ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
ฌาน 2
ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
- ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
ฌาน 2 ประเภท
แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
- ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
- ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
- ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
- ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
- จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
- ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
- อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
- วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
- อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง แค่รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4 แต่ตามหลักอภิธรรมโดยสภาวะ อรูปฌานทั้ง 4 ท่านจัดว่าเป็นเพียงจตุตถฌาน เพราะประกอบด้วย อุเบกขา เอกกัคคตา เช่นเดียวกับจตุตถฌานของรูปฌาน เพียงแต่มีอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งกว่า จึงแยกเรียกโดยบัญญัติว่าฌาน 8 เพื่อความเข้าใจ
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เรียกว่าสมถกรรมฐาน สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ นิวรณ์
ฌานสมาบัติ
สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึ่งเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8 อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4)
ในบางกรณี รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ
อ้างอิง
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
ดูเพิ่ม
- เซน ลักษณะของฌานในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
chan bali hrux thyan snskvt hmaythung karephngxarmncnicaenwaenepnxppnasmathi phawacitsngbpranit sungmismathiepnxngkhthrrmhlkchan 2chanaebngxxkepnsxngpraephthihy idaek xarmmnupnichchan karephngxarmn idaek smabti 8 khux rupchan 4 aelaxrupchan 4 lkkhnupnichchan karephnglksna idaek wipssna mrrkh phl wipssna chuxwa lkkhnupnichchan ephraaphinicsngkharodyitrlksn mrrkh chuxwa lkkhnupnichchan ephraayngkicaehngwipssnannihsaerc phl chuxwa lkkhnupnichchan ephraaephngniphphan xnmilksnaepn suyyta xnimitta aelaxppnihita xyanghnung aelaephraaehnlksnaxnepnsccphawakhxngniphphan xyanghnungchan 2 praephthaetodythwip emuxklawthungpraephthkhxngchan mkaebngchanxxkepnsxngpraephthihy khux chanmirupthrrmepnxarmn chanthiepnrupawcr idaekpthmchan chanthi 1 prakxbdwy witk wicar piti sukh exkkhkhta thutiychan chanthi 2 prakxbdwy piti sukh exkkhkhta ttiychan chanthi 3 prakxbdwy sukh exkkhkhta ctutthchan chanthi 4 prakxbdwy xuebkkha exkkhkhtachanmixrupthrrmepnxarmn chanthiepnxrupawcr idaekxakasanycaytna mikhwamwangeplakhuxxakasimmithisinsudepnxarmn wiyyanycaytna mikhwamwangradbnamthatukhuxkhwamwanginaebbthixaytnaphaynxkaelaphayinimkrathbkncnekidwiyyanthatukarrbrukhunepnxarmn xakiycyyaytna karimmixairelyepnxarmn enwsyyanasyyaytna cawamisyyakmiichimmisyyakmiich khuxaemaetxarmnwaimmixairelykimmi emuxklawsn wa chan 4 cahmaythung aekhrupchan 4 aelaemuxklawsn wa chan 8 cahmaythung rupchan 4 kb xrupchan 4 aettamhlkxphithrrmodysphawa xrupchanthng 4 thancdwaepnephiyngctutthchan ephraaprakxbdwy xuebkkha exkkkhkhta echnediywkbctutthchankhxngrupchan ephiyngaetmixarmnthilaexiydluksungkwa cungaeykeriykodybyytiwachan 8 ephuxkhwamekhaic singthiichepnxarmninkarephngcnidchan idmikarrwbrwmiweriykwasmthkrrmthan singthikhwangkncit imihekidchan khux niwrnchansmabtismabti epnphawasngbpranitsungphungekhathung mihlayxyang echn chansmabti phlsmabti epntn smabtithiklawthungbxykhux chansmabti klawkhux smabti 8 xnidaek chan 8 rupchan 4 kb xrupchan 4 inbangkrni rupchan 4 xacthukcaaenkihminrupaebbkhxng pycmchan epnkarcaaenktamaebbphraxphithrrm eriykwa pyckny karcaaenktamaebbphrasutr eriykwa ctukny thitxngcaaenkepnpycmchan enuxngcakchanlaphi phuidchan mi 2 praephth khux tikkhbukhkhl phuruerw aela mnthbukhkhl phurucha xnupuphphwiharsmabti 9 hmaythung smabti 8 kb niorthsmabtixangxingphrathrrmpidk prayuthth pyut ot phcnanukrmphuththsasn chbbpramwlsphth phrathrrmpidk prayuthth pyut ot phcnanukrmphuththsasn chbbpramwlthrrm duephimesn lksnakhxngchaninwthnthrrmyipun