ปราสาทดงเมืองเตย หรือ เมืองศังขปุระนคร ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเตย หมู่ที่ 8 ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) ระยะทาง 7 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 2,500 ปี-พุทธศตวรรษที่ 22 มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 140 เมตร
ปราสาทดงเมืองเตย | |
---|---|
Prasat Dong Muang Toey | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ปราสาทหิน |
สถาปัตยกรรม | เจนละ |
เมือง | บ้านเมืองเตย หมู่ที่ 8 ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว, จังหวัดยโสธร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
พิกัด | 15.639465 N, 104.256903 E |
เริ่มสร้าง | ราว- |
ผู้สร้าง | พระเจ้ามเหนทรวรมัน หรือ พระเจ้าจิตรเสน |
ประวัติ
จากประวัติศาสตร์บ้านสงเปือย (หน่วยศิลปากรที่ 6 นครราชสีมา 2536) กล่าวถึงดงเมืองเตยซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านสงเปือยไว้ว่า ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่ จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุประมาณ 90 ปี ของบ้านสงเปือยเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของดงเมืองเตยกล่าวว่า เห็นสภาพของดงเมืองเตยตั้งแต่เยาว์วัยก็คงสภาพที่เป็นในปัจจุบัน คือเป็นเนินดินขนาดใหญ่ที่มีคันดินและคูน้ำล้อมรอบ เหตุที่ได้ชื่อว่าดงเมืองเตย เนื่องจากบริเวณโดยรอบดงเมืองเตยมีต้นเตยซึ่งมีผลกลมเป็นเครือขึ้นอยู่โดยรอบนั่นเอง
จากการศึกษาของนักโบราณคดีกรมศิลปากรและนักวิชาการต่างๆ (สมเดช ลีลามโนธรรม 2538) พบว่าชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเนินใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ คงดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกข้าวในช่วงระยะเวลานี้ มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆที่อยู่ห่างไกลภายในภูมิภาค มีการถลุงและผลิตเหล็ก (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 12) คงมีการส่งเหล็กเป็นสินค้าออกส่วนหนึ่ง เพราะได้พบปริมาณเศษตะกรันเหล็กเป็นจำนวนมากภายในชุมชน การอยู่อาศัยมีพัฒนาการทางสังคมที่ซับซ้อน ประชากรของชุมชนมีเพิ่มมากขึ้น มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น เกิดอาชีพต่างๆขึ้น ชุมชนคงมีการขยายตัว เกิดผู้นำชุมชน และต่อมาจึงมีการขุดคูน้ำและทำคันดินขึ้น อาจแสดงให้เห็นถึงการมีระบบชนชั้นขึ้นแล้ว
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ชุมชนโบราณดงเมืองเตยเกิดผู้นำชุมชนอย่างเด่นชัด มีระบบการปกครองในระบบกษัตริย์ มีพัฒนาการเข้าสู่สังคมเมือง ชุมชนได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร เหตุที่อิทธิพลเขมรเข้ามาครอบคลุมตั้งแต่ช่วงต้นประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเพราะชุมชนแห่งนี้อยู่ใกล้กับเส้นทางที่วัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ชุมชนแห่งนี้ได้รับอิทธิพลทวารวดีด้วย พัฒนาการชุมชนโบราณแห่งนี้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ได้รับอิทธิพลทั้งวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร หลังจากนั้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หรือ 18 ชุมชนได้รับวัฒนธรรมเขมรเพียงอย่างเดียว เป็นที่น่าสังเกตว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางทางศาสนาเพียงแห่งเดียว ประชากรของเมืองคงมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีการขยายขนาดของชุมชนออกไป การอยู่อาศัยแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาบ้าง เช่น เปลี่ยนจากศาสตรพราหมณืเป็นศาสนาพุทธ แต่ก็ยังคงใช้ศาสนสถานหลังเดิมเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของชุมชนได้เป็นอย่างดี ภายหลังชุมชนโบราณดงเมืองเตยร้างไป อาจจะในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 18 และได้มีผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่อีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
ภูมิศาสตร์
สภาพทั่วไป
ดงเมืองเตยเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนเนินดินรูปค่อนข้างรีไม่สม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านยาวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 650 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 450 เมตร เป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบตัวเมืองเพียงชั้นเดียว มีคันดินขนาดเล็กอยู่รายรอบตัวเมืองทั้งด้านในและนอกคูเมือง คูเมืองมีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 100 เมตร สภาพของคูในปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายสภาพไปเสียเป็นส่วนมาก ทางด้านทิศใต้มีคูเมืองยังคงมีน้ำขังอยู่บางส่วน เรียกว่า “หนองปู่ตา” หรือ “พุดตา” ทางด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองเรียกว่า “หนองบัวขาว” ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มี “หนองอีตู้” ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีคูเมืองเรียกว่า “หนองฝักหนาม” สภาพของคูเมืองยังปรากฏให้เห็นที่หนองฝักหนาม หนองอีตู้ และหนองปู่ตา ส่วนหนองบัวขาวปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ทั้งนี้ห่างออกไปจากเมืองโบราณประมาณ 2.5 กิโลเมตร ทั้งทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ เป็นลำน้ำและหนองน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำชีสายเดิม มีด้วยกันหลายชื่อ ได้แก่ น้ำหนองบอ ลำห้วยลำร่องบ่อ ลำชีหลง ห้วยกะหล่าว ลำตาเงย ลำปลาก้าม ห้วยพันหม เป็นต้น ส่วนแม่น้ำชีสายปัจจุบันไหลอยู่ห่างจากชุมชนโบราณดงเมืองเตยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร บนตัวเนินดงเมืองเตยปัจจุบันเป็นป่าโปร่งและเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ ไม่มีบ้านเรือนราษฎร พื้นที่รอบเนินดินเมืองโบราณเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำนาปลูกข้าว ห่างออกไปด้านทิศเหนือของเมืองโบราณเป็นเนินดินที่ตั้งของชุมชนปัจจุบัน คือชุมชนบ้านสงเปือย ภายในบริเวณตัวเมืองโบราณด้านทิศเหนือปรากฏมีซากโบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐและหินทรายอยู่ในบริเวณพื้นที่ของสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย และทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากสำนักสงฆ์ดงเมืองเตยเคยปรากฏว่ามีการขุดพบใบเสมาด้วย
สภาพธรณีวิทยา
