บทความนี้ยังต้องการเพิ่มเพื่อ |
ปัญจตันตระ (The Pañcatantra) วรรณคดีประเภทนิทานอุทาหรณ์ หรือที่ภาษาสันสกฤตเรียกว่า "นิทรรศนะ" (nidarśana) หรือ "นิทรรศนกถา" (nidarśanakathā) นิทรรศนะ มีความหมายว่า การมองดู การชี้ให้เห็น การพิสูจน์ อีกนัยหนึ่งจึงมีความหมายว่า ตัวอย่าง (example) บทเรียน (lesson) และอุทาหรณ์ (illustration) ได้อีกด้วย
ปัญจตันตระจัดอยู่ในหมวด “กาวยะ” ประเภท “กถา” ซึ่งแปลว่า เรื่องเล่า นิทาน หรือเรื่องที่แต่งขึ้น วรรณคดีประเภทนี้มีความแตกต่างจาก “อาขยายิกา” ซึ่งเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามเนื้อหาในปัญจตันตระก็มีการสอดแทรกเรื่องจริงเอาไว้เช่นกัน ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี เคยวิเคราะห์ไว้ว่า มีการเรียกปัญจตันตระว่าเป็นอาขยายิกาที่เรียกว่า “ตันตราขยายิกา” ทั้งนี้ตันตราขยายิกาใช้เรียกนิทานซ้อน (emboxed story) เท่านั้น นิทานหลัก (frame story) ยังคงเรียกว่ากถา เนื่องจากเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
ปัญจตันตระฉบับดั้งเดิมนั้นสูญหายไปแล้ว แต่ยังสามารถศึกษาลักษณะของฉบับดั้งเดิมรวมทั้งเรียบเรียงขึ้นใหม่ได้จากการรวบรวมต้นฉบับสำคัญที่มีอยู่ เช่น ปัญจตันตระฉบับอินเดียใต้ และในประเทศอื่น ๆ เช่น ปัญจตันตระฉบับเปอร์เซียและอาหรับ โดยนำแต่ละคำในแต่ละฉบับมาเปรียบเทียบกันอย่างพินิจพิเคราะห์ ดังจะเห็นได้จากปัญจตันตระฉบับสร้างใหม่ (reconstructed) ซึ่งแฟรงคลิน เอดเจอร์ตันเป็นผู้เรียบเรียง ปัญจตันตระฉบับสร้างใหม่นี้ปรากฏคำที่ได้จากการเปรียบเทียบคำที่ตรงกันในตำแหน่งที่ตรงกันของปัญจตันตระฉบับต่าง ๆ จึงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ศึกษาปัญจตันตระว่าน่าจะเป็นฉบับที่ใกล้เคียงกับฉบับดั้งเดิมที่สูญหายไปมากที่สุด
ต้นกำเนิดนิทานอุทาหรณ์
วรรณคดีประเภทนิทานถือกำเนิดขึ้นจากการที่ชาวอารยันโบราณอาศัยใกล้ชิดกับธรรมชาติ วิถีชีวิตที่แวดล้อมด้วยเหล่านกและหมู่สัตว์ทำให้ชาวอารยันได้เรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้น ก่อเกิดเป็นนิทานที่ใช้ตัวละครสัตว์เพื่อสะท้อนภาพพฤติกรรมของมนุษย์ วัตถุประสงค์หลักในการแต่งนิทานอุทาหรณ์ก็เพื่อสอนศีลธรรมและการเมืองการปกครองให้แก่ชนชั้นสูงในสมัยนั้น ต่างจากพุทธศาสนาชาดกที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงนัยทางศาสนา
ปัญจตันตระเป็นวรรณคดีประเภทนิทานอุทาหรณ์ที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะไม่สามารถกำหนดยุคสมัยที่เริ่มปรากฏวรรณคดีประเภทนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถสันนิษฐานได้ว่าปัญจตันตระน่าจะถูกแต่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 เนื่องจากในช่วงเวลานั้นภาษาสันสกฤตเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงอีกครั้ง ชนชั้นปกครองต้องการคัมภีร์ที่เขียนด้วยภาษาของชนชั้นสูง ทั้งยังต้องการภาษาที่ใช้ในการแสดงละครอีกด้วย
รูปแบบการแต่งและการใช้ภาษา
ปัญจตันตระเริ่มเรื่องด้วยนิทานนำเรื่องหรือที่เรียกว่า “กถามุข” (introductory story) ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าอมรศักดิ์ผู้ทรงวิตกที่พระโอรสทั้งสามไม่ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียน จึงให้พราหมณ์วิษณุศรมันเป็นผู้ดูแลพระโอรส วิษณุศรมันได้เล่านิทาน 5 เรื่องถวายแด่ราชโอรสทั้งสาม ดังนี้
- เรื่องที่ 1 การแตกมิตร (เรื่องของวัวกับราชสีห์)
