เกเลน (อังกฤษ: Galen; กรีก: Γαληνός, Galēnos; ละติน: Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวโรมันเชื้อสายกรีกซึ่งเขามีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
ชีวิต
เกเลนเกิดที่เมืองเพอร์กามอน (Pergamum), มีเชีย (Mysia) (ปัจจุบันคือเมืองเบอร์กามา (Bergama) ประเทศตุรกี) เป็นบุตรของสถาปนิกที่มีฐานะชื่อ อียูลิอุส นิคอน (Aeulius Nicon) เขามีความสนใจในหลายๆ ด้าน เช่น เกษตรกรรม สถาปัตยกรรม ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ปรัชญา ก่อนที่สุดท้ายจะสนใจในวิชาการแพทย์
เมื่อเขาอายุ 20 ปี เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยรักษาโรคของเทพเจ้า (Asclepius) ในโบสถ์ท้องถิ่นเป็นเวลา 4 ปี แม้ว่าเกเลนจะสนใจศึกษาร่างกายมนุษย์ แต่การชำแหละร่างกายมนุษย์ในสมัยนั้นถือว่าขัดกับกฎหมายของโรมัน เขาจึงศึกษาในหมู เอป และสัตว์อื่นๆ แทน ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ศึกษาร่างกายมนุษย์ทำให้เขาเข้าใจอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ผิดไป ตัวอย่างเช่นเขาคิดว่า rete mirabile ซึ่งเป็นกลุ่มหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ด้านหลังของสมองนั้นพบได้ทั่วไปในมนุษย์ แต่ความเป็นจริงแล้วโครงสร้างนี้พบได้เฉพาะในสัตว์บางชนิดเท่านั้น หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 148 หรือ ค.ศ. 149 เข้าได้ออกจากเมืองเพอร์กามอนเพื่อไปศึกษาในเมืองสเมอร์นา (Smyrna), และอเล็กซานเดรีย เป็นเวลา 12 ปี ในปี ค.ศ. 157 เกเลนได้กลับมาที่เมืองเพอร์กามอน และทำงานเป็นแพทย์ในโรงเรียนสอนกลาดิอาตอร์เป็นเวลา 3-4 ปี ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้รับประสบการณ์มากมายในการรักษาอาการบาดเจ็บโดยเฉพาะบาดแผล ซึ่งในเวลาต่อมาเขาเรียกว่าเป็น หน้าต่างที่เปิดเข้าสู่ร่างกาย (windows into the body)
เกเลนเป็นผู้ที่กล้าผ่าตัดในบริเวณที่ไม่มีใครกล้าทำ เช่น การผ่าตัดสมองหรือดวงตา ซึ่งแม้กระทั่งหลังจากยุคเกเลนเป็นเวลากว่าสองพันปีก็ไม่มีใครกล้าทำเช่นเขา ในการผ่าตัดต้อกระจก เกเลนได้ใส่เครื่องมือลักษณะคล้ายเข็มเข้าไปในหลังเลนส์ตา แล้วจึงดึงเครื่องมือไปทางด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเอาต้อกระจกออก การดึงเครื่องมือไถลไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ตาบอดถาวรได้
เกเลนย้ายไปที่โรมในปี ค.ศ. 162 ซึ่งเป็นที่ที่เขาบรรยาย มีงานเขียน และสาธิตความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์อย่างมาก เกเลนเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นในฐานะที่เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์ ทำให้มีนักเรียนมาเรียนกับเขามากมาย ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีกงสุลนามว่า ฟลาวิอุส โบเอธิอุส (Flavius Boethius) ซึ่งได้แนะนำเขาให้เข้าสู่อิมพีเรียล คอร์ท (imperial court) เกเลนได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของจักรพรรดิมาร์คุส ออเรลิอุส (Marcus Aurelius) แม้เกเลนจะเป็นสมาชิกของอิมพีเรียล คอร์ท แต่เกเลนกลับเลี่ยงที่จะใช้ภาษาละติน แต่พูดและเขียนภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่ของเขา เกเลนเป็นแพทย์ที่ถวายการรักษาจักรพรรดิของโรมันหลายพระองค์ เช่น ลูซิอุส เวรุส (Lucius Verus) , คอมโมดุส (Commodus) , และเซพติมิอุส เซเวรุส (Septimius Severus) ในปี ค.ศ. 166 เกเลนได้เดินทางกลับเมืองเพอร์กามอน และอยู่ที่นั่น แล้วเดินกลับมาที่โรมครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 169
เกเลนใช้เวลาที่เหลือของชีวิตในอิมพีเรียล คอร์ท และทำงานเขียนและการทดลอง เขาได้ทดลองชำแหละสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หลายชนิดเพื่อศึกษาหน้าที่ของไตและไขสันหลัง
มีรายงานว่าเกเลนใช้เสมียนจำนวน 12 คนในการจดบันทึกงานของเขา ในปี ค.ศ. 191 เกิดเพลิงไหม้ในวิหารแห่งความสงบ (Temple of Peace) เพลิงทำลายงานเขียนของเขาบางส่วน จากเอกสารอ้างอิงในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 กล่าวว่าเกเลนน่าจะเสียชีวิตในราว ค.ศ. 200 แต่มีนักวิจัยบางคนแย้งว่ามีหลักฐานงานเขียนของเกเลนที่เขียนในราวปี ค.ศ. 207 ดังนั้นเกเลนน่าจะมีชีวิตหลังจากนี้ ปีที่เกเลนน่าจะเสียชีวิตที่มีการเสนอขึ้นคือในราวปี ค.ศ. 216
มรดกของเกเลน
มีการแปลงานของเกเลนจำนวน 129 ชิ้นเป็นภาษาอาหรับในราวปี ค.ศ. 830 - ค.ศ. 870 โดยฮุไนน์ อิบน์ อิชาก (Hunayn ibn Ishaq) และผู้ช่วย และมีการก่อตั้งแบบแผนของการแพทย์อิสลามขึ้นตามแนวคิดของเกเลนที่ยึดมั่นในการหาความรู้ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบที่มีเหตุและผล ซึ่งแบบแผนนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วจักรวรรดิอาหรับ ชาวอาหรับนับถือเกเลนเป็นอย่างสูง แต่ก็ไม่มีการผ่าตัดอย่างที่เกเลนเคยทำ ส่วนในโลกคริสเตียนตะวันตกมีการห้ามผ่าตัดเนื่องจากถือว่าเป็นบาปและเป็นพวกนอกศาสนา หนังสือของมุฮัมมัด อิบน์ ซะกะรียะ ราซิ (Muhammad ibn Zakarīya Rāzi, เสียชีวิต ค.ศ. 925) ที่ชื่อ "Doubts on Galen" (ข้อสงสัยเกี่ยวกับเกเลน) รวมทั้งงานเขียนของ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis) แสดงให้เห็นว่างานของเกเลนนั้นไม่ใช่งานที่ปราศจากข้อสงสัย แต่เป็นพื้นฐานที่น่าท้าทายสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้มีการศึกษาจากการทดลองและประสบการณ์เกิดเป็นความรู้และข้อสังเกตใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งที่ต่างไปจากของเกเลนและเพิ่มเติมเนื้อหาของเกเลนให้สมบูรณ์โดยแพทย์ชาวอาหรับ เช่น ราซี (Razi) , อาลี อิบน์ อับบัส อัล-มะจุซิ (Ali ibn Abbas al-Majusi, Haly Abbas) , อาบู อัล-กาซิม อัล-เซาะห์ระวิ (Abu al-Qasim al-Zahrawi, Abulasis) , แอวิเซนนา (Avicenna) , อิบน์ ซุห์ร (Ibn Zuhr, Avenzoar) และ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis)
คอนสแตนตินชาวแอฟริกา (Constantine the African) เป็นผู้หนึ่งที่ช่วยนำการแพทย์สมัยกรีกกลับไปยังยุโรป ผลงานการแปลงานของฮิปโปกราเตสและเกเลนของเขา ทำให้ชาวตะวันตกเห็นมุมมองการแพทย์ของกรีกทั้งหมดเป็นครั้งแรก
ต่อมาในยุโรปยุคกลาง งานเขียนของเกเลนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์กลายมาเป็นตำราหลักของหลักสูตรการเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย แต่ก็มีอุปสรรคเนื่องจากการหยุดชะงักและความซบเซาของการศึกษา ในทศวรรษที่ 1530 นักกายวิภาคและแพทย์ชาวเบลเยียมชื่อว่า แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้แปลตำราของเกเลนจากภาษากรีกเป็นภาษาละติน งานของเวซาเลียสอันมีชื่อเสียงชื่อว่า De humani corporis fabrica ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากงานเขียนของเกเลน เนื่องจากเวซาเลียสต้องการจะรื้อฟื้นวิธีการและทัศนคติการศึกษาของเกเลน เขาจึงทำการชำแหละร่างกายมนุษย์ถือเป็นการปฏิวัติปรัชญาธรรมชาติของเกเลน เวซาเลียสถือเป็นผู้รือฟื้นงานเขียนของเกเลนและทำให้เกเลนเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านทางหนังสือและงานสอน ตั้งแต่มีการแปลตำราส่วนใหญ่ของเกเลนเป็นภาษาอาหรับทำให้ชาวตะวันออกกลางรู้จักและเรียกเขาว่า "Jalinos" (จาลินอส) เกเลนเป็นผู้ที่สามารถจำแนกหลอดเลือดดำ (สีแดงเข้ม) ออกจากหลอดเลือดแดง (สีจางกว่าและเล็กกว่า) ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยเชื่อว่าเลือดดำมีต้นกำเนิดมาจากตับ และเลือดแดงมีต้นกำเนิดจากหัวใจ เลือดจะไหลจากอวัยวะเหล่านี้ไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้นำไปใช้
การรักษาโรคเกือบทุกโรคของเกเลนโดย (bloodletting) มีอิทธิพลอย่างมากและมีการปฏิบัติจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
อ้างอิง
- "Galen". Encyclopædia Britannica. Vol. IV. Encyclopædia Britannica, Inc. 1984. p. 385.
- Nutton, Vivian (May 1973). "The Chronology of Galen's Early Career". The Classical Quarterly. 2. 23 (1): 169. ISSN 0009-8388. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
- How Greek Science Passed to the Arabs
- Ancient surgery
- Constantine the African
- Dear, Peter. Revolutionizing the Sciences: European Knowledge and Its Ambitions, 1500-1700. Princeton, NJ: Princeton University Press (2001) , 37-39.
แหล่งข้อมูลอื่น
งานของเกเลน
- Galen, On the Natural Faculties English translation
- Galen, Commentary on Hippocrates "On the nature of man"
- Galen, Exhortation to the Study of the Arts especially Medicine: To Menodotus
- Galen, On diagnosis from dreams
อื่นๆ
- Galen University 2007-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Galen 2007-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Galen, University of Dayton 2006-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Galen: A Biographical Sketch 2007-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Greek Biology and Medicine by Henry Osborn Taylor (1922) 2006-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Greek Biology and Medicine by Henry Osborn Taylor (1922) : Chapter 5 - "The Final System: Galen" 2007-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Galen and the Greek-Hellenic History of Medicine
- Misconceptions 2008-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ekeln xngkvs Galen krik Galhnos Galenos latin Claudius Galenus kh s 129 praman kh s 200 hrux 216 aehngephxrkamxn epnaephthychawormnechuxsaykriksungekhamixiththiphltxwithyasastrkaraephthykhxngtawntkmaepnewlanankwaphnpi chuxhna Claudius sungimidrabuexaiwinexksarphasakrik praktxyuinexksarinyukhfunfusilpwithyaphaphwadekelninstwrrsthi 18 odyekxxrk ephal bschchiwitekelnekidthiemuxngephxrkamxn Pergamum miechiy Mysia pccubnkhuxemuxngebxrkama Bergama praethsturki epnbutrkhxngsthapnikthimithanachux xiyulixus nikhxn Aeulius Nicon ekhamikhwamsnicinhlay dan echn ekstrkrrm sthaptykrrm darasastr ohrasastr prchya kxnthisudthaycasnicinwichakaraephthy emuxekhaxayu 20 pi ekhaidthanganepnphuchwyrksaorkhkhxngethpheca Asclepius inobsththxngthinepnewla 4 pi aemwaekelncasnicsuksarangkaymnusy aetkarchaaehlarangkaymnusyinsmynnthuxwakhdkbkdhmaykhxngormn ekhacungsuksainhmu exp aelastwxun aethn khxcakdthangkdhmaythiimxnuyatihsuksarangkaymnusythaihekhaekhaicxwywatang khxngmnusyphidip twxyangechnekhakhidwa