สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (อังกฤษ: multicellular organism) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์มากกว่าหนึ่งเซลล์ ต่างจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในการจะเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้น เซลล์เหล่านี้จำต้องระบุเอกลักษณ์และยึดเข้ากับเซลล์อื่นสัตว์เกือบทั้งหมด 1.5 ล้านสปีชีส์ ตลอดจนพืชและฟังไจจำนวนมากเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ทุกสปีชีส์ของสัตว์, พืชบก และเห็ดราส่วนใหญ่นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่นเดียวกันกับสาหร่ายหลายชนิด ทว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนหนึ่งก็มีลักษณะที่เป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ยกตัวอย่างเช่นราเมือกและอะมีบาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มดังเช่นสกุล Dictyostelium
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้นถือกำเนิดขึ้นมาได้จากหลายหนทาง ยกตัวอย่างเช่นการแบ่งเซลล์หรือการรวมตัวกันของเซลล์เดี่ยวหลายเซลล์คือหนึ่งในผลลัพธ์ที่เกิดจากการเข้ามาอยู่รวมตัวกันของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังคงเป็นเรื่องยากในการแยกโพรติสท์ประเภทโคโลนีออกจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่แท้จริงได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากแนวคิดทั้งสองแบบนี้ยังไม่มีนิยามที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมากพอ กระนั้นในบางครั้งโพรติสท์จะถูกเรียกว่า "Pluricellular" แทนที่จะเป็น "Multicellular" สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางสายพันธุ์ที่เป็นก็สามารถที่จะเติบโตจนมีขนาดใหญ่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ที่สามารถมีขนาดได้ถึง 20 ซม.
ประวัติการวิวัฒนาการของเซลล์
การก่อกำเนิด
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้วิวัฒนาการตนเองขึ้นมาอย่างอิสระต่อกันเป็นจำนวนอย่างน้อย 25 ครั้งในยูแคริโอต และโพรแคริโอตบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่นไซยาโนแบคทีเรีย, , , หรือ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ซับซ้อนนั้นได้วิวัฒนาการขึ้นมาในกลุ่มยูแคริโอตเพียงแค่ 6 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งก็คือสัตว์, เห็ดรา, , สาหร่ายสีแดง, สาหร่ายสีเขียว และพืชบก ซึ่งมีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในกลุ่ม (สาหร่ายสีเขียวและพืชบก), หนึ่งครั้งสำหรับสัตว์, หนึ่งครั้งสำหรับสาหร่ายสีน้ำตาล, สามครั้งสำหรับเห็ดรา (, และ ) และอาจจะวิวัฒนาการขึ้นมาได้หลายครั้งสำหรับราเมือกและสาหร่ายสีแดง หลักฐานแรกของการก่อกำเนิดการใช้ชีวิตแบบหลายเซลล์นั้นบ่งชี้ว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 3,000 ถึง 3,500 ล้านปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวได้กำหนดพฤติกรรมของตนเองขึ้นมา และสิ่งนี้ก็อาจเป็นวิวัฒนาการที่จะนำไปสู่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อย่างแท้จริง อันเกิดกับสิ่งชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไซยาโนแบคทีเรีย ในการสืบพันธุ์นั้นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์แท้จะต้องแก้ปัญหาจากการสร้างสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ทั้งตัวจากเซลล์สืบพันธุ์ (ยกตัวอย่างตัวอสุจิและเซลล์ไข่) ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ถูกศึกษาในวิชา สัตว์นั้นได้พัฒนาในร่างกายที่มีหลายเซลล์ (100-150 ประเภทของเซลล์) ซึ่งต่างจากพืชและเห็ดราที่มีเซลล์เพียงแค่ 10-20 ประเภทเท่านั้น
การสูญเสียความเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
การสูญเสียความเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้นเกิดได้กับสิ่งมีชีวิตบางกลุ่ม เห็ดราส่วนใหญ่นั้นมีหลายเซลล์ถึงแม้ว่าช่วงแบ่งสายวิวัฒนาการในช่วงแรกนั้นส่วนใหญ่จะมีเพียงเซลล์เดียวก็ตาม (ยกตัวอย่าง ) และมีสายพันธุ์เชื้อราจำนวนมากที่วิวัฒนาการย้อนกลับไปเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (ยกตัวอย่าง , และยีสต์จำนวนหนึ่ง) และอาจจะเกิดขึ้นได้กับสาหร่ายสีแดงด้วยเช่นกัน (ยกตัวอย่าง ) แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าสาหร่ายเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว การสูญเสียความเป็นหลายเซลล์นี้อาจเกิดขึ้นได้กับสาหร่ายสีเขียวบางชนิด (ยกตัวอย่าง และ บางสายพันธุ์) ในสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มปรสิตนั้นก็มีการลดรูปของความเป็นหลายเซลล์ลงมาด้วยเช่นกัน ซึ่งเกิดกับจำนวนของเซลล์หรือประเภทของเซลล์ (ยกตัวอย่างเช่น ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้นเคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาจจะเป็นสัตว์ในกลุ่มไนดาเรียที่ลดรูปลงอย่างมาก)
มะเร็ง
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุยืนนั้นมักจะประสบกับหาของมะเร็งอันเกิดจากการที่เซลล์ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้จากชุดคำสั่งพัฒนาการตามปกติของมัน การเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐานของเนื้อเยื่อสามารถสังเกตได้จากกระบวนการนี้ มะเร็งในสัตว์มักจะถูกนิยามว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการสูญเสียความเป็นหลายเซลล์ นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันด้วยว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ของมะเร็งในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งโพรโทซัว ยกตัวอย่างเช่น (Plant gall) ที่มีลักษณะเป็นเนื้องอก ทว่าผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็กล่าวปฏิเสธว่าพืชนั้นไม่สามารถเป็นมะเร็งได้
การแบ่งแยกระหว่างเซลล์ร่างกายกับเซลล์สืบพันธุ์
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางกลุ่มที่ถูกเรียกว่ากลุ่มได้มีวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกระหว่างและเซลล์สืบพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มที่พัฒนามาเป็นกลุ่มไวส์มันนิสต์นั้นหายากมาก (ยกตัวอย่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง, อาร์โธรพอด, ) เนื่องจากสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่นั้นมีความสามารถด้าน (ยกตัวอย่างพืชบก, สาหร่ายส่วนใหญ่, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำนวนมาก)
สมมติฐานการก่อกำเนิด
สมมติฐานหนึ่งเกี่ยวกับเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้นคือการรวมกลุ่มกันของเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะ ซึ่งจะรวมกลุ่มกันจนมีลักษณะเหมือนกับตัวทากที่จะถูกเรียกว่า และจะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งสิ่งนี้คือพฤติกรรมของราเมือก อีกสมมติฐานหนึ่งคือเซลล์โบราณได้เกิดการแบ่งนิวเคลียสขึ้นมาและต่อมาได้พัฒนาไปเป็น หลังจากนั้นเยื่อหุ้มจึงได้ก่อตัวขึ้นมารอบนิวเคลียสแต่ละอัน (รวมถึงพื้นที่ภายในเซลล์และออร์แกเนลล์ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ) ซึ่งก่อให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่เชื่อมติดกันอยู่ในสิ่งมีชีวิตตัวหนึ่ง (กลไกเช่นนี้สามารถพบเห็นได้ในสกุล แมลงวันทอง) สมมติฐานที่สามกล่าวว่าเมื่อสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวแบ่งตัวนั้นเซลล์ที่แบ่งออกมาไม่ได้ขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง ก่อให้เกิดเป็นการรวมตัวกลุ่มกันของเซลล์ที่เหมือนกันทุกประการในสิ่งมีชีวิตหนึ่งตัว ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อเฉพาะ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอของพืชและสัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตโคโลนีจำพวก (Choanoflagellate)
และเนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลุ่มแรก ๆ นั้นมีร่างกายที่อ่อนนุ่ม ไม่มีกระดูกหรือเปลือกหรือโครงร่างแข็งใด ๆ จึงทำให้ซากฟอสซิลของพวกมันนั้นมักจะถูกเก็บรักษาไว้ได้ไม่ดี แต่อาจมีข้อยกเว้นสำหรับฟองน้ำชั้น Demosponge ที่ยังคงมีร่องรอยสารเคมีหลงเหลืออยู่ในชั้นหินโบราณ ฟอสซิลจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในช่วงแรกนั้นมีหลายชิ้น ซึ่งรวมถึงฟอสซิลที่เป็นที่ถกเถียงกันวงการวิทยาศาสตร์อย่างเช่น spiralis และฟอสซิลที่หลงเหลือมาจากมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิกที่อยู่ในชั้นหินดินดานที่มีชื่อเรียกว่า B Formation ซึ่งถูกพบในประเทศประเทศกาบอง ฟอสซิล ที่มีอายุ 600 ล้านปีเป็นไมโครฟอสซิลที่มีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ก่อนจะถึงช่วงเวลาปัจจุบันนี้ การประกอบข้อมูลขึ้นมาใหม่ของทางสาขาวิชาวิวัฒนาการชาติพันธุ์นั้นมาจากการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ (โดยเฉพาะคัพภวิทยา) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน วิธีการเช่นนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่แม่นยำ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสัตว์และพืชนั้นได้แยกออกจากบรรพบุรุษเซลล์เดียวมาเป็นเวลากว่า 500 ล้านปีแล้ว ซึ่งเวลาที่ยาวนานเช่นนั้นก็ได้ทำให้ทั้งการวิวัฒนาการเบนออกและการวิวัฒนาการเบนเข้าได้มีเวลามากพอในการเลียนแบบความเหมือนหรือสร้างความแตกต่างมากมายระหว่างกลุ่มสายพันธุ์รุ่นใหม่และสายพันธุ์บรรพบุรุษที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ สาขาวิชาวิวัฒนาการชาติพันธุ์ในยุคใหม่นั้นใช้วิธีการที่ซับซ้อนอย่างเช่น, และการบ่งชี้ในระดับโมเลกุลต่าง ๆ เพื่อระบุคุณลักษณะที่สายพันธุ์ต่าง ๆ มีร่วมกัน แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ที่ห่างไกลกันมากเพียงใดก็ตาม
การวิวัฒนาการของความเป็นหลายเซลล์นั้นอาจสามารถเกิดขึ้นได้หลายทาง ดังที่ได้อธิบายไว้ด้านล่าง
ทฤษฎีการอยู่ร่วมกัน
ทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลุ่มแรกนั้นถือกำเนิดมาจากโดยสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวต่างสายพันธุ์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จำต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจนถึงจุดที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเอง ในที่สุดจึงเกิดการรวมกันของจีโนมจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เพียงหนึ่งเดียว สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่กล่าวมานี้จะกลายเป็นผู้สืบเชื้อสายของเซลล์ที่ถูกแปรสภาพให้ทำหน้าที่จำเพาะแตกต่างกันไปภายในสายพันธุ์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
การอยู่ร่วมกันแบบอิงอาศัยในรูปแบบที่ชัดเจนนั้นมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่นปลาการ์ตูนและ ทว่าในกรณีนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่าหากสายพันธุ์หนึ่งสูญพันธุ์ไป อีกสายพันธุ์หนึ่งจะสามารถอยู่รอดได้เป็นเวลานานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของทฤษฎีนี้คือในปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าจีโนมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นเกิดการควบรวมกันเป็นสายพันธุ์เพียงหนึ่งเดียวได้เช่นไร กระนั้นแล้วก็ยังคงมีสมมติฐานที่เกี่ยวกับการอยู่รวมกันแบบอิงอาศัยเช่นนี้อยู่ (ยกตัวอย่างเช่นไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ในเซลล์ของพืชและสัตว์ ตามหลักการ แต่การเกิดขึ้นของมันนั้นหาได้ยากมาก และนอกจากนี้จีโนมของเอนโดซิมไบออนท์ก็ยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบหลักของตนเองที่แยกจากโฮสต์ของมัน รวมถึงสามารถคัดลอก DNA ได้ด้วยตัวเองในระหว่างที่โฮสต์เข้าสู่กระบวนการไมโทซิส ยกตัวอย่างเช่นสิ่งมีชีวิตจำนวนสองถึงสามชนิดที่อยู่อาศัยแบบพึ่งพาอาศัยกันจนเกิดเป็นไลเคน ถึงแม้ว่าพวกมันจะไม่สามารถอยู่รอดได้หากแยกจากกันแต่ก็จำเป็นต้องสืบพันธุ์แยกจากกันก่อนจะกลับมารวมกันอีกครั้งเพื่อเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ต่อไป
ทฤษฎีการแปลงให้เป็นเซลล์ (ซินซีเทียม)
ทฤษฎีนี้ว่าด้วยสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีนิวเคลียสมากกว่าหนึ่งอันอาจจะมีความสามารถในการพัฒนาขึ้นมาห่อหุ้มนิวเคลียสแต่ละอันของตนเองอีกที โปรทิสต์หลายชนิดอย่างเช่นกลุ่มซิลิเอตหรือราเมือกนั้นสามารถมีนิวเคลียสมากกว่าหนึ่งอันได้ ซึ่ง ณ จุดนี้ก็ถูกใช้เพื่อสนับสนุนสมมติฐานนี้ อย่างไรก็ตามการที่เซลล์หนึ่ง ๆ มีหลายนิวเคลียสนั้นก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนทฤษฎีนี้ได้ นิวเคลียสของกลุ่มซิลิเอตนั้นไม่เหมือนกันและมีหน้าที่ที่แยกจากกันอย่างชัดเจน หรือนิวเคลียสใหญ่นั้นทำหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามความต้องการภายในเซลล์ ในขณะที่นั้นถูกใช้เพียงเพื่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม เซลล์ชนิดของราเมือกเกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ชนิดอะมีบอยด์แต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เฉกเช่นเนื้อเยื่อซินซีเทียมในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิด ในความเป็นจริงแล้วทฤษฎีนี้ยังต้องการตัวอย่างในการสาธิตให้เพียงพอต่อการสังเกตได้ รวมถึงกลไกในการสร้างสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขึ้นมาใหม่จากเซซล์ซินซีเทียมที่มีอยู่ก่อนหน้า
ทฤษฎีอาณานิคม
ทฤษฎีอาณานิคมของถูกเสนอขึ้นในปี 1874 ซึ่งกล่าวไว้ว่าการอยู่ร่วมกันแบบอิงอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายตัวในสายพันธุ์เดียวกัน (ต่างจากทฤษฎีการอยู่ร่วมกันที่กล่าวไว้ก่อนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสายพันธุ์) นำไปสู่การกำเนิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในที่สุด มีการสันนิษฐานว่าวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บนบกนั้นเกิดจากการที่เซลล์ต่าง ๆ แยกกันอยู่แล้วจึงกลับมารวมตัวกันใหม่อีกครั้ง (ยกตัวอย่างเช่นราเมือก) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ส่วนใหญ่นั้น (กลุ่มที่วิวัฒนาการอยู่ในน้ำ) เกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ผิดพลาด ทำให้เซลล์ลูกแยกจากกันไม่สมบูรณ์ กลไกการเกิดขึ้นของอาณานิคมอย่างหลังนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ที่อย่างง่ายดายอย่างเช่นขั้นตอนที่ไม่สมบูรณ์ แม้ว่าความเป็นหลายเซลล์นั้นมักจะถูกพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับ
ข้อได้เปรียบของทฤษฎีอาณานิคมนี้คือในปัจจุบันนั้นมีหลักฐานและสามารถพบเห็นได้ในกลุ่มไฟลัมของโพรทิสต์จำนวน 16 ไฟลัม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระต่อกัน ยกตัวอย่างเช่นราเมือก Dictyostelium ในระยะที่เป็นอะมีบานั้นหากเกิดเหตุการณ์ขาดแคลนอาหาร พวกมันจะรวมตัวกันเป็นอาณานิคมเดียวกัน หลังจากนั้นจึงเคลื่อนย้ายไปยังจุดอื่นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยที่มีอะมีบาบางตัวในอาณานิคมนี้แปรสภาพไปอย่างเล็กน้อยจากตัวอื่น ๆ ตัวอย่างอาณานิคมอื่น ๆ ของโพรทิสต์ที่มีให้เห็นคือวงศ์ (Volvocaceae) อย่างเช่นและ ซึ่งอาจประกอบด้วยเซลล์จำนวน 500-50,000 เซลล์ (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) และมีบางส่วนเท่านั้นที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่นในสายพันธ์หนึ่งจะมีเซลล์สืบพันธุ์ 25-35 เซลล์ โดยทำหน้าที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจำนวน 8 เซลล์ และอีก 15-25 เซลล์จะทำหน้าที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นการยากในการแยกแยะระหว่างโพรทิสต์แบบอาณานิคมและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่แท้จริงออกจากกัน เนื่องจากทั้งสองแนวคิดนั้นยังไม่มีนิยามความแตกต่างที่ชัดเจน ซึ่งนั่นทำให้อาณานิคมของโพรทิสต์นั้นมักถูกเรียกว่า "pluricellular" มากกว่าจะเป็น "multicellular"
