ป่าชายเลน เป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณตีนเขา อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อโคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา
คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลน เช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ไทย เป็นต้น
สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในบริเวณนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ สุนทรวัน ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก
ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน
ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมพืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า. ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็น อาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความ สมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผล เสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำ
ประเภทของป่าชายเลน
ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด
- Basin forest เป็นป่าชายเลนที่ พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก น้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
- Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน
- Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด
- Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ
ป่าชายเลนในประเทศไทย
ประเทศไทยมี 23 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตลอดไปจนถึงภาคใต้ทั้งสองฝั่ง จากการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 พบว่า มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,299,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ประเทศ ในระยะ 25 ปีต่อมาพื้นที่ป่าชายเลนได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2529 ปรากฏว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 1,220,000 ไร่ หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ต่อมาป่าชายเลนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มอัตราการบุกรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2534 พื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 1,076,250 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถูกทำลาย 1,223,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2504 และลดลงเหลือประมาณ 1,047,781.25 ไร่ ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากปี พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้มีนโยบายการฟื้นฟูป่าชายเลน เช่น การปลูกป่าทดแทนและการลดการบุกรุกทำลายป่า ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2543 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 1,578,750 ไร่ และเป็น 2,384 ไร่ ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปี พ.ศ. 2545–2549) ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าควรมีป่าชายเลนทั้งประเทศประมาณ 1,250,000 ไร่ หากเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนรายจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2518-2536 พบว่า จังหวัดชลบุรีมีอัตราลดลงเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดถึงร้อยละ 5.42 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- สนิท อักษรแก้ว. 2532. ป่าชายเลน นิเวศวิทยาและการจัดการ
- Pasha, Mostafa Kamal; Siddiqui, Neaz Ahmad (2003). . ใน (บ.ก.). : national chakra encyclopedia of Bangladesh chakra. Dhaka: of Bangladesh. ISBN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-10.
- Alexander, Caroline (16 December 2014). "After Oil Spill in Bangladesh's Unique Mangrove Forest, Fears About Rare Animals". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
- Lee, Iara (1 December 2014). "Sundarbans Oil Spill: An Urgent Wake Up Call for the Bangladeshi Government". . สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
- "Sundarban Wildlife Sanctuaries" (PDF). World Heritage Nomination – IUCN Technical Evaluation. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 June 2014.
- "Sundarbans, Bangladesh". The Encyclopedia of Earth. 19 October 2014. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
pachayeln epnklumsngkhmphuchsungkhunxyuinekhtnalngtasudaelanakhunsungsud briewntinekha xikkhwamhmayhnung hmaythung sngkhmphuchthiprakxbdwyphnthuimhlaychnidhlaytrakul aelaepnphwkthimiibekhiywtlxdpi evergreen species sungmilksnathangsrirwithyaaelakhwamtxngkarsingaewdlxmthikhlaykn sungswnihyprakxbdwyphnthuim Rhizophora spp epnimsakhyaelamiimtrakulxunbangpachayeln idmikarkhnphbpapraephthnimatngaetemuxokhlmbs edinthangmabriewnchayfngtawntkkhxngekaakhiwba txma esxr wxletxr erlh idphbpachnidediywknnixyubriewnpakaemnaintriniaeddaelaekiyna khawa mangrove epnkhacakphasaoprtuekskhawa mangue sunghmaythungklumsngkhmphuchthikhunxyutamchayfngthaeldineln aelaichknaephrhlayinpraethsaethblatinxemrika swnpraethsxun kicheriyktamphasakhxngtwexng echn praethsmaelesiyichkhawa manggi manggi praethsthiichphasafrngesseriykpachayelnwa mangrove swnphasaithyeriykpachnidniwa pachayeln hrux paokngkang briewnthiphbpachayelnodythwip khuxtamchayfng thael briewnpakna xaw thaelsab aelaekaa sungepnbriewnthinathaelthwmthungkhxngpraeths inaethbphumiphakhekhtrxn swnekhtehnuxhruxitekhtrxn caphbpachayelnxyubangaetimmak odyphunthithiphbpachayeln echn