rete mirabile sungepnklumhlxdeluxdthixyuikldanhlngkhxngsmxngnnphbidthwipinmnusy aetkhwamepncringaelwokhrngsrangniphbidechphaainstwbangchnidethann hlngcakthibidakhxngekhaesiychiwitinpi kh s 148 hrux kh s 149 ekhaidxxkcakemuxngephxrkamxnephuxipsuksainemuxngsemxrna Smyrna aelaxelksanedriy epnewla 12 pi inpi kh s 157 ekelnidklbmathiemuxngephxrkamxn aelathanganepnaephthyinorngeriynsxnkladixatxrepnewla 3 4 pi inchwngewlaniexngthiekhaidrbprasbkarnmakmayinkarrksaxakarbadecbodyechphaabadaephl sunginewlatxmaekhaeriykwaepn hnatangthiepidekhasurangkay windows into the body ekelnepnphuthiklaphatdinbriewnthiimmiikhrklatha echn karphatdsmxnghruxdwngta sungaemkrathnghlngcakyukhekelnepnewlakwasxngphnpikimmiikhrklathaechnekha inkarphatdtxkrack ekelnidisekhruxngmuxlksnakhlayekhmekhaipinhlngelnsta aelwcungdungekhruxngmuxipthangdanhlngelknxyephuxexatxkrackxxk kardungekhruxngmuxithlipaemephiyngelknxykxacthaihtabxdthawrid ekelnyayipthiorminpi kh s 162 sungepnthithiekhabrryay minganekhiyn aelasathitkhwamruthangdankaywiphakhsastrxyangmak ekelnerimmichuxesiyngmakkhuninthanathiepnaephthythimiprasbkarn thaihminkeriynmaeriynkbekhamakmay sungincanwnnnkmikngsulnamwa flawixus obexthixus Flavius Boethius sungidaenanaekhaihekhasuximphieriyl khxrth imperial court ekelnidepnaephthypracaphraxngkhkhxngckrphrrdimarkhus xxerlixus Marcus Aurelius aemekelncaepnsmachikkhxngximphieriyl khxrth aetekelnklbeliyngthicaichphasalatin aetphudaelaekhiynphasakriksungepnphasaaemkhxngekha ekelnepnaephthythithwaykarrksackrphrrdikhxngormnhlayphraxngkh echn lusixus ewrus Lucius Verus khxmomdus Commodus aelaesphtimixus esewrus Septimius Severus inpi kh s 166 ekelnidedinthangklbemuxngephxrkamxn aelaxyuthinn aelwedinklbmathiormkhrngsudthayinpi kh s 169 ekelnichewlathiehluxkhxngchiwitinximphieriyl khxrth aelathanganekhiynaelakarthdlxng ekhaidthdlxngchaaehlastwthimichiwitxyuhlaychnidephuxsuksahnathikhxngitaelaikhsnhlng miraynganwaekelnichesmiyncanwn 12 khninkarcdbnthukngankhxngekha inpi kh s 191 ekidephlingihminwiharaehngkhwamsngb Temple of Peace ephlingthalaynganekhiynkhxngekhabangswn cakexksarxangxinginsmykhriststwrrsthi 10 klawwaekelnnacaesiychiwitinraw kh s 200 aetminkwicybangkhnaeyngwamihlkthannganekhiynkhxngekelnthiekhiyninrawpi kh s 207 dngnnekelnnacamichiwithlngcakni pithiekelnnacaesiychiwitthimikaresnxkhunkhuxinrawpi kh s 216mrdkkhxngekelnmikaraeplngankhxngekelncanwn 129 chinepnphasaxahrbinrawpi kh s 830 kh s 870 odyhuinn xibn xichak Hunayn ibn Ishaq aelaphuchwy aelamikarkxtngaebbaephnkhxngkaraephthyxislamkhuntamaenwkhidkhxngekelnthiyudmninkarhakhwamruthangkaraephthyxyangepnrabbthimiehtuaelaphl sungaebbaephnniidaephrkracayipthwckrwrrdixahrb chawxahrbnbthuxekelnepnxyangsung aetkimmikarphatdxyangthiekelnekhytha swninolkkhrisetiyntawntkmikarhamphatdenuxngcakthuxwaepnbapaelaepnphwknxksasna hnngsuxkhxngmuhmmd xibn sakariya rasi Muhammad ibn Zakariya Razi esiychiwit kh s 925 thichux Doubts on Galen khxsngsyekiywkbekeln rwmthngnganekhiynkhxng xibn xl nafis Ibn al Nafis aesdngihehnwangankhxngekelnnnimichnganthiprascakkhxsngsy