แอ็นสท์ ลูทวิช เคียร์ชเนอร์ (เยอรมัน: Ernst Ludwig Kirchner; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1938) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองอชัฟเฟินบวร์ค จักรวรรดิเยอรมัน บิดาเป็นวิศวกรซึ่งต่อมาเป็นอาจารย์สอนสาขาการวิจัยกระดาษ หลังจากที่ครอบครัวของเคียร์ชเนอร์ได้ย้ายถิ่นฐานจากสวิตเซอร์แลนด์ไปยังเมืองเค็มนิทซ์ในประเทศเยอรมนี นับตั้งแต่ ค.ศ. 1901 เขาจึงเริ่มศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ณ วิทยาลัยเทคนิคในเมืองเดรสเดินตามความประสงค์ของบิดา แต่ในเวลาต่อมา เคียร์ชเนอร์และเพื่อนนักศึกษาอีกสามคนคือ , เอริช เฮ็คเคิล และคาร์ล ชมิท-ร็อทลุฟ กลับให้ความสนใจกับการสร้างสรรค์ทางด้านจิตรกรรมมากกว่าทางด้านสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งได้ร่วมกันตั้งกลุ่มศิลปินดีบรึคเคอในปี ค.ศ. 1905 โดยจุดมุ่งหมายของศิลปินกลุ่มนี้คือ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากผลงานในลัทธิและลัทธิประทับใจอย่างสิ้นเชิง โดยเน้นการใช้รูปทรงและสีเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งใช้ความฉับพลันที่ไร้การเสแสร้งเป็นหลักในการสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสื่อในการแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อสังคมสมัยใหม่ในเวลานั้น
แอ็นสท์ ลูทวิช เคียร์ชเนอร์ | |
---|---|
เกิด | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 อชัฟเฟินบวร์ค ราชอาณาจักรบาวาเรีย จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | มิถุนายน 15, 1938 สวิตเซอร์แลนด์ | (58 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
การศึกษา | สาขาสถาปัตยกรรม เมืองเดรสเดิน |
ผลงานเด่น | Marzella, Self-Portrait as a Soldier, Sitting Woman |
ขบวนการ | ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน |
สาระในผลงานชิ้นแรก ๆ ของศิลปินกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักสะท้อนชีวิตของสังคมในเมืองใหญ่ เช่น เรื่องราวของละครสัตว์ การแสดงให้ความบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการเต้นหรือฟ้อนรำต่าง ๆ ตลอดจนภาพเปลือยและภาพทิวทัศน์ ศิลปินกลุ่มนี้ใช้ชีวิตในชนบทที่ใกล้ทะเลสาบ ทำให้ผลงานส่วนใหญ่แสดงถึงความอิสระ เช่น การเปลือยกายท่ามกลางธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุมในเชิงเรขาคณิต ลดทอนรายละเอียดรูปทรงของทั้งสิ่งของและคนให้เหลือแต่ความเรียบง่าย และใช้สีที่สดเป็นหลักในการแสดงออก ซึ่งเป็นการท้าทายผู้ชมชนชั้นกระฏุมพีโดยตรง จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามติดป้ายโฆษณาและจัดแสดงนิทรรศการผลงานของศิลปินกลุ่มนี้ และเท่ากับเป็นต้นกำเนิดของศิลปะรูปแบบใหม่ อันเป็นที่นิยมยาวนานมาเกือบสามทศวรรษ และเป็นที่รู้จักกันดีในนามของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ในปัจจุบันนี้
อิทธิพลในการสร้างงาน
เมื่อเวลาผ่านไป เคียร์ชเนอร์ผู้เป็นสมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนี้กลับเห็นว่าทัศนียภาพของเมืองเดรสเดินและปริมณฑลดูค่อนข้างล้าสมัยไปสำหรับเขา มีแต่เมืองหลวงเบอร์ลินเท่านั้นที่เปิดโอกาสให้ผลงานของเขาให้เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วกว่า เนื่องจากเขาเคยอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1909 เขาจึงตัดสินใจย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นอย่างถาวรใน ค.ศ. 1911 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เคียร์ชเนอร์ใช้ความสังเกตอันลึกซึ้งและสามารถเข้าใจสถานการณ์ของนครใหญ่ได้ชัดเจนกว่าเพื่อนร่วมกลุ่มของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระในผลงานชุดเมืองหลวงของเขา มักปรากฏหญิงกลุ่มหนึ่งแต่งตัวแบบสมัยใหม่และแต่งหน้าตาอย่างฉูดฉาด ใส่หมวกประดับขนนกและใช้หนังขนสัตว์พันคอ (ดูรูป) พวกเธอคือโสเภณี ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในแวดวงของสังคมชั้นสูงของกรุงเบอร์ลิน ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่ชอบใช้ชีวิตหาความบันเทิงเริงรมย์ในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยแหล่งสังสรรค์บันเทิง เช่น สโมสรศิลปิน ร้านกาแฟอันหรูหรา และที่นั่นย่อมรวมถึงสังคมผู้ด้อยโอกาสและสังคมปลายแถวที่มีอยู่อย่างหลากหลายอีกด้วย
จากการที่ใช้ชีวิตสมถะแบบศิลปินอันไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม และจากการที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ทำให้จิตใจของศิลปินไม่มั่นคงและตึงเครียด ผลงานของเขาจึงสะท้อนชีวิตของคนกลุ่มหนึ่งคือ โสเภณี ซึ่งเป็นอาชีพที่ถูกสังคมทั่วไปดูแคลนเช่นเดียวกันกับตัวเขาเอง
ลักษณะของผลงาน
ระหว่าง ค.ศ. 1913–1915 เคียร์ชเนอร์ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมประมาณสิบชิ้น ภาพพิมพ์ไม้ (woodcut) และภาพลายเส้นด้วยสีเทียน สีชอล์ก และสีถ่านอีกประมาณร้อยชิ้น ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ผลงานชุด "ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเบอร์ลิน" ซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงชีวิตของโสเภณีเป็นหลัก ผลงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นงานที่ดีที่สุดในชีวิตสร้างสรรค์ของศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดในรูปแบบสำแดงพลังอารมณ์ของวงการศิลปะเยอรมัน ซึ่งเคยจัดแสดงในปี ค.ศ. 2008 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (Museum of Modern Art) แห่งนครนิวยอร์ก
การย้ายที่อยู่จากเมืองเดรสเดินไปยังกรุงเบอร์ลินทำให้เคียร์ชเนอร์กลายเป็นชายหนุ่มที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยหญิงสาว ทั้ง ๆ ที่ในขณะที่เขาอยู่ในเมืองเดรสเดิน เขาเคยใช้ชีวิตคู่กับโดโด (Dodo) หญิงสาวที่มีรูปร่างค่อนข้างท้วม ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นนางแบบ แต่ในกรุงเบอร์ลิน เคียร์ชเนอร์ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับสาวแบบใหม่ และมีคู่ครองคนใหม่ซึ่งมีชื่อว่า แอร์นา ชิลลิง และน้องสาวของเธอ พี่น้องทั้งสองมีรูปร่างสูงโปร่ง ดังที่ศิลปินเคยเขียนบันทึกไว้ว่า "รูปร่างเชิงสถาปัตยกรรม" และได้กลายเป็นผู้หญิงในอุดมคติของเขา ที่สะท้อนออกมาในลักษณะของหญิงโสเภณีในผลงานชุด "ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเบอร์ลิน" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ใบหน้าของหญิงที่ปรากฏในผลงานชุดนี้ (ดูรูป) จะไม่ค่อยแสดงอัตลักษณ์ของตนเอง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ชายในภาพซึ่งเป็นลูกค้าของกลุ่มโสเภณีนี้ เอกลักษณ์ของผู้ชายเหล่านั้นกลับมีน้อยกว่าเสียอีก หรือแทบไม่เห็นความแตกต่างอย่างใด แต่ละคนกลับมีลักษณะที่เหมือนกัน ผลงานชุด "ชีวิตบนถนน" ของเคียร์ชเนอร์จึงเท่ากับเป็นสื่อสะท้อนสภาพของสังคมทั้งสองฝ่ายคือ โสเภณีและลูกค้า ที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่เป็นสังคมที่เป็นไปตามกลไกของกามกิจมากกว่าผลงานของศิลปิน
จนท้ายที่สุดใน ค.ศ. 1937 งานของเขาถูกเหล่านาซียึดไปจำนวน 639 ชิ้น เขาเสียชีวิตในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1928 ที่เมือง (Frauenkirch-Wildboden)
ผลงาน
- Sitting Woman, 1907
- Tavern, 1909
- Naked Playing People, 1910
- Portrait of a Woman, 1911
- Nollendorfplatz, 1912
- Berlin Street Scene, 1913
- Street, Berlin (1913), one of a series on this theme, depicting prostitutes
- Potsdamer Platz, 1914
- Brandenburger Tor, 1915
- Self-portrait as a
Sick Person, 1918 - Two Brothers, 1921
- View of Basel and
the Rhine, 1921 - The Visit-Couple and Newcomer, 1922
- Fränzi in front of Carved Chair, 1910, , Madrid
อ้างอิง
- Barron, Stephanie. German expressionism. Munich: Prestel,1988.
- Elger, Dietmar. Expressionism. Koln: Taschen, 2002.
- โวล์ฟ, นอร์แบร์ท. เอกซ์เพรสชั่นนิสม์. กรุงเทพฯ : เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aexnsth luthwich ekhiyrchenxr eyxrmn Ernst Ludwig Kirchner 6 phvsphakhm kh s 1880 15 mithunayn kh s 1938 epncitrkraelachangphimphchaweyxrmn ekidthiemuxngxchfefinbwrkh ckrwrrdieyxrmn bidaepnwiswkrsungtxmaepnxacarysxnsakhakarwicykradas hlngcakthikhrxbkhrwkhxngekhiyrchenxridyaythinthancakswitesxraelndipyngemuxngekhmnithsinpraethseyxrmni nbtngaet kh s 1901 ekhacungerimsuksawichasthaptykrrm n withyalyethkhnikhinemuxngedrsedintamkhwamprasngkhkhxngbida aetinewlatxma ekhiyrchenxraelaephuxnnksuksaxiksamkhnkhux exrich ehkhekhil aelakharl chmith rxthluf klbihkhwamsnickbkarsrangsrrkhthangdancitrkrrmmakkwathangdansthaptykrrm phrxmthngidrwmkntngklumsilpindibrukhekhxinpi kh s 1905 odycudmunghmaykhxngsilpinklumnikhux karsrangsrrkhphlnganinrupaebbihmthiaetktangcakphlnganinlththiaelalththiprathbicxyangsineching odyennkarichrupthrngaelasiepnxngkhprakxb rwmthngichkhwamchbphlnthiirkaresaesrngepnhlkinkarsrangsrrkh ephuxepnsuxinkaraesdngxxkthungkhwamrusukthimitxsngkhmsmyihminewlannaexnsth luthwich ekhiyrchenxrekid6 phvsphakhm kh s 1880 1880 05 06 xchfefinbwrkh rachxanackrbawaeriy ckrwrrdieyxrmnesiychiwitmithunayn 15 1938 1938 06 15 58 pi switesxraelndsychatieyxrmnkarsuksasakhasthaptykrrm emuxngedrsedinphlnganednMarzella Self Portrait as a Soldier Sitting Womankhbwnkarlththisaaedngphlngxarmnaebbeyxrmn sarainphlnganchinaerk khxngsilpinklumni swnihymksathxnchiwitkhxngsngkhminemuxngihy echn eruxngrawkhxnglakhrstw karaesdngihkhwambnethingtang sungaesdngihehnthungkhwamekhluxnihwkhxngphukhn imwacaepnkaretnhruxfxnratang tlxdcnphaphepluxyaelaphaphthiwthsn silpinklumniichchiwitinchnbththiiklthaelsab thaihphlnganswnihyaesdngthungkhwamxisra echn karepluxykaythamklangthrrmchati odyichrupthrngthiepnehliymepnmuminechingerkhakhnit ldthxnraylaexiydrupthrngkhxngthngsingkhxngaelakhnihehluxaetkhwameriybngay aelaichsithisdepnhlkinkaraesdngxxk sungepnkarthathayphuchmchnchnkratumphiodytrng cnepnehtuihecahnathitarwchamtidpayokhsnaaelacdaesdngnithrrskarphlngankhxngsilpinklumni aelaethakbepntnkaenidkhxngsilparupaebbihm xnepnthiniymyawnanmaekuxbsamthswrrs aelaepnthiruckkndiinnamkhxnglththisaaedngphlngxarmninpccubnni studioxkhxngekhiyrchenxrxiththiphlinkarsrangnganemuxewlaphanip ekhiyrchenxrphuepnsmachikthisakhykhnhnunginklumniklbehnwathsniyphaphkhxngemuxngedrsedinaelaprimnthldukhxnkhanglasmyipsahrbekha miaetemuxnghlwngebxrlinethannthiepidoxkasihphlngankhxngekhaihepnthiyxmrbaelaprasbkhwamsaercidxyangrwderwkwa enuxngcakekhaekhyxasyxyuinkrungebxrlinin kh s 1909 ekhacungtdsinicyayiptngthinthanxyuthinnxyangthawrin kh s 1911 sungaesdngihehnwa ekhiyrchenxrichkhwamsngektxnluksungaelasamarthekhaicsthankarnkhxngnkhrihyidchdecnkwaephuxnrwmklumkhxngekha odyechphaaxyangyingsarainphlnganchudemuxnghlwngkhxngekha mkprakthyingklumhnungaetngtwaebbsmyihmaelaaetnghnataxyangchudchad ishmwkpradbkhnnkaelaichhnngkhnstwphnkhx