ทะเลสาบเชียงแสน หรือ หนองบงคาย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโยนก และตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระหว่างเส้นละติจูดที่ 20 ํ 28’ 25” ถึง 20 ํ 40’ 55” เหนือ และเส้นลองติจูดที่ 100 ํ 6’ 17” ถึง 100 ํ 7’ 38”ตะวันออก เดิมเป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดเล็ก ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและเนินเขาเตี้ยๆ ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันทำฝายดินกั้นแม่น้ำลั๊วะ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูก และต่อมาหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ได้สร้างฝายน้ำล้น ขนาดเล็กเพื่อใช้กั้นบริเวณทางน้ำไหลในปี พ.ศ. 2528 ทำให้เกิดเป็นทะเลสาบขนาดย่อมขึ้น มีพื้นที่ประมาณ 2,700 ไร่ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทะเลสาบเชียงแสน” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้หนองบงคายเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2528 ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรืออนุสัญญาแรมซาร์ อันดับที่ 1,101 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา
ลักษณะทางกายภาพ
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่รวมประมาณ 2,700 ไร่ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0 เมตร สามารถเก็บน้ำได้สูงสุด 4.9 ล้านลูกบาศก์เมตรล้อมรอบด้วยเนินเขาเตี้ยๆ มีความสูงระหว่าง 360–500 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กประมาณ 10,369 ไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าสัก และตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พื้นที่ประมาณร้อยละ 80 เป็นที่ราบมีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 2 โดยมีดอยจันมีความสูงที่สุดเท่ากับ 493 เมตร มีพื้นที่ปกคลุมประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ตำบลป่าสักมีความสูงมากกว่าตำบลโยนกเล็กน้อย
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป มีความแตกต่างทางฤดูกาลสูง ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ส่วนในฤดูร้อนมีอากาศร้อนอบอ้าวและมีฝนตก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี1,705.4 มิลลิเมตร ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน 18.8–27.0 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปีสูงประมาณร้อยละ 77 พื้นที่ได้รับอิทธิพลของลมจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว
สภาพทางธรณีสัณฐาน
- ลุ่มน้ำ ทะลสาบหนองบงคายหรือทะเลสาบเชียงแสนล้อมรอบด้วยเนินเขาเตี้ยๆ ประกอบด้วยลุ่มน้ำแม่กก ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำสาขาเชียงแสน–หนองหลวง
- ระดับชั้นความสูง หนองบงคายตั้งอยู่ที่ระดับความสูงต่ำสุด 0–400 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณทะเลสาบเป็นพื้นที่ราบ มีความลึก 1.5–4 เมตร ส่วนพื้นที่รอบทะเลสาบค่อนไปทางตะวันออกมีระดับความสูงถึง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล
- ลักษณะทางสัณฐานของลุ่มน้ำ หนองบงคายเกิดขึ้นจากการสร้างฝายกั้นน้ำขนาดเล็กเพื่อใช้กั้นบริเวณทางน้ำไหล ใช้กักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกรรม มีระดับความลึกที่สุด 4.5 เมตร ระดับความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรโดยระดับความลึกผันแปรไปตามฤดูกาลและแตกต่างกันในแต่ละปี
สภาพทางปฐพีวิทยา
ดินที่พบในหนองบงคายเป็นดินชุดเชียงราย เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ มีลักษณะอุ้มน้ำได้ดีมาก เป็นดินเหนียว ดินร่วนปนทราย และดินเหนียวปนทราย มีค่าความเป็นกรด–ด่างอยู่ในช่วง 5.5–6.5 สำหรับลักษณะดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นดินร่วนปนเหนียว และดินร่วนปนทรายเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นพื้นที่การเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้อาจจะเกิดการชะล้างพังทลายของดินซึ่งส่งผลให้เกิดการตื้นเขินของอ่างเก็บน้ำได้ในอนาคตดินที่พบอยู่ในพื้นที่เกิดจากวัสดุเหลือค้างจากวัตถุต้นกำเนิด (residuum and localcolluvium) และการทับถมของตะกอนลำน้ำ ดินจัดอยู่ในชุดดินเชียงแสนที่เกิดจากดินตะกอนลุ่มน้ำ มีลักษณะเป็นดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดีมาก ดินมีค่าความเป็นกรด–ด่าง อยู่ในช่วง 5.5–6.5ประมาณร้อยละ 42 มีความเหมาะสมสำหรับการทำนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ตำบลโยนก และประมาณร้อยละ 22 มีความเหมาะสมปานกลางสำหรับพืชไร่ แต่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ มีปริมาณการชะล้างพังทลายของดินโดยรอบค่อนข้างสูง สถานภาพของการเกิดกษัยการของดินในหนองบงคาย เป็นผลมาจากการเปลี่ยนพื้นที่ป่ารอบๆ เพื่อมาทำการกสิกรรมซึ่งส่งผลให้ปริมาณตะกอนสะสมอยู่ในหนองบงคายประมาณ 24,540 ตันต่อปี และจากการคำนวณพบว่าหากยังปล่อยให้มีการตกตะกอนในลักษณะนี้โดยปราศจากการจัดการใดๆ พบว่าอีกประมาณ 500 ปี จะมีปริมาณตะกอนทับถมจนเต็มหนองบงคาย
สภาพทางอุทกวิทยา
หนองบงคายจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอดปี (permanentinundatedwater regime) ระดับความลึกอยู่ระหว่าง 0–4.5 เมตร โดยมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรสามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 4.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับความสูง 374 เมตร ระดับน้ำจะปรับลดลงประมาณ 1–1.5 เมตร ในช่วงฤดูแล้ง แหล่งน้ำสำรองที่สำคัญได้จากปริมาณน้ำฝนในลักษณะของน้ำไหลบ่า (run off) เป็นส่วนใหญ่ พื้นที่รับน้ำมีประมาณ 15.75 ตารางกิโลเมตรและมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,705 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าพื้นที่ต้นน้ำมีประมาณ 26.8 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาณน้ำไหลบ่าเข้าสู่หนองบงคายเท่ากับ 7.89ล้านลูกบาศก์เมตร
แหล่งน้ำใกล้เคียงหนองบงคาย ประกอบด้วย หนองหลวง หนองแฉลบ และหนองบัว น้ำที่ไหลลงสู่หนองบงคายทั้งหมดเป็นน้ำผิวดินจากน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นที่ลุ่มน้ำหนองบงคาย ขนาดพื้นที่เท่ากับ 16.59 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,369 ไร่ จากการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝน พบว่าจะมีน้ำไหลเข้าหนองบงคายประมาณ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี เป็นปริมาณน้ำท่าประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะไหลลงแม่น้ำลั๊วะ ก่อนจะไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่หมู่บ้านสันธาตุ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือประมาณ 6 กิโลเมตร จากหนองบงคายปริมาณน้ำในทะเลสาบจะสูญเสียไปจากการคายระเหย ประมาณ 3.4 ล้านลูกบาศก์เมตรซึมลงดินหรือรั่วไหล ประมาณ 1.1 ล้านลูกบาศก์เมตร และชาวบ้านสูบไปใช้เพื่อการเกษตรประมาณ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
thaelsabechiyngaesn hrux hnxngbngkhay tngxyuinthxngthitabloynk aelatablpask xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray rahwangesnlaticudthi 20 28 25 thung 20 40 55 ehnux aelaesnlxngticudthi 100 6 17 thung 100 7 38 tawnxxk edimepnhnxngnathrrmchatikhnadelk thilxmrxbdwyphuekhaaelaeninekhaetiy sungchawbanidrwmknthafaydinknaemnalwa ephuxkkekbnaiwichephuxkarephaapluk aelatxmahnwynganerngrdphthnachnbth rphch idsrangfaynaln khnadelkephuxichknbriewnthangnaihlinpi ph s 2528 thaihekidepnthaelsabkhnadyxmkhun miphunthipraman 2 700 ir cungmichuxeriykxikxyanghnungwa thaelsabechiyngaesn krathrwngekstraelashkrnidprakasihhnxngbngkhayepnekhthamlastwpaemuxwnthi 4 emsayn ph s 2528 idmikarkhunthaebiynepnphunthichumnathimikhwamsakhyrahwangpraeths khxngxnusyyawadwyphunthichumna hruxxnusyyaaermsar xndbthi 1 101 emuxwnthi 5 krkdakhm 2544 epntnmalksnathangkayphaphphunthichumnahnxngbngkhay xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray miphunthirwmpraman 2 700 ir mikhwamlukechliypraman 2 0 emtr samarthekbnaidsungsud 4 9 lanlukbaskemtrlxmrxbdwyeninekhaetiy mikhwamsungrahwang 360 500 emtr sungepnphunthilumnakhnadelkpraman 10 369 ir sungkhrxbkhlumphunthitablpask aelatabloynk xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray phunthipramanrxyla 80 epnthirabmikhwamladchnimekinrxyla 