ลักษณะธรณีสัณฐานของเมืองโบราณดงเมืองเตย (สมเดช ลีลามโนธณรม 2538) เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ โดยเฉพาะลำน้ำชี และลม พัดพาเอาตะกอนมาทับถม และมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่มีระดับแตกต่างกันออกไป เช่นที่ราบน้ำท่วมถึงที่มีตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถม ในฤดูฝนมักถูกน้ำท่วม พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชสวนครัวและพืชไร่ ดินที่พบมักมีอายุน้อย ชั้นดินไม่ชัดเจน แต่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นตะกอนใหม่และมีการทับถมเกือบทุกปี บริเวณลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ จะมีระดับสูงกว่าที่ราบน้ำท่วมถึงดังกล่าวข้างต้น แต่ยังมีพื้นที่ราบเรียบ การทับถมของตะกอนใหม่ไม่เกิดขึ้น ยกเว้นบางปีที่มีน้ำท่วมมาก อาจจะมีตะกอนทับถมเป็นชั้นบางๆที่ผิวดินบน เป็นสภาพธรณีที่มีสภาพคงตัวและเกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำที่มีอายุมาก ในพื้นที่นี้จึงมีลักษณะเกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจนและดินส่วนใหญ่มีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลว ใช้ประโยชน์ในการทำนา
อีกพื้นที่หนึ่งคือบริเวณลานตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง มีสภาพสูงขึ้นไปจากลานตะพักลำน้ำระดับต่ำตามลำดับ และมีลักษณะเป็นรูปลูกคลื่นไม่ราบเรียบ พื้นที่ลานตะพักลำน้ำระดับกลาง ดินส่วนใหญมีสีน้ำตาล เหลือง หรือน้ำตาลปนเหลือง ส่วนพื้นที่ระดับสูง ดินมีสีแดง ระบายน้ำได้ดี พื้นที่ทั้งสองระดับนี้ล้วนเกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ และลมพามาทับถมกันเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นชั้นดินที่พบบริเวณนี้จึงมีหน้าตัดดินเกิดขึ้นใหม่ให้เห็นอย่างชัดเจน การใช้ประโยชน์ของดินส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ พืชสวน ผลไม้ บางส่วนยังคงสภาพป่าธรรมชาติอยู่ ได้แก่ ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ดินในบริเวณดงเมืองเตย ประกอบไปด้วยดินชุดร้อยเอ็ด (Roi Et Series และ Loamy Phase) และดินชุดโคราช (Korat Series) ชุมชนโบราณดงเมืองเตย คงตั้งถิ่นฐานอยู่ในสภาพพื้นที่แบบลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ เนื่องจากระดับความสูงของพื้นที่จากแผนที่ทหาร มีความสูงประมาณ 126 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งที่ราบลานตะพักลำน้ำระดับต่ำมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-150 เมตร และดินบริเวณนี้เป็นดินชุดร้อยเอ็ด (Roi Et Series) และดินชุดโคราช (Korat Series) ดินทั้งสองเป็นชุดดินที่พบในบริเวณลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ โดยดินชุดร้อยเอ็ดจัดเป็นดินโลว์ฮิวมิคเกลย์ ซึ่งมีความเหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว
ลักษณะทางกายภาพ
เป็นเนินดินรูปวงรีมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ขนาดเฉลี่ย 650x360 เมตร ด้านทิศเหนือของเมืองพบซากเทวาลัยสร้างก่ออิฐติดชิดกันไม่สอปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ตอนกลางด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้นแบบมีอัฒจันทร์ประดับฐานบันไดด้านหน้า ทั้งยังพบกูฑุที่เป็นซุ้มขนาดเล็กภายในสลักใบหน้าบุคคล เทวาลัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระอิศวร ตามหลักฐานจารึกหินทรายสีแดงอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤตที่พบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 เนื้อความโดยสรุปกล่าวถึง การสร้างเทวสถานถวายแด่พระอิศวร โดยพระนางศรีมานุญชลีบุตรีคนที่ 12 ของพระศรีมารประวรเสนะผู้เป็นใหญ่ในเมืองศังขปุระ และพบสิงห์สลักจากหินทรายสีขาว สภาพสมบูรณ์ ลักษณะศิลปกรรมแบบเขมรสมัยแปรรูป อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 นอกจากนี้ยังพบใบเสมาหินทรายและศิลาแลงจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพระพุทธศาสนาของผู้คนในดงเมืองเตยในเวลาต่อมา
เอกลักษณ์ดงเมืองเตย คือ ลักษณะอาคารที่มีบันไดเป็นรูปอัฒจันทร์ และชิ้นส่วนประดับอาคารรูปกูฑุที่ภายในสลักใบหน้าบุคคล แสดงถึงอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ-หลังคุปตะในศิลปะทวารวดี เช่นเดียวกับที่เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม โบราณสถานดงแม่นาเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โบราณสถานหมายเลข 18 เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น
รายละเอียดของยุคสมัย
โดยสมเดช ลีลามโนธรรม พ.ศ. 2538 มีดังนี้
- ระยะที่ 1 อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ปรากฏร่องรอยกิจกรรมการถลุงและผลิตเหล็กในระดับอุตสาหกรรมในระยะแรกเริ่ม เช่นเดียวกับชุมชนร่วมสมัยต่างๆ ในลุ่มน้ำมูลและชี สภาพพื้นที่เนินดินแห่งนี้เหมาะกับตั้งเป็นชุมชน โดยเฉพาะการตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำและแม่น้ำสายใหญ่คือแม่น้ำชี ชุมชนคงมีการเพาะปลูกข้าวตั้งแต่การอยู่อาศัยในช่วงแรกๆ พบว่ามีการใช้ฟางข้าวเป็นส่วนผสมในการทำภาชนะดินเผาอย่างแพร่หลาย ภาชนะดินเผาที่ใช้กันในสมัยนี้มีรูปทรงธรรมดาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หม้อก้นกลม ชาม อ่าง จากปริมาณเศาภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นทำให้สันนิษฐานได้ว่าระยะที่ 1 นี้น่ายังมีประชากรไม่หนาแน่นมากนัก
- ระยะที่ 2 ชุมชนโบราณดงเมืองเตยมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ ภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะพบเศษภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งด้วยการเขียนสีขาวเป็นเส้นตั้งสั้นๆ บริเวณขอบปากด้านใน การตกแต่งภาชนะลักษณะนี้เรียกว่าภาชนะดินเผาแบบร้อยเอ็ดหรือแบบทุ่งกุลา เคยพบที่แหล่งโบราณคดีโนนยาง จ.สุรินทร์ และแหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก จ.นครราชสีมา ในเขตลุ่มแม่น้ำมูล มีอายุเชิงเทียบอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1-11 กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ เช่น การเพาะปลูกข้าว การผลิตภาชนะดินเผา ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นเองภายในชุมชน เนื่องจากภาชนะดินเผามีทั้งรูปทรงธรรมดาสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทรงหม้อก้นกลม ทรงชาม และทรงอ่าง การตกแต่งมีลวดลายขูดขีด เชือกทาบ และเรียบ นอกจากนี้ยังมีภาชนะดินเผาจากต่างถิ่น ดังเช่นภาชนะดินเผาที่มีการเขียนสีขาว กิจกรรมเหล่านี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ของผู้คนในชุมชน แต่คงไม่มีสถานภาพแตกต่างกันมากนัก เนื่องจากไม่พบหลักฐานการเกิดระบบชนชั้นเหมือนกับที่พบในชุมชนร่วมสมัยเช่นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเหียน จ.มหาสารคาม นอกจากนี้ ยังพบกระบอกอัดลมแบบสองสูบที่ใช้ในการถลุงโลหะและเศษตะกรันเหล็ก แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านเหล็ก
