นกกีวี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Miocene–Recent | |
---|---|
นกกีวีสีน้ำตาล (Apteryx australis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Apterygiformes |
วงศ์: | Apterygidae (Gray, 1840) |
สกุล: | Apteryx (, 1813) |
ชนิด | |
(นกกีวีจุดใหญ่) (นกกีวีจุดเล็ก) (นกกีวีสีน้ำตาลโอคาริโต) (นกกีวีสีน้ำตาล) (นกกีวีสีน้ำตาลเกาะเหนือ) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
นกกีวี (อังกฤษ: kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae
ลักษณะ
ขนาดลำตัวของนกกีวีจะอยู่ประมาณขนาดของไก่บ้าน แต่นกกีวีเป็นนกที่ออกไข่ได้ฟองใหญ่ที่สุดในบรรดานกทั้งหมดเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และใช้เวลาฟักนานถึง 3 เดือน โดยตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่
อุณหภูมิในร่างกายของนกกีวี ปกติจะอยู่ที่ 37-38 องศาเซลเซียส มีปีกขนาดเล็กมาก ยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น จนแทบจะมองไม่เห็นซ่อนไว้ใต้ขน ไม่มีหาง มีจะงอยปากแหลม มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นจุดเด่น มีปุกปุยคล้ายขนแมวหรือเส้นผมมนุษย์สีน้ำตาลปกคลุมลำตัว บริเวณใบหน้ามีขนยาวคล้ายหนวด ขุดโพรงอาศัยอยู่บนพื้นดิน มีระบบประสาทการมองเห็นและได้ยินมีพัฒนาการดีเยี่ยม มีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว มีเล็บยาว แต่นิ้วหัวเท้าเล็กสั้น แตกต่างไปจากนกจำพวกอื่น และใช้นิ้วเท้านี้ในการกระโดดถีบเป็นการป้องกันตัว
นกกีวีจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ นกกีวีเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน ขี้อาย และชอบอยู่อย่างสันโดษ การใช้ชีวิตแบบสัตว์ตอนกลางคืนแบบนี้ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของนกกีวี นักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่เป็นสัตว์ที่ถูกล่าจากสัตว์นักล่าต่าง ๆ เช่น อินทรีฮาสต์ ซึ่งเป็นอินทรีขนาดใหญ่ กางปีกได้กว้างถึง 10 ฟุต กรงเล็บมีขนาดเท่าอุ้งเท้าของเสือ สามารถล่าสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง นกโมอาได้ด้วยซ้ำ จึงทำให้บรรพบุรุษของนกกีวีต้องระแวดระวังตัว แม้ปัจจุบันนี้ทั้งอินทรีฮาสต์และนกโมอาได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว จากการล่าของชาวมาวรี แต่สัญชาตญาณการระแวดระวังตัวของนกกีวียังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
พฤติกรรมและความสำคัญ
นกกีวีอาศัยอยู่ในที่แห้ง โดยเฉพาะในป่า แต่สามารถปรับตัวให้เข้ากับหลาย ๆ สถานที่ได้อย่างง่ายดาย นกกีวีมีประสาทในการดมกลิ่นได้ดีเยี่ยม เช่นเดียวกับนกตัวอื่น ๆ แต่เป็นนกจำพวกเดียวเท่านั้นที่มีรูจมูกอยู่ตรงปลายจะงอยปากที่สามารถรับแรงสั่นสะเทือน และความดันได้เป็นอย่างดี นกกีวีหากินบนพื้นดิน เพราะไม่สามารถปีนป่ายขึ้นต้นไม้ได้ ซึ่งอาหารจะได้แก่ แมลงตัวเล็ก ๆ หนอน และเมล็ดพืช แต่บางชนิดจะกินผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, ปลาไหล หรือแม้แต่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เพราะว่ารูจมูกอยู่ที่ปลายปากแหลม ๆ ทำให้สามารถกินแมลงหรือใต้ดินได้ลึกถึง 6 นิ้ว โดยที่ไม่ต้องมองเห็น เพียงแค่จิกลงไปเฉย ๆ
