48°16′8″N 11°28′7″E / 48.26889°N 11.46861°E
ค่ายกักกันดัคเคา (เยอรมัน: Konzentrationslager (KZ) Dachau) เป็นค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่เปิดในเยอรมนี ตั้งอยู่บนที่ดินของโรงงานผลิตอาวุธร้างใกล้กับเมืองสมัยกลางชื่อว่า ดัคเคา ห่างจากเมืองมิวนิกในรัฐบาวาเรียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 16 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเยอรมนี ค่ายนี้เปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1933 (51 วันหลังฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ) และเป็นค่ายกักกันปกติแห่งแรกที่จัดตั้งโดยรัฐบาลผสมระหว่างพรรคชาติสังคมนิยม (พรรคนาซี) กับพรรคชาตินิยมประชาชนเยอรมัน (ถูกยุบเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1933) ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าตำรวจเมืองมิวนิก อธิบายค่ายอย่างเป็นทางการว่า "ค่ายกักกันนักโทษการเมืองแห่งแรก"
ดัคเคาเป็นต้นแบบและตัวอย่างของค่ายกักกันนาซีแห่งอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นตามมา แทบทุกชุมชนในเยอรมนีมีสมาชิกถูกนำไปยังค่ายเหล่านี้ หนังสือพิมพ์รายงาน "การย้ายศัตรูของไรช์ไปยังค่ายกักกัน" อย่างต่อเนื่อง และเมื่อ ค.ศ. 1935 ได้มีบทร้อยกรองจิงเกิล (jingle) เตือนว่า: "ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์โง่ เพื่อที่ข้าพระองค์จะได้ไม่ต้องไปดัคเคา" (Lieber Gott, mach mich dumm, damit ich nicht nach Dachau kumm)
การจัดการพื้นฐานของค่าย การออกแบบเช่นเดียวกับแผนสิ่งปลูกสร้าง พัฒนาโดย คอมมันดันท์ เทโอดอร์ ไอเคอ (Theodor Eicke) และได้ปรับใช้กับทุกค่ายที่สร้างขึ้นภายหลัง เขามีค่ายที่มั่นคงแยกต่างหากใกล้กับศูนย์บัญชาการ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่อยู่อาศัย ฝ่ายบริหาร และค่ายทหาร ไอคเคอเองกลายมาเป็นหัวหน้าผู้ตรวจการค่ายกักกันทุกแห่ง ซึ่งรับผิดชอบต่อการก่อสร้างค่ายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามแบบของเขา
ค่ายถูกใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ถึง 1960 สิบสองปีแรกใช้เป็นศูนย์กักกันของจักรวรรดิไรช์ที่สาม ระหว่าง ค.ศ. 1933 และ 1938 นักโทษส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเยอรมันซึ่งถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง ภายหลังค่ายถูกใช้สำหรับนักโทษทุกประเภทจากทุกชาติที่ถูกกองทัพไรช์ที่สามยึดครอง นับแต่ ค.ศ. 1945 ถึง 1948 ค่ายดังกล่าวถูกใช้เป็นเรือนจำแก่นายทหารเอสเอสที่รอการพิจารณา หลังจาก ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดให้ประชากรเยอรมันที่ถูกขับไล่จากเชโกสโลวาเกียอาศัยอยู่ในค่าย และยังเป็นฐานของสหรัฐอเมริกา ค่ายดังกล่าวถูกปิดใน ค.ศ. 1960 และนับแต่นั้น ได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งที่นั่น ด้วยการยืนกรานของอดีตนักโทษ
ประเมินสถิติลักษณะประชากรมีหลากหลายแต่อยู่ในพิสัยทั่วไปเดียวกัน เราอาจไม่มีวันทราบได้ว่ามีผู้ถูกกักขังหรือเสียชีวิตในค่ายจำนวนเท่าใด เนื่องจากยุคสมัยแห่งความยุ่งเหยิง แหล่งข้อมูลหนึ่งในประมาณการทั่วไปนักโทษกว่า 200,000 คน จากมากกว่า 30 ประเทศระหว่างช่วงจักรวรรดิไรช์ที่สาม สองในสามเป็นนักโทษการเมือง และเกือบหนึ่งในสามเป็นชาวยิว นักโทษ 25,613 คนเชื่อกันว่าเสียชีวิตในค่าย และอีกเกือบ 10,000 คนในค่ายย่อย ส่วนใหญ่เป็นเพราะโรคระบาด ทุพโภชนาการและอัตวินิบาตกรรม ต้น ค.ศ. 1945 มีการระบาดของไข้รากสาดใหญ่ในค่ายเพราะมีการไหลบ่าเข้ามาของนักโทษจากค่ายอื่นจนทำให้เกิดการแออัด หลังมีการอพยพ ซึ่งทำให้นักโทษที่อ่อนแอเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายสงครามมีการเดินแถวมรณะ (death march) ออกจากและเข้ามายังค่ายทำให้นักโทษเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่ทราบจำนวน แม้หลังมีการปลดปล่อยค่ายแล้ว ก็ยังมีนักโทษที่อ่อนแอเกินกว่าจะมีอาการดีขึ้นเสียชีวิตต่อไป
ในช่วงที่เป็นค่ายกักกันกว่าสิบสองปี ฝ่ายบริหารดัคเคาบันทึกการนำเข้านักโทษ 206,206 คน และมีผู้เสียชีวิต 31,951 คน มีการก่อสร้างเมรุเพื่อจัดการกับศพ ไม่มีหลักฐานการสังหารหมู่ภายในค่าย และแม้จะมีการอ้างว่าใน ค.ศ. 1942 นักโทษกว่า 3,166 คนในสภาพอ่อนแอถูกส่งไปยังปราสาทฮาร์ไทม์ใกล้กับลินซ์ และมีการประหารชีวิตด้วยแก๊สพิษด้วยเหตุผลว่า พวกเขามีร่างกายไม่แข็งแรง การวิจัยเดียวกันเตือนว่า แม้จะเป็นข้อมูลจากนักเคลื่อนไหวการล้างชาติโดยนาซีในกรุงเยรูซาเล็ม แต่คำให้การของผู้รอดชีวิตก็มีชื่อเสียว่าเชื่อถือไม่ได้
สิ่งที่เกี่ยวข้อง
ฟรินซ์ แกร์ลิก (Fritz Gerlich) เป็นนักข่าวและนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มองเห็นความชั่วร้ายของอุดมการณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซีจึงได้เขียนหนังสือพิมพ์โจมตีฮิตเลอร์และพรรคนาซีตลอดมา หลังจากฮิตเลอร์และพรรคนาซีมีอำนาจในเยอรมนี เขาถูกจับกุมและถูกส่งไปที่ค่ายกักกันดัคเคา เขาถูกเจ้าหน้าที่ค่ายกักกันฆ่าตายซึ่งอยู่ในระหว่างเหตุการณ์คืนแห่งมีดยาว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1934
อ้างอิง
- . Münchner Neueste Nachrichten ("The Munich Latest News") (ภาษาเยอรมัน). The Holocaust History Project. 21 March 1933. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
- Janowitz, Morris (September 1946). "German Reactions to Nazi Atrocities". The American Journal of Sociology. The University of Chicago Press. 52 (2): 141–146. JSTOR 2770938.
- "Dachau". Holocaust Encyclopedia. Washington, D.C.: United States Holocaust Memorial Museum. 2009.
- Edkins 2003, p. 137
- Edkins 2003, p. 138
- Zámečník, Stanislav; Paton, Derek B. (2004). That Was Dachau 1933-1945. Paris: Fondation internationale de Dachau; Cherche Midi. pp. 377, 379.
- Trauma and the memory of politics. Jenny Edison, p.139
บรรณานุกรม
- Edkins, Jenny (2003). Trauma and the memory of politics. Cambridge [u.a.]: Cambridge University Press. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: ref duplicates default ()
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
48 16 8 N 11 28 7 E 48 26889 N 11 46861 E 48 26889 11 46861 phaphthaythangxakaskhxngkhayinxditphaphthaythangxakaskhxngxnusrnsthandkhekhainpccubn khaykkkndkhekha eyxrmn Konzentrationslager KZ Dachau epnkhaykkknnasiaehngaerkthiepidineyxrmni tngxyubnthidinkhxngorngnganphlitxawuthrangiklkbemuxngsmyklangchuxwa dkhekha hangcakemuxngmiwnikinrthbawaeriyipthangtawntkechiyngehnuxraw 16 kiolemtr sungtngxyuthangphakhitkhxngeyxrmni khayniepidemuxwnthi 22 minakhm kh s 1933 51 wnhlnghitelxrkhunsuxanac aelaepnkhaykkknpktiaehngaerkthicdtngodyrthbalphsmrahwangphrrkhchatisngkhmniym phrrkhnasi kbphrrkhchatiniymprachachneyxrmn thukyubemuxwnthi 6 krkdakhm kh s 1933 ihnrich himmelxr hwhnatarwcemuxngmiwnik xthibaykhayxyangepnthangkarwa khaykkknnkothskaremuxngaehngaerk dkhekhaepntnaebbaelatwxyangkhxngkhaykkknnasiaehngxun thicamikhuntamma aethbthukchumchnineyxrmnimismachikthuknaipyngkhayehlani hnngsuxphimphrayngan karyaystrukhxngirchipyngkhaykkkn xyangtxenuxng aelaemux kh s 1935 idmibthrxykrxngcingekil jingle etuxnwa khaaetxngkhphraphuepneca oprdihkhaphraxngkhong ephuxthikhaphraxngkhcaidimtxngipdkhekha Lieber Gott mach mich dumm damit ich nicht nach Dachau kumm karcdkarphunthankhxngkhay karxxkaebbechnediywkbaephnsingpluksrang phthnaody khxmmndnth ethoxdxr ixekhx Theodor Eicke aelaidprbichkbthukkhaythisrangkhunphayhlng ekhamikhaythimnkhngaeyktanghakiklkbsunybychakar sungprakxbdwyswnthixyuxasy faybrihar aelakhaythhar ixkhekhxexngklaymaepnhwhnaphutrwckarkhaykkknthukaehng sungrbphidchxbtxkarkxsrangkhayxun ihepniptamaebbkhxngekha khaythukichtngaet kh s 1933 thung 1960 sibsxngpiaerkichepnsunykkknkhxngckrwrrdiirchthisam rahwang kh s 1933 aela 1938 nkothsswnihymiechuxchatieyxrmnsungthukkhwbkhumtwdwyehtuphlthangkaremuxng phayhlngkhaythukichsahrbnkothsthukpraephthcakthukchatithithukkxngthphirchthisamyudkhrxng nbaet kh s 1945 thung 1948 khaydngklawthukichepneruxncaaeknaythharexsexsthirxkarphicarna hlngcak kh s 1948 idmikarcdihprachakreyxrmnthithukkhbilcakechoksolwaekiyxasyxyuinkhay aelayngepnthankhxngshrthxemrika khaydngklawthukpidin kh s 1960 aelanbaetnn idmikarkxsrangxnusrnsthankhunhlayaehngthinn dwykaryunkrankhxngxditnkoths praeminsthitilksnaprachakrmihlakhlayaetxyuinphisythwipediywkn eraxacimmiwnthrabidwamiphuthukkkkhnghruxesiychiwitinkhaycanwnethaid enuxngcakyukhsmyaehngkhwamyungehying aehlngkhxmulhnunginpramankarthwipnkothskwa 200 000 khn cakmakkwa 30 praethsrahwangchwngckrwrrdiirchthisam sxnginsamepnnkothskaremuxng aelaekuxbhnunginsamepnchawyiw nkoths 25 613 khnechuxknwaesiychiwitinkhay aelaxikekuxb 10 000 khninkhayyxy swnihyepnephraaorkhrabad thuphophchnakaraelaxtwinibatkrrm tn kh s 1945 mikarrabadkhxngikhraksadihyinkhayephraamikarihlbaekhamakhxngnkothscakkhayxuncnthaihekidkaraexxd hlngmikarxphyph sungthaihnkothsthixxnaexesiychiwitepncanwnmak inchwngplaysngkhrammikaredinaethwmrna death march xxkcakaelaekhamayngkhaythaihnkothsesiychiwitcanwnmak aetimthrabcanwn aemhlngmikarpldplxykhayaelw kyngminkothsthixxnaexekinkwacamixakardikhunesiychiwittxip inchwngthiepnkhaykkknkwasibsxngpi faybrihardkhekhabnthukkarnaekhankoths 206 206 khn aelamiphuesiychiwit 31 951 khn mikarkxsrangemruephuxcdkarkbsph immihlkthankarsngharhmuphayinkhay aelaaemcamikarxangwain kh s 1942 nkothskwa 3 166 khninsphaphxxnaexthuksngipyngprasathharithmiklkblins aelamikarpraharchiwitdwyaeksphisdwyehtuphlwa phwkekhamirangkayimaekhngaerng karwicyediywknetuxnwa aemcaepnkhxmulcaknkekhluxnihwkarlangchatiodynasiinkrungeyrusaelm aetkhaihkarkhxngphurxdchiwitkmichuxesiywaechuxthuximidsingthiekiywkhxngfrins aekrlik Fritz Gerlich epnnkkhawaelankprawtisastrchaweyxrmn phumxngehnkhwamchwraykhxngxudmkarnkhxnghitelxraelaphrrkhnasicungidekhiynhnngsuxphimphocmtihitelxraelaphrrkhnasitlxdma hlngcakhitelxraelaphrrkhnasimixanacineyxrmni ekhathukcbkumaelathuksngipthikhaykkkndkhekha ekhathukecahnathikhaykkknkhataysungxyuinrahwangehtukarnkhunaehngmidyaw emuxwnthi 30 mithunayn kh s 1934xangxing Munchner Neueste Nachrichten The Munich Latest News phasaeyxrmn The Holocaust History Project 21 March 1933 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 29 November 2017 subkhnemux 8 May 2015 Janowitz Morris September 1946 German Reactions to Nazi Atrocities The American Journal of Sociology The University of Chicago Press 52 2 141 146 JSTOR 2770938 Dachau Holocaust Encyclopedia Washington D C United States Holocaust Memorial Museum 2009 Edkins 2003 p 137 Edkins 2003 p 138 Zamecnik Stanislav Paton Derek B 2004 That Was Dachau 1933 1945 Paris Fondation internationale de Dachau Cherche Midi pp 377 379 Trauma and the memory of politics Jenny Edison p 139brrnanukrmEdkins Jenny 2003 Trauma and the memory of politics Cambridge u a Cambridge University Press ISBN 9780521534208 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint ref duplicates default