2 odymidxycnmikhwamsungthisudethakb 493 emtr miphunthipkkhlumpraman 102 tarangkiolemtr phunthitablpaskmikhwamsungmakkwatabloynkelknxysphaphphumixakaslksnaphumixakasodythwip mikhwamaetktangthangvdukalsung vduhnawmixakashnaweynaelaaehngaelng swninvdurxnmixakasrxnxbxawaelamifntk miprimannafnechliyraypi1 705 4 milliemtr chwngxunhphumiechliyrayeduxn 18 8 27 0 xngsaeslesiys sngphlihmikhakhwamchunsmphththechliyraypisungpramanrxyla 77 phunthiidrbxiththiphlkhxnglmcaklmmrsumtawnxxkechiyngehnuxinchwngvduhnawsphaphthangthrnisnthanlumna thalsabhnxngbngkhayhruxthaelsabechiyngaesnlxmrxbdwyeninekhaetiy prakxbdwylumnaaemkk sungepnlanasakhakhxnglumnaokhng aelalumnasakhaechiyngaesn hnxnghlwng radbchnkhwamsung hnxngbngkhaytngxyuthiradbkhwamsungtasud 0 400 emtrcakradbnathael briewnthaelsabepnphunthirab mikhwamluk 1 5 4 emtr swnphunthirxbthaelsabkhxnipthangtawnxxkmiradbkhwamsungthung 700 emtrcakradbnathael lksnathangsnthankhxnglumna hnxngbngkhayekidkhuncakkarsrangfayknnakhnadelkephuxichknbriewnthangnaihl ichkkekbnaephuxekstrkrrm miradbkhwamlukthisud 4 5 emtr radbkhwamlukechliypraman 2 emtrodyradbkhwamlukphnaepriptamvdukalaelaaetktangkninaetlapisphaphthangpthphiwithyadinthiphbinhnxngbngkhayepndinchudechiyngray ekidcakkarthbthmkhxngtakxnlana milksnaxumnaiddimak epndinehniyw dinrwnpnthray aeladinehniywpnthray mikhakhwamepnkrd dangxyuinchwng 5 5 6 5 sahrblksnadininphunthilumnaaehngniepndinrwnpnehniyw aeladinrwnpnthrayenuxngcakphunthilumnaaehngniepnphunthikarekstrepnswnihy thaihxaccaekidkarchalangphngthlaykhxngdinsungsngphlihekidkartunekhinkhxngxangekbnaidinxnakhtdinthiphbxyuinphunthiekidcakwsduehluxkhangcakwtthutnkaenid residuum and localcolluvium aelakarthbthmkhxngtakxnlana dincdxyuinchuddinechiyngaesnthiekidcakdintakxnlumna milksnaepndinehniywxumnaiddimak dinmikhakhwamepnkrd dang xyuinchwng 5 5 6 5pramanrxyla 42 mikhwamehmaasmsahrbkarthana odyechphaaxyangyinginphunthitabloynk aelapramanrxyla 22 mikhwamehmaasmpanklangsahrbphuchir aetmipyhaeruxngkarrabayna miprimankarchalangphngthlaykhxngdinodyrxbkhxnkhangsung sthanphaphkhxngkarekidksykarkhxngdininhnxngbngkhay epnphlmacakkarepliynphunthiparxb ephuxmathakarksikrrmsungsngphlihprimantakxnsasmxyuinhnxngbngkhaypraman 24 540 tntxpi aelacakkarkhanwnphbwahakyngplxyihmikartktakxninlksnaniodyprascakkarcdkarid phbwaxikpraman 500 pi camiprimantakxnthbthmcnetmhnxngbngkhaysphaphthangxuthkwithyahnxngbngkhaycdepnphunthichumnathiminathwmkhngxyutlxdpi permanentinundatedwater regime radbkhwamlukxyurahwang 0 4 5 emtr odymikhwamlukechliypraman 2 emtrsamarthkkekbnaidsungsud 4 9 lanlukbaskemtr thiradbkhwamsung 374 emtr radbnacaprbldlngpraman 1 1 5 emtr inchwngvduaelng aehlngnasarxngthisakhyidcakprimannafninlksnakhxngnaihlba run off epnswnihy phunthirbnamipraman 15 75 tarangkiolemtraelamiprimannafnechliyraypiethakb 1 705 milliemtrtxpi dngnnprimannathiihlekhaphunthitnnamipraman 26 8 lanlukbaskemtr odymiprimannaihlbaekhasuhnxngbngkhayethakb 7 89lanlukbaskemtr aehlngnaiklekhiynghnxngbngkhay prakxbdwy hnxnghlwng hnxngaechlb aelahnxngbw nathiihllngsuhnxngbngkhaythnghmdepnnaphiwdincaknafnthitklngsuphunthilumnahnxngbngkhay khnadphunthiethakb 16 59 tarangkiolemtr hrux 10 369 ir cakkarwiekhraahkhxmulprimannafn phbwacaminaihlekhahnxngbngkhaypraman 27 lanlukbaskemtr pi epnprimannathapraman 8 lanlukbaskemtr sungcaihllngaemnalwa kxncaipbrrcbkbaemnaokhngthihmubansnthatu thixyuthangthistawnxxkechiyngithruxpraman 6 kiolemtr cakhnxngbngkhayprimannainthaelsabcasuyesiyipcakkarkhayraehy praman 3 4 lanlukbaskemtrsumlngdinhruxrwihl praman 1 1 lanlukbaskemtr aelachawbansubipichephuxkarekstrpraman 3 2 lanlukbaskemtr bthkhwamsingaewdlxmniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk