ตรุษไทย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย โดยคำว่าตรุษนั้น เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าตัด หรือการสิ้นไป วันตรุษจึงถือเป็นวันสิ้นปีของคนไทยมาแต่โบราณ โดยประเพณีนี้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยคู่กับประเพณีสงกรานต์ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
โดยประเพณีตรุษไทย จะมี 2 วัน คือวันสิ้นนักษัตรเก่าและวันเริ่มนักษัตรใหม่ มีกำหนดคือ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถือว่าเป็นวันสิ้นนักษัตรเดิม และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ถือเป็นวันเริ่มต้นนักษัตรใหม่ ตามการนับแบบจันทรคติ ตามอิทธิพลทางโหราศาสตร์จากชมพูทวีป และกำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ เมื่อโลกเริ่มเข้าสู่ราศีเมษตามการนับแบบสุริยคติที่ได้รับอิทธิพลทางโหราศาสตร์จากชาวตะวันตก
แต่แม้จะกำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ของไทย แต่เกณฑ์การเปลี่ยนปีนักษัตรก็ยังใช้วันตรุษเป็นเกณฑ์ เพราะแนวคิด 12 นักษัตรเป็นแนวคิดทางชาวเอเซียมานานเป็นพันปีแล้ว ซึ่งชาวเอเซียใช้หลักโหราศาสตร์ทางจันทรคติมาเก่าก่อน
ทั้งนี้ คนไทยแต่โบราณเชื่อว่าในวันตรุษนี้ เทวดาผู้ดูแลโลก ดูแลประเทศ ดูแลเมือง จะเปลี่ยนแปลงผู้มาทำหน้าที่ จึงควรจัดเทวตาพลีทำพิธีบรวงสรวงต้อนรับเทวดาที่มาใหม่และขอบคุณเทวดาที่เคยปกปักรักษา เช่น ทำข้าวแช่ เพื่อถวายพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมืองทรงเมือง พระเสื้อวัดทรงวัด เป็นต้น โดยมีความเชื่อว่าถ้าสตรีได้กินข้าวแช่ที่เสสัง ลามาจากการถวายเทวดาเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ได้บุตรธิดาที่หน้าตาดี แข็งแรงสุขภาพดี และฉลาดเฉลียว ถ้าหญิงที่ตั้งครรภ์กิน จะคลอดบุตรง่าย ปลอดภัย บุตรธิดาที่เกิดมาจะมีหน้าตาดี แข็งแรงสุขภาพดี ฉลาดเฉลียว หญิงที่มีลูกยากก็จะได้บุตรธิดาตามความปรารถนา
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนให้วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ ประเพณีการทำข้าวแช่เป็นเทวตาพลีจึงเปลี่ยนเป็นวันสงกรานต์แทน โดยประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ชาวมอญยังรักษาอยู่
ประวัติ
ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทย ถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งถือตามปฏิทินทางจันทรคติ แต่ต่อมาในสมัยสุโขทัย ได้ถือว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเรียกว่าวันตรุษ ซึ่งประเพณีวันตรุษไทยได้รับคติมาจากศรีลังกา ที่รับประเพณีวันตรุษซึ่งเป็นประเพณีเดิมของชนชาติทมิฬอีกทอดหนึ่ง และมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ เพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง
ภายหลังได้กำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่และวันตรุษเป็นเพียงวันสิ้นปีเก่า จากอิทธิพลทางโหราศาสตร์จากตะวันตก ที่วันปีใหม่คือวันที่เริ่มเข้าสู่ราศีเมษ โดยราชสำนักไทยเรียกประเพณีตรุษนี้ว่า พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ โดยมีการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและบำเพ็ญกิจโดยเอนกปริยาย เพื่อขับไล่อัปมงคลและสร้างสิริมงคลแก่พระนครเนื่องในการขึ้นปีใหม่ โดยพระราชพิธีนี้ได้ปฏิบัติสืบมา และยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงเห็นว่าไทยได้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล จึงประกาศให้ราชอาณาจักรสยามกำหนดวันขึ้นปีใหม่ โดยใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา และถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนให้เป็นวันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่สากล ในปี พ.ศ. 2483 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ประเพณีตรุษไทยในปัจจุบัน
เนื่องด้วยประเพณีตรุษ กำหนดวันโดยใช้ปฏิทินทางจันทรคติ ทำให้ส่วนใหญ่วันตรุษจะกำหนดลงในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งใกล้กับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบความสำคัญของวันตรุษไทยนี้ อย่างไรก็ตามวัดตามภาคกลางในประเทศไทยยังคงนิยมจัดประเพณีตรุษไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
โดยประเพณีตรุษไทยในปัจจุบัน ยังคงจัดเป็นสอง หรือสามวัน(คือวันแรม14 หรือ 15 ค่ำเดือน 4 และวันขึ้น 1ค่ำเดือน 5) ตามแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศให้บรรพชนผู้ล่วงลับ โดย มีรูปแบบการบำเพ็ญกุศลเหมือนกับในวันธัมมัสวนะอื่น ๆ แต่ที่ต่างออกไปคือ พุทธศาสนิกชนที่มาบำเพ็ญกุศล มักนำขนมไทยคือข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มมัด หรือกาละแม มาถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. (2513). นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2496). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.
- ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง , ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๒๗๕๑
- กรมศิลปากร. (2525). ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ 3 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า131 132
- เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 60.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วันตรุษไทย ใครว่าไม่สำคัญ[]. ศูนย์พุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
trusithy epnwnepliynpinkstrtamhlkohrasastrithy odykhawatrusnn epnphasasnskvt aeplwatd hruxkarsinip wntruscungthuxepnwnsinpikhxngkhnithymaaetobran odypraephninisubthxdmatngaetsmysuokhthykhukbpraephnisngkrantsungepnwnkhunpiihmmaaetobran cungmkeriykrwmknwa praephnitrussngkrant sunghmaythungwnsngthaypiekatxnrbpiihmtrusithy epnwnsinpikhxngithyaetobran cungniymbaephykuslephuxxuthisihaekphulwnglbaelaephuxepnmngkhlaektninoxkaskhunpiihm odypraephnitrusithy cami 2 wn khuxwnsinnkstrekaaelawnerimnkstrihm mikahndkhux wnaerm 15 kha eduxn 4 thuxwaepnwnsinnkstredim aelawnkhun 1 khaeduxn 5 thuxepnwnerimtnnkstrihm tamkarnbaebbcnthrkhti tamxiththiphlthangohrasastrcakchmphuthwip aelakahndihwnsngkrantepnwnpiihm emuxolkerimekhasurasiemstamkarnbaebbsuriykhtithiidrbxiththiphlthangohrasastrcakchawtawntk aetaemcakahndihwnsngkrantepnwnpiihmkhxngithy aeteknthkarepliynpinkstrkyngichwntrusepneknth ephraaaenwkhid 12 nkstrepnaenwkhidthangchawexesiymananepnphnpiaelw sungchawexesiyichhlkohrasastrthangcnthrkhtimaekakxn thngni khnithyaetobranechuxwainwntrusni ethwdaphuduaelolk duaelpraeths duaelemuxng caepliynaeplngphumathahnathi cungkhwrcdethwtaphlithaphithibrwngsrwngtxnrbethwdathimaihmaelakhxbkhunethwdathiekhypkpkrksa echn thakhawaech ephuxthwayphrasyamethwathirach phraesuxemuxngthrngemuxng phraesuxwdthrngwd epntn odymikhwamechuxwathastriidkinkhawaechthiessng lamacakkarthwayethwdaehlannaelw cathaihidbutrthidathihnatadi aekhngaerngsukhphaphdi aelachladechliyw thahyingthitngkhrrphkin cakhlxdbutrngay plxdphy butrthidathiekidmacamihnatadi aekhngaerngsukhphaphdi chladechliyw hyingthimilukyakkcaidbutrthidatamkhwamprarthna aetpccubnidepliynihwnsngkrantepnwnpiihm praephnikarthakhawaechepnethwtaphlicungepliynepnwnsngkrantaethn odypraephniniepnpraephnithichawmxyyngrksaxyuprawtitamcaritpraephniaetdngedimkhxngithy thuxexawnkhun 1 kha eduxnxay epnwnkhunpiihm sungthuxtamptithinthangcnthrkhti aettxmainsmysuokhthy idthuxwawnkhun 1 kha eduxnhaepnwnkhunpiihm sungeriykwawntrus sungpraephniwntrusithyidrbkhtimacaksrilngka thirbpraephniwntrussungepnpraephniedimkhxngchnchatithmilxikthxdhnung aelamikarptibtisubtxknma cnklayepnngannkkhtvksihy ephuxsrangswsdimngkhlaekbanemuxng phayhlngidkahndihwnsngkrantepnwnkhunpiihmaelawntrusepnephiyngwnsinpieka cakxiththiphlthangohrasastrcaktawntk thiwnpiihmkhuxwnthierimekhasurasiems odyrachsankithyeriykpraephnitrusniwa phrarachphithismphcchrchinth odymikarthrngbaephyphrarachkuslaelabaephykicodyexnkpriyay ephuxkhbilxpmngkhlaelasrangsirimngkhlaekphrankhrenuxnginkarkhunpiihm odyphrarachphithiniidptibtisubma aelaykeliklnginrchsmykhxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw enuxngcakthrngehnwaithyidtidtxkbpraethstang makkhun karichptithinthangcnthrkhtiimehmaasmaelaimsadwk ephraaimlngrxykbptithinsakl cungprakasihrachxanackrsyamkahndwnkhunpiihm odyichwnthangsuriykhtitamaebbsaklaethn tngaetwnthi 1 emsayn ph s 2432 epntnma aelathuxexawnthi 1 emsayn epnwnkhunpiihmdwy txmaidepliynihepnwnthi 1 mkrakhm epnwnpiihmsakl inpi ph s 2483 ody cxmphl p phibulsngkhrampraephnitrusithyinpccubnenuxngdwypraephnitrus kahndwnodyichptithinthangcnthrkhti thaihswnihywntruscakahndlnginchwngeduxnminakhm sungiklkbethskalsngkrant sungthuxepnwnkhunpiihmithy thaihkhnithyswnihyimthrabkhwamsakhykhxngwntrusithyni xyangirktamwdtamphakhklanginpraethsithyyngkhngniymcdpraephnitrusithytlxdmacnthungpccubn odypraephnitrusithyinpccubn yngkhngcdepnsxng hruxsamwn khuxwnaerm14 hrux 15 khaeduxn 4 aelawnkhun 1khaeduxn 5 tamaetkhwamniymkhxngaetlathxngthin sungcaihkhwamsakhykbkarthabuytkbatrbaephykuslephuxxuthisihbrrphchnphulwnglb ody mirupaebbkarbaephykuslehmuxnkbinwnthmmswnaxun aetthitangxxkipkhux phuththsasnikchnthimabaephykusl mknakhnmithykhuxkhawehniywaedng khawtmmd hruxkalaaem mathwayphraephuxxuthisswnkuslihbrrphburusduephimsngkrantxangxingkrmsilpakr 2513 nangnphmas hrux tarbthawsriculalksn phimphkhrngthi 10 krungethph silpabrrnakhar culcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphra 2496 phrarachphithisibsxngeduxn phrankhr orngphimphphracnthr rachkiccanuebksa phrarachphithismphcchrchinth elm 28 txnthi 0 ng 31 minakhm ph s 2454 hna 2751 krmsilpakr 2525 silpwthnthrrmithy elmthi 3 khnbthrrmeniympraephniaelawthnthrrmkrungrtnoksinthr krungethph m p th hna131 132 ethwpraphas makkhlay 2553 khungtaepha cakxditsupccubn phthnakarthangprawtisastr praephniwthnthrrm khwamechux exklksn aelaphumipyyathxngthin krungethph orngphimphmhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly hna 60 ISBN 978 974 364 884 7aehlngkhxmulxunwntrusithy ikhrwaimsakhy lingkesiy sunyphuththsasnsuksa mhawithyalyekstrsastr