การหลอกลวงตัวเอง (อังกฤษ: Self-deception) เป็นกระบวนการปฏิเสธหรือให้เหตุผลแก้ต่างว่า หลักฐานหรือเหตุผลที่คัดค้านความคิดความเชื่อของตน ไม่อยู่ในประเด็นหรือไม่สำคัญ เป็นการที่ทำให้ตัวเองเชื่อเรื่องความจริง (หรือความไม่จริง) อย่างหนึ่ง โดยวิธีที่ไม่ปรากฏกับตนว่ากำลังหลอกตัวเอง[]
ปัญหาการนิยาม
มติส่วนใหญ่ว่าการหลอกตัวเองคืออะไรอย่างแน่นอนยังเป็นปัญหาสำหรับนักปรัชญาในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบแบบปฏิทรรศน์ และตัวอย่างสำคัญ ๆ แต่ไม่ชัดเจนของปรากฏการณ์ นอกจากนั้นแล้ว การหลอกลวงตัวเองยังมีมิติต่าง ๆ มากมาย เช่นมิติด้านญาณวิทยา จิตวิทยา เชาวน์ปัญญา บริบททางสังคม และศีลธรรม ดังนั้น คำนี้ยังถกเถียงกันไม่จบสิ้น และบางครั้งก็อ้างว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นไปไม่ได้
ทฤษฎี
การวิเคราะห์
รูปแบบทั่วไปของปรากฏการณ์นี้ พุ่งความสนใจไปที่เรื่องการหลอกลวงผู้อื่น เช่น "นาย ก" ตั้งใจทำให้ "นาย ข" เชื่อในทฤษฎีบท p ทั้ง ๆ ที่รู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า ~p (คือว่า p ไม่เป็นความจริง) การหลอกลวงเช่นนี้เป็นเรื่องจงใจ และบังคับในตัวว่า คนหลอกต้องรู้หรือเชื่อว่า ~p ในขณะที่คนถูกหลอกต้องเชื่อว่า p ดังนั้น ในรูปแบบทั่วไปนี้ คนหลอกตัวเองจะต้อง (1) มีความเชื่อที่ขัดแย้งกัน (2) ตั้งใจทำให้ตัวเองถือเอาความเชื่อที่ตนรู้หรือเชื่อว่า ไม่เป็นจริง
แต่กระบวนการหาเหตุผลแก้ต่างหรือเข้าข้างตนเองในบุคคล สามารถอำพรางความตั้งใจหลอกตนเองของตน นักวิชาการผู้หนึ่งแสดงว่า การหาเหตุผลเช่นนั้นในสถานการณ์บางอย่าง ทำให้ปรากฏการณ์หลอกตนเองเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อบุคคลหนึ่ง ผู้จริง ๆ ไม่เชื่อในตรรกบท p ตั้งใจพยายามให้ตนเชื่อหรือรักษาความเชื่อใน p โดยใช้เหตุผลต่าง ๆ และดังนั้นจึง ทำตัวเองให้เข้าใจผิดอย่างไม่ได้ตั้งใจ เป็นการเชื่อหรือรักษาความเชื่อเกี่ยวกับ p โดยใช้ความคิดแบบเอนเอียง จึงเป็นการหลอกตัวเองโดยวิธีที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นวิธีที่ไม่ต้องตั้งใจหลอกตนเองหรือมีความคิดไม่ซื่อสัตย์โดยต่างหาก
จิตวิทยา
ปรากฏการณ์หลอกลวงตัวเองสร้างคำถามในเรื่องธรรมชาติของ "บุคคล" โดยเฉพาะในทางจิตวิทยาและในเรื่อง "ตน" (หรืออัตตา) ปฏิทรรศน์ที่อ้างว่าเป็นธรรมชาติของเรื่องนี้ มีเหตุจากความคิดที่ไม่สมเหตุผล แต่ก็มีผู้อ้างว่า ทุกคนไม่ได้มีแนวโน้มที่จะมีปรากฏการณ์นี้ นอกจากนั้นแล้ว การหาเหตุผลแก้ต่างหรือเข้าข้างตนเองยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยมากมายรวมทั้งการเข้าสังคม (socialization) ความเอนเอียงต่าง ๆ ของบุคคล ความกลัว และการกดเก็บทางประชาน (cognitive repression) และสามารถจัดเปลี่ยนได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้มองสถานการณ์เชิงลบในแง่ดีเกินไป และสถานการณ์ที่ดีแย่เกินไป ดังนั้น การหาเหตุผลแก้ต่างเพียงแนวคิดเดียว ไม่สามารถสร้างความชัดเจนต่อกระบวนการหลอกตนเอง เพราะว่าการคิดหาเหตุผลเป็นรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนได้ในการทำงานทางจิต
ปฏิทรรศน์ของการหลอกลวงตนเอง