durup phwkethxkhuxosephni sungekhluxnihwxyuinaewdwngkhxngsngkhmchnsungkhxngkrungebxrlin swnihyepnnkthurkicthichxbichchiwithakhwambnethingeringrmyinemuxnghlwngthietmipdwyaehlngsngsrrkhbnething echn somsrsilpin rankaaefxnhruhra aelathinnyxmrwmthungsngkhmphudxyoxkasaelasngkhmplayaethwthimixyuxyanghlakhlayxikdwy cakkarthiichchiwitsmthaaebbsilpinxnimepnthiyxmrbinsngkhm aelacakkarthiichchiwitxyuinsphaphaewdlxmechnni thaihcitickhxngsilpinimmnkhngaelatungekhriyd phlngankhxngekhacungsathxnchiwitkhxngkhnklumhnungkhux osephni sungepnxachiphthithuksngkhmthwipduaekhlnechnediywknkbtwekhaexnglksnakhxngphlnganrahwang kh s 1913 1915 ekhiyrchenxridsrangsrrkhphlngancitrkrrmpramansibchin phaphphimphim woodcut aelaphaphlayesndwysiethiyn sichxlk aelasithanxikpramanrxychin phlnganthimichuxesiyngthisudkhux phlnganchud chiwitbnthxngthnninkrungebxrlin sungswnihyaesdngthungchiwitkhxngosephniepnhlk phlnganehlaniimephiyngaetepnnganthidithisudinchiwitsrangsrrkhkhxngsilpinethann aetyngepnphlnganthisakhythisudinrupaebbsaaedngphlngxarmnkhxngwngkarsilpaeyxrmn sungekhycdaesdnginpi kh s 2008 n phiphithphnthsilpasmyihm Museum of Modern Art aehngnkhrniwyxrk karyaythixyucakemuxngedrsedinipyngkrungebxrlinthaihekhiyrchenxrklayepnchayhnumthithukhxmlxmipdwyhyingsaw thng thiinkhnathiekhaxyuinemuxngedrsedin ekhaekhyichchiwitkhukbodod Dodo hyingsawthimiruprangkhxnkhangthwm sungehmaasahrbepnnangaebb aetinkrungebxrlin ekhiyrchenxridmioxkasthakhwamruckkbsawaebbihm aelamikhukhrxngkhnihmsungmichuxwa aexrna chilling aelanxngsawkhxngethx phinxngthngsxngmiruprangsungoprng dngthisilpinekhyekhiynbnthukiwwa ruprangechingsthaptykrrm aelaidklayepnphuhyinginxudmkhtikhxngekha thisathxnxxkmainlksnakhxnghyingosephniinphlnganchud chiwitbnthxngthnninkrungebxrlin nbtngaetnnepntnma thungaemibhnakhxnghyingthipraktinphlnganchudni durup caimkhxyaesdngxtlksnkhxngtnexng aetemuxepriybethiybkbklumphuchayinphaphsungepnlukkhakhxngklumosephnini exklksnkhxngphuchayehlannklbminxykwaesiyxik hruxaethbimehnkhwamaetktangxyangid aetlakhnklbmilksnathiehmuxnkn phlnganchud chiwitbnthnn khxngekhiyrchenxrcungethakbepnsuxsathxnsphaphkhxngsngkhmthngsxngfaykhux osephniaelalukkha thiimmikhwamepntwkhxngtwexng aetepnsngkhmthiepniptamklikkhxngkamkicmakkwaphlngankhxngsilpin cnthaythisudin kh s 1937 ngankhxngekhathukehlanasiyudipcanwn 639 chin ekhaesiychiwitinwnthi 15 mithunayn kh s 1928 thiemuxng Frauenkirch Wildboden phlnganSitting Woman 1907 Tavern 1909 Naked Playing People 1910 Portrait of a Woman 1911 Nollendorfplatz 1912 Berlin Street Scene 1913 Street Berlin 1913 one of a series on this theme depicting prostitutes Potsdamer Platz 1914 Brandenburger Tor 1915 Self portrait as a Sick Person 1918 Two Brothers 1921 View of Basel and the Rhine 1921 The Visit Couple and Newcomer 1922 Franzi in front of Carved Chair 1910 MadridxangxingBarron Stephanie German expressionism Munich Prestel 1988 Elger Dietmar Expressionism Koln Taschen 2002 owlf nxraebrth exksephrschnnism krungethph edxaekrthifnxarth 2552