มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงของเรื่อง(มิถุนายน 2022) |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
อาจถูกเรียกว่า "สังคมสงเคราะห์คลินิก" ก็ได้
ประวัติและวิวัฒนาการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
วิวัฒนาการการงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2495 ในเวลานั้น องค์การสหประชาติ ได้ส่งตัว นางสาว Eileen Davidso35n เข้ามาจัดตั้งสถานสงเคราะห์แม่และเด็กในประเทศไทย (นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์, 2530, น. 6-7) การปฏิบัติงานเน้นหนักที่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยเป็นหลัก มีการร่วมมือกันระหว่างองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ ในการส่งทีมแพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุขศาสตร์ และนักสังคมสงเคราะห์ เข้ามาร่วมดำเนินการ ตลอดระยะเวลา 62 ปี ที่นักสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่ สนับสนุน ส่งเสริมประชาชนให้มีสุขภาพดี (promotion) บำบัดรักษาสุขภาพอนามัย (cure) ป้องกันปัญหาสุขภาพ (prevention) และ ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน (rehabilitation)
( ฉลวย จุติกุล, 2544, )เห็นได้ว่างานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นงานที่ทำงานกับประชาชนตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ไปจนถึงระดับสังคม
การทำงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล ระยะเริ่มการปฎิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดส่วนภูมิภาค จนถึงระยะแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 4 ( พ.ศ.2520-2524) งานสังคมสงเคราะห์เป็นแผนกงานอิสระขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม่ได้สังกัดฝ่ายหรือกลุ่มงานใด ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งฝ่ายเวชกรรมสังคมขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป อย่างเป็นทางการ กิจกรรมที่นักสังคมสงเคราะห์ดำเนินการในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค ได้แก่ การให้บริการสงเคราะห์ผู้ป่วยเฉพาะราย การพิจารณาค่ารักษาพยาบาล การสัมภาษณ์และสอบประวัติการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ป่วยที่มีปัญหาอารมณ์ จิตใจ แฃะครอบครัวเป็นหลัก หลัง ปี 2525 การปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ถูกรวมไว้เป็นหนึ่งในงานหนึ่งในโครงสร้างงานฝ่ายเวชกรรมสังคม มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและแนวทางในการปฎิบัติงาน จากการให้บริการสนับสนุนการรักษาพยาบาล ไปสู่การผสมผสานบริการไปในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายเวชกรรมสังคม ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำหนังสือแนวทางการปฎิบัติงานโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดรายละเอียด งานของฝ่ายเวชกรรมสังคม และในส่วนงานสังคมสงเคราะห์ ได้ อธิบายลักษณะงานไว้ว่า “ งานสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย การสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน การแนะนำปรึกษาการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อคู่สมรส ครอบครัวคนพิการ หรือผู้มีปัญหาทางสังคมอื่นๆ” และกำหนดให้นักสังคมสงเคราะห์ให้บริการในงานเวชกรรมฟื้นฟูและงานจิตเวช
ปี 2528-2529 เมื่อโครงการพัฒนาระบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.) คณะกรรมการพัฒนางานเวชกรรมสังคม ได้จัดทำขอบเขตงานและมาตรฐานกิจกรรมในงานสังคมสงเคราะห์ ของ รพศ/รพท ให้มีการปฎิบัติงานด้านการสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว การประสานงาน และการให้คำปรึกษาแนะนำ ครอบคลุมทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน ซึ่งใช้เป็นแนวทางการฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในช่วงนั้น
ปี พ.ศ. 2532 สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ได้ก่อตั้งชมรมชมรมนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพกระจายกันอยู่ในสถานบริการสุขภาพระดับต่างๆทั่วประเทศทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร กองทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานการกุศลและ องค์กรภาคเอกชน เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ศึกษา ค้นคว้า ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ส่งเสริมพิทักษ์ประโยชน์ของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และจัดสวัสดิการแก่หมู่สมาชิก ตลอดจนส่งเสริมการประสานงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์และให้ความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ
ใน ปี พ.ศ. 2530-2534 ในระยะแผนสาธารณสุขฉบับที่ 6 กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้จัดทำแผนพัฒนาระบบริการเวชกรรมสังคม ซึ่งรวมกิจกรรมการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในแผนเดียวกัน ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนางานเวชกรรม ซึ่งฝ่ายแผนงานและโครงการ กองโรงพยาบาลภูมิภาค เป็นหน่วยเลขานุการ และในปี พ.ศ..2531 ระยะที่นายแพทย์ปัญญา สอนคม เป็นผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว) และนายแพทย์ศุภชัย คุนารัตพฤกษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายแผนงานโครงการ ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว) กองโรงพยาบาลภูมิภาค มีการแต่งตั้งนักสังคมสงเคราะห์จากโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค จำนวน 10 คน เป็นคณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์” ทำให้เกิดเกณฑ์มาตรฐานในการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป นอกจากเกณฑ์มาตรฐานในการทำงาน แล้วคณะทำงานดังกล่าว ยังทำหน้าที่พัฒนา ปรับปรุงงานสังคมสงเคราะห์ มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี สร้างระบบสนับสนุนช่วยเหลือ นิเทศงาน ปฐมนิเทศงานให้กับผู้ปฎิบัติงานใหม่ พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล ได้มีการพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่นั้นมา (คู่มือการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป,2538 น.1-5)
ปี พ.ศ. 2542 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนามาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โดยเริ่มจาก กองโรงพยาบาลภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญมาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดประเภทงานสังคมสงเคราะห์ ไว้ 3 มาตรฐาน ได้แก่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1) มาตรฐานงานบริหารสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย จัดเตรียมสถานที่สำหรับการให้บริการที่เป็นสัดส่วนเหมาะสม การจัดทำ/จัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ การให้บริการสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ เครือข่ายการให้บริการสังคมสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ชัดเจนทั้งภาครัฐและเอกชน การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โดยการมีนักสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงาน และมีบุคลากรในงานสังคมสงเคราะห์ที่ผ่าน การอบรมหรือปฐมนิเทศเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับการจัดให้มีคำอธิบายงาน/จัดทำแผนงานและแผนปฏิบัติซึ่งกำหนดการทำงานที่ชัดเจนรวมทั้งมีการจัดตั้งหรือ บริหารกองทุนสังคมสงเคราะห์
2) มาตรฐานงานด้านวิชาการ ประกอบด้วย การจัดทำทะเบียน/บันทึก การให้บริการสังคมสงเคราะห์ การจัดทำรายงานการนำเสนอข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์ การจัดทำวิเคราะห์ข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์ การเผยแพร่ วิชาการ ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
3 ) มาตรฐานงานด้านบริการ ประกอบด้วย ประกอบด้วย 6 งาน คือ 1. งานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม 2. งานเฝ้าระวังปัญหาทางสังคม 3. งานส่งเสริมและฟืนฟูสมรรถภาพทางสังคม 4. งานจัดการและพัฒนาทรัพยากรทางสังคม 5. งานสังคมสงเคราะห์ชุมชน 6. งานสวัสดิการสาธารณสุข
ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพของประชาชน โดยปรับโครงสร้างการบริหารราชการส่วนกลาง กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้ปรับเป็น สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และช่วงเวลานั้น ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้แก่ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พ.ร.บ. ส่งเสริมการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ. สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนา “แนวทางการดำเนินงานสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” จึงส่งผลให้คณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้มีการนำ บัญชีปัญหาทางสังคม (social problem list) มาใช้ในประเมินการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานงานสวัสดิการสังคมในมาตรฐานที่ 1 การวินิจฉัยและบำบัดทางสังคม (2546,น. 114)
ปี พศ.2547 เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดความสูญเสียอย่างเอนกนันท์ต่อประเทศชาติ นักวิชาการทุกกลุ่ม ได้ตื่นตัวเกิดการเรียนรู้ถึงการพัฒนาการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในงานครั้งนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทีมงานหลายทีมงานลงไปช่วยปฎิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เข้าไปร่วมทำงานเพื่อร่วมทำงานเพื่อจัดบริการทางสังคมให้ประชาชนผู้ประสบภัยสีนามึ หลังจากการทำงาน กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ถอดบทเรียนการทำงานและสร้างคู่มือการทำงานและแนวทางการทำงานในเหตุการณ์วิกฤติขึ้น ในปี 2549 โดยได้รับสนับสนุนจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพ และองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อช่วยให้การจัดบริการสังคมในเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่มีโอกาสขึ้นในทุกพื้นที่ในประเทศไทย
ปี พศ.2551 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพและคณะกรรมการพัฒนางานสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดหนังสือคู่มือแนวทางการทำงาน ในสถานการณ์ทางด้านด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่หน่วยงานสวัสดิการสังคม อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกลุ่มภารกิจสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำหนังสือคู่มือเพื่อทวบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์แนวโน้ม นโยบายและแผนงานที่สำคัญ แนวทางการให้บริการและการพัฒนางานคุณภาพงานสวัสดิการสังคม
ปี พ.ศ. 2552 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ได้รวมตัวกัน ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อนายทะเบียนสมาคมประจำจังหวัดนนทบุรี ทะเบียนเลขที่ จ.นบ 7/2552 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ชื่อ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย โดย นางปิยะฉัตร ชื่นตระกูล นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมฯคนแรก นางกรรณิการ์ เจียมจรัสรังษี โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นเลขาธิการ และนางสาวมลฤดี จินดาอนันต์ยศ เหรัญญิกและประชาสัมพันธ์ มีที่ทำการสมาคมฯตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคาร 3 สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี เหตุผลของการจัดตั้งเป็นสมาคมฯสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆที่ชมรมและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้เดินทางมาถึงจุดที่แสดงให้เห็นว่าการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์มีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อเป็นหลักและเป็นพลังในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งนับตั้งแต่ได้จดทะเบียนและได้มีการดำเนินงานาแล้ว สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทยได้มีความเจริญเติบโต งอกงาม มีความเป็นปึกแผ่น มีสมาชิกที่รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เสียสละ และได้ร่วมสร้างพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ทั้งงานด้านสังคม สงเคราะห์ทางการแพทย์ งานต่างๆด้านวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และงานสังคมสงเคราะห์เพื่อสังคมอื่นๆ ปัจจุบันสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย มีสมาชิกประมาณ 500 คน
ปี 2551-2555 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทุกสังกัด ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งคณะทำงาน สร้างเครื่องมือการทำงาน งานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “แบบบันทึกผู้รับบริการสังคมสงเคราะห์ (สค.1)” และแบบรายงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สค.3) และมีการนำไปทดลองใช้กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลสังกัดทุกกระทรวงที่มีนักสังคมสงเคราะห์ประจำโรงพยาบาล ต่อมา ใช้ชื่อ เครื่องมือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
ปี 2538 -2553 งานบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูล โดยโปรแกรม FOXPRO ตั้งแต่ ปี 2538 จากความร่วมมือ ผู้พัฒนาโปรแกรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้านนทบุรี ต่อมา ปี 2553 ได้พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลออนไลน์ จากความร่วมมือจากผู้พัฒนาโปรแกรม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ และ ปี 2555 พัฒนาเข้าสู่ระบบการบันทึกข้อมูลออนไลน์ สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2554 มีความพยายามผลักดันผ่านกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสารณสุข ให้มีการ กำหนดสาขาการประกอบโรคศิลปะ ในสาขาสังคมสงเคราะห์ทำงการแพทย์ แต่เนื่องจำกยังไม่ได้รับ ความเห็นชอบ จึงได้ยุติการดำเนินการไว้ก่อน
ปี 2556 สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีมติและอนุมัติ ให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ใช้ เครื่องมือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประกอบด้วยเครื่องมือการทำงานกับผู้ป่วยระดับเบื้องต้น ได้แก่ เครื่องมือประเมิน วินิจฉัย และจัดการทางสังคม (Social Diagnosis and Management Assessment) S.D.M.A. เครื่องมือการทำงานกับผู้ป่วยระดับเชิงลึก ได้แก่ เครื่องมือประเมินความพร้อมของครอบครัว (Family Assessment :F.A.) เครื่องมือคัดกรองและประเมินผลการบำบัดทางสังคม (Social Therapy Assessment : S.T.A. ) เครื่องมือแบบประเมินทักษะพื้นฐานในการทำงานและทักษะการปรับตัวทางสังคม(Social skill Assessment : S.S.A.) และเครื่องมือประเมินการดูแลสุขภาพจิตตนเอง (Mental Self Care Assessment: M.S.C.A.) และ คณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และสำนักบริหารการสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำโปรแกรมบันทึกข้อมูลการบริการแบบออนไลน์
ปี 2556 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้จัดทำร่างหนังสือ แนวทางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ( Service Plan) ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายแพทย์ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ สาธารณสุขนิเทศก์ สนับสนุนและเป็นผู้วางรูปแบบ การทำงานด้านสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้น้องๆ รุ่นหลัง ได้คำเนินรอยตาม รวมทั้งเป็นวิทยาจารย์ให้ความรู้ เสริมความคิด ให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจน เพื่อให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทุกคนได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน ใช้เป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมงานสังคมสงเคราะห์เข้ากับงานอื่น ๆ ในลักษณะงานที่เป็นทีมงาน มีบรูณการองค์รวม ให้เกิดความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบ ใช้เป็นกลไกความร่วมมือเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ปี 2557 คณะทำงานพัฒนาสังคมสงเคราะห์ รพศ/รพท และสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ได้เข้าร่วมการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ กับวิชาชีพ 17 สายงานในกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์อัตรากำลัง วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สาขาทางการแพทย์ มีวิธีการคิดวิเคราะห์อัตรากำลัง 2 แบบ ได้แก่ การกำหนดอัตรากำลัง ตามบริการและภาระงาน (SERVICES BASE) การกำหนดกรอบอัตรากำลัง ของนักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดระดับการบริการ ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมภูมิ บริการระดับทุติยภูมิ และ บริการระดับตติยภูมิ ในแต่ระดับได้กำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากร รวมทั้งเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านการรับรองจาก สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สัดส่วนการให้บริการกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และการบริการตาม SERVICES BASE มีการกำหนด แนวทาง ระดับปฐมภูมิ F๓ F๒ F๑ M๒ ระดับทุติยภูมิ ระดับตติยภูมิ A S M๑ และ การกำหนดอัตรากำลัง ตามพื้นที่และ ประชากร (AREA AND POPULATION BASE)
15 พฤศจิกายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วน จากสภาพปัญหาสาธารณสุขและปัญหาสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของการสาธารณสุขประเทศไทยต้องปรับบทบาททันกับสภาพปัญหา เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในชนบทและในเมือง รวมทั้งการพัฒนางานให้ผลถึงการป้องกันการขยายตัวของปัญหาในอนาคต ดังนั้น จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่ ภายใต้นโยบายวิสัยทัศน์ และพันธกิจของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
วิสัยทัศน์ “กระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพที่รวมพลังสังคมเพื่อประชาชนสุขภาพดี”
พันธกิจ “พัฒนาและอภิบาล ระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน”
เป้าหมาย “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”
โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป กำหนดให้มี 6 กลุม่ภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจด้านอานวยการ กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ กลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล กลุ่มภารกิจด้านผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ดังกล่าว กลุ่มภารกิจกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ มี 19 กลุ่มงาน มี 19 กลุ่มงาน ดังแผนภูมิ ที่ 1
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกลุ่มงานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เป็นกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ ภายใต้กลุ่มภารกิจบริการด้านทุติยภูมิและตติยภูมิและมีการกำหนดภารกิจ บทบาทหน้าที่ ของนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เพื่อการดำเนินงานให้สอดคล้อง กับวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าว กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้างใหม่อยู่ภายใต้การทำงานของกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ มีโครงสร้างการทำงาน หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก ( Production line ) ดังนี้
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2563 กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จะเป็นองค์กรที่ให้บริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
ปรัชญาในการดำเนินงาน
การดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนช่วยตนเองได้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ “ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้.” ( Help them to help themself )
ค่านิยมการทำงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
➢ ค่านิยม (Core Value) : Medical Social Work : MSW
M = Morality : การบริการด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ยึดหลักธรรมาภิบาล
S = S (Service Mind) : การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีพฤติกรรมบริการที่ดี
S (Standard) : ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
S ( Social Responsibility) : มีความรับผิดชอบต่อสังคม
W = Work with : W (Work with not work for) การบริการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว ทีมสหวิชาชีพ เครือข่าย
Moral Intelligence หมายถึง ทุกคนในองค์กรยึดมั่นในหลักความเป็นธรรม และเสมอภาค มีคุณธรรม ทํางานด้วยความสุจริต ยึดมั่นในประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนตามศีลธรรมอันดี มีจิตสาธารณะ
Service Mind หลักการการให้บริการที่ดีต่อทุกคนที่มาใช้บริการ คือ ปัจจัยความสำเร็จ โดยปลูกฝังให้ทุกคนในองค์การมีหัวใจบริการ (Service – Mind) เป็นหลักยึดสำหรับสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในจิตใจของ ผู้ให้บริการทุกคน คำว่า หัวใจบริการ หมายถึง การอำนวยความสะดวก การช่วยเหลือ การให้ความกระจ่าง การสนับสนุน การเร่งรัดการทำงานตามสายงาน และความกระตือรือร้นต่อการให้บริการคนอื่น รวมทั้งการยิ้มแย้มแจ่มใส ให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการ การที่บุคคลมีหัวใจบริการดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้เกิดผลดีต่อคนอื่น ต่อตนเอง และต่องานที่ทำ ที่ว่าเกิดผลดีต่อคนอื่นในการให้บริการ คือ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เกิดความรู้ที่ดีต่อผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อขอรับบริการ เมื่อผลลัพธ์เกิดขึ้นเร็ว และด้วยน้ำใจบริการที่ดี จะสร้างสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผู้รับบริการจะเกิดความประทับใจ และยินดีที่จะกลับมาติดต่อและมารับบริการอีก และยังจะนำผลที่เกิดขึ้น หรือความประทับใจที่มีไปบอกต่อเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง
work with, not work for นั้นมีความหมายที่ว่า การสังคมสงเคราะห์นั้นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักสังคมสงเคราะห์กับผู้ที่ประสบปัญหาและสหสาวิชาชีพ เป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม
หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย
.1 การบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประจำแผนกผู้ป่วยนอก /ผู้ป่วยใน
.2 การบริการคลินิกศูนย์พึ่งได้ งานให้บริการช่วยเหลือเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
3 การบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประจำแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกพิเศษ /กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
.4 การบริการสังคมสงเคราะห์ชุมชนและครอบครัว
.5 การจัดการทรัพยากรทางสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
.6 การจัดการกองทุนและมูลนิธิ ช่วยเหลือผู้ป่วยยากจนและผู้ด้อยโอกาส
.7. งานวิชาการและงานการให้คำปรึกษาทางสังคมสงเคราะห์ งานวิชาการและงานการ
งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ===
งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นสาขาหนึ่งของสังคมสงเคราะห์ ทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพในโรงพยบาล ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวถูกเรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ หรือ นักสังคมสงเคราะห์ทางคลินิก ซึ่งเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือสาขาที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับรอง ทำหน้าที่ คัดกรอง เฝ้าระวัง ประเมินวินิจฉัย บำบัด เยียวยา ให้การปรึกษา ให้คำแนะนำ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ประสบปัญหาสังคม อารมณ์ จิตใจ พฤติกรรม ปัญหาครอบครัว ปัญหาการดำรงชีวิต ปัญหาการเงิน และปัญหาสังคมอื่นๆ ทั้งนี้ร่วมวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัยพฤติกรรม สิ่งแวล้อม และความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ร่วมกับสหวิชาชีพในและนอกโรงพยาบาล มีการพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่มีความเสื่อมหรือความบกพร่องทางสังคมให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ มีการเสริมพลังให้ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย ทำหน้าที่ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ตามพรบ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 โดยใช้เครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ที่รับรองโดยสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้แก่ เครื่องมือประเมินและวินิจฉัยทางสังคม(สค.) เครื่องมือประเมินทักษะพื้นฐานการทำงานและทักษะทางสังคม แบบประเมินความพร้อมครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการดูแลสุขภาพจิต โดยใช้วิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่ม ชุมชน และกระบวนการ ตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
จัดเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นตัวจักรสำคัญในการประสานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ ครอบครัวและผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือคนพิการที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ อาทิ ส่งต่อ แหล่งทรัพยากร เงิน สิ่งของ และสวัสดิการของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรค รักษาพยาบาล /การดำเนินชีวิตหมายเหตุ สวัสดิการของรัฐ ได้แก่ ปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย การอาชีพ การศึกษา ความมั่นคงทางสังคม การสันทนากร การบริการทางสังคมอื่น ๆ ตามสิทธิที่ประชาชนคนไทยพึงมี พึงได้ ตามกฎหมาย การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ การฟื้นฟูสมรรถทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม การประสานงานกับสวัสดิการสังคม องค์กรทางการแพทย์และองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ยังต้องพัฒนาศักยภาพคนพิการ ให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ เสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลคนพิการ ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือคนพิการอย่างเหมาะสม เป็นต้น
งานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จัดเป็นงานที่สำคัญ และไม่ค่อยมีผู้รับรู้บทบาทเท่าใดนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆในการเชื่อมโยง"ภายในองค์กรการแพทย์"กับ"องค์กรภายนอก" เปรียบเสมือน “ผู้ปิดทองหลังพระ” นักสังคมสงเคราะห์ไม่ได้ถูกกล่าวขานในฐานะ “ผู้มีพระคุณ” แต่มักจะอยู่ในฐานะ “เพื่อน” หรือ “พี่-น้อง” มากกว่า ปรัชญาของการสังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือผู้รับบริการให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ Help them to help themselves
ความจำเป็นของงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล
1.จากสถานการณ์ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพผู้ป่วยให้มีความซับซ้อนมากขึ้น การบำบัดรักษาทางการแพทย์เพียงมิติเดียวไม่เพียงพอ บริการสุขภาพจึงต้องครอบคลุมบริการด้านสุขภาพ แบบองค์รวม
2.นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของการเตรียมการดูแลปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมผู้สูงอายุ การดูแลกลุ่มวัย การดูและเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง การดูแลคนพิการ การประคับประคองดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย ผู้ติดยาเสพติดและจิตเวช การเพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ
3.กฎหมายหลายฉบับตามกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญและมีผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพที่งานสังคมสงเคราะห์ร่วมดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิอย่างเสมอภาค เหมาะสม และเป็นธรรม
- พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
- พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖และพ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
- พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
- พ.ร.บ.สุขภาพจิต ๒๕๕๑
- พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
- พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
- พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
- พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และพ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕
- พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- พ.ร.บ ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา - ฯลฯ
สถาบันที่ผลิตนักสังคมสงเคราะห์ มี 6 สถาบัน ประมาณ 800 คน/ ปีดังนี้
• ม.ธรรมศาสตร์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 330 คน /ปี
• ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตจำนวน 150 คน/ปี
• มหามกุฎราชวิทยาลัย หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 50 คน/ปี
• มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 50 คน/ปี
• ม.เกริก หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 30 คน/ปี
• ม.สงขลานครินทร์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 50 คน /ปี
• สถาบันอื่น ตาม กพ กำหนด(จิตวิทยา และสังคมวิทยา ฯลฯ ) จำนวน 200 คน /ปี
สมรรถนะนักสังคมสงเคราะห์ ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน จริยธรรม ตามสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
2.การพัฒนาตนเอง : การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมนา เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน ระหว่าง รพ.)
3.การให้บริการ : สามารถให้บริการ 1.)เฉพาะราย (Social Case Work) 2.)กลุ่มชน (Social Group Work) 3.)สังคมสงเคราะห์ชุมชน / การจัดระเบียบและการพัฒนาชุมชน (Community Organization and Community Development เพื่อสร้างความยั่งยืนทางสวัสดิการด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน/สังคม)
4.เครือข่าย : สร้างและมีสัมพันธภาพที่ดีกับเครือข่ายการให้บริการ : สหสาขาวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายที่รับ/ส่งต่อ ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน
5.การทำงานเป็นทีม : สามารถประสานการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ (แพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด แลนักโภชนาการ) รวมทั้งผู้ป่วย/ครอบครัว ุ
6.ผลงานการพัฒนาคุณภาพการบริการ / การวิจัย/R2R ทางสังคมสงเคราะห์ : สร้าง/ต่อยอดองค์ความรู้ เกิด Good / Best Practice เผยแพร่ เป็นแบบอย่าง ชี้นำสังคม ฯลฯ
อนึ่งการทำงานสังคมสงเคราะห์มีกลุ่มผู้ป่วยหลากหลาย มีปัญหาและความต้องการที่ต่างกัน จำเป็นต้องมีวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ ที่มีความรู้และความเข้าใจในการทำงาน ที่เชื่อมโยงทีมผู้รักษา กับผู้ป่วยกับครอบครัวและระบบสภาวะแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงทรัพยากร ประสานหน่วยงานอื่นในการแสวงหาและจัดบริการสวัสดิการที่เหมาะสมมาใช้ นำไปสู่การลดผลกระทบของปัญหาทางสังคมที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุน ผลักดันให้ผู้ป่วยคืนสู่ครอบครัวและสังคม สามารถใช้ชีวิตปกติในครอบครัว สังคมได้
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์กับงานบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม การตั้งท้องโดยไม่พร้อมส่วนใหญ่มีสาเหตุประกอบกันมากกว่าหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาครอบครัว สังคมเศรษฐกิจ สุขภาพกายและจิตใจของผู้หญิงนั้น รวมทั้งการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาท้องไม่พร้อมนั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับบรรทัดฐานทางสังคมและถูกตีค่าในเชิงจริยธรรมค่อนข้างสูง ประกอบกับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพปกติยังมีข้อจำกัดหลายด้านทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายส่วน ทั้งปัญหาสุขภาพกาย จิตใจ ปัญหาครอบครัวและสังคม ทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปจนถึงศักยภาพการดูแลเด็กต่ออย่างมีคุณภาพหลังคลอด บางรายที่แก้ปัญหาไม่ได้อาจตัดสินใจผิดพลาดด้วยการทำแท้งอย่างไม่ถูกหลักทางการแพทย์(ทำแท้ง ที่ไม่ปลอดภัย) ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของตนเองและเด็กในครรภ์จนทำให้เกิดความพิการตามมาหรือสูญเสียชีวิตตามมาการช่วยเหลือกลุ่มเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับความเห็นใจเข้าใจและยอมรับจากคนในครอบครัวและสังคม นักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ช่วยทีมงานสุขภาพทั้งระยะสั้น ระยะยาว ในการวางแผนการช่วยเหลือโดยทำงานกับครอบครัว ชุมชน และให้มีทางเลือกต่อการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตและศักยภาพของแต่ละคนไม่นำพาตนเองไปสู่การแก้ปัญหาที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิต
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์กับงานบริการเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง
- ผู้ป่วยเด็ก/สตรี ที่ถูกทำรุนแรงหรือถูกทารุณกรรม ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ ทางการถูกละเลยทอดทิ้ง ซึ่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยทำให้เกิดความบาดเจ็บ พิการหรือถึงแก่ชีวิต เกิดปัญหาสุขภาพกายจิต บุคลิกภาพบกพร่อง ก้าวร้าว เกิดภาวะการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่สงบสุข ถูกทำลาย จนมีปัญหาด้านพัฒนาการ ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ปัญหาครอบครัวติดตามมา มีพฤติกรรมและความไม่มั่นคงทางจิตใจ อารมณ์ในระยะยาว ในการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยการรักษาพยาบาลหรือให้บริการทางการแพทย์ได้เพียงอย่างเดียว นักสังคมสงเคราะห์จะต้องทำหน้าที่ในการประเมินวินิจฉัยสภาพครอบครัว ปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรง การจัดการกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในตัวผู้ป่วยเช่นทัศนคติและความเชื่อต่างๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกเช่น ความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ แหล่งทุน/ทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือกรณีมีความรุนแรงมากจนถึงขั้นต้องใช้กระบวนการแบบสหวิชาชีพจากภายนอกเข้าควบคุมหรือคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีเพื่อป้องกันการถูกทำร้ายซ้ำ หรือการจัดหาสวัสดิการสังคมอื่นๆให้กับผู้ป่วยและครอบครัวที่ประสบปัญหา เพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกทำร้ายอย่างถาวรไม่กลับมารักษาอีกหลายครั้ง
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยจิตเวช
- ผู้ป่วยที่มีภาวะพิการทางกายและใจ หรือผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว จนเกิดปัญหาซ้ำซ้อนที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ ส่งผลให้การเจ็บป่วยรุนแรง มีความยากลำบากในการดูแลช่วยเหลือ และการแก้ไขปัญหา นักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ในการติดตาม บำบัดเยียวยาทางสังคม จัดหาทรัพยากร กายอุปกรณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมของผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทอดทิ้ง ถูกล่ามขัง ผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาทางด้านกฎหมายร่วมด้วย (เช่น กรณีเป็นผู้ถูกกล่าวหา) ผู้ป่วยที่ก้าวร้าวรุนแรงเป็นอันตรายต่อครอบครัวและสังคม ทรัพย์สิน ซึ่งหากไม่ได้รับการ ประเมินปัญหาทางสังคม ปัจจัยกระตุ้นหรือแรงขับของพฤติกรรม อย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยนักสังคมสงเคราะห์ ย่อมนำไปสู่การวางแผนการบำบัดรักษาของ ทีมสหวิชาชีพที่ผิดพลาด การช่วยเหลือดูแล ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในที่สุดก็จะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ป่วยซ้ำ และมีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย รุนแรงหนักกว่าเดิม
- ผู้ป่วยติดสารเสพติด อันเนื่องมาจากปัญหาทางครอบครัวและสังคมที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกดดันและหันไปใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน จนไม่สามารถเลิกการใช้สารเสพติดได้ ทั้งนี้หากขาดการเยียวยาหรือการบำบัด แก้ไขทางสังคมโดยมีนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ประสานความช่วยเหลือ ผู้ป่วยจะกลายเป็นภาระของสังคม และครอบครัวในระยะยาว อีกทั้งมีแนวโน้มย้อนกลับมาเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะป่วยซ้ำซ้อนมากขึ้นในโรงพยาบาล
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์กับผู้ป่วยยาเสพติด
ทางการแพทย์มองผู้ใช้ยาเสพติด เป็นปัญหาของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากโรคสมองติดยา หรือสุขภาวะอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยผู้ชำนาญทางการแพทย์ การจัดการความบกพร่อง หรือการบำบัดรักษา ผู้ใช้ยาเสพติด มีจุดมุ่งหมายในการที่รักษา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล การดูแลทางการแพทย์ดูว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด และสิ่งที่รัฐบาลต้องทำเป็นอย่างแรก คือการ เปลี่ยนแปลง หรือปฎิรูปนโยบายด้านสาธารณสุข ในขณะที่รูปแบบทางสังคม มองว่า ผู้ใช้ยาเสพติด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ผู้ใช้ยาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความเจ็บป่วยจากการใช้สารเสพติดไม่เป็นเพียงลักษณะของปัจเจกบุคคล แต่ประกอบด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งหลายๆ เงื่อนไข เกิดจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการปัญหานี้ จึงต้องใช้ปัจจัยทางสังคม เป็นเป็นความรับผิดชอบของสังคมในการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดนั้น สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เรื่องนี้จึงถือเสมือนเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติและบริบทที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งในระดับนโยบายกลายเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน การรวมกัน การดำเนินงาน จึงต้องนำแนวคิด ด้าน ชีวจิต วิทยา สังคม (Bio psycho social ) แนวคิดการดูแลทางสังคมผู้ใช้ยาเสพติด แบบบูรณาการ ทั้งด้าน ชีววิทยา ปัจเจกบุคคล และมุมมองทางสังคม ซึ่งรวมถึง การทำงานของร่างกาย โครงสร้างทางร่างกาย สมรรถภาพ ความสามารถ ความยากลำบาก หน้าที่ของบุคคล การทำกิจกรรม และการมีส่วนร่วม ปัจจัยแวดล้อม แสดงถึง ภูมิหลังหมดของชีวิต และการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อตัวบุคคลที่มีปัญหาการใช้ยาเสพติด ดังนั้น วิเคราะห์ความรุนแรงของรากเหง้าปัญหาของบุคคล กับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสำคัญ
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยโรคมะเร็งและระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นกระบวนการทำงานที่ละเอียดอ่อน ต้องการการทำงานสหวิชาชีพ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจสังคม และจิตวิญญาณ นักสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพหนึ่งในทีมสุขภาพที่สำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเตรียมพร้อมและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้ การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นผู้ประยุกต์ศาสตร์ทางด้านสังคมสงเคราะห์ จิตวิทยาหรือศาสตร์อื่น ๆ ด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นพื้นฐานในการทำงานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการขยายบทบาทการทำงาน (Expanding role) ประกอบกับแต่ละพื้นที่มีบริบทการทำงานที่แตกต่างกัน ทั้งในประเด็นวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ นักสังคมสงเคราะห์และผู้ทำงานเชิงสังคมแต่ละพื้นที่จึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องรู้ นโยบาย และระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องงานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวเรียนรู้การใช้เครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยและครอบครัว กลวิธีการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอยู่ดีและความตายดี สามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการอยู่ที่ดีอันจะนำไปสู่การตายที่ดี ตลอดจนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมสงเคราะห์
นักสังคมสงเคราะห์ มีบทบาทในการการประเมินเส้นความสัมพันธ์ (Genogram) การวิเคราะห์แผนผังครอบครัว (Family Tree) กระบวนการปรึกษา(Counseling) การเสริมพลัง (Empowerment) การสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network) เป็นต้น นักสังคมสงเคราะห์ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงทำให้ ผู้ป่วยและครอบครัว เห็นศักยภาพของตนจะทำให้ “ยอมรับความจริง” นักสังคมสงเคราะห์ ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว “ก่อน”การแจ้งความจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และวางแนวทางการจัดการปัญหาเมื่อบอกความจริงแล้ว อันจะส่งผลให้เกิดการร่วมมือต่อการดูแลรักษาต่อไป
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อ เอช ไอ วี และเอดส์และผู้ได้รับผลกระทบ
ผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้ป่วยเอดส์ ดูแลตนเองได้ ทำงานได้ตามปกติ เมื่อมีการเจ็บป่วย และมีอาการ เอดส์มากขึ้น จากที่เคยทำงานได้ก็จะเริ่มลดน้อยลง บางครั้งต้องหยุดงานบ่อย จนกระทั่งตกงานถูกไล่ออกจากงาน จากสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยต่องานอาชีพ ซึ่งสภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้น จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเนื่องจากไม่มีรายได้ที่ต้องเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว สภาวะของผู้ติดเชื้อเอดส์ เศร้าหมอง หดหู่ หมดหวัง สิ้นหวัง ท้อแท้ บางครั้งหรือบางคนอาจคิดทำร้ายตนเอง การฆ่าตัวตายในการจัดบริการต้องใช้เทคนิคในการพูดคุยกับผู้ติดเชื้อมากขึ้น ปัญหาได้กลายเป็นภาระของสังคมที่หลายฝ่ายต้องมาร่วมรับผิดชอบการจัดบริการแก่ผู้ป่วย การบริการสังคมสงเคราะห์ เป็นกลวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และฟื้นฟูสภาพทางกาย จิต สังคมของผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัวได้ ทีมสุขภาพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือในการหาหนทางที่จะจัดบริการ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้เขาเหล่านั้น สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและไม่เกิดความรู้สึกที่ถูกสังคมทอดทิ้ง สำหรับปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในครอบครัว ทำให้เด็กที่บิดามารดาติดเชื้อได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลยังให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคม เด็กกลุ่มนี้มีจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาทางสังคม เด็กที่คลอดจากมารดาติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการรักษาพยาบาลและคุณภาพชีวิต บทบาทที่สำคัญของนักสังคมสงเคราะห์ คือการพัฒนาเครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคม เป็นการพัฒนาการและสนับสนุน การรวมกลุ่มคนที่มีจิตอาสาที่จะเข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนการดำเนินงานด้านเอดส์ที่เกี่ยวข้องกับมิติหลากหลาย กลุ่มคนเหล่านี้มาจากต่างองค์กร ต่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานเอดส์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานปกครอง หน่วยงานศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และอื่นๆ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรของเครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคม จึงถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งที่ต้องดำเนินการ
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยสูงอายุ/และโรคเรื้อรัง
- สภาพปัญหาของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพและสังคมมากกว่าหนึ่งปัญหา ปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุมีความคล้ายคลึงกัน ยากที่จะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ สาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากพยาธิสภาพและกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากความสูงอายุ การดูแลที่เหมาะสมคือการให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การพิจารณาถึงความก้าวหน้าในการบำบัดรักษา จะต้องประเมินปัญหาทั้งหลายร่วมกัน ผลที่ตามมาของปัญหาหนึ่งอาจกระทบต่อปัญหาอื่น (ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์,2552) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ ที่เผชิญปัญหาซับซ้อนทางกายและสังคม เช่น สมองเสื่อม โรคทางจิตเวช มีภาวะ ซึมเศร้า โรคทางกายเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และขาดผู้ดูแล นักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ครอบครัว เพื่อการดูแลทางสังคม จิตใจที่ถูกต้อง เหมาะสม
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถมารับการรักษาต่อเนื่อง ถูกทอดทิ้ง สร้างความรู้สึกที่เป็นภาระต่อ
ญาติ ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุข หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว กลายเป็นผู้ป่วยไร้ญาติ ไม่ได้รับการพัฒนาทางกาย จิต สังคมอย่างเหมาะสม บางรายถูกทอดทิ้งในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน โดยขาดการเหลียวแลจากญาติและครอบครัว ทำให้ไม่สามารถมีชีวิตที่เป็นปกติ ไม่สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินชีวิตแบบพึ่งตนเองโดยลำพังได้ นักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ในการติดตามญาติและครอบครัว เพื่อสร้างความเข้าใจในการยอมรับผู้ป่วย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย และเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่ครอบครัวได้อย่างมีความสุข
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis หรือ CAPD) เป็นวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการยอมรับวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน ผู้ป่วย CAPD ต้องดำรงชีวิตอยู่กับสภาพความเจ็บป่วยที่ต่อเนื่องและยาวนาน ในผู้ป่วย CAPD จำเป็นต้องมีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แม้ว่าทีมสหวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ ฯลฯ จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีการดูแลตนเอง แต่การดูแลตนเองของผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความเข้มแข็งภายในจิตใจและการสนับสนุนของครอบครัว การใช้ชีวิตโดยมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดอยู่กับตัวตลอดชีวิต จำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังมีบริบททางสังคมอื่นๆ อีกเช่น การต้องมีผู้ช่วยในการล้างไต (Care giver) ซึ่งอาจเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลนอกครอบครัว ด้านการประกอบอาชีพ รายได้ และสวัสดิการต่างๆ ผู้ป่วย CAPD ส่วนมากไม่แข็งแรงพอที่จะประกอบอาชีพหรือล้างไตทางช่องท้องด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีผู้ช่วย ผู้อุปการะ หรือ ได้รับสวัสดิการเพียงพอ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตปกติสุข สมาชิกในครอบครัวต้องเข้าใจวิธีการดูแล เอาใจใส่ และเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย การสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตในบ้านโดยมีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ การปรับสภาพบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งการใช้ชีวิตนอกบ้าน การออกสู่สังคม การผ่อนคลาย การนันทนาการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หมายถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไต ดังนั้น ผู้ป่วย CAPD จึงต้องมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็งและมีระบบสนับสนุนทางสังคมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตระยะเวลาหนึ่งที่ยาวนานเพียงพอจนกระทั่งสามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้ตามสมควร
นักสังคมสงเคราะห์ จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างความเข็มแข็ง และ การสร้างระบบการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว โดยวิธีการการประเมินปัญหาและความต้องการ (Problem and Need Assessment) การประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแล (Family Assessment) การจัดบริการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล พมจ. องค์กรเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เป็นต้น การวิเคราะห์และวางแผนการจัดบริการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างระบบสนับสนุนให้เกิดการดูแลตนเอง การดูแลโดยกลุ่ม รวมทั้งการจัดหาทรัพยากร เพื่อสนับสนุนให้ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย CAPD นั้นมีความซับซ้อน ลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้เพียงพอและครอบคลุมปัญหาทั้งหมดของผู้รับบริการ เพื่อการจัดบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
แม้ว้าประเทศไทยจะมีนโยบายเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยังมีผู้ป่วยที่ปัญหาการใช้สิทธิในระบบประกันสุขภาพ ดังนั้นนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์จึงต้องดำเนินการให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพตามสิทธิที่พึงได้รับ บริหารจัดการและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ พิทักษ์และ คุ้มครองสิทธิ์ผู้รับบริการในระบบประกันสุขภาพ ตลอดจนพิทักษ์สิทธิและคุ้มครองผู้รับบริการด้านสาธารณสุขตามสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย และ รับเรื่องราว/แก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน และการเจรจาไกล่เกลี่ย นักสังคมสงเคราะห์ดำเนินการจัดระบบการให้บริการแก่ผู้มีหลักประกันสุขภาพต่างๆ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันสุขภาพต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตามสิทธิอย่างอย่างเสมอภาคและเหมาะสม โดยครอบครัวผู้มีหลักประกันสุขภาพ การจัดระบบการให้บริการแก่ผู้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนต่างๆ และครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม โดยผสมผสานวิธีการทางสังคมสงเคราะห์ (Social Work Integrated Method) ในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการดำเนินการ
๑ รับเรื่อง ศึกษาข้อมูล หาข้อเท็จจริง ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางสังคมของผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ข้อมูลส่วนตัวของครอบครัว การเจ็บป่วย และความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวจากผู้ป่วย ญาติ และทีมสหวิชาชีพ รวมทั้งหาข้อมูลจากการเยี่ยมบ้าน
๑.๑ ร่วมเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกันในลักษณะทีมสหวิชาชีพ
๑.๒ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ข้อมูลส่วนตัวของครอบครัว การเจ็บป่วย และความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวจากผู้ป่วย ญาติ และทีมสหวิชาชีพ
๒ ขั้นประเมินและวินิจฉัยปัญหา
๒.๑ประเมินผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อวินิจฉัยปัญหาความต้องการของผู้ป่วยเพื่อจัดบริการช่วยเหลือรวมทั้งประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยเพื่อการเฝ้าระวังปัญหา
๒.๒ ประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย ประเมินความเสี่ยงทางสังคม ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล
๓ ขั้นวางแผนและกำหนดแนวทางการช่วยเหลือ
๓.๑วางแผนให้บริการช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของปัญหา การจัดการรายกรณี ประชุมทีมสหวิชาชีพในกระบวนการรักษาผู้ป่วย
๓.๒วางแผนส่งผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้านหรือในชุมชน ในกรณีที่มีปัญหาทางสังคมยุ่งยากซับซ้อน มีการเตรียมความพร้อมของครอบครัวและชุมชนก่อนส่งกลับเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยซ้ำ การ
ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งการสร้างความเข้าใจร่วมกับชุมชนในการอยู่ร่วมกัน ประชุมทีมสหวิชาชีพร่วมในกระบวนการรักษาผู้ป่วย
๓.๓ เตรียมทรัพยากรทางสังคมในการช่วยเหลือ
๔ ขั้นดำเนินการช่วยเหลือและจัดบริการทางสังคมสงเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนดไว้
๔.๑ ช่วยเหลือและจัดบริการทางสังคมสงเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนดไว้
๔.๒ประสานงานในการช่วยเหลือและส่งต่อการส่งต่อบริการ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในหน่วยงานโรงพยาบาล ต้องส่งต่อหน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ตามกลุ่มเป้าหมายทางสังคมสงเคราะห์ เช่น พนักงานคุ้มครองเด็ก หน่วยงานบริการทางสังคมผู้สูงอายุ หน่วยบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานทุพพลภาพ หน่วยงานสงเคราะห์เด็กกำพร้าด้อยโอกาส
สถานสงเคราะห์ไร้ที่พึ่ง สำนักงานยุติธรรมจังหวัด บ้านพักฉุกเฉิน สถาบันพัฒนาเด็ก ฯลฯ เป็นต้น
๕ บันทึกข้อมูลกิจกรรมให้บริการตามแบบบันทึกข้อมูลการให้บริการสังคมสงเคราะห์(สค ๑)
๖ ติดตามผลและประเมินผลการให้บริการ
บริการสังคมสงเคราะห์ชุมชนและครอบครัว
เป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยการจัดบริการทางสังคมและสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network) เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเกิดการพึ่งพาตนเอง วัตถุประสงค์งานสังคมสงเคราะห์ชุมชนและครอบครัว เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดปัญหาทางสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพื่อจัดบริการแก้ปัญหาทางสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนในชุมชน กิจกรรม ได้แก่ สำรวจและศึกษาการเกิดปัญหาทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน ให้การดูแลผู้ป่วยในชุมชน (Home Care) โดยใช้กระบวนการสังคมสงเคราะห์ชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายทางสังคม (Social Network) รองรับผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและป้องกันการเจ็บป่วย หรือการเกิดปัญหาทางสังคมซ้ำโดยวิธีการ เยี่ยมบ้าน (Home Visit ) การเยี่ยมบ้าน หมายรวมถึง สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา การรักษาต่อเนื่อง และ การติดตาม ผล การจัดบริการสังคมสงเคราะห์ในชุมชน สนับสนุนการจัดบริการสู่ชุมชน โดยจัดระบบการดำเนินงาน ทรัพยากรและความร่วมมือทางสังคม องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหา กระตุ้นให้ชุมชนรวมกลุ่มกันจัดบริการในชุมชนนั้นๆ นอกจากนี้ ยังรวมถึง การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร ด้านปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย วิธีการแก้ไขปัญหา การป้องกัน การดูแลและการจัดการตนเองเมื่อเกิดปัญหาทางสังคม โดยวิธีการการบรรยาย จัดนิทรรศการ เผยแพร่ เอกสารและสื่อต่าง ๆ การจัดบริการทางสังคมสงเคราะห์แก่ชุมชนในภาวะวิกฤตต่าง ๆ เช่น ชุมชนที่เกิดอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ในสถานการณ์เร่งด่วนโดยให้บริการบำบัดทางสังคม ช่วยเหลือ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการสงเคราะห์ การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนการให้บริการสังคมสงเคราะห์ชุมชนและครอบครัว
1.ขั้นตอนเตรียมการ
1.1 สำรวจข้อมูลในชุมชน ศึกษาสภาพปัญหา และความจำเป็นจากเอกสารที่เกี่ยว ข้อง แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสังเกต นำผลการสำรวจข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของปัญหา และตามนโยบายของหน่วยงาน
1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ ระยะเวลา งบประมาณ การประเมิน ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.3 ดำเนินการ ประสานทรัพยากรในชุมชน (ติดต่อองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนผู้นำชุมชน) ประชุม สัมมนา อบรม บรรยาย (ผู้นำชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย) ให้การปรึกษาให้บริการตาม วิธีการสังคมสงเคราะห์ ส่งต่อ
1.4 ประเมินและติดตามผล โดยวิธีการ สอบถาม สัมภาษณ์ ประชุม สังเกต ความ
1.5 เปลี่ยนแปลงของชุมชน จากสถิติ รายงาน ข้อมูลจาก เอกสารสิ่งพิมพ์
2.ขึ้นตอนการเตรียมผู้ป่วย
2.1 ศึกษาประเมินสภาวะผู้ป่วย หลังการจำหน่ายผู้ป่วย
2.2 เตรียมครอบครัว เยี่ยมบ้าน เชิญญาติมาพบ ให้ความรู้ ให้การปรึกษา
3. ขั้นตอนเตรียมชุมชน
3.1 สร้างทัศนคติที่ดีกับชุมชนต่อผู้ป่วย
3.2 ให้ความรู้ ให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ประสานทรัพยากรในชุมชนและเครือข่ายทางสังคม
4.ขั้นตอนของการเยี่ยมบ้าน
4.1.เตรียมการคัดเลือกผู้ป่วยศึกษาข้อมูลผู้ป่วย และกำหนดวัตถุประสงค์ ศึกษาเส้นทางการเดินทาง และสถานที่นัดหมาย แจ้งวัตถุประสงค์ เตรียมอุปกรณ์ พาหนะ
4.2 ดำเนินการ สร้างสัมพันธภาพ สังเกตและศึกษาสภาวะแวดล้อม
4.3 สัมภาษณ์ ประเมิน วิเคราะห์ปัญหา
4.4 ให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน
4.5 ให้ความรู้ ให้การปรึกษา ประสานทรัพยากร
4.6 สรุปและวางแผนการให้บริการ
5.ขั้นตอนการให้บริการด้านสังคมและสุขภาพอนามัยแก่ชุมชนในภาวะวิกฤติ
5.1 เตรียมการ ร่วมประชุมทีมงานและกำหนดแผนงาน เตรียมบุคคลกร กำหนดสถานที่ เตรียมอุปกรณ์
5.2 ดำเนินการ ศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ประสานงานกับศูนย์อำนวยการและ องค์กรที่เกี่ยวข้อง
5.3 พิจารณาความเร่งด่วนของปัญหา ให้การช่วยเหลือปัญหาเฉพาะหน้า ให้คำปรึกษาแนะนำ การสนับสนุนทางจิตใจ
5.4 ประสานทรัพยากรทางสังคมในชุมชน ส่งต่อเพื่อรับบริการที่เหมาะสมต่อไป
6. ประเมินและติดตามผล
6.1ประชุมประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.2 เสนอแนะแนวทางและแผนงานต่อไป
กิจกรรม การให้บริการ (core activity) สังคมสงเคราะห์
1. การให้บริการให้คำปรึกษาทางด้านสังคมสงเคราะห์ด้านป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ
1.1 บริการให้คำปรึกษาเชิงสังคมเป็นบริการให้คำแนะนำแก่บุคคลทั่วไปและครอบครัว จุดมุ่งหมาย เพื่อ ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิทางสังคม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิที่พึงจะได้รับ/บริการต่าง ๆ ในเรื่องการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนต่างๆ การให้ความช่วยเหลือเป็นทั้งปัญหาส่วนตัวและปัญหาทางสังคม
1.2 ช่วยให้ผู้รับการปรึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เรียนรู้ทักษะและวิธีการที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือแก้ปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
1.3 เป็นการให้คำปรึกษา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆในอนาคตได้ด้วยตนเอง มีทักษะและความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
1.4 เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพ รวมทั้งแนะนำให้ผู้ขอคำปรึกษาติดต่อไปยังแหล่งข้อมูลหรือความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นกรณีๆ
2.การบริการสังคมสงเคราะห์ (ด้านการบำบัดทางสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว)
2.1เป็นการให้การบำบัด รายบุคคล กลุ่ม ครอบครัว เพื่อให้ผู้ใช้บริการและครอบครัวตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ตนเอง สามารถทำหน้าที่ทางสังคม (Social Function) และจัดการกับปัญหาทางอารมณ์-จิตใจ สังคมได้ด้วยตนเอง ให้การบำบัดทางสังคมรายบุคคล กลุ่ม และครอบครัวที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังนี้
2.1.1 ครอบครัวบำบัด (Family Therapy) เช่น ปัญหาครอบครัวและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ปัญหาสัมพันธภาพ ปัญหาสุขภาพจิตผู้ดูแล ปัญหาความขัดแย้ง ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและทำร้ายตนเองและผู้อื่น การไม่ทำหน้าที่ตามบทบาท(Dysfunction) การไม่รู้จักขอบเขต(Boundary)ในครอบครัว เป็นต้น การประเมินผลลัพธ์ของการบำบัด ถ้ามีความเสี่ยงอยู่ ต้องวางแผนการบำบัดและบริการทางเลือกอื่นต่อไป
3.บริการด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3.1การฟื้นฟูมรรถภาพทางสังคม มีจุดหมายเพื่อให้สังคมยอมรับความสามารถของคนที่มีความผิดปกติ /พิการ การเตรียมความพร้อมทางสังคม การจัดสภาพแวดล้อม เป็นการพัฒนาศักยภาพทางสังคมของผู้ใช้บริการ ให้มีทักษะสังคม ทักษะการดำรงชีวิต สามารถปรับตัว ทำหน้าที่ทางสังคมได้อย่างเหมาะสม และสามารถดำรงชีวิต ได้ตามศักยภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เป็นสิ่งจำ เป็นสำ หรับการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะ ผู้พิการ และผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต เพราะความผิดปกติทางจิตเป็นโรคหรือภาวะเรื้อรัง ที่ จำ เป็นต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ทางจิตและทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำ รงตนอยู่ในชุมชน สังคมได้เป็นปกติสุข
3.2ด้านการป้องกันและฟื้นฟูสภาพ นักสังคมสงเคราะห์รับผิดชอบจัดทำโปรแกรมการ สงเคราะห์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งในโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชนและเชิงรุกในชุมชน โดยการเตรียมความพร้อมครอบครัว สงเคราะห์ การป้องกัน และแก้ไขปัญหา ทั้งระยะสั้น และระยะยาว โดยการประเมินความสมารถในทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียน ประเมินครอบครัว ติดตามการบริการที่บ้าน (Home Care) การติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยและญาติที่บ้านเพื่อประเมินผลการสงเคราะห์ การคุ้มครอง และการพิทักษ์สิทธิ์ และการปฏิบัติการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่องผสมผสานและเป็นองค์รวม ปฏิบัติงานที่ยุ่งยากร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ในศูนย์เฉพาะทาง
3.3ด้านการสังคมสงเคราะห์ชุมชน เป็นการทำงาน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ในพื้นที่ และ มีการเตรียมความพร้อม ชุมชน และสังคม ในการ ดูแลผู้ป่วยที่มี แนวโน้ม เป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อปัญหาทางมสังคม และ กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ชุมชน ได้แก่ จัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว / ถาวร จัดหาสถานที่ดูแล/คนดูแล (หลังจำหน่ายออก โรงพยาบาลแล้ว) การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด รายบุคคล
ประสาน/ส่งต่อศูนย์สุขภาพชุมชนและอาสาสมัครดูแลกันเองในชุมชน เป็นต้น
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
เนื่องจากงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ หรือผู้ป่วยที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายโดยตรง จึงทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น โดยเกี่ยวโยงไปถึงการวางแผนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทักษะสังคม ทักษะชีวิต ผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล การวางแผนในการส่งต่อเพื่อพักฟื้นหรือฝึกอาชีพผู้พิการ การประสานงานเพื่อจัดหางานให้ผู้พิการ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและปรับปรุงที่พักอาศัย การให้การสงเคราะห์ต่างๆ การติดต่อกับองค์กรการกุศล องค์กรผู้พิการ องค์กรกีฬาต่างๆ การจัดหาอุปกรณ์เครื่อวช่วยผู้พิการต่างๆ การจัดสถานศึกษาแก่เด็กพิการ เป็นต้น
คนพิการ เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องเนื่องจากการสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายและจิตใจ ทำให้มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ การสื่อความหมาย การทำกิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพ ซึ่งคนหนึ่งอาจจะมีความบกพร่องและมีขีดจำกัดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ปัจจุบันจะพบว่าทุกภาคส่วนในสังคมมีแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพมีความเชื่อมโยงทั้งในส่วนของวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ ครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้การดูแลสุขภาพมีความแตกต่างกันตามสภาพปัญหา ภาครัฐหรือเอกชนต่างได้รวมกันคิดหาแนวทางและผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลซึ่งถูกจำกัดความสามารถให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
ในการจัดบริการสังคมสงเคราะห์ นักสังคมสงเคราะห์ มีการดำเนินการหาข้อมูล (Fact finding) วิเคราะห์วินิจฉัยบำบัดทางสังคมกับผู้ป่วย การประเมินความพร้อมของผู้พิการและครอบครัว การเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและทีมสุขภาพ (Patient care team) และการวางแผนการจัดบริการทางสังคม (Social care plan) ร่วมกับภาคีเครือข่าย (stakeholder) มีจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้พิการแบบครบวงจร (one stop service) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ มีความสะดวกรวดเร็ว มีการให้คำปรึกษาแนะนำ และ จัดระบบการดูแลและประสานงานการออกเอกสาร จดทะเบียนผู้พิการ คุ้มครองสิทธิ แนะนำสิทธิประโยชน์ คนพิการ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน ตลอดจนการจัดประชุม case conference การจัดระบบส่งต่อคนพิการถูกทอดทิ้ง ไม่มีญาติเข้าสถานสงเคราะห์ทั้งของรัฐและเอกชน
นักสังคมสงเคราะห์ จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างความเข็มแข็ง และ การสร้างระบบการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว โดยวิธีการการประเมินปัญหาและความต้องการ (Problem and Need Assessment) การประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแล (Family Assessment) การจัดบริการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล พมจ. องค์กรเครือข่ายผู้พิการ เป็นต้น การวิเคราะห์และวางแผนการจัดบริการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างระบบสนับสนุนให้เกิดการดูแลตนเอง การดูแลโดยกลุ่ม รวมทั้งการจัดหาทรัพยากร เพื่อสนับสนุนให้ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม นอกจากนี้นักสังคมสงเคราะห์ต้องใช้กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เหมาะสมกับศักยภาพในครอบครัวและชุมชน และเพื่อสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก การฝึกทักษะการทำงาน การฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชน การฝึกอาชีพ การจัดหางาน รวมทั้งการฝึกเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เป็นต้น เนื่องจากสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้พิการ นั้นมีความซับซ้อน ลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้เพียงพอและครอบคลุมปัญหาทั้งหมดของผู้รับบริการ เพื่อการจัดบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ที่ตั้ง สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี โทร.02 5901741
- ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บรรณาธิการ. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
จัดเป็นส่วนหนึ่งในทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นตัวจักรสำคัญในการประสานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ และผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยด้านต่างๆ เช่น การให้การสงเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยสิทธิการรักษาพยาบาลประเภทต่างๆ การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ การประสานงานกับองค์กรทางการแพทย์และองค์กรผู้พิการอื่นๆ เป็นต้น
งานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จัดเป็นงานที่สำคัญ และไม่ค่อยมีผู้รับรู้บทบาทเท่าใดนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆในการเชื่อมโยง"ภายในองค์กรการแพทย์"กับ"องค์กรภายนอก"
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
เนื่องจากงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ หรือผู้ป่วยที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายโดยตรง จึงทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น โดยเกี่ยวโยงไปถึงการวางแผนการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล การวางแผนในการส่งต่อเพื่อพักฟื้นหรือฝึกอาชีพผู้พิการ การประสานงานเพื่อจัดหางานให้ผู้พิการ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและปรับปรุงที่พักอาศัย การให้การสงเคราะห์ต่างๆ การติดต่อกับองค์กรการกุศล องค์กรผู้พิการ องค์กรกีฬาต่างๆ การจัดหาอุปกรณ์เครื่อวช่วยผู้พิการต่างๆ การจัดสถานศึกษาแก่เด็กพิการ เป็นต้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย,2560
- ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บรรณาธิการ. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
mummxngaelakrnitwxyanginbthkhwamnixacimidaesdngthungmummxngthiepnsaklkhxngeruxngkhunsamarthchwyaekikhbthkhwamni odyephimmummxngsaklihmakkhun hruxaeykpraednyxyipsrangepnbthkhwamihm mithunayn 2022 eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir bthkhwamnihruxswnnikhxngbthkhwamtxngkarprbrupaebb sungxachmaythung txngkarcdrupaebbkhxkhwam cdhna aebnghwkhx cdlingkphayin aela hruxkarcdraebiybxun khunsamarthchwyaekikhpyhaniidodykarkdthipum aekikh danbn caknnprbprunghruxcdrupaebbxun inbthkhwamihehmaasm xacthukeriykwa sngkhmsngekhraahkhlinik kidprawtiaelawiwthnakarsngkhmsngekhraahthangkaraephthy wiwthnakarkarngansngkhmsngekhraahthangkaraephthy erimtnkhuninpraethsithy emux ph s 2495 inewlann xngkhkarshprachati idsngtw nangsaw Eileen Davidso35n ekhamacdtngsthansngekhraahaemaelaedkinpraethsithy nnglksn exmpradisth 2530 n 6 7 karptibtinganennhnkthipyhadansukhphaphxnamyepnhlk mikarrwmmuxknrahwangxngkhkarxnamyolkaelashprachachati inkarsngthimaephthy phyabal nksatharnsukhsastr aelanksngkhmsngekhraah ekhamarwmdaeninkar tlxdrayaewla 62 pi thinksngkhmsngekhraah thahnathi snbsnun sngesrimprachachnihmisukhphaphdi promotion babdrksasukhphaphxnamy cure pxngknpyhasukhphaph prevention aela funfusukhphaphkhxngprachachn rehabilitation chlwy cutikul 2544 ehnidwangansngkhmsngekhraahthangkaraephthy epnnganthithangankbprachachntngaetradbpceckchn ipcnthungradbsngkhm karthangansngkhmsngekhraahinorngphyabal rayaerimkarpdibtinganinorngphyabalsngkdswnphumiphakh cnthungrayaaephnphthnakarsatharnsukhchbbthi 4 ph s 2520 2524 ngansngkhmsngekhraahepnaephnknganxisrakhuntrngtxphuxanwykarorngphyabalimidsngkdfayhruxklumnganid txmaemuxmikarcdtngfayewchkrrmsngkhmkhuninorngphyabalsunyaelaorngphyabalthwip xyangepnthangkar kickrrmthinksngkhmsngekhraahdaeninkarinorngphyabalswnphumiphakh idaek karihbrikarsngekhraahphupwyechphaaray karphicarnakharksaphyabal karsmphasnaelasxbprawtikarihkhapruksaaenanaphupwythimipyhaxarmn citic aekhakhrxbkhrwepnhlk hlng pi 2525 karpdibtingansngkhmsngekhraahorngphyabalsuny orngphyabalthwip thukrwmiwepnhnunginnganhnunginokhrngsrangnganfayewchkrrmsngkhm miphlihekidkarepliynaeplngthngrupaebbaelaaenwthanginkarpdibtingan cakkarihbrikarsnbsnunkarrksaphyabal ipsukarphsmphsanbrikaripinkickrrmtang sungdaeninkarodyfayewchkrrmsngkhm khrxbkhlumthungkarsngesrimsukhphaph pxngknorkh rksaphyabal aelakarfunfusphaphthnginradbbukhkhl khrxbkhrw aelachumchn emuxsanknganpldkrathrwngsatharnsukh idcdthahnngsuxaenwthangkarpdibtinganorngphyabalsuny orngphyabalthwip idkahndraylaexiyd ngankhxngfayewchkrrmsngkhm aelainswnngansngkhmsngekhraah id xthibaylksnanganiwwa ngansngkhmsngekhraah prakxbdwy karsngekhraahphupwyaelakhrxbkhrw kartidtxprasanngankbhnwyngankhxngrthaelaexkchn karaenanapruksakarsngkhmsngekhraahthangkaraephthyaelasatharnsukhtxkhusmrs khrxbkhrwkhnphikar hruxphumipyhathangsngkhmxun aelakahndihnksngkhmsngekhraahihbrikarinnganewchkrrmfunfuaelangancitewch pi 2528 2529 emuxokhrngkarphthnarabbrikarkhxngsthanbrikaraelahnwyngansatharnsukhinswnphumiphakh phbs khnakrrmkarphthnanganewchkrrmsngkhm idcdthakhxbekhtnganaelamatrthankickrrminngansngkhmsngekhraah khxng rphs rphth ihmikarpdibtingandankarsngkhmsngekhraahphupwyaelakhrxbkhrw karprasanngan aelakarihkhapruksaaenana khrxbkhlumthnginorngphyabalaelainchumchn sungichepnaenwthangkardibtingansngkhmsngekhraahinchwngnn pi ph s 2532 sngkhmsngekhraahthangkaraephthyidkxtngchmrmchmrmnksngkhmsngekhraahinorngphyabalsuny orngphyabalthwipaelaekhruxkhaynksngkhmsngekhraahthangkaraephthysungidptibtingandansukhphaphkracayknxyuinsthanbrikarsukhphaphradbtangthwpraethsthnginswnkhxngkrathrwngsatharnsukh mhawithyaly krungethphmhankhr kxngthph sankngantarwcaehngchati hnwyngankarkuslaela xngkhkrphakhexkchn epntn miwtthuprasngkh ephuxkahndaelasngesrimmatrthankarptibtingankhxngwichachiphsngkhmsngekhraahthangkaraephthy suksa khnkhwa sngesrimaelaephyaephrkhwamruthangsngkhmsngekhraahthangkaraephthy sngesrimphithkspraoychnkhxngwichachiphsngkhmsngekhraahthangkaraephthy ephuxsngesrimekhruxkhaykhwamrwmmuxinkarptibtingandanswsdikarsngkhmaelasngkhmsngekhraahthangkaraephthyaelacdswsdikaraekhmusmachik tlxdcnsngesrimkarprasannganaelkepliynxngkhkhwamrudanswsdikarsngkhm aelasngkhmsngekhraahaelaihkhwamrwmmuxkbxngkhkarwichachiphthiekiywkhxng thnginaelatangpraeths in pi ph s 2530 2534 inrayaaephnsatharnsukhchbbthi 6 kxngorngphyabalphumiphakhidcdthaaephnphthnarabbrikarewchkrrmsngkhm sungrwmkickrrmkarphthnangansngkhmsngekhraahinaephnediywkn phayitkardaeninngankhxngkhnathanganphthnanganewchkrrm sungfayaephnnganaelaokhrngkar kxngorngphyabalphumiphakh epnhnwyelkhanukar aelainpi ph s 2531 rayathinayaephthypyya sxnkhm epnphuxanwykarkxngorngphyabalphumiphakh pccubneksiynxayurachkaraelw aelanayaephthysuphchy khunartphvks epnhwhnafayaephnnganokhrngkar pccubneksiynxayurachkaraelw kxngorngphyabalphumiphakh mikaraetngtngnksngkhmsngekhraahcakorngphyabalinswnphumiphakh canwn 10 khn epnkhnathanganphthnangansngkhmsngekhraah thaihekideknthmatrthaninkarpdibtingansngkhmsngekhraahkhxngorngphyabalsuny orngphyabalthwip nxkcakeknthmatrthaninkarthangan aelwkhnathangandngklaw yngthahnathiphthna prbprungngansngkhmsngekhraah mikarcdprachumwichakarpracapi srangrabbsnbsnunchwyehlux niethsngan pthmniethsnganihkbphupdibtinganihm phthnarabbkarcdekbkhxmul idmikarphthnanganxyangepnrupthrrm tngaetnnma khumuxkarpdibtingansngkhmsngekhraahthangkaraephthy orngphyabalsuny orngphyabalthwip 2538 n 1 5 pi ph s 2542 nksngkhmsngekhraahthangkaraephthy idrwmtwknphthnamatrthanaelakhumuxkarptibtingansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip odyerimcak kxngorngphyabalphumiphakh sanknganpldkrathrwngsatharnsukh krathrwngsatharnsukh sungenuxhasarasakhymatrthanaelakhumuxkarptibtingansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip idkahndpraephthngansngkhmsngekhraah iw 3 matrthan idaek aebngxxkepn 3 swn dngni 1 matrthannganbriharsngkhmsngekhraah prakxbdwy cdetriymsthanthisahrbkarihbrikarthiepnsdswnehmaasm karcdtha cdhaekhruxngmux xupkrn karihbrikarsngkhmsngekhraah idaek khumuxkarptibtingansngkhmsngekhraah ekhruxkhaykarihbrikarsngkhmsngekhraahthikahndiwchdecnthngphakhrthaelaexkchn karetriymkhwamphrxmdanbukhlakrphuptibtingansngkhmsngekhraah odykarminksngkhmsngekhraahinkarptibtingan aelamibukhlakrinngansngkhmsngekhraahthiphan karxbrmhruxpthmniethsekiywkbngansngkhmsngekhraah karbriharcdkarephuxsnbsnunngandansngkhmsngekhraah ekiywkbkarcdihmikhaxthibayngan cdthaaephnnganaelaaephnptibtisungkahndkarthanganthichdecnrwmthngmikarcdtnghrux briharkxngthunsngkhmsngekhraah 2 matrthanngandanwichakar prakxbdwy karcdthathaebiyn bnthuk karihbrikarsngkhmsngekhraah karcdtharayngankarnaesnxkhxmulngansngkhmsngekhraah karcdthawiekhraahkhxmulngansngkhmsngekhraah karephyaephr wichakar phlnganihepnpraoychntxsatharnchn 3 matrthanngandanbrikar prakxbdwy prakxbdwy 6 ngan khux 1 ngantrwcwinicchyaelanganbabdthangsngkhm 2 nganefarawngpyhathangsngkhm 3 ngansngesrimaelafunfusmrrthphaphthangsngkhm 4 ngancdkaraelaphthnathrphyakrthangsngkhm 5 ngansngkhmsngekhraahchumchn 6 nganswsdikarsatharnsukh pi ph s 2546 rthbalidkahndnoybay hlkpraknsukhphaphthwnhna sngphlihekidkarptiruprabbrachkarkhxngkrathrwngsatharnsukhaelahlkpraknsukhphaphkhxngprachachn odyprbokhrngsrangkarbriharrachkarswnklang kxngorngphyabalphumiphakhidprbepn sankphthnarabbbrikarsukhphaph krmsnbsnunbrikarsukhphaph aelachwngewlann idmikarxxkkdhmayihm thiekiywkhxngkbkarptibtingansngkhmsngekhraahthangkaraephthy idaek ph r b hlkpraknsukhphaphaehngchati ph s 2545 ph r b sngesrimkarcdswsdikarsngkhm ph s 2546 ph r b khumkhrxngedk ph s 2546 ph r b phusungxayu ph s 2546 ph r b sngesrimkaraelaphthnakhunphaphchiwitkhnphikar ph s 2550 ph r b khumkhrxngphuthukkrathadwykhwamrunaernginkhrxbkhrw ph s 2550 aelaph r b sukhphaphcit ph s 2551 epntn caksthankarndngklaw nksngkhmsngekhraahthangkaraephthy idrwmtwknphthna aenwthangkardaeninnganswsdikarsngkhm ephuxrxngrbkarptiruprabbrachkaraelahlkpraknsukhphaphthwnhna cungsngphlihkhnathanganphthnangansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip idmikarna bychipyhathangsngkhm social problem list maichinpraeminkarptibtingantameknthmatrthannganswsdikarsngkhminmatrthanthi 1 karwinicchyaelababdthangsngkhm 2546 n 114 pi phs 2547 ekidehtukarnphyphibtikhlunykssunamithiekidkhunkbpraethsithy inwnthi 26 thnwakhm 2547 ekidkhwamsuyesiyxyangexnknnthtxpraethschati nkwichakarthukklum idtuntwekidkareriynruthungkarphthnakarbriharcdkaremuxekidphyphibti inngankhrngnnkrathrwngsatharnsukhidcdthimnganhlaythimnganlngipchwypdibtinganinphunthiprasbphy nksngkhmsngekhraahorngphyabalsuny orngphyabalthwip epnbukhlakrxikklumhnungthiidekhaiprwmthanganephuxrwmthanganephuxcdbrikarthangsngkhmihprachachnphuprasbphysinamu hlngcakkarthangan klumnksngkhmsngekhraahthangkaraephthy idthxdbtheriynkarthanganaelasrangkhumuxkarthanganaelaaenwthangkarthanganinehtukarnwikvtikhun inpi 2549 odyidrbsnbsnuncak krmsnbsnunbrikarsukhphaph krmsukhphaph aelaxngkhkarxnamyolk thngniephuxihthukkhnidsuksa eriynru aelathakhwamekhaic ephuxchwyihkarcdbrikarsngkhminehtukarnchukechinxyangmiprasiththiphaph aelaetriymphrxmrxngrbehtukarnphyphibtithimioxkaskhuninthukphunthiinpraethsithy pi phs 2551 krmsnbsnunbrikarsukhphaph odysankphthnarabbbrikarsukhphaphaelakhnakrrmkarphthnanganswsdikarsngkhm orngphyabalsuny orngphyabalthwip idcdhnngsuxkhumuxaenwthangkarthangan insthankarnthangdandansatharnsukhaelaswsdikarsngkhmmikarepliynaeplngokhrngsrangihmhnwynganswsdikarsngkhm xyuphayitkakbduaelkhxngklumpharkicsnbsnunbrikarsukhphaph thahnngsuxkhumuxephuxthwbthwnxngkhkhwamru sthankarnaenwonm noybayaelaaephnnganthisakhy aenwthangkarihbrikaraelakarphthnangankhunphaphnganswsdikarsngkhm pi ph s 2552 nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy idrwmtwkn yunkharxngkhxcdthaebiyncdtngsmakhmephuxihmithanaepnnitibukhkhl txnaythaebiynsmakhmpracacnghwdnnthburi thaebiynelkhthi c nb 7 2552 lngwnthi 4 phvsphakhm 2552 chux smakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy ody nangpiyachtr chuntrakul nksngkhmsngekhraahchanaykar krmsnbsnunbrikarsukhphaph krathrwngsatharnsukh phukxtngaelaepnnayksmakhmkhnaerk nangkrrnikar eciymcrsrngsi orngphyabalnkhrphingkh epnelkhathikar aelanangsawmlvdi cindaxnntys ehryyikaelaprachasmphnth mithithakarsmakhmtngxyuthichn 5 xakhar 3 sankbriharsatharnsukhphumiphakh sanknganpldkrathrwng krathrwngsatharnsukh thnntiwannth cnghwdnnthburi ehtuphlkhxngkarcdtngepnsmakhmsubenuxngmacaksthankarntangthichmrmaelaekhruxkhaynksngkhmsngekhraahthangkaraephthyrwmkndaeninkarmaxyangtxenuxng idedinthangmathungcudthiaesdngihehnwakarkhbekhluxnaelaphthnawichachiphsngkhmsngekhraahthangkaraephthymikhwamcaepnthitxngcdtngxngkhkrklangephuxepnhlkaelaepnphlnginkardaeninnganephuxihbrrluepahmay sungnbtngaetidcdthaebiynaelaidmikardaeninnganaaelw smakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithyidmikhwamecriyetibot ngxkngam mikhwamepnpukaephn mismachikthirwmtwknxyangehniywaenn esiysla aelaidrwmsrangphlnginkarkhbekhluxnaelaphthnawichachiphsngkhmsngekhraahxyangtxenuxng thngngandansngkhm sngekhraahthangkaraephthy ngantangdanwichachiphsngkhmsngekhraahaelangansngkhmsngekhraahephuxsngkhmxun pccubnsmakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy mismachikpraman 500 khn pi 2551 2555 nksngkhmsngekhraahthangkaraephthythuksngkd rwmkb khnasngkhmsngekhraahsastr mhawithyalythrrmsastraelakhnasngkhmsngekhraahaelaswsdikarsngkhm mhawithyalyhwechiywechlimphraekiyrti cdtngkhnathangan srangekhruxngmuxkarthangan ngantrwcwinicchyaelanganbabdthangsngkhm khunepnkhrngaerk eriykwa aebbbnthukphurbbrikarsngkhmsngekhraah skh 1 aelaaebbrayngansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip skh 3 aelamikarnaipthdlxngichkborngphyabalinsngkdsanknganpldkrathrwngsatharnsukh krathrwngsatharnsukhaelaorngphyabalsngkdthukkrathrwngthiminksngkhmsngekhraahpracaorngphyabal txma ichchux ekhruxngmuxkarptibtingansngkhmsngekhraahthangkaraephthy pi 2538 2553 nganbrikarsngkhmsngekhraahthangkaraephthy idichopraekrmbnthukkhxmul odyopraekrm FOXPRO tngaet pi 2538 cakkhwamrwmmux phuphthnaopraekrm orngphyabalphranngeklannthburi txma pi 2553 idphthnarabbkarbnthukkhxmulxxniln cakkhwamrwmmuxcakphuphthnaopraekrm orngphyabalxanacecriy aela pi 2555 phthnaekhasurabbkarbnthukkhxmulxxniln sankbriharkarsatharnsukh krathrwngsatharnsukh pi 2554 mikhwamphyayamphlkdnphankxngprakxborkhsilpa krathrwngsarnsukh ihmikar kahndsakhakarprakxborkhsilpa insakhasngkhmsngekhraahthangkaraephthy aetenuxngcakyngimidrb khwamehnchxb cungidyutikardaeninkariwkxn pi 2556 sphawichachiphsngkhmsngekhraah mimtiaelaxnumti ihnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyich ekhruxngmuxkarptibtingansngkhmsngekhraahthangkaraephthy prakxbdwyekhruxngmuxkarthangankbphupwyradbebuxngtn idaek ekhruxngmuxpraemin winicchy aelacdkarthangsngkhm Social Diagnosis and Management Assessment S D M A ekhruxngmuxkarthangankbphupwyradbechingluk idaek ekhruxngmuxpraeminkhwamphrxmkhxngkhrxbkhrw Family Assessment F A ekhruxngmuxkhdkrxngaelapraeminphlkarbabdthangsngkhm Social Therapy Assessment S T A ekhruxngmuxaebbpraeminthksaphunthaninkarthanganaelathksakarprbtwthangsngkhm Social skill Assessment S S A aelaekhruxngmuxpraeminkarduaelsukhphaphcittnexng Mental Self Care Assessment M S C A aela khnathanganphthnangansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip aelasankbriharkarsatharnsukh krmsnbsnunbrikarsukhphaph cdthaopraekrmbnthukkhxmulkarbrikaraebbxxniln pi 2556 nksngkhmsngekhraahthangkaraephthy idcdtharanghnngsux aenwthangaephnphthnarabbbrikarsukhphaph Service Plan inswnphumiphakh sngkdsanknganpldkrathrwngsatharnsukhkrathrwngsatharnsukh nksngkhmsngekhraahthangkaraephthy sankbriharkarsatharnsukh sanknganpldkrathrwngsatharnsukh odyminayaephthyichynnth thyawiwthn satharnsukhniethsk snbsnunaelaepnphuwangrupaebb karthangandanswsdikarsngkhm orngphyabalsuny orngphyabalthwip tlxdcnkarphthnawichachiphsngkhmsngekhraahihnxng runhlng idkhaeninrxytam rwmthngepnwithyacaryihkhwamru esrimkhwamkhid ihekidkareriynru tlxdcn ephuxihnksngkhmsngekhraahthangkaraephthythukkhnidichepnkrxbinkardaeninngan ichepnekhruxngmuxthicaechuxmngansngkhmsngekhraahekhakbnganxun inlksnanganthiepnthimngan mibrunkarxngkhrwm ihekidkhwamchdecninhnathirbphidchxb ichepnklikkhwamrwmmuxephuxihnganmiprasiththiphaph ekidpraoychnsungsudtxprachachn pi 2557 khnathanganphthnasngkhmsngekhraah rphs rphth aelasmakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy idekharwmkarcdprachumechingpdibtikar kbwichachiph 17 saynganinkrathrwngsatharnsukh wiekhraahxtrakalng wichachiphsngkhmsngekhraah sakhathangkaraephthy miwithikarkhidwiekhraahxtrakalng 2 aebb idaek karkahndxtrakalng tambrikaraelapharangan SERVICES BASE karkahndkrxbxtrakalng khxngnksngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip idcdradbkarbrikar xxkepn 3 radb idaek radbpthmphumi brikarradbthutiyphumi aela brikarradbttiyphumi inaetradbidkahndbthbathhnathibukhlakr rwmthngekhruxngmuxthicaepninkarptibtingan thiphankarrbrxngcak sphawichachiphsngkhmsngekhraah sdswnkarihbrikarklumepahmayechphaa aelakarbrikartam SERVICES BASE mikarkahnd aenwthang radbpthmphumi F3 F2 F1 M2 radbthutiyphumi radbttiyphumi A S M1 aela karkahndxtrakalng tamphunthiaela prachakr AREA AND POPULATION BASE 15 phvscikayn 2558 krathrwngsatharnsukh ehnchxbihmikarepliynokhrngsranghnwynganinrachkarbriharswn caksphaphpyhasatharnsukhaelapyhasngkhm sungchiihehnwaaenwonmkhxngkarsatharnsukhpraethsithytxngprbbthbaththnkbsphaphpyha ephuxrxngrbklumbukhkhlthiepnepahmay khxngkarphthnakhunphaphchiwitthnginchnbthaelainemuxng rwmthngkarphthnanganihphlthungkarpxngknkarkhyaytwkhxngpyhainxnakht dngnn cungmikarprbepliynokhrngsrangkarthanganihm phayitnoybaywisythsn aelaphnthkickhxngkrathrwngsatharnsukh dngni wisythsn krathrwngsatharnsukh epnxngkhkrhlkdansukhphaphthirwmphlngsngkhmephuxprachachnsukhphaphdi phnthkic phthnaaelaxphibal rabbsukhphaphxyangmiswnrwmaelayngyun epahmay prachachnsukhphaphdi ecahnathimikhwamsukh rabbsukhphaphyngyun orngphyabalsuny orngphyabalthwip kahndihmi 6 klumpharkic idaek klumpharkicdanxanwykar klumpharkicdanbrikarpthmphumi klumpharkicdanphthnarabbbrikaraelasnbsnunbrikarsukhphaph klumpharkicdanbrikarthutiyphumiaelattiyphumi klumpharkicdankarphyabal klumpharkicdanphlitbukhlakrthangkaraephthy karepliynokhrngsrangihmdngklaw klumpharkicklumpharkicdanbrikarthutiyphumiaelattiyphumi mi 19 klumngan mi 19 klumngan dngaephnphumi thi 1 karprbepliynokhrngsrangklumnganswsdikarsngkhmaelapraknsukhphaphinorngphyabalsuny orngphyabalthwip epnklumngansngkhmsngekhraah phayitklumpharkicbrikardanthutiyphumiaelattiyphumiaelamikarkahndpharkic bthbathhnathi khxngnksngkhmsngekhraah sungepliynaeplngcakedimxyangmak ephuxkardaeninnganihsxdkhlxng kbwisythsnaelaphnthkicdngklaw klumngansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwipsungxyuphayitkhwamrbphidchxbkhxng sanknganpldkrathrwngsatharnsukh kahndwisythsn phnthkic okhrngsrangihmxyuphayitkarthangankhxngklumpharkicdanbrikarthutiyphumiaelattiyphumi miokhrngsrangkarthangan hnathiaelakhwamrbphidchxbhlk Production line dngni wisythsn phayinpi 2563 klumngansngkhmsngekhraah orngphyabalsuny orngphyabalthwip caepnxngkhkrthiihbrikarsngkhmsngekhraahthangkaraephthy phayitmatrthanediywkn prchyainkardaeninngan kardaeninnganephuxihprachachnchwytnexngidbnphunthankhxngkhwamechuxmninkhwamepnmnusy chwyekhaihchwyehluxtnexngid Help them to help themself khaniymkarthangansngkhmsngekhraahthangkaraephthy khaniym Core Value Medical Social Work MSW M Morality karbrikardwykhunthrrmaelacriythrrm yudhlkthrrmaphibal S S Service Mind karbrikardwyhwickhwamepnmnusymiphvtikrrmbrikarthidi S Standard ptibtingantammatrthanwichachiph S Social Responsibility mikhwamrbphidchxbtxsngkhm W Work with W Work with not work for karbrikaraebbmiswnrwmkbphupwyaelakhrxbkhrw thimshwichachiph ekhruxkhay Moral Intelligence hmaythung thukkhninxngkhkryudmninhlkkhwamepnthrrm aelaesmxphakh mikhunthrrm thangandwykhwamsucrit yudmninpraoychnswnrwmmakkwaswntntamsilthrrmxndi micitsatharna Service Mind hlkkarkarihbrikarthiditxthukkhnthimaichbrikar khux pccykhwamsaerc odyplukfngihthukkhninxngkhkarmihwicbrikar Service Mind epnhlkyudsahrbsrangkhwamtrahnkihekidkhunincitickhxng phuihbrikarthukkhn khawa hwicbrikar hmaythung karxanwykhwamsadwk karchwyehlux karihkhwamkracang karsnbsnun karerngrdkarthangantamsayngan aelakhwamkratuxruxrntxkarihbrikarkhnxun rwmthngkaryimaeymaecmis ihkartxnrbdwyimtricitthiditxphuxun txngkarihphuxunprasbkhwamsaercinsingthiekhatxngkar karthibukhkhlmihwicbrikardngklawkhangtn chwyihekidphlditxkhnxun txtnexng aelatxnganthitha thiwaekidphlditxkhnxuninkarihbrikar khux phurbbrikarmikhwamphungphxic ekidkhwamruthiditxphuihbrikar phumatidtxkhxrbbrikar emuxphllphthekidkhunerw aeladwynaicbrikarthidi casrangsmphnththidisungknaelakn rahwangphuihbrikaraelaphurbbrikar phurbbrikarcaekidkhwamprathbic aelayindithicaklbmatidtxaelamarbbrikarxik aelayngcanaphlthiekidkhun hruxkhwamprathbicthimiipbxktxepnkarchwyprachasmphnthxikthanghnung work with not work for nnmikhwamhmaythiwa karsngkhmsngekhraahnnepnkarthanganrwmknrahwangnksngkhmsngekhraahkbphuthiprasbpyhaaelashsawichachiph epnkarchwyehluxinthanaephuxnmnusyxyangethaethiym hnathiaelakhwamrbphidchxbkhxngklumngansngkhmsngekhraah prakxbdwy 1 karbrikarsngkhmsngekhraahthangkaraephthy pracaaephnkphupwynxk phupwyin 2 karbrikarkhliniksunyphungid nganihbrikarchwyehluxedk striaelabukhkhlinkhrxbkhrwthithukkratharunaerng aelaphuhyingthitngkhrrphimphrxm 3 karbrikarsngkhmsngekhraahthangkaraephthy pracaaephnkphupwynxkkhlinikphiess klumepahmayechphaa 4 karbrikarsngkhmsngekhraahchumchnaelakhrxbkhrw 5 karcdkarthrphyakrthangsngkhmaelasrangkarmiswnrwmkhxngekhruxkhay 6 karcdkarkxngthunaelamulnithi chwyehluxphupwyyakcnaelaphudxyoxkas 7 nganwichakaraelangankarihkhapruksathangsngkhmsngekhraah nganwichakaraelangankar ngansngkhmsngekhraahthangkaraephthy ngansngkhmsngekhraahthangkaraephthy epnsakhahnungkhxngsngkhmsngekhraah thanganrwmkbthimshwichachiphinorngphybal phuthithahnathidngklawthukeriykwa nksngkhmsngekhraahthangkaraephthy hrux nksngkhmsngekhraahthangkhlinik sungepnphuthisaerckarsuksaradbpriyyatri sachasngkhmsngekhraahsastr hruxsakhathisphawichachiphsngkhmsngekhraahrbrxng thahnathi khdkrxng efarawng praeminwinicchy babd eyiywya ihkarpruksa ihkhaaenana funfusmrrthphaphphupwythiprasbpyhasngkhm xarmn citic phvtikrrm pyhakhrxbkhrw pyhakardarngchiwit pyhakarengin aelapyhasngkhmxun thngnirwmwiekhraahsaehtu pccyphvtikrrm singaewlxm aelakhwamesiyngthithaihekidorkhthithaihekidkarbadecb rwmkbshwichachiphinaelanxkorngphyabal mikarphthnaskyphaphkhxngbukhkhlthimikhwamesuxmhruxkhwambkphrxngthangsngkhmihklbipthahnathixyuinsngkhmid mikaresrimphlngihphupwy khrxbkhrwaelaphuduael miskyphaphinkarduaelphupwy thahnathiprasanaelakarcdkarthrphyakr tlxdcnphithkssiththipraoychnihkbphupwyaelakhrxbkhrw etriymkhrxbkhrw chumchnaelasingaewdlxm ephuxihkarchwyehluxphupwyxyangehmaasm thanganphayitkarkakbduaelkhxngsphawichachiphsngkhmsngekhraah tamphrb wichachiphsngkhmsngekhraah ph s 2556 odyichekhruxngmuxthangsngkhmsngekhraahthangkaraephthy thirbrxngodysphawichachiphsngkhmsngekhraahidaek ekhruxngmuxpraeminaelawinicchythangsngkhm skh ekhruxngmuxpraeminthksaphunthankarthanganaelathksathangsngkhm aebbpraeminkhwamphrxmkhrxbkhrwinkarduaelphupwy aebbpraeminkarduaelsukhphaphcit odyichwithikarsngkhmsngekhraahechphaaray klum chumchn aelakrabwnkar tammatrthanwichachiphkahndnksngkhmsngekhraahthangkaraephthycdepnswnhnungkhxngthimphuihkarrksathangkaraephthy cdepntwckrsakhyinkarprasanrahwangthimnganphurksa xngkhkrtang khrxbkhrwaelaphupwy inkarihkhwamchwyehluxkhnphikarthiprasbpyhadantang xathi sngtx aehlngthrphyakr engin singkhxng aelaswsdikarkhxngrth thngphayinaelaphaynxkhnwyngan thicaepnhruxepnxupsrrkh rksaphyabal kardaeninchiwithmayehtu swsdikarkhxngrth idaek pccysi thixyuxasy karxachiph karsuksa khwammnkhngthangsngkhm karsnthnakr karbrikarthangsngkhmxun tamsiththithiprachachnkhnithyphungmi phungid tamkdhmay karcdhathiphkfun karprasannganephuxkarfunfuthangxachiph karfunfusmrrththangsngkhm thksachiwit thksathangsngkhm karprasanngankbswsdikarsngkhm xngkhkrthangkaraephthyaelaxngkhkrphakhrthaelaexkchn thngnibthbathkhxngnksngkhmsngekhraah yngtxngphthnaskyphaphkhnphikar ihklbipthahnathixyuinsngkhmid esrimphlngihphupwyaelakhrxbkhrw phuduaelmiskyphaphinkarduaelkhnphikar prasanaelakarcdkarthrphyakr tlxdcnphithkssiththipraoychnihkbphupwyaelakhrxbkhrw etriymkhrxbkhrw chumchnaelasingaewdlxm ephuxihkarchwyehluxkhnphikarxyangehmaasm epntn ngankhxngnksngkhmsngekhraahthangkaraephthy cdepnnganthisakhy aelaimkhxymiphurbrubthbathethaidnk enuxngcakmkepnphuthanganxyuebuxnghlngkhwamsaerctanginkarechuxmoyng phayinxngkhkrkaraephthy kb xngkhkrphaynxk epriybesmuxn phupidthxnghlngphra nksngkhmsngekhraahimidthukklawkhaninthana phumiphrakhun aetmkcaxyuinthana ephuxn hrux phi nxng makkwa prchyakhxngkarsngkhmsngekhraah khux karchwyehluxphurbbrikarihsamarthchwyehluxtnexngid Help them to help themselves khwamcaepnkhxngngansngkhmsngekhraahinorngphyabal 1 caksthankarnpyhadansngkhm esrsthkicaelasingaewdlxmthimikarepliynaeplngrwderwaelarunaerng sngphlkrathbtxpyhasukhphaphphupwyihmikhwamsbsxnmakkhun karbabdrksathangkaraephthyephiyngmitiediywimephiyngphx brikarsukhphaphcungtxngkhrxbkhlumbrikardansukhphaph aebbxngkhrwm 2 noybaykhxngkrathrwngsatharnsukh ineruxngkhxngkaretriymkarduaelpyhasukhphaphaelapyhasngkhmphusungxayu karduaelklumwy karduaelaedkaelastrithithukkratharunaerng karduaelkhnphikar karprakhbprakhxngduaelphupwythixyuinrayasudthay phutidyaesphtidaelacitewch karephimkhunphaphrabbhlkpraknsukhphaph l 3 kdhmayhlaychbbtamklumepahmaythisakhyaelamiphlkrathbtxrabbbrikarsukhphaphthingansngkhmsngekhraahrwmdaeninkarephuxihprachachnekhathungbrikarsatharnsukhtamsiththixyangesmxphakh ehmaasm aelaepnthrrm ph r b sngesrimaelaphthnakhunphaphchiwitkhnphikar ph s 2550 ph r b khumkhrxngedk ph s 2546aelaph r b khumkhrxng phuthukkrathadwykhwamrunaernginkhrxbkhrw ph s 2550 ph r b funfusmrrthphaphphutidyaesphtid ph s 2545 ph r b sukhphaphcit 2551 ph r b pxngknaelaprabpramkarkhamnusy ph s 2551 ph r b phusungxayu ph s 2546 ph r b hlkpraknsukhphaphaehngchati ph s 2545 ph r b praknsngkhm ph s 2533 aelaph r b kxngthunenginthdaethn ph s 2537 ph r b khumkhrxngphuprasbphycakrth ph s 2535 ph r b sngesrimkarcdswsdikarsngkhm ph s 2546 ph r b khatxbaethnphuesiyhayaelakhathdaethnaelakhaichcayaekcaelyinkhdixaya l sthabnthiphlitnksngkhmsngekhraah mi 6 sthabn praman 800 khn pidngni m thrrmsastr hlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthit canwn 330 khn pi m hwechiywechlimphraekiyrtihlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthitcanwn 150 khn pi mhamkudrachwithyaly hlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthit canwn 50 khn pi mhawithyalymhaculalngkrnrachwithyalyhlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthit canwn 50 khn pi m ekrik hlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthit canwn 30 khn pi m sngkhlankhrinthr hlksutrsngkhmsngekhraahsastrbnthit canwn 50 khn pi sthabnxun tam kph kahnd citwithya aelasngkhmwithya l canwn 200 khn pi smrrthnanksngkhmsngekhraah dantang dngni 1 ptibtingantammatrthan criythrrm tamsphawichachiphsngkhmsngekhraah 2 karphthnatnexng karekharwmprachum xbrm smna ephuxkaraelkepliyneriynru ephimphunthksa aelkepliyneriynruphayinhnwyngan rahwang rph 3 karihbrikar samarthihbrikar 1 echphaaray Social Case Work 2 klumchn Social Group Work 3 sngkhmsngekhraahchumchn karcdraebiybaelakarphthnachumchn Community Organization and Community Development ephuxsrangkhwamyngyunthangswsdikardansatharnsukhihaekchumchn sngkhm 4 ekhruxkhay srangaelamismphnthphaphthidikbekhruxkhaykarihbrikar shsakhawichachiph phakhiekhruxkhaythirb sngtx chumchn xngkhkrphakhrthaelaexkchn 5 karthanganepnthim samarthprasankarthanganrwmkbwichachiphxun aephthy phyabal citaephthy nkcitwithya nkkayphaphbabd aelnkophchnakar rwmthngphupwy khrxbkhrw u 6 phlngankarphthnakhunphaphkarbrikar karwicy R2R thangsngkhmsngekhraah srang txyxdxngkhkhwamru ekid Good Best Practice ephyaephr epnaebbxyang chinasngkhm l xnungkarthangansngkhmsngekhraahmiklumphupwyhlakhlay mipyhaaelakhwamtxngkarthitangkn caepntxngmiwichachiphnksngkhmsngekhraah thimikhwamruaelakhwamekhaicinkarthangan thiechuxmoyngthimphurksa kbphupwykbkhrxbkhrwaelarabbsphawaaewdlxm ephuxthahnathiechuxmoyngthrphyakr prasanhnwynganxuninkaraeswnghaaelacdbrikarswsdikarthiehmaasmmaich naipsukarldphlkrathbkhxngpyhathangsngkhmthimitxphupwyaelakhrxbkhrw aelasnbsnun phlkdnihphupwykhunsukhrxbkhrwaelasngkhm samarthichchiwitpktiinkhrxbkhrw sngkhmid nksngkhmsngekhraahthangkaraephthykbnganbrikarhyingtngkhrrphimphrxm phuhyingtngkhrrphimphrxm kartngthxngodyimphrxmswnihymisaehtuprakxbknmakkwahnungsaehtuthisngphlihekidkhwamimphrxminkartngkhrrph saehtuswnihymacakpyhakhrxbkhrw sngkhmesrsthkic sukhphaphkayaelacitickhxngphuhyingnn rwmthngkarekhathungbrikarkhumkaenidthimiprasiththiphaph pyhathxngimphrxmnnidthukechuxmoyngkbbrrthdthanthangsngkhmaelathuktikhainechingcriythrrmkhxnkhangsung prakxbkbbrikaryutikartngkhrrphthiplxdphyinrabbbrikarsukhphaphpktiyngmikhxcakdhlaydanthaihekidphlkrathbtammahlayswn thngpyhasukhphaphkay citic pyhakhrxbkhrwaelasngkhm thngkxnaelarahwangkartngkhrrph rwmipcnthungskyphaphkarduaeledktxxyangmikhunphaphhlngkhlxd bangraythiaekpyhaimidxactdsinicphidphladdwykarthaaethngxyangimthukhlkthangkaraephthy thaaethng thiimplxdphy sungepnwithikarthiepnxntraytxchiwithruxsukhphaphkhxngtnexngaelaedkinkhrrphcnthaihekidkhwamphikartammahruxsuyesiychiwittammakarchwyehluxklumehlanicaepntxngidrbkhwamehnicekhaicaelayxmrbcakkhninkhrxbkhrwaelasngkhm nksngkhmsngekhraah mihnathichwythimngansukhphaphthngrayasn rayayaw inkarwangaephnkarchwyehluxodythangankbkhrxbkhrw chumchn aelaihmithangeluxktxkaraekpyhathiehmaasmaelasxdkhlxngkbenguxnikhchiwitaelaskyphaphkhxngaetlakhnimnaphatnexngipsukaraekpyhathisngphlesiytxsukhphaphaelachiwit nksngkhmsngekhraahthangkaraephthykbnganbrikaredkaelastrithithukkratharunaerng phupwyedk stri thithuktharunaernghruxthuktharunkrrm thngthangrangkay thangcitic thangephs thangkarthuklaelythxdthing sungphlkrathbtxphuthukkrathaodythaihekidkhwambadecb phikarhruxthungaekchiwit ekidpyhasukhphaphkaycit bukhlikphaphbkphrxng kawraw ekidphawakartngkhrrphimphrxmhruxorkhthangephssmphnthxun sngphlihkhwamsmphnthinkhrxbkhrwimsngbsukh thukthalay cnmipyhadanphthnakar pyhasukhphaphcitaelacitewch pyhakhrxbkhrwtidtamma miphvtikrrmaelakhwamimmnkhngthangcitic xarmninrayayaw inkaraekpyhaniimsamarth aekikhiddwykarrksaphyabalhruxihbrikarthangkaraephthyidephiyngxyangediyw nksngkhmsngekhraahcatxngthahnathiinkarpraeminwinicchysphaphkhrxbkhrw pccyaewdlxmtangthikratunihekidkarichkhwamrunaerng karcdkarkbsingaewdlxmthngphayintwphupwyechnthsnkhtiaelakhwamechuxtang singaewdlxmphaynxkechn khwamepnxyu sphaphesrsthkic xachiph rayid aehlngthun thrphyakrtang rwmthngkarchwyehluxkrnimikhwamrunaerngmakcnthungkhntxngichkrabwnkaraebbshwichachiphcakphaynxkekhakhwbkhumhruxkhumkhrxngswsdiphaphaekedkaelastriephuxpxngknkarthuktharaysa hruxkarcdhaswsdikarsngkhmxunihkbphupwyaelakhrxbkhrwthiprasbpyha ephuxihhludphncakkarthuktharayxyangthawrimklbmarksaxikhlaykhrng nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganphupwycitewch phupwythimiphawaphikarthangkayaelaic hruxphupwycitewchthithukthxdthingcakkhrxbkhrw cnekidpyhasasxnthiimidrbkaraekikh thaihphupwyklbepnsa sngphlihkarecbpwyrunaerng mikhwamyaklabakinkarduaelchwyehlux aelakaraekikhpyha nksngkhmsngekhraahthahnathiinkartidtam babdeyiywyathangsngkhm cdhathrphyakr kayxupkrninkarfunfusmrrthphaphthangsngkhmkhxngphupwy nxkcakni phupwycitewchthithukthxdthing thuklamkhng phupwycitewchthimipyhathangdankdhmayrwmdwy echn krniepnphuthukklawha phupwythikawrawrunaerngepnxntraytxkhrxbkhrwaelasngkhm thrphysin sunghakimidrbkar praeminpyhathangsngkhm pccykratunhruxaerngkhbkhxngphvtikrrm xyangthuktxng khrbthwn odynksngkhmsngekhraah yxmnaipsukarwangaephnkarbabdrksakhxng thimshwichachiphthiphidphlad karchwyehluxduael thiimtrngkbkhwamepncring aelainthisudkcathaihphupwyehlani pwysa aelamiphvtikrrmthiepnxntray runaernghnkkwaedim phupwytidsaresphtid xnenuxngmacakpyhathangkhrxbkhrwaelasngkhmthithaihphupwyekidkhwamkddnaelahnipichsaresphtidepnewlanan cnimsamarthelikkarichsaresphtidid thngnihakkhadkareyiywyahruxkarbabd aekikhthangsngkhmodyminksngkhmsngekhraahepnphuprasankhwamchwyehlux phupwycaklayepnpharakhxngsngkhm aelakhrxbkhrwinrayayaw xikthngmiaenwonmyxnklbmaepnphupwythimiphawapwysasxnmakkhuninorngphyabal nksngkhmsngekhraahthangkaraephthykbphupwyyaesphtid thangkaraephthymxngphuichyaesphtid epnpyhakhxngbukhkhlthimisaehtumacakorkhsmxngtidya hruxsukhphawaxun sungcaepntxngrksaodyphuchanaythangkaraephthy karcdkarkhwambkphrxng hruxkarbabdrksa phuichyaesphtid micudmunghmayinkarthirksa hruxprbepliynphvtikrrmkhxngpceckbukhkhl karduaelthangkaraephthyduwaepneruxngihythisud aelasingthirthbaltxngthaepnxyangaerk khuxkar epliynaeplng hruxpdirupnoybaydansatharnsukh inkhnathirupaebbthangsngkhm mxngwa phuichyaesphtid epnpyhathiekidkhuninsngkhm aelaepnkhxngbukhkhlkbsingaewdlxm phuichyaesphtidepnswnhnungkhxngsngkhm khwamecbpwycakkarichsaresphtidimepnephiynglksnakhxngpceckbukhkhl aetprakxbdwyenguxnikhtang ekhadwykn sunghlay enguxnikh ekidcaksingaewdlxm dngnnkarcdkarpyhani cungtxngichpccythangsngkhm epnepnkhwamrbphidchxbkhxngsngkhminkarthicathaihekidkarepliynaeplngkhxngsphawaaewdlxm ephuxthicathaihphuichyaesphtidnn samarthekhamamiswnrwminsngkhmidxyangetmthi dngnn eruxngnicungthuxesmuxnepneruxngekiywkbthsnkhtiaelabribththitxngkarkarepliynaeplngthangsngkhm sunginradbnoybayklayepneruxngsiththimnusychn karrwmkn kardaeninngan cungtxngnaaenwkhid dan chiwcit withya sngkhm Bio psycho social aenwkhidkarduaelthangsngkhmphuichyaesphtid aebbburnakar thngdan chiwwithya pceckbukhkhl aelamummxngthangsngkhm sungrwmthung karthangankhxngrangkay okhrngsrangthangrangkay smrrthphaph khwamsamarth khwamyaklabak hnathikhxngbukhkhl karthakickrrm aelakarmiswnrwm pccyaewdlxm aesdngthung phumihlnghmdkhxngchiwit aelakardarngchiwitkhxngpceckbukhkhl sungxacmiphlkrathbtxtwbukhkhlthimipyhakarichyaesphtid dngnn wiekhraahkhwamrunaerngkhxngrakehngapyhakhxngbukhkhl kbsingaewdlxm cungepnsingsakhy nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganphupwyorkhmaerngaelarayasudthay karduaelphupwyrayathayepnkrabwnkarthanganthilaexiydxxn txngkarkarthanganshwichachiph ephuxihkarduaelphupwyepnxngkhrwmkhrxbkhlumthukmitithngdanrangkay citicsngkhm aelacitwiyyan nksngkhmsngekhraahepnwichachiphhnunginthimsukhphaphthisakhy thichwyihphupwyaelakhrxbkhrwsamarthetriymphrxmaelarbmuxkbkhwamepliynaeplng tlxdcnsamarthdarngchiwitinsngkhmtxipid karthangankhxngnksngkhmsngekhraahthangkaraephthy epnphuprayuktsastrthangdansngkhmsngekhraah citwithyahruxsastrxun dansngkhmsastr rwmthungkhwamruekiywkbthangkaraephthythiekiywkhxngmaichephuxpraeminpyhaaelakhwamtxngkarkhxngphupwyaelakhrxbkhrwepnphunthaninkarthanganxyuaelw aetenuxngcakkarduaelphupwyrayasudthayepnkarkhyaybthbathkarthangan Expanding role prakxbkbaetlaphunthimibribthkarthanganthiaetktangkn thnginpraednwthnthrrm khwamkhid khwamechux nksngkhmsngekhraahaelaphuthanganechingsngkhmaetlaphunthicungtxngichkhwamechiywchayechphaa catxngru noybay aelarabbbrikarsukhphaphthiekiywkhxngnganduaelphupwyaebbprakhbprakhxng txngidrbkarfukfnthksathicaepninkarduaelphupwyaelakhrxbkhrweriynrukarichekhruxngmuxinkarpraeminphupwyaelakhrxbkhrw klwithikarthanganrwmkbthimshwichachiph idrbkaresrimsrangthsnkhtithiditxkarxyudiaelakhwamtaydi samarthprayuktsingthiideriynruipichinkarcdkarthrphyakrthangsngkhmaelasingaewdlxm aelakarsrangekhruxkhaythangsngkhminkarduaelphupwyrayathay ephuxihphupwyaelakhrxbkhrwmikhunphaphchiwitthidiihphupwymikhunphaphkarxyuthidixncanaipsukartaythidi tlxdcnkarichhlkthanechingpracksinkarphthnakhunphaphbrikarthangsngkhmsngekhraah nksngkhmsngekhraah mibthbathinkarkarpraeminesnkhwamsmphnth Genogram karwiekhraahaephnphngkhrxbkhrw Family Tree krabwnkarpruksa Counseling karesrimphlng Empowerment karsrangekhruxkhaythangsngkhm Social Network epntn nksngkhmsngekhraah wiekhraahpyhathiekidkhunaelakhadwacaekidkhunid rwmthungthaih phupwyaelakhrxbkhrw ehnskyphaphkhxngtncathaih yxmrbkhwamcring nksngkhmsngekhraah praeminphupwyaelakhrxbkhrw kxn karaecngkhwamcring ephuxpxngknpyhathixaccaekidkhun aelawangaenwthangkarcdkarpyhaemuxbxkkhwamcringaelw xncasngphlihekidkarrwmmuxtxkarduaelrksatxip nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganphupwyorkhtidechux exch ix wi aelaexdsaelaphuidrbphlkrathb phutidechuxexdshruxphupwyexds duaeltnexngid thanganidtampkti emuxmikarecbpwy aelamixakar exdsmakkhun cakthiekhythanganidkcaerimldnxylng bangkhrngtxnghyudnganbxy cnkrathngtknganthukilxxkcakngan caksphaphrangkaythiimexuxxanwytxnganxachiph sungsphawadngklawthiekidkhun casngphltxkardaeninchiwitenuxngcakimmirayidthitxngeliyngdutnexngaelakhrxbkhrw sphawakhxngphutidechuxexds esrahmxng hdhu hmdhwng sinhwng thxaeth bangkhrnghruxbangkhnxackhidtharaytnexng karkhatwtayinkarcdbrikartxngichethkhnikhinkarphudkhuykbphutidechuxmakkhun pyhaidklayepnpharakhxngsngkhmthihlayfaytxngmarwmrbphidchxbkarcdbrikaraekphupwy karbrikarsngkhmsngekhraah epnklwithikarhnungthiichinkaraekikhpyha aelafunfusphaphthangkay cit sngkhmkhxngphutidechuxexdsaelakhrxbkhrwid thimsukhphaph thukfaythiekiywkhxngcatxngrwmmuxinkarhahnthangthicacdbrikar ephuxihkhwamchwyehluxphupwyorkhexds phutidechuxexdsaelakhrxbkhrw xyangmiprasiththiphaphthicathaihekhaehlann samarthdaeninchiwitxyuinsngkhmidxyangpktisukhaelaimekidkhwamrusukthithuksngkhmthxdthing sahrbpyhaphuthiidrbphlkrathb karaephrrabadkhxngorkhexdsinkhrxbkhrw thaihedkthibidamardatidechuxidrbphlkrathbxyanghlikeliyngimid nxkehnuxcakkarrksaphyabalaelw orngphyabalyngihkhwamchwyehluxdanswsdikarsngkhm edkklumnimicanwnhnungthiprasbpyhathangsngkhm edkthikhlxdcakmardatidechuxaelaphupwyexdsthimiphlkrathbtxkrabwnkarrksaphyabalaelakhunphaphchiwit bthbaththisakhykhxngnksngkhmsngekhraah khuxkarphthnaekhruxkhaykarchwyehluxthangsngkhm epnkarphthnakaraelasnbsnun karrwmklumkhnthimicitxasathicaekharwmeriynruaelaaelkepliynkardaeninngandanexdsthiekiywkhxngkbmitihlakhlay klumkhnehlanimacaktangxngkhkr tanghnwynganthiekiywkhxngkbnganexdsthngodytrngaelaodyxxm imwacaepnhnwyngansatharnsukh hnwynganpkkhrxng hnwyngansuksa xngkhkrphthnaexkchn aelaxun dngnn karphthnabukhlakrkhxngekhruxkhaykarchwyehluxthangsngkhm cungthuxwaepnpharkichnungthitxngdaeninkar nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganphupwysungxayu aelaorkheruxrng sphaphpyhakhxngphusungxayu phusungxayuswnihymipyhasukhphaphaelasngkhmmakkwahnungpyha pyhatang khxngphusungxayumikhwamkhlaykhlungkn yakthicaaeykxxkcakknepnswn saehtukhxngpyhaxacekidcakphyathisphaphaelakrabwnkarepliynaeplngcakkhwamsungxayu karduaelthiehmaasmkhuxkarihkhwamsakhykbpyhathiekiywkhxngthnghmd karphicarnathungkhwamkawhnainkarbabdrksa catxngpraeminpyhathnghlayrwmkn phlthitammakhxngpyhahnungxackrathbtxpyhaxun s ssiphthn yxdephchr khnasngkhmsngekhraahsastr m thrrmsastr 2552 nxkcakni phusungxayu thiephchiypyhasbsxnthangkayaelasngkhm echn smxngesuxm orkhthangcitewch miphawa sumesra orkhthangkayeruxrng echnorkhebahwan orkhkhwamdnolhit aelakhadphuduael nksngkhmsngekhraahthahnathisrangkhwamru khwamekhaic ihaekkhrxbkhrw ephuxkarduaelthangsngkhm citicthithuktxng ehmaasm phupwyorkheruxrng thiimsamarthmarbkarrksatxenuxng thukthxdthing srangkhwamrusukthiepnpharatx yati imsamarthklbipichchiwitxyangpktisukh hruxphupwyorkheruxrngthithukthxdthingcakkhrxbkhrw klayepnphupwyiryati imidrbkarphthnathangkay cit sngkhmxyangehmaasm bangraythukthxdthinginorngphyabalepnewlanan odykhadkarehliywaelcakyatiaelakhrxbkhrw thaihimsamarthmichiwitthiepnpkti imsamarthprakxbxachiphhruxdaeninchiwitaebbphungtnexngodylaphngid nksngkhmsngekhraahthahnathiinkartidtamyatiaelakhrxbkhrw ephuxsrangkhwamekhaicinkaryxmrbphupwy aelamiswnrwminkarphthnahruxfunfusukhphaphphupwy aelaetriymkhwamphrxmihphupwyklbkhunsukhrxbkhrwidxyangmikhwamsukh nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganphupwyorkhitwayeruxrng karlangitthangchxngthxngxyangtxenuxng Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis hrux CAPD epnwithikarduaelrksaphupwyitwayeruxrngrayasudthaythiidrbkaryxmrbwithihnung sungphupwyitwayeruxrngsamarththaiddwytnexngthiban phupwy CAPD txngdarngchiwitxyukbsphaphkhwamecbpwythitxenuxngaelayawnan inphupwy CAPD caepntxngmikarduaeltnexngephuxpxngknimihekidphawaaethrksxn aemwathimshwichachiphxun echn aephthy phyabal nkophchnakar l cachwyehluxphupwyihmikhwamru khwamekhaic withikarduaeltnexng aetkarduaeltnexngkhxngphupwycaepntxngxasykhwamekhmaekhngphayinciticaelakarsnbsnunkhxngkhrxbkhrw karichchiwitodymixupkrnthangkaraephthytidxyukbtwtlxdchiwit caepntxngduaeltwexngxyangekhrngkhrd nxkcakniyngmibribththangsngkhmxun xikechn kartxngmiphuchwyinkarlangit Care giver sungxacepnsmachikinkhrxbkhrwhruxbukhkhlnxkkhrxbkhrw dankarprakxbxachiph rayid aelaswsdikartang phupwy CAPD swnmakimaekhngaerngphxthicaprakxbxachiphhruxlangitthangchxngthxngdwytwexng caepntxngmiphuchwy phuxupkara hrux idrbswsdikarephiyngphx ephuxihsamarthdarngchiwitpktisukh smachikinkhrxbkhrwtxngekhaicwithikarduael exaicis aelaepnkalngicihphupwy karsnbsnunihphupwysamarthdarngchiwitinbanodymixupkrnaelasingxanwykhwamsadwk hrux karprbsphaphbanihexuxtxkarichchiwitkhxngphupwy rwmthngkarichchiwitnxkban karxxksusngkhm karphxnkhlay karnnthnakar sungsingehlanihmaythungkhunphaphchiwitkhxngphupwyorkhit dngnn phupwy CAPD cungtxngmisphaphciticthiekhmaekhngaelamirabbsnbsnunthangsngkhmthiexuxtxkardarngchiwitrayaewlahnungthiyawnanephiyngphxcnkrathngsamarththahnathithangsngkhmidtamsmkhwr nksngkhmsngekhraah cungmibthbathsakhyinkrabwnkaresrimsrangkhwamekhmaekhng aela karsrangrabbkarsnbsnunthangsngkhmsahrbphupwyaelakhrxbkhrw odywithikarkarpraeminpyhaaelakhwamtxngkar Problem and Need Assessment karpraeminkhwamphrxmkhxngkhrxbkhrwinkarduael Family Assessment karcdbrikarrwmkbhnwynganxunthiekiywkhxng echn orngphyabal phmc xngkhkrekhruxkhayphupwyorkhit epntn karwiekhraahaelawangaephnkarcdbrikarephuxesrimsrangkhwamekhmaekhngaelaesrimsrangrabbsnbsnunihekidkarduaeltnexng karduaelodyklum rwmthngkarcdhathrphyakr ephuxsnbsnunihihphupwyxyuinsingaewdlxmthiehmaasm thngnienuxngcaksphaphpyhaaelaphlkrathbthiekidkhunkbphupwy CAPD nnmikhwamsbsxn laphnghnwynganidhnwynganhnungimsamarthihkarchwyehluxidephiyngphxaelakhrxbkhlumpyhathnghmdkhxngphurbbrikar ephuxkarcdbrikarthiehmaasmaelamiprasiththiphaphaelaekidpraoychnsungsudtxphurbbrikar nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganhlkpraknsukhphaphthwnhna aemwapraethsithycaminoybayeruxnghlkpraknsukhphaphthwnhna yngmiphupwythipyhakarichsiththiinrabbpraknsukhphaph dngnnnksngkhmsngekhraahthangkaraephthycungtxngdaeninkarihprachachnmihlkpraknsukhphaphtamsiththithiphungidrb briharcdkaraelaphthnarabbpraknsukhphaph phithksaela khumkhrxngsiththiphurbbrikarinrabbpraknsukhphaph tlxdcnphithkssiththiaelakhumkhrxngphurbbrikardansatharnsukhtamsiththithiphungidtamkdhmay aela rberuxngraw aekikhpyhakhxrxngeriyn aelakarecrcaiklekliy nksngkhmsngekhraahdaeninkarcdrabbkarihbrikaraekphumihlkpraknsukhphaphtang ihidrbsiththipraoychnthiphungidrb rwmthngsngesrimaelaphthnarabbpraknsukhphaphtang ephuxihprachachnekhathungbrikarsatharnsukh tamsiththixyangxyangesmxphakhaelaehmaasm odykhrxbkhrwphumihlkpraknsukhphaph karcdrabbkarihbrikaraekphumihlkpraknsukhphaphthwntang aelakhrxbkhrw rwmthngprachachnthwip ihidrbsiththipraoychnthiphungidrb rwmthngsngesrimaelaphthnarabbpraknsukhphaph ihprachachnidekhathungbrikarsatharnsukhtamsiththixyangesmxphakh aelaepnthrrm odyphsmphsanwithikarthangsngkhmsngekhraah Social Work Integrated Method inkarptibtinganaetlakhntxnxyangehmaasm khntxnkardaeninkar 1 rberuxng suksakhxmul hakhxethccring