กาลานุกรมต้นไม้ หรือ รุกขกาลวิทยา (อังกฤษ: dendrochronology มาจากภาษากรีกว่า δένδρον, dendron, "ต้นไม้"; χρόνος, khronos, "เวลา"; และ -λογία, ) หรือ tree-ring dating เป็นวิธีการวัดหาอายุทางวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์รูปแบบวงเติบโตของต้นไม้ เทคนิคนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 จากความคิดแรกเริ่มของ นักดาราศาสตร์ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยวงเติบโตของต้นไม้ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนา Douglass ได้ค้นหาความเข้าใจในรอบของจุดดับบนดวงอาทิตย์และให้เหตุผลเอาไว้ได้อย่างถูกต้องว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของดวงอาทิตย์จะมีผลต่อรูปแบบภูมิอากาศบนโลกซึ่งได้ถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของวงเติบโตของต้นไม้ (กล่าวคือ จุดดับบนดวงอาทิตย์ → ภูมิอากาศ → วงเติบโตของต้นไม้) เทคนิคทางกาลานุกรมต้นไม้นี้สามารถหาอายุของวงเติบโตต้นไม้จากไม้หลายชนิดเป็นปีปฏิทินได้อย่างแม่นยำของปีที่วงเติบโตเกิดขึ้น
วงเติบโต
วงเติบโต (growth rings หรือ tree rings หรือ annual rings) สามารถสังเกตเห็นได้ในแนวระดับที่ตัดขวางกับลำต้นของต้นไม้ วงเติบโตเป็นผลมาจากการเติบโตใหม่ของวาสคิวล่าแคมเบียม (vascular cambium) เซลล์เนื้อไม้เมอริสเตมด้านข้างซึ่งเป็นการเติบโตทุติยภูมิ วงที่เห็นนั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการเติบโตตามฤดูกาลในปีหนึ่ง ๆ ดังนั้นวงเติบโตหนึ่ง ๆ ปรกติจะมีอายุหนึ่งปีของต้นไม้ วงเติบโตนี้จะสังเกตได้ชัดเจนกว่าในเขตอบอุ่น (temperate zone) เนื่องจากเป็นเขตที่มีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลที่ชัดเจนกว่า
ส่วนทางด้านในของวงเติบโตจะเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าทำให้เนื้อไม้มีความหนาแน่นน้อยกว่าที่เรียกว่าเนื้อไม้ต้นฤดู (early wood หรือ spring wood หรือ late-spring wood) ส่วนทางด้านนอกของวงเติบโตจะเป็นเนื้อไม้ปลายฤดู (late wood หรือบางทีก็เรียกว่า summer wood) ซึ่งเนื้อไม้จะมีความหนาแน่นมากกว่า คำว่า early wood ดูจะมีความเหมาะสมกว่าคำว่า "spring wood" ด้วยศัพท์คำหลังอาจจะไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาของปีในเขตภูมิอากาศที่เนื้อไม้ต้นฤดูเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน (อย่างเช่นในแคนาดา) หรือฤดูใบไม้ร่วงในพืชบางชนิดในแถบเมดิเตอเรเนียน
ต้นไม้ในเขตอบอุ่นจำนวนมากมีการสร้างวงเติบโตใหม่ล่าสุดหนึ่งวงในแต่ละปีอยู่ทางด้านนอกติดกับเปลือกไม้ สำหรับตลอดช่วงอายุขัยทั้งหมดของต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ นั้นจะมีรูปแบบการบันทึกเป็นวงเติบโตอย่างต่อเนื่องปีต่อปีที่จะสะท้อนถึงสภาพของภูมิอากาศของการเจริญเติบโต ความชุ่มชื้นที่เหมาะสมและมีช่วงของการเติบโตที่ยาวนานเพียงพอจะทำให้วงเติบโตมีขนาดที่กว้าง ขณะที่ในปีที่แห้งแล้งจะส่งผลให้วงเติบโตแคบมาก ๆ สภาพที่เหมาะสมที่ถูกแทรกสลับด้วยสภาพที่แย่อาจยังผลทำให้เกิดวงเติบโตหลายวงในปีหนึ่ง ๆ ก็ได้ มีการพบวงเติบโตที่ผิดพลาดในต้นโอ๊คและต้นเอล์มได้น้อยมาก โดยมีการพบการเติบโตที่ผิดพลาดในต้นโอ๊คในปี 1816 ซึ่งรู้จักกันว่า ต้นไม้ในแถบภูมิภาคเดียวกันมีแนวโน้มที่จะเติบโตพัฒนารูปแบบของวงเติบโตในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ไปในลักษณะเดียวกัน ลักษณะรูปแบบวงเติบโตดังกล่าวสามารถนำไปเปรียบเทียบและทับซ้อนจากวงสู่วงของต้นไม้ที่เจริญเติบโตในแถบภูมิภาคเดียวกันและอยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบเดียวกันได้ การเปรียบเทียบและการทับซ้อนในรูปแบบของวงเติบโตจากต้นไม้ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันย้อนหลังกลับไปในอดีตทำให้เราสามารถสร้างกาลานุกรมขึ้นมาสำหรับภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้ ดังนั้นโครงสร้างไม้ในอดีตสามารถนำไปทับซ้อนเพื่อให้รู้กาลานุกรม ซึ่งเป็นเทคนิคที่เรียกว่าการเปรียบเทียบลักษณะโดยการเชื่อมโยง (cross-dating) และสามารถหาอายุของต้นไม้ได้อย่างแม่นยำ ในช่วงแรก ๆ ของการเปรียบเทียบลักษณะโดยการเชื่อมโยงนั้นถูกนำมาใช้โดยการนำวงเติบโตไปเปรียบเทียบทับซ้อนด้วยสายตาซึ่งต่อมาได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำการทับซ้อนด้วยวิธีการทางสถิติ
