เหตุการณ์แดรฟุส (ฝรั่งเศส: Affaire Dreyfus) คือ วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสังคมในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ของฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2437 และดำเนินต่อเนื่องกันไปจนถึง พ.ศ. 2449 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างสถาบันหลักทางการปกครองและสังคมฝรั่งเศสซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332 ปรากฏเด่นชัดอีกครั้ง และกลายเป็นปัญหาล่อแหลมต่อการดำรงอยู่ของระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองและสังคมของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์
เหตุการณ์นี้สืบเนื่องมาจากคดีแดรฟุส ซึ่งเริ่มเมื่อร้อยเอก อาลแฟรด แดรฟุส นายทหารประจำกรมเสนาธิการถูกจับกุมเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2437 ในข้อหาทรยศต่อชาติ เพราะขายความลับทางการทหารให้แก่พันเอก มักซ์ ฟอน ชวาทซ์คอพเพิน (Max von Schwartzkoppen) ผู้ช่วยทูตทหารบกเยอรมันประจำฝรั่งเศส โดยหลักฐานสำคัญคือ "บันทึกข้อมูลบอร์เดอโร" ซึ่งมีข้อมูลเรื่องความลับทางการทหารฝรั่งเศส
ด้วยเหตุที่แดรฟุสเป็นนักสาธารณรัฐนิยม และเป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวซึ่งอพยพมาจากแคว้นอาลซัส การที่แดรฟุสได้เข้าประจำการในกรมเสนาธิการ จึงทำให้แดรฟุสเป็นคนนอกคอกในหมู่นายทหารฝ่ายเสนาธิการซึ่งเป็นพวกนิยมระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ ปัญหาเชื้อชาติของแดรฟุสจึงมีมูลเหตุสำคัญที่ทำให้มหาชนเชื่อว่า เขาคือชาวยิวที่ทรยศต่อฝั่งเศส
ศาลทหารได้เริ่มไต่สวนความผิดในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2437 โดยเป็นความลับ ซึ่งทางการทหารได้ส่งเอกสารลับซึ่งอ้างว่าเป็นหลักฐานมัดตัวและยืนยันความผิดแก่แดรฟุส โดยที่แดรฟุสและทนายความของเขาไม่มีโอกาสได้เห็นเอกสารดังกล่าว ศาลทหารมีมติเอกฉันท์ให้จำคุกแดรฟุสตลอดชีวิต แดรฟุสจึงถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเดวิลส์ ซึ่งเป็นเกาะโดดเดี่ยวในแคว้นเฟรนช์เกียนา ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมา ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2438 แดรฟุสถูกลงโทษโดยการกระชากเครื่องหมายยศและหักกระบี่ในพิธีสวนสนาม โดยที่กระแสของมหาชนในเวลานั้นต่างแค้นเคืองแดรฟุสและคิดว่าเขาควรถูกประหารชีวิต
แม้ว่าแดรฟุสจะถูกลงโทษตามคำพิพากษา และคดีได้เริ่มจางหายไปจากความสนใจของประชาชน แต่ครอบครัวของแดรฟุสไม่เชื่อว่าแดรฟุสกระทำความผิด เพราะแดรฟุสไม่ได้มีปัญหาด้านการเงินและปัญหาเรื่องผู้หญิงที่จะทำให้แดรฟุสกระทำผิดได้ มาตีเยอ แดรฟุส (Mathieu Dreyfus) พี่ชายของแดรฟุสจึงพยายามเต็มที่ที่จะช่วยน้องชายให้พ้นจากข้อกล่าวหา แต่ก็ต้องประสบความยากลำบากมาก เนื่องจากไม่มีผู้ใดเต็มใจช่วยเหลือ แม้แต่ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวก็เห็นว่า แดรฟุสนำความเสื่อมเสียมาสู่พวกตน และเป็นเหตุที่ทำให้ขบวนการต่อต้านชาวยิวในฝรั่งเศสถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2437 พันเอกฌอร์ฌ ปีการ์ (Georger Picquart) ได้รับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับคนใหม่ เขารู้สึกว่าการเนรเทศแดรฟุสไม่ได้ยุติการรั่วไหลของความลับทางทหารและเขายังพบว่าลายมือในบันทึกข้อมูลที่พบนั้นคล้ายกับลายมือของแฟร์ดีน็อง วาลแซ็ง แอ็สแตราซี (Ferdinand Walsin Esterhazy) ซึ่งเคยเป็นนายทหารประจำหน่วยสืบราชการลับ ซึ่งเป็นคนติดการพนันและกำลังลำบากทางการเงิน นอกจากนี้ ปีการ์ยังพบว่าเอกสารลับซึ่งใช้ในการพิจารณาคดีมีความคลุมเครือมาก เขาจึงเสนอไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้มีการสอบสวนคดีแดรฟุสใหม่ แต่ผลที่ได้รับคือเขาถูกสั่งย้ายด่วนไปประจำการที่ตูนิส ทำให้ปีการ์แน่ใจว่านายทหารระดับสูงของฝรั่งเศสพยายามป้องกันการรื้อฟื้นคดี เขาจึงเล่าเรื่องราวให้คนที่เขานับถือฟังซึ่งหนึ่งในจำนวนคนเหล่านั้น คือ โอกุสต์ เชอเร-แก็สเน (Auguste Scheurer-Kestner) รองประธานวุฒิสภาชาวฝรั่งเศส เพื่อนเก่าของเกลม็องโซและเป็นชาวแคว้นอาลซัสเช่นเดียวกับปีการ์และแดรฟุส
ในช่วงที่ปีการ์ค้นพบเงื่อนงำในการพิจารณาคดีแดรฟุสนั้น ทนายความของแดรฟุสได้ค้นพบว่าคำตัดสินของผู้พิพากษาอาศัยหลักฐานจากเอกสารลับซึ่งพันเอก ดูว์ ปาตี เดอ กล็อง (Du Paty de Clam) เป็นผู้จัดเตรียม โดยไม่เปิดให้ฝ่ายแดรฟุสได้ตรวจสอบ อันเป็นการขัดกับกระบวนการยุติธรรม ด้วยเหตุนี้มาตีเยอ แดรฟุส จึงขอการสนับสนุนจากแบร์นาร์ ลาซาร์ (Bernard Lazare) นักหนังสือพิมพ์ ลาซาร์จึงพิมพ์จุลสารชื่อ Une Erreur Judiciaire เรียกร้องให้มีการสอบสวนคดีแดรฟุสขึ้นมาใหม่ แม้ว่าชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นคดีนี้ แต่นักการเมืองและปัญญาชนฝ่ายสาธารณรัฐนิยมก็เริ่มให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากขึ้น
เพื่อหยุดยั้งกระแสความเคลื่อนไหวของสังคม ผู้นำกองทัพบกจึงสั่งให้มีการไต่สวนแอ็สแตราซี ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2441 ซึ่งทำเหมือนการจัดฉาก ซึ่งผลการตัดสิน คณะผู้พิพากษาลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าแอ็สแตราซีไม่มีความผิด จึงดูเหมือนกับว่ารัฐบาลต้องการให้เรื่องยุติลง และกองทัพซึ่งต้องการยืนยันความถูกต้องและอำนาจของตน ในขณะเดียวกันปีการ์ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง
ความแตกแยกทางสังคม
การที่กองทัพใช้อำนาจโดยพลการและดูถูกกระบวนการยุติธรรม ทำให้ (Émile Zola) นักเขียนนวนิยายชื่อดังแค้นเคืองและเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดี และใช้หัวเรื่องว่า "J'Accuse...!" ("ข้าพเจ้าขอกล่าวหา...!") จดหมายฉบับดังกล่าวตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ลอรอร์ (L'Aurore) ของเกลม็องโซฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2441 โดยประณามศาลทหารที่ลงโทษแดรฟุสและปลดปล่อยแอ็สแตราซี ทั้งเตือนว่านี้คือการวางแผนที่จะโค่นล้มระบอบการปกครองแบบสาธาณรัฐในที่สุด ชั่วเวลาเพียงวันเดียวคดีแดรฟุสเปลี่ยนจากเรื่องของกระบวนการด้านกฎหมายมาเป็นปัญหาการเมืองที่ล่อแหลมและท้าทายต่อรัฐบาลและระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ สภาผู้แทนราษฎรจึงเปิดอภิปรายเหตุการณ์เรื่องแดรฟุส
เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเอมีล ซอลาถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดในความผิดข้อหาหมิ่นประมาท เขาหนีไปอังกฤษและเริ่มต่อสู้ด้วยการเขียนบทความโจมตีผู้นำกองทัพ บทบาทของซอลากระตุ้นให้เกิดจุดเปลี่ยนในเหตุการณ์แดรฟุส และรื้อฟื้นความแตกร้าวที่ฝังลึกในสังคมฝรั่งเศสขึ้นอีก ซึ่งในครั้งนี้แสดงออกมาในรูปของกลุ่มต่อต้านแดรฟุส ซึ่งคือกลุ่มที่ต่อต้านการเปิดพิจารณาคดีแดรฟุสขึ้นใหม่ โดยเห็นว่ากลุ่มผุ้สนับสนุนแดรฟุสมุ่งทำลายเกียรติภูมิของประเทศและกองทัพซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนจักรได้เข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ อัครมุขนายกแห่งปารีสให้การสนับสนุนต่อแนวร่วมต่อต้านชาวยิวของบรรดานายทหารในกองทัพ จึงเกิดการจลาจลต่อต้านชาวยิวขึ้นในหลายเมือง มีการเดินขบวนและการปล้นทรัพย์สินของชาวยิว
การยุติเหตุการณ์
คดีแดรฟุสยุติลงใน พ.ศ. 2449 เมื่อศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลทหารที่เมืองแรน และตัดสินให้เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ แดรฟุสได้กลับเข้ารับตำแหน่งในกองทัพบกและได้เลื่อนยศเป็นนายพันเอก นับว่าเหตุการณ์นี้มีผลสะท้อนที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคมฝรั่งเศส ในแง่การเมืองภายในประเทศ ได้เพิ่มเกียรติภูมิให้แก่ระบบสาธารณรัฐและพวกสาธารณรัฐนิยมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ผลกระทบจากเหตุการณ์
ผลกระทบที่สำคัญยิ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้คือ การที่พวกสาธารณนิยมหัวรุนแรงซึ่งมีนโยบายต่อต้านศาสนจักรอย่างมากและเป็นฝ่ายที่สนับสนุนแดรฟุสได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2445 สภาจึงสามารถร่างกฎหมายแยกรัฐและศาสนจักรออกจากกัน และเมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวุฒิสภาก็กลายเป็นกฎหมายแยกรัฐและศาสนจักร (Law of Seperation of Church and State) อันเป็นการยกเลิกความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล พ.ศ. 2344 โดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ท่าทีอันแข็งกร้าวของกองทัพต่อรัฐบาลในเหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสตระหนักถึงความจำเป็นในการที่ต้องเข้าควบคุมกองทัพ ซึ่งผลสำเร็จในเรื่องนี้ทำให้ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐของฝรั่งเศสมั่นคงและยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้
ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ เหตุการณ์นี้ทำให้ฝรั่งเศสอยู่ในฐานะอ่อนแอและลำบาก สัมพันธภาพระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีซึ่งมีความหวาดระแวงอยู่แล้วยิ่งเปราะบางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความแตกแยกของสถาบันหลักในฝรั่งเศสทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสต้องเป็นฝ่ายยอมแพ้แก่อังกฤษในกรณีเหตุการณ์ฟาโชดา และทำให้ฝรั่งเศสอยู่ในฐานะเสียเปรียบเรื่องอำนาจต่อรองระหว่างประเทศ
อ้างอิง
- สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม C-D. หน้า 327-334.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Dreyfus Rehabilitated 2013-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แดรฟุสโซไซตีเพื่อสิทธิมนุษยชน 2010-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- George R. Whyte และเหตุการณ์แดรฟุส 2010-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ephemera and Original Art Documenting the Dreyfus Affair
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ehtukarnaedrfus frngess Affaire Dreyfus khux wikvtkarnthangkaremuxngaelasngkhminsmysatharnrthfrngessthi 3 khxngfrngess sungerimkhunin ph s 2437 aeladaenintxenuxngknipcnthung ph s 2449 ehtukarndngklawthaihekidkhwamaetkaeykrahwangsthabnhlkthangkarpkkhrxngaelasngkhmfrngesssungerimtngaetkarptiwtifrngess ph s 2332 praktednchdxikkhrng aelaklayepnpyhalxaehlmtxkardarngxyukhxngrabbkarpkkhrxngaebbsatharnrth thngyngmiphltxkarepliynaeplngthisakhythangkaremuxngaelasngkhmkhxngfrngessinewlatxmabnthukkhxmulbxredxor cuderimtnkhxngehtukarnaedrfuscuderimtnkhxngehtukarnehtukarnnisubenuxngmacakkhdiaedrfus sungerimemuxrxyexk xalaefrd aedrfus naythharpracakrmesnathikarthukcbkumemuxwnthi 15 tulakhm ph s 2437 inkhxhathrystxchati ephraakhaykhwamlbthangkarthharihaekphnexk mks fxn chwathskhxphephin Max von Schwartzkoppen phuchwythutthharbkeyxrmnpracafrngess odyhlkthansakhykhux bnthukkhxmulbxredxor sungmikhxmuleruxngkhwamlbthangkarthharfrngess dwyehtuthiaedrfusepnnksatharnrthniym aelaepnchawfrngessechuxsayyiwsungxphyphmacakaekhwnxalss karthiaedrfusidekhapracakarinkrmesnathikar cungthaihaedrfusepnkhnnxkkhxkinhmunaythharfayesnathikarsungepnphwkniymrabxbkarpkkhrxngaebbkstriy pyhaechuxchatikhxngaedrfuscungmimulehtusakhythithaihmhachnechuxwa ekhakhuxchawyiwthithrystxfngess salthhariderimitswnkhwamphidinwnthi 19 thnwakhm ph s 2437 odyepnkhwamlb sungthangkarthharidsngexksarlbsungxangwaepnhlkthanmdtwaelayunynkhwamphidaekaedrfus odythiaedrfusaelathnaykhwamkhxngekhaimmioxkasidehnexksardngklaw salthharmimtiexkchnthihcakhukaedrfustlxdchiwit aedrfuscungthukenrethsipxyuthiekaaedwils sungepnekaaoddediywinaekhwnefrnchekiyna thangfngtawnxxkechiyngehnuxkhxngthwipxemrikait txma inwnthi 5 mkrakhm ph s 2438 aedrfusthuklngothsodykarkrachakekhruxnghmayysaelahkkrabiinphithiswnsnam odythikraaeskhxngmhachninewlanntangaekhnekhuxngaedrfusaelakhidwaekhakhwrthukpraharchiwit phaphwad karthxdysxalaefrd aedrfus La Degradation d Alfred Dreyfus phlngankhxngxxngri aemaeyr Henri Meyer aemwaaedrfuscathuklngothstamkhaphiphaksa aelakhdiiderimcanghayipcakkhwamsnickhxngprachachn aetkhrxbkhrwkhxngaedrfusimechuxwaaedrfuskrathakhwamphid ephraaaedrfusimidmipyhadankarenginaelapyhaeruxngphuhyingthicathaihaedrfuskrathaphidid matieyx aedrfus Mathieu Dreyfus phichaykhxngaedrfuscungphyayametmthithicachwynxngchayihphncakkhxklawha aetktxngprasbkhwamyaklabakmak enuxngcakimmiphuidetmicchwyehlux