ทฤษฎี synzoospore
นักทฤษฎีบางท่านเสนอว่าการเกิดขึ้นของภาวะความเป็นหลายเซลล์นั้นเกิดจากจากระยะชั่วคราวไปเป็นการแปรสภาพในเชิงพื้นที่ แทนที่จะเกิดจากการวิวัฒนาการของการแปรสภาพเซลล์อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างน้อยก็เป็นกรณีของสัตว์ (Metazoa) ดังเช่นของ
GK-PID
เมื่อประมาณ 800 ล้านปีก่อนนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทางพันธุกรรมในโมเลกุลที่มีชื่อว่าโปรตีน-อินเตอร์แอคชั่นโดเมน (GK-PID) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากเซลล์เดียวไปเป็นหลายเซลล์ได้
บทบาทของไวรัส
ยีนส์บางส่วนที่ได้รับมาจากไวรัสและ หรือ MGE นั้นได้รับการระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการแปรสภาพของเซลล์ในเนื้อเยื่อหลายเซลล์ รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ และแม้กระทั่งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศอย่างเช่นการผสานรวมตัวกันของเซลล์ไข่และอสุจิ การผสานเซลล์เช่นนี้มีผลต่อการสร้างเนื้อเยื่อของสัตว์ดังเช่นการป้องการไหลผ่านของสารเคมีผ่านรกและการแบ่งแยกระหว่างสมองและร่างกาย องค์ประกอบจากไวรัสจำนวนสองอย่างได้ถูกระบุเอาไว้แล้ว อย่างแรกคือ ซึ่งมาจากไวรัส และอย่างที่สองที่ได้รับการยืนยันในปี 2007 ก็คือ ซึ่งช่วยในการสร้างผิวหนังของหนอน Caenorhabditis elegans อันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลโปรตีน FF ในการนี้เฟลิกซ์ เรย์ (Felix Rey) แห่งสถาบันปาสเตอร์ในกรุงปารีสได้ทำการสร้างแบบจำลองสามมิติของโครงสร้างของโปรตีนอีเอฟเอฟ1 และได้แสดงให้เห็นว่ามันทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้โดยวิธีการติดเชื้อไวรัส เนื่องด้วยสัจธรรมดังกล่าวที่ว่าโมเลกุลที่ถูกใช้ในการรวมหรือผสานเซลล์นั้นมีต้นกำเนิดมาจากไวรัสทั้งสิ้น ก็ได้ทำให้เราทราบว่ามันมีส่วนสำคัญในระบบการติดต่อสื่อการระหว่างเซลล์อันนำไปสู่สภาวะหลายเซลล์ได้ หากไร้ซึ่งความสามารถในการผสานเซลล์แล้วนั้น แม้อาณานิคมจะเกิดขึ้นได้ ทว่าสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นมาอย่างน้อยที่สุดตามแบบฟองน้ำก็มิอาจเกิดขึ้นได้
สมมติฐานการเพิ่มขึ้นของออกซิเจน
ทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่าปริมาณของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศโลกช่วงแรกนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จำกัดการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ สมมติฐานนี้มาจากความสัมพันธ์กันระหว่างการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และการเพิ่มขึ้นของระดับออกซิเจนในช่วงเวลานั้น ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นหลังจาก แต่เกิดก่อนการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในเหตุการณ์ล่าสุด แดเนียล บี. มิลส์ (Daniel B. Mills) ให้ข้อสรุปว่าปริมาณออกซิเจนที่ปรากฏอยู่ในยุคอีดีแอคารันนั้นไม่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ทำให้สมมติฐานนี้ดูไม่เหมาะสำหรับการเป็นแรงขับเคลื่อนของจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
สมมติฐานลูกโลกหิมะ
คือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาที่พื้นผิวโลกทั้งใบนั้นถูกปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ซึ่งคำคำนี้อาจจะถูกใช้เพื่ออ้างอิงถึงเหตุการณ์นี้เพียงอย่างเดียว (ซึ่งเกิดขึ้นสองครั้ง) หรืออ้างอิงถึงยุคทางธรณีที่ใหญ่กว่าอันเป็นยุคที่ก่อให้เกิดยุคธารน้ำแข็งทั้งหมดที่เรารู้จักขึ้นมา
เหตุการณ์ลูกโลกหิมะครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในยุคไครโอเจเนียนและประกอบด้วยเหตุการณ์ของยุคธารน้ำแข็งสองครั้ง ซึ่งก็คือและ ซูไห่ เซียว (Shuhai Xiao) และคณะให้ความเห็นว่าระหว่างช่วงเวลาและลูกโลกหิมะนี้สิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายอาจจะพอมีเวลาในการวิวัฒนาการตนเอง และนำไปสู่การวิวัฒนาการขึ้นมาของสภาวะความเป็นหลายเซลล์
สมมติฐานลูกโลกหิมะในฐานะของการสนับสนุนในการวิวัฒนาการสภาวะความเป็นหลายเซลล์นั้นได้กล่าวไว้ว่ายุคไครโอเจเนียนในประวัติศาสตร์โลกนั้นอาจเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนก็เป็นไปได้ โจเชน เจ. บร็อกส์ (Jochen J. Brocks) ให้ความเห็นว่าช่วงเวลาระหว่างยุคธารน้ำแข็งสเตอร์เทียนและยุมาริโนอันได้เปิดทางให้เหล่าสาหร่ายแพลงก์ตอนได้ครอบครองท้องทะเล ซึ่งนั่นทำให้เปิดทางไปสู่ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมากทั้งพืชและสัตว์ในรุ่นต่อมา สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนได้ถือกำเนิดขึ้นมาและมีความหลากหลายมากขึ้นในเหตุการณ์ที่เรียกว่า ซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่นานหลังจากยุคมาริโนอัน
สมมติฐานการล่า
สมมติการล่ากล่าวไว้ว่าในการหลีกหนีการถูกจับกินโดยผู้ล่านั้น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะวิวัฒนาการสภาวะความเป็นหลายเซลล์ขึ้นมาเพื่อทำให้ตนเองถูกจับกินได้ยากขึ้น แมทธิว ดี. เฮอร์รอน (Matthew D. Herron) และคณะได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวิวัฒนาการในห้องทดลองของพวกเขา โดยทำการทดลองกับสาหร่ายเซลล์เดียวสายพันธุ์ โดยใช้พารามีเซียมเป็นผู้ล่า ซึ่งพวกเขาค้นพบว่าในการมีอยู่ของนักล่าตัวนี้ สาหร่าย C. reinhardtii จะพัฒนาคุณลักษณะของความเป็นหลายเซลล์อย่างเรียบง่ายที่เห็นได้ชัดขึ้นมา
วิวัฒนาการทดลอง
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีทางที่จะทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียววิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน อย่างไรก็ตามเราสามารถระบุได้ว่าการกลายพันธุ์แบบใดที่สามารถชักนำสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำมาสาธิตให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของเหตุการณ์เช่นนี้ได้ ในความเป็นจริงแล้วนั้นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถกลายพันธุ์จนมีความสามารถในการยึดติดกันเองได้ค่อนข้างง่าย ซึ่งเป็นขั้นแรกของการเข้าสู่สภาวะหลายเซลล์ แม้ว่าโดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์จะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวทว่าสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายสายพันธุ์ได้วิวัฒนาการให้มีความสามารถเช่นนี้:
- ยีสต์เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานแล้วว่ามีความสามารถรวมกันได้ หนึ่งในยีนตัวแรกของยีสต์ที่ถูกพบเจอว่าสามารถสร้างฟีโนไทป์เช่นนี้ได้คือ FLO1 นอกจากนี้ยังมีฟีโนไทป์ที่โดดเด่นที่ถูกเรียกว่า "เกล็ดหิมะ" ปรากฏขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งเกิดจากการสูญเสียตัวถอดรหัสพันธุกรรมตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Ace2 เหล่ายีสต์เกล็ดหิมะนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นกลุ่มก้อนหลายเซลล์และตกตะกอนอย่างรวดเร็ว ลักษณะเช่นนี้ถูกระบุว่าเกิดจากวิวัฒนาการแบบชักนำ เมื่อไม่นานมานี้ในปี 2024 ยีสต์เกล็ดหิมะได้กำเนิดขึ้นมาภายใต้การวิวัฒนาการแบบชักนำกว่า 3,000 รุ่นและได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในระดับมิลลิเมตร รวมถึงได้พบการเปลี่ยนแปลงในยีนส์อีกหลายตัว นอกจากนี้ทางผู้เขียนงานวิจัยนี้ยังได้รายงานอีกว่ามีเพียงการเพาะเลี้ยงยีสต์เกล็ดหิมะแบบไม่ใช้ออกซิเจนเท่านั้นที่สามารถวิวัฒน์ลักษณะเช่นนี้ขึ้นมาได้ในขณะที่การเพาะเลี้ยงแบบใช้ออกซิเจนไม่สามารถทำได้
