พระพิมพ์ คือ พระพุทธรูปขนาดเล็กที่สร้างโดยกดประทับดินด้วยแม่พิมพ์ ในอินเดียเรียกพระพิมพ์ว่า Sacha Sachaya หรือ Sacchaha ซึ่งเป็นภาษาปรากฤต ส่วนภาษาสันสกฤตเรียกว่า Sat-chaya โดยทุกคำมีความหมายว่า "รูปภาพที่สมบูรณ์"
ประวัติ
สันนิษฐานว่าพระพิมพ์มาจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ในช่วงเริ่มต้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึกในการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน โดยสร้างรูปพิมพ์เกี่ยวข้องกับสังเวชนียสถานนั้น ๆ สันนิษฐานว่าเริ่มมีการสร้างพระพิมพ์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5–6 หลังจากการสร้างพระพุทธรูปและสังเวนียสถาน ซึ่งเริ่มสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 3 ต่อมาเปลี่ยนคติการสร้างพระพิมพ์มาเป็นการสร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์เพื่อความเป็นกุศล พระพิมพ์ในสมัยแรกมักปรากฏคำจารึกเล็ก ๆ เช่นคาถา
ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สร้างมาตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยชาวมอญเป็นผู้สร้างและมักทำด้วยดินเผา มีพื้นฐานศิลปะแบบอมราวดี แต่บางองค์มีลักษณะศิลปะคุปตะของอินเดีย พระพิมพ์ที่พบส่วนใหญ่จารึกคาถา เย ธมฺมาฯ บางแห่งจารึกเป็นคำนมัสการพระรัตนตรัย พระพิมพ์ในสมัยทวารดีส่วนใหญ่พบในภาคกลางของประเทศไทย เช่นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ในสมัยหริภุญชัยพบการสร้างพระพิมพ์จำนวนมาก โดยสร้างขึ้นเพื่อบรรจุในพระเจดีย์เพราะมีหลักฐานการจารึกระบุเรื่องราวการสร้างเจดีย์และบูรณะเจดีย์ พระพิมพ์ที่พบมีลักษณะศิลปะลพบุรีผสมกับพุทธศิลป์แบบมหายาน แบ่งการได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะต่าง ๆ คือ ศิลปะอินเดีย ศิลปะทวารวดี ศิลปะพุกาม และศิลปะลพบุรี
พระพิมพ์ในสมัยลพบุรีมักแสดงภาพเป็นพระพุทธรูปหลายองค์หรือพระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์รวมกันอยู่ในแผงพระพิมพ์เดียวกัน พระพิมพ์ในสมัยสุโขทัยมีแนวคิดการสร้างเพื่อเป็นปัจจัยให้ผู้สร้างนั้นได้เกิดในสมัยพระศรีอริยเมตไตรยตามความเชื่อในเรื่องไตรภูมิพระร่วง พระพิมพ์ในสมัยสุโขทัยมักสร้างด้วยเนื้อดินเผาและเนื้อชิน โดยพบตามกรตามเจดีย์ พระพิมพ์แบบสุโขทัยถือได้ว่างดงามกว่าสมัยอื่น ๆ
ในสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนคติการสร้างพระพิมพ์ คนเริ่มเชื่อกันเรื่องเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์ การสร้างพระพิมพ์จึงเพื่อความเป็นสิริมงคล ความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำพกติดตัวไปได้ เช่นในลิลิตตะเลงพ่ายระบุว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำพระพิมพ์ของเมืองพิจิตรติดไว้ที่พระมาลาเมื่อเวลาออกทำศึก
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นได้รับการเคารพบูชาจนกลายมาเป็นพระเครื่อง
อ้างอิง
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2546), 763.
- "พระพิมพ์ พระเครื่อง". ไทยศึกษา.
- ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. "พระเครื่องกับสังคมไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถึง พ.ศ. 2550 : การศึกษาคติความเชื่อ รูปแบบ และพุทธพาณิชย์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phraphimph khux phraphuththrupkhnadelkthisrangodykdprathbdindwyaemphimph inxinediyeriykphraphimphwa Sacha Sachaya hrux Sacchaha sungepnphasaprakvt swnphasasnskvteriykwa Sat chaya odythukkhamikhwamhmaywa rupphaphthismburn prawtisnnisthanwaphraphimphmacaksngewchniysthanthng 4 aehng inchwngerimtnmicudprasngkhephuxepnthiralukinkaredinthangipnmskarsngewchniysthan odysrangrupphimphekiywkhxngkbsngewchniysthannn snnisthanwaerimmikarsrangphraphimphinchwngphuththstwrrsthi 5 6 hlngcakkarsrangphraphuththrupaelasngewniysthan sungerimsrangkhunrawphuththstwrrsthi 3 txmaepliynkhtikarsrangphraphimphmaepnkarsrangphraphuththrupaelaphraphimphephuxkhwamepnkusl phraphimphinsmyaerkmkpraktkhacarukelk echnkhatha inpraethsithyphbhlkthanthangobrankhdithisrangmatngaetsmythwarwdi odychawmxyepnphusrangaelamkthadwydinepha miphunthansilpaaebbxmrawdi aetbangxngkhmilksnasilpakhuptakhxngxinediy phraphimphthiphbswnihycarukkhatha ey thm ma bangaehngcarukepnkhanmskarphrartntry phraphimphinsmythwardiswnihyphbinphakhklangkhxngpraethsithy echnthicnghwdnkhrpthm rachburi singhburi aelasuphrrnburi inphakhtawnxxkechiyngehnuxphbinxaephxnadun cnghwdmhasarkham insmyhriphuychyphbkarsrangphraphimphcanwnmak odysrangkhunephuxbrrcuinphraecdiyephraamihlkthankarcarukrabueruxngrawkarsrangecdiyaelaburnaecdiy phraphimphthiphbmilksnasilpalphburiphsmkbphuththsilpaebbmhayan aebngkaridrbxiththiphlmacaksilpatang khux silpaxinediy silpathwarwdi silpaphukam aelasilpalphburi phraphimphinsmylphburimkaesdngphaphepnphraphuththruphlayxngkhhruxphraphuththrupkbphraophthistwrwmknxyuinaephngphraphimphediywkn phraphimphinsmysuokhthymiaenwkhidkarsrangephuxepnpccyihphusrangnnidekidinsmyphrasrixriyemtitrytamkhwamechuxineruxngitrphumiphrarwng phraphimphinsmysuokhthymksrangdwyenuxdinephaaelaenuxchin odyphbtamkrtamecdiy phraphimphaebbsuokhthythuxidwangdngamkwasmyxun insmyxyuthyamikarepliynkhtikarsrangphraphimph khnerimechuxkneruxngehnuxthrrmchati isysastr karsrangphraphimphcungephuxkhwamepnsirimngkhl khwamskdisiththi ephuxnaphktidtwipid echninlilittaelngphayrabuwasmedcphranerswrmharachthrngnaphraphimphkhxngemuxngphicitrtidiwthiphramalaemuxewlaxxkthasuk insmyrtnoksinthr phraphimphthisrangkhunidrbkarekharphbuchacnklaymaepnphraekhruxngxangxingphcnanukrmchbbrachbnthitysthan ph s 2542 krungethph nanmibukhs 2546 763 phraphimph phraekhruxng ithysuksa nthphl xyurungeruxngskdi phraekhruxngkbsngkhmithychwnghlngsngkhramolkkhrngthisxng thung ph s 2550 karsuksakhtikhwamechux rupaebb aelaphuththphanichy PDF mhawithyalysilpakr