บทความนี้ไม่มีจาก |
บทความนี้อาจมีรวมอยู่ |
ก๊าซชีวภาพ (อังกฤษ: biogas หรือ digester gas) คือก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน (anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึงก๊าซมีเทน ที่เกิดจากการหมัก (fermentation) ของสารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี
องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน (CH4) ประมาณ 50-70% และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน (H2) ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ไนโตรเจน (N) และไอน้ำ
ก๊าซชีวภาพมีชื่ออื่นอีกคือ ก๊าซหนองน้ำ และ มาร์ชก๊าซ (marsh gas) ขึ้นกับแหล่งที่มันเกิด กระบวนการนี้เป็นที่นิยมในการเปลี่ยนประเภทอินทรีย์ทั้งหลายไปเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากกำจัดขยะได้แล้วยังทำลายเชื้อโรคได้ด้วย การใช้ก๊าซชีวภาพเป็นที่ควรได้รับการสนับสนุนเพราะไม่เป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศที่เป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) ส่วนการเผาไหม้ก๊าซชีวภาพซึ่งมีแก๊สมีเทนเป็นส่วนประกอบหลักจะสะอาดกว่า
ความเป็นมาของการผลิตก๊าซชีวภาพ
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายผุพังของสารอินทรีย์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 โดย Robert Boyle และ Stephen Hale โดยทั้งสองได้พูดถึงการกวนตะกอนในลำธารและทะเลสาบซึ่งทำให้มีก๊าซที่สามารถติดไฟได้ลอยขึ้นมา ในปี 1859 Sir Humphrey Davy ได้กล่าวไว้ว่าในก๊าซที่เกิดจากขี้วัวนั้นมีแก๊สมีเทนอยู่ด้วย ในอินเดียในปี1859 ได้มีการสร้างถังหมักก๊าซในสภาวะไร้อากาศ(anaerobic digester)ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในปี 1885 ในอังกฤษได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาโดยใช้ถังสิ่งปฏิกูลผลิตก๊าซแล้วนำก๊าซไปจุดไฟส่องสว่างตามถนน พอถึงปี1907 ก็ได้มีการออกสิทธิบัตรสำหรับถังหมักก๊าซชีวภาพในเยอรมนี
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 การหมักก๊าซในสภาวะไร้อากาศก็เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงนักวิชาการกันมากขึ้น ได้มีการวิจัยค้นคว้าและพบจุลินทรีย์ที่เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาและมีการศึกษาถึงสภาวะแวดลัอมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เหล่านี้
ในชนบทในประเทศกำลังพัฒนา การใช้ก๊าซชีวภาพจากขยะทางการเกษตรหรือเศษอาหารจากครัวเรือน สามารถเป็นทางเลือกสำหรับพลังงานราคาถูก ไม่ว่าจะเพื่อแสงสว่างหรือการทำอาหาร ในช่วง 30 ปีทีผ่านมา ทั้งรัฐบาลของอินเดียและจีนต่างก็ได้ให้การสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนซึ่งนอกจากจะลดค่ายังชีพแล้ว ยังเป็นการลดภาระของโครงข่ายพลังงานของชาติด้วย ในประเทศพัฒนาแล้ว การนำเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้ ยังเป็นการลดการปล่อยมลภาวะรวมถึงแก๊สเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งเสื่อมโทรมลง นอกจากนี้ยังมีผลผลิตพลอยได้ต่างๆ เช่นปุ๋ยอินทรีย์
ยิ่งในทุกวันนี้โลกกำลังเผชิญวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤติพลังงาน ก๊าซชีวภาพจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นการช่วยแก้ทั้งสองปัญหา ปัจจุบันรัฐบาลของหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างก็ให้การส่งสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ และสนับสนุนผู้ที่ทำการผลิตก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆอีกด้วย
การส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพมานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ในระยะแรกจำกัดอยู่ในระดับครัวเรือนหรือเกษตรกรรายย่อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 คณะทำงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุนจากองค์การ GTZ (Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit) ประเทศเยอรมนี ได้จัดตั้ง "โครงการก๊าซชีวภาพไทย-เยอรมัน" ขึ้น เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ระบบก๊าซชีวภาพในช่วงเวลาที่ผ่านมา พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพให้มีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมากขึ้น
