แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือ ที่คนทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่า “แพทย์ฟื้นฟู” หรือ "หมอฟื้นฟู" ไม่ใช่ "หมอกายภาพบำบัด" เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยที่มีความผิดปกติหรือมีโรคระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ฯลฯ ที่ส่งผลให้สมรรถภาพร่างกายถดถอย และ/หรือมีความพิการ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันหรือการทำงานได้ตามปกติ ทั้งนี้ อาศัยหลักการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ช่วยฟื้นสภาพและความสามารถให้ผู้ป่วย/ผู้พิการ รวมถึงส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการ และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้พิการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ที่ได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อทำการรักษาและฟื้นฟูทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในภาษาอังกฤษคำว่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ว่า Rehabilitation physician (แบบ UK) หรือ Rehabilitation doctor (แบบ UK) หรือ Physiatrist (แบบ US อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตริส) ก็ได้
หน้าที่
ทำการตรวจวินิจฉัยโรค ประเมิน รักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเป็นซ้ำหรือภาวะแทรกซ้อน แก่ผู้ป่วยที่มีความพิการ หรือเสื่อมสมรรถภาพทางกาย ด้วยวิธีการใช้ยา การทำหัตถการ การใช้เครื่องมือ การออกกำลังกายจำเพาะ การให้คำแนะนำทางการแพทย์ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือหรือทดแทน หรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม
กลุ่มผู้ป่วยที่มักเข้ารับการรักษากับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เช่น
- ผู้ป่วยและผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเป็นในภายหลัง เช่น แขน-ขาขาด (Limb amputee) , อัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral vascular disorder) , อัมพาตจากภาวะไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury) , ความผิดปรกติทางการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมภายหลังสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) , เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy) , เด็กที่ไม่มีแขนขาแต่กำเนิด (Congenital limb deficiency) , เด็กพัฒนาการช้า เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดทั้งชนิดเรื้อรังและไม่เรื้อรัง (Pain syndrome)
- ผู้ป่วยที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปรกติของระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อ รวมถึงผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ) อีกด้วย
- ผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ)
- ผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตรวจประเมินการทำงานของระบบควบคุมการถ่ายปัสสาวะส่วนล่าง (ตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะลงมา)
- ผู้ที่ต้องการให้ตรวจประเมิน เพื่อออกเอกสารรับรองความพิการ สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวชนิดต่างๆ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac rehabilitation) ประเภทต่างๆ (เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, ลิ้นหัวใจรั่ว ฯลฯ) ทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือสวนหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคทางปอด (Pulmonary rehabilitation) เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น
- ผู้ที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- นักกีฬาที่บาดเจ็บจากการซ้อมหรือแข่งขัน หรือต้องการคำแนะนำในการเพิ่มสมรรถภาพในการเล่นกีฬา
- ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ เป็นต้น
รายละเอียดอื่นๆดูได้ที่ เวชศาสตร์ฟื้นฟู
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทย
เนื่องจากจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทยมีไม่มากนัก (รวมทั้งหมดที่ลงทะเบียนประมาณ 300 คนทั้งประเทศ รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ทำงานหรือเสียชีวิตไปแล้วด้วย) จึงมีอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่เท่านั้น เช่น โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลประจำจังหวัด (ยังมีไม่ครบทุกจังหวัด) โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของทหารและตำรวจ โรงพยาบาลขนาดใหญ่สังกัดกรุงเทพฯ โรงพยาบาลขนาดใหญ่สังกัดกรมการแพทย์ และศูนย์ฟื้นฟูต่างๆเท่านั้น (เช่น ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์ฯกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น) ในส่วนภาคเอกชนเอง ก็มีเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่บางโรงเท่านั้น
การอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทย
ในอดีต เคยมีการส่งแพทย์ไปเรียนสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่อมาถูกระงับโครงการไป และได้มีงานกายภาพบำบัดขึ้นมาทดแทน ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนามขึ้น ทางราชการได้เล็งเห็นว่าสมควรจะมีแพทย์ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยการส่งแพทย์ไปเรียนต่อยังต่างประเทศ
ภายหลังเมื่อมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมากขึ้นในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดการเรียนการสอนแก่นิสิต/นักศึกษาแพทย์ และต่อมาจึงได้มีการอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูขึ้นในประเทศไทย
ปัจจุบันนี้ การอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทยใช้เวลาอบรมนาน 3 ปี โดยรับแพทย์ที่ผ่านการปฏิบัติงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี เมื่ออบรมและสอบผ่านแล้ว จะได้รับวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูจากแพทยสภา โดยมีสถาบันที่เปิดการอบรมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 7 แห่งได้แก่
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (โรงพยาบาลรามาธิบดี)
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (โรงพยาบาลศิริราช)
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่)
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (โรงพยาบาลศรีนครินทร์)
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โรงพยาบาลสงขลานครินทร์)
นอกจากนี้ หากเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากต่างประเทศ หรือไม่ได้ผ่านการอบรมแต่ปฏิบัติงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูในโรงพยาบาลที่มีแผนกดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีแล้ว ก็มีสิทธิเข้าสอบเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ โดยได้รับอนุมัติบัตรสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูจากแพทยสภา เมื่อสอบผ่าน
ในปัจจุบัน มีจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทยทั้งสิ้น 305 คน (ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก และไม่สามารถพอเพียงต่อความต้องการของประเทศและไม่สามารถครอบคลุมถึงโรงพยาบาลขนาดเล็กได้ดังกล่าวข้างต้น
กลุ่มองค์กรของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทย
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรของตนเองคือ สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย และยังได้พระราชกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง ราชวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการของเหล่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่สนใจในสาขาย่อยของเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มเป็นชมรมขึ้นมา เช่น ชมรมฟื้นฟูหัวใจ ชมรมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูภาคใต้ เป็นต้น
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในต่างประเทศ