- ระยะที่ 3 มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ มีการถลุงและผลิตเหล็กระดับอุตสาหกรรม พบหลักฐานการนำเศษตะกรันเหล็กจำนวนมากมาถมอัดเป็นฐานรองรับน้ำหนักของตัวอาคารที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 จากการสำรวจของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ยังพบเศษภาชนะดินเผาแบบทุ่งกุลาซึ่งเป็นภาชนะที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปะปนกับเศษตะกรัน (ศรีศักร วัลลิโภดม 2535:203) การผลิตเหล็กในชุมชนแห่งนี้ส่วนหนึ่งคงใช้เป็นสินค้าค้าขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนภายนอก นอกจากนี้ยังพบว่านิยมใช้ภาชนะดินเผาแบบทาน้ำดินสีแดง และประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 สังคมของชุมชนในช่วงนี้เป็นสังคมเมืองอย่างชัดเจน มีชนชั้นปกครอง มีการขุดคูน้ำทำคันดิน โดยคูน้ำของเมืองถูกขนาบด้วยค้นดินทั้ง 2 ข้าง ชี้ให้เห็นว่าสร้างคูน้ำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์สำคัญนการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในชุมชน การขุดคูน้ำจำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก การควบคุมคนก็ต้องมีผู้นำในการควบคุมและจัดระเบียบให้งานเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการขุดคูน้ำและทำคันดินของชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลาใด อาจเป็นช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 แต่จากหลักฐานของโบราณสถานและจารึกที่กล่าวนามของกษัตริย์ผู้ปกครองเมือง แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสังคมเมืองได้อย่างชัดเจนในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าการขุดคูน้ำที่ดงเมืองเตยในลักษณะวงกลมหรือวงรีนั้น ชาวเมืองได้ขุดตามแอ่งยุบรอบเนินดินหรือโดมเกลือที่มีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีอยู่แล้ว ลักษณะร่วมอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนดงเมืองเตยกับชุมชนอื่นๆในลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (2,500 ปีมาแล้วลงมา) อย่างหนึ่งคือประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 โดยการฝังในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ หรือไห จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ของพื้นที่แถบนี้สัมพันธ์กับช่วงเวลาการเริ่มต้นกิจกรรมการถลุงเหล็ก ซึ่งการฝังศพครั้งที่ 2 ที่ดงเมืองเตยนี้อยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่จะเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แล้ว อาจเกิดการเผาศพขึ้น แต่ก็อาจยังปรากฏประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 อยู่ก็เป็นได้ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์ และเมืองนครจำปาศรี จ.มหาสารคาม เป็นต้น
- ระยะที่ 4 อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 สภาพชุมชนเป็นสังคมเมือง มีการสร้างศาสนสถาน หลักฐานจากจารึกแสดงให้เห็นถึงการมีกษัตริย์ปกครองชุมชน อาจมีการขุดคูน้ำทำคันดินในช่วงเวลานี้ จากหลักฐานด้านจารึกและโบราณสถานแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมเจนละเข้ามาในชุมชน เพราะอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมและแพร่กระจายวัฒนธรรมเขมรเข้ามาทางจังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ส่วนอิทธิพลด้านการเมือง ชื่อของกษัตริย์มีพระศรีมานปรเวลสนะ ซึ่งได้เป็นผู้ปกครองเมืองศังขปุระ (สันนิษฐานว่าอาจเป็นเมืองโบราณดงเมืองเตย) อาจเป็นขุนนางที่ทางอาณาจักรเจนละส่งเข้ามาปกครองหรือเป็นเจ้านายพื้นเมืองเดิมอยู่แล้วที่ได้รับการแต่งตั้งจากอาณาจักรเจนละให้ปกครองเมืองต่อไป โดยกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย สถานะผู้ปกครองเป็นเทพเจ้า เห็นได้จากข้อความในจารึกกล่าวถึงการสร้างศิวลึงค์และรูปแบบของโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ระยะต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ชุมชนแห่งนี้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เพราะพบหลักฐานการปักใบเสมาหิน พระพุทธรูป (ปางสมาธิ) หัวนาคของส่วนพระพุทธรูปปางนาคปรก (ศรีศักร วัลลิโภดม 2535:204) และอาจตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมเขมร แม้ว่าจะไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนถึงอิทธิพลกษัตริย์ขอมต่อเมืองโบราณแห่งนี้ แต่จากจารึกโนนสัง จ.ยโสธร พ.ศ. 1432 ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ากษัตริย์องค์ใดโปรดให้สร้างขึ้นระหว่าง 1 (พ.ศ. 1420-1432) หรือพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1432-1443 หรือ 1453) โดยจารึกกล่าวถึงการสถาปนาและถวายสิ่งของแด่พระไตรโลกนาถ เพื่อที่จะทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ 2537:13) การอยู่อาศัยของผู้คนและพัฒนาการของชุมชนแห่งนี้ดำเนินเรื่อยมา ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปรากฏอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรอย่างชัดเจน มีการใช้ประโยชน์จากโบราณสถานที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวเป็นศูนย์กลางของเมืองต่อไป ดังได้พบประติมากรรมรูปสิงห์ 1ตัว จากการขุดแต่งบริเวณลายทางเดินด้านหน้าที่จะเข้าสู่ตัวโบราณสถานทางทิศตะวันออก ประติมากรรมรูปสิงห์ดังกล่าวมีลักษณะทางศิลปะแบบเขมรสมัยบาปวน (กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17) และจารึกขนาดเล็กที่เมืองโบราณแห่งนี้ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 หลักจากกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เราไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนของการอยู่อาศัยของผู้คน ณ ชุมชนแห่งนี้ มีเพียงชิ้นส่วนจารึกขนาดเล็กซึ่งมีอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ดังที่กล่าวมาแล้ว และเครื่องถ้วยเขมรที่มีอายุค่อนข้างกว้าง อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18 เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่หักฐานเด่นชัดที่จะกล่าวได้ว่าในช่วงเวลาหลังพุทธศตวรรษที่ 17 ลงมาแล้วจะมีคนอยู่อาศัยต่อมา ถ้ามีผู้คนอาศัยอยู่ต่อมา บริเวณชุมชนแห่งนี้คงได้รับอิทธิพลทางการเมืองกษัตริย์เขมร โดยเฉพาะในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 ถึงหลัง 1688) และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761?) ในรัชกาลของทั้ง 2 พระองค์ได้แพร่กระจายอำนาจครอบคลุมชุมชนต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่างกว้างขวาง หลังจากพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองโบราณแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างไปเนื่องจากไม่พบหลักฐานการอยู่อาศัยในระยะต่อมาเลยจนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 คงมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์จากพื้นที่บริเวณชุมชนแห่งนี้บ้างเป็นครั้งคราว เนื่องจากได้พบหลักฐานของเครื่องถ้วยสุโขทัยและเครื่องถ้วยเวียดนาม ที่น่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 ในปริมาณที่ไม่มากนัก จนไม่อาจกล่าวได้ว่ามีการอยู่อาศัยที่หนาแน่นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน
การขึ้นทะเบียน