ปี พ.ศ. 2534 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ต่อเนื่องจากโครงการก๊าซชีวภาพไทย-เยอรมัน รวมทั้งเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประยุกต์ใช้ในฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และในปลายปี พ.ศ. 2538 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ สพช. (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. กระทรวงพลังงาน) ได้ให้การสนับสนุนแก่หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ ดำเนินงาน "โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ระยะที่ 1" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 หน่วยบริการก๊าซชีวภาพได้รับการจัดตั้งเป็น "สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" และต่อมา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น "สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"[] ซึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน
ใหญ่จำนวนของเทคโนโลยีเพื่อนคนเคลื่อนย้ายงั้นขอ biogas แนะนำที่บริษัท Biteco ซึ่งเป็นตลาดเป็นผู้นำในการก่อสร้างของ biogas ต้นไม้ด้วย
กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะปราศจากออกซิเจน(Anaerobic digestion)
ก๊าซชีวภาพเกิดจากการหมักของสารอินทรีย์โดยมีจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรียเช่นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างมีเทน (methane-producing bacteria)หรือ และจุลินทรีย์กลุ่มสร้างกรด (acid-producing bacteria) มาช่วยย่อยในสภาวะไร้อากาศ ในกระบวนการย่อยในสภาวะไร้อากาศ เป็นการที่จุลินทรีย์ต่างๆ ทำปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ ลงจากสิ่งมีชีวิตซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนลงเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยลงเป็นขั้นๆ ไป
กระบวนการหมักย่อยในสภาวะไร้อากาศแบ่งเป็น 4 ขั้นดังนี้
- ไฮโดรลิซิส(Hydrolysis): สารอินทรีย์(เศษพืชผัก เนื้อสัตว์) มีองค์ประกอบสำคัญคือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน แบคทีเรียจะปล่อยเอ็นไซม์เอกซ์ตราเซลลูลาร์ (extra cellular enzyme) มาช่วยละลายโครงสร้างโมเลกุลอันซับซ้อนให้แตกลงเป็นโมเลกุลเชิงเดี่ยว (monomer) เช่นการย่อยสลายแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส การย่อยสลายไขมันเป็นกรดไขมัน และการย่อยโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
- แอซิดิฟิเคชั่น หรือ แอซิโดเจเนซิส(Acidification/ Acidogenesis):การย่อยสลายสารอินทรีย์เชิงเดี่ยว (monomer)เป็นกรดระเหยง่าย (volatile fatty acid) กรดคาร์บอน แอลกอฮอลล์ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และไฮโดรเจน
- อะซิโตเจเนซิส (Acetogenesis) เปลี่ยนกรดระเหยง่ายเป็นกรดอะซิติกหรือเกลืออะซิเทตซึ่งเป็นสารตั้งต้นหลักในการผลิตมีเทน
- เมทาไนเซชั่น หรือ เมทาโนเจเนซิส (Methanization/Methanogenesis): กรดอะซิติก และอื่นๆ จากขั้น 2 รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนบางส่วน จะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นมีเทนโดยเมทาโนเจน (methanogen)
CH3COOH --> CH4 + CO2
กรดอะซิติก มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์
2CH3CH2OH + CO2 --> CH4 + 2CH3COOH
เอทานอล คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน กรดออะซิติก
CO2 + 4H2 --> CH44 + 2H2O
คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน มีเทน น้ำ
แบคทีเรียเมทาโนเจนิคหรือเมทาโนเจน(Methanogenic bacteria หรือ methanogens)
เมทาโนเจน คือแบคทีเรียที่ดำรงชีวิตภายใต้สภาวะไร้อากาศ(anaerobic) ในวงจรชีวิตของมัน เมทาโนเจน จะย่อยสารอาหารและปล่อยก๊าซต่างๆ ซึ่งรวมถึงมีเทนด้วย เมทาโนเจน มีอยู่หลายชนิดโดยแบ่งออกเป็นสี่ประเภทหลักๆ ตามลักษณะทางเซลล์วิทยา (cytology) (Alexander, 1961).
- A. Rod-shaped Bacteria
- (a) Non-sporulating, Methanobacterium
- (b) Sporulating, Methanobacillus
- B. Spherical
- (a) Sarcinae, Methanosarcina
- (b) Not in Sarcinal groups, Methanococcus
Methanogenนั้นพัฒนาและเพิ่มจำนวนได้ช้า ทั้งยังค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันทั้งทางกายภาพ หรือทางเคมี ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนและการเกิดก๊าซ อย่างไรก็ตามเมทาโนเจนนั้นสามารถอยู่ได้โดยไม่มีอาหารเพิ่มเติมได้นานเป็นเดือน
ปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
การย่อยสลายสารอินทรีย์และการผลิตแก๊สมีปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
- อุณหภูมิในการเดินระบบ (operating temperature)เมทาโนเจน ไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่ต่ำมากหรือสูงมากได้ ถ้าหากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า10 °Cแบคทีเรียจะหยุดทำงาน
- อุณหภูมิในการเดินระบบแบ่งเป็นสองระดับตามสปีชีส์ของเมทาโนเจน ได้แก่เมโซฟิลิก(Mesophilic)และเทอร์โมฟิลิก(Thermophilic)
- อุณหภูมิที่เหมาะที่เมโซฟิลิก ทำงานได้ดีคือประมาณ 20 °C – 45 °C แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วง 37 °C – 41 °C โดยในช่วงอุณหภูมิระดับนี้แบคทีเรียส่วนใหญ่ในถังหมักจะเป็นเมโซฟิลิก