ในประเทศต่างๆ มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูทำงานอยู่เช่นกัน และแต่ละประเทศมีการเปิดการอบรมโดยใช้เวลาไม่เท่ากัน โดยใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 5 ปีในการอบรม ซึ่งขึ้นกับนโยบายของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการเปิดอบรมสาขาย่อยต่างๆ อาทิ เวชศาตร์ฟื้นฟูระบบประสาท (Neuro-rehabilitaton), ไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis) เป็นต้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย
- ราชวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย
- ประวัติพลตรีขุนประทุมโรคประหาร กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aephthyewchsastrfunfu hrux thikhnthwiperiyksn wa aephthyfunfu hrux hmxfunfu imich hmxkayphaphbabd epnaephthyphuechiywchaythimikhwamsamarthinkarbabdrksaaelafunfuphupwythukephsthukwythimikhwamphidpktihruxmiorkhrabbprasath klamenux kradukaelakhx l thisngphlihsmrrthphaphrangkaythdthxy aela hruxmikhwamphikar sungthaihphupwyimsamarthdaeninkicwtrpracawnhruxkarthanganidtampkti thngni xasyhlkkarthangewchsastrfunfu chwyfunsphaphaelakhwamsamarthihphupwy phuphikar rwmthungsngesrimsukhphaph pxngknkhwamphikar aelaprbsphaphaewdlxmihexuxtxkhwamepnxyu ephuxihphupwy phuphikarsamarthklbipichchiwitpracawnidiklekhiyngedimmakthisudethathicaepnipid aephthyewchsastrfunfu khuxaephthyechphaathangsakhahnung thiidrbkarxbrmmaodyechphaa ephuxthakarrksaaelafunfuthangewchsastrfunfu inphasaxngkvskhawaaephthyewchsastrfunfuichwa Rehabilitation physician aebb UK hrux Rehabilitation doctor aebb UK hrux Physiatrist aebb US xanwa fis say ex tris kidhnathithakartrwcwinicchyorkh praemin rksa funfusphaphrangkay sngesrimsukhphaph aelapxngknkarepnsahruxphawaaethrksxn aekphupwythimikhwamphikar hruxesuxmsmrrthphaphthangkay dwywithikarichya karthahtthkar karichekhruxngmux karxxkkalngkaycaephaa karihkhaaenanathangkaraephthy karichxupkrnchwyehluxhruxthdaethn hruxwithikarxunthiehmaasmklumphupwythimkekharbkarrksakbaephthyewchsastrfunfuechn phupwyaelaphuphikarthangkayaelakarekhluxnihw thngthiepnmaaetkaenid hruxepninphayhlng echn aekhn khakhad Limb amputee xmphatkhrungsikcakorkhhlxdeluxdsmxng Cerebral vascular disorder xmphatcakphawaikhsnhlngidrbbadecb Spinal cord injury khwamphidprktithangkarekhluxnihwaelaphvtikrrmphayhlngsmxngidrbbadecb Traumatic brain injury edksmxngphikar Cerebral palsy edkthiimmiaekhnkhaaetkaenid Congenital limb deficiency edkphthnakarcha epntn phupwythimixakarecbpwdthngchnideruxrngaelaimeruxrng Pain syndrome phupwythimixakarekrngkhxngklamenux phupwythimiorkhhruxkhwamphidprktikhxngrabbklamenux aelakhxtx rwmthungphupwyhlngkarphatdthangxxrothpidiks kradukaelakhx xikdwy phupwythithuksngmatrwcsphaphesnprasath rabbprasath aelaklamenux dwywithikarthangiffawinicchy ichiffakratunintrwc phupwythithuksngmatrwcpraeminkarthangankhxngrabbkhwbkhumkarthaypssawaswnlang tngaetkraephaapssawalngma phuthitxngkarihtrwcpraemin ephuxxxkexksarrbrxngkhwamphikar sahrbphuphikarthangkarekhluxnihwchnidtang phupwyorkhhwic Cardiac rehabilitation praephthtang echn orkhhwickhadeluxd linhwicrw l thngkxnaelahlngkarrksadwywithikarphatdhruxswnhwic phupwyorkhthangpxd Pulmonary rehabilitation echn orkhpxdxudkneruxrng epntn phuthibadecbcakkarelnkila nkkilathibadecbcakkarsxmhruxaekhngkhn hruxtxngkarkhaaenanainkarephimsmrrthphaphinkarelnkila phupwyklumxun echn phusungxayu phupwyorkhmaerng hyingmikhrrph phupwythithukifihm epntn raylaexiydxunduidthi ewchsastrfunfuaephthyewchsastrfunfuinpraethsithyenuxngcakcanwnaephthyewchsastrfunfuinpraethsithymiimmaknk