- สาหร่ายสีเขียวจำนวนหลายสายพันธุ์ได้ถูกนำมาทดลองในเชิงวิวัฒนาการให้สามารถสร้างกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นสาหร่ายสายพันธุ์ เมื่อเจริญเติบโตอยู่ใกล้กับสายพันธุ์นักล่า พวกมันจะเริ่มสร้างอาณานิคมขนาดเล็กที่ยากต่อการกินขึ้นมาเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงสาหร่ายสายพันธุ์ ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ถูกล่าด้วย และ
ในสภาวะปกตินั้น C. reinhartii จะเริ่มต้นชีวิตด้วยการเป็นเซลล์เซลล์เดี่ยวที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งเซลล์เดี่ยวดังกล่าวนี้จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวแบบไมโทซิสจำนวน 2–5 ครั้งและกลายเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์แบบไม่เคลื่อนที่ หลังจากนั้นเซลล์ทุกเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นหน่อพันธุ์เซลล์เดี่ยวและกลุ่มก้อนนี้จะแตกสลายไป โดยในบางรุ่นที่ถูกล่าโดย Paramecium กลุ่มก้อนดังกล่าวนั้นจะกลายเป็นโครงสร้างที่มั่นคง กล่าวคือมีเพียงบางเซลล์เท่านั้นที่จะกลายเป็นเซลล์หน่อพันธุ์ ประชากรบางกลุ่มได้ใช้ชีวิตอยู่เช่นนี้ต่อไปและสร้างหน่อพันธุ์หลากเซลล์ขึ้นมา หมายความว่าแทนที่จะใช้การแยกเซลล์เดี่ยวจำนวนหลายเซลล์ออกมาจากกลุ่มก้อนนั้น ในตอนนี้การสืบพันธุ์จะเปลี่ยนเป็นวิธีการปล่อยกลุ่มก้อนที่เล็กกว่าออกมาแทน
ความได้เปรียบ
สภาวะความเป็นหลายเซลล์นั้นจะอนุญาตให้สิ่งมีชีวิตสามารถมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าขีดจำกัดทั่วไปที่เกี่ยวของกับการแพร่กระจาย ขยายความ ณ จุดนี้ได้ว่าหากเซลล์เดี่ยวมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นแล้ว อัตราส่วนระหว่างพื้นผิวและปริมาตรจะลดลง การดูดซึมและเคลื่อนย้ายสารอาหารไปทั่วเซลล์จะยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ยังมีข้อได้เปรียบในมากมายหากมีร่างกายที่ใหญ่โตโดยไร้ซึ่งข้อจำกัดใด ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ยังมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าเนื่องจากพวกมันยังคงอยู่รอดได้หากเซลล์ใดเซลล์หนึ่งตายไป สภาวะหลายเซลล์นั้นทำให้สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้นได้จากภายในตัวของมันเอง
แม้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะดูเหมือนเป็นข้อได้เปรียบ แต่ทว่าข้อมูลเหล่านี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องด้วยสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นเป็นพวกเซลล์เดียว และหากคิดในแง่ของมวลชีวภาพแล้วนั้นก็ดูเหมือนว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะประสบความสำเร็จมากกว่าสัตว์เสียอีกหากไม่นับรวมพืช แทนที่จะเห็นว่าการมีอายุขัยที่ยืนยาวและขนาดที่ใหญ่โตเป็นข้อได้เปรียบนั้น บรรดานักชีววิทยากลับมองแค่เพียงว่าเป็นความหลากหลายเท่านั้น ซึ่งต้องมีข้อแลกเปลี่ยน
การเปลี่ยนแปลงของแสดงออกของยีนส์ในการเปลี่ยนผ่านจากสภาวะเซลล์เดียวไปหาสภาวะหลายเซลล์
ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไปเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้นการแสดงออกของยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์และการเอาชีวิตรอดก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนั้น ยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์และการเอาตัวรอดนั้นจะแสดงออกในลักษณะของการเสริมสร้างสมรรถภาพของตัวเซลล์แต่ละเซลล์ ทว่าเมื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นหลายเซลล์แล้วนั้น รูปแบบของการแสดงออกของยีนเหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะสำคัญเพื่อให้เซลล์แต่ละเซลล์นั้นได้ทำหน้านี้จำเพาะของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์และการมีชีวิตรอด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา รูปแบบของการแสดงออกของยีนได้ถูกกำหนดหรือแบ่งส่วนออกมาระหว่างเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะต่อการสืบพันธุ์ (เซลล์) และกลุ่มเซลล์ที่จำเพาะต่อการเอาตัวรอด () ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านได้ดำเนินไปนั้น เซลล์ที่ได้ทำหน้าที่จำเพาะก็ได้สูญเสียความเป็นปัจเจกของตนเองไปและไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเองรวมถึงสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวเองนอกเหนือจากบริบทของกลุ่มเซลล์ของตนเอง
อ้างอิง
- Becker, Wayne M.; และคณะ (2009). The world of the cell. . p. 480. ISBN .
- Chimileski, Scott; Kolter, Roberto (2017). Life at the edge of sight: a photographic exploration of the microbial world. Cambridge, Massachusetts: The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN .
- Lyons, Nicholas A; Kolter, Roberto (April 2015). "On the evolution of bacterial multicellularity". Current Opinion in Microbiology. 24: 21–28. doi:10.1016/j.mib.2014.12.007. ISSN 1369-5274.
- "Cytological Features Fostering the Evolution of Volvox", Volvox, Cambridge University Press, pp. 68–108, 13 December 1997, สืบค้นเมื่อ 2 August 2023
- Hall, Brian K.; Hallgrímsson, Benedikt (2008). Strickberger's evolution: the integration of genes, organisms and populations (4th ed ed.). Sudbury, Mass: Jones and Bartlett publ. ISBN .
{{}}
:|edition=
has extra text ((help)) - Gibson, Wendy (29 November 2005). "Faculty Opinions recommendation of The new higher level classification of eukaryotes with emphasis on the taxonomy of protists". Faculty Opinions – Post-Publication Peer Review of the Biomedical Literature.
- Grosberg, Richard K.; Strathmann, Richard R. (1 December 2007). "The Evolution of Multicellularity: A Minor Major Transition?". Annual Review of Ecology, Evolution, and Systematics (ภาษาอังกฤษ). 38 (1): 621–654. doi:10.1146/annurev.ecolsys.36.102403.114735. ISSN 1543-592X.
- Parfrey, Laura Wegener; Lahr, Daniel J. G. (2013-01-11). "Multicellularity arose several times in the evolution of eukaryotes (Response to DOI 10.1002/bies.201100187)". BioEssays. 35 (4): 339–347. doi:10.1002/bies.201200143. ISSN 0265-9247.
- Popper, Zoë A.; Michel, Gurvan; Hervé, Cécile; Domozych, David S.; Willats, William G.T.; Tuohy, Maria G.; Kloareg, Bernard; Stengel, Dagmar B. (2 June 2011). "Evolution and Diversity of Plant Cell Walls: From Algae to Flowering Plants". Annual Review of Plant Biology (ภาษาอังกฤษ). 62 (1): 567–590. doi:10.1146/annurev-arplant-042110-103809. ISSN 1543-5008.
- Niklas, K. J. (2014-01-01). "The evolutionary-developmental origins of multicellularity". American Journal of Botany (ภาษาอังกฤษ). 101 (1): 6–25. doi:10.3732/ajb.1300314. ISSN 0002-9122.
- Bonner, John Tyler (1998). <27::aid-inbi4>3.0.co;2-6 "The origins of multicellularity". Integrative Biology: Issues, News, and Reviews. 1 (1): 27–36. doi:10.1002/(sici)1520-6602(1998)1:1<27::aid-inbi4>3.0.co;2-6. ISSN 1093-4391.
- Schmid, Rudolf; Margulis, L.; Schwartz, K. V. (November 1988). "Five Kingdoms: An Illustrated Guide to the Phyla of Life on Earth". Taxon. 37 (4): 932. doi:10.2307/1222104. ISSN 0040-0262.
- N, Seravin Lev (2001). "The principle of counter-directional morphological evolution and its significance for construction the megasystem of protists and other eukaryotes". Protistology. 2 (1): 6–14. ISSN 1680-0826.
- Parfrey, Laura Wegener; Lahr, Daniel J. G. (2013-01-11). "Multicellularity arose several times in the evolution of eukaryotes (Response to DOI 10.1002/bies.201100187)". BioEssays. 35 (4): 339–347. doi:10.1002/bies.201200143. ISSN 0265-9247.
- Medina, Mónica; Collins, Allen G.; Taylor, John W.; Valentine, James W.; Lipps, Jere H.; Amaral-Zettler, Linda; Sogin, Mitchell L. (2003-07). "Phylogeny of Opisthokonta and the evolution of multicellularity and complexity in Fungi and Metazoa". International Journal of Astrobiology (ภาษาอังกฤษ). 2 (3): 203–211. doi:10.1017/S1473550403001551. ISSN 1475-3006.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
((help)) - Seckbach, Joseph; Chapman, David J. (2010-07-27). Red Algae in the Genomic Age (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. ISBN .
- academic.oup.com https://academic.oup.com/mbe/article/27/9/2052/1008740?login=false.
{{}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า ((help)) - Richter, Daniel Joseph: The gene content of diverse choanoflagellates illuminates animal origins, 2013.
- "Myxozoa". tolweb.org. Retrieved 14 April 2018.
- Davies, P C W; Lineweaver, C H (2011-02-01). "Cancer tumors as Metazoa 1.0: tapping genes of ancient ancestors". Physical Biology. 8 (1): 015001. doi:10.1088/1478-3975/8/1/015001. ISSN 1478-3975. PMC 3148211. PMID 21301065.
{{}}
: CS1 maint: PMC format ()
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
singmichiwithlayesll xngkvs multicellular organism epnsingmichiwitthimiesllmakkwahnungesll tangcaksingmichiwitesllediyw inkarcaekidepnsingmichiwithlayesllnn esllehlanicatxngrabuexklksnaelayudekhakbesllxunstwekuxbthnghmd 1 5 lanspichis tlxdcnphuchaelafngiccanwnmakepnsingmichiwithlayesllCaenorhabditis elegans thithukyxmsiephuxihiltniwekhliysinesllkhxngmn thukspichiskhxngstw phuchbk aelaehdraswnihynnepnsingmichiwithlayesll echnediywknkbsahrayhlaychnid thwasingmichiwitcanwnhnungkmilksnathiepnidthngsingmichiwitesllediywaelahlayesll yktwxyangechnraemuxkaelaxamibathixyurwmknepnklumdngechnskul Dictyostelium singmichiwithlayesllnnthuxkaenidkhunmaidcakhlayhnthang yktwxyangechnkaraebngesllhruxkarrwmtwknkhxngesllediywhlayesllkhuxhnunginphllphththiekidcakkarekhamaxyurwmtwknkhxngsingmichiwitaetlatw xyangirktaminpccubnkyngkhngepneruxngyakinkaraeykophrtisthpraephthokholnixxkcaksingmichiwithlayesllthiaethcringidxyangeddkhad enuxngcakaenwkhidthngsxngaebbniyngimminiyamthiaetktangknxyangchdecnmakphx kranninbangkhrngophrtisthcathukeriykwa Pluricellular aethnthicaepn Multicellular singmichiwitesllediywbangsayphnthuthiepnksamarththicaetibotcnmikhnadihyid yktwxyangechn thisamarthmikhnadidthung 20 sm prawtikarwiwthnakarkhxngesllkarkxkaenid singmichiwithlayesllidwiwthnakartnexngkhunmaxyangxisratxknepncanwnxyangnxy 25 khrnginyuaekhrioxt aelaophraekhrioxtbangklum yktwxyangechnisyaonaebkhthieriy hrux epntn xyangirktamsingmichiwithlayesllthisbsxnnnidwiwthnakarkhunmainklumyuaekhrioxtephiyngaekh 6 klumethann sungkkhuxstw ehdra sahraysiaedng sahraysiekhiyw aelaphuchbk sungmikarwiwthnakarxyangtxenuxnginklum sahraysiekhiywaelaphuchbk hnungkhrngsahrbstw hnungkhrngsahrbsahraysinatal samkhrngsahrbehdra aela aelaxaccawiwthnakarkhunmaidhlaykhrngsahrbraemuxkaelasahraysiaedng hlkthanaerkkhxngkarkxkaenidkarichchiwitaebbhlayesllnnbngchiwaekidkhunemuxraw 3 000 thung 3 500 lanpikxn sungekidkhunemuxsingmichiwitesllediywidkahndphvtikrrmkhxngtnexngkhunma aelasingnikxacepnwiwthnakarthicanaipsusingmichiwithlayesllxyangaethcring xnekidkbsingchiwitthimilksnakhlaykhlungkbisyaonaebkhthieriy inkarsubphnthunnsingmichiwithlayesllaethcatxngaekpyhacakkarsrangsingmichiwittwihmthngtwcakesllsubphnthu yktwxyangtwxsuciaelaesllikh sungepnpraednpyhathithuksuksainwicha stwnnidphthnainrangkaythimihlayesll 100 150 praephthkhxngesll sungtangcakphuchaelaehdrathimiesllephiyngaekh 10 20 praephthethann karsuyesiykhwamepnsingmichiwithlayesll karsuyesiykhwamepnsingmichiwithlayesllnnekididkbsingmichiwitbangklum ehdraswnihynnmihlayesllthungaemwachwngaebngsaywiwthnakarinchwngaerknnswnihycamiephiyngesllediywktam yktwxyang aelamisayphnthuechuxracanwnmakthiwiwthnakaryxnklbipepnsingmichiwitesllediyw yktwxyang aelayistcanwnhnung aelaxaccaekidkhunidkbsahraysiaedngdwyechnkn yktwxyang aetxaccaepnipidwasahrayehlaniepnsingmichiwitesllediywtngaettnxyuaelw karsuyesiykhwamepnhlayesllnixacekidkhunidkbsahraysiekhiywbangchnid yktwxyang aela bangsayphnthu insingmichiwitklumxun odyechphaaklumprsitnnkmikarldrupkhxngkhwamepnhlayeslllngmadwyechnkn sungekidkbcanwnkhxngesllhruxpraephthkhxngesll yktwxyangechn sungepnsingmichiwithlayesllnnekhythukekhaicphidwaepnsingmichiwitesllediywthixaccaepnstwinklumindaeriythildruplngxyangmak maerng singmichiwithlayesllodyechphaastwthimixayuyunnnmkcaprasbkbhakhxngmaerngxnekidcakkarthiesllimsamarthkhwbkhumkarecriyetibotidcakchudkhasngphthnakartampktikhxngmn karepliynaeplngrupphrrnsnthankhxngenuxeyuxsamarthsngektidcakkrabwnkarni maernginstwmkcathukniyamwaepnhnunginkrabwnkarsuyesiykhwamepnhlayesll nxkcakniyngmikarthkethiyngkndwywaxaccamikhwamepnipidkhxngmaernginsingmichiwithlayesllxun hruxaemkrathngophrothsw yktwxyangechn Plant gall thimilksnaepnenuxngxk thwaphuechiywchaybangthankklawptiesthwaphuchnnimsamarthepnmaerngid karaebngaeykrahwangesllrangkaykbesllsubphnthu singmichiwithlayesllbangklumthithukeriykwaklumidmiwiwthnakarkhunmaephuxaebngaeykrahwangaelaesllsubphnthu aetxyangirktamklumthiphthnamaepnklumiwsmnnistnnhayakmak yktwxyangstwmikraduksnhlng xarothrphxd enuxngcaksingmichiwitswnihynnmikhwamsamarthdan yktwxyangphuchbk sahrayswnihy stwimmikraduksnhlngcanwnmak smmtithankarkxkaenid source source source source source thiprakxbdwyesllcanwnsiesll smmtithanhnungekiywkbekidkhunkhxngsingmichiwithlayesllnnkhuxkarrwmklumknkhxngesllthithahnathiechphaa sungcarwmklumkncnmilksnaehmuxnkbtwthakthicathukeriykwa aelacamikarekhluxnihwinlksnakhxngsingmichiwithlayesll sungsingnikhuxphvtikrrmkhxngraemuxk