- เทอร์โมฟิลิก ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่สูงกว่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือประมาณ 50 °C – 52 °C แต่ก็สามารถทำงานในอุณหภูมิที่สูงขึ้นไปถึง 70 °C
- อุณหภูมิในการเดินระบบแบ่งเป็นสองระดับตามสปีชีส์ของเมทาโนเจน ได้แก่เมโซฟิลิก(Mesophilic)และเทอร์โมฟิลิก(Thermophilic)
แบคทีเรียMเมโซฟิลิกนั้นมีจำนวนสปีชีส์มากกว่าเทอร์โมฟิลิก นอกจากนี้ยังสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเทอร์โมฟิลิกอีกด้วย ทำให้ระบบหมักก๊าซชีวภาพที่ใช้เมโซฟิลิก เสถียรกว่า แต่ขณะเดียวกันอุณหภูมิซึ่งสูงกว่าในระบบที่ใช้เทอร์โมฟิลิกก็เป็นการช่วยเร่งปฏิกิริยาส่งผลให้อัตราการผลิตก๊าซสูงกว่า ข้อเสียอีกข้อของระบบเทอร์โมฟิลิก คือการที่ต้องใช้พลังงานจากภายนอกมาเพิ่มความร้อนให้ระบบ ทำให้อาจได้พลังงานสุทธิที่ต่ำกว่า
- ความเป็นกรด-ด่าง (pH Value) ค่าpH ที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตก๊าซชีวภาพคือระหว่าง 7.0 – 7.2 ค่าpHในถังหมักขึ้นอยู่กับช่วงของการหมักด้วย เพราะในช่วงแรกแบคทีเรียที่สร้างกรดจะสร้างกรดเป็นจำนวนมากและทำให้ค่าpHลดลง ซึ่งถ้าหากpHลดลงต่ำกว่า5ก็จะหยุดกระบวนการย่อยและหมักทั้งหมดหรืออีกนัยหนึ่งก็คือแบคทีเรียตาย Methanogen นั้นอ่อนไหวต่อความเป็นกรดด่างมาก และจะไม่เจริญเติบโตหากpHต่ำกว่า6.5 ในช่วงท้ายของกระบวนการ ความเข้มข้นของ NH4 จะมากขึ้นตามการย่อยสลายไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าpHเพิ่มโดยอาจเกิน 8 จนกระทั่งระบบผลิตเริ่มมีความเสถียร pH จะอยู่ระหว่าง 6.8 – 8
- อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N Ratio) อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของขยะอินทรีย์ที่สามารถใช้ผลิตก๊าซชีวภาพคือตั้งแต่ 8– 30 แต่อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพคือประมาณ 23 ถ้าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน สูงมาก ไนโตรเจนจะถูกMethanogenนำไปใช้เพื่อเสริมโปรตีนให้ตัวเองและจะหมดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ได้ก๊าซน้อย แต่ถ้าหากC/N Ratio ต่ำมากๆ ก็จะทำให้ไนโตรเจนมีมากและไปเกาะกันเป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียจะไปเพิ่มค่าpHซึ่งถ้าหากค่าpHสูงถึง8.5ก็จะเริ่มเป็นพิษกับแบคทีเรียทำให้จำนวนMethanogenลดลง นอกจากนี้หากC/N ratio อยู่นอกเหนือจากช่วง 8-30 จะทำให้มีสัดส่วนปริมาณก๊าซที่ได้เป็นก๊าซอื่นๆ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น
มูลสัตว์โดยเฉพาะวัวควายมีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่เหมาะสมที่สุด รองลงมาก็ได้แก่พวกดอกจอกผักตบและเศษอาหาร ขณะที่ฟางมีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ค่อนข้างจะสูง อย่างไรก็ตามสามารถนำวัตถุดิบที่มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาผสมกับวัตถุดิบที่มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำได้ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ต้องการ
- ปริมาณสารอินทรีย์เข้าสู่ระบบ(Loading) ปริมาณสารอินทรีย์เข้าสู่ระบบคือ ปริมาณสารอินทรีย์ที่เราเติมใส่ถังหมักในแต่ละวัน ซึ่งถ้าหากว่าปริมาณที่เราเติมนั้นมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ค่า pH ลดลงมากเกินไป(เนื่องจากในช่วงแรกของกระบวนการคือ acidogenesis กรดจะถูกผลิตขึ้นมา)จนทำให้ระบบล้มเหลวเนื่องจาก methanogen ตายหมด ซึ่งหากสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงก็จะต้องเริ่มต้นระบบใหม่หมด แต่ถ้าหากปริมาณสารอินทรีย์เข้าสู่ระบบน้อยก๊าซที่ผลิตได้ก็จะน้อยตามไปด้วย เท่ากับว่าไม่ได้เดินระบบเต็มตามกำลังการผลิต ทำให้ถังหมักมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่จำเป็น
- ระยะเวลาการกักเก็บสารอินทรีย์ในถังหมัก (Retention time) ระยะเวลาในการกักเก็บสารอินทรีย์ในถังหมักขึ้นอยู่กับปริมาณ และประเภทของสารอินทรีย์ที่เติมเข้าไปซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป รวมถึงรูปแบบของระบบ/ถังหมัก หากระยะเวลาในการกักเก็บสั้นไปก็จะไม่พอสำหรับแบคทีเรียที่จะผลิตก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้แบคทีเรียยังจะถูกถ่ายออกจากระบบเร็วเกินไปส่งผลให้จำนวนแบคทีเรียลดลงไป ทำให้แบคทีเรียที่เหลืออยู่ทำการย่อยไม่ทันและอาจทำให้ค่าpHในถังหมักลดลงขึ้น ขณะเดียวกัน การที่ระยะเวลากักเก็บนานเกินไปจะทำให้เกิดตะกอนของสารอินทรีย์ที่แบคทีเรียย่อยสลายแล้วสะสมอยู่ทำให้ถังหมักมีขนาดใหญ่โดยไม่จำเป็น ระยะเวลาในการกักเก็บส่วนใหญ่จะประมาณ 14- 60 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ ค่าTSC อุณหภูมิขนาดและประเภทของdigesterและปริมาณสารอินทรีย์ที่เติม ระยะเวลาในการกักเก็บนั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าแบคทีเรียจะมีชีวิตได้นานเท่าไหร่โดยไม่มีการเติมอาหาร เนื่องจากระยะเวลาการกักเก็บนั้นหมายถึงระยะเวลาที่แบคทีเรียต้องการเพื่อย่อยอาหารให้หมด ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่แบคทีเรียยังย่อยอาหารไม่หมดก็หมายความว่าแบคทีเรียจะยังไม่ตายจากการขาดอาหาร