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานดงเมืองเตยในราชกิจจานุเบกษา คือ การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 53 หน้า 1535 วันที่ 27 กันยายน 2479 และกำหนดเขตที่ดินบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 53ง หน้า 5 วันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เนื้อที่ประมาณ 22 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวา ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย
โบราณวัตถุ
โบราณวัตถุสำคัญในระยะที่ 4 ที่ได้จากชุมชนโบราณดงเมืองเตย ทั้งที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2534 ของหน่วยศิลปากรที่ 6 และจากการที่สำนักสงฆ์ดงเมืองเตยพบเมื่อ พ.ศ. 2525 ได้แก่
- จารึกดอนเมืองเตย พบอยู่ที่วงกบกรอบประตู ทำด้วยหินทรายแดงขนาด 200x80x60 เซนติเมตร มีรายละเอียดการพบและศึกษาคือ พ.ศ. 2526 หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้พบแผ่นหินทรายมีอักษรปัลลวะจารึกอยู่ 1 แผ่นมี 4 บรรทัด บรรทัดละ 4 วรรค ณ บริเวณโบราณสถานดอนเมืองเตย บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร จากนั้น หน่วยศิลปากรที่ 6 ได้ถ่ายภาพจารึกนี้ โดยถ่ายภาพเป็น 4 ช่วง คือ ภาพที่ 1 เป็นภาพของวรรคที่ 1 ของบรรทัดที่ 1-4 ภาพที่ 2 เป็นภาพของวรรคที่ 2 ของบรรทัดที่ 1-4 ภาพที่ 3 เป็นภาพของวรรคที่ 3 ของบรรทัดที่ 1-4 และภาพที่ 4 เป็นภาพของวรรคที่ 4 ของบรรทัดที่ 1-4 จากนั้น หน่วยศิลปากรที่ 6 ได้ส่งภาพถ่ายทั้ง 4 นี้ให้แก่กองหอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่อ่าน-แปลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2526 แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการรายงานข้อมูลไม่ละเอียดรัดกุมของหน่วยศิลปากรที่ 6 จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของกองหอสมุดแห่งชาติเข้าใจว่าภาพทั้ง 4 นี้ เป็นแผ่นศิลาจารึก 4 แผ่น ดังนั้น เมื่อนายชะเอม แก้วคล้าย ผู้อ่านและแปลจึงสรุปออกมาว่า จารึกทั้ง 4 แผ่นนี้ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพราะเข้าใจว่าภาพจารึกแต่ละภาพ แทนจารึกแต่ละแผ่น ภายหลังนายชะเอม แก้วคล้าย ได้วิเคราะห์จารึกหลักนี้อีกครั้งและพบว่าแท้จริงแล้วสำเนาจารึกทั้ง 4 แผ่น เป็นสำเนาของจารึกแผ่นเดียวกัน แต่ทำสำเนาแยกกัน ดังนั้นเมื่อนำสำเนาจารึกทั้ง 4 ชิ้น มาเรียงต่อกันให้ถูกต้องแล้วก็สามารถอ่านและแปลความหมายได้ จึงได้นำคำอ่านและแปลใหม่นี้ลงตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองอุบลราชธานี” เมื่อปี พ.ศ. 2532 เนื้อหาจารึกกล่าวถึงพระศรีมานประวรเสนะ ผู้เป็นใหญ่ในเมืองศังขปุระ และการสร้างลิงคโลก ซึ่งบุตรีของโกรญจพาหุ คนที่สิบสองที่ได้เป็นผู้มีอำนาจได้สร้างไว้ ข้อความในจารึกแสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ และในช่วงเวลานั้นบริเวณดอนเมืองเตยรวมทั้งชุมชนใกล้เคียงก็คงจะเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า “ศังขปุระ” ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังได้พบจารึกของกษัตริย์เจนละที่มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12-13 เป็นจำนวนหลายหลักในจังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ และขอนแก่น จารึกหลักนี้ไม่ปรากฏผู้สร้างที่แน่ชัด กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 12 จากลักษณะตัวอักษรปัลลวะ นายชะเอม แก้วคล้าย ยังให้ความเห็นว่า ลักษณะของรูปอักษรส่วนมากจะเหมือนกันกับจารึก เย ธมฺมาฯ ของจังหวัดนครปฐม และจารึกวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลธานี ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12
- ชิ้นส่วนประกอบอาคารหินทรายแดง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 37x80x50 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ด้านยาวทำเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในสลักรูปดอกไม้กลม 4 กลีบ ด้านหว้างป็นรูปอาคารจำลองมีแต่ส่วนบันไดเรือนธาตุและประตูหลอก ลักษณะลวดลายเป็นลายดอกไม้กลม 5 กลีบ มีลายรูปสามเหี่ยมขนาดเล็กต่อจากกลีบดอกกไม้แต่ละกลีบ ระหว่างดอกไม้กลมแต่ละดอกมีดอกไม้กลมครึ่งดอกแทรกอยู่ทั้งด้านบนและล่าง โดยมีลายคล้ายกลีบดอเชื่อมระหว่างดอกไม้กลมเต็มดอกกับดอกไม้กลมครึ่งดอก
- ชิ้นส่วนประกอบอาคารหินทรายแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 280x73x53x เซนติเมตร สภาพเกือบสมบูรณ์ ด้านข้างงภายในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักดอกไม้กลม มีดอกไม้กลมครึ่งดอกแทรก และเชื่อมต่อกันโดยลายคล้ายกลีบดอกเช่นเดียวกับลายที่กล่าวมาแล้ว ด้านข้างเป็นรูปอาคารจำอง แต่สภาพชำรุด ลายดอกไม้นี้คล้ายกับศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก สมัยก่อนเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
- กุฑุ สลักเป็นรูปบุคคลภายในวงโค้งหรือซุ้ม พบ 2 ชิ้น ผู้ศึกษาสันนิษฐานว่าลวดลายบนกุฑุคงได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก สมัยก่อนเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) แต่ภาพสลักใบหน้าของบุคคลรวมทั้งวงโค้งหรือซุ้มมีลักษณะคล้ายกับของศิลปะทวารวดี อาจเป็นเพราะคงได้รับอิทธิพลจากต้นแบบเดียวกันคือศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษณที่ 9-11) (สุภัทรดิศ ดิศกุล 2534 : 96-101)
- ชิ้นส่วนประกอบอาคารหินทรายแดง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 196x96x25 เซนติเมตร สภาพไม่สมบูรณ์
- ชิ้นส่วนแท่นประติมากรรม สภาพเกือบสมบูรณ์ ขนาด 93x43x33 เซนติเมตร ส่วนที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาด 24x15x12 เซนติเมตร
- ใบเสมา มีทั้งที่ทำด้วยหินทรายและศิลาแลง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 (Piriya Kairiksh 1974 : 57-64)
- ประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ ทำด้วยหินทรายขาว สภาพสมบูรณ์ สูง 115 เซนติเมตร ศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16
- ชิ้นส่วนประติมากรรมลอยตัวรูปบุคคล ทำจากหินทรายแดง ใบหน้ารูปไข่ คาดกระบังหน้าบริเวณหน้าผาก เกล้าผมทรงชฎามงกุฎ
- ชิ้นส่วนพระหัตถ์ของพระพุทธรูปปางสมาธิ มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนประติมากรรมรูปมือช่วงข้อมือขวาถึงหัวแม่มือและช่วงพระชานุขวาที่ส่วนพระหัตถ์วางอยู่
- ส่วนประกอบของอาคาร ทำด้วยหินทราย ลักษณะเป็นวงกลม ปลายบนสอบคอดเป็นร่องช่วงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.1 เซนติเมตร สูง 146 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางรูแกนกลาง 9 เซนติเมตร
- ส่วนประกอบอาคารหรือสิ่งเคารพ ทำด้วยหินทรายขาว ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกปลายมนบนฐานแปดเหลี่ยมตรงกลางกลวง สูงประมาณ 19 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร พบบริเวณด้านตะวันออกของโบราณสถาน
- ชิ้นส่วนภาพสลักทำจากหินทราย ลักษณะแบน มีลานสลักนูนต่ำคล้ายลายส่วนท้องนาค
- ชิ้นส่วนจารึก โบราณวัตถุชิ้นนี้ ชาวบ้านเป็นผู้มอบให้เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 6 โดยพบในบริเวณที่นาที่อยู่ชิดกับแนวคันดินของเมืองโบราณแห่งนี้ จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต จำนวน 3 บรรทัด มีคำจารึกว่า สรษ ฎรฺ ...น วรฺห มาสู ไม่สามารถจับใจความได้ แต่จากรูปอักษรสามารถประมาณอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16-ต้นพุทธศตวรรษที่ 18 (ธรดรา ทองสิมา และนฤมล เภกะนันท์ 2536 : 26-27)
- ตุ้มดินเผา
- กระปุกขนาดเล็ก 2 หู แต่หูหักไปข้างหนึ่งแล้ว เคลือบสีเขียวอ่อน
- เศษภาชนะดินเผา
การเดินทาง
เดินทางจากตัวจังหวัดยโสธร ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) มุ่งหน้าทางทิศใต้หรือมุ่งหน้าตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวขวามุ่งหน้าบ้านสงเปือย ประมาณ 4.7 กิโลเมตร ถึงตัวหมู่บ้าน เลี้ยวซ้ายใช้ถนนภายในหมู่บ้านประมาณ 550 เมตร เลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 650 เมตร ถึงตัวเนินดงเมืองเตยและสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย โบราณสถานดงเมืองเตยตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเนิน
อ้างอิง
- https://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A2
- http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historic-site/hs-ya-sothon/item/440-hs-yasothon-009
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
prasathdngemuxngety hrux emuxngsngkhpurankhr tngxyuthibanemuxngety hmuthi 8 tablsngepuxy xaephxkhaekhuxnaekw cnghwdyosthr hangcakthanghlwngaephndinhmayelkh 23 thnnaecngsnith rayathang 7 kiolemtr epnobransthanthimixayumakkwa 2 500 pi phuththstwrrsthi 22 mikhwamsungcakradbnathaelpanklang 140 emtrprasathdngemuxngetyPrasat Dong Muang Toeykhxmulthwippraephthprasathhinsthaptykrrmecnlaemuxngbanemuxngety hmuthi 8 tablsngepuxy xaephxkhaekhuxnaekw cnghwdyosthrpraethspraethsithyphikd15 639465 N 104 256903 Eerimsrangraw phusrangphraecamehnthrwrmn hrux phraecacitresnprawticakprawtisastrbansngepuxy hnwysilpakrthi 6 nkhrrachsima 2536 klawthungdngemuxngetysungtngxyuinekhtbansngepuxyiwwa dngemuxngetyepnemuxngekasmykhxmcaepnemuxngrangmaaelwnanethairimthrabid sphaphthiehnmacakpuyatathwdhlaychwxayukhn dngemuxngetymipaimkhunsungkhanglangoprng mihmuimelk khunbang tnimihyidaek imyang imtaaebk imyangehiyng epnpahnaaennmak phwkphxaempuyatayayimklatdtnimindngni ephraadngemuxngetymiphidueriykwa phiputa paimcungepnthixasykhxngling aelankhlaycaphwk bungrxbbriewndngemuxngetyepnhnxngnakhnadlukminakhngtlxdpi epnthixasyaelaepnthiephaaphnthuplatamthrrmchati nxkcaknkcaphwktang aelwbungniidchuxwamietamakthisud ehtuthimietamakechnnichawbannbthuxphiputa putahamcbkinthalaystwphahnakhxngthan khux lingaelaeta thaekidthaxntraykhunma catxngmixnepnip txmaemuxpraman 90 pimaaelw chawbansngepuxymihmxraeriynwichaxakhmmathaphithiprabphidngemuxngetyid hmxphumiwichaxakhmphunichux phuihysuwx ehtukarnnitrngkbsmyphxihyxkhrhad epntaaesng emuxchawbanikliklidyinkhawphxihysuwxkhmphidngemuxngetyidaelw kphaknhlngihlmacbetapladngemuxngetyipepnxaharcnekuxbekliyngbung etacungekuxbsuyphnthumacnbdni phxihysuwxidaebngpnthibungxxkepnthinaihphinxngyatimitrthanamacnthukwnni swnbriewndngemuxngetyidaebngbnthair swn plukphuchthakinmaethathukwnni xnniepneruxngcring phuethaphuaekthimixayukhrb 90 pi echn phxihyxxn hxmklin phxihybu kkepuxy yngmichiwitepnphyanxyu cakkarsxbthamphuethaphuaekthimixayupraman 90 pi khxngbansngepuxyekiywkbprawtikhwamepnmakhxngdngemuxngetyklawwa ehnsphaphkhxngdngemuxngetytngaeteyawwykkhngsphaphthiepninpccubn khuxepnenindinkhnadihythimikhndinaelakhunalxmrxb ehtuthiidchuxwadngemuxngety enuxngcakbriewnodyrxbdngemuxngetymitnetysungmiphlklmepnekhruxkhunxyuodyrxbnnexng cakkarsuksakhxngnkobrankhdikrmsilpakraelankwichakartang smedch lilamonthrrm 2538 phbwachumchnobrandngemuxngetypraktkartngthinthanmatngaetemuxpraman 2 500 pimaaelw tngthinthanxyubneniniklaehlngnathrrmchati briewnlantaphklanaradbta khngdarngchiphdwykarephaaplukkhawinchwngrayaewlani mikartidtxkbchumchnxunthixyuhangiklphayinphumiphakh mikarthlungaelaphlitehlk kxnphuththstwrrsthi 12 khngmikarsngehlkepnsinkhaxxkswnhnung ephraaidphbprimanesstakrnehlkepncanwnmakphayinchumchn karxyuxasymiphthnakarthangsngkhmthisbsxn prachakrkhxngchumchnmiephimmakkhun mikartidtxkhakhaykbchumchnxun ekidxachiphtangkhun chumchnkhngmikarkhyaytw ekidphunachumchn aelatxmacungmikarkhudkhunaaelathakhndinkhun xacaesdngihehnthungkarmirabbchnchnkhunaelw smyaerkerimprawtisastr rawphuththstwrrsthi 12 13 chumchnobrandngemuxngetyekidphunachumchnxyangednchd mirabbkarpkkhrxnginrabbkstriy miphthnakarekhasusngkhmemuxng chumchnidrbxiththiphlwthnthrrmekhmr ehtuthixiththiphlekhmrekhamakhrxbkhlumtngaetchwngtnprawtisastrsnnisthanwaephraachumchnaehngnixyuiklkbesnthangthiwthnthrrmekhmraephrekhamasuphakhtawnxxkechiyngehnux xyangirktam chumchnaehngniidrbxiththiphlthwarwdidwy phthnakarchumchnobranaehngniinchwngphuththstwrrsthi 12 16 idrbxiththiphlthngwthnthrrmthwarwdiaelawthnthrrmekhmr hlngcaknninchwngphuththstwrrsthi 16 17 hrux 18 chumchnidrbwthnthrrmekhmrephiyngxyangediyw epnthinasngektwachumchnaehngniepnchumchnkhnadelk misasnsthanepnsunyklangthangsasnaephiyngaehngediyw prachakrkhxngemuxngkhngmicanwnimmaknk enuxngcakimmikarkhyaykhnadkhxngchumchnxxkip karxyuxasyaemcamikarepliynaeplngkarnbthuxsasnabang echn epliyncaksastrphrahmnuepnsasnaphuthth aetkyngkhngichsasnsthanhlngedimepnthiprakxbphithithangsasna singehlaniaesdngihehnthungkarxyuxasyxyangtxenuxngkhxngchumchnidepnxyangdi phayhlngchumchnobrandngemuxngetyrangip xaccainchwnghlngphuththstwrrsthi 18 aelaidmiphukhnekhamaichphunthixikkhrnginchwngphuththstwrrsthi 20 22phumisastrsphaphthwip dngemuxngetyepnemuxngobranthitngxyubnenindinrupkhxnkhangriimsmaesmx mikhnadesnphasunyklangdanyawtamaenwthistawnxxkechiyngehnux tawntkechiyngit praman 650 emtr aelaesnphasunyklangtamaenwthistawntkechiyngehnux tawnxxkechiyngitpraman 450 emtr epnemuxngthimikhunalxmrxbtwemuxngephiyngchnediyw mikhndinkhnadelkxyurayrxbtwemuxngthngdaninaelanxkkhuemuxng khuemuxngmikhwamkwangechliypraman 100 emtr sphaphkhxngkhuinpccubnidtunekhinklaysphaphipesiyepnswnmak thangdanthisitmikhuemuxngyngkhngminakhngxyubangswn eriykwa hnxngputa