พระเจ้าชุงซอนแห่งโครยอ (เกาหลี: 충선; ฮันจา: 忠宣; อาร์อาร์: Chungseon; เอ็มอาร์: Ch'ungsǒn ค.ศ. 1275 - ค.ศ. 1325) เป็น พระราชา องค์ที่ 26 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 1298 และ ค.ศ. 1308 - ค.ศ. 1313)
พระเจ้าชุงซอนเปนพระโอรสของพระเจ้าชุงยอล (충렬왕, 忠烈王) และองค์หญิงเจกุก (제국대장공주, 齊國大長公主) พระมเหสีชาวมองโกล พระธิดาของพระจักรพรรดิหยวนซื่อจูกุบไลข่าน (Kublai Khan) เมื่อพระเจ้าชุงซอนได้รับการสถาปนาเป็นองค์ชายรัชทายาทในค.ศ. 1277 ก็ทรงย้ายไปประทับที่เมืองปักกิ่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาเมื่อเกาหลียังเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์หยวน ได้รับพระนามภาษามองโกลว่า อีจีร์บูกา (Ijirbuga) และอภิเษกกับองค์หญิงโบทับซิลิน (Botapsilin) พระปนัดดาของพระจักรพรรดิกุบไลข่าน
ในค.ศ. 1297 องค์หญิงเจกุกสิ้นพระชนม์ องค์ชายรัชทายาททราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชมารดาก็พิโรธมาก รีบเสด็จกลับมาเมืองแคซอง แล้วกล่าวโทษราชสำนักว่าลอบปลงพระชนม์พระมารดาเป็นการแก้แค้นชาวมองโกล ทรงให้ขุนนางและข้ารับใช้ในราชสำนักจำนวนมากถูกประหารชีวิต พระเจ้าชุงยอลทรงตกพระทัยกับความพิโรธของพระโอรสจนทรงยอมสละราชบัลลังก์ให้แก่องค์ชายรัชทายาท ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าชุงซอน (충선왕, 忠宣王) ตามพระนามที่พระจักรพรรดิเฉินจง (元成宗) เตมูร์ ข่าน (Temür Khan) พระราชทานมา
องค์หญิงโพทัพซิลิน หรือ องค์หญิงคเยกุก (계국대장공주, 薊國大長公主) ทรงมีความหึงหวงและริษยาพระมเหสีตระกูลโจ พระมเหสีอีกองค์ของพระเจ้าชุงซอนซึ่งเป็นชาวเกาหลี องค์หญิงคเยกุกนำความไปฟ้องพระจักรพรรดิเฉินจง พระจักรพรรดิเฉินจงจึงมีรับสั่งให้พระเจ้าชุงซอนและองค์หญิงคเยกุกเสด็จมายังกรุงปักกิ่งเพื่อไต่สวนความจริง ปรากฏว่าพระจักรพรรดิเฉินจงมีพระวินิจฉัยให้ปลดพระเจ้าชุงซอนออกจากราชสมบัติและให้พระเจ้าชุงยอลพระราชบิดาครองราชสมบัติดังเดิม พระจักรพรรดิเฉินจงทรงสถาปนาเจ้าชุงซอนให้เป็น เฉิ่นหยางอ๋อง (瀋陽王) ไว้ปกครองชาวเกาหลีที่พลัดถิ่นมาในจีน
ในค.ศ. 1308 พระเจ้าชุงยอลสวรรคต พระเจ้าชุงซอนเฉิ่นหยางอ๋องจึงเสด็จกลับเกาหลีเพื่อขึ้นครองราชสมบัติดังเดิม และมอบตำแหน่งอ๋องแห่งเฉิ่นหยางให้แก่องค์ชายวังโค (왕고, 王暠) หรือวอลเจยิตู (Öljeitü) พระเจ้าชุงซอนทรงสนพระทัยและโปรดปรานวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ (Neo-Confucianism) ในค.ศ. 1313 พระเจ้าชุงซอนก็ทรงตัดสินพระทัยสละราชบัลลังก์ให้แก่องค์ชายคังนึง (강릉대군, 江陵大君) พระโอรสแล้วเสด็จกลับไปประทับที่กรุงปักกิ่งเพื่อชื่นชมศิลปวัฒนธรรมจีนต่อไป
ในค.ศ. 1230 จากเหตุการณ์ทางการเมืองของราชวงศ์หยวนหลังการสวรรคตของพระจักรพรรดิหยวนเหรินจง (元仁宗) พระเจ้าชุงซอนทรงถูกเนรเทศไปยังทิเบต แต่ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษและเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง พระเจ้าชุงซอนสวรรคตในค.ศ. 1325
พระราชวงศ์
- พระราชบิดา พระเจ้าชุงยอล (충렬왕, 忠烈王)
- พระราชมารดา สมเด็จพระราชินีเจกุกแทจาง (제국대장공주, 齊國大長公主) พระราชธิดาของพระจักรพรรดิหยวนซื่อจูแห่งราชวงศ์หยวน
พระมเหสี
- สมเด็จพระราชินีคเยกุกแทจาง (계국대장공주, 薊國大長公主) พระราชปนัดดาของพระจักรพรรดิหยวนซื่อจูกุบไลข่าน
- สมเด็จพระราชินี ไม่ทราบพระนาม ตระกูลโจ 왕비 조씨(王妃)
พระชายา
- พระชายาซุกจินอึยบี ตระกูล ยา 의비 야씨(懿妃)
พระราชโอรส
- องค์ชายชุงซุก (충숙왕, 忠肅王) พระราชโอรสของพระชายาซุกจินอึยบี ตระกูล ยา