เมื่อใดที่นกกีวีหาคู่ได้แล้ว จะอยู่ด้วยกัน 2 ตัวไปตลอดชีวิต ในฤดูผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน-มีนาคม ทั้งสองตัวจะผสมพันธุ์กันตอนกลางคืน ทุก ๆ 3 วัน นกกีวีจะออกไข่ได้ฤดูละ 1 ฟอง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำนวนนกกีวีเพิ่มขึ้นช้า ขณะที่อายุขัยโดยเฉลี่ยของนกกีวีอยู่ที่ 30 ปี นั่นหมายความว่า นกตัวเมียตลอดทั้งชีวิตจะสามารถมีลูกได้ทั้งหมด 30 ตัว
นกกีวีมีความสำคัญมากต่อชาวมาวรี ชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ชาวมาวรีมีความเชื่อว่านกกีวีเป็นสัตว์เลี้ยงของเทพเจ้าในป่า ขนของนกกีวีจึงถูกนำมาทำเป็นผ้าคลุมที่ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวมาวรี ในปัจจุบัน ชาวมาวรีเลิกล่านกกีวีแล้ว แต่จะใช้เฉพาะขนจากนกกีวีที่ตายแล้วเท่านั้น ชาวมาวรีเห็นว่านกกีวีเป็นเหมือนผู้พิทักษ์แห่งป่า
เหตุที่เรียกชื่อสามัญว่า "นกกีวี" มาจากเสียงร้องที่ฟังคล้ายกับคำว่ากีวี นกกีวีถูกนำมาใช้เป็นเครื่องหมายในการสู้รบครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นไม่นาน เริ่มมีการใช้นกกีวีเป็นสัญลักษณ์ต่อ ๆ มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1906 ยี่ห้อกีวี ได้นำนกกีวีมาเป็นสัญลักษณ์ แล้วมีการนำไปขายในยุโรป และ อเมริกา ซึ่งทำให้นกกีวีเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ชาวต่างชาติเรียกชาวนิวซีแลนด์เล่น ๆ ว่า "กีวี" ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารนิวซีแลนด์ได้แทนตัวเองว่า กีวี แล้วหลังจากกลับมาจากสงคราม ก็ได้แกะสลักรูปนกกีวีตัวใหญ่ ๆ ไว้บนเทือกเขาในประเทศอังกฤษ ยิ่งทำให้มีการเรียกชาวนิวซีแลนด์ว่า กีวี มากขึ้นอีก ต่อมานกกีวีได้ถูกใช้ต่อมาอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ, ตราสัญลักษณ์ หรือเกราะต่าง ๆ และเป็นสัตว์ประจำชาติของนิวซีแลนด์
วิวัฒนาการ
จากหลักฐานทางดีเอ็นเอพบว่านกกีวีมีใกล้เคียงกับนกบินไม่ได้ชนิดอื่น ๆ มาก เช่น นกกระจอกเทศ, นกโมอา ซึ่งเป็นนกที่บินไม่ได้ขนาดใหญ่ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว, และนกคาสซอวารี เป็นต้น โดยนกกีวีถือกำเนิดมาเมื่อกว่า 60 ล้านปีมาแล้ว เหตุนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ต้นกำเนิดของนกกีวีมาจากออสเตรเลีย พร้อม ๆ กับนกอีมู ด้วยการบินมา พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นมาของนิวซีแลนด์ สาเหตุที่ทำให้นกกีวีบินไม่ได้ เนื่องจากบนพื้นดินของนิวซีแลนด์มีอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังไม่มีสัตว์กินเนื้อ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นภัยคุกคามในธรรมชาติอยู่เลยในอดีต ฉะนั้นปีกจึงเป็นเหมือนอวัยวะส่วนเกินที่ไร้ความจำเป็น
อ้างอิง
- Brands, S. (2008)
- จาก itis.gov
- New Zealand ดินแดนแห่งนก, "Mutant Planet" ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
- The kiwi bird’s status as an honorary mammal is confirmed (อังกฤษ)
- กีวี
- นิวซีแลนด์ แผ่นดินนกยักษ์
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
- http://www.savethekiwi.org.nz 2008-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อนุรักษ์นกกีวี (อังกฤษ)
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
nkkiwi chwngewlathimichiwitxyu Miocene Recent PreꞒ Ꞓ O S D C P T J K Pg Nnkkiwisinatal Apteryx australis karcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Animaliaiflm Chordatachn Avesxndb Apterygiformeswngs Apterygidae Gray 1840 skul Apteryx 1813 chnid nkkiwicudihy nkkiwicudelk nkkiwisinataloxkhariot Apteryx australis nkkiwisinatal nkkiwisinatalekaaehnux aephnthiaesdngkarkracayphnthu nkkiwi xngkvs kiwi epnnkcaphwkhnungthibinimid milksnathiaeplkipcaknkxun dwymiwiwthnakarepnkhxngtwexngxyangchdecn epnnkxxkhakinewlaklangkhun mithinkaenidinthrrmchatixyuinniwsiaelndethann nkkiwicdxyuinskul Apteryx inwngs Apterygidaelksnakhnadlatwkhxngnkkiwicaxyupramankhnadkhxngikban aetnkkiwiepnnkthixxkikhidfxngihythisudinbrrdankthnghmdemuxethiybkbkhnadlatw aelaichewlafknanthung 3 eduxn odytwphuthahnathifkikh xunhphumiinrangkaykhxngnkkiwi pkticaxyuthi 37 38 xngsaeslesiys mipikkhnadelkmak yawephiyng 5 esntiemtrethann cnaethbcamxngimehnsxniwitkhn immihang micangxypakaehlm mikhwamyawpraman 20 esntiemtr epncudedn mipukpuykhlaykhnaemwhruxesnphmmnusysinatalpkkhlumlatw briewnibhnamikhnyawkhlayhnwd khudophrngxasyxyubnphundin mirabbprasathkarmxngehnaelaidyinmiphthnakardieyiym miniwethakhangla 4 niw mielbyaw aetniwhwethaelksn aetktangipcaknkcaphwkxun aelaichniwethaniinkarkraoddthibepnkarpxngkntw nkkiwicaaenkxxkepnchnidtang id 5 chnid idthukcdihepnstwthiiklsuyphnthu nkkiwiepnstwhakintxnklangkhun khixay aelachxbxyuxyangsnods karichchiwitaebbstwtxnklangkhunaebbni aethcringaelwimidepnthrrmchatidngedimkhxngnkkiwi nkwithyasastridsnnisthanwaekidcakkarthiepnstwthithuklacakstwnklatang echn xinthrihast sungepnxinthrikhnadihy kangpikidkwangthung 10 fut krngelbmikhnadethaxungethakhxngesux samarthlastwkhnadihyxyang nkomxaiddwysa cungthaihbrrphburuskhxngnkkiwitxngraaewdrawngtw aempccubnnithngxinthrihastaelankomxaidsuyphnthuiphmdaelw cakkarlakhxngchawmawri aetsychatyankarraaewdrawngtwkhxngnkkiwiyngkhngsubthxdmathungpccubn phaphaesdngkarepriybethiybrahwangtwnkkiwikbkhnadkhxngikhphaphkhnbriewnibhnaphvtikrrmaelakhwamsakhynkkiwixasyxyuinthiaehng odyechphaainpa aetsamarthprbtwihekhakbhlay sthanthiidxyangngayday nkkiwimiprasathinkardmkliniddieyiym echnediywkbnktwxun aetepnnkcaphwkediywethannthimirucmukxyutrngplaycangxypakthisamarthrbaerngsnsaethuxn aelakhwamdnidepnxyangdi nkkiwihakinbnphundin ephraaimsamarthpinpaykhuntnimid sungxaharcaidaek aemlngtwelk hnxn aelaemldphuch