hrux phudta thangdanthistawnxxkmikhuemuxngeriykwa hnxngbwkhaw thangdanthistawnxxkechiyngitmi hnxngxitu swnthangdanthistawnxxkechiyngehnuxmikhuemuxngeriykwa hnxngfkhnam sphaphkhxngkhuemuxngyngpraktihehnthihnxngfkhnam hnxngxitu aelahnxngputa swnhnxngbwkhawpccubnichepnphunthiephaaplukkhaw thngnihangxxkipcakemuxngobranpraman 2 5 kiolemtr thngthangdanthisehnux thistawnxxk aelathisit epnlanaaelahnxngnathiepnswnhnungkhxngaemnachisayedim midwyknhlaychux idaek nahnxngbx lahwylarxngbx lachihlng hwykahlaw lataengy laplakam hwyphnhm epntn swnaemnachisaypccubnihlxyuhangcakchumchnobrandngemuxngetyipthangthistawntkpraman 5 kiolemtr bntwenindngemuxngetypccubnepnpaoprngaelaepnthitngsanksngkh immibaneruxnrasdr phunthirxbenindinemuxngobranepnphunthiekstrkrrmthanaplukkhaw hangxxkipdanthisehnuxkhxngemuxngobranepnenindinthitngkhxngchumchnpccubn khuxchumchnbansngepuxy phayinbriewntwemuxngobrandanthisehnuxpraktmisakobransthanthisrangdwyxithaelahinthrayxyuinbriewnphunthikhxngsanksngkhdngemuxngety aelathangdanthistawntkechiyngithangcaksanksngkhdngemuxngetyekhypraktwamikarkhudphbibesmadwy sphaphthrniwithya lksnathrnisnthankhxngemuxngobrandngemuxngety smedch lilamonthnrm 2538 ekidcakkarthbthmkhxngtakxnlana odyechphaalanachi aelalm phdphaexatakxnmathbthm aelamikarepliynaeplngkhxngphunthithimiradbaetktangknxxkip echnthirabnathwmthungthimitakxnthinaphdphamathbthm invdufnmkthuknathwm phunthiswnihyichthanaplukkhaw plukphuchswnkhrwaelaphuchir dinthiphbmkmixayunxy chndinimchdecn aetmikhwamxudmsmburn enuxngcakepntakxnihmaelamikarthbthmekuxbthukpi briewnlantaphklanaradbta camiradbsungkwathirabnathwmthungdngklawkhangtn aetyngmiphunthiraberiyb karthbthmkhxngtakxnihmimekidkhun ykewnbangpithiminathwmmak xaccamitakxnthbthmepnchnbangthiphiwdinbn epnsphaphthrnithimisphaphkhngtwaelaekidcakkarthbthmkhxngtakxnlanathimixayumak inphunthinicungmilksnaekidkhunihehnxyangchdecnaeladinswnihymisphaphkarrabaynakhxnkhangelw ichpraoychninkarthana xikphunthihnungkhuxbriewnlantaphklanaradbklangaelaradbsung misphaphsungkhunipcaklantaphklanaradbtatamladb aelamilksnaepnruplukkhlunimraberiyb phunthilantaphklanaradbklang dinswnihymisinatal ehluxng hruxnatalpnehluxng swnphunthiradbsung dinmisiaedng rabaynaiddi phunthithngsxngradbnilwnekidcakkarthbthmkhxngtakxnlana aelalmphamathbthmknepnewlananaelw dngnnchndinthiphbbriewnnicungmihnatddinekidkhunihmihehnxyangchdecn karichpraoychnkhxngdinswnihyichplukphuchir phuchswn phlim bangswnyngkhngsphaphpathrrmchatixyu idaek paetngrngaelapaebycphrrn dininbriewndngemuxngety prakxbipdwydinchudrxyexd Roi Et Series aela Loamy Phase aeladinchudokhrach Korat Series chumchnobrandngemuxngety khngtngthinthanxyuinsphaphphunthiaebblantaphklanaradbta enuxngcakradbkhwamsungkhxngphunthicakaephnthithhar mikhwamsungpraman 126 emtrcakradbnathaelpanklang sungthirablantaphklanaradbtamiradbkhwamsungcakradbnathaelpanklangpraman 120 150 emtr aeladinbriewnniepndinchudrxyexd Roi Et Series aeladinchudokhrach Korat Series dinthngsxngepnchuddinthiphbinbriewnlantaphklanaradbta odydinchudrxyexdcdepndinolwhiwmikhekly sungmikhwamehmaasminkarephaaplukkhawlksnathangkayphaphepnenindinrupwngrimikhunakhndinlxmrxb khnadechliy 650x360 emtr danthisehnuxkhxngemuxngphbsakethwalysrangkxxithtidchidknimsxpun hnhnaipthangthistawnxxk inphngsiehliymphunphathitxmukhyunxxkmathangdanhna txnklangdanhnaepnbnidthangkhunaebbmixthcnthrpradbthanbniddanhna thngyngphbkuthuthiepnsumkhnadelkphayinslkibhnabukhkhl ethwalyaehngnisrangkhunephuxepnethwsthankhxngphraxiswr tamhlkthancarukhinthraysiaedngxksrpllwaphasasnskvtthiphb xayurawphuththstwrrsthi 12 enuxkhwamodysrupklawthung karsrangethwsthanthwayaedphraxiswr odyphranangsrimanuychlibutrikhnthi 12 khxngphrasrimarprawresnaphuepnihyinemuxngsngkhpura aelaphbsinghslkcakhinthraysikhaw sphaphsmburn lksnasilpkrrmaebbekhmrsmyaeprrup xayurawphuththstwrrsthi 15 nxkcakniyngphbibesmahinthrayaelasilaaelngcanwnhnung sungepnhlkthanthiaesdngthungkarnbthuxphraphuththsasnakhxngphukhnindngemuxngetyinewlatxma exklksndngemuxngety khux lksnaxakharthimibnidepnrupxthcnthr aelachinswnpradbxakharrupkuthuthiphayinslkibhnabukhkhl aesdngthungxiththiphlxinediysmykhupta hlngkhuptainsilpathwarwdi echnediywkbthiecdiyculpraothn cnghwdnkhrpthm obransthandngaemnaemuxng cnghwdnkhrswrrkh obransthanhmayelkh 18 emuxngsrimohsth cnghwdpracinburi epntnraylaexiydkhxngyukhsmyodysmedch lilamonthrrm ph s 2538 midngni rayathi 1 xyuinsmykxnprawtisastrtxnplay xayupraman 2 500 pimaaelw praktrxngrxykickrrmkarthlungaelaphlitehlkinradbxutsahkrrminrayaaerkerim echnediywkbchumchnrwmsmytang inlumnamulaelachi sphaphphunthienindinaehngniehmaakbtngepnchumchn odyechphaakartngxyuikllanaaelaaemnasayihykhuxaemnachi chumchnkhngmikarephaaplukkhawtngaetkarxyuxasyinchwngaerk phbwamikarichfangkhawepnswnphsminkarthaphachnadinephaxyangaephrhlay phachnadinephathiichkninsmynimirupthrngthrrmdathiichinchiwitpracawn echn hmxknklm cham xang cakprimanesaphachnadinephathiphbcakkarkhudkhnthaihsnnisthanidwarayathi 1 ninayngmiprachakrimhnaaennmaknkrayathi 2 chumchnobrandngemuxngetymikartidtxaelkepliynkbchumchnxun phayinphakhtawnxxkechiyngehnux ephraaphbessphachnadinephathimikartkaetngdwykarekhiynsikhawepnesntngsn briewnkhxbpakdanin kartkaetngphachnalksnanieriykwaphachnadinephaaebbrxyexdhruxaebbthungkula ekhyphbthiaehlngobrankhdionnyang c surinthr aelaaehlngobrankhdibankraebuxngnxk c nkhrrachsima inekhtlumaemnamul mixayuechingethiybxyurahwangphuththstwrrsthi 1 11 kickrrmtang thiekidkhuninchumchnaehngni echn karephaaplukkhaw karphlitphachnadinepha swnihyphlitkhunexngphayinchumchn enuxngcakphachnadinephamithngrupthrngthrrmdasahrbichinchiwitpracawn echn thrnghmxknklm thrngcham aelathrngxang kartkaetngmilwdlaykhudkhid echuxkthab aelaeriyb nxkcakniyngmiphachnadinephacaktangthin dngechnphachnadinephathimikarekhiynsikhaw kickrrmehlanixacsathxnihehnthungkaraebngnganknthatamhnathikhxngphukhninchumchn aetkhngimmisthanphaphaetktangknmaknk enuxngcakimphbhlkthankarekidrabbchnchnehmuxnkbthiphbinchumchnrwmsmyechnthiaehlngobrankhdibanechiyngehiyn