นักปรัชญาผู้หนึ่งได้ให้แสงสว่างเกี่ยวกับความขัดแย้งกัน (หรือปฏิทรรศน์) ที่สำคัญของการหลอกลวงตนเอง ซึ่งมีสองอย่าง อย่างแรกเป็นเรื่องภาวะทางจิตของผู้หลอกตัวเอง และอย่างที่สองเป็นปฏิสัมพันธ์แบบพลวัตของการหลอกลวงตนเอง โดยมีชื่อบัญญัติว่า ปฏิทรรศน์สถิต (static paradox) และปฏิทรรศ์พลวัต (dynamic paradox) ตามลำดับ
นักปรัชญาผู้นั้นได้ให้ตัวอย่างของปฏิทรรศน์สถิตดังต่อไปนี้
ถ้านาย "ก" หลอกนาย "ข" ให้เชื่ออะไรบางอย่างว่า p เป็นเรื่องจริง และนาย ก ก็รู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า p เป็นเรื่องเท็จ ในขณะที่ทำให้นาย ข เชื่อว่า p เป็นเรื่องจริง และดังนั้น เมื่อนาย ก หลอก นาย ก เอง ให้เชื่อว่า p เป็นจริง เขาก็จะรู้หรือเชื่อจริง ๆ ว่า p เป็นเท็จ ในขณะที่ทำให้ตัวเองเชื่อว่า p เป็นเรื่องจริง ดังนั้น นาย ก ก็จะต้องเชื่อไปพร้อม ๆ กันว่า p เป็นเท็จ และว่า p เป็นจริงด้วย แล้วนี่จะเป็นไปได้อย่างไร
และพรรณนา ปฏิทรรศน์พลวัตดังต่อไปนี้
โดยทั่วไปแล้ว นาย "ก" จะไม่สามารถใช้กลยุทธ์หลอกลวงนาย "ข" ได้ ถ้านาย ข รู้เจตนาหรือแผนของนาย ก ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน เมื่อนาย ก และ ข เป็นคนเดียวกัน ดังนั้น สำหรับคนที่ต้องการหลอกตัวเอง การรู้เจตนาและกลยุทธ์ของตนเองดูเหมือนจะทำให้การหลอกตัวเองนั้นไม่มีผล และในด้านตรงกันข้าม ข้อเสนอว่า คนหลอกตัวเองมักจะใช้กลยุทธ์หลอกตัวเองอย่างสำเร็จผลโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรดูจะเป็นเรื่องน่าขัน เพราะว่า การดำเนินการตามแผนของบุคคลดูเหมือนจะต้องอาศัยความเข้าใจแผนและเป้าหมายของตนโดยทั่วไป และดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว บุคคลจะสามารถหลอกตัวเองโดยกลยุทธ์หลอกตัวเองได้หรือไม่
ดังนั้น แบบจำลองเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาว่า บุคคลจะสามารถมีความเชื่อที่ขัดกันเองได้อย่างไร (ปฏิทรรศน์สถิต) และจะสามารถหลอกตัวเองได้อย่างไรโดยที่ไม่ทำให้เจตนาของตนไร้ประสิทธิผล (ปฏิทรรศน์พลวัต) การพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เกิดแนวคิดแบ่งออกเป็นสองพวก แนวคิดหนึ่งธำรงว่า กรณีสำคัญที่เด่น ๆ ของการหลอกลวงตัวเองเป็นการทำ "โดยมีเจตนา" และอีกแนวคิดหนึ่งเป็นนัยตรงข้ามกับแนวคิดนั้น แนวคิดสองอย่างนี้เรียกว่า "พวกมีเจตนา" (intentionalist) และ "พวกไม่มีเจตนา" (non-intentionalist) ตามลำดับ
พวกนักปรัชญาที่มีความเห็นแบบแรกมักจะตกลงกันได้ว่า การหลอกลวงตนเองเป็นการกระทำโดยเจตนา แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่า จะต้องทำโดยมีความเชื่อขัดกันหรือไม่ เป็นแนวคิดที่รวมองค์ประกอบเกี่ยวกับการแบ่งเวลา (คือยืดเวลาออกเป็นเวลานาน ๆ เพิ่มโอกาสที่จะลืมว่าได้หลอกตัวเอง) หรือการแบ่งทางจิตภาพ (คือการมีด้านหรือฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับ "ตน")
โดยเปรียบเทียบกัน นักปรัชญาพวกที่สองมักจะเชื่อว่า แม้กรณีต่าง ๆ ของการหลอกลวงตนเองจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดโดยบังเอิญ แต่ก็เกิดจากความต้องการ ความวิตกกังวล และอารมณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับ p ซึ่งเป็นแนวคิดที่แยกแยะการหลอกตัวเองจากความเข้าใจผิด ยังมีคำถามและการโต้เถียงที่ยังไม่ยุติมากมายเกี่ยวปฏิทรรศน์ของการหลอกตัวเอง และทฤษฎีที่สามารถมีมติร่วมกันได้ก็ยังไม่ปรากฏ
ทฤษฎีของรอเบิร์ต ทริเวอร์