- เรื่องที่ 2 การผูกมิตร (เรื่องของนกพิราบ กา หนู เต่า และกวาง)
- เรื่องที่ 3 สงครามและความสงบ (เรื่องของกากับนกเค้าแมว)
- เรื่องที่ 4 การสูญลาภ (เรื่องของลิงกับจระเข้)
- เรื่องที่ 5 การขาดความยั้งคิด (เรื่องของพราหมณ์กับพังพอน)
นิทานแต่ละเรื่องจัดเป็น “นิทานหลัก” (frame story) ซึ่งมี “นิทานซ้อน” (emboxed story) อยู่ในนิทานหลักอย่างน้อย 1 เรื่อง นิทานซ้อนเหล่านี้เป็นนิทานประเภทอุทาหรณ์ ตัวละครในนิทานหลักจะเล่านิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวละครอื่น ๆ
นิทานหลักเรื่องที่ 1 การแตกมิตร มีนิทานซ้อน 15 เรื่อง
- ลิงถอนลิ่ม
- หมาจิ้งจอกพบกลอง
- กรรมของนักบวช หมาจิ้งจอกและแม่สื่อ
- กาแก้แค้นงู
- นกยางตายเพราะปู (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 4 กาแก้แค้นงู)
- ราชสีห์หลงกลกระต่าย
- เหาตายเพราะหมัด
- บริวารราชสีห์หลอกฆ่าอูฐ
- นกต้อยตีวิตเอาชนะทะเล
- หงส์พาเต่าบิน (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 9 นกต้อยตีวิตเอาชนะทะเล)
- ปลา 3 ตัว (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 9 นกต้อยตีวิตเอาชนะทะเล)
- นกกระจาบสอนลิง
- หนูกินเหล็ก
นิทานหลักเรื่องที่ 2 การผูกมิตร มีนิทานซ้อน 4 เรื่อง
- สมบัติของหนู
- งาขาวแลกงาดำ (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 1 สมบัติของหนู)
- หมาจิ้งจอกโลภมาก (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 2 งาขาวแลกงาดำ)
- กวางของเจ้าชาย
นิทานหลักเรื่องที่ 3 สงครามและความสงบ มีนิทานซ้อน 10 เรื่อง
- ลาในหนังสือ
- นกเลือกนาย
- กระต่ายลวงช้าง (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 2 นกเลือกนาย)
- แมวเป็นตุลาการ (นิทานซ้อนของเรื่องที่ 2 นกเลือกนาย)
- พราหมณ์แบกแพะ
- โจรกับชายชราผู้มีภรรยาสาว
- โจรกับรากษสช่วยพราหมณ์
- ช่างไม้หลงคำภรรยา
- หนูแต่งงานกับหนู
- กบขี่งู
นิทานหลักเรื่องที่ 3 การสูญลาภ มีนิทานซ้อน 1 เรื่อง
- หัวใจของลา
นิทานหลักเรื่องที่ 4 การขาดความยั้งคิด มีนิทานซ้อน 2 เรื่อง
- พราหมณ์ผู้สร้างวิมานในอากาศ
- กัลบกผู้ฆ่าพราหมณ์
นิทานนำเรื่อง นิทานหลัก และนิทานซ้อน แต่งโดยใช้คำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วแบบบรรยายโวหาร แต่คติธรรมของนิทานแต่ละเรื่องผู้แต่งสรุปไว้เป็นโศลก ก่อนเล่านิทานตัวละครที่เป็นผู้เล่าจะร่ายโศลกเป็นบทนำเรื่อง (promythium) และเมื่อนิทานจบตัวละครที่เป็นผู้เล่าก็จะร่ายโศลกเป็นการสรุปเรื่อง (epimythium) อีกครั้งหนึ่ง
ภาษาที่ใช้
ภาษาที่ใช้ในปัญจตันตระเป็นภาษาที่แต่งอย่างวิจิตบรรจง แต่ไม่มีการใช้คำฟุ่มเฟือย ผู้แต่งจงใจใช้ภาษาชั้นสูงกับสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หมัด และเหา เพื่อสร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่าน
ปัญจตันตระฉบับต่าง ๆ
ปัญจตันตระสำนวนเก่าที่ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากปัญจตันตระฉบับดั้งเดิมแบ่งได้เป็น 4 กระแส ได้แก่ กระแสปะห์ลวี กระแสตันตราขยายิกะ กระแสพฤหัตกถา กระแสอินเดียใต้ แต่ละกระแสนั้นมีการถ่ายทอดต่อ ๆ กันไป และมีความเกี่ยวโยงกันบ้าง ทั้งนี้กระแสปะห์ลวีเป็นกระแสเดียวที่แยกขาดจากกระแสอื่น ๆ ในอินเดีย แต่ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในตะวันตก
กระแสตันตราขยายิกะ (เรื่องเล่าเกี่ยวกับศาสตร์) มีถิ่นกำเนิดในแคว้นกัษมีระ สำนวนที่แพร่หลายของกระแสนี้คือฉบับที่ชื่อว่า “ตันตราขยายิกะ” ต้นฉบับเขียนไว้ด้วยอักษรศารทา เนื่องจากได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นฉบับที่คงเนื้อหาทั้งร้อยแก้วและโศลกไว้ได้ถึง 95% จึงน่าจะเป็นฉบับที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับดั้งเดิมมากที่สุด อีกสำนวนหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือฉบับของปูรณภัทระ นักบวชเชน แต่งไว้เมื่อปี ค.ศ.1199 ฉบับนี้เป็นที่นิยมในอินเดียตะวันตกและอินเดียกลาง ปูรณภัทระได้ดัดแปลงนิทานที่มีอยู่เดิมและแต่งเพิ่มจนมีนิทานซ้อนถึง 82 เรื่อง (เดิมมีเพียง 32 เรื่อง) ฉบับเชนอีกฉบับหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือฉบับของเมฆวิชยะ
กระแสพฤหัตกถา ปัญจตันตระกระแสนี้เป็นเรื่องที่แทรกอยู่ในพฤหัตกถาของคุณาฒยะ สำนวนนี้แพร่หลายทางอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ แต่เนื่องจากพฤหัตกถาฉบับดั้งเดิม (ฉบับของคุณาฒยะ) สูญหายไปแล้ว เหลือเพียงฉบับที่ถ่ายถอดต่อมาอีก 2 สำนวนในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้แก่ “กถาสริตสาคร” ของโสมเทวะ และ “พฤหัตกถามัญชรี” ของเกษเมนทระ ผู้ศึกษาปัญจตันตระสันนิษฐานว่าคุณาฒยะแต่งพฤหัตกถาเป็นภาษาไปศาจี และเดิมทียังไม่มีปัญจตันตระแทรกอยู่ โดยมีผู้แต่งเติมไว้ในภายหลัง และได้รับการถ่ายทอดมาพร้อมกับสำนวนที่โสมเทวะและเกษเมนทระแปลเป็นภาษาสันสกฤต ปัญจตันตระสำนวนนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างกระชับ นิทานหลายเรื่องถูกตัดออกไป ส่วนที่เป็นโศลกแสดงคติธรรมก็ยกมาเพียงบางบทเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจุดประสงค์หลักในการแต่งคือเป็นเรื่องเล่าที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ส่วนโศลกที่ยกมาเพียงบางบทก็เพื่อแฝงจุดประสงค์เดิมที่แต่งเพื่อเป็นเรื่องเล่าแสดงอุทาหรณ์เท่านั้น
กระแสอินเดียใต้ เป็นกระแสที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทยมากที่สุด ฉบับที่ผู้ศึกษาวรรณคดีไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีคือ “หิโตปเทศ” ซึ่งแต่งโดยนารายณะ กวีผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.800-1373 นารายณะเรียบเรียงหิโตปเทศขึ้นโดยอาศัยโครงเรื่องจากปัญจตันตระและวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ
ปัญจตันตระอีกฉบับหนึ่งที่อยู่ในกระแสนี้คือ “ตันโตรปาขยานะ” ซึ่งเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยอาศัยปัญจตันตระฉบับอินเดียใต้เป็นหลัก นิทานนำเรื่องต่างจากปัญจตันตระ เนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงพราหมณ์วิษณุศรมันผู้สอนราชบุตรด้วยนิทาน แต่กล่าวถึงนางตันไตรผู้ฉลาดเฉลียวซึ่งยกนิทานมาเล่าถวายแด่พระราชาจนสามารถเปลี่ยนนิสัยของพระราชาได้ นิทานนำเรื่องของตันโตรปาขยานะมีเนื้อเรื่องเหมือนกับนิทานนำเรื่องในอาหรับราตรี กล่าวถึงพระราชาองค์หนึ่งซึ่งรับสั่งให้อำมาตย์หาหญิงสาวมาถวายคืนละคน ครั้นรุ่งเช้าก็ให้ประหารนางเสีย ธิดาของอำมาตย์อาสาเข้าเฝ้าเพื่อเล่านิทานถวาย พระราชาทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก จึงเลื่อนการประหารนางออกไป ท้ายที่สุดพระราชาก็แต่งตั้งนางเป็นมเหสี
อ้างอิง
- กุสุมา รักษมณี. 2526. นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- Ramachandra Aiyar, T. K. 1977. A Short History of Sanskrit Literature. Palakkad: R.S. Vadhyar and Sons.
- มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. 2551. ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxngkhunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxk haaehlngkhxmul pyctntra khaw hnngsuxphimph hnngsux skxlar JSTOR eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir pyctntra The Pancatantra wrrnkhdipraephthnithanxuthahrn hruxthiphasasnskvteriykwa nithrrsna nidarsana hrux nithrrsnktha nidarsanakatha nithrrsna mikhwamhmaywa karmxngdu karchiihehn karphisucn xiknyhnungcungmikhwamhmaywa twxyang example btheriyn lesson aelaxuthahrn illustration idxikdwyhnacakhnngsuxkalila wa dimna phakhphasaxahrbxayuraw ph s 1753 aesdngrupkhxngrachaaehngkakbthipruksahnacakhnngsuxKelileh o Demneh xayuraw ph s 1972 cakehrt sungepnpyctntrathiaeplepnphasaepxresiy odyaeplmacakchbbphasaxahrb Kalila wa Dimna xiktxhnung aesdngeruxngtxnthisunkhcingcxkchknasingotekhasusngkhramrupslkekiywkbpyctntrathiwiharemndut chwaklang xinodniesiy pyctntracdxyuinhmwd kawya praephth ktha sungaeplwa eruxngela nithan hruxeruxngthiaetngkhun wrrnkhdipraephthnimikhwamaetktangcak xakhyayika sungepneruxngxingprawtisastr xyangirktamenuxhainpyctntrakmikarsxdaethrkeruxngcringexaiwechnkn sastracary dr kusuma rksmni ekhywiekhraahiwwa mikareriykpyctntrawaepnxakhyayikathieriykwa tntrakhyayika thngnitntrakhyayikaicheriyknithansxn emboxed story ethann nithanhlk frame story yngkhngeriykwaktha enuxngcakepneruxngthiaetngkhun pyctntrachbbdngedimnnsuyhayipaelw aetyngsamarthsuksalksnakhxngchbbdngedimrwmthngeriyberiyngkhunihmidcakkarrwbrwmtnchbbsakhythimixyu echn pyctntrachbbxinediyit aelainpraethsxun echn pyctntrachbbepxresiyaelaxahrb odynaaetlakhainaetlachbbmaepriybethiybknxyangphinicphiekhraah dngcaehnidcakpyctntrachbbsrangihm reconstructed sungaefrngkhlin exdecxrtnepnphueriyberiyng pyctntrachbbsrangihmnipraktkhathiidcakkarepriybethiybkhathitrngknintaaehnngthitrngknkhxngpyctntrachbbtang cungepnthiyxmrbinhmuphusuksapyctntrawanacaepnchbbthiiklekhiyngkbchbbdngedimthisuyhayipmakthisudtnkaenidnithanxuthahrnwrrnkhdipraephthnithanthuxkaenidkhuncakkarthichawxarynobranxasyiklchidkbthrrmchati withichiwitthiaewdlxmdwyehlankaelahmustwthaihchawxarynideriynruphvtikrrmkhxngstwehlann kxekidepnnithanthiichtwlakhrstwephuxsathxnphaphphvtikrrmkhxngmnusy wtthuprasngkhhlkinkaraetngnithanxuthahrnkephuxsxnsilthrrmaelakaremuxngkarpkkhrxngihaekchnchnsunginsmynn tangcakphuththsasnachadkthiaetngkhunephuxaesdngnythangsasna pyctntraepnwrrnkhdipraephthnithanxuthahrnthiekaaekthisud aemcaimsamarthkahndyukhsmythierimpraktwrrnkhdipraephthniidxyangaenchd aetsamarthsnnisthanidwapyctntranacathukaetngkhuninchwngkhriststwrrsthi 2 enuxngcakinchwngewlannphasasnskvterimepnthiniyminhmuchnchnsungxikkhrng chnchnpkkhrxngtxngkarkhmphirthiekhiyndwyphasakhxngchnchnsung