inklumpraethskhxngphumiphakhexechiy tawnxxkechiyngit odyechphaainpraethsxinodniesiy maelesiy phma ithy epntn sahrbphunthipachayelnkhxngolkthnghmdmipraman 113 428 089 ir xyuin ekhtrxn 3 ekhtihy khux ekhtrxnaethbexechiyphunthipraman 52 559 339 ir hruxrxyla 46 4 khxngpachayelnthnghmd odypraethsxinodniesiymipachayelnmakthisud thung 26 568 818 ir sahrbinekhtrxnxemrikamiphunthipachayelnthnghmdpraman 39 606 250 ir hruxrxyla 34 9 khxngphunthipachayelnthnghmd inekhtrxnxemrikapraethsthimiphunthi odypraethsbrasil miphunthipachayelnpraman 15 625 000 ir rxngcakxinodniesiy swnekhtrxnxfrikamiphunthi pachayelnnxythisudpraman 21 262 500 ir hruxrxyla 18 7 khxngphunthipachayelnthnghmd odypraethsincieriy miphunthipachayeln 6 062 500 ir makthisudinbriewnni odypachayelnthimiphunthiihythisudinolk khux sunthrwn sungepnpakaemnakhngkharahwangpraethsxinediykbbngklaeths sungmienuxthi 10 000 tarangkiolemtr 3 900 tarangiml sungthukprakasihepnmrdkolkthangthrrmchatiodyxngkhkaryuensokhwngosxaharinrabbniewspachayelnrabbniewswithyathiekidkhuninpachayelnnn epneruxngthiekiywkhxngkbkhwamsmphnththimitxknrahwangsingmichiwitkbsingaewdlxmphuchphrrnthrrmchatichnidtang emuxidrbaesngcakdwngxathity ephuxichinkarsngekhraahaesngcathaihekidxinthriywtthuaelakarecriyetibot klayepnphuphlit producers khxngrabbswntang khxngtnim nxkehnuxcakmnusynaipichpraoychncarwnghlnthbthminnaaelaindin inthisudkcaklayepnaerthatukhxngphwkculchiwn echn aebkhthieriy echuxra aephlngktxn tlxdcnstwelk hnadinthieriykklumniwa phubriophkhkhxngrabb detritus consumers phwkculchiwnehlanicaecriyetibotklayepnaehlngxaharkhxngstwnaelk xun aelastwelk ehlani caecriyetibotepnxaharkhxngphwkkung pu aelaplakhnadihykhuntamladbkhxngxahar tropic levels nxkcakni ibimthitkhlnokhntnxacepn xaharodytrngkhxngstwna litter feeding kid sungthnghmdcaekidepnhwngosxaharkhun inrabbniewspachayeln aelaodythrrmchatiaelwcamikhwam smdulintwkhxngmnexng aetthamikarepliynaeplngekidkhuninkhntxnidkhntxnhnungkcaepnphlthaihrabbkhwamsmphnthnithukthalaylng cnekidepnphl esiykhunid echn thahakphunthipachayelnthukbukrukthalay canwnstwnakcaldlngtamipdwytlxdcnxacekidkarenaesiykhxngnapraephthkhxngpachayelnpachayelnsamarthaebngid 4 chnid Basin forest epnpachayelnthi phbtidkbaephndinihytamlanaaelaidxiththiphlcaknathaelnxymak nathaelcathwmthungechphaaewlathinathaelkhunsungsud Riren forest epnpachayelnthiphbbriewnchayfngaemnaihythitidkbthael thaelsab minathaelthwmthungthukwn Fringe forest epnpachayelnthiphbbriewnchayfngthaelthitidkbaephndinhruxrxbekaathiepnekaaihy nathaelthwmthungesmxepnpracathukwn ykewn chayfngthaelkhxngekaaihy nathaelthwmthungemuxnathaelkhunsungsud Overwash forest epnpachayelnthiphbtamekaaelk emuxnathaelkhunsungsudcathwmtnimhmd phrrnimthicaetiykwapkti mixtrakaretibottapachayelninpraethsithypraethsithymi 23 cnghwd thimiphunthipachayelntamchayfngthaelaemnalakhlxng thaelsabaelaekaatang tngaetphakhklangtxnlang phakhtawnxxktlxdipcnthungphakhitthngsxngfng cakkarsarwcphunthipachayelnkhxngpraethsithyinpi ph s 2504 phbwa miphunthirwmthngsin 2 299 375 ir hruxrxyla 0 72 khxngphunthipraeths inraya 25 pitxmaphunthipachayelnidldlngxyangrwderw cakkarsarwcemux ph s 2529 praktwamiphunthipachayelnpraman 1 220 000 ir hruxldlngekuxbkhrunghnung txmapachayelnyngkhngldlngxyangtxenuxngaelamiaenwonmxtrakarbukrukephimmakyingkhun odyinpi ph s 2534 phunthipachayelnkhngehluxephiyng 1 076 250 ir hruxrxyla 0 33 khxngphunthipraeths sungkhidepnphunthithukthalay 1 223 125 ir hruxpramanrxyla 54 emuxethiybkbpi ph s 2504 aelaldlngehluxpraman 1 047 781 25 ir inpi ph s 2539 aethlngcakpi ph s 2539 miphunthipachayelnephimkhunenuxngcakidminoybaykarfunfupachayeln echn karplukpathdaethnaelakarldkarbukrukthalaypa sngphlihinpi ph s 2543 phunthipachayelnephimkhun 1 578 750 ir aelaepn 2 384 ir inpi ph s 2547 odymiphunthiephimkhunmakkwaaephnphthnaesrsthkicaelasngkhmaehngchati chbbthi 9 pi ph s 2545 2549 idtngepahmayiwwakhwrmipachayelnthngpraethspraman 1 250 000 ir hakethiybxtrakarepliynaeplngphunthipachayelnraycnghwdinchwngpi ph s 2518 2536 phbwa cnghwdchlburimixtraldlngechliytxpimakthisudthungrxyla 5 42 enuxngcakkarkhyaytwthangesrsthkic odyechphaakarphthnaphunthichayfngthaelaelakarphthnaaehlngthxngethiywduephimkarfunfupachayelnxangxingwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb pachayeln snith xksraekw 2532 pachayeln niewswithyaaelakarcdkarPasha Mostafa Kamal Siddiqui Neaz Ahmad 2003 in b k national chakra encyclopedia of Bangladesh chakra Dhaka of Bangladesh ISBN 984 32 0576 6 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 10 16 subkhnemux 2016 01 10 Alexander Caroline 16 December 2014 After Oil Spill in Bangladesh s Unique Mangrove Forest Fears About Rare Animals National Geographic subkhnemux 29 January 2015 Lee Iara 1 December 2014 Sundarbans Oil Spill An Urgent Wake Up Call for the Bangladeshi Government subkhnemux 29 January 2015 Sundarban Wildlife Sanctuaries PDF World Heritage Nomination IUCN Technical Evaluation UNESCO subkhnemux 27 June 2014 Sundarbans Bangladesh The Encyclopedia of Earth 19 October 2014 subkhnemux 29 January 2015