xiksmmtithanhnungkhuxesllobranidekidkaraebngniwekhliyskhunmaaelatxmaidphthnaipepn hlngcaknneyuxhumcungidkxtwkhunmarxbniwekhliysaetlaxn rwmthungphunthiphayinesllaelaxxraekenllthixyuinphunthinn sungkxihekidepnklumesllthiechuxmtidknxyuinsingmichiwittwhnung klikechnnisamarthphbehnidinskul aemlngwnthxng smmtithanthisamklawwaemuxsingmichiwitesllediywaebngtwnnesllthiaebngxxkmaimidkhadxxkcakknodysineching kxihekidepnkarrwmtwklumknkhxngesllthiehmuxnknthukprakarinsingmichiwithnungtw sungtxmaidphthnaipepnenuxeyuxechphaa lksnaechnniekidkhuninchwngphthnakarkhxngexmbrioxkhxngphuchaelastw rwmthungsingmichiwitokholnicaphwk Choanoflagellate aelaenuxngcakwasingmichiwithlayesllklumaerk nnmirangkaythixxnnum immikradukhruxepluxkhruxokhrngrangaekhngid cungthaihsakfxssilkhxngphwkmnnnmkcathukekbrksaiwidimdi aetxacmikhxykewnsahrbfxngnachn Demosponge thiyngkhngmirxngrxysarekhmihlngehluxxyuinchnhinobran fxssilcaksingmichiwithlayesllinchwngaerknnmihlaychin sungrwmthungfxssilthiepnthithkethiyngknwngkarwithyasastrxyangechn spiralis aelafxssilthihlngehluxmacakmhayukhaephlioxophrethxorosxikthixyuinchnhindindanthimichuxeriykwa B Formation sungthukphbinpraethspraethskabxng fxssil thimixayu 600 lanpiepnimokhrfxssilthimirxngrxykhxngsingmichiwithlayesll kxncathungchwngewlapccubnni karprakxbkhxmulkhunmaihmkhxngthangsakhawichawiwthnakarchatiphnthunnmacakkarsuksathangkaywiphakhsastr odyechphaakhphphwithya thimilksnakhlaykhlungkn withikarechnnithaihidkhxmulthiimaemnya enuxngcaksingmichiwitxyangechnstwaelaphuchnnidaeykxxkcakbrrphburusesllediywmaepnewlakwa 500 lanpiaelw sungewlathiyawnanechnnnkidthaihthngkarwiwthnakarebnxxkaelakarwiwthnakarebnekhaidmiewlamakphxinkareliynaebbkhwamehmuxnhruxsrangkhwamaetktangmakmayrahwangklumsayphnthurunihmaelasayphnthubrrphburusthisuyphnthuipaelwid sakhawichawiwthnakarchatiphnthuinyukhihmnnichwithikarthisbsxnxyangechn aelakarbngchiinradbomelkultang ephuxrabukhunlksnathisayphnthutang mirwmkn aemwacamikhwamsmphnththihangiklknmakephiyngidktam karwiwthnakarkhxngkhwamepnhlayesllnnxacsamarthekidkhunidhlaythang dngthiidxthibayiwdanlang thvsdikarxyurwmkn thvsdiniklawiwwasingmichiwithlayesllklumaerknnthuxkaenidmacakodysingmichiwitesllediywtangsayphnthu sungtangfaytangmihnathiaetktangkn emuxewlaphanipsingmichiwitehlanicatxngphungphaxasysungknaelakncnthungcudthiimsamarthxyurxdiddwytnexng inthisudcungekidkarrwmknkhxngcionmcnklayepnsingmichiwithlayesllephiynghnungediyw singmichiwitaetlachnidthiklawmanicaklayepnphusubechuxsaykhxngesllthithukaeprsphaphihthahnathicaephaaaetktangknipphayinsayphnthuthithuksrangkhunihm karxyurwmknaebbxingxasyinrupaebbthichdecnnnmiihehnxyuthwip yktwxyangechnplakartunaela thwainkrninikyngepnthithkethiyngknxyangmakwahaksayphnthuhnungsuyphnthuip xiksayphnthuhnungcasamarthxyurxdidepnewlananhruxim xyangirktam pyhakhxngthvsdinikhuxinpccubnyngimmikhatxbthiaenchdwacionmkhxngsingmichiwitaetlachnidnnekidkarkhwbrwmknepnsayphnthuephiynghnungediywidechnir krannaelwkyngkhngmismmtithanthiekiywkbkarxyurwmknaebbxingxasyechnnixyu yktwxyangechnimothkhxnedriyaelakhlxorphlastinesllkhxngphuchaelastw tamhlkkar aetkarekidkhunkhxngmnnnhaidyakmak aelanxkcaknicionmkhxngexnodsimibxxnthkyngkhngiwsungxngkhprakxbhlkkhxngtnexngthiaeykcakohstkhxngmn rwmthungsamarthkhdlxk DNA iddwytwexnginrahwangthiohstekhasukrabwnkarimothsis yktwxyangechnsingmichiwitcanwnsxngthungsamchnidthixyuxasyaebbphungphaxasykncnekidepnilekhn thungaemwaphwkmncaimsamarthxyurxdidhakaeykcakknaetkcaepntxngsubphnthuaeykcakknkxncaklbmarwmknxikkhrngephuxepnsingmichiwittwihmtxip thvsdikaraeplngihepnesll sinsiethiym thvsdiniwadwysingmichiwitesllediywthiminiwekhliysmakkwahnungxnxaccamikhwamsamarthinkarphthnakhunmahxhumniwekhliysaetlaxnkhxngtnexngxikthi oprthisthlaychnidxyangechnklumsiliexthruxraemuxknnsamarthminiwekhliysmakkwahnungxnid sung n cudnikthukichephuxsnbsnunsmmtithanni xyangirktamkarthiesllhnung mihlayniwekhliysnnkyngkhngimephiyngphxthicasnbsnunthvsdiniid niwekhliyskhxngklumsiliextnnimehmuxnknaelamihnathithiaeykcakknxyangchdecn hruxniwekhliysihynnthahnathidaeninkickartang tamkhwamtxngkarphayinesll inkhnathinnthukichephiyngephuxkarsubphnthuaebbxasyephsodykaraelkepliynsarphnthukrrm esllchnidkhxngraemuxkekidcakkarrwmtwknkhxngesllchnidxamibxydaetlaesllekhadwykn echkechnenuxeyuxsinsiethiyminsingmichiwithlayesllbangchnid inkhwamepncringaelwthvsdiniyngtxngkartwxyanginkarsathitihephiyngphxtxkarsngektid rwmthungklikinkarsrangsingmichiwithlayesllkhunmaihmcakesslsinsiethiymthimixyukxnhna thvsdixananikhm thvsdixananikhmkhxngthukesnxkhuninpi 1874 sungklawiwwakarxyurwmknaebbxingxasykhxngsingmichiwithlaytwinsayphnthuediywkn tangcakthvsdikarxyurwmknthiklawiwkxnhna sungepnsingmichiwittangsayphnthu naipsukarkaenidsingmichiwithlayesllinthisud mikarsnnisthanwawiwthnakarkhxngsingmichiwithlayesllbnbknnekidcakkarthieslltang aeykknxyuaelwcungklbmarwmtwknihmxikkhrng yktwxyangechnraemuxk inkhnathisingmichiwithlayesllswnihynn klumthiwiwthnakarxyuinna ekidcakkaraebngesllthiphidphlad thaiheslllukaeykcakknimsmburn klikkarekidkhunkhxngxananikhmxyanghlngnisamarthekidkhunidcakehtukarnthixyangngaydayxyangechnkhntxnthiimsmburn aemwakhwamepnhlayesllnnmkcathukphicarnawaekiywkhxngkb khxidepriybkhxngthvsdixananikhmnikhuxinpccubnnnmihlkthanaelasamarthphbehnidinklumiflmkhxngophrthistcanwn 16 iflm sungekidkhunxyangepnxisratxkn yktwxyangechnraemuxk Dictyostelium inrayathiepnxamibannhakekidehtukarnkhadaekhlnxahar phwkmncarwmtwknepnxananikhmediywkn hlngcaknncungekhluxnyayipyngcudxunxyangepnxnhnungxnediywkn odythimixamibabangtwinxananikhmniaeprsphaphipxyangelknxycaktwxun twxyangxananikhmxun khxngophrthistthimiihehnkhuxwngs Volvocaceae xyangechnaela sungxacprakxbdwyesllcanwn 500 50 000 esll khunxyukbsayphnthu aelamibangswnethannthithahnathisubphnthu yktwxyangechninsayphnthhnungcamiesllsubphnthu 25 35 esll odythahnathisubphnthuaebbimxasyephscanwn 8 esll aelaxik 15 25 esllcathahnathisubphnthuaebbxasyephs xyangirktamyngkhngepnkaryakinkaraeykaeyarahwangophrthistaebbxananikhmaelasingmichiwithlayesllthiaethcringxxkcakkn enuxngcakthngsxngaenwkhidnnyngimminiyamkhwamaetktangthichdecn sungnnthaihxananikhmkhxngophrthistnnmkthukeriykwa pluricellular makkwacaepn multicellular thvsdi synzoospore nkthvsdibangthanesnxwakarekidkhunkhxngphawakhwamepnhlayesllnnekidcakcakrayachwkhrawipepnkaraeprsphaphinechingphunthi aethnthicaekidcakkarwiwthnakarkhxngkaraeprsphaphesllxyangkhxyepnkhxyip xyangnxykepnkrnikhxngstw Metazoa dngechnkhxng GK PID emuxpraman 800 lanpikxnnnidekidkarepliynaeplngelknxythangphnthukrrminomelkulthimichuxwaoprtin xinetxraexkhchnodemn GK PID sungxackxihekidkarwiwthnakarkhxngsingmichiwitcakesllediywipepnhlayesllid bthbathkhxngiwrs yinsbangswnthiidrbmacakiwrsaela hrux MGE nnidrbkarrabuwamibthbathsakhyinkaraeprsphaphkhxngesllinenuxeyuxhlayesll rwmthungxwywatang aelaaemkrathngkarsubphnthuaebbxasyephsxyangechnkarphsanrwmtwknkhxngesllikhaelaxsuci karphsanesllechnnimiphltxkarsrangenuxeyuxkhxngstwdngechnkarpxngkarihlphankhxngsarekhmiphanrkaelakaraebngaeykrahwangsmxngaelarangkay xngkhprakxbcakiwrscanwnsxngxyangidthukrabuexaiwaelw xyangaerkkhux sungmacakiwrs aelaxyangthisxngthiidrbkaryunyninpi 2007 kkhux sungchwyinkarsrangphiwhnngkhxnghnxn Caenorhabditis elegans xnepnswnhnungkhxngtrakuloprtin FF inkarniefliks ery Felix Rey aehngsthabnpasetxrinkrungparisidthakarsrangaebbcalxngsammitikhxngokhrngsrangkhxngoprtinxiexfexf1 aelaidaesdngihehnwamnthahnathiinkarechuxmtxesllhnungipyngxikesllhnungidodywithikartidechuxiwrs enuxngdwyscthrrmdngklawthiwaomelkulthithukichinkarrwmhruxphsanesllnnmitnkaenidmacakiwrsthngsin kidthaiherathrabwamnmiswnsakhyinrabbkartidtxsuxkarrahwangesllxnnaipsusphawahlayesllid hakirsungkhwamsamarthinkarphsanesllaelwnn aemxananikhmcaekidkhunid thwasingthisbsxnkhunmaxyangnxythisudtamaebbfxngnakmixacekidkhunid smmtithankarephimkhunkhxngxxksiecn thvsdiniklawiwwaprimankhxngxxksiecninchnbrryakasolkchwngaerknnepnpccyhlkthicakdkarekidkhunkhxngsingmichiwithlayesll smmtithannimacakkhwamsmphnthknrahwangkarekidkhunkhxngsingmichiwithlayesllaelakarephimkhunkhxngradbxxksiecninchwngewlann sungehtukarnnixaccaekidkhunhlngcak aetekidkxnkarephimkhunkhxngxxksiecninehtukarnlasud aedeniyl bi mils Daniel B Mills ihkhxsrupwaprimanxxksiecnthipraktxyuinyukhxidiaexkharnnnimcaepntxsingmichiwitthisbsxn thaihsmmtithanniduimehmaasahrbkarepnaerngkhbekhluxnkhxngcudkaenidsingmichiwithlayesll smmtithanlukolkhima khuxehtukarnthangthrniwithyathiphunphiwolkthngibnnthukpkkhlumipdwyhimaaelanaaekhng sungkhakhanixaccathukichephuxxangxingthungehtukarnniephiyngxyangediyw sungekidkhunsxngkhrng hruxxangxingthungyukhthangthrnithiihykwaxnepnyukhthikxihekidyukhtharnaaekhngthnghmdthieraruckkhunma ehtukarnlukolkhimakhrnglasudekidkhuninyukhikhroxeceniynaelaprakxbdwyehtukarnkhxngyukhtharnaaekhngsxngkhrng sungkkhuxaela suih esiyw Shuhai Xiao aelakhnaihkhwamehnwarahwangchwngewlaaelalukolkhimanisingmichiwitthieriybngayxaccaphxmiewlainkarwiwthnakartnexng aelanaipsukarwiwthnakarkhunmakhxngsphawakhwamepnhlayesll smmtithanlukolkhimainthanakhxngkarsnbsnuninkarwiwthnakarsphawakhwamepnhlayesllnnidklawiwwayukhikhroxeceniyninprawtisastrolknnxacepntwerngwiwthnakarkhxngsingmichiwitthisbsxnkepnipid ocechn ec brxks Jochen J Brocks ihkhwamehnwachwngewlarahwangyukhtharnaaekhngsetxrethiynaelayumarionxnidepidthangihehlasahrayaephlngktxnidkhrxbkhrxngthxngthael sungnnthaihepidthangipsukhwamhlakhlaythangchiwphaphepnxyangmakthngphuchaelastwinruntxma singmichiwitthisbsxnidthuxkaenidkhunmaaelamikhwamhlakhlaymakkhuninehtukarnthieriykwa sungepnchwngewlaimnanhlngcakyukhmarionxn smmtithankarla smmtikarlaklawiwwainkarhlikhnikarthukcbkinodyphulann singmichiwitesllediywcawiwthnakarsphawakhwamepnhlayesllkhunmaephuxthaihtnexngthukcbkinidyakkhun aemththiw di ehxrrxn Matthew D Herron aelakhnaidthakarthdlxngekiywkbkarwiwthnakarinhxngthdlxngkhxngphwkekha odythakarthdlxngkbsahrayesllediywsayphnthu odyichpharamiesiymepnphula sungphwkekhakhnphbwainkarmixyukhxngnklatwni sahray C reinhardtii caphthnakhunlksnakhxngkhwamepnhlayesllxyangeriybngaythiehnidchdkhunmawiwthnakarthdlxnginpccubnniyngimmithangthicathrabidwaekidxairkhunemuxsingmichiwitesllediywwiwthnakaripepnsingmichiwithlayesllemuxhlayrxylanpikxn xyangirktamerasamarthrabuidwakarklayphnthuaebbidthisamarthchknasingmichiwitesllediywihklayepnsingmichiwithlayesllid sungsingnisamarthnamasathitihehnthungkhwamepnipidkhxngehtukarnechnniid inkhwamepncringaelwnnsayphnthusingmichiwitesllediywsamarthklayphnthucnmikhwamsamarthinkaryudtidknexngidkhxnkhangngay sungepnkhnaerkkhxngkarekhasusphawahlayesll aemwaodypktiaelwsingmichiwithlaysayphnthucaepnsingmichiwitesllediywthwasayphnthukhxngsingmichiwitesllediywhlaysayphnthuidwiwthnakarihmikhwamsamarthechnni yistepnthiruckknmaxyangyawnanaelwwamikhwamsamarthrwmknid hnunginyintwaerkkhxngyistthithukphbecxwasamarthsrangfionithpechnniidkhux FLO1 nxkcakniyngmifionithpthioddednthithukeriykwa ekldhima praktkhunmaxikdwy sungekidcakkarsuyesiytwthxdrhsphnthukrrmtwhnungthimichuxwa Ace2 ehlayistekldhimaniidetibotkhunepnklumkxnhlayesllaelatktakxnxyangrwderw lksnaechnnithukrabuwaekidcakwiwthnakaraebbchkna emuximnanmaniinpi 2024 yistekldhimaidkaenidkhunmaphayitkarwiwthnakaraebbchknakwa 3 000 runaelaidrwmtwknepnklumkxnthisamarthmxngehniddwytaeplainradbmilliemtr rwmthungidphbkarepliynaeplnginyinsxikhlaytw nxkcaknithangphuekhiynnganwicyniyngidraynganxikwamiephiyngkarephaaeliyngyistekldhimaaebbimichxxksiecnethannthisamarthwiwthnlksnaechnnikhunmaidinkhnathikarephaaeliyngaebbichxxksiecnimsamarththaid sahraysiekhiywcanwnhlaysayphnthuidthuknamathdlxnginechingwiwthnakarihsamarthsrangklumkxnkhnadihykhunma yktwxyangechnsahraysayphnthu emuxecriyetibotxyuiklkbsayphnthunkla phwkmncaerimsrangxananikhmkhnadelkthiyaktxkarkinkhunmaenuxngcakkhnadthiihykhun rwmthungsahraysayphnthu dwyechnkn inkhnathithukladwy aela insphawapktinn C reinhartii caerimtnchiwitdwykarepnesllesllediywthiekhluxnthiid sungesllediywdngklawnicasubphnthuaebbimxasyephsodykaraebngtwaebbimothsiscanwn 2 5 khrngaelaklayepnklumkxnkhxngesllaebbimekhluxnthi hlngcaknnesllthukesllehlanicaklayepnhnxphnthuesllediywaelaklumkxnnicaaetkslayip odyinbangrunthithuklaody Paramecium klumkxndngklawnncaklayepnokhrngsrangthimnkhng klawkhuxmiephiyngbangesllethannthicaklayepnesllhnxphnthu prachakrbangklumidichchiwitxyuechnnitxipaelasranghnxphnthuhlakesllkhunma hmaykhwamwaaethnthicaichkaraeykesllediywcanwnhlayesllxxkmacakklumkxnnn intxnnikarsubphnthucaepliynepnwithikarplxyklumkxnthielkkwaxxkmaaethnkhwamidepriybsphawakhwamepnhlayesllnncaxnuyatihsingmichiwitsamarthmikhnadthiihyekinkwakhidcakdthwipthiekiywkhxngkbkaraephrkracay khyaykhwam n cudniidwahakesllediywmikhnadkhyayihykhunaelw xtraswnrahwangphunphiwaelaprimatrcaldlng kardudsumaelaekhluxnyaysarxaharipthwesllcayakyingkhun nxkcaknisingmichiwithlayesllyngmikhxidepriybinmakmayhakmirangkaythiihyotodyirsungkhxcakdid singmichiwithlayesllyngmixayukhythiyunyawkwaenuxngcakphwkmnyngkhngxyurxdidhakesllidesllhnungtayip sphawahlayesllnnthaihsingmichiwithnung mikhwamsbsxnmakkhunidcakphayintwkhxngmnexng aemwathnghmdthiklawmanicaduehmuxnepnkhxidepriyb aetthwakhxmulehlanikyngkhngepnthithkethiyngknxyu enuxngdwysingmichiwitswnihythiyngmichiwitxyunnepnphwkesllediyw aelahakkhidinaengkhxngmwlchiwphaphaelwnnkduehmuxnwasingmichiwitesllediywcaprasbkhwamsaercmakkwastwesiyxikhakimnbrwmphuch aethnthicaehnwakarmixayukhythiyunyawaelakhnadthiihyotepnkhxidepriybnn brrdankchiwwithyaklbmxngaekhephiyngwaepnkhwamhlakhlayethann sungtxngmikhxaelkepliynkarepliynaeplngkhxngaesdngxxkkhxngyinsinkarepliynphancaksphawaesllediywiphasphawahlayesllinrahwangkarepliynphanthangwiwthnakarcaksingmichiwitesllediywipepnsingmichiwithlayesllnnkaraesdngxxkkhxngyinthithahnathiekiywkbkarsubphnthuaelakarexachiwitrxdkidepliynaeplngip inthanakhxngsingmichiwitesllediywnn yinthithahnathiekiywkbkarsubphnthuaelakarexatwrxdnncaaesdngxxkinlksnakhxngkaresrimsrangsmrrthphaphkhxngtwesllaetlaesll thwaemuxepliynphanipsukhwamepnhlayesllaelwnn rupaebbkhxngkaraesdngxxkkhxngyinehlanicaepntxngepliynipxyangminyyasakhyephuxihesllaetlaesllnnidthahnanicaephaakhxngtnexngthiekiywkhxngkbkarsubphnthuaelakarmichiwitrxd emuxsingmichiwithlayesllidthuxkaenidkhunma rupaebbkhxngkaraesdngxxkkhxngyinidthukkahndhruxaebngswnxxkmarahwangesllthithahnathicaephaatxkarsubphnthu esll aelaklumesllthicaephaatxkarexatwrxd inkhnathikarepliynphaniddaeninipnn esllthiidthahnathicaephaakidsuyesiykhwamepnpceckkhxngtnexngipaelaimsamarthxyurxdiddwytwexngrwmthungsubphnthuiddwytwexngnxkehnuxcakbribthkhxngklumesllkhxngtnexngxangxingBecker Wayne M aelakhna 2009 The world of the cell p 480 ISBN 978 0 321 55418 5 Chimileski Scott Kolter Roberto 2017 Life at the edge of sight a photographic exploration of the microbial world Cambridge Massachusetts The Belknap Press of Harvard University Press ISBN 978 0 674 97591 0 Lyons Nicholas A Kolter Roberto April 2015 On the evolution of bacterial multicellularity Current Opinion in Microbiology 24 21 28 doi 10 1016 j mib 2014 12 007 ISSN 1369 5274 Cytological Features Fostering the Evolution of Volvox Volvox Cambridge University Press pp 68 108 13 December 1997 subkhnemux 2 August 2023 Hall Brian K Hallgrimsson Benedikt 2008 Strickberger s evolution the integration of genes organisms and populations 4th ed ed Sudbury Mass Jones and Bartlett publ ISBN 978 0 7637 0066 9 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a edition has extra text help Gibson Wendy 29 November 2005 Faculty Opinions recommendation of The new higher level classification of eukaryotes with emphasis on the taxonomy of protists Faculty Opinions Post Publication Peer Review of the Biomedical Literature Grosberg Richard K Strathmann Richard R 1 December 2007 The Evolution of Multicellularity A Minor Major Transition Annual Review of Ecology Evolution and Systematics phasaxngkvs 38 1 621 654 doi 10 1146 annurev ecolsys 36 102403 114735 ISSN 1543 592X Parfrey Laura Wegener Lahr Daniel J G 2013 01 11 Multicellularity arose several times in the evolution of eukaryotes Response to DOI 10 1002 bies 201100187 BioEssays 35 4 339 347 doi 10 1002 bies 201200143 ISSN 0265 9247 Popper Zoe A Michel Gurvan Herve Cecile Domozych David S Willats William G T Tuohy Maria G Kloareg Bernard Stengel Dagmar B 2 June 2011 Evolution and Diversity of Plant Cell Walls From Algae to Flowering Plants Annual Review of Plant Biology phasaxngkvs 62 1 567 590 doi 10 1146 annurev arplant 042110 103809 ISSN 1543 5008 Niklas K J 2014 01 01 The evolutionary developmental origins of multicellularity American Journal of Botany phasaxngkvs 101 1 6 25 doi 10 3732 ajb 1300314 ISSN 0002 9122 Bonner John Tyler 1998 lt 27 aid inbi4 gt 3 0 co 2 6 The origins of multicellularity Integrative Biology Issues News and Reviews 1 1 27 36 doi 10 1002 sici 1520 6602 1998 1 1 lt 27 aid inbi4 gt 3 0 co 2 6 ISSN 1093 4391 Schmid Rudolf Margulis L Schwartz K V November 1988 Five Kingdoms An Illustrated Guide to the Phyla of Life on Earth Taxon 37 4 932 doi 10 2307 1222104 ISSN 0040 0262 N Seravin Lev 2001 The principle of counter directional morphological evolution and its significance for construction the megasystem of protists and other eukaryotes Protistology 2 1 6 14 ISSN 1680 0826 Parfrey Laura Wegener Lahr Daniel J G 2013 01 11 Multicellularity arose several times in the evolution of eukaryotes Response to DOI 10 1002 bies 201100187 BioEssays 35 4 339 347 doi 10 1002 bies 201200143 ISSN 0265 9247 Medina Monica Collins Allen G Taylor John W Valentine James W Lipps Jere H Amaral Zettler Linda Sogin Mitchell L 2003 07 Phylogeny of Opisthokonta and the evolution of multicellularity and complexity in Fungi and Metazoa International Journal of Astrobiology phasaxngkvs 2 3 203 211 doi 10 1017 S1473550403001551 ISSN 1475 3006 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a trwcsxbkhawnthiin date help Seckbach Joseph Chapman David J 2010 07 27 Red Algae in the Genomic Age phasaxngkvs Springer Science amp Business Media ISBN 978 90 481 3795 4 academic oup com https academic oup com mbe article 27 9 2052 1008740 login false a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a title immihruxwangepla help Richter Daniel Joseph The gene content of diverse choanoflagellates illuminates animal origins 2013 Myxozoa tolweb org Retrieved 14 April 2018 Davies P C W Lineweaver C H 2011 02 01 Cancer tumors as Metazoa 1 0 tapping genes of ancient ancestors Physical Biology 8 1 015001 doi 10 1088 1478 3975 8 1 015001 ISSN 1478 3975 PMC 3148211 PMID 21301065 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint PMC format lingk