c mhasarkham nxkcakni yngphbkrabxkxdlmaebbsxngsubthiichinkarthlungolhaaelaesstakrnehlk aesdngihehnthungphthnakarthangethkhonolyidanehlkrayathi 3 mixayuxyuinrawphuththstwrrsthi 12 13 smyaerkerimprawtisastr mikarthlungaelaphlitehlkradbxutsahkrrm phbhlkthankarnaesstakrnehlkcanwnmakmathmxdepnthanrxngrbnahnkkhxngtwxakharthisrangkhuninrawphuththstwrrsthi 12 13 cakkarsarwckhxngxacarysriskr wlliophdm yngphbessphachnadinephaaebbthungkulasungepnphachnathimimatngaetyukhkxnprawtisastr papnkbesstakrn sriskr wlliophdm 2535 203 karphlitehlkinchumchnaehngniswnhnungkhngichepnsinkhakhakhayaelkepliynkbchumchnphaynxk nxkcakniyngphbwaniymichphachnadinephaaebbthanadinsiaedng aelapraephnikarfngsphkhrngthi 2 sngkhmkhxngchumchninchwngniepnsngkhmemuxngxyangchdecn michnchnpkkhrxng mikarkhudkhunathakhndin odykhunakhxngemuxngthukkhnabdwykhndinthng 2 khang chiihehnwasrangkhunakhunmaephuxcudprasngkhsakhynkarkkekbnaephuxichinkarxupophkhbriophkhphayinchumchn karkhudkhunacaepntxngichaerngngankhncanwnmak karkhwbkhumkhnktxngmiphunainkarkhwbkhumaelacdraebiybihnganepnipiddwykhwameriybrxy xyangirktam yngimthrabaenchdwakarkhudkhunaaelathakhndinkhxngchumchnaehngniekidkhunkhrngaerkinchwngewlaid xacepnchwngkxnprawtisastrtxnplayhruxsmyprawtisastrtxntn rawphuththstwrrsthi 12 13 aetcakhlkthankhxngobransthanaelacarukthiklawnamkhxngkstriyphupkkhrxngemuxng aesdngihehnthunglksnakhxngsngkhmemuxngidxyangchdecninrawphuththstwrrsthi 12 13 nxkcakniyngmikhwamepnipidwakarkhudkhunathidngemuxngetyinlksnawngklmhruxwngrinn chawemuxngidkhudtamaexngyubrxbenindinhruxodmekluxthimilksnaepnwngklmhruxwngrixyuaelw lksnarwmxikprakarhnungthiaesdngihehnthungkhwamsmphnthrahwangchumchndngemuxngetykbchumchnxuninlumaemnamul chi inchwngewlatngaetsmykxnprawtisastrtxnplay 2 500 pimaaelwlngma xyanghnungkhuxpraephnikarfngsphkhrngthi 2 odykarfnginphachnadinephakhnadihy hruxih cakkarsuksathiphanmaphbwapraephnikarfngsphkhrngthi 2 khxngphunthiaethbnismphnthkbchwngewlakarerimtnkickrrmkarthlungehlk sungkarfngsphkhrngthi 2 thidngemuxngetynixyuinchwngsmykxnprawtisastrtxnplaythicaekhasuyukhprawtisastr xyangirktam emuxekhasuyukhprawtisastraelw xacekidkarephasphkhun aetkxacyngpraktpraephnikarfngsphkhrngthi 2 xyukepnid dngcaehnidcakhlkthanthiphbthiemuxngfaaeddsngyang c kalsinthu aelaemuxngnkhrcapasri c mhasarkham epntnrayathi 4 xayurawphuththstwrrsthi 12 sphaphchumchnepnsngkhmemuxng mikarsrangsasnsthan hlkthancakcarukaesdngihehnthungkarmikstriypkkhrxngchumchn xacmikarkhudkhunathakhndininchwngewlani cakhlkthandancarukaelaobransthanaesdngihehnthungkarrbwthnthrrmecnlaekhamainchumchn ephraaxyuiklesnthangkhmnakhmaelaaephrkracaywthnthrrmekhmrekhamathangcnghwdxublrachthani burirmy surinthr srisaeks swnxiththiphldankaremuxng chuxkhxngkstriymiphrasrimanprewlsna sungidepnphupkkhrxngemuxngsngkhpura snnisthanwaxacepnemuxngobrandngemuxngety xacepnkhunnangthithangxanackrecnlasngekhamapkkhrxnghruxepnecanayphunemuxngedimxyuaelwthiidrbkaraetngtngcakxanackrecnlaihpkkhrxngemuxngtxip odykstriythinbthuxsasnahindu iswnikay sthanaphupkkhrxngepnethpheca ehnidcakkhxkhwamincarukklawthungkarsrangsiwlungkhaelarupaebbkhxngobransthanthiidrbxiththiphlcaksilpaekhmrsmykxnemuxngphrankhr rayatxmarawphuththstwrrsthi 14 15 chumchnaehngniepliynmanbthuxsasnaphuthth ephraaphbhlkthankarpkibesmahin phraphuththrup pangsmathi hwnakhkhxngswnphraphuththruppangnakhprk sriskr wlliophdm 2535 204 aelaxactkxyuphayitwthnthrrmekhmr aemwacaimphbhlkthanthichdecnthungxiththiphlkstriykhxmtxemuxngobranaehngni aetcakcarukonnsng c yosthr ph s 1432 thiyngimthrabaenchdwakstriyxngkhidoprdihsrangkhunrahwang 1 ph s 1420 1432 hruxphraecayoswrmnthi 1 ph s 1432 1443 hrux 1453 odycarukklawthungkarsthapnaaelathwaysingkhxngaedphraitrolknath ephuxthicathrngchwysrrphstwihthungkhwamhludphncakkarewiynwaytayekid suriywuthi sukhswsdi 2537 13 karxyuxasykhxngphukhnaelaphthnakarkhxngchumchnaehngnidaenineruxyma inrawphuththstwrrsthi 16 17 praktxiththiphlwthnthrrmekhmrxyangchdecn mikarichpraoychncakobransthanthimixyuephiyngaehngediywepnsunyklangkhxngemuxngtxip dngidphbpratimakrrmrupsingh 1tw cakkarkhudaetngbriewnlaythangedindanhnathicaekhasutwobransthanthangthistawnxxk pratimakrrmrupsinghdngklawmilksnathangsilpaaebbekhmrsmybapwn klangphuththstwrrsthi 16 thungkhrungaerkkhxngphuththstwrrsthi 17 aelacarukkhnadelkthiemuxngobranaehngni xayurawklangphuththstwrrsthi 16 thungtnphuththstwrrsthi 18 hlkcakklangphuththstwrrsthi 17 epntnma eraimphbhlkthanthichdecnkhxngkarxyuxasykhxngphukhn n chumchnaehngni miephiyngchinswncarukkhnadelksungmixayurawklangphuththstwrrsthi 16 thungtnphuththstwrrsthi 18 dngthiklawmaaelw aelaekhruxngthwyekhmrthimixayukhxnkhangkwang xyurahwangphuththstwrrsthi 15 18 ethann sungkimichhkthanednchdthicaklawidwainchwngewlahlngphuththstwrrsthi 17 lngmaaelwcamikhnxyuxasytxma thamiphukhnxasyxyutxma briewnchumchnaehngnikhngidrbxiththiphlthangkaremuxngkstriyekhmr odyechphaainrchkalkhxngphraecasuriywrmnthi 2 ph s 1656 thunghlng 1688 aelaphraecachywrmnthi 7 ph s 1724 1761 inrchkalkhxngthng 2 phraxngkhidaephrkracayxanackhrxbkhlumchumchntang inphakhtawnxxkechiyngehnuxyangkwangkhwang hlngcakphuththstwrrsthi 18 emuxngobranaehngnikhngthukthingrangipenuxngcakimphbhlkthankarxyuxasyinrayatxmaelycnkrathngrawphuththstwrrsthi 20 22 khngmiphukhnekhamaxyuxasyhruxichpraoychncakphunthibriewnchumchnaehngnibangepnkhrngkhraw enuxngcakidphbhlkthankhxngekhruxngthwysuokhthyaelaekhruxngthwyewiydnam thinacamixayuxyuinrawphuththstwrrsthi 20 22 inprimanthiimmaknk cnimxacklawidwamikarxyuxasythihnaaennxyangtxenuxngepnrayaewlayawnankarkhunthaebiynkrmsilpakrprakaskhunthaebiynobransthandngemuxngetyinrachkiccanuebksa khux karkahndcanwnobransthansahrbchati elmthi 53 hna 1535 wnthi 27 knyayn 2479 aelakahndekhtthidinbransthansahrbchati elmthi 121 txnphiess 53ng hna 5 wnthi 10 phvsphakhm 2547 enuxthipraman 22 ir 3 ngan 81 tarangwa phuidbukrukthalayobransthanmikhwamphidtamkdhmayobranwtthuobranwtthusakhyinrayathi 4 thiidcakchumchnobrandngemuxngety thngthiidcakkarkhudaetngobransthaninpingbpraman ph s 2534 khxnghnwysilpakrthi 6 aelacakkarthisanksngkhdngemuxngetyphbemux ph s 2525 idaek carukdxnemuxngety phbxyuthiwngkbkrxbpratu thadwyhinthrayaedngkhnad 200x80x60 esntiemtr miraylaexiydkarphbaelasuksakhux ph s 2526 hwhnahnwysilpakrthi 6 idphbaephnhinthraymixksrpllwacarukxyu 1 aephnmi 4 brrthd brrthdla 4 wrrkh n briewnobransthandxnemuxngety bansngepuxy tablsngepuxy xaephxkhaekhuxnaekw cnghwdyosthr caknn hnwysilpakrthi 6 idthayphaphcarukni odythayphaphepn 4 chwng khux phaphthi 1 epnphaphkhxngwrrkhthi 1 khxngbrrthdthi 1 4 phaphthi 2 epnphaphkhxngwrrkhthi 2 khxngbrrthdthi 1 4 phaphthi 3 epnphaphkhxngwrrkhthi 3 khxngbrrthdthi 1 4 aelaphaphthi 4 epnphaphkhxngwrrkhthi 4 khxngbrrthdthi 1 4 caknn hnwysilpakrthi 6 idsngphaphthaythng 4 niihaekkxnghxsmudaehngchati ephuxihecahnathixan aeplemuxwnthi 1 krkdakhm 2526 aetxyangirktam enuxngcakkarrayngankhxmulimlaexiydrdkumkhxnghnwysilpakrthi 6 cungthaihecahnathikhxngkxnghxsmudaehngchatiekhaicwaphaphthng 4 ni epnaephnsilacaruk 4 aephn dngnn emuxnaychaexm aekwkhlay phuxanaelaaeplcungsrupxxkmawa carukthng 4 aephnniimmikhwamsmphnthkn thngniephraaekhaicwaphaphcarukaetlaphaph aethncarukaetlaaephn phayhlngnaychaexm aekwkhlay idwiekhraahcarukhlknixikkhrngaelaphbwaaethcringaelwsaenacarukthng 4 aephn epnsaenakhxngcarukaephnediywkn aetthasaenaaeykkn dngnnemuxnasaenacarukthng 4 chin maeriyngtxknihthuktxngaelwksamarthxanaelaaeplkhwamhmayid cungidnakhaxanaelaaeplihmnilngtiphimphinhnngsux emuxngxublrachthani emuxpi ph s 2532 enuxhacarukklawthungphrasrimanprawresna phuepnihyinemuxngsngkhpura aelakarsranglingkholk sungbutrikhxngokrycphahu khnthisibsxngthiidepnphumixanacidsrangiw khxkhwamincarukaesdngwaobransthanaehngni srangkhunephuxepnsasnsthaninsasnaphrahmnthinbthuxphrasiwa aelainchwngewlannbriewndxnemuxngetyrwmthngchumchniklekhiyngkkhngcaekhyepnemuxngthimichuxwa sngkhpura sungkhngcamikhwamsmphnthinthanaemuxnginpkkhrxngkhxngxanackrecnla thiaephxanacekhamainekhtlumaemnamul chi inchwngewladngklaw dngidphbcarukkhxngkstriyecnlathimixayuxyuinphuththstwrrsthi 12 13 epncanwnhlayhlkincnghwdxublrachthani burirmy aelakhxnaekn carukhlkniimpraktphusrangthiaenchd kahndxayuidphuththstwrrsthi 12 caklksnatwxksrpllwa naychaexm aekwkhlay yngihkhwamehnwa lksnakhxngrupxksrswnmakcaehmuxnknkbcaruk ey thm ma khxngcnghwdnkhrpthm aelacarukwdsuptnaram cnghwdxublthani sungmixayuxyuinphuththstwrrsthi 12 chinswnprakxbxakharhinthrayaedng rupsiehliymphunpha khnad 37x80x50 esntiemtr sphaphsmburn danyawthaepnchxngsiehliymphunpha phayinslkrupdxkimklm 4 klib danhwangpnrupxakharcalxngmiaetswnbnideruxnthatuaelapratuhlxk lksnalwdlayepnlaydxkimklm 5 klib milayrupsamehiymkhnadelktxcakklibdxkkimaetlaklib rahwangdxkimklmaetladxkmidxkimklmkhrungdxkaethrkxyuthngdanbnaelalang odymilaykhlayklibdxechuxmrahwangdxkimklmetmdxkkbdxkimklmkhrungdxk chinswnprakxbxakharhinthrayaedngrupsiehliymphunpha khnad 280x73x53x esntiemtr sphaphekuxbsmburn dankhangngphayinchxngsiehliymphunpha slkdxkimklm midxkimklmkhrungdxkaethrk aelaechuxmtxknodylaykhlayklibdxkechnediywkblaythiklawmaaelw dankhangepnrupxakharcaxng aetsphaphcharud laydxkimnikhlaykbsilpaekhmraebbsmobriphrkuk smykxnemuxngphrankhr xayurawphuththstwrrsthi 12 14 kuthu slkepnrupbukhkhlphayinwngokhnghruxsum phb 2 chin phusuksasnnisthanwalwdlaybnkuthukhngidrbxiththiphlcaksilpaekhmraebbsmobriphrkuk smykxnemuxngphrankhr phuththstwrrsthi 12 14 aetphaphslkibhnakhxngbukhkhlrwmthngwngokhnghruxsummilksnakhlaykbkhxngsilpathwarwdi xacepnephraakhngidrbxiththiphlcaktnaebbediywknkhuxsilpaxinediysmykhupta phuththstwrrsnthi 9 11 suphthrdis diskul 2534 96 101 chinswnprakxbxakharhinthrayaedng rupsiehliymphunpha khnad 196x96x25 esntiemtr sphaphimsmburn chinswnaethnpratimakrrm sphaphekuxbsmburn khnad 93x43x33 esntiemtr swnthiepnchxngsiehliymkhnad 24x15x12 esntiemtr ibesma mithngthithadwyhinthrayaelasilaaelng xayurawphuththstwrrsthi 14 15 Piriya Kairiksh 1974 57 64 pratimakrrmlxytwrupsingh thadwyhinthraykhaw sphaphsmburn sung 115 esntiemtr silpaekhmraebbbapwn xayurawkhrunghlngkhxngphuththstwrrsthi 16 chinswnpratimakrrmlxytwrupbukhkhl thacakhinthrayaedng ibhnarupikh khadkrabnghnabriewnhnaphak eklaphmthrngchdamngkud chinswnphrahtthkhxngphraphuththruppangsmathi milksnaepnchinswnpratimakrrmrupmuxchwngkhxmuxkhwathunghwaemmuxaelachwngphrachanukhwathiswnphrahtthwangxyu swnprakxbkhxngxakhar thadwyhinthray lksnaepnwngklm playbnsxbkhxdepnrxngchwngklang esnphasunyklang 4 1 esntiemtr sung 146 esntiemtr aelaesnphasunyklangruaeknklang 9 esntiemtr swnprakxbxakharhruxsingekharph thadwyhinthraykhaw lksnaepnaethngthrngkrabxkplaymnbnthanaepdehliymtrngklangklwng sungpraman 19 esntiemtr kwangpraman 20 esntiemtr phbbriewndantawnxxkkhxngobransthan chinswnphaphslkthacakhinthray lksnaaebn milanslknuntakhlaylayswnthxngnakhchinswncaruk obranwtthuchinni chawbanepnphumxbihecahnathihnwysilpakrthi 6 odyphbinbriewnthinathixyuchidkbaenwkhndinkhxngemuxngobranaehngni carukdwyxksrkhxm phasasnskvt canwn 3 brrthd mikhacarukwa srs dr n wr h masu imsamarthcbickhwamid aetcakrupxksrsamarthpramanxayuxyuinrawklangphuththstwrrsthi 16 tnphuththstwrrsthi 18 thrdra thxngsima aelanvml ephkannth 2536 26 27 tumdinepha krapukkhnadelk 2 hu aethuhkipkhanghnungaelw ekhluxbsiekhiywxxn essphachnadinephakaredinthangedinthangcaktwcnghwdyosthr ichthanghlwngaephndinhmayelkh 23 thnnaecngsnith munghnathangthisithruxmunghnatablsngepuxy xaephxkhaekhuxnaekw praman 20 kiolemtr eliywkhwamunghnabansngepuxy praman 4 7 kiolemtr thungtwhmuban eliywsayichthnnphayinhmubanpraman 550 emtr eliywsayxikpraman 650 emtr thungtwenindngemuxngetyaelasanksngkhdngemuxngety obransthandngemuxngetytngxyudanthistawnxxkkhxngeninxangxinghttps www sac or th databases archaeology archaeology E0 B8 8A E0 B8 B8 E0 B8 A1 E0 B8 8A E0 B8 99 E0 B9 82 E0 B8 9A E0 B8 A3 E0 B8 B2 E0 B8 93 E0 B8 94 E0 B8 87 E0 B9 80 E0 B8 A1 E0 B8 B7 E0 B8 AD E0 B8 87 E0 B9 80 E0 B8 95 E0 B8 A2 http www qrcode finearts go th index php th historic site hs ya sothon item 440 hs yasothon 009