aemaetchawfrngessechuxsayyiwkehnwa aedrfusnakhwamesuxmesiymasuphwktn aelaepnehtuthithaihkhbwnkartxtanchawyiwinfrngessthukruxfunkhunmaxikkhrnghnung ineduxnkrkdakhm ph s 2437 phnexkchxrch pikar Georger Picquart idrbtaaehnnghwhnahnwysubrachkarlbkhnihm ekharusukwakarenrethsaedrfusimidyutikarrwihlkhxngkhwamlbthangthharaelaekhayngphbwalaymuxinbnthukkhxmulthiphbnnkhlaykblaymuxkhxngaefrdinxng walaesng aexsaetrasi Ferdinand Walsin Esterhazy sungekhyepnnaythharpracahnwysubrachkarlb sungepnkhntidkarphnnaelakalnglabakthangkarengin nxkcakni pikaryngphbwaexksarlbsungichinkarphicarnakhdimikhwamkhlumekhruxmak ekhacungesnxipyngphubngkhbbycharadbsungihmikarsxbswnkhdiaedrfusihm aetphlthiidrbkhuxekhathuksngyaydwnippracakarthitunis thaihpikaraenicwanaythharradbsungkhxngfrngessphyayampxngknkarruxfunkhdi ekhacungelaeruxngrawihkhnthiekhanbthuxfngsunghnungincanwnkhnehlann khux oxkust echxer aeksen Auguste Scheurer Kestner rxngprathanwuthisphachawfrngess ephuxnekakhxngeklmxngosaelaepnchawaekhwnxalssechnediywkbpikaraelaaedrfus inchwngthipikarkhnphbenguxnngainkarphicarnakhdiaedrfusnn thnaykhwamkhxngaedrfusidkhnphbwakhatdsinkhxngphuphiphaksaxasyhlkthancakexksarlbsungphnexk duw pati edx klxng Du Paty de Clam epnphucdetriym odyimepidihfayaedrfusidtrwcsxb xnepnkarkhdkbkrabwnkaryutithrrm dwyehtunimatieyx aedrfus cungkhxkarsnbsnuncakaebrnar lasar Bernard Lazare nkhnngsuxphimph lasarcungphimphculsarchux Une Erreur Judiciaire eriykrxngihmikarsxbswnkhdiaedrfuskhunmaihm aemwachawfrngessswnihyyngimehndwykbkhxeriykrxngihmikarruxfunkhdini aetnkkaremuxngaelapyyachnfaysatharnrthniymkerimihkhwamsnickberuxngnimakkhun ephuxhyudyngkraaeskhwamekhluxnihwkhxngsngkhm phunakxngthphbkcungsngihmikaritswnaexsaetrasi inwnthi 10 mkrakhm ph s 2441 sungthaehmuxnkarcdchak sungphlkartdsin khnaphuphiphaksalngmtiepnexkchnthwaaexsaetrasiimmikhwamphid cungduehmuxnkbwarthbaltxngkariheruxngyutilng aelakxngthphsungtxngkaryunynkhwamthuktxngaelaxanackhxngtn inkhnaediywknpikarkthukpldxxkcaktaaehnngkhwamaetkaeykthangsngkhmhnaaerkkhxnghnngsuxphimphlxrxrchbbwnthi 13 mkrakhm kh s 1898 ph s 2441 tiphimphkhxng thungprathanathibdi ephuxpranamkartdsinkhdixyangphidphladinkhdiaedrfus odyphadhwkhawdwykhxkhwamwa khaphecakhxklawha J Accuse karthikxngthphichxanacodyphlkaraeladuthukkrabwnkaryutithrrm thaih Emile Zola nkekhiynnwniyaychuxdngaekhnekhuxngaelaekhiyncdhmayepidphnukthungprathanathibdi aelaichhweruxngwa J Accuse khaphecakhxklawha cdhmaychbbdngklawtiphimphinhnngsuxphimphlxrxr L Aurore khxngeklmxngoschbbwnthi 13 mkrakhm ph s 2441 odypranamsalthharthilngothsaedrfusaelapldplxyaexsaetrasi thngetuxnwanikhuxkarwangaephnthicaokhnlmrabxbkarpkkhrxngaebbsathanrthinthisud