aetepnphunthanthinathathaysahrbkarsuksaephimetiminxnakht thaihmikarsuksacakkarthdlxngaelaprasbkarnekidepnkhwamruaelakhxsngektihm sungmithngthitangipcakkhxngekelnaelaephimetimenuxhakhxngekelnihsmburnodyaephthychawxahrb echn rasi Razi xali xibn xbbs xl macusi Ali ibn Abbas al Majusi Haly Abbas xabu xl kasim xl esaahrawi Abu al Qasim al Zahrawi Abulasis aexwiesnna Avicenna xibn suhr Ibn Zuhr Avenzoar aela xibn xl nafis Ibn al Nafis khxnsaetntinchawaexfrika Constantine the African epnphuhnungthichwynakaraephthysmykrikklbipyngyuorp phlngankaraeplngankhxnghipopkraetsaelaekelnkhxngekha thaihchawtawntkehnmummxngkaraephthykhxngkrikthnghmdepnkhrngaerk txmainyuorpyukhklang nganekhiynkhxngekelnekiywkbkaywiphakhsastrklaymaepntarahlkkhxnghlksutrkareriynaephthyinmhawithyaly aetkmixupsrrkhenuxngcakkarhyudchangkaelakhwamsbesakhxngkarsuksa inthswrrsthi 1530 nkkaywiphakhaelaaephthychawebleyiymchuxwa aexnedriys ewsaeliys Andreas Vesalius idaepltarakhxngekelncakphasakrikepnphasalatin ngankhxngewsaeliysxnmichuxesiyngchuxwa De humani corporis fabrica idrbxiththiphlxyangmakcaknganekhiynkhxngekeln enuxngcakewsaeliystxngkarcaruxfunwithikaraelathsnkhtikarsuksakhxngekeln ekhacungthakarchaaehlarangkaymnusythuxepnkarptiwtiprchyathrrmchatikhxngekeln ewsaeliysthuxepnphuruxfunnganekhiynkhxngekelnaelathaihekelnepnthiruckmakkhunphanthanghnngsuxaelangansxn tngaetmikaraepltaraswnihykhxngekelnepnphasaxahrbthaihchawtawnxxkklangruckaelaeriykekhawa Jalinos calinxs ekelnepnphuthisamarthcaaenkhlxdeluxdda siaedngekhm xxkcakhlxdeluxdaedng sicangkwaaelaelkkwa sungthahnathiaetktangkn odyechuxwaeluxddamitnkaenidmacaktb aelaeluxdaedngmitnkaenidcakhwic eluxdcaihlcakxwywaehlaniipihswntang khxngrangkayidnaipich karrksaorkhekuxbthukorkhkhxngekelnody bloodletting mixiththiphlxyangmakaelamikarptibticnthungkhriststwrrsthi 19xangxing Galen Encyclopaedia Britannica Vol IV Encyclopaedia Britannica Inc 1984 p 385 Nutton Vivian May 1973 The Chronology of Galen s Early Career The Classical Quarterly 2 23 1 169 ISSN 0009 8388 subkhnemux 2007 07 02 How Greek Science Passed to the Arabs Ancient surgery Constantine the African Dear Peter Revolutionizing the Sciences European Knowledge and Its Ambitions 1500 1700 Princeton NJ Princeton University Press 2001 37 39 aehlngkhxmulxunngankhxngekeln Galen On the Natural Faculties English translation Galen Commentary on Hippocrates On the nature of man Galen Exhortation to the Study of the Arts especially Medicine To Menodotus Galen On diagnosis from dreamsxun Galen University 2007 10 14 thi ewyaebkaemchchin Galen 2007 12 10 thi ewyaebkaemchchin Galen University of Dayton 2006 08 19 thi ewyaebkaemchchin Galen A Biographical Sketch 2007 12 29 thi ewyaebkaemchchin Greek Biology and Medicine by Henry Osborn Taylor 1922 2006 02 11 thi ewyaebkaemchchin Greek Biology and Medicine by Henry Osborn Taylor 1922 Chapter 5 The Final System Galen 2007 04 06 thi ewyaebkaemchchin Galen and the Greek Hellenic History of Medicine Misconceptions 2008 03 24 thi ewyaebkaemchchin