thngyngtxngkarphasathiichinkaraesdnglakhrxikdwyrupaebbkaraetngaelakarichphasapyctntraerimeruxngdwynithannaeruxnghruxthieriykwa kthamukh introductory story sungklawthungphraecaxmrskdiphuthrngwitkthiphraoxrsthngsamimthrngifphrathyinkarsuksaelaeriyn cungihphrahmnwisnusrmnepnphuduaelphraoxrs wisnusrmnidelanithan 5 eruxngthwayaedrachoxrsthngsam dngni eruxngthi 1 karaetkmitr eruxngkhxngwwkbrachsih eruxngthi 2 karphukmitr eruxngkhxngnkphirab ka hnu eta aelakwang eruxngthi 3 sngkhramaelakhwamsngb eruxngkhxngkakbnkekhaaemw eruxngthi 4 karsuylaph eruxngkhxnglingkbcraekh eruxngthi 5 karkhadkhwamyngkhid eruxngkhxngphrahmnkbphngphxn nithanaetlaeruxngcdepn nithanhlk frame story sungmi nithansxn emboxed story xyuinnithanhlkxyangnxy 1 eruxng nithansxnehlaniepnnithanpraephthxuthahrn twlakhrinnithanhlkcaelanithanephuxepnxuthahrnaektwlakhrxun nithanhlkeruxngthi 1 karaetkmitr minithansxn 15 eruxng lingthxnlim hmacingcxkphbklxng krrmkhxngnkbwch hmacingcxkaelaaemsux kaaekaekhnngu nkyangtayephraapu nithansxnkhxngeruxngthi 4 kaaekaekhnngu rachsihhlngklkratay ehatayephraahmd briwarrachsihhlxkkhaxuth nktxytiwitexachnathael hngsphaetabin nithansxnkhxngeruxngthi 9 nktxytiwitexachnathael pla 3 tw nithansxnkhxngeruxngthi 9 nktxytiwitexachnathael nkkracabsxnling hnukinehlknithanhlkeruxngthi 2 karphukmitr minithansxn 4 eruxng smbtikhxnghnu ngakhawaelkngada nithansxnkhxngeruxngthi 1 smbtikhxnghnu hmacingcxkolphmak nithansxnkhxngeruxngthi 2 ngakhawaelkngada kwangkhxngecachaynithanhlkeruxngthi 3 sngkhramaelakhwamsngb minithansxn 10 eruxng lainhnngsux nkeluxknay krataylwngchang nithansxnkhxngeruxngthi 2 nkeluxknay aemwepntulakar nithansxnkhxngeruxngthi 2 nkeluxknay phrahmnaebkaepha ocrkbchaychraphumiphrryasaw ocrkbraksschwyphrahmn changimhlngkhaphrrya hnuaetngngankbhnu kbkhingunithanhlkeruxngthi 3 karsuylaph minithansxn 1 eruxng hwickhxnglanithanhlkeruxngthi 4 karkhadkhwamyngkhid minithansxn 2 eruxng phrahmnphusrangwimaninxakas klbkphukhaphrahmn nithannaeruxng nithanhlk aelanithansxn aetngodyichkhapraphnthpraephthrxyaekwaebbbrryayowhar aetkhtithrrmkhxngnithanaetlaeruxngphuaetngsrupiwepnoslk kxnelanithantwlakhrthiepnphuelacarayoslkepnbthnaeruxng promythium aelaemuxnithancbtwlakhrthiepnphuelakcarayoslkepnkarsruperuxng epimythium xikkhrnghnung phasathiich phasathiichinpyctntraepnphasathiaetngxyangwicitbrrcng aetimmikarichkhafumefuxy phuaetngcngicichphasachnsungkbstwchnta echn hmd aelaeha ephuxsrangxarmnkhnihaekphuxanpyctntrachbbtang pyctntrasanwnekathiidrbkarthaythxdodytrngcakpyctntrachbbdngedimaebngidepn 4 kraaes idaek kraaespahlwi kraaestntrakhyayika kraaesphvhtktha kraaesxinediyit aetlakraaesnnmikarthaythxdtx knip aelamikhwamekiywoyngknbang thngnikraaespahlwiepnkraaesediywthiaeykkhadcakkraaesxun