rwmthnghmdthilngthaebiynpraman 300 khnthngpraeths rwmthungphuthiimidthanganhruxesiychiwitipaelwdwy cungmixyuthiorngphyabalrthkhnadihyethann echn orngphyabalsngkdmhawithyalytang orngphyabalpracacnghwd yngmiimkhrbthukcnghwd orngphyabalkhnadihykhxngthharaelatarwc orngphyabalkhnadihysngkdkrungethph orngphyabalkhnadihysngkdkrmkaraephthy aelasunyfunfutangethann echn sunysirinthrephuxkarfunfusmrrthphaphthangkaraephthyaehngchati krmkaraephthy krathrwngsatharnsukh sunykaycnaphiesk mhawithyalymhidl epntn inswnphakhexkchnexng kmiechphaainorngphyabalkhnadihybangorngethannkarxbrmaephthyechphaathangsakhaewchsastrfunfuinpraethsithyinxdit ekhymikarsngaephthyiperiynsakhaewchsastrfunfumatngaetsmykxnsngkhramolkkhrngthi 2 aettxmathukrangbokhrngkarip aelaidmingankayphaphbabdkhunmathdaethn txmaemuxekidsngkhramewiydnamkhun thangrachkaridelngehnwasmkhwrcamiaephthythangewchsastrfunfukhuninpraethsithyxikkhrng odykarsngaephthyiperiyntxyngtangpraeths phayhlngemuxmiaephthyewchsastrfunfumakkhuninorngphyabalkhxngmhawithyaly cungidcdkareriynkarsxnaeknisit nksuksaaephthy aelatxmacungidmikarxbrmaephthyechphaathangsakhaewchsastrfunfukhuninpraethsithy pccubnni karxbrmaephthyechphaathangsakhaewchsastrfunfuinpraethsithyichewlaxbrmnan 3 pi odyrbaephthythiphankarptibtinganmaaelwxyangnxy 1 pi emuxxbrmaelasxbphanaelw caidrbwuthibtrsakhaewchsastrfunfucakaephthyspha odymisthabnthiepidkarxbrmaephthyewchsastrfunfu 7 aehngidaek khnaaephthysastr orngphyabalramathibdi mhawithyalymhidl orngphyabalramathibdi orngphyabalphramngkudekla krmaephthythharbk khnaaephthysastr culalngkrnmhawithyaly orngphyabalculalngkrn sphakachadithy khnaaephthysastrsirirachphyabal mhawithyalymhidl orngphyabalsirirach khnaaephthysastr mhawithyalyechiyngihm orngphyabalmharachnkhrechiyngihm khnaaephthysastr mhawithyalykhxnaekn orngphyabalsrinkhrinthr khnaaephthysastr mhawithyalysngkhlankhrinthr orngphyabalsngkhlankhrinthr nxkcakni hakepnaephthythiphankarxbrmcaktangpraeths hruximidphankarxbrmaetptibtingandanewchsastrfunfuinorngphyabalthimiaephnkdngklawepnewlaxyangnxy 5 piaelw kmisiththiekhasxbepnaephthyewchsastrfunfuid odyidrbxnumtibtrsakhaewchsastrfunfucakaephthyspha emuxsxbphan inpccubn micanwnaephthyewchsastrfunfuinpraethsithythngsin 305 khn n eduxnthnwakhm ph s 2550 sungepncanwnthinxymak aelaimsamarthphxephiyngtxkhwamtxngkarkhxngpraethsaelaimsamarthkhrxbkhlumthungorngphyabalkhnadelkiddngklawkhangtnklumxngkhkrkhxngaephthyewchsastrfunfuinpraethsithyaephthyewchsastrfunfumikarrwmklumepnxngkhkrkhxngtnexngkhux smakhmewchsastrfunfuaehngpraethsithy aelayngidphrarachkrunaoprdeklaihcdtng rachwithyalyaephthysastrfunfuaehngpraethsithy ephuxpraoychnthangwichakarkhxngehlaaephthyewchsastrfunfuxikdwy nxkcakniyngmiklumaephthyewchsastrfunfuthisnicinsakhayxykhxngewchsastrfunfu idrwmtwcdtngepnklumepnchmrmkhunma echn chmrmfunfuhwic chmrmaephthyewchsastrfunfuphakhit epntnaephthyewchsastrfunfuintangpraethsinpraethstang miaephthyewchsastrfunfuthanganxyuechnkn aelaaetlapraethsmikarepidkarxbrmodyichewlaimethakn odyichewlatngaet 3 thung 5 piinkarxbrm sungkhunkbnoybaykhxngaetlapraeths nxkcakniinbangpraeths echn shrthxemrika mikarepidxbrmsakhayxytang xathi ewchsatrfunfurabbprasath Neuro rehabilitaton iffawinicchy Electrodiagnosis epntnduephimewchsastrfunfuxangxingsmakhmewchsastrfunfuaehngpraethsithy rachwithyalyaephthysastrfunfuaehngpraethsithy prawtiphltrikhunprathumorkhprahar kxngewchsastrfunfu orngphyabalphramngkudekla