองค์ประกอบเรียกว่า คิวเพรท (Cuprate) และเป็นสารตัวแรกที่เป็นสารประกอบของ La2BaCuO4 ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทเซรามิกคือที่อุณหภูมิห้องสารจะมีสภาพเป็นฉนวนไฟฟ้า แต่หากลดอุณหภูมิลงจนต่ำกว่า 30 เคลวิน สารจะเกิดการเปลี่ยนสภาพเป็นตัวนำยวดยิ่งได้ การค้นพบของเบทนอสและมูลเลอร์ทำให้กลุ่มนักฟิสิกส์คาดการณ์ว่าจะต้องค้นพบตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิห้องและการค้นพบของเบทนอสและมูลเลอร์ครั้งนี้ทำให้กลุ่มนักฟิสิกส์มีความเข้าใจในแนวเดียวกันว่าตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิวิกฤตไม่เกิน 35 เคลวิน เป็นตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม (Conventional Superconductors) และเรียกตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิวิกฤตสูงกว่า 35 เคลวินว่าเป็นตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง (High Temperature Superconductors)
- ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 ซึ่งเป็นปีของการค้นพบเป็นต้นมา การค้นคว้าวิจัยหาตัวนำยวดยิ่งชนิดหนึ่งที่อุณหภูมิวิกฤติสูงนั้นได้พัฒนาไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1973 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโลหะผสมระหว่างไนโอเบียมและเจอร์มาเนียม (Nb3Ge) ซึ่งมีอุณหภูมิวิกฤต 23.2 เคลวิน แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงทำให้เชื่อว่าตัวนำยวดยิ่งในธรรมชาติน่าจะมีอุณหภูมิวิกฤตที่จำกัดประมาณ 35 เคลวิน และ เรียกตัวนำชนิดนี้ว่า ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิต่ำ (Low Temperature Superconductors)
- ปี ค.ศ. 1987 กลุ่มวิจัยของชู (Chu) ได้ทำการทดลองพบว่า ตัวนำยวดยิ่ง Ba-La-Cu-O เมื่อใส่ความดันเข้าไปในระบบ สามารถมีอุณหภูมิวิกฤติเพิ่มขึ้นจาก 35 เคลวิน เป็นเท่ากับ 50 เคลวิน ได้ และยังสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 90 เคลวิน เมื่อแทนที่อะตอม La ด้วย Y ซึ่งมีสูตรใหม่เป็น YBa2Cu3 Ox
หลังการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง
- ปี ค.ศ. 1988 เตรียมตัวนำยวดยิ่ง Bi-Sr-Ca-O ที่มีอุณหภูมิวิกฤติ 110 เคลวิน และเตรียมตัวนำยวดยิ่งแบบฟิล์มได้ครั้งแรก
ความแตกต่างระหว่างตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงกับตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม
ในปัจจุบันตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงที่ถูกค้นพบมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะสนใจเฉพาะตัวนำยวดยิ่งที่มีคอปเปอร์อไซด์เป็นคงประกอบคง ซึ่งนอกจะมีอุณหภูมิวิกฤตที่สูงแล้ว ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงยังมีสมบัติอีกหลายประการที่แตกต่างจากตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ (Bums, 1992)
1. สมบัติของสารตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงจะมีลักษณะขึ้นกับทิศทางเป็นอย่างมาก คือ มี โครงสร้างของอะตอมในผลึกเป็นชั้น ๆ และการนำไฟฟ้าในแนวตั้งฉากกับแกนหลักของผลึกเกือบจะไม่มี ทำให้ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงมีโครงสร้างการนำไฟฟ้าเกือบเป็น 2 มิติ
2. ตัวนำยิ่งยวดแบบดั้งเดิมเป็นตัวนำยวดยิ่งที่ไม่ขึ้นกับทิศทางซึ่งจะมีความยาวอาพันธ์ค่าเดียว แต่ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงส่วนใหญ่จะมีความยาวอาพันธ์ 2 ค่า คือ ความยาวอาพันธ์ในระนาบ ab และความยาวอาพันธ์ตามแกน C โดยความยาวอาพันธ์ทั้ง 2 ค่านี้มีขนาดที่แตกต่างกันมาก เช่น ในสารประกอบบิสมัทจะมีความยาวอาพันธ์ตามแกน C ประมาณ 2 อังสตรอม แต่ในระนาบ ab มีความยาวอาพันธ์ประมาณ 40 อังสตรอม
3. ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงมีความยาวอาพันธ์ประมาณ 10-40 อังสตรอม แต่ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดมจะมีค่าประมาณ 10,000 อังสตรอม ซึ่งมากกว่าตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงประมาณ 1000 เท่า
4. ในตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม เมื่ออุณหภูมิวิกฤกเพิ่มสูงขึ้นความหนาแน่นของประจุก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ในตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงความหนาแน่นของประจุมีรูปแบบที่ไม่ชัดเจน ซึ่งได้มีการพบว่าในตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงบางชนิดที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูง แต่จะมีความหนาแน่นประจุค่อนข้างน้อย
5. ค่าช่องว่างพลังงานของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง ในแต่ละวิธีของการวัดจะให้ค่าที่ไม่เท่ากันและมีค่าสูงกว่าของตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมมาก โดยวิธีการวัดค่าช่องว่างพลังงานที่ใช้มีหลายวิธี เช่น การทะลุผ่าน (Tunneling) การแพร่รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) การดูดกลืน (Absorption) และการสะท้อน (Reflection)
6. ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงบางชนิดจะมีค่าสัมประสิทธิ์ของไอโซโทปน้อยกว่าและบางชนิดจะให้ค่าที่มากกว่าทฤษฎี BCS
7. ในตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง อุณหภูมิวิกฤตจะขึ้นกับความเข้มข้นของสารเจือแบบไม่เป็นแม่เหล็ก แต่ในขณะที่ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมอุณหภูมิวิกฤตจะขึ้นตามความเข้มข้นของสารเจือแบบแม่เหล็ก โดยอุณหภูมิวิกฤตจะไม่ขึ้นกับสารเจือแบบไม่เป็นแม่เหล็ก
เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมกับตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมสูงหลายประการ แสดงว่าการอธิบายสัมบัติของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงตามทฤษฎี BCS โดยใช้กลไกของอันตรกิริยาที่ใช้โฟนอนแบบอ่อนและใช้การประมาณในขั้นตอนการคำนวณจะไม่สามารถอธิบาย สมบัติของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้ถูกต้องครบถ้วน แนวทางหนึ่งในการความพยายามเพื่อ อธิบายตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงคือการปรับปรุงทฤษฎี BCS และทฤษฎีกินซ์เบิร์กแลนดาวโดยเพิ่ม ความละเอียดในการคำนวณให้มากขึ้นและใช้การประมาณในการคำนวณให้น้อยที่สุด เพื่อให้ครอบคลุมวมบัติของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงมากที่สุด
ปี ค.ศ. 1989 เตรียมสายไฟที่ทำจากตัวนำยวดยิ่งบนเงินได้ (BSCCO/Silver) และเตรียมตัวนำยวดยิ่ง Ti-Sr-Ca-O ที่มีอุณหภูมิวิกฤติ 125 เคลวิน
- ปี ค.ศ. 2001 ได้ค้นพบสภาพนำยวดยิ่งใน แมกนีเซียมโบไรด์ MgB2 ที่มีอุณภูมิวิกฤติถึง 40 เคลวิน
- ปี ค.ศ. 2003 สร้างรถไฟฟ้าแมกเลฟ ที่มีความเร็วสูงสุด 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ปี ค.ศ. 2004 ได้ค้นพบสภาพนำยวดยิ่งในเพชร ที่โด็ปด้วยโบรอน (Boron-droped diamond) ที่มีอุณหภูมิวิกฤติประมาณ 40 เคลวิน
- ปี ค.ศ. 2008 ได้ค้นพบตัวนำยวดยิ่งในสารประกอบเหล็กพินไตดส์ (Iron-phictides) ซึ่งเป็นตัวนำยวดยิ่งแบบสองแถบพลังงานที่ไม่มีส่วนประกอบของคอปเปอร์ออกไซต์ มีอุณหภูมิวิกฤติไม่สูงมาก แต่มีค่าสนามแม่เหล็กวิกฤติที่สอง และกระแสไฟฟ้าวิกฤติสูงมาก
การแบ่งประเภทตัวนำยวดยิ่งตามสารประกอบ
การแบ่งประเภทตัวนำยวดยิ่งตามสารประกอบเป็นการแบ่งประเภทของตัวนำยวดยิ่งโดยคำนึงถึงสารประกอบที่ทำให้เกิดตัวนำยวดยิ่ง ดังนั้นการแบ่งประเภทแบบนี้ส่วนใหญ่จึงเป็นการแบ่งประเภทโดยพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการทดลอง แต่ก็มีบางส่วนที่ผลการคำนวณตามทฤษฎีสามารถอธิบายการทดลองได้ดี การเรียกชื่อจึงคำนึงถึงข้อมูลทางทฤษฎีมากกว่าการทดลอง ซึ่งการแบ่งประเภทของตัวนำยวดยิ่งตามชนิดของสารประกอบมีดังนี้
1. ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม
ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม (Conventional superconductors) เป็นตัวนำยวดยิ่งที่สามารถใช้ทฤษฎี BCS อธิบายได้ดี ตัวนำยวดยิ่งตัวแรกที่ค้นพบคือปรอทมีอุณหภูมิวิกฤต 4.15 เคลวิน ถูกค้นพบในปี 1911 โดยตัวนำยวดยิ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นธาตุและสารประกอบ เช่น Al มีอุณหภูมิวิกฤต 1.19 เคลวิน, Nb มีอุณหภูมิวิกฤต 9.2 เคลวิน สารประกอบ เช่น CuS มีอุณหภูมิวิกฤต 1.6 เคลวิน โดยสารประกอบที่มีอุณหภูมิวิกฤติสูงสุดคือ Nb3Ge คือมีอุณหภูมิวิกฤต 23.2 เคลวิน
2. ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ความพยายามในการสังเคราะห์ตัวนำยวดยิ่งให้มีอุณหภูมิวิกฤตสูงขึ้นโดยใช้เวลาถึง 75 ปี คือตั้งแต่ปี 1911 จนถึงปี 1986 จึงจะสามารถค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้ครั้งแรกในปี 1986 โดยเบทนอร์ซและมูลเลอร์ ในสารประกอบ Ba-La-Cu-O ซึ่งต่อมามีการค้นพบในสารประกอบ Y-Ba-Cu-O และสารประกอบอีกหลายกลุ่มโดยมีองค์ประกอบสำคัญคือระนาบของคอปเปอร์ออกไซด์และมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือตัวนำยวดยิ่งชนิดนี้จะมีอุณหภูมิวิกฤตที่สูงมากกว่า 35 เคลวิน ซึ่งเกินขอบเขตของตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมตามทฤษฎี BCS ดังนั้น ตัวนำยวดยิ่งชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง และเนื่องจากคอปเปอร์ออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของสภาพนำยวดยิ่ง ดังนั้น ในบางครั้งจึงถูกเรียกว่า ตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ท ปัจจุบันตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงกำลังเป็นที่สนใจศึกษาของนักวิจัยทั่วโลกเนื่องจากมีสมบัติที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ง่ายกว่าตัวนำยวดยิ่งชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามตัวนำยวดยิ่งชนิดนี้ยังมีสมบัติหลายประการที่ไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายได้
3. ตัวนำยวดยิ่งแบบแม่เหล็ก
ตัวนำยวดยิ่งแบบแม่เหล็ก (Magnetic superconductors) นี้ เป็นตัวนำยวดยิ่งที่มีสมบัติเป็นทั้งสมบัติตัวนำยวดยิ่งและสมบัติทางแม่เหล็ก ตัวนำยวดยิ่งแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตัวนำยวดยิ่งถูกเจือด้วยสารเจือแบบแม่เหล็ก จะมีผลทำให้เกิดสภาพความเป็นแม่เหล็กขึ้นในโครงสร้าง แต่เนื่องจากแม่เหล็กมีผลทำลายสภาพตัวนำยวดยิ่งได้ ดังนั้นจะทำให้อุณหภูมิวิกฤตมีค่าน้อยกว่าตัวนำยวดยิ่งแบบอื่น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดตัวนำยวดยิ่งที่ไม่มีช่องว่างพลังงานได้ (Gapless superconductor) โดยเกิดขึ้นจากการประมาณทางทฤษฎีของอะบิโคซอฟและกอร์คอฟ (Gorkov) ในปี 1961 ทั้งสองได้พิจารณาผลของการแลกเปลี่ยนสปิน (Spin-exchange) ของสารเจือแบบแม่เหล็กที่ไม่เข้มข้นแล้วพบว่ามีผลทำให้อุณหภูมิวิกฤตลดลง โดยที่ความเข้มข้นของสารเจือแบบแม่เหล็กที่เหมาะสมค่าหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิวิกฤตลดลงจนกลายเป็นศูนย์ได้และเมื่อความเข้มของสารเจือมีค่าที่เหมาะสมอีกค่าหนึ่งจะทำให้ช่องว่างพลังงานมีค่าเป็นศูนย์ได้ด้วย
การค้นพบตัวนำยวดยิ่งในกลุ่มธาตุโลหะหายาก (Rare-earth, RE) เช่น ในปี 1975-1977 ค้นพบสภาพในยวดยิ่งในสารประกอบเชวรอลเฟส (Chevrel-phase) ใน Re Mo6X8 (X = S หรือ Se) และใน XRh4B4 (X = Y ,Th หรือ RE) ทำให้มีการศึกษาผลของการอยู่รวมกันของสภาพตัวนำยวดยิ่งกับสภาพความเป็นแม่เหล็กมากขึ้น ในสารประกอบ HoMo6S8 จะเป็นตัวนำยวดยิ่งที่ Tc1 1.8 K แต่ที่ Tc2 0.7 K สารจะกลับเป็นสภาพปกติได้อีกครั้งทำให้ได้ชื่อว่า Reentrant superconductor และมี TM ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของสภาพนำยวดยิ่งกับสภาพแม่เหล็ก สำหรับตัวนำยวดยิ่ง Re Mo6X8 จะมี Tc2 TM ตัวอย่างของสารประกอบกลุ่มนี้อีกตัวคือ ErRh4B4 จากการทดลองสำหรับ ErRh4B4 และ HoMo6S8 ที่อุณหภูมิต่ำกว่า Tc2 พบว่าสารจะอยู่ในสถานะที่มีสภาพนำยวดยิ่งอยู่ร่วมกันกับสภาพแม่เหล็กเฟร์โร (Ferromagnetic) และในสารประกอบ ErMo6S8 และ SmRh4B4 พบว่ามีสภาพนำยวดยิ่งอยู่รวมกับสภาพแม่เหล็กแอนไทเฟร์โร (Antiferromagnetic)
4. ตัวนำยวดยิ่งแบบออกไซด์
แม้ว่าการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงในสารประกอบคอปเปอร์ออกไซด์ จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แต่ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงไม่ใช่ตัวนำยวดยิ่งที่มีออกไซด์เป็นองค์ประกอบตัวแรกที่มีการค้นพบ โดยสารประกอบออกไซด์ตัวแรกที่มีการค้นพบ คือ Sr TiO3-x ในปี 1965 โดยมีอุณหภูมิวิกฤตที่ค่อนข้างต่ำ และในปี 1986 คือ Ba (Pb1-xB1x) O3 ที่มี Tc = 13 K ที่ x=0.25 จากการทดลองในปี 1988 พบว่าสารประกอบออกไซด์กลุ่มนี้ที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงที่สุดคือ (K0.4Ba0.6) BiO3 มี Tc 30 K ซึ่งมีโครงสร้างแบบเฟอร์รอฟสไกป์เช่นเดียวกับตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ท แต่มีอุณหภูมิวิกฤตที่ต่ำกว่ามาก เรียกตัวนำยวดยิ่งนี้ว่าตัวนำยวดยิ่งออกไซด์แบบเดิม (Earlier oxide superconductors) ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบความสัมพันธ์กับตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ททำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ทำไมสารประกอบออกไซด์กลุ่มคิวเพร์ทเท่านั้นที่ให้อุณหภูมิวิกฤตได้สูงที่สุดซึ่งสารประกอบออกไซด์ตัวอื่นไม่สามารถทำได้
ตัวนำยวดยิ่งแบบออกไซด์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในสารกลุ่มนี้คือ สตรอนเทียมรูเทอเนต (Sr2RuO4) ซึ่งถูกค้นพบในปี 1994 โดยเมียโน มีอุณหภูมิวิกฤต 1.5 เคลวิน พบว่าเป็นตัวนำยวดยิ่งแบบสปินทริปเลตมีโครงสร้างผลึกที่คล้ายกันตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ทแต่มีสมบัติที่แตกต่างกันมาก
ตัวนำยวดยิ่งที่มีการค้นพบล่าสุดคือตัวนำยวดยิ่งที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบลัก เช่น LaFePO และ LaFeAsO ที่มีการเจือฟลูออรีนแสดงสมบัติการเป็นตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิ 4 เคลวิน และ 26 เคลวิน ตามลำดับ โดยมีค่าสนามแม่เหล็กวิกฤตที่สองและกระแสไฟฟ้าวิกฤตที่สูงมากทำให้เป็นตัวนำยวดยิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
5. ตัวนำยวดยิ่งอิเล็กตรอนหนัก
เนื่องจากความจุความร้อนของอิเล็กตรอนในโลหะในสถานะปกติมีค่าขึ้นกับความหนาแน่นสถานะที่ผิวเฟอร์มิและมวลยังผล จากการทดลองพบว่าความจุความร้อนที่อุณหภูมิต่ำของสารเหล่านี้มีค่ามากกว่าของโลหะปกติถึง 2 หรือ 3 เท่า และยังพบว่าค่าความจุความร้อนนี้เป็นผลที่เกิดจากอิเล็กตรอนในชั้นเอฟ ซึ่งโลหะปกติมักจะเกิดจากอิเล็กตรอนในชั้นดี สารกลุ่มนี้มีมวลยังผลที่มีค่ามากๆ ทำไห้ถูกเรียกว่าตัวนำยวดยิ่งอิเล็กตรอนหนัก (Heavy-electron superconductors) และในบางครั้งก็เรียกว่า ตัวนำยวดยิ่งเฟอร์มิออนหนัก (Heavy-Fermion superconductors) พบได้ในสารประกอบ Ube13 (Tc = 0.85 K), CeCu2Si2 (Tc = 0.65 K) และ UPt3 (T3 = 0.54 K)
นอกจากที่มีอิเล็กตรอนมวลหนักแล้ว สารกลุ่มนี้บางชนิดยังมีสมบัติแม่เหล็กร่วมด้วย เช่น ในสาร NbBeB , U2Sn17 และ UCd11 และยังมีการพบว่าตัวนำยวดยิ่งอิเล็กตรอนหนักบางชนิดเป็นสถานะสปินซิงเกลตที่เป็นมีสมมาตรแบบคลื่นเอสด้วย แต่กลไกการเกิดสภาพนำยวดยิ่งไม่ได้เกิดจากอันตรกิริยาอิเล็กตรอนโฟนอนซึ่งมีการนำเสนอว่ากลไกการเกิดสภาพนำยวดยิ่งในการกลุ่มนี้อาจเกิดจากแมกนอน (Magnon) ก็ได้
6. ตัวนำยวดยิ่งแบบประกอบอินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์ (Organic) ที่แสดงสมบัติเป็นตัวนำยวดยิ่งได้ ถูกค้นพบครั้งแรกในทศวรรษ 1980 โดยมีอุณหภูมิวิกฤตน้อยกว่า 1 เคลวิน ซึ่งกลไกการเกิดสภาพนำยวดยิ่งในสารประกอบอินทรีย์นี้เกิดจากการถ่ายเทประจุ (Charge transfer) ระหว่างโมเลกุลแคทไอออนของสารประกอบอินทรีย์ (Organic cation) กับแอนไอออนของสารที่ไม่ใช่สารประกอบอินทรีย์ (Anion) โดยมี ออบิทอลในแคทไอออนทำให้เกิดการนำไฟฟ้าแบบโลหะขึ้น โครงสร้างหลักที่สำคัญในตัวนำยวดยิ่งแบบสารประกอบอินทรีย์ ถูกเรียกว่าบล็อกการสร้างของสารประกอบอินทรีย์ (Organic building block) หรือ bis (ethylenedioxy) Tetrathiafulvalene ซึ่งเขียนย่อว่า ET โดยในปี 1983 มีการค้นพบ (ET)2 ReO4 ที่มีอุณหภูมิวิกฤต 2.5 เคลวิน ซึ่งสูงมาก แล้วในปัจจุบันตัวนำยวดยิ่งประเภทนี้มีการค้นพบในสารประกอบ (ET)2 Cu [N(CN)2] Br มีอุณหภูมิวิกฤต 11.6 เคลวิน ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับตัวนำยวดยิ่งแบบสารประกอบอินทรีย์ที่มีอุณหภูมิวิกฤตที่ต่ำมากๆ เปลี่ยนไป
ตัวนำยวดยิ่งแบบสารประกอบอินทรีย์เป็นตัวนำยวดยิ่งที่มีสมบัติที่หลากหลาย โดยจะมีสมบัติอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกับตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ท คือ มีความไม่สมมาตรสูงมาก การนำไฟฟ้าเกิดขึ้นเฉพาะในบางทิศทางเท่านั้น และส่วนใหญ่จะเกิดการนำไฟฟ้าตามระนาบ แต่ก็มีสมบัติอีกหลายประการที่แตกต่าง เช่น ในโลหะปกติค่าของสเปกตรัมทางแสง (Optical spectrum) ที่แสดงว่าอัตราการกระเจิงแบบไม่ยืดหยุ่นของอิเล็กตรอนจะมีค่าขึ้นกับรากที่ 2 ของความถี่หรืออุณหภูมิ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น ของเหลวเฟอร์มิ (Fermi liquid) แต่สำหรับตัวนำยวดยิ่งแบบสารประกอบอินทรีย์ ผลการทดลองทางสเปกตรัมทางแสงสามารถสรุปได้ว่าอัตราการกระเจิงแบบไม่ยืดหยุ่นของอิเล็กตรอนมีค่าขึ้นกับความถี่และอุณหภูมิแบบเชิงเส้น ซึ่งก็พบในตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิบางชนิดด้วย บางครั้งจะเรียกว่าตัวนำยวดยิ่งที่มีสมบัติแบบนี้ว่า ตัวนำยวดยิ่งแบบไม่เป็นของเหลวเฟอร์มิ (Non-Fermi liquid superconductor) และในบางสารประกอบพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของไอโซโทปของตัวนำยวดยิ่งแบบสารประกอบอินทรีย์จะมีเครื่องหมายเป็นลบได้เมื่อมีองค์ประกอบที่เป็นไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นดิวเทอเรียมด
สมบัติของสถานะนำยวดยิ่ง
ตัวนำยวดยิ่งที่อยู่ในสถานะนำยวดยิ่ง มีสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้
1. ความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใด
เมื่อลดอุณหภูมิของตัวนำยวดยิ่งจนถึงอุณหภูมิวิกฤต จะมีการเปลี่ยนสถานะจากสถานะปกติไปเป็นสถานะนำยวดยิ่ง ทำให้ค่าความต้านทานไฟฟ้ามีค่าลดลงเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใด เช่น การทดลองวัดความต้านทานไฟฟ้าของปรอทที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่าที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4.2 เคลวิน ความต้านทานไฟฟ้าของปรอทจะเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใด ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ปรอทมีสมบัติเป็นตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิวิกฤตเท่ากับ 4.2 เคลวิน
2. ความไม่ต่อเนื่องของเส้นแรงแม่เหล็ก
ถ้านำตัวนำยวดยิ่งรูปวงแหวนมาวางในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก จากนั้นลดอุณหภูมิจนต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตแล้วเอาสนามแม่เหล็กออก ตามหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของฟาราเดย์จะมีการแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้น จึงมีกระแสไฟฟ้าไหลวนในวงแหวน แต่เนื่องจากตัวนำยวดยิ่งไม่มีความต้านทานไฟฟ้าดังนั้นจึงไม่มีการสูญเสียพลังงาน กระแสไฟฟ้านี้จะสามารถไหลวนอยู่ในวงแหวนได้ตลอดไปโดยไม่สูญหายเรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสยืนยง (Persistent current) (File and Mills, 1963; Buckel, 1991)และฟลักซ์แม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลวนนี้จะถูกกักอยู่ภายในวงแหวนของตัวนำยวดยิ่ง 3. ปรากฏการณ์ไอโซโทป
อุณหภูมิวิกฤตกับมวลไอโซโทป (M) ค่าต่างๆ ของธาตุที่เป็นตัวนำยวดยิ่ง สามารถเขียนความสัมพันธ์ได้ดังสมการ(Buckel, 1991)
= ค่าคงตัว
ความสัมพันธ์นี้ทำให้รู้ว่าการสั่นของแลตทิซและอันตรกิริยาระหว่างอิเล็กตรอนกับแลตทิซมีผลทำให้เกิดสถานะนำยวดยิ่งได้ตามทฤษฎี BCS ที่อาศัยการคำนวณโดยอาศัยอันตรกิริยาระหว่างอิเล็กตรอนกับแลตทิซ พบว่า เมื่อ เป็นอุณหภูมิของเดอบายเมื่อเปรียบเทียบตามความสัมพันธ์ตามนิยามของปรากฏการณ์ไอโซโทปจะพบว่าในกรณีนี้จะมี α เท่ากับ ½
4. ปรากฏการณ์ไมส์เนอร์
ปรากฏการณ์ไมส์เนอร์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการนำตัวนำยวดยิ่งในสถานะปกติ (อุณหภูมิ T>Tc) ไปวางในสนามแม่เหล็กอย่างอ่อนๆ พบว่าจะไม่มีปรากฏการณ์พิเศษอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้านำตัวนำยวดยิ่งในสถานะนำยวดยิ่ง (อุณหภูมิ T<Tc) ไปวางในสนามแม่เหล็กอย่างอ่อนจะมีปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้น เนื่องจากตัวนำยวดยิ่งที่อยู่ในสนามแม่เหล็กอย่างอ่อน จะแสดงสมบัติเป็นแม่เหล็กไดอาที่สมบูรณ์ (Perfect diamagnet) ทำให้สนามแม่เหล็กภายในตัวนำยวดยิ่งมีค่าเท่ากับศูนย์ เส้นแรงแม่เหล็กจะถูกผลักออกจากตัวนำยวดยิ่งอย่างสมบูรณ์ จากปรากฏการณ์นี้ถ้าทำการทดลองในแนวดิ่งโดยวางตัวนำยวดยิ่งเหนือแม่เหล็กหรือวางแม่เหล็กเหนือตัวนำยวดยิ่งก็ได้ เมื่อลดอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต เส้นแรงแม่เหล็กจะถูกผลักออกมาจากตัวนำยวดยิ่งทำให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆ ตัวนำยวดยิ่งมีค่าไม่สม่ำเสมอเกิดแรงผลักขึ้นระหว่างตัวนำยวดยิ่งกับแม่เหล็ก และถ้าวัสดุตัวบนมีน้ำหนักไม่มากนักก็จะสามารถถูกยกลอยขึ้นได้ เรียกว่าเกิด การยกตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic levitation)
5. การกระโดดของค่าความจุความร้อนจำเพาะ
ความจุความร้อนจำเพาะ (Specific heat) คือปริมาณความร้อนที่ทำให้วัตถุมวล 1 หน่วย มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศา (Serway and Jewett, 2004)
สำหรับตัวนำยวดยิ่งพบว่าความจุความร้อนจำเพาะในสถานะนำยวดยิ่งและในสถานะปกติ มีความแตกต่างกัน (Buckel, 1991) ที่อุณหภูมิเข้าใกล้ศูนย์เคลวินตัวนำยวดยิ่งมีความสัมพันธ์ของความจุความร้อนจำเพาะกับอุณหภูมิเป็นรูปเอกซ์โพเนนเชียล และเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤตตัวนำยวดยิ่งจะอยู่ในสถานะปกติความจุความร้อนจำเพาะมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันตามกับอุณหภูมิยกกำลังสาม ดังนั้นที่อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิวิกฤตจะเกิดการกระโดดของค่าความจุความร้อนจำเพาะขึ้น โดยทั้งจากการทดลองและทฤษฎีพบว่า = ค่าคงตัว ซึ่งค่าคงตัวนี้เท่ากับ 1.42 สำหรับตัวนำยวดยิ่งทุกตัวตามทฤษฎี BCS และจากสมการ ยังแสดงว่าที่สถานะนำยวดยิ่งจะมีช่องว่างพลังงาน (Energy gap) เกิดขึ้น โดยช่องว่างพลังงานนี้จะแยกสถานะนำยวดยิ่งกับสถานะปกติออกจากกัน และจะมีค่าเท่ากับศูนย์ที่อุณหภูมิวิกฤต โดยจะมีค่ามากที่สุดที่ศูนย์เคลวิน ตามทฤษฎี BCS ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กับ Tc เป็นไปตามสมการ = 1.76หรือ = 3.53
6. ปรากฏการณ์โจเซฟสัน
ปรากฏการณ์โจเซพสันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการนำตัวนำยวดยิ่งต่างชนิดกันมาวางประกบกันโดยมีฉนวนบางๆ คั่นอยู่ตรงกลางแล้วสามารถเกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฉนวนได้ เมื่อตัวนำยวดยิ่งอยู่ในสถานะนำยวดยิ่ง ทั้งนี้เกิดจากการที่ตัวนำไฟฟ้าในตัวนำยวดยิ่งเกิดจากการจับคู่ของอิเล็กตรอนและในตัวนำยวดยิ่งต่างชนิดจะมีเฟสของตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทะลุผ่านแผ่นฉนวนได้โดยสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ (Kittel, 1991)
1. ปรากฏการณ์โจเซฟสันกระแสตรง (DC Josephson effect) คือ ปรากฏการณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านบริเวณรอยต่อแม้ว่าจะไม่มีสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กกระทำต่อระบบเลย
2. ปรากฏการณ์โจเซฟสันกระแสสลับ (AC Josephson effect) คือ ปรากฏการณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสสลับไหลผ่านบริเวณรอยต่อ เกิดจากการให้ศักย์ไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรง (Us) แก่ระบบ แล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งข้ามรอยต่อสลับไปมาด้วยความถี่สูง (f) ตามสมการ จากความสัมพันนธ์นี้พบว่าคู่ของอิเล็กตรอนมีความสำคัญต่อสถานะนำยวดยิ่ง
อ้างอิง
- ดวงสมร เจริญกุล. (2559). ตัวนำยวดยิ่ง. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2559. จาก: http://www.material.chula.ac.th/RADIO44/APRIL/RADIO4-7.HTM.
- Buckel, Werner. (1991). Superconductivity Fundamentals and Application. NewYork: VCH Publishers Inc.
- Sacchhetti, N. (2000). Superconductivity :From Physics to Alchemy. Internationnal Journal of Modern Physics B. 14(25-27) : 2617-2627.
- Meissner, W.; & Ochsenfeld, R. (1933). Ein neuer Effekt bei Eintritt der supraleittfahigkeit. Naturwissenschaften. vol.21: 787-788.
- Bednorz, J.G.; & Muller K.A. (1986). Possible High Tc Superconductivity in the Ba-La-Cu-O System. Zeitschrift fur Physik B Condensed Matter. vol.64: 189-193.
- พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ. (2016). ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- Nagamatsu, J. et al. 2001. Nature(London) 410: 63-64.
- Ekimov, E.A. et al. 2004. "Superconductivity in Diamond." Nature 428: 542-545.
- Kamihara, Y., Watanabe, T., Hirano, M., and Hosono, H. 2008 "Iron-Based Layered Superconductor La[O1-xFx]FeAsx with Tc = 26K."J. Am. Chem. soc. 130:3296.
- พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ. (2016). ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ. (2016). ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
mikaraenanawa bthkhwamnikhwrrwmekhakb sphaphnaywdying twnaywdying xngkvs superconductor epnthatuhruxsarprakxbthicanaiffaidrxyepxresntodyimmikhwamtanthaniffaaelaimmikarsuyesiyphlngngan phayitxunhphumikhahnunghruxthieriykwaxunhphumiwikvt sungthuxepnsmbtithangfisiksthisakhysmbtithangaemehlkthisakhykhxngtwnaywdying twnaywdyingepnwsduthimismbtithangdanfisikskhxngaekhng Solid state physics thioddednkwawsduchnidxunsxngdansakhy khux smbtithangiffaaelasmbtithangaemehlk inrayaaerkkarkhnphbtwnaywdyingcaphbxyuechphaainrupaebbkhxngolhabrisuththi txmamikarkhnphbthihlakhlaykhun idaek twnaywdyingaebbolha olhaphsmhruxaemaetesramik inpccubnnkwithyasastrsamarthnathvsditwnaywdyingmaprayuktichngancringinchiwitpracawnkhxngmnusyidodyxasysmbtioddednthiwawsdunimikhwamtanthaniffaepnsunyaelakarlxytwehnuxaemehlkid echn rthifkhwamerwsungaemkelf Maglev khxngyipun thiwingdwykhwamerwsungenuxngcakimmiaerngesiydthancakphun hruxaemaetinthangkaraephthykmikarnamasrangekhruxngmuxsahrbwinicchyorkhthisakhy khux karsrangphaphdwyerosaennsaemehlkhruxkartrwcexkserydwykhlunaemehlkiffa MRI prawtikarkhnphbtwnaywdyingkarkhnphbtwnaywdyingerimtntngaetpi kh s 1911 hruxkwa 100 pimaaelw inpccubnnkwithyasastraebngkarkhnphbepnsxngyukh khux karkhnphbtwnaywdyingaebbdngedim aelakarkhnphbtwnaywdyingxunhphumisung karkhnphbtwnaywdyingaebbdngedim ihekx kaemxrling oxneniskhakhwamtanthaniffakbxunhphumikhxngprxthinpi kh s 1911 nkfisikschawdtchchux ihekx kaemxrling oxnenis ekhaidnaprxthipthakarthdlxngephuxwdkhakhwamtanthaniffa sungoxneniskhidwaprxthepnolhathimikhwambrisuththithisudinkhnannaelakhwamtanthancaldlngaebbexksophennechiyl exponential thicudeduxdkhxnghieliymehlwsungcaphbtaaehnngthimikhwamtanthaniffaepnsunyid aetphlkarthdlxngphbwakhwamtanthankhxngiffakhxngprxthbrisuththildlngxyangsmaesmxemuxxunhphumildlngtaemuxxunhphumildlngthung 4 2 ekhlwin khwamtanthaniffakhxngprxthldlngxyangrwderw aetkarthdlxngimidmikarldlngxyangexksophennechiyl exponential tamthikhadiwenuxngcakkhwamtanthaniffathiwdidmikhanxykwa 10 6 ethakhxngkhwamtanthaniffathixunhphumihxng sungxacklawidwakhwamtanthaniffakhxngprxthepnsunythixunhphumi 4 2 ekhlwinaelatxmaoxnenisphbwakarekidkhwamtanthanepnsunyxyangthnthithnidnnsamarthekidkbolhahlaychnidodyimkhunkbkhwambrisuththikhxngsar cungeriykpraktthisarirkhwamtanthanniwa sphaphnaywdying Superconductivity aelaeriykxunhphumithithaihekidsphaphnaywdyingwa xunhphumiwikvti Critical Temperature TC inpi kh s 1913 oxnenisidthakarthdlxngsungphbwaemuxmikraaesiffaihlintwnaywdyingid thakhwamhnaaennkraaesiffathiihlphanmikhatakwakha hnung aelaemuxkhwamhnaaennkraaesiffathiihlphanmikhasungkwakhaniaelw wsducaklaysphaphepntwnapkti eriykkhwamhnaaennkraaesnnwa khwamhnaaennkraaeswikvti Critical Current Density JC sungprimankhwamhnaaennkraaeswikvtnikhunxyukbxunhphumi odykhwamhnaaennkraaeswikvticamikhaephimkhunemuxxunhphumildlng inpi kh s 1914 oxnenisphbwasnamaemehlksamarththalaysphaphnaywdyingidechnediywkbkhwamhnaaennkraaesiffawikvt eriyksnamaemehlkniwa snamaemehlkwikvt Critical magnetic field HC nnkhuxthasnamaemehlkmikhwamekhmmakkwasnamaemehlkwikvtaelwtwnaywdyingcaklaysphaphepntwnapkti inpi kh s 1916 silsbi Silsbee suksasphaphnaywdying inlwdtwywdyingkbsnamaemehlkehniywnaaelaidxthibaywa kraaeswikvtehniywnakhuxpccythithaihekidsnamaemehlkwikvtthiphiwkhxnglwd dngnnpccythithalaysphaphnaywdyingkhux xunhphumi khwamhnaaennkraaes aelasnamaemehlkphaphaesdngkarekidpraktkarnimsenxrinpi kh s 1933 imsenxraelaxxkhesnfild Meissner amp Ochsenfeld phbsmbtiphunthanthisakhykhxngtwnaywdying khuxemuxthaihtwnaywdyingmixunhphumitakwaxunhphumiwikvti phbwatwnaywdyingcaekidkarepliynsphaphepntwnaywdyingaelahakissnamaemehlkphaynxkekhaip snamaemehlkcaimsamarthphungphanekhaipinenuxtwnaidenuxngcaksnamaemehlkphaynxkthaihekidkraaesiffaehniywnathiphiwkhxngtwnaywdyingaelakraaesiffaehniywnathiekidkhunthaihekidsnamaemehlktxtansnamaemehlkphaynxkthiisekhaiperiykpraktkarnniwa praktkarnimsenxr Meissner effect aetinthangklbknthatwnaywdyingmixunhphumisungkwaxunhphumiwikvt twnaywdyingcaklayepnsphaphepntwnapkti snamaemehlkcasamarththaluphanekhaipinenuxphiwtwnaywdyingidkarkhnphbtwnaywdyingxunhphumisung inpi kh s 1986 ebthnxsaelamulelxr Bednorz amp Muller idthakarwicysungcaknganwicydngklawkhnphbsphaphtwnaywdyingkhxngsarklumihmthimixngkhprakxbkhxngkhxpepxrxxkisd CuO2 epnxngkhprakxberiykwa khiwephrth Cuprate aelaepnsartwaerkthiepnsarprakxbkhxng La2BaCuO4 sungepnsarprakxbpraephthesramikkhuxthixunhphumihxngsarcamisphaphepnchnwniffa aethakldxunhphumilngcntakwa 30 ekhlwin sarcaekidkarepliynsphaphepntwnaywdyingid karkhnphbkhxngebthnxsaelamulelxrthaihklumnkfisikskhadkarnwacatxngkhnphbtwnaywdyingthixunhphumihxngaelakarkhnphbkhxngebthnxsaelamulelxrkhrngnithaihklumnkfisiksmikhwamekhaicinaenwediywknwatwnaywdyingthimixunhphumiwikvtimekin 35 ekhlwin epntwnaywdyingaebbdngedim Conventional Superconductors aelaeriyktwnaywdyingthixunhphumiwikvtsungkwa 35 ekhlwinwaepntwnaywdyingxunhphumisung High Temperature Superconductors tngaetpi kh s 1911 sungepnpikhxngkarkhnphbepntnma karkhnkhwawicyhatwnaywdyingchnidhnungthixunhphumiwikvtisungnnidphthnaipxyangechuxngcha cnkrathnginpi kh s 1973 nkwithyasastridkhnphbolhaphsmrahwanginoxebiymaelaecxrmaeniym Nb3Ge sungmixunhphumiwikvt 23 2 ekhlwin aetimprasbkhwamsaerccungthaihechuxwatwnaywdyinginthrrmchatinacamixunhphumiwikvtthicakdpraman 35 ekhlwin aela eriyktwnachnidniwa twnaywdyingxunhphumita Low Temperature Superconductors pi kh s 1987 klumwicykhxngchu Chu idthakarthdlxngphbwa twnaywdying Ba La Cu O emuxiskhwamdnekhaipinrabb samarthmixunhphumiwikvtiephimkhuncak 35 ekhlwin epnethakb 50 ekhlwin id aelayngsamarthephimkhunidthung 90 ekhlwin emuxaethnthixatxm La dwy Y sungmisutrihmepn YBa2Cu3 Oxhlngkarkhnphbtwnaywdyingxunhphumisung pi kh s 1988 etriymtwnaywdying Bi Sr Ca O thimixunhphumiwikvti 110 ekhlwin aelaetriymtwnaywdyingaebbfilmidkhrngaerkkhwamaetktangrahwangtwnaywdyingxunhphumisungkbtwnaywdyingaebbdngediminpccubntwnaywdyingxunhphumisungthithukkhnphbmimakmayhlaychnid aetinthinicasnicechphaatwnaywdyingthimikhxpepxrxisdepnkhngprakxbkhng sungnxkcamixunhphumiwikvtthisungaelw twnaywdyingxunhphumisungyngmismbtixikhlayprakarthiaetktangcaktwnaywdyingaebbdngedim sungphxcasrupiddngni Bums 1992 1 smbtikhxngsartwnaywdyingxunhphumisungcamilksnakhunkbthisthangepnxyangmak khux mi okhrngsrangkhxngxatxminphlukepnchn aelakarnaiffainaenwtngchakkbaeknhlkkhxngphlukekuxbcaimmi thaihtwnaywdyingxunhphumisungmiokhrngsrangkarnaiffaekuxbepn 2 miti 2 twnayingywdaebbdngedimepntwnaywdyingthiimkhunkbthisthangsungcamikhwamyawxaphnthkhaediyw aettwnaywdyingxunhphumisungswnihycamikhwamyawxaphnth 2 kha khux khwamyawxaphnthinranab ab aelakhwamyawxaphnthtamaekn C odykhwamyawxaphnththng 2 khanimikhnadthiaetktangknmak echn insarprakxbbismthcamikhwamyawxaphnthtamaekn C praman 2 xngstrxm aetinranab ab mikhwamyawxaphnthpraman 40 xngstrxm 3 twnaywdyingxunhphumisungmikhwamyawxaphnthpraman 10 40 xngstrxm aettwnaywdyingaebbdngedmcamikhapraman 10 000 xngstrxm sungmakkwatwnaywdyingxunhphumisungpraman 1000 etha 4 intwnaywdyingaebbdngedim emuxxunhphumiwikvkephimsungkhunkhwamhnaaennkhxngpracukcaephimkhundwy aetintwnaywdyingxunhphumisungkhwamhnaaennkhxngpracumirupaebbthiimchdecn sungidmikarphbwaintwnaywdyingxunhphumisungbangchnidthimixunhphumiwikvtsung aetcamikhwamhnaaennpracukhxnkhangnxy 5 khachxngwangphlngngankhxngtwnaywdyingxunhphumisung inaetlawithikhxngkarwdcaihkhathiimethaknaelamikhasungkwakhxngtwnaywdyingaebbdngedimmak odywithikarwdkhachxngwangphlngnganthiichmihlaywithi echn karthaluphan Tunneling karaephrrngsixinfraerd Infrared radiation kardudklun Absorption aelakarsathxn Reflection 6 twnaywdyingxunhphumisungbangchnidcamikhasmprasiththikhxngixosothpnxykwaaelabangchnidcaihkhathimakkwathvsdi BCS 7 intwnaywdyingxunhphumisung xunhphumiwikvtcakhunkbkhwamekhmkhnkhxngsarecuxaebbimepnaemehlk aetinkhnathitwnaywdyingaebbdngedimxunhphumiwikvtcakhuntamkhwamekhmkhnkhxngsarecuxaebbaemehlk odyxunhphumiwikvtcaimkhunkbsarecuxaebbimepnaemehlk enuxngcakmikhwamaetktangrahwangtwnaywdyingaebbdngedimkbtwnaywdyingxunhphumsunghlayprakar aesdngwakarxthibaysmbtikhxngtwnaywdyingxunhphumisungtamthvsdi BCS odyichklikkhxngxntrkiriyathiichofnxnaebbxxnaelaichkarpramaninkhntxnkarkhanwncaimsamarthxthibay smbtikhxngtwnaywdyingxunhphumisungidthuktxngkhrbthwn aenwthanghnunginkarkhwamphyayamephux xthibaytwnaywdyingxunhphumisungkhuxkarprbprungthvsdi BCS aelathvsdikinsebirkaelndawodyephim khwamlaexiydinkarkhanwnihmakkhunaelaichkarpramaninkarkhanwnihnxythisud ephuxihkhrxbkhlumwmbtikhxngtwnaywdyingxunhphumisungmakthisudpi kh s 1989 etriymsayifthithacaktwnaywdyingbnenginid BSCCO Silver aelaetriymtwnaywdying Ti Sr Ca O thimixunhphumiwikvti 125 ekhlwinpi kh s 2001 idkhnphbsphaphnaywdyingin aemkniesiymobird MgB2 thimixunphumiwikvtithung 40 ekhlwin pi kh s 2003 srangrthiffaaemkelf thimikhwamerwsungsud 581 kiolemtrtxchwomng pi kh s 2004 idkhnphbsphaphnaywdyinginephchr thiodpdwyobrxn Boron droped diamond thimixunhphumiwikvtipraman 40 ekhlwin pi kh s 2008 idkhnphbtwnaywdyinginsarprakxbehlkphinitds Iron phictides sungepntwnaywdyingaebbsxngaethbphlngnganthiimmiswnprakxbkhxngkhxpepxrxxkist mixunhphumiwikvtiimsungmak aetmikhasnamaemehlkwikvtithisxng aelakraaesiffawikvtisungmakkaraebngpraephthtwnaywdyingtamsarprakxbkaraebngpraephthtwnaywdyingtamsarprakxbepnkaraebngpraephthkhxngtwnaywdyingodykhanungthungsarprakxbthithaihekidtwnaywdying dngnnkaraebngpraephthaebbniswnihycungepnkaraebngpraephthodyphicarnakhxmulthiidcakkarthdlxng aetkmibangswnthiphlkarkhanwntamthvsdisamarthxthibaykarthdlxngiddi kareriykchuxcungkhanungthungkhxmulthangthvsdimakkwakarthdlxng sungkaraebngpraephthkhxngtwnaywdyingtamchnidkhxngsarprakxbmidngni 1 twnaywdyingaebbdngedim twnaywdyingaebbdngedim Conventional superconductors epntwnaywdyingthisamarthichthvsdi BCS xthibayiddi twnaywdyingtwaerkthikhnphbkhuxprxthmixunhphumiwikvt 4 15 ekhlwin thukkhnphbinpi 1911 odytwnaywdyinginklumniswnihyepnthatuaelasarprakxb echn Al mixunhphumiwikvt 1 19 ekhlwin Nb mixunhphumiwikvt 9 2 ekhlwin sarprakxb echn CuS mixunhphumiwikvt 1 6 ekhlwin odysarprakxbthimixunhphumiwikvtisungsudkhux Nb3Ge khuxmixunhphumiwikvt 23 2 ekhlwin 2 twnaywdyingxunhphumisung nkwithyasastridichkhwamphyayaminkarsngekhraahtwnaywdyingihmixunhphumiwikvtsungkhunodyichewlathung 75 pi khuxtngaetpi 1911 cnthungpi 1986 cungcasamarthkhnphbtwnaywdyingxunhphumisungidkhrngaerkinpi 1986 odyebthnxrsaelamulelxr insarprakxb Ba La Cu O sungtxmamikarkhnphbinsarprakxb Y Ba Cu O aelasarprakxbxikhlayklumodymixngkhprakxbsakhykhuxranabkhxngkhxpepxrxxkisdaelamilksnaednxikxyanghnungkhuxtwnaywdyingchnidnicamixunhphumiwikvtthisungmakkwa 35 ekhlwin sungekinkhxbekhtkhxngtwnaywdyingaebbdngedimtamthvsdi BCS dngnn twnaywdyingchnidnicungthukeriykwa twnaywdyingxunhphumisung aelaenuxngcakkhxpepxrxxkisdepnxngkhprakxbhlkthisakhykhxngsphaphnaywdying dngnn inbangkhrngcungthukeriykwa twnaywdyingaebbkhiwephrth pccubntwnaywdyingxunhphumisungkalngepnthisnicsuksakhxngnkwicythwolkenuxngcakmismbtithisamarthnamaprayuktichnganidngaykwatwnaywdyingchnidxun xyangirktamtwnaywdyingchnidniyngmismbtihlayprakarthiimmithvsdiidsamarthxthibayid 3 twnaywdyingaebbaemehlk twnaywdyingaebbaemehlk Magnetic superconductors ni epntwnaywdyingthimismbtiepnthngsmbtitwnaywdyingaelasmbtithangaemehlk twnaywdyingaebbnisamarthekidkhunidemuxtwnaywdyingthukecuxdwysarecuxaebbaemehlk camiphlthaihekidsphaphkhwamepnaemehlkkhuninokhrngsrang aetenuxngcakaemehlkmiphlthalaysphaphtwnaywdyingid dngnncathaihxunhphumiwikvtmikhanxykwatwnaywdyingaebbxun nxkcakniyngthaihekidtwnaywdyingthiimmichxngwangphlngnganid Gapless superconductor odyekidkhuncakkarpramanthangthvsdikhxngxabiokhsxfaelakxrkhxf Gorkov inpi 1961 thngsxngidphicarnaphlkhxngkaraelkepliynspin Spin exchange khxngsarecuxaebbaemehlkthiimekhmkhnaelwphbwamiphlthaihxunhphumiwikvtldlng odythikhwamekhmkhnkhxngsarecuxaebbaemehlkthiehmaasmkhahnungcathaihxunhphumiwikvtldlngcnklayepnsunyidaelaemuxkhwamekhmkhxngsarecuxmikhathiehmaasmxikkhahnungcathaihchxngwangphlngnganmikhaepnsunyiddwy karkhnphbtwnaywdyinginklumthatuolhahayak Rare earth RE echn inpi 1975 1977 khnphbsphaphinywdyinginsarprakxbechwrxlefs Chevrel phase in Re Mo6X8 X S hrux Se aelain XRh4B4 X Y Th hrux RE thaihmikarsuksaphlkhxngkarxyurwmknkhxngsphaphtwnaywdyingkbsphaphkhwamepnaemehlkmakkhun insarprakxb HoMo6S8 caepntwnaywdyingthi Tc1 1 8 K aetthi Tc2 0 7 K sarcaklbepnsphaphpktiidxikkhrngthaihidchuxwa Reentrant superconductor aelami TM sungepncudepliynkhxngsphaphnaywdyingkbsphaphaemehlk sahrbtwnaywdying Re Mo6X8 cami Tc2 TM twxyangkhxngsarprakxbklumnixiktwkhux ErRh4B4 cakkarthdlxngsahrb ErRh4B4 aela HoMo6S8 thixunhphumitakwa Tc2 phbwasarcaxyuinsthanathimisphaphnaywdyingxyurwmknkbsphaphaemehlkefror Ferromagnetic aelainsarprakxb ErMo6S8 aela SmRh4B4 phbwamisphaphnaywdyingxyurwmkbsphaphaemehlkaexnithefror Antiferromagnetic 4 twnaywdyingaebbxxkisd aemwakarkhnphbtwnaywdyingxunhphumisunginsarprakxbkhxpepxrxxkisd caepnthiruckknxyangkwangkhwang aettwnaywdyingxunhphumisungimichtwnaywdyingthimixxkisdepnxngkhprakxbtwaerkthimikarkhnphb odysarprakxbxxkisdtwaerkthimikarkhnphb khux Sr TiO3 x inpi 1965 odymixunhphumiwikvtthikhxnkhangta aelainpi 1986 khux Ba Pb1 xB1x O3 thimi Tc 13 K thi x 0 25 cakkarthdlxnginpi 1988 phbwasarprakxbxxkisdklumnithimixunhphumiwikvtsungthisudkhux K0 4Ba0 6 BiO3 mi Tc 30 K sungmiokhrngsrangaebbefxrrxfsikpechnediywkbtwnaywdyingaebbkhiwephrth aetmixunhphumiwikvtthitakwamak eriyktwnaywdyingniwatwnaywdyingxxkisdaebbedim Earlier oxide superconductors sungpccubnyngimphbkhwamsmphnthkbtwnaywdyingaebbkhiwephrththaihimsamarthsrupidwa thaimsarprakxbxxkisdklumkhiwephrthethannthiihxunhphumiwikvtidsungthisudsungsarprakxbxxkisdtwxunimsamarththaid twnaywdyingaebbxxkisdthiidrbkhwamsnicxyangmakinsarklumnikhux strxnethiymruethxent Sr2RuO4 sungthukkhnphbinpi 1994 odyemiyon mixunhphumiwikvt 1 5 ekhlwin phbwaepntwnaywdyingaebbspinthripeltmiokhrngsrangphlukthikhlaykntwnaywdyingaebbkhiwephrthaetmismbtithiaetktangknmak twnaywdyingthimikarkhnphblasudkhuxtwnaywdyingthimiehlkepnxngkhprakxbsungmiehlkxxkisdepnxngkhprakxblk echn LaFePO aela LaFeAsO thimikarecuxfluxxrinaesdngsmbtikarepntwnaywdyingthixunhphumi 4 ekhlwin aela 26 ekhlwin tamladb odymikhasnamaemehlkwikvtthisxngaelakraaesiffawikvtthisungmakthaihepntwnaywdyingthiidrbkhwamsnicepnxyangmakinpccubn 5 twnaywdyingxielktrxnhnk enuxngcakkhwamcukhwamrxnkhxngxielktrxninolhainsthanapktimikhakhunkbkhwamhnaaennsthanathiphiwefxrmiaelamwlyngphl cakkarthdlxngphbwakhwamcukhwamrxnthixunhphumitakhxngsarehlanimikhamakkwakhxngolhapktithung 2 hrux 3 etha aelayngphbwakhakhwamcukhwamrxnniepnphlthiekidcakxielktrxninchnexf sungolhapktimkcaekidcakxielktrxninchndi sarklumnimimwlyngphlthimikhamak thaihthukeriykwatwnaywdyingxielktrxnhnk Heavy electron superconductors aelainbangkhrngkeriykwa twnaywdyingefxrmixxnhnk Heavy Fermion superconductors phbidinsarprakxb Ube13 Tc 0 85 K CeCu2Si2 Tc 0 65 K aela UPt3 T3 0 54 K nxkcakthimixielktrxnmwlhnkaelw sarklumnibangchnidyngmismbtiaemehlkrwmdwy echn insar NbBeB U2Sn17 aela UCd11 aelayngmikarphbwatwnaywdyingxielktrxnhnkbangchnidepnsthanaspinsingekltthiepnmismmatraebbkhlunexsdwy aetklikkarekidsphaphnaywdyingimidekidcakxntrkiriyaxielktrxnofnxnsungmikarnaesnxwaklikkarekidsphaphnaywdyinginkarklumnixacekidcakaemknxn Magnon kid 6 twnaywdyingaebbprakxbxinthriy sarprakxbxinthriy Organic thiaesdngsmbtiepntwnaywdyingid thukkhnphbkhrngaerkinthswrrs 1980 odymixunhphumiwikvtnxykwa 1 ekhlwin sungklikkarekidsphaphnaywdyinginsarprakxbxinthriyniekidcakkarthayethpracu Charge transfer rahwangomelkulaekhthixxxnkhxngsarprakxbxinthriy Organic cation kbaexnixxxnkhxngsarthiimichsarprakxbxinthriy Anion odymi xxbithxlinaekhthixxxnthaihekidkarnaiffaaebbolhakhun okhrngsranghlkthisakhyintwnaywdyingaebbsarprakxbxinthriy thukeriykwablxkkarsrangkhxngsarprakxbxinthriy Organic building block hrux bis ethylenedioxy Tetrathiafulvalene sungekhiynyxwa ET odyinpi 1983 mikarkhnphb ET 2 ReO4 thimixunhphumiwikvt 2 5 ekhlwin sungsungmak aelwinpccubntwnaywdyingpraephthnimikarkhnphbinsarprakxb ET 2 Cu N CN 2 Br mixunhphumiwikvt 11 6 ekhlwin thaihaenwkhidekiywkbtwnaywdyingaebbsarprakxbxinthriythimixunhphumiwikvtthitamak epliynip twnaywdyingaebbsarprakxbxinthriyepntwnaywdyingthimismbtithihlakhlay odycamismbtixyanghnungthikhlaykhlungkbtwnaywdyingaebbkhiwephrth khux mikhwamimsmmatrsungmak karnaiffaekidkhunechphaainbangthisthangethann aelaswnihycaekidkarnaiffatamranab aetkmismbtixikhlayprakarthiaetktang echn inolhapktikhakhxngsepktrmthangaesng Optical spectrum thiaesdngwaxtrakarkraecingaebbimyudhyunkhxngxielktrxncamikhakhunkbrakthi 2 khxngkhwamthihruxxunhphumi sungthukeriykwaepn khxngehlwefxrmi Fermi liquid aetsahrbtwnaywdyingaebbsarprakxbxinthriy phlkarthdlxngthangsepktrmthangaesngsamarthsrupidwaxtrakarkraecingaebbimyudhyunkhxngxielktrxnmikhakhunkbkhwamthiaelaxunhphumiaebbechingesn sungkphbintwnaywdyingxunhphumibangchniddwy bangkhrngcaeriykwatwnaywdyingthimismbtiaebbniwa twnaywdyingaebbimepnkhxngehlwefxrmi Non Fermi liquid superconductor aelainbangsarprakxbphbwakhasmprasiththikhxngixosothpkhxngtwnaywdyingaebbsarprakxbxinthriycamiekhruxnghmayepnlbidemuxmixngkhprakxbthiepnihodrecnepliynepndiwethxeriymdsmbtikhxngsthananaywdyingtwnaywdyingthixyuinsthananaywdying mismbtithisakhy dngni 1 khwamtanthaniffaepnsunyxyangthnthithnid emuxldxunhphumikhxngtwnaywdyingcnthungxunhphumiwikvt camikarepliynsthanacaksthanapktiipepnsthananaywdying thaihkhakhwamtanthaniffamikhaldlngepnsunyxyangthnthithnid echn karthdlxngwdkhwamtanthaniffakhxngprxththixunhphumitang phbwathixunhphumitakwa 4 2 ekhlwin khwamtanthaniffakhxngprxthcaepnsunyxyangthnthithnid dngnnsamarthklawidwa prxthmismbtiepntwnaywdyingthimixunhphumiwikvtethakb 4 2 ekhlwin 2 khwamimtxenuxngkhxngesnaerngaemehlk thanatwnaywdyingrupwngaehwnmawanginbriewnthimisnamaemehlk caknnldxunhphumicntakwaxunhphumiwikvtaelwexasnamaemehlkxxk tamhlkkarehniywnaiffakhxngfaraedycamikaraesiffaehniywnaekidkhun cungmikraaesiffaihlwninwngaehwn aetenuxngcaktwnaywdyingimmikhwamtanthaniffadngnncungimmikarsuyesiyphlngngan kraaesiffanicasamarthihlwnxyuinwngaehwnidtlxdipodyimsuyhayeriykkraaesiffaniwa kraaesyunyng Persistent current File and Mills 1963 Buckel 1991 aelaflksaemehlkthiekidcakkraaesiffaihlwnnicathukkkxyuphayinwngaehwnkhxngtwnaywdying 3 praktkarnixosothp xunhphumiwikvtkbmwlixosothp M khatang khxngthatuthiepntwnaywdying samarthekhiynkhwamsmphnthiddngsmkar Buckel 1991 MaTc displaystyle M boldsymbol alpha T c khakhngtw khwamsmphnthnithaihruwakarsnkhxngaeltthisaelaxntrkiriyarahwangxielktrxnkbaeltthismiphlthaihekidsthananaywdyingidtamthvsdi BCS thixasykarkhanwnodyxasyxntrkiriyarahwangxielktrxnkbaeltthis phbwa Tca8daMexp 1 2 displaystyle T c alpha theta d alpha M exp 1 2 emux 8d displaystyle theta d epnxunhphumikhxngedxbayemuxepriybethiybtamkhwamsmphnthtamniyamkhxngpraktkarnixosothpcaphbwainkrninicami a ethakb 4 praktkarnimsenxr praktkarnimsenxrepnpraktkarnthiekidcakkarnatwnaywdyinginsthanapkti xunhphumi T gt Tc ipwanginsnamaemehlkxyangxxn phbwacaimmipraktkarnphiessxairekidkhun aetthanatwnaywdyinginsthananaywdying xunhphumi T lt Tc ipwanginsnamaemehlkxyangxxncamipraktkarnphiessekidkhun enuxngcaktwnaywdyingthixyuinsnamaemehlkxyangxxn caaesdngsmbtiepnaemehlkidxathismburn Perfect diamagnet thaihsnamaemehlkphayintwnaywdyingmikhaethakbsuny esnaerngaemehlkcathukphlkxxkcaktwnaywdyingxyangsmburn cakpraktkarnnithathakarthdlxnginaenwdingodywangtwnaywdyingehnuxaemehlkhruxwangaemehlkehnuxtwnaywdyingkid emuxldxunhphumitakwaxunhphumiwikvt esnaerngaemehlkcathukphlkxxkmacaktwnaywdyingthaihkhwamhnaaennkhxngesnaerngaemehlkrxb twnaywdyingmikhaimsmaesmxekidaerngphlkkhunrahwangtwnaywdyingkbaemehlk aelathawsdutwbnminahnkimmaknkkcasamarththukyklxykhunid eriykwaekid karyktwdwyaemehlk Magnetic levitation 5 karkraoddkhxngkhakhwamcukhwamrxncaephaa khwamcukhwamrxncaephaa Specific heat khuxprimankhwamrxnthithaihwtthumwl 1 hnwy mixunhphumisungkhun 1 xngsa Serway and Jewett 2004 sahrbtwnaywdyingphbwakhwamcukhwamrxncaephaainsthananaywdyingCs displaystyle C s aelainsthanapkti Cn displaystyle C n mikhwamaetktangkn Buckel 1991 thixunhphumiekhaiklsunyekhlwintwnaywdyingmikhwamsmphnthkhxngkhwamcukhwamrxncaephaakbxunhphumiepnrupexksophennechiylCs displaystyle C s a displaystyle boldsymbol alpha eexp T displaystyle e exp vartriangle T aelaemuxxunhphumisungkwaxunhphumiwikvttwnaywdyingcaxyuinsthanapktikhwamcukhwamrxncaephaamikhwamsmphnthaebbaeprphkphntamkbxunhphumiykkalngsamCn displaystyle C n a displaystyle boldsymbol alpha T3 displaystyle T 3 dngnnthixunhphumiethakbxunhphumiwikvtcaekidkarkraoddkhxngkhakhwamcukhwamrxncaephaakhun odythngcakkarthdlxngaelathvsdiphbwa Cn Tc Cs Tc Cn Tc displaystyle C n T c C s T c C n T c khakhngtw sungkhakhngtwniethakb 1 42 sahrbtwnaywdyingthuktwtamthvsdi BCS aelacaksmkareexp T displaystyle e exp vartriangle T yngaesdngwathisthananaywdyingcamichxngwangphlngngan T displaystyle vartriangle T Energy gap ekidkhun odychxngwangphlngngannicaaeyksthananaywdyingkbsthanapktixxkcakkn aelacamikhaethakbsunythixunhphumiwikvt odycamikhamakthisudthisunyekhlwin tamthvsdi BCS idaesdngkhwamsmphnthrahwang 0 displaystyle vartriangle 0 kb Tc epniptamsmkar 0 displaystyle vartriangle 0 1 76kbTc displaystyle k b T c hrux 2 0 kbTc displaystyle 2 vartriangle 0 k b T c 3 53 6 praktkarnocesfsn praktkarnocesphsnepnpraktkarnthiekidcakkarnatwnaywdyingtangchnidknmawangprakbknodymichnwnbang khnxyutrngklangaelwsamarthekidkraaesiffaihlphanchnwnid emuxtwnaywdyingxyuinsthananaywdying thngniekidcakkarthitwnaiffaintwnaywdyingekidcakkarcbkhukhxngxielktrxnaelaintwnaywdyingtangchnidcamiefskhxngtwnaiffathiimtrngkn thaihekidpraktkarnthaluphanaephnchnwnidodysamarthaebngepn 2 rupaebb khux Kittel 1991 1 praktkarnocesfsnkraaestrng DC Josephson effect khux praktkarnthimikraaesiffaaebbiffakraaestrngihlphanbriewnrxytxaemwacaimmisnamiffahruxsnamaemehlkkrathatxrabbely 2 praktkarnocesfsnkraaesslb AC Josephson effect khux praktkarnthimikraaesiffaaebbiffakraaesslbihlphanbriewnrxytx ekidcakkarihskyiffaaebbiffakraaestrng Us aekrabb aelwthaihekidkraaesiffawingkhamrxytxslbipmadwykhwamthisung f tamsmkar cakkhwamsmphnnthniphbwakhukhxngxielktrxnmikhwamsakhytxsthananaywdyingxangxingdwngsmr ecriykul 2559 twnaywdying subkhnemux 25 singhakhm 2559 cak http www material chula ac th RADIO44 APRIL RADIO4 7 HTM Buckel Werner 1991 Superconductivity Fundamentals and Application NewYork VCH Publishers Inc Sacchhetti N 2000 Superconductivity From Physics to Alchemy Internationnal Journal of Modern Physics B 14 25 27 2617 2627 Meissner W amp Ochsenfeld R 1933 Ein neuer Effekt bei Eintritt der supraleittfahigkeit Naturwissenschaften vol 21 787 788 Bednorz J G amp Muller K A 1986 Possible High Tc Superconductivity in the Ba La Cu O System Zeitschrift fur Physik B Condensed Matter vol 64 189 193 phngsaekw xudmsmuthrhiry 2016 twnaywdyingphunthan phimphkhrngthi 1 krungethph orngphimphaehngculalngkrnmhawithyaly Nagamatsu J et al 2001 Nature London 410 63 64 Ekimov E A et al 2004 Superconductivity in Diamond Nature 428 542 545 Kamihara Y Watanabe T Hirano M and Hosono H 2008 Iron Based Layered Superconductor La O1 xFx FeAsx with Tc 26K J Am Chem soc 130 3296 phngsaekw xudmsmuthrhiry 2016 twnaywdyingphunthan phimphkhrngthi 1 krungethph orngphimphaehngculalngkrnmhawithyaly phngsaekw xudmsmuthrhiry 2016 twnaywdyingphunthan phimphkhrngthi 1 krungethph orngphimphaehngculalngkrnmhawithyaly