inxinediy aetidrbkarthaythxdepnphasatang xyangaephrhlayintawntk kraaestntrakhyayika eruxngelaekiywkbsastr mithinkaenidinaekhwnksmira sanwnthiaephrhlaykhxngkraaesnikhuxchbbthichuxwa tntrakhyayika tnchbbekhiyniwdwyxksrsartha enuxngcakidrbkarsnnisthanwaepnchbbthikhngenuxhathngrxyaekwaelaoslkiwidthung 95 cungnacaepnchbbthimienuxhaiklekhiyngkbchbbdngedimmakthisud xiksanwnhnungthiidrbkhwamniymxyangaephrhlaykhuxchbbkhxngpurnphthra nkbwchechn aetngiwemuxpi kh s 1199 chbbniepnthiniyminxinediytawntkaelaxinediyklang purnphthraidddaeplngnithanthimixyuedimaelaaetngephimcnminithansxnthung 82 eruxng edimmiephiyng 32 eruxng chbbechnxikchbbhnungthiidrbkhwamniymepnxyangmakkhuxchbbkhxngemkhwichya kraaesphvhtktha pyctntrakraaesniepneruxngthiaethrkxyuinphvhtkthakhxngkhunathya sanwnniaephrhlaythangxinediytawntkechiyngehnux aetenuxngcakphvhtkthachbbdngedim chbbkhxngkhunathya suyhayipaelw ehluxephiyngchbbthithaythxdtxmaxik 2 sanwninkhriststwrrsthi 11 idaek kthasritsakhr khxngosmethwa aela phvhtkthamychri khxngeksemnthra phusuksapyctntrasnnisthanwakhunathyaaetngphvhtkthaepnphasaipsaci aelaedimthiyngimmipyctntraaethrkxyu odymiphuaetngetimiwinphayhlng aelaidrbkarthaythxdmaphrxmkbsanwnthiosmethwaaelaeksemnthraaeplepnphasasnskvt pyctntrasanwnnimienuxhathikhxnkhangkrachb nithanhlayeruxngthuktdxxkip swnthiepnoslkaesdngkhtithrrmkykmaephiyngbangbthethann thngnikephuxaesdngihehnwacudprasngkhhlkinkaraetngkhuxepneruxngelathiihkhwamsnuksnanephlidephlin swnoslkthiykmaephiyngbangbthkephuxaefngcudprasngkhedimthiaetngephuxepneruxngelaaesdngxuthahrnethann kraaesxinediyit epnkraaesthimixiththiphltxwrrnkhdiithymakthisud chbbthiphusuksawrrnkhdiithyruckknepnxyangdikhux hiotpeths sungaetngodynarayna kwiphumichiwitxyuinchwng kh s 800 1373 naraynaeriyberiynghiotpethskhunodyxasyokhrngeruxngcakpyctntraaelawrrnkhdieruxngxun pyctntraxikchbbhnungthixyuinkraaesnikhux tnotrpakhyana sungeriyberiyngkhunihmodyxasypyctntrachbbxinediyitepnhlk nithannaeruxngtangcakpyctntra enuxngcakimidklawthungphrahmnwisnusrmnphusxnrachbutrdwynithan aetklawthungnangtnitrphuchladechliywsungyknithanmaelathwayaedphrarachacnsamarthepliynnisykhxngphrarachaid nithannaeruxngkhxngtnotrpakhyanamienuxeruxngehmuxnkbnithannaeruxnginxahrbratri klawthungphrarachaxngkhhnungsungrbsngihxamatyhahyingsawmathwaykhunlakhn khrnrungechakihpraharnangesiy thidakhxngxamatyxasaekhaefaephuxelanithanthway phrarachathrngphxphrathyepnxyangmak cungeluxnkarpraharnangxxkip thaythisudphrarachakaetngtngnangepnmehsixangxingkusuma rksmni 2526 nithanxuthahrninwrrnkhdisnskvt nkhrpthm orngphimphmhawithyalysilpakr Ramachandra Aiyar T K 1977 A Short History of Sanskrit Literature Palakkad R S Vadhyar and Sons mnipin phrhmsuththirks 2551 prawtiwrrnkhdisnskvt nkhrpthm orngphimphmhawithyalysilpakr