khxmulthwipaelakhxmulthangsngkhmkhxngphupwy rwbrwmkhxmulodykarsmphasn sngektphvtikrrmkhxngphupwy khxmulswntwkhxngkhrxbkhrw karecbpwy aelakhwamsmphnthkhxngbukhkhlinkhrxbkhrwcakphupwy yati aelathimshwichachiph rwmthnghakhxmulcakkareyiymban 1 1 rwmeyiymphupwyrwmkninlksnathimshwichachiph 1 2 rwbrwmkhxmulodykarsmphasn sngektphvtikrrmkhxngphupwy khxmulswntwkhxngkhrxbkhrw karecbpwy aelakhwamsmphnthkhxngbukhkhlinkhrxbkhrwcakphupwy yati aelathimshwichachiph 2 khnpraeminaelawinicchypyha 2 1praeminphupwyaelakhrxbkhrwephuxwinicchypyhakhwamtxngkarkhxngphupwyephuxcdbrikarchwyehluxrwmthngpraeminkhwamesiyngkhxngphupwyephuxkarefarawngpyha 2 2 praeminkhwamphrxmkhxngkhrxbkhrwinkarduaelphupwy praeminkhwamesiyngthangsngkhm khnarbkarrksainorngphyabal 3 khnwangaephnaelakahndaenwthangkarchwyehlux 3 1wangaephnihbrikarchwyehluxtamladbkhwamsakhykhxngpyha karcdkarraykrni prachumthimshwichachiphinkrabwnkarrksaphupwy 3 2wangaephnsngphupwyklbipxyuthibanhruxinchumchn inkrnithimipyhathangsngkhmyungyaksbsxn mikaretriymkhwamphrxmkhxngkhrxbkhrwaelachumchnkxnsngklbephuxpxngknkarecbpwysa kar thukthxdthing rwmthngkarsrangkhwamekhaicrwmkbchumchninkarxyurwmkn prachumthimshwichachiphrwminkrabwnkarrksaphupwy 3 3 etriymthrphyakrthangsngkhminkarchwyehlux 4 khndaeninkarchwyehluxaelacdbrikarthangsngkhmsngekhraahtamaenwthangthikahndiw 4 1 chwyehluxaelacdbrikarthangsngkhmsngekhraahtamaenwthangthikahndiw 4 2prasannganinkarchwyehluxaelasngtxkarsngtxbrikar krnithiimsamarthdaeninkaridinhnwynganorngphyabal txngsngtxhnwynganphaynxkthiechiywchayechphaadan tamklumepahmaythangsngkhmsngekhraah echn phnkngankhumkhrxngedk hnwynganbrikarthangsngkhmphusungxayu hnwybrikarfunfusmrrthphaphkhnnganthuphphlphaph hnwyngansngekhraahedkkaphradxyoxkas sthansngekhraahirthiphung sanknganyutithrrmcnghwd banphkchukechin sthabnphthnaedk l epntn 5 bnthukkhxmulkickrrmihbrikartamaebbbnthukkhxmulkarihbrikarsngkhmsngekhraah skh 1 6 tidtamphlaelapraeminphlkarihbrikar brikarsngkhmsngekhraahchumchnaelakhrxbkhrw epnkarsngesrimsukhphaphxnamy pxngknaelaaekikhpyhathangsngkhmthimiphlkrathbtxsukhphaphkhxngprachachninchumchn odykarcdbrikarthangsngkhmaelasrangekhruxkhaythangsngkhm Social Network ephuxihprachachnekhamamiswnrwmaelaekidkarphungphatnexng wtthuprasngkhngansngkhmsngekhraahchumchnaelakhrxbkhrw ephuxefarawngaelapxngknkarekidpyhathangsngkhmthimiphlkrathbtxsukhphaphxnamykhxngprachachn ephuxcdbrikaraekpyhathangsngkhmthimiphlkrathbtxsukhphaphxnamykhxngprachachninchumchn ephuxsngesrimaelaphthnaskyphaphkhxngprachachninchumchn kickrrm idaek sarwcaelasuksakarekidpyhathangsngkhm thimiphlkrathbtxsukhphaphxnamykhxngprachachninchumchn ihkarduaelphupwyinchumchn Home Care odyichkrabwnkarsngkhmsngekhraahchumchn ephuxsnbsnunihekhruxkhaythangsngkhm Social Network rxngrbphupwyihsamarthdarngchiwitxyuinsngkhmidxyangehmaasmaelapxngknkarecbpwy hruxkarekidpyhathangsngkhmsaodywithikar eyiymban Home Visit kareyiymban hmayrwmthung sthanthithiekiywkhxngkbphupwy miwtthuprasngkhkhxngkareyiymban suksakhxmulephimetim ephuxwiekhraahpyha karrksatxenuxng aela kartidtam phl karcdbrikarsngkhmsngekhraahinchumchn snbsnunkarcdbrikarsuchumchn odycdrabbkardaeninngan thrphyakraelakhwamrwmmuxthangsngkhm xngkhkrtang thngphakhrthaelaexkchnephuxihehnkhwamsakhykhxngpyha kratunihchumchnrwmklumkncdbrikarinchumchnnn nxkcakni yngrwmthung karephyaephrkhwamru khawsar danpyhasngkhmthiekiywkhxngkbsukhphaphxnamy withikaraekikhpyha karpxngkn karduaelaelakarcdkartnexngemuxekidpyhathangsngkhm odywithikarkarbrryay cdnithrrskar ephyaephr exksaraelasuxtang karcdbrikarthangsngkhmsngekhraahaekchumchninphawawikvttang echn chumchnthiekidxuthkphy watphy xkhkhiphy insthankarnerngdwnodyihbrikarbabdthangsngkhm chwyehlux tidtxprasanngankbhnwynganaelaxngkhkrthiekiywkhxng ephuxihphuprasbphyidrbkarsngekhraah karbabdrksaaelafunfusmrrthphaph tamkhwamehmaasm khntxnkarihbrikarsngkhmsngekhraahchumchnaelakhrxbkhrw 1 khntxnetriymkar 1 1 sarwckhxmulinchumchn suksasphaphpyha aelakhwamcaepncakexksarthiekiyw khxng aebbsxbtham aebbsmphasn karsngekt naphlkarsarwckhxmulmawiekhraahaelakahndklumepahmaytamladbkhwamsakhy khwamerngdwnkhxngpyha aelatamnoybaykhxnghnwyngan 1 2 kahndwtthuprasngkh withikar klumepahmay sthanthi rayaewla ngbpraman karpraemin phlthikhadwacaidrb 1 3 daeninkar prasanthrphyakrinchumchn tidtxxngkhkrtang inchumchnphunachumchn prachum smmna xbrm brryay phunachumchn klumepahmay ihkarpruksaihbrikartam withikarsngkhmsngekhraah sngtx 1 4 praeminaelatidtamphl odywithikar sxbtham smphasn prachum sngekt khwam 1 5 epliynaeplngkhxngchumchn caksthiti rayngan khxmulcak exksarsingphimph 2 khuntxnkaretriymphupwy 2 1 suksapraeminsphawaphupwy hlngkarcahnayphupwy 2 2 etriymkhrxbkhrw eyiymban echiyyatimaphb ihkhwamru ihkarpruksa 3 khntxnetriymchumchn 3 1 srangthsnkhtithidikbchumchntxphupwy 3 2 ihkhwamru ihkarchwyehluxaekikhpyha prasanthrphyakrinchumchnaelaekhruxkhaythangsngkhm 4 khntxnkhxngkareyiymban 4 1 etriymkarkhdeluxkphupwysuksakhxmulphupwy aelakahndwtthuprasngkh suksaesnthangkaredinthang aelasthanthindhmay aecngwtthuprasngkh etriymxupkrn phahna 4 2 daeninkar srangsmphnthphaph sngektaelasuksasphawaaewdlxm 4 3 smphasn praemin wiekhraahpyha 4 4 ihkhwamchwyehluxtamsphaphpyhaaelakhwamcaepnerngdwn 4 5 ihkhwamru ihkarpruksa prasanthrphyakr 4 6 srupaelawangaephnkarihbrikar 5 khntxnkarihbrikardansngkhmaelasukhphaphxnamyaekchumchninphawawikvti 5 1 etriymkar rwmprachumthimnganaelakahndaephnngan etriymbukhkhlkr kahndsthanthi etriymxupkrn 5 2 daeninkar suksawiekhraahklumepahmay prasanngankbsunyxanwykaraela xngkhkrthiekiywkhxng 5 3 phicarnakhwamerngdwnkhxngpyha ihkarchwyehluxpyhaechphaahna ihkhapruksaaenana karsnbsnunthangcitic 5 4 prasanthrphyakrthangsngkhminchumchn sngtxephuxrbbrikarthiehmaasmtxip 6 praeminaelatidtamphl 6 1prachumpraeminphlkarptibtingan 6 2 esnxaenaaenwthangaelaaephnngantxip kickrrm karihbrikar core activity sngkhmsngekhraah 1 karihbrikarihkhapruksathangdansngkhmsngekhraahdanpxngknaelasngesrimsukhphaph 1 1 brikarihkhapruksaechingsngkhmepnbrikarihkhaaenanaaekbukhkhlthwipaelakhrxbkhrw cudmunghmay ephux ihkhxmulaelakhaaenanaekiywkbsiththithangsngkhm ihkhxmulekiywkbsiththithiphungcaidrb brikartang ineruxngkarihkhapruksaaelakarsnbsnuntang karihkhwamchwyehluxepnthngpyhaswntwaelapyhathangsngkhm 1 2 chwyihphurbkarpruksa ideriynruekiywkbtnexngmakkhun ekhaicsphaphkarn aelasingaewdlxmdikhun eriynruthksaaelawithikarthicathaihphxnkhlayhruxaekpyhakhxngtnexngiddikhun tdsinicxyangmiprasiththiphaphkhun 1 3 epnkarihkhapruksa ephuxesrimsrangskyphaph samarthaekikhpyhatanginpccubnidxyangehmaasmaelamithksainkaraekpyhaxuninxnakhtiddwytnexng mithksaaelakhwamsamarthinkartdsinichruxaekpyhaiddwytnexng 1 4 epnkarihkhxmulekiywkbbrikarthangeluxkxun ephimetim thiepnpraoychntxkarrksasukhphaph rwmthngaenanaihphukhxkhapruksatidtxipyngaehlngkhxmulhruxkhwamchwyehluxthiehmaasmepnkrni 2 karbrikarsngkhmsngekhraah dankarbabdthangsngkhmkhxngphupwyaelakhrxbkhrw 2 1epnkarihkarbabd raybukhkhl klum khrxbkhrw ephuxihphuichbrikaraelakhrxbkhrwtrahnkruinbthbathhnathitnexng samarththahnathithangsngkhm Social Function aelacdkarkbpyhathangxarmn citic sngkhmiddwytnexng ihkarbabdthangsngkhmraybukhkhl klum aelakhrxbkhrwthisxdkhlxngkbpyhaaelakhwamtxngkarkhxngphuichbrikar dngni 2 1 1 khrxbkhrwbabd Family Therapy echn pyhakhrxbkhrwaelakareliyngduthiehmaasm pyhasmphnthphaph pyhasukhphaphcitphuduael pyhakhwamkhdaeyng khwamesiyngtxphawasumesraaelatharaytnexngaelaphuxun karimthahnathitambthbath Dysfunction karimruckkhxbekht Boundary inkhrxbkhrw epntn karpraeminphllphthkhxngkarbabd thamikhwamesiyngxyu txngwangaephnkarbabdaelabrikarthangeluxkxuntxip 3 brikardansngkhmsngekhraah dankarfunfusmrrthphaph 3 1karfunfumrrthphaphthangsngkhm micudhmayephuxihsngkhmyxmrbkhwamsamarthkhxngkhnthimikhwamphidpkti phikar karetriymkhwamphrxmthangsngkhm karcdsphaphaewdlxm epnkarphthnaskyphaphthangsngkhmkhxngphuichbrikar ihmithksasngkhm thksakardarngchiwit samarthprbtw thahnathithangsngkhmidxyangehmaasm aelasamarthdarngchiwit idtamskyphaph karfunfusmrrthphaphthangsngkhm epnsingca epnsa hrbkarbabdrksaphupwy odyechphaa phuphikar aelaphuthimikhwamphidpktithangcit ephraakhwamphidpktithangcitepnorkhhruxphawaeruxrng thi ca epntxngmikarfunfusmrrthphaphthangkay thangcitaelathangsngkhm ephuxihphupwysamarthda rngtnxyuinchumchn sngkhmidepnpktisukh 3 2dankarpxngknaelafunfusphaph nksngkhmsngekhraahrbphidchxbcdthaopraekrmkar sngekhraahfunfusphaphthangsngkhmkhxngphupwyaelakhrxbkhrw thnginorngphyabal sunysukhphaphchumchnaelaechingrukinchumchn odykaretriymkhwamphrxmkhrxbkhrw sngekhraah karpxngkn aelaaekikhpyha thngrayasn aelarayayaw odykarpraeminkhwamsmarthinthakicwtrpracawn karthangan kareriyn praeminkhrxbkhrw tidtamkarbrikarthiban Home Care kartidtameyiymduaelphupwyaelayatithibanephuxpraeminphlkarsngekhraah karkhumkhrxng aelakarphithkssiththi aelakarptibtikarduaeltnexngkhxngphupwyaelakhrxbkhrwxyangtxenuxngphsmphsanaelaepnxngkhrwm ptibtinganthiyungyakrwmkbthimshwichachiph insunyechphaathang 3 3dankarsngkhmsngekhraahchumchn epnkarthangan rwmkbthimshwichachiph inphunthi aela mikaretriymkhwamphrxm chumchn aelasngkhm inkar duaelphupwythimi aenwonm epnklumesiyng txpyhathangmsngkhm aela klumthimipyhathangsngkhm kickrrmsngkhmsngekhraahchumchn idaek cdhathixyuxasychwkhraw thawr cdhasthanthiduael khnduael hlngcahnayxxk orngphyabalaelw karcdsingaewdlxmephuxkarbabd raybukhkhl prasan sngtxsunysukhphaphchumchnaelaxasasmkhrduaelknexnginchumchn epntn nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganewchsastrfunfu enuxngcaknganewchsastrfunfu epnnganthiekiywkhxngkbkhnphikar hruxphupwythisuyesiysmrrthphaphthangkayodytrng cungthaihnksngkhmsngekhraahthangkaraephthydanewchsastrfunfu txngmipharahnathiephimetimcakthiklawmakhangtn odyekiywoyngipthungkarwangaephnkarrksaaelafunfusmrrthphaph thksasngkhm thksachiwit phupwyphayinorngphyabal karwangaephninkarsngtxephuxphkfunhruxfukxachiphphuphikar karprasannganephuxcdhanganihphuphikar kareyiymbanphupwyaelaprbprungthiphkxasy karihkarsngekhraahtang kartidtxkbxngkhkrkarkusl xngkhkrphuphikar xngkhkrkilatang karcdhaxupkrnekhruxwchwyphuphikartang karcdsthansuksaaekedkphikar epntn khnphikar epnbukhkhlthimikhwambkphrxngenuxngcakkarsuyesiysmrrthphaphkhxngrangkayaelacitic thaihmikhxcakdinkareriynru karsuxkhwamhmay karthakicwtrpracawn karprakxbxachiph sungkhnhnungxaccamikhwambkphrxngaelamikhidcakdxyangidxyanghnunghruxhlayxyang pccubncaphbwathukphakhswninsngkhmmiaenwkhidekiywkbsukhphaphmikhwamechuxmoyngthnginswnkhxngwithichiwit sngkhm esrsthkic citic khrxbkhrw chumchn wthnthrrm singaewdlxm thaihkarduaelsukhphaphmikhwamaetktangkntamsphaphpyha phakhrthhruxexkchntangidrwmknkhidhaaenwthangaelaphlkdnmatrkartang ephuxsngesrimihbukhkhlsungthukcakdkhwamsamarthihptibtikickrrminchiwitpracawnid inkarcdbrikarsngkhmsngekhraah nksngkhmsngekhraah mikardaeninkarhakhxmul Fact finding wiekhraahwinicchybabdthangsngkhmkbphupwy karpraeminkhwamphrxmkhxngphuphikaraelakhrxbkhrw karetriymkhwamphrxmkxncahnayrwmkbshsakhawichachiphaelathimsukhphaph Patient care team aelakarwangaephnkarcdbrikarthangsngkhm Social care plan rwmkbphakhiekhruxkhay stakeholder micdtngsunychwyehluxphuphikaraebbkhrbwngcr one stop service ephuxephimkarekhathungbrikar mikhwamsadwkrwderw mikarihkhapruksaaenana aela cdrabbkarduaelaelaprasanngankarxxkexksar cdthaebiynphuphikar khumkhrxngsiththi aenanasiththipraoychn khnphikar tamnoybaykrathrwngsatharnsukh tlxdcn tlxdcnkarcdprachum case conference karcdrabbsngtxkhnphikarthukthxdthing immiyatiekhasthansngekhraahthngkhxngrthaelaexkchn nksngkhmsngekhraah cungmibthbathsakhyinkrabwnkaresrimsrangkhwamekhmaekhng aela karsrangrabbkarsnbsnunthangsngkhmsahrbphupwyaelakhrxbkhrw odywithikarkarpraeminpyhaaelakhwamtxngkar Problem and Need Assessment karpraeminkhwamphrxmkhxngkhrxbkhrwinkarduael Family Assessment karcdbrikarrwmkbhnwynganxunthiekiywkhxng echn orngphyabal phmc xngkhkrekhruxkhayphuphikar epntn karwiekhraahaelawangaephnkarcdbrikarephuxesrimsrangkhwamekhmaekhngaelaesrimsrangrabbsnbsnunihekidkarduaeltnexng karduaelodyklum rwmthngkarcdhathrphyakr ephuxsnbsnunihihphupwyxyuinsingaewdlxmthiehmaasm nxkcakninksngkhmsngekhraahtxngichkrabwnkarfunfusmrrthphaphthangsngkhm odymiwtthuprasngkhephuxihsamarththahnathithangsngkhmidxyangehmaasm samarthichchiwitiddwytnexngxyangxisra ehmaasmkbskyphaphinkhrxbkhrwaelachumchn aelaephuxsnbsnunekhruxkhaythangsngkhmihmiswnrwminkarfunfusmrrthphaphthangsngkhm echn karcdhasingxanwykhwamsadwk karfukthksakarthangan karfukthksakarxyurwmkbphuxuninchumchn karfukxachiph karcdhangan rwmthngkarfukekharwmkickrrmkhxngchumchn epntn enuxngcaksphaphpyhaaelaphlkrathbthiekidkhunkbphuphikar nnmikhwamsbsxn laphnghnwynganidhnwynganhnungimsamarthihkarchwyehluxidephiyngphxaelakhrxbkhlumpyhathnghmdkhxngphurbbrikar ephuxkarcdbrikarthiehmaasmaelamiprasiththiphaphaelaekidpraoychnsungsudtxphurbbrikar duephimewchsastrfunfuxangxingsmakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy thitng sankbriharkarsatharnsukh krathrwngsatharnsukh thnntiwannth cnghwdnnthburi othr 02 5901741 ddaeplngcaktaraewchsastrfunfu nph esk xksranuekhraah brrnathikar cdphimphodysmakhmewchsastrfunfuaehngpraethsithy nksngkhmsngekhraahthangkaraephthycdepnswnhnunginthimphuihkarrksathangkaraephthy cdepntwckrsakhyinkarprasanrahwangthimnganphurksa xngkhkrtang aelaphupwy inkarihkhwamchwyehluxphupwydantang echn karihkarsngekhraahkhaichcayinkarrksaphyabaldwysiththikarrksaphyabalpraephthtang karcdhathiphkfun karprasannganephuxkarfunfuthangxachiph karprasanngankbxngkhkrthangkaraephthyaelaxngkhkrphuphikarxun epntn ngankhxngnksngkhmsngekhraahthangkaraephthy cdepnnganthisakhy aelaimkhxymiphurbrubthbathethaidnk enuxngcakmkepnphuthanganxyuebuxnghlngkhwamsaerctanginkarechuxmoyng phayinxngkhkrkaraephthy kb xngkhkrphaynxk nksngkhmsngekhraahthangkaraephthyinnganewchsastrfunfuenuxngcaknganewchsastrfunfu epnnganthiekiywkhxngkbphuphikar hruxphupwythisuyesiysmrrthphaphthangkayodytrng cungthaihnksngkhmsngekhraahthangkaraephthydanewchsastrfunfu txngmipharahnathiephimetimcakthiklawmakhangtn odyekiywoyngipthungkarwangaephnkarrksaaelafunfuphupwyphayinorngphyabal karwangaephninkarsngtxephuxphkfunhruxfukxachiphphuphikar karprasannganephuxcdhanganihphuphikar kareyiymbanphupwyaelaprbprungthiphkxasy karihkarsngekhraahtang kartidtxkbxngkhkrkarkusl xngkhkrphuphikar xngkhkrkilatang karcdhaxupkrnekhruxwchwyphuphikartang karcdsthansuksaaekedkphikar epntnduephimewchsastrfunfuxangxingsmakhmnksngkhmsngekhraahthangkaraephthyithy 2560 ddaeplngcaktaraewchsastrfunfu nph esk xksranuekhraah brrnathikar cdphimphodysmakhmewchsastrfunfuaehngpraethsithy