aetbangchnidcakinphlimtrakulebxrri plaihl hruxaemaetstwkhrungbkkhrungna ephraawarucmukxyuthiplaypakaehlm thaihsamarthkinaemlnghruxitdinidlukthung 6 niw odythiimtxngmxngehn ephiyngaekhciklngipechy emuxidthinkkiwihakhuidaelw caxyudwykn 2 twiptlxdchiwit invduphsmphnthu rahwangeduxnmithunayn minakhm thngsxngtwcaphsmphnthukntxnklangkhun thuk 3 wn nkkiwicaxxkikhidvdula 1 fxng sungepnehtuphlhnungthithaihcanwnnkkiwiephimkhuncha khnathixayukhyodyechliykhxngnkkiwixyuthi 30 pi nnhmaykhwamwa nktwemiytlxdthngchiwitcasamarthmilukidthnghmd 30 tw nkkiwimikhwamsakhymaktxchawmawri chnphunemuxngkhxngniwsiaelnd chawmawrimikhwamechuxwankkiwiepnstweliyngkhxngethphecainpa khnkhxngnkkiwicungthuknamathaepnphakhlumthiichinphithikrrmtang khxngchawmawri inpccubn chawmawrieliklankkiwiaelw aetcaichechphaakhncaknkkiwithitayaelwethann chawmawriehnwankkiwiepnehmuxnphuphithksaehngpa ehtuthieriykchuxsamywa nkkiwi macakesiyngrxngthifngkhlaykbkhawakiwi nkkiwithuknamaichepnekhruxnghmayinkarsurbkhrngaerkinstwrrsthi 19 hlngcaknnimnan erimmikarichnkkiwiepnsylksntx maeruxy cnkrathnginpi kh s 1906 yihxkiwi idnankkiwimaepnsylksn aelwmikarnaipkhayinyuorp aela xemrika sungthaihnkkiwiepnthiruckmakkhun thaihchawtangchatieriykchawniwsiaelndeln wa kiwi insmysngkhramolkkhrngthi 1 thharniwsiaelndidaethntwexngwa kiwi aelwhlngcakklbmacaksngkhram kidaekaslkrupnkkiwitwihy iwbnethuxkekhainpraethsxngkvs yingthaihmikareriykchawniwsiaelndwa kiwi makkhunxik txmankkiwiidthukichtxmaxikhlayrupaebb imwacaepn ehriyy trasylksn hruxekraatang aelaepnstwpracachatikhxngniwsiaelndwiwthnakarcakhlkthanthangdiexnexphbwankkiwimiiklekhiyngkbnkbinimidchnidxun mak echn nkkracxkeths nkomxa sungepnnkthibinimidkhnadihy thisuyphnthuipaelw aelankkhassxwari epntn odynkkiwithuxkaenidmaemuxkwa 60 lanpimaaelw ehtunicungthaihnkwithyasastrsrupwa tnkaenidkhxngnkkiwimacakxxsetreliy phrxm kbnkximu dwykarbinma phrxm kbkarekidkhunmakhxngniwsiaelnd saehtuthithaihnkkiwibinimid enuxngcakbnphundinkhxngniwsiaelndmixaharxyuepncanwnmak xikthngyngimmistwkinenux hruxstweliynglukdwynm sungepnphykhukkhaminthrrmchatixyuelyinxdit channpikcungepnehmuxnxwywaswnekinthiirkhwamcaepnxangxingBrands S 2008 cak itis gov New Zealand dinaednaehngnk Mutant Planet thangaexnimxlaephlnent sarkhdithangthruwichns esarthi 22 thnwakhm 2555 The kiwi bird s status as an honorary mammal is confirmed xngkvs kiwi niwsiaelnd aephndinnkyks khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 05 04 subkhnemux 2012 12 22 wikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb nkkiwiaehlngkhxmulxunhttp www savethekiwi org nz 2008 07 23 thi ewyaebkaemchchin ewbistxnurksnkkiwi xngkvs wikispichismikhxmulphasaxngkvsekiywkb Apterygidae