สุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร เป็นบทสวดหนึ่งที่รวบรวมไว้ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง อย่างไรก็ตาม สุริยปริตรนี้มิได้รวมไว้เป็นหนึ่งในพระปริตรที่นิยมสวดสาธยายกันในบทสวดมนต์ "" หรือ "" พบว่า มีเฉพาะในภาณวารเท่านั้น เนื้อหาเกี่ยวกับอานิสงส์ของการประกาศให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง เมื่อมีพระองค์เป็นที่พึ่งแล้ว ผู้คิดปองร้ายจะปลาศไป
ที่มา
สุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร มีเนื้อหามาจากสุริยสูตร อยู่ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เนื้อหามิได้ระบุว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ ณ ที่แห่งใด แต่ในบทสวดมนต์หลวงได้มีการระบุว่า พระสูตรนี้ทรงแสดงที่วัดเชตวันมหาวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ขณะที่พระไตรปิฎกบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ระบุว่า ทรงแสดงที่เมืองสาวัตถีเท่านั้น
ส่วนในพระพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ระบุเพียงว่า "ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค" ซึ่งสุริยเทวบุตรนี้ อรรถกถาสารัตถปกาสินี อธิบายเนื้อความในสังยุตตนิกาย ได้อธิบายว่า "สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน"
ครั้นพระโคตมพุทธเจ้าทรงทราบ จึงตรัสให้อสุรินทราหูปล่อยตัวสุริยเทวบุตร เพราะเทพบุตรนี้ได้ประกาศให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อสุรินทราหูได้สดับดังนั้นจึงปล่อยตัวเทพบุตร "แล้วมีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาท้าวเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ" ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจึงไถ่ถามว่า เหตุใดอีกฝ่ายจึงแสดงท่าทีหวาดกลัวเช่นนั้น อสุรินทราหู จึงตอบว่า ได้สดับพระคาถาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงหนีมา และว่า "หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข" ดังนี้
ทั้งนี้ สุริยสูตรมีเนื้อหาเกือบจะคล้ายคลึงกับจันทิมสูตร อันเป็นที่มาของจันทปริตตปาฐะ หรือจันทปริตรในภารณวาร ผิดแต่เปลี่ยนพระจันทร์ถูกราหูทำร้าย เป็นพระสุริยะหรือพระอาทิตย์ถูกปองร้ายจากราหู
อนึ่ง สุริยสูตรปรากฏในพระไตรปิฎก 2 พระสูตร คือ อยู่ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคบทหนึ่ง อันเป็นที่มาของสุริยปริตตปาฐะ และที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต บทหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแตกต่างกัน และมิได้มีความเกี่ยวข้องกัน
เนื้อหา
เนื้อหาของสุริยปริตตปาฐะ หรือสุริยปริตร ยกเนื้อหาและคาถาจากมาทั้งหมดสุริยสูตรทั้งหมด แต่ได้มีการเสริมบทที่มาของการแสดงพระสุตร (เอวมฺเม สุตฺตํฯ) โดยแบ่งออกเป็นส่วนร้อยแก้วเป็นการเล่าเรื่องราว และส่วนของคาถา ซึ่งมีทั้งหมด 4 บาท เป็นของสุริยเทวบุตร 1 บท ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 บท ของท้าวเวปจิตติ 1 บท และของอสุรินทราหู 1 บท โดยมีเนื้อหา ดังนี้
สูริยสุตฺตํ (ปาฬี)
สาวตฺถินิทานํฯ เตน โข ปน สมเยน สูริโย เทวปุโตฺต ราหุนา อสุริเนฺทน คหิโต โหติฯ อถ โข สูริโย เทวปุโตฺต ภควนฺตํ อนุสฺสรมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ –
‘‘นโม เต พุทฺธ วีรตฺถุ, วิปฺปมุโตฺตสิ สพฺพธิ;
สมฺพาธปฏิปโนฺนสฺมิ, ตสฺส เม สรณํ ภวา’’ติฯ
อถ โข ภควา สูริยํ เทวปุตฺตํ อารพฺภ ราหุ อสุรินฺทํ คาถาหิ อชฺฌภาสิ –
‘‘ตถาคตํ อรหนฺตํ, สูริโย สรณํ คโต;
ราหุ สูริยํ [สุริยํ (สี. สฺยา. กํ. ปี.)] ปมุญฺจสฺสุ, พุทฺธา โลกานุกมฺปกาฯ
‘‘โย อนฺธกาเร ตมสิ ปภงฺกโร,
เวโรจโน มณฺฑลี อุคฺคเตโช;
มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิเกฺข,
ปชํ มมํ ราหุ ปมุญฺจ สูริย’’นฺติฯ
อถ โข ราหุ อสุริโนฺท สูริยํ เทวปุตฺตํ มุญฺจิตฺวา ตรมานรูโป เยน เวปจิตฺติ อสุริโนฺท เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา สํวิโคฺค โลมหฎฺฐชาโต เอกมนฺตํ อฎฺฐาสิฯ เอกมนฺตํ ฐิตํ โข ราหุ อสุรินฺทํ เวปจิตฺติ อสุริโนฺท คาถาย อชฺฌภาสิ –
‘‘กิ นุ สนฺตรมาโนว, ราหุ สูริยํ ปมุญฺจสิ;
สํวิคฺครูโป อาคมฺม, กิ นุ ภีโตว ติฎฺฐสี’’ติฯ
‘‘สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา, ชีวโนฺต น สุขํ ลเภ;
พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ, โน เจ มุเญฺจยฺย สูริย’’นฺติฯ
สุริยสูตร (แปล)
ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ
ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
อสุรินทราหู กล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ
วิเคราะห์พระสูตร
พระสูตรนี้มักถูกนำไปอธิบายปรากฏการณ์สุริยคราสว่า เกิดจากการกลืนกินของราหู อย่างไรก็ตาม เสฐียรพงษ์ วรรณปก ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาได้แสดงความเห็นไว้ว่า สุริยสูตรอาจเป็นสูตรที่แต่งขึ้นใหม่ และเป็นของแปลกปลอมมิใช่พระสูตรดั้งเดิม โดย เสฐียรพงษ์ แสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้การบรรยายเรื่อง "ความเป็นมาของพระไตรปิฎก" ความว่า
"จันทิมสูตรและสุริยสูตร ในเทวปุตตสังยุตต์ มีสูตรแปลกอยู่ 2 สูตร คือ จันทิมสูตร และสุริยสูตร กล่าวถึงจันทิมเทวบุตร (พระจันทร์) และสุริยเทวบุตร (พระอาทิตย์) ถูกราหูจับได้ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า กล่าวขึ้นว่า "ข้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งปวง ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในฐานะคับขันขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วย" พระพุทธเจ้าตรัสบอกอสุรินทราหูว่า "จันทิมเทวบุตรและสุริยเทวบุตรได้ถึงเราตถาคตเป็นที่พึ่งแล้ว ท่านจงปล่อยพวกเขาไปเถิด อสุรินทราหูปล่อยเหยื่อแล้วกระหืดกระหอบไปเฝ้าเวปจิตติจอมอสูร เมื่อถูกถามจึงรายงานให้จอมอสูรทราบว่า กลัวพระพุทธเจ้าจึงรีบปล่อยพระจันทร์และพระอาทิตย์หนีมา ... มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า พระสูตรนี้แปลกปลอมเข้ามา (ดังมีอีกหลายสูตรที่เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น) มีเค้าว่าถูกสอดแทรกเข้ามาในยุคที่นำเอาพระสูตรไปสวดเป็นปริตรป้องกันภยันตรายต่างๆ ซึ่งเป็นยุคหลังพุทธกาลมา"
อ้างอิง
- ปุ้ย แสงฉาย. สุริยสูตร ใน บทสวดมนต์หลวง. หน้า 206
- พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย สคาถาวคฺคปาฬิ เทวปุตฺตสํยุตฺตํ จนฺทิมสุตฺตํ
- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 1 - หน้าที่ 342
- สารัตถปกาสินี. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 1 - หน้าที่ 344
- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 1 - หน้าที่ 342
- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 1 - หน้าที่ 343
- พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย สคาถาวคฺคปาฬิ เทวปุตฺตสํยุตฺตํ สูริยสุตฺตํ
- เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2555) คำบรรยายในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ ธรรมสภา.
บรรณานุกรม
- พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย สคาถาวคฺคปาฬิ เทวปุตฺตสํยุตฺตํ สูริยสุตฺตํ
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 1 .
- สารัตถปกาสินี อรรถกาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 1 ภาค 2 .
- ปุ้ย แสงฉาย. สุริยสูตร ใน บทสวดมนต์หลวง.
- เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2555) คำบรรยายในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ ธรรมสภา.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
suriyprittpatha hruxsuriypritr epnbthswdhnungthirwbrwmiwinphanwarhruxhnngsuxbthswdmnthlwng xyangirktam suriypritrnimiidrwmiwepnhnunginphrapritrthiniymswdsathyaykninbthswdmnt hrux phbwa miechphaainphanwarethann enuxhaekiywkbxanisngskhxngkarprakasihsmedcphrasmmasmphuththecathrngepnthiphung emuxmiphraxngkhepnthiphungaelw phukhidpxngraycaplasipthimasuriyprittpatha hruxsuriypritr mienuxhamacaksuriysutr xyuinphrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh enuxhamiidrabuwasmedcphrasmmasmphuththecatrsphrasutrni n thiaehngid aetinbthswdmnthlwngidmikarrabuwa phrasutrnithrngaesdngthiwdechtwnmhawihar xaramkhxngxnathbinthikesrsthi inemuxngsawtthi khnathiphraitrpidkbali chbbchtthsngkhayna rabuwa thrngaesdngthiemuxngsawtthiethann swninphraphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly rabuephiyngwa kodysmynn suriyethwbutrthukxsurinthrahuekhacbaelw khrngnn suriyethwbutr ralukthungphraphumiphraphakh sungsuriyethwbutrni xrrthkthasartthpkasini xthibayenuxkhwaminsngyuttnikay idxthibaywa surioy khux ethwbutr phusthitxyu n suriywiman khrnphraokhtmphuththecathrngthrab cungtrsihxsurinthrahuplxytwsuriyethwbutr ephraaethphbutrniidprakasihphrasmmasmphuththecathrngepnthiphung xsurinthrahuidsdbdngnncungplxytwethphbutr aelwmirupxnkrahudkrahxb ekhaiphathawewpcittithungthixyu khrnaelwkepnphuesrasld ekidkhnphxng idyunxyu n thikhwrswnkhanghnung thawewpcitticxmxsurcungiththamwa ehtuidxikfaycungaesdngthathihwadklwechnnn xsurinthrahu cungtxbwa idsdbphrakhathakhxngxngkhsmedcphrasmmasmphuththecacunghnima aelawa hakkhaphecaimphungplxyphrasuriya sirsakhxngkhaphecaphungaetkecdesiyng michiwitxyu kimphungidkhwamsukh dngni thngni suriysutrmienuxhaekuxbcakhlaykhlungkbcnthimsutr xnepnthimakhxngcnthprittpatha hruxcnthpritrinpharnwar phidaetepliynphracnthrthukrahutharay epnphrasuriyahruxphraxathitythukpxngraycakrahu xnung suriysutrpraktinphraitrpidk 2 phrasutr khux xyuinphrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkhbthhnung xnepnthimakhxngsuriyprittpatha aelathipraktinphrasuttntpidk xngkhuttrnikay sttk xtthk nwknibat bthhnung sungmienuxhaaetktangkn aelamiidmikhwamekiywkhxngknenuxhaenuxhakhxngsuriyprittpatha hruxsuriypritr ykenuxhaaelakhathacakmathnghmdsuriysutrthnghmd aetidmikaresrimbththimakhxngkaraesdngphrasutr exwm em sut t odyaebngxxkepnswnrxyaekwepnkarelaeruxngraw aelaswnkhxngkhatha sungmithnghmd 4 bath epnkhxngsuriyethwbutr 1 bth khxngsmedcphrasmmasmphuththeca 1 bth khxngthawewpcitti 1 bth aelakhxngxsurinthrahu 1 bth odymienuxha dngni suriysut t pali sawt thinithan etn okh pn smeyn surioy ethwpuot t rahuna xsurien thn khhiot ohti xth okh surioy ethwpuot t phkhwn t xnus srmaon tay ewlay xim khath xphasi nom et phuth th wirt thu wip pmuot tsi sph phthi sm phathptipon ns mi ts s em srn phwa ti xth okh phkhwa suriy ethwput t xarph ph rahu xsurin th khathahi xch chphasi tthakht xrhn t surioy srn khot rahu suriy suriy si s ya k pi pmuy cs su phuth tha olkanukm pka oy xn thkaer tmsi pphng kor eworcon mn thli xukh khetoch ma rahu khili crmn tliek kh pch mm rahu pmuy c suriy n ti xth okh rahu xsurion th suriy ethwput t muy cit wa trmanruop eyn ewpcit ti xsurion th etnupsng kmi xupsng kmit wa swiokh kh olmhd thchaot exkmn t xd thasi exkmn t thit okh rahu xsurin th ewpcit ti xsurion th khathay xch chphasi ki nu sn trmaonw rahu suriy pmuy csi swikh khruop xakhm m ki nu phiotw tid thsi ti st ttha em phel muth tha chiwon t n sukh leph