- ปริมาณของแข็ง (Total Solid Content, TSC)
- Solid content ของสารอินทรีย์ในการผลิตก๊าซชีวภาพแบ่งเป็นสองระดับคือ
- High-solid (ปริมาณของแข็งสูง) TSC สูงกว่า ~ 20%
- Low-solid (ปริมาณของแข็งต่ำ) TSC ต่ำกว่า ~ 15%
- Solid content ของสารอินทรีย์ในการผลิตก๊าซชีวภาพแบ่งเป็นสองระดับคือ
ถังหมักที่ออกแบบสำหรับเติมสารอินทรีย์ high solid จะต้องใช้พลังงานมากกว่าในการสูบน้ำตะกอน (slurry) แต่เนื่องจากในระบบ high solid ความเข้มข้นของน้ำในถังหมักสูงกว่า พื้นที่ที่ใช้ก็จะน้อยกว่า ในทางกลับกัน ถังหมัก Low solid สามารถใช้เครื่องสูบน้ำทั่วไปที่ใช้พลังงานน้อยกว่าสูบน้ำตะกอน แต่ก็ต้องใช้พื้นที่มากกว่าเนื่องจากปริมาตรต่อสารอินทรีย์ที่เติมเข้าไปสูงขึ้น กระนั้นก็ดี การที่น้ำตะกอนมีความใสกว่าก็ทำให้การหมุนเวียนและกระจายตัวของของแบคทีเรียและสารอินทรีย์ดีขึ้นและการที่แบคทีเรียสามารถสัมผัสสารอินทรีย์อย่างทั่วถึงก็ช่วยให้การย่อยและการผลิตก๊าซเร็วขึ้น
- การคลุกเคล้า (Mixing) การคลุกเคล้าตะกอน น้ำ และ สารอินทรีย์ เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนเพราะจะทำให้แบคทีเรียสัมผัสกับสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง ทำให้แบคทีเรียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้การเกิดก๊าซเร็วขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้ยังป้องกันการตกตะกอนและตะกอนลอย(Scum) ซึ่งตะกอนอาจจะไปอุดช่องทางสำหรับระบายของเหลวจากถัง
- สารอาหาร(nutrient) สารอาหารที่แบคทีเรียต้องการเพื่อการเจริญเติบโต นอกเหนือไปจากคาร์บอนและไฮโดรดเจนแล้ว ยังมีไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม นอกจากนี้ก็มีธาตุที่จำเป็นในปริมาณน้อยมากๆ เช่น เหล็ก แมงกานีส ลิบดินัม สังกะสี โคบอลต์ ซิลิเนียม ทังเสตน และนิเกิลเป็นต้น แต่ขยะอินทรีย์โดยทั่วไปจะมีธาตุอาหารเหล่านี้ในระดับที่สมดุลพอเพียง เพราะฉะนั้น ในการหมักจึงไม่จำเป็นต้องเติมสารอาหารใดๆ ลงไป
- สารยับยั้งและสารพิษ (inhibiting and Toxic Materials) เช่น กรดไขมันระเหยได้ ไฮโดรเจน หรือแอมโมเนีย รวมถึงธาตุไอออน, สารพิษ, โลหะหนัก, สารทำความสะอาดต่างๆ เช่นสบู่ น้ำยาล้างต่างๆ และยาปฏิชีวนะ สามารถส่งผลยับยั้งการเจริญเติบโตและการผลิตก๊าซของแบคทีเรียได้
ธาตุไอออนในปริมาณน้อย(เช่น โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ซัลเฟอร์, แอมโมเนียม)สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียเช่นกัน แต่ถ้าหากปริมาณนั้นมากก็จะส่งผลเป็นพิษได้ ยกตัวอย่างเช่นแอมโมเนียในปริมาณ50-200มิลิกรัมต่อลิตรจะเป็นผลดี ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่เมื่อใดที่ความเข้มข้นของแอมโมเนียสูงกว่า1,500 มิลิกรัมต่อลิตรก็จะเริ่มส่งผลเสีย ในทางเดียวกัน โลหะหนักบางประเภท(เช่น ทองแดง, นิเกิล, โครเมียม, สังกะสี, ตะกั่ว และอื่นๆ) ในปริมาณที่น้อยๆ ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่เมื่อความเข้มข้นสูงก็จะเป็นพิษ
- อัลคาลินิตี้ (Alkalinity) ค่าอัลคาลินิตี้ หมายถึง ความสามารถในการรักษาระดับความเป็นกรด-ด่าง ค่าอัลคาลินิตี้ที่เหมาะสมต่อการหมักมีค่าประมาณ ๑,๐๐๐-๕,๐๐๐ มิลลิกรัม/ลิตร ในรูปของแคลเซียมคาร์บอร์เนต (CaCO3)
- ชนิดและแบบของบ่อแก๊สชีวภาพ (Biogas Plant) บ่อแก๊สชีวภาพ แบ่งตามลักษณะการทำงาน ลักษณะของของเสียที่เป็นวัตถุดิบ และประสิทธิภาพการทำงานได้เป็น ๒ ชนิดใหญ่ ดังนี้
- บ่อหมักช้าหรือบ่อหมักของแข็ง บ่อหมักช้าที่มีการสร้างใช้ประโยชน์กันและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มี ๓ แบบหลักคือ
- แบบยอดโดม (fined dome digester)
- แบบฝาครอบลอย (floating drum digester) หรือแบบอินเดีย (Indian digester)
- แบบพลาสติกคลุมราง (plastic covered ditch) หรือแบบปลั๊กโฟลว์ (plug flow digester)
- บ่อหมักเร็วหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย แบ่งได้เป็น ๒ แบบหลัก คือ
- แบบบรรจุตัวกลางในสภาพไร้ออกซิเจน (Anaerobic Filter) หรืออาจเรียกตามชื่อย่อว่า แบบเอเอฟ (AF) ตัวกลางที่ใช้ทำได้จากวัสดุหลายชนิด เช่น ก้อนหิน กรวด พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อน เป็นต้น ในลักษณะของบ่อหมักเร็วแบบนี้ จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนบนตัวกลางที่ถูกตรึงอยู่
- แบบยูเอเอสบี (UASB หรือ Upflow Anaerobic Sludge Blanker) บ่อหมักเร็วแบบนี้ใช้ตะกอนของสารอินทรีย์ (sludge) ที่เคลื่อนไหวภายในบ่อหมักเป็นตัวกลางให้จุลินทรีย์เกาะ ลักษณะการทำงานของบ่อหมักเกิดขึ้น โดยการควบคุมความเร็วของน้ำเสียให้ไหลเข้าบ่อหมักจากด้านล่างขึ้นสู่ ด้านบนตะกอนส่วนที่เบาจะลอยตัวไปพร้อมกับน้ำเสียที่ไหลล้นออกนอกบ่อตะกอนส่วนที่หนัก จะจมลงก้นบ่อ
- บ่อหมักช้าหรือบ่อหมักของแข็ง บ่อหมักช้าที่มีการสร้างใช้ประโยชน์กันและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มี ๓ แบบหลักคือ
อ้างอิง
- "Friendly fuel trains". (Oct. 30, 2005). , p. F17.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Energy Research and Development Institute - Nakornping, Chiang Mai University[]
- Biogas Fuel Cell Project AMONCO 2006-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biogas Fuel Cell RTD Profactor
- Environmental Costs Biogas Fuel Cycle EXTERNE 2006-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biogas Biofuel Stockholm 2006-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biogas Biofuel Lille 2006-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biogas as fuel Trendsetter Project[]
- Anaerobic Digestion—Biogas Plant Applications
- Human Feces Powers Rwandan Prison
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir bthkhwamnixacmingankhnkhwatnchbbrwmxyukrunaprbprungodyephimhlkthanphisucnyunynkhxkhwamthixangaelaephimkarxangxinginbrrthd khxkhwamthimiechphaangankhnkhwatnchbbephiyngxyangediywkhwrthuklbesiy eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir kaschiwphaph xngkvs biogas hrux digester gas khuxkasthiekidkhuntamthrrmchaticakkarhmkyxyslaykhxngsarxinthriyphayitsphawathiprascakxxksiecn anaerobic digestion odythwipcahmaythungkasmiethn thiekidcakkarhmk fermentation khxngsarxinthriy odykrabwnkarnisamarthekidkhunidinhlumkhya kxngmulstw aelaknbxaehlngnaning klawkhuxemuxidktamthimisarxinthriyhmkhmmknepnewlanankxacekidkaschiwphaph aetniepnephiyngaekhhlkkarthangthvstithxsngkaschiwphaph ebuxnghna aelaaeksthrrmchatiehlw xngkhprakxbswnihyepnaeksmiethn CH4 praman 50 70 aelaaekskharbxnidxxkisd CO2 praman 30 40 swnthiehluxepnaekschnidxun echn ihodecn H2 xxksiecn O2 ihodrecnslifd H2S inotrecn N aelaixna kaschiwphaphmichuxxunxikkhux kashnxngna aela marchkas marsh gas khunkbaehlngthimnekid krabwnkarniepnthiniyminkarepliynpraephthxinthriythnghlayipepnkraaesiffa nxkcakkacdkhyaidaelwyngthalayechuxorkhiddwy karichkaschiwphaphepnthikhwridrbkarsnbsnunephraaimepnkarephimkaskharbxnidxxkisd inchnbrryakasthiepntnehtukhxngpraktkarneruxnkrack greenhouse effect swnkarephaihmkaschiwphaphsungmiaeksmiethnepnswnprakxbhlkcasaxadkwakhwamepnmakhxngkarphlitkaschiwphaphnkwithyasastrkhnphbkasthiekidcakkaryxyslayphuphngkhxngsarxinthriykhrngaerkinstwrrsthi 17 ody Robert Boyle aela Stephen Hale odythngsxngidphudthungkarkwntakxninlatharaelathaelsabsungthaihmikasthisamarthtidifidlxykhunma inpi 1859 Sir Humphrey Davy idklawiwwainkasthiekidcakkhiwwnnmiaeksmiethnxyudwy inxinediyinpi1859 idmikarsrangthnghmkkasinsphawairxakas anaerobic digester khunepnkhrngaerk aelatxmainpi 1885 inxngkvsidmikarkhidkhnnwtkrrmihmkhunmaodyichthngsingptikulphlitkasaelwnakasipcudifsxngswangtamthnn phxthungpi1907 kidmikarxxksiththibtrsahrbthnghmkkaschiwphaphineyxrmni inchwngthswrrsthi 1930 karhmkkasinsphawairxakaskerimepnthiruckinaewdwngnkwichakarknmakkhun idmikarwicykhnkhwaaelaphbculinthriythiepntwthaihekidptikiriyaaelamikarsuksathungsphawaaewdlxmthiexuxtxkarecriyetibotkhxngculinthriyehlani inchnbthinpraethskalngphthna karichkaschiwphaphcakkhyathangkarekstrhruxessxaharcakkhrweruxn samarthepnthangeluxksahrbphlngnganrakhathuk imwacaephuxaesngswanghruxkarthaxahar inchwng 30 pithiphanma thngrthbalkhxngxinediyaelacintangkidihkarsnbsnunkarphlitkaschiwphaphradbkhrweruxnsungnxkcakcaldkhayngchiphaelw yngepnkarldpharakhxngokhrngkhayphlngngankhxngchatidwy inpraethsphthnaaelw karnaethkhonolyikarphlitkaschiwphaphipich yngepnkarldkarplxymlphawarwmthungaekseruxnkracksusingaewdlxmthinbwncayingesuxmothrmlng nxkcakniyngmiphlphlitphlxyidtang echnpuyxinthriy yinginthukwnniolkkalngephchiywikvtipyhasingaewdlxmaelawikvtiphlngngan kaschiwphaphcungyingmikhwamsakhymakkhun ephraaepnkarchwyaekthngsxngpyha pccubnrthbalkhxnghlay praethsrwmthungpraethsithytangkihkarsngsrimkarphlitkaschiwphaph aelasnbsnunphuthithakarphlitkaschiwphaphinrupaebbtangxikdwykarsngesrimkarphlitkaschiwphaphinpraethsithypraethsithymikarsngesrimethkhonolyikaschiwphaphmanankwa 20 piaelw aetinrayaaerkcakdxyuinradbkhrweruxnhruxekstrkrrayyxy txmainpi ph s 2531 khnathangankhxngmhawithyalyechiyngihm rwmkbkrmsngesrimkarekstr krathrwngekstraelashkrn odykarsnbsnuncakxngkhkar GTZ Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit praethseyxrmni idcdtng okhrngkarkaschiwphaphithy eyxrmn khun ephuxsuksapyhakarichrabbkaschiwphaphinchwngewlathiphanma phrxmthngprbprungaelaphthnaethkhonolyikaschiwphaphihmikhwamehmaasminkarprayuktichkbfarmeliyngstwinpraethsithymakkhun pi ph s 2534 idmikarcdtnghnwybrikarkaschiwphaph sngkdsthabnwicyaelaphthnawithyasastraelaethkhonolyi mhawithyalyechiyngihm ephuxdaeninkarsngesrimethkhonolyikaschiwphaph txenuxngcakokhrngkarkaschiwphaphithy eyxrmn rwmthngephuxdaeninkarsuksawicyaelaphthnaethkhonolyiihsamarthprayuktichinfarm eliyngstwidxyangkwangkhwangmakyingkhun aelainplaypi ph s 2538 kxngthunephuxsngesrimkarxnurksphlngngan sankngankhnakrrmkarnoybayphlngnganaehngchati hrux sphch pccubn khux sankngannoybayaelaaephnphlngngan hrux snph krathrwngphlngngan idihkarsnbsnunaekhnwybrikarkaschiwphaph daeninngan okhrngkarsngesrimkarphlitkaschiwphaphinfarmeliyngstw rayathi 1 cnkrathnginpi ph s 2551 hnwybrikarkaschiwphaphidrbkarcdtngepn sthabnwicyaelaphthnaphlngngan mhawithyalyechiyngihm aelatxma inpi ph s 2553 smedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumariidphrarachthanchuxhnwynganihm epn sthabnwicyaelaphthnaphlngngannkhrphingkh mhawithyalyechiyngihm lingkesiy sungiddaeninokhrngkarsngesrimkarphlitkaschiwphaphtxenuxngmacwbcnpccubn ihycanwnkhxngethkhonolyiephuxnkhnekhluxnyayngnkhx biogas aenanathibristh Biteco sungepntladepnphunainkarkxsrangkhxng biogas tnimdwykrabwnkaryxyslaysarxinthriyinsphawaprascakxxksiecn Anaerobic digestion kaschiwphaphekidcakkarhmkkhxngsarxinthriyodymiculinthriycaphwkaebkhthieriyechnculinthriyklumsrangmiethn methane producing bacteria hrux aelaculinthriyklumsrangkrd acid producing bacteria machwyyxyinsphawairxakas inkrabwnkaryxyinsphawairxakas epnkarthiculinthriytang thaptikiriyayxyslaysarxinthriy lngcaksingmichiwitsungmiokhrngsrangthisbsxnlngepnokhrngsrangthisbsxnnxylngepnkhn ip krabwnkarhmkyxyinsphawairxakasaebngepn 4 khndngni ihodrlisis Hydrolysis sarxinthriy essphuchphk enuxstw mixngkhprakxbsakhykhux kharobihedrt ikhmn aelaoprtin aebkhthieriycaplxyexnismexkstraesllular extra cellular enzyme machwylalayokhrngsrangomelkulxnsbsxnihaetklngepnomelkulechingediyw monomer echnkaryxyslayaepngepnnatalkluokhs karyxyslayikhmnepnkrdikhmn aelakaryxyoprtinepnkrdxamion aexsidifiekhchn hrux aexsiodecensis Acidification Acidogenesis karyxyslaysarxinthriyechingediyw monomer epnkrdraehyngay volatile fatty acid krdkharbxn aexlkxhxll kharbxnidxxkisd aexmomeniy aelaihodrecn xasiotecensis Acetogenesis epliynkrdraehyngayepnkrdxasitikhruxekluxxasiethtsungepnsartngtnhlkinkarphlitmiethn emthaineschn hrux emthaonecensis Methanization Methanogenesis krdxasitik aelaxun cakkhn 2 rwmthungkharbxnidxxkisdaelaihodrecnbangswn caekhasukrabwnkarepliynepnmiethnodyemthaonecn methanogen CH3COOH gt CH4 CO2 krdxasitik miethn kharbxnidxxkisd 2CH3CH2OH CO2 gt CH4 2CH3COOH exthanxl kharbxnidxxkisd miethn krdxxasitik CO2 4H2 gt CH44 2H2O kharbxnidxxkisd ihodrecn miethn naaebkhthieriyemthaonecnikhhruxemthaonecn Methanogenic bacteria hrux methanogens emthaonecn khuxaebkhthieriythidarngchiwitphayitsphawairxakas anaerobic inwngcrchiwitkhxngmn emthaonecn cayxysarxaharaelaplxykastang sungrwmthungmiethndwy emthaonecn mixyuhlaychnidodyaebngxxkepnsipraephthhlk tamlksnathangesllwithya cytology Alexander 1961 A Rod shaped Bacteria a Non sporulating Methanobacterium b Sporulating Methanobacillus B Spherical a Sarcinae Methanosarcina b Not in Sarcinal groups Methanococcus Methanogennnphthnaaelaephimcanwnidcha thngyngkhxnkhangxxnihwtxkarepliynaeplngxyangkathnhnthngthangkayphaph hruxthangekhmi sunghakmikarepliynaeplngxyangkathnhnekidkhunkcasngphlkrathbtxkarephimcanwnaelakarekidkas xyangirktamemthaonecnnnsamarthxyuidodyimmixaharephimetimidnanepneduxnpccyaelasphaphaewdlxmtangthimiphltxkarphlitkaschiwphaphkaryxyslaysarxinthriyaelakarphlitaeksmipccytang ekiywkhxngdngtxipni xunhphumiinkaredinrabb operating temperature emthaonecn imsamarththntxxunhphumithitamakhruxsungmakid thahakxunhphumildlngtakwa10 Caebkhthieriycahyudthangan xunhphumiinkaredinrabbaebngepnsxngradbtamspichiskhxngemthaonecn idaekemosfilik Mesophilic aelaethxromfilik Thermophilic xunhphumithiehmaathiemosfilik thanganiddikhuxpraman 20 C 45 C aetthiehmaasmthisudkhux chwng 37 C 41 C odyinchwngxunhphumiradbniaebkhthieriyswnihyinthnghmkcaepnemosfilik ethxromfilik thanganiddiinchwngxunhphumithisungkwa odyxunhphumithiehmaasmthisudkhuxpraman 50 C 52 C aetksamarththanganinxunhphumithisungkhunipthung 70 C aebkhthieriyMemosfiliknnmicanwnspichismakkwaethxromfilik nxkcakniyngsamarththntxkarepliynaeplngkhxngsphaphaewdlxmiddikwaethxromfilikxikdwy thaihrabbhmkkaschiwphaphthiichemosfilik esthiyrkwa aetkhnaediywknxunhphumisungsungkwainrabbthiichethxromfilikkepnkarchwyerngptikiriyasngphlihxtrakarphlitkassungkwa khxesiyxikkhxkhxngrabbethxromfilik khuxkarthitxngichphlngngancakphaynxkmaephimkhwamrxnihrabb thaihxacidphlngngansuththithitakwa khwamepnkrd dang pH Value khapH thiehmaasmthisudinkarphlitkaschiwphaphkhuxrahwang 7 0 7 2 khapHinthnghmkkhunxyukbchwngkhxngkarhmkdwy ephraainchwngaerkaebkhthieriythisrangkrdcasrangkrdepncanwnmakaelathaihkhapHldlng sungthahakpHldlngtakwa5kcahyudkrabwnkaryxyaelahmkthnghmdhruxxiknyhnungkkhuxaebkhthieriytay Methanogen nnxxnihwtxkhwamepnkrddangmak aelacaimecriyetibothakpHtakwa6 5 inchwngthaykhxngkrabwnkar khwamekhmkhnkhxng NH4 camakkhuntamkaryxyslayinotrecnthiephimkhun sungcasngphlihkhapHephimodyxacekin 8 cnkrathngrabbphliterimmikhwamesthiyr pH caxyurahwang 6 8 8xtraswnkharbxntxinotrecn C N Ratio xtraswnkhxngkharbxntxinotrecnkhxngkhyaxinthriythisamarthichphlitkaschiwphaphkhuxtngaet 8 30 aetxtraswnthiehmaasmthisudsahrbkarphlitkaschiwphaphkhuxpraman 23 thaxtraswnkharbxntxinotrecn sungmak inotrecncathukMethanogennaipichephuxesrimoprtinihtwexngaelacahmdxyangrwderw sngphlihidkasnxy aetthahakC N Ratio tamak kcathaihinotrecnmimakaelaipekaaknepnaexmomeniy aexmomeniycaipephimkhapHsungthahakkhapHsungthung8 5kcaerimepnphiskbaebkhthieriythaihcanwnMethanogenldlng nxkcaknihakC N ratio xyunxkehnuxcakchwng 8 30 cathaihmisdswnprimankasthiidepnkasxun echnkharbxnidxxkisdsungkhun mulstwodyechphaawwkhwaymixtraswnkharbxntxinotrecnthiehmaasmthisud rxnglngmakidaekphwkdxkcxkphktbaelaessxahar khnathifangmixtraswnkharbxntxinotrecnthikhxnkhangcasung xyangirktamsamarthnawtthudibthimixtraswnkharbxntxinotrecnsungmaphsmkbwtthudibthimixtraswnkharbxntxinotrecntaid ephuxihidwtthudibthimixtraswnkharbxntxinotrecnthitxngkar primansarxinthriyekhasurabb Loading primansarxinthriyekhasurabbkhux primansarxinthriythieraetimisthnghmkinaetlawn sungthahakwaprimanthieraetimnnmakekinip kcasngphlihkha pH ldlngmakekinip enuxngcakinchwngaerkkhxngkrabwnkarkhux acidogenesis krdcathukphlitkhunma cnthaihrabblmehlwenuxngcak methanogen tayhmd sunghaksingniekidkhuncringkcatxngerimtnrabbihmhmd aetthahakprimansarxinthriyekhasurabbnxykasthiphlitidkcanxytamipdwy ethakbwaimidedinrabbetmtamkalngkarphlit thaihthnghmkmikhnadihyekinipodyimcaepnrayaewlakarkkekbsarxinthriyinthnghmk Retention time rayaewlainkarkkekbsarxinthriyinthnghmkkhunxyukbpriman aelapraephthkhxngsarxinthriythietimekhaipsungmilksnaaelakhunsmbtithiaetktangknip rwmthungrupaebbkhxngrabb thnghmk hakrayaewlainkarkkekbsnipkcaimphxsahrbaebkhthieriythicaphlitkaschiwphaph nxkcakniaebkhthieriyyngcathukthayxxkcakrabberwekinipsngphlihcanwnaebkhthieriyldlngip thaihaebkhthieriythiehluxxyuthakaryxyimthnaelaxacthaihkhapHinthnghmkldlngkhun khnaediywkn karthirayaewlakkekbnanekinipcathaihekidtakxnkhxngsarxinthriythiaebkhthieriyyxyslayaelwsasmxyuthaihthnghmkmikhnadihyodyimcaepn rayaewlainkarkkekbswnihycapraman 14 60 wn khunxyukbpccytang khux khaTSC xunhphumikhnadaelapraephthkhxngdigesteraelaprimansarxinthriythietim rayaewlainkarkkekbnnepntwbngchiwaaebkhthieriycamichiwitidnanethaihrodyimmikaretimxahar enuxngcakrayaewlakarkkekbnnhmaythungrayaewlathiaebkhthieriytxngkarephuxyxyxaharihhmd dngnnemuxihrktamthiaebkhthieriyyngyxyxaharimhmdkhmaykhwamwaaebkhthieriycayngimtaycakkarkhadxaharprimankhxngaekhng Total Solid Content TSC Solid content