มีทฤษฎีว่า มนุษย์เสี่ยงต่อการหลอกตัวเองเพราะว่าคนโดยมากมีความติดข้องทางอารมณ์กับความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องอาจจะไร้เหตุผล มีนักชีววิทยาวิวัฒนาการ เช่น ศ.ดร.รอเบิร์ต ทริเวอร์ ที่เสนอว่า การหลอกตัวเองเป็นส่วนสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ และแม้ของสัตว์โดยทั่วไป คือ บุคคลจะหลอกตัวเองให้เชื่ออะไรบางอย่างที่ไม่จริง เพื่อจะให้สามารถยังให้คนอื่นเชื่อเรื่องนั้นได้ดีกว่า เพราะว่า เมื่อบุคคลยังให้ตัวเองเชื่อเรื่องที่ไม่จริง ก็จะสามารถซ่อนอาการหลอกลวงได้ดีกว่า
แนวคิดนี้มีมูลฐานจากเหตุผลเช่นนี้ คือ การหลอกลวงเป็นหลักอย่างหนึ่งของการสื่อสารในธรรมชาติ ทั้งในสปีชีส์เดียวกันและระหว่างสปีชีส์ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้เปรียบบุคคลอื่น เริ่มตั้งแต่การร้องตกใจจนถึงการร้องเลียนแบบ สัตว์ได้ใช้การหลอกลวงเพื่อการรอดชีวิต และสัตว์ที่สามารถรู้ว่าเป็นการหลอกลวงจะมีโอกาสสูงกว่าที่จะรอดชีวิต และดังนั้น การหลอกลวงตนเองจึงเป็นการอำพรางความตั้งใจหลอกลวงจากบุคคลอื่นที่จะรู้ได้ ดังที่ ดร.ทริเวอร์กล่าวว่า "ซ่อนความจริงจากตัวเพื่อที่จะซ่อนจากคนอื่น ๆ ได้ลึกยิ่งกว่า" ในมนุษย์ การสำนึกว่ากำลังหลอกผู้อื่นมักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น จมูกบาน เหงื่อออก เสียงเปลี่ยน การขยับตา และการกะพริบตาเร็ว และดังนั้น ถ้าการหลอกลวงตนเองสามารถทำให้ตนเชื่อเรื่องบิดเบือนเอง บุคคลนั้นจะไม่ปรากฏอาการหลอกลวง และดังนั้นจะดูเหมือนพูดความจริง
การหลอกลวงตนเองสามารถทำเพื่อให้เหมือนเก่งกว่าหรือด้อยกว่าที่ตนเป็นจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น บุคคลสามารถแสดงความมั่นใจเกินจริงเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หรือแสดงความมั่นใจน้อยเกินจริงเพื่อที่จะเลี่ยงสัตว์ล่าหรือภัยอย่างอื่น ดังนั้น ถ้าบุคคลสามารถซ่อนความรู้สึกและเจตนาของตนได้ดี ก็จะสามารถหลอกผู้อื่นได้สำเร็จมากกว่า
แต่ก็สามารถอ้างได้ว่า ความสามารถในการหลอกลวงหรือหลอกลวงตัวเอง ไม่ใช่เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือก แต่เป็นผลข้างเคียงของลักษณะที่ทั่วไปยิ่งกว่านั้นคือ ความคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking) ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบทางวิวัฒนาการหลายอย่างเช่น พฤติกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ และการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ แต่เนื่องจากว่า การโกหกเป็นพฤติกรรมทางนามธรรม กระบวนการทางจิตที่สร้างเรื่องเท็จ สามารถเกิดในสัตว์ที่สมองซับซ้อนเพียงพอที่จะให้เกิดความคิดเชิงนามธรรมได้เท่านั้น[] การหลอกตัวเองเป็นการลดเรื่องที่ต้องคิด (หรือลดการประมวลข้อมูลในสมอง) ซึ่งก็คือ มันซับซ้อนน้อยกว่าที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหรือคิดในรูปแบบที่แสดงว่าเป็นความจริง ถ้าบุคคลนั้นเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นจริง เพราะว่า สมองก็จะไม่ต้องคิดถึงเรื่องจริงและเรื่องเท็จเสมอ ๆ โดยเพียงแค่เชื่อว่า สิ่งที่เป็นเท็จเป็นเรื่องจริง
นัยที่เป็นผลของทฤษฎี