chwewlaephiyngwnediywkhdiaedrfusepliyncakeruxngkhxngkrabwnkardankdhmaymaepnpyhakaremuxngthilxaehlmaelathathaytxrthbalaelarabbkarpkkhrxngaebbsatharnrth sphaphuaethnrasdrcungepidxphiprayehtukarneruxngaedrfus ehtukarnthwikhwamrunaerngkhunemuxexmil sxlathuksaltdsinwamikhwamphidinkhwamphidkhxhahminpramath ekhahniipxngkvsaelaerimtxsudwykarekhiynbthkhwamocmtiphunakxngthph bthbathkhxngsxlakratunihekidcudepliyninehtukarnaedrfus aelaruxfunkhwamaetkrawthifnglukinsngkhmfrngesskhunxik sunginkhrngniaesdngxxkmainrupkhxngklumtxtanaedrfus sungkhuxklumthitxtankarepidphicarnakhdiaedrfuskhunihm odyehnwaklumphusnbsnunaedrfusmungthalayekiyrtiphumikhxngpraethsaelakxngthphsungepnxntraytxkhwammnkhngkhxngchati sasnckridekhamamibthbathxyangetmthi xkhrmukhnaykaehngparisihkarsnbsnuntxaenwrwmtxtanchawyiwkhxngbrrdanaythharinkxngthph cungekidkarclacltxtanchawyiwkhuninhlayemuxng mikaredinkhbwnaelakarplnthrphysinkhxngchawyiwkaryutiehtukarnkhdiaedrfusyutilngin ph s 2449 emuxsalxuththrnklbkhaphiphaksakhxngsalthharthiemuxngaern aelatdsinihekhaepnphubrisuththi aedrfusidklbekharbtaaehnnginkxngthphbkaelaideluxnysepnnayphnexk nbwaehtukarnnimiphlsathxnthiyingihytxsngkhmfrngess inaengkaremuxngphayinpraeths idephimekiyrtiphumiihaekrabbsatharnrthaelaphwksatharnrthniymxyangthiimekhypraktmakxnphlkrathbcakehtukarnphlkrathbthisakhyyingcakehtukarninkhrngnikhux karthiphwksatharnniymhwrunaerngsungminoybaytxtansasnckrxyangmakaelaepnfaythisnbsnunaedrfusidrbchychnainkareluxktngineduxnphvsphakhm ph s 2445 sphacungsamarthrangkdhmayaeykrthaelasasnckrxxkcakkn aelaemuxrangkdhmaychbbniphanwuthisphakklayepnkdhmayaeykrthaelasasnckr Law of Seperation of Church and State xnepnkarykelikkhwamtklngrahwangsntapapakbrthbal ph s 2344 odysineching nxkcaknithathixnaekhngkrawkhxngkxngthphtxrthbalinehtukarnnithaihrthbalfrngesstrahnkthungkhwamcaepninkarthitxngekhakhwbkhumkxngthph sungphlsaercineruxngnithaihrabxbkarpkkhrxngaebbsatharnrthkhxngfrngessmnkhngaelayngyuncnthungthukwnni indankaremuxngrahwangpraeths ehtukarnnithaihfrngessxyuinthanaxxnaexaelalabak smphnthphaphrahwangfrngesskbeyxrmnisungmikhwamhwadraaewngxyuaelwyingepraabangyingkhun nxkcakni khwamaetkaeykkhxngsthabnhlkinfrngessthaihrthbalfrngesstxngepnfayyxmaephaekxngkvsinkrniehtukarnfaochda aelathaihfrngessxyuinthanaesiyepriyberuxngxanactxrxngrahwangpraethsxangxingsmic iphorcnthirarcht saranukrmprawtisastryuorp chbbrachbnthitysthan elm C D hna 327 334 aehlngkhxmulxunDreyfus Rehabilitated 2013 01 19 thi ewyaebkaemchchin aedrfusosistiephuxsiththimnusychn 2010 12 01 thi ewyaebkaemchchin George R Whyte aelaehtukarnaedrfus 2010 11 30 thi ewyaebkaemchchin Ephemera and Original Art Documenting the Dreyfus Affairwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb ehtukarnaedrfus bthkhwamprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk