ปลานีออน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Characiformes |
วงศ์: | Characidae |
สกุล: | Paracheirodon |
สปีชีส์: | P. innesi |
ชื่อทวินาม | |
Paracheirodon innesi (, 1936) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า (อังกฤษ: neon, neon tetra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon innesi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน
ข้อมูลทั่วไป
เป็นปลาขนาดเล็กที่มีนิสัยชอบอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในระดับกลางน้ำในป่าดิบชื้นที่มีไม้น้ำหนาแน่นในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโคลัมเบีย, ภาคตะวันออกของเปรู, และทางภาคตะวันตกของบราซิล มีรูปทรงยาวรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ตาโต มีครีบบางใสยาวพอประมาณทั้ง 7 ครีบ (ครีบว่าย 2 ครีบท้อง 2 ครีบกระโดง 1 ครีบทวาร 1 ครีบหาง 1) มีครีบไขมันขนาดเล็ก ที่โคนหาง ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว โดยที่ส่วนหลังจะสีเหลือบเขียวมะกอก มีเส้นสีเขียวอมฟ้าพาดตั้งแต่จมูกผ่านลูกตายาวไปสุดที่ครีบไขมัน อันเป็นที่มาของชื่อ ปลานีออน ส่วนท้องเป็นสีขาว หลังจากช่องท้องไปถึงโคนหางมีสีแดงสด ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 นิ้ว
การเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ด้วยความสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีทั้งการส่งออกจากอเมริกาใต้ และเพาะขยายพันธุ์ได้ในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ไทย เป็นต้น อุณหภูมิที่เหมาะสมของปลานีออนคือไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ปลานีออนจะมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้ ทั้งยังสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่น ๆ ที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้อีกด้วย แต่ปลานีออนจะมีนิสัยขี้ตื่น ชอบกระโดด ดังนั้นสำหรับการเลี้ยงในตู้จึงควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วยเพื่อกันการที่ปลานีออนจะกระโดดออกมาตายนอกตู้ หากเป็นไปได้ ควรมีสถานที่ซ่อนเวลาที่ปลานีออนตกใจ ด้วยการหาขอนไม้, หิน หรือพรรณไม้น้ำมาเป็นที่ซ่อน
การเพาะขยายพันธุ์
ปลานีออนเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ 2–3 ต่อตัวเมีย 1 ตัว โดยปลาที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์จะเห็นพฤติกรรมปลาตัวผู้ว่ายเคลียคลอตัวเมียอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปลาที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ควรแยกออกมาไว้ในตู้ที่จะใช้เพาะขยายพันธุ์
ตู้ที่ใช้สามารถใช้ตู้ขนาดเล็ก เพียงความกว้าง 20 หรือ 24 นิ้วก็สามารถใช้ได้ พื้นตู้อาจเป็นพื้นโล่งหรือมีสาหร่ายหรือสาหร่ายเทียมหรือเชือกฟางฝอยวางที่พื้นก้นตู้เพื่อป้องกันปลากินไข่ตัวเอง นำปลาชุดที่ไล่ผสมพันธุ์แยกออกมาปล่อยไว้ เมื่อปลาชินกับสถานที่อยู่และตัวเมียไข่สุกเต็มที่ ปลาจะวางไข่เม็ดลักษณะใสเม็ดขนาดเล็กหล่นลงมามากมาย เมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว อาจนำเพศผู้ไปรวมฝูงดังเดิมแล้วนำตัวเมียแยกไว้พักฟื้นต่างหาก 1–2 วันก่อนปล่อยกลับไปรวมฝูงดังเดิม ไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 3 วัน ลูกปลาที่เกิดใหม่มีขนาดจิ๋วคล้ายเส้นด้าย อนุบาลลูกปลาด้วยอาหารขนาดเล็กหรือไรน้ำขนาดจิ๋ว เมื่อปลามีอายุได้ 3–6 เดือนก็พร้อมที่จะผสมพันธุ์
อ้างอิง
- ข้อมูลปลานีออนในเว็บไซต์นายเก๋า
แหล่งข้อมูลอื่น
- รูปและข้อมูลปลานีออน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Paracheirodon innesi ที่วิกิสปีชีส์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
planixxnkarcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Animaliaiflm Chordatachn Actinopterygiixndb Characiformeswngs Characidaeskul Paracheirodonspichis P innesichuxthwinamParacheirodon innesi 1936 chuxphxngHyphessobrycon innesi Myers 1936 planixxn hrux planixxnettra xngkvs neon neon tetra chuxwithyasastr Paracheirodon innesi epnplanacudkhnadelkchnidhnung inwngsplakharasinkhxmulthwipepnplakhnadelkthiminisychxbxyurwmepnfungihyinradbklangnainpadibchunthimiimnahnaaenninphakhtawnxxkechiyngitkhxngokhlmebiy phakhtawnxxkkhxngepru aelathangphakhtawntkkhxngbrasil mirupthrngyawri khlayemdkhawsar taot mikhribbangisyawphxpramanthng 7 khrib khribway 2 khribthxng 2 khribkraodng 1 khribthwar 1 khribhang 1 mikhribikhmnkhnadelk thiokhnhang latwmiekldkhnadelkmnwawpkkhlumthngtw odythiswnhlngcasiehluxbekhiywmakxk miesnsiekhiywxmfaphadtngaetcmukphanluktayawipsudthikhribikhmn xnepnthimakhxngchux planixxn swnthxngepnsikhaw hlngcakchxngthxngipthungokhnhangmisiaedngsd khnadotetmthiimekin 1 niwkareliyngepnplaswyngamdwykhwamswyngamcungniymeliyngepnplaswyngamxikchnidhnung thimithngkarsngxxkcakxemrikait aelaephaakhyayphnthuidinhlaypraeths echn xinodniesiy singkhopr ithy epntn xunhphumithiehmaasmkhxngplanixxnkhuximekin 30 xngsaeslesiys planixxncaminisyrksngb samartheliyngepnfungid thngyngsamartheliyngrwmkbplaxun thimikhnadileliyknidxikdwy aetplanixxncaminisykhitun chxbkraodd dngnnsahrbkareliyngintucungkhwrcamifapidihmidchiddwyephuxknkarthiplanixxncakraoddxxkmataynxktu hakepnipid khwrmisthanthisxnewlathiplanixxntkic dwykarhakhxnim hin hruxphrrnimnamaepnthisxnkarephaakhyayphnthuplanixxnepnplaxikchnidhnungthisamarthephaakhyayphnthuidintueliyng odyichxtraswntwphu 2 3 txtwemiy 1 tw odyplathiphrxmthicaphsmphnthucaehnphvtikrrmplatwphuwayekhliykhlxtwemiyxyutlxdewla sungplathimiphvtikrrmechnnikhwraeykxxkmaiwintuthicaichephaakhyayphnthu tuthiichsamarthichtukhnadelk ephiyngkhwamkwang 20 hrux 24 niwksamarthichid phuntuxacepnphunolnghruxmisahrayhruxsahrayethiymhruxechuxkfangfxywangthiphunkntuephuxpxngknplakinikhtwexng naplachudthiilphsmphnthuaeykxxkmaplxyiw emuxplachinkbsthanthixyuaelatwemiyikhsuketmthi placawangikhemdlksnaisemdkhnadelkhlnlngmamakmay emuxplawangikhhmdaelw xacnaephsphuiprwmfungdngedimaelwnatwemiyaeykiwphkfuntanghak 1 2 wnkxnplxyklbiprwmfungdngedim ikhcaichewlafkepntwraw 3 wn lukplathiekidihmmikhnadciwkhlayesnday xnuballukpladwyxaharkhnadelkhruxirnakhnadciw emuxplamixayuid 3 6 eduxnkphrxmthicaphsmphnthuxangxingkhxmulplanixxninewbistnayekawikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb Paracheirodon innesiaehlngkhxmulxunrupaelakhxmulplanixxn khxmulthiekiywkhxngkb Paracheirodon innesi thiwikispichis