khxngsarxinthriyinkarphlitkaschiwphaphaebngepnsxngradbkhux High solid primankhxngaekhngsung TSC sungkwa 20 Low solid primankhxngaekhngta TSC takwa 15 thnghmkthixxkaebbsahrbetimsarxinthriy high solid catxngichphlngnganmakkwainkarsubnatakxn slurry aetenuxngcakinrabb high solid khwamekhmkhnkhxngnainthnghmksungkwa phunthithiichkcanxykwa inthangklbkn thnghmk Low solid samarthichekhruxngsubnathwipthiichphlngngannxykwasubnatakxn aetktxngichphunthimakkwaenuxngcakprimatrtxsarxinthriythietimekhaipsungkhun krannkdi karthinatakxnmikhwamiskwakthaihkarhmunewiynaelakracaytwkhxngkhxngaebkhthieriyaelasarxinthriydikhunaelakarthiaebkhthieriysamarthsmphssarxinthriyxyangthwthungkchwyihkaryxyaelakarphlitkaserwkhun karkhlukekhla Mixing karkhlukekhlatakxn na aela sarxinthriy epnswnthisakhyxikswnephraacathaihaebkhthieriysmphskbsarxinthriyidxyangthwthung thaihaebkhthieriythanganidxyangmiprasiththiphaphmakkhun sngphlihkarekidkaserwkhunaelamakkhun nxkcakniyngpxngknkartktakxnaelatakxnlxy Scum sungtakxnxaccaipxudchxngthangsahrbrabaykhxngehlwcakthng sarxahar nutrient sarxaharthiaebkhthieriytxngkarephuxkarecriyetibot nxkehnuxipcakkharbxnaelaihodrdecnaelw yngmiinotrecn slefxr fxsfxrs opaetsesiym aekhlesiym nxkcaknikmithatuthicaepninprimannxymak echn ehlk aemngkanis libdinm sngkasi okhbxlt silieniym thngestn aelaniekilepntn aetkhyaxinthriyodythwipcamithatuxaharehlaniinradbthismdulphxephiyng ephraachann inkarhmkcungimcaepntxngetimsarxaharid lngipsarybyngaelasarphis inhibiting and Toxic Materials echn krdikhmnraehyid ihodrecn hruxaexmomeniy rwmthungthatuixxxn sarphis olhahnk sarthakhwamsaxadtang echnsbu nayalangtang aelayaptichiwna samarthsngphlybyngkarecriyetibotaelakarphlitkaskhxngaebkhthieriyid thatuixxxninprimannxy echn osediym opaetsesiym aekhlesiym aemkniesiym slefxr aexmomeniym samarthchwykratunkaretibotkhxngaebkhthieriyechnkn aetthahakprimannnmakkcasngphlepnphisid yktwxyangechnaexmomeniyinpriman50 200milikrmtxlitrcaepnphldi chwyinkarecriyetibotkhxngaebkhthieriy aetemuxidthikhwamekhmkhnkhxngaexmomeniysungkwa1 500 milikrmtxlitrkcaerimsngphlesiy inthangediywkn olhahnkbangpraephth echn thxngaedng niekil okhremiym sngkasi takw aelaxun inprimanthinxy chwyinkarecriyetibotkhxngaebkhthieriy aetemuxkhwamekhmkhnsungkcaepnphis xlkhaliniti Alkalinity khaxlkhaliniti hmaythung khwamsamarthinkarrksaradbkhwamepnkrd dang khaxlkhalinitithiehmaasmtxkarhmkmikhapraman 1 000 5 000 millikrm litr inrupkhxngaekhlesiymkharbxrent CaCO3 chnidaelaaebbkhxngbxaekschiwphaph Biogas Plant bxaekschiwphaph aebngtamlksnakarthangan lksnakhxngkhxngesiythiepnwtthudib aelaprasiththiphaphkarthanganidepn 2 chnidihy dngni bxhmkchahruxbxhmkkhxngaekhng bxhmkchathimikarsrangichpraoychnknaelaepnthiyxmrbknodythwip mi 3 aebbhlkkhux aebbyxdodm fined dome digester aebbfakhrxblxy floating drum digester hruxaebbxinediy Indian digester aebbphlastikkhlumrang plastic covered ditch hruxaebbplkoflw plug flow digester bxhmkerwhruxbxbabdnaesiy aebngidepn 2 aebbhlk khux aebbbrrcutwklanginsphaphirxxksiecn Anaerobic Filter hruxxaceriyktamchuxyxwa aebbexexf AF twklangthiichthaidcakwsduhlaychnid echn kxnhin krwd phlastik esniysngekhraah imiphtdepnthxn epntn inlksnakhxngbxhmkerwaebbni culinthriycaecriyetibotaelaephimcanwnbntwklangthithuktrungxyu aebbyuexexsbi UASB hrux Upflow Anaerobic Sludge Blanker bxhmkerwaebbniichtakxnkhxngsarxinthriy sludge thiekhluxnihwphayinbxhmkepntwklangihculinthriyekaa lksnakarthangankhxngbxhmkekidkhun odykarkhwbkhumkhwamerwkhxngnaesiyihihlekhabxhmkcakdanlangkhunsu danbntakxnswnthiebacalxytwipphrxmkbnaesiythiihllnxxknxkbxtakxnswnthihnk cacmlngknbxxangxing Friendly fuel trains Oct 30 2005 p F17 aehlngkhxmulxunEnergy Research and Development Institute Nakornping Chiang Mai University lingkesiy Biogas Fuel Cell Project AMONCO 2006 03 04 thi ewyaebkaemchchin Biogas Fuel Cell RTD Profactor Environmental Costs Biogas Fuel Cycle EXTERNE 2006 03 04 thi ewyaebkaemchchin Biogas Biofuel Stockholm 2006 11 16 thi ewyaebkaemchchin Biogas Biofuel Lille 2006 10 06 thi ewyaebkaemchchin Biogas as fuel Trendsetter Project lingkesiy Anaerobic Digestion Biogas Plant Applications Human Feces Powers Rwandan Prison