phuth thkhathaphikhiotm hi on ec muey cy y suriy n ti suriysutr aepl kodysmynn suriyethwbutr thukxsurinthrahuekhacbaelw khrngnn suriyethwbutr ralukthungphraphumiphraphakh idklawkhathaniinewlannwa khaaetphraphuththeca phuaeklwkla khxkhwamnxbnxmcngmiaedphraxngkh phraxngkhepnphuhludphnaelwinthrrmthngpwng khaphraxngkhthungechphaaaelwsungthanaxnkhbkhn khxphraxngkhcngepnthiphungaehngkhaphraxngkhnn ladbnn phraphumiphraphakhthrngprarphsuriyethwbutridtrskaxsurinthrahudwyphrakhathawa suriyethwbutr thungtthakhtphuepnphraxrhnt waepnthiphung dukrrahu thancngplxysuriya phraphuththecathnghlay epnphuxnuekhraahaekolk suriyaidepnphusxngaesng krathakhwamswanginthimudmid misnthanepnwngklm miedchsung dukrrahu thanxyaklunkinsuriyann phuethiywipinxakas dukrrahu thancngplxysuriya phuepnbutrkhxngera ladbnn xsurinthrahu plxysuriyethwbutraelw mirupxnkrahudkrahxb ekhaiphaxsurinthewpcittithungthixyu khrnaelwkepnphuesrasld ekidkhnphxng idyunxyu n thikhwrswnkhanghnung xsurinthewpcitti idklawkaxsurinthrahu phuyunxyu n thikhwrswnkhanghnung dwykhathawa dukrrahu thaimhnx thancungkrahudkrahxb plxyphrasuriyaesiy thaimhnx thancungmirupesrasld mayunklwxyu xsurinthrahu klawwa khaphecathukkhbdwykhathakhxngphraphuththeca thakhaphecaimphungplxyphrasuriya sirsakhxngkhaphecaphungaetkecdesiyng michiwitxyu kimphungidrbkhwamsukh wiekhraahphrasutrphrasutrnimkthuknaipxthibaypraktkarnsuriykhraswa ekidcakkarklunkinkhxngrahu xyangirktam esthiyrphngs wrrnpk phuechiywchaydanphuththsasnaidaesdngkhwamehniwwa suriysutrxacepnsutrthiaetngkhunihm aelaepnkhxngaeplkplxmmiichphrasutrdngedim ody esthiyrphngs aesdngkhwamehneruxngniiwkarbrryayeruxng khwamepnmakhxngphraitrpidk khwamwa cnthimsutraelasuriysutr inethwputtsngyutt misutraeplkxyu 2 sutr khux cnthimsutr aelasuriysutr klawthungcnthimethwbutr phracnthr aelasuriyethwbutr phraxathity thukrahucbid ralukthungphraphuththeca klawkhunwa khakhxnxbnxmaedphraphumiphraphakhecaphuhludphnaelwcaksingthngpwng khaphraphuththecaxyuinthanakhbkhnkhxphraxngkhcngepnthiphungaekkhaphecadwy phraphuththecatrsbxkxsurinthrahuwa cnthimethwbutraelasuriyethwbutridthungeratthakhtepnthiphungaelw thancngplxyphwkekhaipethid xsurinthrahuplxyehyuxaelwkrahudkrahxbipefaewpcitticxmxsur emuxthukthamcungraynganihcxmxsurthrabwa klwphraphuththecacungribplxyphracnthraelaphraxathityhnima miphutngkhxsngektwa phrasutrniaeplkplxmekhama dngmixikhlaysutrthiekhaicwaepnechnnn miekhawathuksxdaethrkekhamainyukhthinaexaphrasutripswdepnpritrpxngknphyntraytang sungepnyukhhlngphuththkalma xangxingpuy aesngchay suriysutr in bthswdmnthlwng hna 206 phraitrpidkchbbchtthsngkhayna sut tpidk syut tnikay skhathawkh khpali ethwput tsyut t cn thimsut t phrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh elm 1 phakh 1 hnathi 342 sartthpkasini phrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh elm 1 phakh 1 hnathi 344 phrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh elm 1 phakh 1 hnathi 342 phrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh elm 1 phakh 1 hnathi 343 phraitrpidkchbbchtthsngkhayna sut tpidk syut tnikay skhathawkh khpali ethwput tsyut t suriysut t esthiyrphngs wrrnpk 2555 khabrryayinphraitrpidk krungethph thrrmspha brrnanukrmphraitrpidkchbbchtthsngkhayna sut tpidk syut tnikay skhathawkh khpali ethwput tsyut t suriysut t phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk sngyuttnikay skhathwrrkh elm 1 phakh 1 sartthpkasini xrrthkasngyuttnikay inphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly elm 1 phakh 2 puy aesngchay suriysutr in bthswdmnthlwng esthiyrphngs wrrnpk 2555 khabrryayinphraitrpidk krungethph thrrmspha