เพื่อที่จะกำจัดความแปรผันโดด ๆ ที่ผิดปรกติในวงเติบโตของต้นไม้ นักกาลานุกรมต้นไม้จะทำการหาค่าเฉลี่ยในความกว้างของวงเติบโตต้นไม้จากหลาย ๆ ตัวอย่างเพื่อที่จะสร้างประวัติของวงเติบโต กระบวนการนี้เรียกว่าการสร้างจำลอง (replication) ประวัติของวงเติบโตหนึ่ง ๆ ที่ไม่ทราบเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดจะเรียกว่ากาลานุกรมลอย (floating chronology) ซึ่งสามารถยึดโยงได้ด้วยการเปรียบเทียบลักษณะโดยการเชื่อมโยงรูปแบบกับกาลานุกรมอื่น ๆ ที่รู้ช่วงเวลา ได้มีการยึดโยงในกาลานุกรมอย่างเต็มรูปแบบย้อนหลังกลับไปได้มากกว่า 10,000 ปีสำหรับต้นโอ๊คแม่น้ำ (river oak) ในเยอรมนีใต้ (จากแม่น้ำเมนและแม่น้ำไรน์) ได้มีการยึดโยงในกาลานุกรมอย่างเต็มรูปแบบอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งย้อนหลังกลับไปได้ถึง 8,500 ปีสำหรับสนไพน์บริสเทิลโคนทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา (ไวต์เมาเทนส์ แคลิฟอร์เนีย). นอกจากนี้ลำดับกาลานุกรมจากการศึกษากาลานุกรมต้นไม้ทั้งสองแห่งนี้ได้รับการศึกษาเปรียบเทียบยืนยันกับการหาอายุโดยวิธีเรดิโอคาร์บอนแล้ว ในปี 2004 ได้มีการสร้างเส้นกราฟปรับชดเชยค่าอายุ (calibration curve) INTCAL04 ขึ้นมาใหม่ ที่ถูกนำไปใช้ปรับชดเชยค่าอย่างเป็นสากลย้อนหลังกลับไปได้ถึง 26,000 ปีก่อนปัจจุบันจากค่าที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกของชุดข้อมูลวงเติบโตต้นไม้และตะกอนทะเล
การเก็บตัวอย่างและการหาอายุ
ตัวอย่างแท่งเจาะเนื้อไม้สำหรับวัดขนาดความกว้างของวงเติบโต โดยการนำตัวอย่างไม้จากต่างสถานที่กันและต่างลำดับชั้นตะกอนในพื้นที่ย่านเดียวกันทำให้นักวิจัยสามารถสร้างลำดับประวัติคร่าว ๆ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ไม้โบราณจากอาคารสามารถหาอายุและระบุได้ว่ามันเคยมีชีวิตอยู่เมื่อไรและทราบอายุแก่ที่สุดของมันได้ ต้นไม้บางสกุลมีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ดังกล่าวได้ดีกว่าต้นไม้บางสกุล ในลักษณะเดียวกันต้นไม้ที่พบเติบโตอยู่ในขอบพื้นที่เช่นในขอบพื้นที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้งจะวิเคราะห์ได้ผลดีกว่าในพื้นที่ชุ่มชื้น เทคนิคนี้มีความสำคัญในการหาอายุไม้ทางโบราณคดีที่เกิดเติบโตบริเวณหน้าผาของไม้พื้นเมืองอเมริกาในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้
ประโยชน์ของกาลานุกรมต้นไม้คือเป็นวัตถุที่ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิตที่สามารถหาอายุได้อย่างแม่นยำที่จะบอกได้ถึงปีปฏิทินที่จะถูกใช้ในการปรับค่าชดเชยค่าอายุจากเรดิโอคาร์บอนจากการประมาณช่วงค่าอายุที่เกิดจากจุดตัดของเรดิโอคาร์บอนเป็นปีก่อนปัจจุบันหรือ'B'efore 'P'resent, เมื่อปัจจุบันเป็น ) และปีปฏิทิน สนไพน์บริสเติลโคนซึ่งมีอายุยืนมากและเจริญเติบโตช้าจะถูกนำมาใช้ในวัตถุประสงค์นี้ ด้วยการใช้ต้นที่ยังมีชีวิตอยู่และตัวอย่างไม้ที่ตายแล้วเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบวงเติบโตย้อนหลังกลับไปนับเป็นพัน ๆ ปี ในบางพื้นที่สามารถหาค่าอายุย้อนหลังกลับไปได้มากกว่า 10,000 ปีทีเดียว
นักกาลานุกรมต้นไม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ซึ่งรวมถึงมดบางชนิดที่อาศัยต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัยและเข้าไปถึงเนื้อไม้ซึ่งไปทำลายโครงสร้างวงเติบโตของไม้ได้
รูปแบบการแปรผันเป็นฤดูกาลที่คล้ายกันนี้ก็พบได้ในแท่งตัวอย่างน้ำแข็งและชั้นตะกอนที่สะสมตัวในทะเลสาบ แม่น้ำ หรือท้องทะเล รูปแบบการสะสมตัวจากแท่งตัวอย่างจะแปรผันจากทะเลสาบที่น้ำแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็งกับที่ไม่แข็งตัวเป็นน้ำแข็งและรวมถึงลักษณะความละเอียดของตะกอน เหล่านี้จะถูกนำไปใช้หาอายุในลักษณะที่คล้ายกับวิธีการทางกาลานุกรมต้นไม้ และเทคนิคเหล่านี้จะถูกนำมาผสมผสานกันกับกาลานุกรมต้นไม้เพื่ออุดช่องว่างและขยายช่วงของข้อมูลฤดูกาลให้กับนักโบราณคดีได้
ขณะที่นักโบราณคดีก็อาจประสบความล้มเหลวในการนำตัวอย่างชิ้นไม้ไปหาอายุ มันอาจเป็นการยากที่จะหาอายุที่แท้จริงของอาคารหรือโครงสร้างที่มีไม้อยู่ ไม้เหล่านี้อาจถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งจากโครงสร้างเก่าดั้งเดิม หรือมันอาจตกหล่นและถูกทิ้งร้างไว้นานหลายปีก่อนที่จะถูกนำมาใช้ หรืออาจจะถูกนำมาซ่อมแซมทดแทนชิ้นไม้ส่วนที่ผุพังเสียหายก็ได้
กฎของกาลานุกรมต้นไม้
เป็นกฎพื้นฐานในการศึกษาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีต คือ Principle of uniformity in the order of nature ที่เสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ในปี 1785 และเป็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า “” เมื่อประยุกต์กฎข้อนี้ในทางกาลานุกรมต้นไม้แล้วกล่าวได้ว่า สภาวะต่าง ๆ ที่แปรผันในปัจจุบันสามารถนำไปทดแทนในอดีตได้ ซึ่งไม่ใช่หมายความว่าจะเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง เพียงแต่สิ่งกระทบในลักษณะเดียวกันจะส่งผลในกระบวนการในลักษณะเดียวกัน กฎของกาลานุกรมต้นไม้ประกอบด้วยกฎย่อย ๆ ดังนี้
- The Uniformitarian Principle