ก่อนหน้า | พระเจ้าชุงซอน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าชุงนยอล | พระราชาแห่งโครยอ (พ.ศ. 1854 - พ.ศ. 1856) | พระเจ้าชุงซุก|} <references> อ้างอิง |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phraecachungsxnaehngokhryx ekahli 충선 hnca 忠宣 xarxar Chungseon exmxar Ch ungsǒn kh s 1275 kh s 1325 epn phraracha xngkhthi 26 aehngrachwngsokhryx kh s 1298 aela kh s 1308 kh s 1313 phraecachungsxnepnphraoxrskhxngphraecachungyxl 충렬왕 忠烈王 aelaxngkhhyingeckuk 제국대장공주 齊國大長公主 phramehsichawmxngokl phrathidakhxngphrackrphrrdihywnsuxcukubilkhan Kublai Khan emuxphraecachungsxnidrbkarsthapnaepnxngkhchayrchthayathinkh s 1277 kthrngyayipprathbthiemuxngpkkingtamthrrmeniymthiptibtimaemuxekahliyngepnemuxngkhunkhxngrachwngshywn idrbphranamphasamxngoklwa xicirbuka Ijirbuga aelaxphieskkbxngkhhyingobthbsilin Botapsilin phrapnddakhxngphrackrphrrdikubilkhan inkh s 1297 xngkhhyingeckuksinphrachnm xngkhchayrchthayaththrabkhawkarsinphrachnmkhxngphrarachmardakphiorthmak ribesdcklbmaemuxngaekhsxng aelwklawothsrachsankwalxbplngphrachnmphramardaepnkaraekaekhnchawmxngokl thrngihkhunnangaelakharbichinrachsankcanwnmakthukpraharchiwit phraecachungyxlthrngtkphrathykbkhwamphiorthkhxngphraoxrscnthrngyxmslarachbllngkihaekxngkhchayrchthayath khunkhrxngrachsmbtiepnphraecachungsxn 충선왕 忠宣王 tamphranamthiphrackrphrrdiechincng 元成宗 etmur khan Temur Khan phrarachthanma xngkhhyingophthphsilin hrux xngkhhyingkheykuk 계국대장공주 薊國大長公主 thrngmikhwamhunghwngaelarisyaphramehsitrakuloc phramehsixikxngkhkhxngphraecachungsxnsungepnchawekahli xngkhhyingkheykuknakhwamipfxngphrackrphrrdiechincng phrackrphrrdiechincngcungmirbsngihphraecachungsxnaelaxngkhhyingkheykukesdcmayngkrungpkkingephuxitswnkhwamcring praktwaphrackrphrrdiechincngmiphrawinicchyihpldphraecachungsxnxxkcakrachsmbtiaelaihphraecachungyxlphrarachbidakhrxngrachsmbtidngedim phrackrphrrdiechincngthrngsthapnaecachungsxnihepn echinhyangxxng 瀋陽王 iwpkkhrxngchawekahlithiphldthinmaincin inkh s 1308 phraecachungyxlswrrkht phraecachungsxnechinhyangxxngcungesdcklbekahliephuxkhunkhrxngrachsmbtidngedim aelamxbtaaehnngxxngaehngechinhyangihaekxngkhchaywngokh 왕고 王暠 hruxwxlecyitu Oljeitu phraecachungsxnthrngsnphrathyaelaoprdpranwthnthrrmcinepnxyangmak odyechphaa Neo Confucianism inkh s 1313 phraecachungsxnkthrngtdsinphrathyslarachbllngkihaekxngkhchaykhngnung 강릉대군 江陵大君 phraoxrsaelwesdcklbipprathbthikrungpkkingephuxchunchmsilpwthnthrrmcintxip inkh s 1230 cakehtukarnthangkaremuxngkhxngrachwngshywnhlngkarswrrkhtkhxngphrackrphrrdihywnehrincng 元仁宗 phraecachungsxnthrngthukenrethsipyngthiebt aetkidrbphrarachthanxphyothsaelaesdcniwtikrungpkking phraecachungsxnswrrkhtinkh s 1325phrarachwngsphrarachbida phraecachungyxl 충렬왕 忠烈王 phrarachmarda smedcphrarachinieckukaethcang 제국대장공주 齊國大長公主 phrarachthidakhxngphrackrphrrdihywnsuxcuaehngrachwngshywn phramehsi smedcphrarachinikheykukaethcang 계국대장공주 薊國大長公主 phrarachpnddakhxngphrackrphrrdihywnsuxcukubilkhan smedcphrarachini imthrabphranam trakuloc 왕비 조씨 王妃 phrachaya phrachayasukcinxuybi trakul ya 의비 야씨 懿妃 phrarachoxrs xngkhchaychungsuk 충숙왕 忠肅王 phrarachoxrskhxngphrachayasukcinxuybi trakul ya kxnhna phraecachungsxn thdipphraecachungnyxl phrarachaaehngokhryx ph s 1854 ph s 1856 phraecachungsuk lt references gt xangxing http www koreanhistoryproject org Ket C07 E0702 htm