เพราะว่ามีการหลอกลวง ดังนั้นก็จะมีการคัดเลือกที่มีกำลังเพื่อความสามารถที่จะรู้ความหลอกลวงได้ ดังนั้น การหลอกลวงตนเองจึงได้วิวัฒนาการขึ้นเพื่อซ่อนอาการหลอกลวงจากคนอื่น ๆ การมีการหลอกลวงเอง เป็นตัวอธิบายการมีความสามารถแต่กำเนิดในการหลอกตัวเองเพื่อซ่อนอาการหลอกลวง ดังนั้น มนุษย์หลอกตัวเองเพื่อจะหลอกคนอื่นได้ดีกว่า และได้เปรียบต่อผู้อื่น ตั้งแต่ ดร.ทริเวอร์ได้เสนอทฤษฎีการหลอกตัวเองโดยเป็นการปรับตัวเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน ก็ได้มีการถกเถียงกันเรื่อย ๆ มาว่า พฤติกรรมเช่นนี้มีมูลฐานทางพันธุกรรมหรือไม่
แม้ว่าคำอธิบายเกี่ยวกับการหลอกลวงผู้อื่นและตัวเองว่าเป็นลักษณะแต่กำเนิดอาจจะเป็นจริง แต่ว่าก็ยังมีคำอธิบายอื่น ๆ มากมายเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้ เช่น มันเป็นไปได้ว่าความสามารถในการหลอกตัวเองไม่ได้มีแต่กำเนิด แต่เป็นลักษณะที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ยกตัวอย่างเช่น บุคคลอาจจะเคยถูกจับได้ว่าโกหกปิดความจริง โดยมีจมูกบาน ซึ่งแสดงให้คนอื่นรู้ว่ากำลังโกหก ดังนั้นจึงไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ดังนั้น ในครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่า บุคคลจะพยายามหลอกตัวเองว่าไม่มีข้อมูลที่เป็นเรื่องจริง เพื่อที่จะปิดบังการหลอกลวง ดังนั้น มนุษย์อาจจะสามารถเรียนรู้การหลอกตัวเอง
ตัวอย่าง
แม้ว่าคำศัพท์เองจะนิยามได้ยาก แต่ว่าตัวอย่างของการหลอกตัวเองในระดับต่าง ๆ มีมากมาย ตัวอย่างง่าย ๆ มีทั่วไปอย่างสามัญ เช่น คนติดสุราที่หลอกตัวเองว่าตนสามารถควบคุมการดื่มได้ สามีที่หลอกตัวเองว่าภรรยาไม่มีชู้ ผู้ร่วมงานขี้อิจฉาที่หลอกตัวเองว่า ผู้ร่วมงานประสบความสำเร็จในงานมากกว่าเพราะมีความทะเยอทะยานแบบไร้ปรานี ดร.ทริเวอร์และผู้ร่วมเขียนได้แสดงตัวอย่างที่ซับซ้อน โดยวิเคราะห์บทบาทการหลอกลวงตนเองของนักบิน ในเหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบินแอร์ฟลอริดาเที่ยวบิน 90 (Air Florida Flight 90) ที่กัปตันผู้เป็นนักบินหลักเชื่อว่า ไม่มีอะไรผิดปกติทั้ง ๆ ที่ถูกท้วงโดยนักบินรอง
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- "deception; deceit", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
การหลอกลวง
- "Self-Deception". Stanford Encyclopedia of Philosophy.
- McLaughlin, Brian P (1988). "2". Exploring the Possibility of Self-Deception in Belief. Perspectives on Self-Deception. University of California Press. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))CS1 maint: uses authors parameter () - Rorty, Amélie Oksenberg (1988). "1". The Deceptive Self: Liars, Layers, and Lairs. Perspectives on Self-Deception. University of California Press. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))CS1 maint: uses authors parameter () - Johnston, Mark (1988). "3". Self-Deception and the Nature of Mind. Perspectives on Self-Deception. University of California Press. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))CS1 maint: uses authors parameter () - Mele, Alfred R (1998). Two Paradoxes of Self-Deception. Self-Deception and Paradoxes of Rationality. CSLI Publications.
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))CS1 maint: uses authors parameter () - Trivers, Robert (2002). Natural Selection and Social Theory: Selected Papers of Robert Trivers. Oxford University Press US. ISBN .
- Trivers, RL; Newton, HP (1982-11). (PDF). Science Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-03-11.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
((help))CS1 maint: uses authors parameter ()
แหล่งข้อมูลอื่น
หนังสือ
- Hållén, Elinor (2011) . A Different Kind of Ignorance: Self-Deception as Flight from Self-Knowledge. Diss. Uppsala: Uppsala Universitet. .
- Leadership and Self Deception, by Arbinger Institute. Talks at length about self-deception and its implications for leaders - in personal and public life.
- Anatomy of Peace: Resolving the Heart of Conflict, by Arbinger Institute.
- McLaughlin, Brian P. & Amélie Oksenberg Rorty (eds.) (1988) . Perspectives on Self-Deception. California UP: Berkeley etc.
- Trivers, R. (2011) . The Folly of Fools: The Logic of Deceit and Self-Deception in Human Life. Basic Books.
วารสาร
- Teorema, Vol. XXVI/3, Monographic on Self-Deception: Conceptual Issues, Autumn 2007 2008-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Behavioral and Brain Sciences, Vol. 20 (1), 1997.
- Philosophical Psychology, Vol. 20 (3), 2007
เว็บไซต์
- Skeptic's Dictionary entry on self-deception
- Arbinger Institute - a consulting organisation based on Terry Warner's work on self-deception
- The pattern behind self-deception
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karhlxklwngtwexng xngkvs Self deception epnkrabwnkarptiesthhruxihehtuphlaektangwa hlkthanhruxehtuphlthikhdkhankhwamkhidkhwamechuxkhxngtn imxyuinpraednhruximsakhy epnkarthithaihtwexngechuxeruxngkhwamcring hruxkhwamimcring xyanghnung odywithithiimpraktkbtnwakalnghlxktwexng txngkarxangxing pyhakarniyammtiswnihywakarhlxktwexngkhuxxairxyangaennxnyngepnpyhasahrbnkprchyainpccubn sungekidcakxngkhprakxbaebbptithrrsn aelatwxyangsakhy aetimchdecnkhxngpraktkarn nxkcaknnaelw karhlxklwngtwexngyngmimititang makmay echnmitidanyanwithya citwithya echawnpyya bribththangsngkhm aelasilthrrm dngnn khaniyngthkethiyngknimcbsin aelabangkhrngkxangwa epnpraktkarnthiepnipimidthvsdikarwiekhraah rupaebbthwipkhxngpraktkarnni phungkhwamsnicipthieruxngkarhlxklwngphuxun echn nay k tngicthaih nay kh echuxinthvsdibth p thng thiruhruxechuxcring wa p khuxwa p imepnkhwamcring karhlxklwngechnniepneruxngcngic aelabngkhbintwwa khnhlxktxngruhruxechuxwa p inkhnathikhnthukhlxktxngechuxwa p dngnn inrupaebbthwipni khnhlxktwexngcatxng 1 mikhwamechuxthikhdaeyngkn 2 tngicthaihtwexngthuxexakhwamechuxthitnruhruxechuxwa imepncring aetkrabwnkarhaehtuphlaektanghruxekhakhangtnexnginbukhkhl samarthxaphrangkhwamtngichlxktnexngkhxngtn nkwichakarphuhnungaesdngwa karhaehtuphlechnnninsthankarnbangxyang thaihpraktkarnhlxktnexngekidkhunid echn emuxbukhkhlhnung phucring imechuxintrrkbth p tngicphyayamihtnechuxhruxrksakhwamechuxin p odyichehtuphltang aeladngnncung thatwexngihekhaicphidxyangimidtngic epnkarechuxhruxrksakhwamechuxekiywkb p odyichkhwamkhidaebbexnexiyng cungepnkarhlxktwexngodywithithiepnehtuepnphl aelaepnwithithiimtxngtngichlxktnexnghruxmikhwamkhidimsuxstyodytanghak citwithya praktkarnhlxklwngtwexngsrangkhathamineruxngthrrmchatikhxng bukhkhl odyechphaainthangcitwithyaaelaineruxng tn hruxxtta ptithrrsnthixangwaepnthrrmchatikhxngeruxngni miehtucakkhwamkhidthiimsmehtuphl aetkmiphuxangwa thukkhnimidmiaenwonmthicamipraktkarnni nxkcaknnaelw karhaehtuphlaektanghruxekhakhangtnexngyngidrbxiththiphlcakpccymakmayrwmthngkarekhasngkhm socialization khwamexnexiyngtang khxngbukhkhl khwamklw aelakarkdekbthangprachan cognitive repression aelasamarthcdepliynidthnginechingbwkaelaechinglb thaihmxngsthankarnechinglbinaengdiekinip aelasthankarnthidiaeyekinip dngnn karhaehtuphlaektangephiyngaenwkhidediyw imsamarthsrangkhwamchdecntxkrabwnkarhlxktnexng ephraawakarkhidhaehtuphlepnrupaebbthiprbepliynidinkarthanganthangcit ptithrrsnkhxngkarhlxklwngtnexng nkprchyaphuhnungidihaesngswangekiywkbkhwamkhdaeyngkn hruxptithrrsn thisakhykhxngkarhlxklwngtnexng sungmisxngxyang xyangaerkepneruxngphawathangcitkhxngphuhlxktwexng aelaxyangthisxngepnptismphnthaebbphlwtkhxngkarhlxklwngtnexng odymichuxbyytiwa ptithrrsnsthit static paradox aelaptithrrsphlwt dynamic paradox tamladb nkprchyaphunnidihtwxyangkhxngptithrrsnsthitdngtxipni thanay k hlxknay kh ihechuxxairbangxyangwa p epneruxngcring aelanay k kruhruxechuxcring wa p epneruxngethc inkhnathithaihnay kh echuxwa p epneruxngcring aeladngnn emuxnay k hlxk nay k exng ihechuxwa p epncring ekhakcaruhruxechuxcring wa p epnethc inkhnathithaihtwexngechuxwa p epneruxngcring dngnn nay k kcatxngechuxipphrxm knwa p epnethc aelawa p epncringdwy aelwnicaepnipidxyangir aelaphrrnna ptithrrsnphlwtdngtxipni odythwipaelw nay k caimsamarthichklyuththhlxklwngnay kh id thanay kh ruectnahruxaephnkhxngnay k sungknacaepnechnediywkn emuxnay k aela kh epnkhnediywkn dngnn sahrbkhnthitxngkarhlxktwexng karruectnaaelaklyuththkhxngtnexngduehmuxncathaihkarhlxktwexngnnimmiphl aelaindantrngknkham khxesnxwa khnhlxktwexngmkcaichklyuththhlxktwexngxyangsaercphlodythiimruwatwexngkalngthaxairducaepneruxngnakhn ephraawa kardaeninkartamaephnkhxngbukhkhlduehmuxncatxngxasykhwamekhaicaephnaelaepahmaykhxngtnodythwip aeladngnn odythwipaelw bukhkhlcasamarthhlxktwexngodyklyuththhlxktwexngidhruxim dngnn aebbcalxngechnnithaihekidpyhawa bukhkhlcasamarthmikhwamechuxthikhdknexngidxyangir ptithrrsnsthit aelacasamarthhlxktwexngidxyangirodythiimthaihectnakhxngtnirprasiththiphl ptithrrsnphlwt karphyayamaekpyhaehlani thaihekidaenwkhidaebngxxkepnsxngphwk aenwkhidhnungtharngwa krnisakhythiedn khxngkarhlxklwngtwexngepnkartha odymiectna aelaxikaenwkhidhnungepnnytrngkhamkbaenwkhidnn aenwkhidsxngxyangnieriykwa phwkmiectna intentionalist aela phwkimmiectna non intentionalist tamladb phwknkprchyathimikhwamehnaebbaerkmkcatklngknidwa karhlxklwngtnexngepnkarkrathaodyectna aetimsamarthtklngknidwa catxngthaodymikhwamechuxkhdknhruxim epnaenwkhidthirwmxngkhprakxbekiywkbkaraebngewla khuxyudewlaxxkepnewlanan ephimoxkasthicalumwaidhlxktwexng hruxkaraebngthangcitphaph khuxkarmidanhruxfaytang ekiywkb tn odyepriybethiybkn nkprchyaphwkthisxngmkcaechuxwa aemkrnitang khxngkarhlxklwngtnexngcaimicheruxngthiekidodybngexiy aetkekidcakkhwamtxngkar khwamwitkkngwl aelaxarmnxun ekiywkb p sungepnaenwkhidthiaeykaeyakarhlxktwexngcakkhwamekhaicphid yngmikhathamaelakarotethiyngthiyngimyutimakmayekiywptithrrsnkhxngkarhlxktwexng aelathvsdithisamarthmimtirwmknidkyngimprakt thvsdikhxngrxebirt thriewxr mithvsdiwa mnusyesiyngtxkarhlxktwexngephraawakhnodymakmikhwamtidkhxngthangxarmnkbkhwamechuxtang sungbangeruxngxaccairehtuphl minkchiwwithyawiwthnakar echn s dr rxebirt thriewxr thiesnxwa karhlxktwexngepnswnsakhykhxngphvtikrrmmnusy aelaaemkhxngstwodythwip khux bukhkhlcahlxktwexngihechuxxairbangxyangthiimcring ephuxcaihsamarthyngihkhnxunechuxeruxngnniddikwa ephraawa emuxbukhkhlyngihtwexngechuxeruxngthiimcring kcasamarthsxnxakarhlxklwngiddikwa aenwkhidnimimulthancakehtuphlechnni khux karhlxklwngepnhlkxyanghnungkhxngkarsuxsarinthrrmchati thnginspichisediywknaelarahwangspichis sungphthnakhunephuxihidepriybbukhkhlxun erimtngaetkarrxngtkiccnthungkarrxngeliynaebb stwidichkarhlxklwngephuxkarrxdchiwit aelastwthisamarthruwaepnkarhlxklwngcamioxkassungkwathicarxdchiwit aeladngnn karhlxklwngtnexngcungepnkarxaphrangkhwamtngichlxklwngcakbukhkhlxunthicaruid dngthi dr thriewxrklawwa sxnkhwamcringcaktwephuxthicasxncakkhnxun idlukyingkwa inmnusy karsanukwakalnghlxkphuxunmkcathaihekidxakartang echn cmukban ehnguxxxk esiyngepliyn karkhybta aelakarkaphribtaerw aeladngnn thakarhlxklwngtnexngsamarththaihtnechuxeruxngbidebuxnexng bukhkhlnncaimpraktxakarhlxklwng aeladngnncaduehmuxnphudkhwamcring karhlxklwngtnexngsamarththaephuxihehmuxnekngkwahruxdxykwathitnepncring yktwxyangechn bukhkhlsamarthaesdngkhwammnicekincringephuxdungdudephstrngkham hruxaesdngkhwammnicnxyekincringephuxthicaeliyngstwlahruxphyxyangxun dngnn thabukhkhlsamarthsxnkhwamrusukaelaectnakhxngtniddi kcasamarthhlxkphuxunidsaercmakkwa aetksamarthxangidwa khwamsamarthinkarhlxklwnghruxhlxklwngtwexng imichepnlksnasubsayphnthuthiidrbkarkhdeluxk aetepnphlkhangekhiyngkhxnglksnathithwipyingkwannkhux khwamkhidechingnamthrrm abstract thinking sungthaihmikhwamidepriybthangwiwthnakarhlayxyangechn phvtikrrmthiyudhyunaelaprbtwid aelakarsrangnwtkrrmtang aetenuxngcakwa karokhkepnphvtikrrmthangnamthrrm krabwnkarthangcitthisrangeruxngethc samarthekidinstwthismxngsbsxnephiyngphxthicaihekidkhwamkhidechingnamthrrmidethann txngkarxangxing karhlxktwexngepnkarlderuxngthitxngkhid hruxldkarpramwlkhxmulinsmxng sungkkhux mnsbsxnnxykwathibukhkhlcamiphvtikrrmhruxkhidinrupaebbthiaesdngwaepnkhwamcring thabukhkhlnnechuxwaeruxngnnepncring ephraawa smxngkcaimtxngkhidthungeruxngcringaelaeruxngethcesmx odyephiyngaekhechuxwa singthiepnethcepneruxngcring nythiepnphlkhxngthvsdi ephraawamikarhlxklwng dngnnkcamikarkhdeluxkthimikalngephuxkhwamsamarththicarukhwamhlxklwngid dngnn karhlxklwngtnexngcungidwiwthnakarkhunephuxsxnxakarhlxklwngcakkhnxun karmikarhlxklwngexng epntwxthibaykarmikhwamsamarthaetkaenidinkarhlxktwexngephuxsxnxakarhlxklwng dngnn mnusyhlxktwexngephuxcahlxkkhnxuniddikwa aelaidepriybtxphuxun tngaet dr thriewxridesnxthvsdikarhlxktwexngodyepnkarprbtwemux 3 thswrrskxn kidmikarthkethiyngkneruxy mawa phvtikrrmechnnimimulthanthangphnthukrrmhruxim aemwakhaxthibayekiywkbkarhlxklwngphuxunaelatwexngwaepnlksnaaetkaenidxaccaepncring aetwakyngmikhaxthibayxun makmayekiywkbrupaebbphvtikrrmechnni echn mnepnipidwakhwamsamarthinkarhlxktwexngimidmiaetkaenid aetepnlksnathieriynruphanprasbkarn yktwxyangechn bukhkhlxaccaekhythukcbidwaokhkpidkhwamcring odymicmukban sungaesdngihkhnxunruwakalngokhk dngnncungimidsingthitxngkar dngnn inkhrngtx ip ephuxihidphlthidikwa bukhkhlcaphyayamhlxktwexngwaimmikhxmulthiepneruxngcring ephuxthicapidbngkarhlxklwng dngnn mnusyxaccasamartheriynrukarhlxktwexngtwxyangaemwakhasphthexngcaniyamidyak aetwatwxyangkhxngkarhlxktwexnginradbtang mimakmay twxyangngay mithwipxyangsamy echn khntidsurathihlxktwexngwatnsamarthkhwbkhumkardumid samithihlxktwexngwaphrryaimmichu phurwmngankhixicchathihlxktwexngwa phurwmnganprasbkhwamsaercinnganmakkwaephraamikhwamthaeyxthayanaebbirprani dr thriewxraelaphurwmekhiynidaesdngtwxyangthisbsxn odywiekhraahbthbathkarhlxklwngtnexngkhxngnkbin inehtukarnekhruxngbintkkhxngsaykarbinaexrflxridaethiywbin 90 Air Florida Flight 90 thikptnphuepnnkbinhlkechuxwa immixairphidpktithng thithukthwngodynkbinrxngduephimphawaesiysanukkhwamphikar khwamimlngrxyknthangprachan karkuehtukhwamcaesuxm karthdlxngaebbxaphrangsxngfay karaeplkarphinicphayinphid raychuxkhwamexnexiyngthangprachan karaeplsingeraphidechingbwk karokhsnachwnechux citwithya karkahndkhwamsmehtusmphlodyxtwisy khwamprarthnahruxkhwamechuxthixyuehnuxehtuphlechingxrrthaelaxangxing deception deceit sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 karhlxklwng Self Deception Stanford Encyclopedia of Philosophy McLaughlin Brian P 1988 2 Exploring the Possibility of Self Deception in Belief Perspectives on Self Deception University of California Press ISBN 9780520061231 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help CS1 maint uses authors parameter Rorty Amelie Oksenberg 1988 1 The Deceptive Self Liars Layers and Lairs Perspectives on Self Deception University of California Press ISBN 9780520061231 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help CS1 maint uses authors parameter Johnston Mark 1988 3 Self Deception and the Nature of Mind Perspectives on Self Deception University of California Press ISBN 9780520061231 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help CS1 maint uses authors parameter Mele Alfred R 1998 Two Paradoxes of Self Deception Self Deception and Paradoxes of Rationality CSLI Publications a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help CS1 maint uses authors parameter Trivers Robert 2002 Natural Selection and Social Theory Selected Papers of Robert Trivers Oxford University Press US ISBN 978 0 19 513062 1 Trivers RL Newton HP 1982 11 PDF Science Digest khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 03 05 subkhnemux 2016 03 11 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin date help CS1 maint uses authors parameter aehlngkhxmulxunhnngsux Hallen Elinor 2011 A Different Kind of Ignorance Self Deception as Flight from Self Knowledge Diss Uppsala Uppsala Universitet ISBN 978 91 506 2206 5 Leadership and Self Deception by Arbinger Institute Talks at length about self deception and its implications for leaders in personal and public life ISBN 978 1 57675 977 6 Anatomy of Peace Resolving the Heart of Conflict by Arbinger Institute ISBN 978 1 57675 334 7 McLaughlin Brian P amp Amelie Oksenberg Rorty eds 1988 Perspectives on Self Deception California UP Berkeley etc Trivers R 2011 The Folly of Fools The Logic of Deceit and Self Deception in Human Life Basic Books ISBN 978 0 465 02755 2warsar Teorema Vol XXVI 3 Monographic on Self Deception Conceptual Issues Autumn 2007 2008 10 08 thi ewyaebkaemchchin Behavioral and Brain Sciences Vol 20 1 1997 Philosophical Psychology Vol 20 3 2007ewbist Skeptic s Dictionary entry on self deception Arbinger Institute a consulting organisation based on Terry Warner s work on self deception The pattern behind self deception