กระบวนการทางกายภาพและชีวภาพที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกับรูปแบบการเติบโตของต้นไม้ในปัจจุบันต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต (after Fritts, 1976) อย่างไรก็ตามกาลานุกรมต้นไม้ได้เพิ่มเติมกฎข้อนี้ก็คือ “” หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรู้สภาพแวดล้อมในอดีต เราก็สามารถที่จะทำนายและจัดการสภาพแวดล้อมในอนาคตได้
- The Principle of Limiting Factors
กล่าวว่า - อัตราของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับพืชสามารถเกิดขึ้นได้เร็วเท่าที่จะยินยอมได้โดยปัจจัยที่มีลักษณะจำกัดที่สุดเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าการตกของฝนเป็นปัจจัยที่มีลักษณะจำกัดที่สุด จำนวนเนื้อไม้ที่ต้นไม้จะผลิตขึ้นในปีหนึ่ง ๆ ก็จะเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาภายในปีนั้น ๆ ค่าปริมาณน้ำฝนต่อปีเป็นปัจจัยที่จำกัดที่สุดของการเจริญเติบโตของพืชในเขตพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ยิ่งมีปริมาณน้ำฝนมากวงปีก็จะกว้างมาก ในเขตละติจูดสูงอุณหภูมิจะเป็นปัจจัยที่จำกัดที่สุดที่จะมีผลต่อความกว้างของวงเติบโต
- The Principle of Aggregate Tree Growth
กล่าวว่า - ชุดลำดับของการเจริญเติบโตของต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ สามารถแตกแยกย่อยไปเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์และโดยธรรมชาติที่จะมีผบกระทบต่อรูปแบบการเจริญเติบโตของต้นไม้ตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่น การเกิดวงเติบโตของต้นไม้ในปีหนึ่ง ๆ เป็นหน้าที่ของผลรวมของปัจจัยดังนี้: - แนวโน้มการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับอายุอันเนื่องมาจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการหาอายุทางกายภาพปกติทั่วไป - ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างปีนั้น มีหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นในป่า (เช่น ลมโค่นต้นไม้ลง) - เกิดปัจจัยจากภายนอกป่า (เช่น การระบาดของแมลงทำให้ใบไม้ร่วง ยังผลให้ลดการเจริญเติบโต) - กระบวนการสุ่มไม่นับรวมกับกระบวนการอื่น ๆ เหล่านี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการ ควรจะลดปัจจัยอื่น ๆ ลงไป ตัวอย่างเช่น เพื่อเพิ่มสิ่งกระตุ้นสูงสุดทางภูมิอากาศ ควรจะกำจัดแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับอายุ และต้นไม้และพื้นที่ที่ถูกคัดเลือกเพื่อที่จะลดความเป็นไปได้สูงสุดของกระบวนการทางนิเวศวิทยาทั้งจากภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
- The Principle of Ecological Amplitude
กล่าวว่า - สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจเจริญเติบโต สืบพันธุ์ และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางหรือแคบหรืออาจจะอยู่ในขอบเขตถิ่นอาศัยที่จำกัดได้ ตัวอย่างเช่น สนไพน์พอนเดอโรซ่า (Pinus ponderosa) มีการแผ่ขยายปกคลุมไปกว้างขวางเป็นอย่างมากในอเมริกาเหนือ โดยสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ในถิ่นอาศัยที่หลากหลาย (แห้งแล้ง ชุ่มชื้น ในระดับพื้นที่ต่ำ และที่สูง) ดังนั้นสนไพน์พอนเดอโรซ่านี้จึงมีช่วงความทนทานทางนิเวศวิทยาที่กว้างขวาง ในทางกลับกัน ต้นเรดวู้ดยักษ์ (Sequoiadendron giganteum) เจริญเติบโตได้เฉพาะในพื้นที่จำกัดอยู่ทางพื้นที่ด้านตะวันตกของป่าเซียร่าเนวาดาของแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ดังนั้นสนเรดวู้ดยักษ์นี้จึงมีช่วงความทนทานทางนิเวศวิทยาที่แคบ กฎข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะว่าชนิดพืชที่มีประโยชน์ในทางกาลานุกรมต้นไม้ปกติแล้วจะพบอยู่ใกล้บริเวณขอบของช่วงธรรมชาติของมันเหล่านั้น อย่างเช่น สนสปรูซขาว (Picea glauca)
- The Principle of Site Selection
กล่าวว่า - สถานที่ที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งศึกษากาลานุกรมต้นไม้นั้น สามารถถูกกำหนดและเลือกได้ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ควรเป็นบริเวณที่มีต้นไม้ที่มีชุดของวงเติบโตที่ตอบสนองต่อความแปรผันของสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะศึกษา ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ที่จะตอบสนองเป็นการเฉพาะต่อสภาวะที่แห้งแล้งปกติจะพบได้ในที่ที่มีปริมาณน้ำฝนจำกัด ตัวอย่างเช่น บริเวณพื้นที่หินโผล่ หรือบนสันเขา ดังนั้นนักกาลานุกรมต้นไม้ผู้ที่สนใจสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งในอดีตควรเสนอเก็บตัวอย่างต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตในพื้นที่ที่รู้ว่ามีความจำกัดในแหล่งน้ำ ต้นไม้ที่เจริญเติบโตในพื้นที่ต่ำหรือพื้นที่มีความชุ่มชื้นสูงจะให้ชุดของวงเติบโตที่ตอบสนองต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อย นักกาลานุกรมต้นไม้ต้องเลือกพื้นที่ที่จะตอบสนองสูงสุดต่อสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะศึกษา
- The Principle of Crossdating
กล่าวว่า - รูปแบบการทับซ้อนในความกว้างของวงเติบโตหรือลักษณะของวงเติบโตอื่น ๆ (อย่างเช่น รูปแบบความหนาแน่นของวงเติบโต) ในบรรดาลำดับชุดของวงเติบโตของไม้หลาย ๆ ชุดทำให้สามารถวินิจฉัยปีปฏิทินที่ชัดเจนแน่นอนในที่ซึ่งวงเติบโตแต่ละวงเกิดขึ้น ตัวอย่างอันหนึ่งที่สามารถหาอายุอาคารที่ก่อสร้าง อย่างเช่น โกดังหรือ pueblo ของชาวอินเดีย โดยการทับซ้อนรูปแบบของวงเติบโตของไม้ที่ได้มาจากอาคารกับวงเติบโตของไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ในปัจจุบัน
- The Principle of Replication
กล่าวว่า - สิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะศึกษาสามารถเพิ่มขึ้นได้และลดจำนวนสิ่งรบกวน (noise) ลง ได้โดยการเก็บตัวอย่างชิ้นไม้จากต้นไม้หนึ่ง ๆ มากกว่าหนึ่งชิ้นของลำต้นและมากกว่าหนึ่งต้นต่อหนึ่งพื้นที่ การเก็บตัวอย่างไม้มากกว่าหนึ่งแท่งตัวอย่างจากต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ จะลดจำนวนความแปรผันภายในของต้นไม้ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า จำนวนสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปรารถนาก่อให้เกิดความผิดปกติกับต้นไม้เพียงต้นเดียวเท่านั้น การเก็บชิ้นตัวอย่างไม้หลาย ๆ ชิ้นจากแหล่งหนึ่ง ๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะลดจำนวนของลักษณะที่ถูกรบกวนลง (ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างเช่นมลพิษทางอากาศ)
การประยุกต์
กาลานุกรมในยุโรปที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างไม้พบว่าประสบความยุ่งยากในการเชื่อมต่อช่องว่างของเหตุการณ์ในศตวรรษที่ 14 เมื่อพบว่ามีการหยุดการก่อสร้างอาคารในช่วงที่มีการระบาดของกาฬโรค
ในหลายพื้นที่ที่สามารถพยากรณ์ภูมิอากาศได้อย่างน่าเชื่อถือ ต้นไม้ได้พัฒนาวงเติบโตด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามดินฟ้าอากาศ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ฯลฯ ในปีที่ต่างกัน ความแปรผันเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้ในการอนุมานความแปรผันของภูมิอากาศในอดีตได้
ตัวอย่างไม้หนึ่ง ๆ ความแปรผันในวงเติบโตไม่ได้บอกแค่การทับซ้อนเรื่องเวลาเป็นปี มันยังสามารถทับซ้อนเกี่ยวกับตำแหน่งที่มันเคยเจริญเติบโต ด้วยภูมิอากาศในภูมิภาคหนึ่ง ๆ ไม่เหมือนกันโดยตลอด นี้ทำให้เป็นไปได้ที่จะหาแหล่งของเรือรวมถึงชิ้นงานที่ทำจากไม้ที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปด้วยระยะทางไกล อย่างเช่นแท่นไม้สำหรับวาดระบายภาพสี เป็นต้น
อ้างอิง
- ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
- Lori Martinez (1996). ""Useful Tree Species for Tree-Ring Dating"". สืบค้นเมื่อ 2008-11-08.
- Friedrich M, Remmele S, Kromer B, Hofmann J, Spurk M, Kaiser KF, Orcel C, Küppers M (2004). "The 12,460-year Hohenheim oak and pine tree-ring chronology from central Europe — A unique annual record for radiocarbon calibration and paleoenvironment reconstructions". Radiocarbon. 46: 1111–1122.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Pilcher JR (1984). "A 7,272-year tree-ring chronology for western Europe". Nature. 312: 150–152. doi:10.1038/312150a0.
- Ferguson CW, Graybill DA (1983). "Dendrochronology of Bristlecone Pine: A Progress Report". Radiocarbon. 25: 287–288.
- Stuiver Minze, Kromer Bernd, Becker Bernd, Ferguson CW (1986). "Radiocarbon Age Calibration back to 13,300 Years BP and the 14C Age Matching of the German Oak and US Bristlecone Pine Chronologies". Radiocarbon. 28 (2): 969–979. ISSN 0033-8222.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Reimer Paula J, Baillie Mike GL, Bard Edouard, Bayliss Alex, Beck J Warren, Bertrand Chanda JH, Blackwell Paul G, Buck Caitlin E, Burr George S, Cutler Kirsten B, Damon Paul E, Edwards R Lawrence, Fairbanks Richard G, Friedrich Michael, Guilderson Thomas P, Hogg Alan G, Hughen Konrad, Kromer Bernd, McCormac Gerry, Manning Sturt, Ramsey Christopher Bronk, Reimer Ron W, Remmele Sabine, Southon John R, Stuiver Minze, Talamo Sahra, Taylor FW, van der Plicht Johannes, Weyhenmeyer Constanze E (2004). (PDF). Radiocarbon. 46 (3): 1029–1058. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Renfrew Colin, Bahn Paul (2004). Archaeology: Theories, Methods and Practice (Fourth ed.). London: Thames & Hudson. pp. 144–145. ISBN .
- "Bibliography of Dendrochronology". Switzerland: ETH Forest Snow and Landscape Research. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.[]
- Baillie Mike (1997). A Slice Through Time. London: Batsford. p. 124. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- Henri D. Grissino-Mayer's Ultimate Tree Ring Web Pages 2013-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Laboratory of Tree-Ring Research at the
- Wiener Laboratory for Aegean and Near Eastern Dendrochronology at Cornell University
- University of Tennessee Dendrochronology 2009-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Oxford Dendrochronology Laboratory
- University of Victoria Tree Ring Laboratory 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- WST Online Glossary of Dendrochronology 2007-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at
- Mount Allison University Dendrochronology Laboratory, Canada 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at
- Linda Brubaker, UW professor of dendrochronology, 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน shows how dendrochronological research helps us reconstruct prior climate conditions and advance our knowledge of the effects of global climate change
- Nottingham Tree-Ring Dating Laboratory
- Laboratorio de Dendrocronología Universidad Austral de Chile, Valdivia
- International Tree-Ring Data Bank
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
kalanukrmtnim hrux rukkhkalwithya xngkvs dendrochronology macakphasakrikwa dendron dendron tnim xronos khronos ewla aela logia hrux tree ring dating epnwithikarwdhaxayuthangwithyasastrodykarwiekhraahrupaebbwngetibotkhxngtnim ethkhnikhniidrbkarphthnakhunmakhrngaerkrahwangchwngkhrungaerkkhxngstwrrsthi 20 cakkhwamkhidaerkerimkhxng nkdarasastrphukxtnghxngptibtikarwicywngetibotkhxngtnimthimhawithyalyaexriosna Douglass idkhnhakhwamekhaicinrxbkhxngcuddbbndwngxathityaelaihehtuphlexaiwidxyangthuktxngwakarepliynaeplnginphvtikrrmkhxngdwngxathitycamiphltxrupaebbphumixakasbnolksungidthukbnthukiwinrupaebbkhxngwngetibotkhxngtnim klawkhux cuddbbndwngxathity phumixakas wngetibotkhxngtnim ethkhnikhthangkalanukrmtnimnisamarthhaxayukhxngwngetibottnimcakimhlaychnidepnpiptithinidxyangaemnyakhxngpithiwngetibotekidkhunkarecaatwxyangsahrbkarsuksakalanukrmtnimaelakarnbwngetibotwngetibotwngetibot growth rings hrux tree rings hrux annual rings samarthsngektehnidinaenwradbthitdkhwangkblatnkhxngtnim wngetibotepnphlmacakkaretibotihmkhxngwaskhiwlaaekhmebiym vascular cambium esllenuximemxrisetmdankhangsungepnkaretibotthutiyphumi wngthiehnnnepnphlmacakkarepliynaeplngkhwamerwkhxngkaretibottamvdukalinpihnung dngnnwngetibothnung prkticamixayuhnungpikhxngtnim wngetibotnicasngektidchdecnkwainekhtxbxun temperate zone enuxngcakepnekhtthimikhwamaetktangrahwangvdukalthichdecnkwa wngetibotkhxngtnimchnidhnungthiimruckchuxcakswnstwbristxl praethsxngkvs swnthangdaninkhxngwngetibotcaekidkhuninchwngtnvdusungcamixtrakarecriyetibotthisungkwathaihenuximmikhwamhnaaennnxykwathieriykwaenuximtnvdu early wood hrux spring wood hrux late spring wood swnthangdannxkkhxngwngetibotcaepnenuximplayvdu late wood hruxbangthikeriykwa summer wood sungenuximcamikhwamhnaaennmakkwa khawa early wood ducamikhwamehmaasmkwakhawa spring wood dwysphthkhahlngxaccaimsxdkhlxngkbchwngewlakhxngpiinekhtphumixakasthienuximtnvduekidkhuninchwngvdurxn xyangechninaekhnada hruxvduibimrwnginphuchbangchnidinaethbemdietxereniyn Pinus taeda aephntdkhwangaesdngwngetibotkhxngsn Pinus taeda cak Cheraw thang South Carolina tniminekhtxbxuncanwnmakmikarsrangwngetibotihmlasudhnungwnginaetlapixyuthangdannxktidkbepluxkim sahrbtlxdchwngxayukhythnghmdkhxngtnimtnhnung nncamirupaebbkarbnthukepnwngetibotxyangtxenuxngpitxpithicasathxnthungsphaphkhxngphumixakaskhxngkarecriyetibot khwamchumchunthiehmaasmaelamichwngkhxngkaretibotthiyawnanephiyngphxcathaihwngetibotmikhnadthikwang khnathiinpithiaehngaelngcasngphlihwngetibotaekhbmak sphaphthiehmaasmthithukaethrkslbdwysphaphthiaeyxacyngphlthaihekidwngetibothlaywnginpihnung kid mikarphbwngetibotthiphidphladintnoxkhaelatnexlmidnxymak odymikarphbkaretibotthiphidphladintnoxkhinpi 1816 sungruckknwa tniminaethbphumiphakhediywknmiaenwonmthicaetibotphthnarupaebbkhxngwngetibotinchwngewlahnung ipinlksnaediywkn lksnarupaebbwngetibotdngklawsamarthnaipepriybethiybaelathbsxncakwngsuwngkhxngtnimthiecriyetibotinaethbphumiphakhediywknaelaxyuphayitsphaphphumixakasaebbediywknid karepriybethiybaelakarthbsxninrupaebbkhxngwngetibotcaktnimthimichiwitxyuinpccubnyxnhlngklbipinxditthaiherasamarthsrangkalanukrmkhunmasahrbphumiphakhtang khxngolkid dngnnokhrngsrangiminxditsamarthnaipthbsxnephuxihrukalanukrm sungepnethkhnikhthieriykwakarepriybethiyblksnaodykarechuxmoyng cross dating aelasamarthhaxayukhxngtnimidxyangaemnya inchwngaerk khxngkarepriybethiyblksnaodykarechuxmoyngnnthuknamaichodykarnawngetibotipepriybethiybthbsxndwysaytasungtxmaidmikarichkhxmphiwetxrthakarthbsxndwywithikarthangsthiti ephuxthicakacdkhwamaeprphnodd thiphidprktiinwngetibotkhxngtnim nkkalanukrmtnimcathakarhakhaechliyinkhwamkwangkhxngwngetibottnimcakhlay twxyangephuxthicasrangprawtikhxngwngetibot krabwnkarnieriykwakarsrangcalxng replication prawtikhxngwngetibothnung thiimthrabewlaerimtnaelaewlasinsudcaeriykwakalanukrmlxy floating chronology sungsamarthyudoyngiddwykarepriybethiyblksnaodykarechuxmoyngrupaebbkbkalanukrmxun thiruchwngewla idmikaryudoynginkalanukrmxyangetmrupaebbyxnhlngklbipidmakkwa 10 000 pisahrbtnoxkhaemna river oak ineyxrmniit cakaemnaemnaelaaemnairn idmikaryudoynginkalanukrmxyangetmrupaebbxiktwxyanghnungsungyxnhlngklbipidthung 8 500 pisahrbsniphnbrisethilokhnthangtawntkechiyngitkhxngshrthxemrika iwtemaethns aekhlifxreniy nxkcakniladbkalanukrmcakkarsuksakalanukrmtnimthngsxngaehngniidrbkarsuksaepriybethiybyunynkbkarhaxayuodywithierdioxkharbxnaelw inpi 2004 idmikarsrangesnkrafprbchdechykhaxayu calibration curve INTCAL04 khunmaihm thithuknaipichprbchdechykhaxyangepnsaklyxnhlngklbipidthung 26 000 pikxnpccubncakkhathiidrbkaryxmrbthwolkkhxngchudkhxmulwngetibottnimaelatakxnthaelkarekbtwxyangaelakarhaxayutximsniphnaesdngwngetibot twxyangaethngecaaenuximsahrbwdkhnadkhwamkwangkhxngwngetibot odykarnatwxyangimcaktangsthanthiknaelatangladbchntakxninphunthiyanediywknthaihnkwicysamarthsrangladbprawtikhraw thiklayepnswnhnungkhxngbnthukthangwithyasastr twxyangechn imobrancakxakharsamarthhaxayuaelarabuidwamnekhymichiwitxyuemuxiraelathrabxayuaekthisudkhxngmnid tnimbangskulmikhwamehmaasminkarwiekhraahdngklawiddikwatnimbangskul inlksnaediywkntnimthiphbetibotxyuinkhxbphunthiechninkhxbphunthiaehngaelnghruxkungaehngaelngcawiekhraahidphldikwainphunthichumchun ethkhnikhnimikhwamsakhyinkarhaxayuimthangobrankhdithiekidetibotbriewnhnaphakhxngimphunemuxngxemrikainphunthiaehngaelngthangtawntkechiyngit praoychnkhxngkalanukrmtnimkhuxepnwtthuthikhrnghnungekhymichiwitthisamarthhaxayuidxyangaemnyathicabxkidthungpiptithinthicathukichinkarprbkhachdechykhaxayucakerdioxkharbxncakkarpramanchwngkhaxayuthiekidcakcudtdkhxngerdioxkharbxnepnpikxnpccubnhrux B efore P resent emuxpccubnepn aelapiptithin sniphnbrisetilokhnsungmixayuyunmakaelaecriyetibotchacathuknamaichinwtthuprasngkhni dwykarichtnthiyngmichiwitxyuaelatwxyangimthitayaelwephuxihthrabthungrupaebbwngetibotyxnhlngklbipnbepnphn pi inbangphunthisamarthhakhaxayuyxnhlngklbipidmakkwa 10 000 pithiediyw nkkalanukrmtnimtxngephchiykbxupsrrkhmakmay sungrwmthungmdbangchnidthixasytnimepnthixyuxasyaelaekhaipthungenuximsungipthalayokhrngsrangwngetibotkhxngimid rupaebbkaraeprphnepnvdukalthikhlayknnikphbidinaethngtwxyangnaaekhngaelachntakxnthisasmtwinthaelsab aemna hruxthxngthael rupaebbkarsasmtwcakaethngtwxyangcaaeprphncakthaelsabthinaaekhngtwklayepnnaaekhngkbthiimaekhngtwepnnaaekhngaelarwmthunglksnakhwamlaexiydkhxngtakxn ehlanicathuknaipichhaxayuinlksnathikhlaykbwithikarthangkalanukrmtnim aelaethkhnikhehlanicathuknamaphsmphsanknkbkalanukrmtnimephuxxudchxngwangaelakhyaychwngkhxngkhxmulvdukalihkbnkobrankhdiid khnathinkobrankhdikxacprasbkhwamlmehlwinkarnatwxyangchinimiphaxayu mnxacepnkaryakthicahaxayuthiaethcringkhxngxakharhruxokhrngsrangthimiimxyu imehlanixacthuknaklbmaichxikkhrngcakokhrngsrangekadngedim hruxmnxactkhlnaelathukthingrangiwnanhlaypikxnthicathuknamaich hruxxaccathuknamasxmaesmthdaethnchinimswnthiphuphngesiyhaykidkdkhxngkalanukrmtnimepnkdphunthaninkarsuksaid thiekiywkhxngkbxdit khux Principle of uniformity in the order of nature thiesnxkhunepnkhrngaerkody inpi 1785 aelaepnthiklawknodythwipwa emuxprayuktkdkhxniinthangkalanukrmtnimaelwklawidwa sphawatang thiaeprphninpccubnsamarthnaipthdaethninxditid sungimichhmaykhwamwacaehmuxnknipesiythukxyang ephiyngaetsingkrathbinlksnaediywkncasngphlinkrabwnkarinlksnaediywkn kdkhxngkalanukrmtnimprakxbdwykdyxy dngni The Uniformitarian Principle krabwnkarthangkayphaphaelachiwphaphthiekiywenuxngkbkrabwnkarthangsingaewdlxminpccubnkbrupaebbkaretibotkhxngtniminpccubntxngepnsingthiekidkhuninxdit after Fritts 1976 xyangirktamkalanukrmtnimidephimetimkdkhxnikkhux hruxklawidwa emuxrusphaphaewdlxminxdit eraksamarththicathanayaelacdkarsphaphaewdlxminxnakhtid The Principle of Limiting Factors klawwa xtrakhxngkrabwnkarthiekiywkhxngkbphuchsamarthekidkhuniderwethathicayinyxmidodypccythimilksnacakdthisudethann yktwxyangechn thakartkkhxngfnepnpccythimilksnacakdthisud canwnenuximthitnimcaphlitkhuninpihnung kcaepniptamprimannafnthitklngmaphayinpinn khaprimannafntxpiepnpccythicakdthisudkhxngkarecriyetibotkhxngphuchinekhtphunthiaehngaelngaelakungaehngaelng yingmiprimannafnmakwngpikcakwangmak inekhtlaticudsungxunhphumicaepnpccythicakdthisudthicamiphltxkhwamkwangkhxngwngetibot The Principle of Aggregate Tree Growth klawwa chudladbkhxngkarecriyetibotkhxngtnimtnhnung samarthaetkaeykyxyipepnxngkhprakxbxnhnungkhxngpccysingaewdlxmtang thngthiekidkhunodymnusyaelaodythrrmchatithicamiphbkrathbtxrupaebbkarecriyetibotkhxngtnimtamkalewla yktwxyangechn karekidwngetibotkhxngtniminpihnung epnhnathikhxngphlrwmkhxngpccydngni aenwonmkaretibotthiekiywkhxngkbxayuxnenuxngmacakkrabwnkarthiekiywkhxngkbkarhaxayuthangkayphaphpktithwip phumixakasthiekidkhunrahwangpinn mihlaypccythiekidkhuninpa echn lmokhntnimlng ekidpccycakphaynxkpa echn karrabadkhxngaemlngthaihibimrwng yngphlihldkarecriyetibot krabwnkarsumimnbrwmkbkrabwnkarxun ehlani dngnn ephuxepnkarephimsingkratunthangsingaewdlxmtamthitxngkar khwrcaldpccyxun lngip twxyangechn ephuxephimsingkratunsungsudthangphumixakas khwrcakacdaenwonmthiekiywkhxngkbxayu aelatnimaelaphunthithithukkhdeluxkephuxthicaldkhwamepnipidsungsudkhxngkrabwnkarthangniewswithyathngcakphayinaelaphaynxkthisngphlkrathbtxkarecriyetibotkhxngtnim The Principle of Ecological Amplitude klawwa singmichiwitthnghlayxacecriyetibot subphnthu aelaaephrkhyayxxkipxyangkwangkhwanghruxaekhbhruxxaccaxyuinkhxbekhtthinxasythicakdid twxyangechn sniphnphxnedxorsa Pinus ponderosa mikaraephkhyaypkkhlumipkwangkhwangepnxyangmakinxemrikaehnux odysamarthecriyetibotxyuidinthinxasythihlakhlay aehngaelng chumchun inradbphunthita aelathisung dngnnsniphnphxnedxorsanicungmichwngkhwamthnthanthangniewswithyathikwangkhwang inthangklbkn tnerdwudyks Sequoiadendron giganteum ecriyetibotidechphaainphunthicakdxyuthangphunthidantawntkkhxngpaesiyraenwadakhxngaekhlifxreniyethann dngnnsnerdwudyksnicungmichwngkhwamthnthanthangniewswithyathiaekhb kdkhxnimikhwamsakhyxyangyingephraawachnidphuchthimipraoychninthangkalanukrmtnimpktiaelwcaphbxyuiklbriewnkhxbkhxngchwngthrrmchatikhxngmnehlann xyangechn snspruskhaw Picea glauca The Principle of Site Selection klawwa sthanthithiehmaasmthicaepnaehlngsuksakalanukrmtnimnn samarththukkahndaelaeluxkidthngnixyubnphunthanaenwkhidthiwa khwrepnbriewnthimitnimthimichudkhxngwngetibotthitxbsnxngtxkhwamaeprphnkhxngsphaphsingaewdlxmthicasuksa yktwxyangechn tnimthicatxbsnxngepnkarechphaatxsphawathiaehngaelngpkticaphbidinthithimiprimannafncakd twxyangechn briewnphunthihinophl hruxbnsnekha dngnnnkkalanukrmtnimphuthisnicsphaphphumixakasthiaehngaelnginxditkhwresnxekbtwxyangtnimthimikarecriyetibotinphunthithiruwamikhwamcakdinaehlngna tnimthiecriyetibotinphunthitahruxphunthimikhwamchumchunsungcaihchudkhxngwngetibotthitxbsnxngtxprimannafnthitknxy nkkalanukrmtnimtxngeluxkphunthithicatxbsnxngsungsudtxsingkratunthangsingaewdlxmthikalngcasuksa The Principle of Crossdating klawwa rupaebbkarthbsxninkhwamkwangkhxngwngetibothruxlksnakhxngwngetibotxun xyangechn rupaebbkhwamhnaaennkhxngwngetibot inbrrdaladbchudkhxngwngetibotkhxngimhlay chudthaihsamarthwinicchypiptithinthichdecnaennxninthisungwngetibotaetlawngekidkhun twxyangxnhnungthisamarthhaxayuxakharthikxsrang xyangechn okdnghrux pueblo khxngchawxinediy odykarthbsxnrupaebbkhxngwngetibotkhxngimthiidmacakxakharkbwngetibotkhxngimthiidmacaktniminpccubn The Principle of Replication klawwa singkratunthangsingaewdlxmthikalngcasuksasamarthephimkhunidaelaldcanwnsingrbkwn noise lng idodykarekbtwxyangchinimcaktnimhnung makkwahnungchinkhxnglatnaelamakkwahnungtntxhnungphunthi karekbtwxyangimmakkwahnungaethngtwxyangcaktnimtnhnung caldcanwnkhwamaeprphnphayinkhxngtnim hruxklawidxikxyanghnungwa canwnsingkratunthangsingaewdlxmthiimprarthnakxihekidkhwamphidpktikbtnimephiyngtnediywethann karekbchintwxyangimhlay chincakaehlnghnung thaihmnicidwacaldcanwnkhxnglksnathithukrbkwnlng pccysingaewdlxmthiyngimidrbkarsuksaxyangechnmlphisthangxakas karprayuktkalanukrminyuorpthiidcakkarwiekhraahokhrngsrangimphbwaprasbkhwamyungyakinkarechuxmtxchxngwangkhxngehtukarninstwrrsthi 14 emuxphbwamikarhyudkarkxsrangxakharinchwngthimikarrabadkhxngkalorkh inhlayphunthithisamarthphyakrnphumixakasidxyangnaechuxthux tnimidphthnawngetibotdwykhunsmbtithiaetktangkniptamdinfaxakas primannafn xunhphumi l inpithitangkn khwamaeprphnehlanixacthuknaipichinkarxnumankhwamaeprphnkhxngphumixakasinxditid twxyangimhnung khwamaeprphninwngetibotimidbxkaekhkarthbsxneruxngewlaepnpi mnyngsamarththbsxnekiywkbtaaehnngthimnekhyecriyetibot dwyphumixakasinphumiphakhhnung imehmuxnknodytlxd nithaihepnipidthicahaaehlngkhxngeruxrwmthungchinnganthithacakimthithukekhluxnyayxxkipdwyrayathangikl xyangechnaethnimsahrbwadrabayphaphsi epntnxangxingsphthbyytisanknganrachbnthityspha Lori Martinez 1996 Useful Tree Species for Tree Ring Dating subkhnemux 2008 11 08 Friedrich M Remmele S Kromer B Hofmann J Spurk M Kaiser KF Orcel C Kuppers M 2004 The 12 460 year Hohenheim oak and pine tree ring chronology from central Europe A unique annual record for radiocarbon calibration and paleoenvironment reconstructions Radiocarbon 46 1111 1122 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Pilcher JR 1984 A 7 272 year tree ring chronology for western Europe Nature 312 150 152 doi 10 1038 312150a0 Ferguson CW Graybill DA 1983 Dendrochronology of Bristlecone Pine A Progress Report Radiocarbon 25 287 288 Stuiver Minze Kromer Bernd Becker Bernd Ferguson CW 1986 Radiocarbon Age Calibration back to 13 300 Years BP and the 14C Age Matching of the German Oak and US Bristlecone Pine Chronologies Radiocarbon 28 2 969 979 ISSN 0033 8222 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Reimer Paula J Baillie Mike GL Bard Edouard Bayliss Alex Beck J Warren Bertrand Chanda JH Blackwell Paul G Buck Caitlin E Burr George S Cutler Kirsten B Damon Paul E Edwards R Lawrence Fairbanks Richard G Friedrich Michael Guilderson Thomas P Hogg Alan G Hughen Konrad Kromer Bernd McCormac Gerry Manning Sturt Ramsey Christopher Bronk Reimer Ron W Remmele Sabine Southon John R Stuiver Minze Talamo Sahra Taylor FW van der Plicht Johannes Weyhenmeyer Constanze E 2004 PDF Radiocarbon 46 3 1029 1058 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2009 03 26 subkhnemux 2009 08 11 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Renfrew Colin Bahn Paul 2004 Archaeology Theories Methods and Practice Fourth ed London Thames amp Hudson pp 144 145 ISBN 0 500 28441 5 Bibliography of Dendrochronology Switzerland ETH Forest Snow and Landscape Research subkhnemux 2007 05 15 lingkesiy Baillie Mike 1997 A Slice Through Time London Batsford p 124 ISBN 978 0713476545 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb wngetibot Henri D Grissino Mayer s Ultimate Tree Ring Web Pages 2013 08 07 thi ewyaebkaemchchin The Laboratory of Tree Ring Research at the Wiener Laboratory for Aegean and Near Eastern Dendrochronology at Cornell University University of Tennessee Dendrochronology 2009 09 20 thi ewyaebkaemchchin Oxford Dendrochronology Laboratory University of Victoria Tree Ring Laboratory 2008 12 19 thi ewyaebkaemchchin WST Online Glossary of Dendrochronology 2007 07 02 thi ewyaebkaemchchin at Mount Allison University Dendrochronology Laboratory Canada 2009 02 18 thi ewyaebkaemchchin at Linda Brubaker UW professor of dendrochronology 2007 09 27 thi ewyaebkaemchchin shows how dendrochronological research helps us reconstruct prior climate conditions and advance our knowledge of the effects of global climate change Nottingham Tree Ring Dating Laboratory Laboratorio de Dendrocronologia Universidad Austral de Chile Valdivia International Tree Ring Data Bank