การกลายพันธุ์ (อังกฤษ: mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ
การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมี 2 ระดับ คือ ระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) และระดับยีนหรือโมเลกุล ดีเอ็นเอ (DNA gene mutation)
การเปลี่ยนแปลงระดับโครโมโซม
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของแต่ละโครโมโซม เป็นผลให้เกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนที่อยู่ในโครโมโซมนั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก
- การขาดหายไป (deletion หรือ deficiency) ของส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม ทำให้ยีนขาดหายไปด้วย เช่น กรณีการเกิดโรคของกลุ่มอาการครี-ดูว์-ชา โดยโครโมโซมคู่ที่ 5 เส้นหนึ่ง มีบางส่วนขาดหายไป
- การเพิ่มขึ้นมา (duplication) โดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่มีอยู่ปกติ
- การเปลี่ยนตำแหน่งทิศทาง (inversion) โดยเกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนภายในโครโมโซมเดียวกัน เนื่องจากเกิดรอยขาด 2 แห่งบนโครโมโซมนั้น และส่วนที่ขาดนั้นไม่หลุดหายไป แต่กลับต่อเข้ามาใหม่ในโครโมโซมเดิมโดยสลับที่กัน
- การเปลี่ยนสลับที่ (translocation) เกิดจากการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม โดยอาจมีจำนวนโครโมโซมเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงไปจากจำนวนปกติ (ดิปลอยด์ หรือ 2n) เกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
- แอนยูพลอยดี (aneuploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนของโครโมโซมเพียงไม่กี่เส้นจากจำนวนปกติ เช่น อาจเป็น 2n ± 1 หรือ n ± 2 การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมแบบนี้ มีความสำคัญทางการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยทั่วไปเกิดจากความผิดปกติของคู่โครโมโซมที่ไม่ยอมแยกตัวออกจากกันในระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เรียกปรากฏการณ์ที่โครโมโซมไม่แยกออกจากกันนี้ว่า นอนดิสจังชัน (nondisjunction) ความผิดปกติของการมีแอนยูพลอยดีที่เกิดขึ้นในคน เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งมีโครโมโซม 47 เส้น โดยโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 เส้น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s Syndrome) มีโครโมโซม 47 เส้น โดยโครโมโซมคู่ที่ 23 มีโครโมโซม X เกินมา 1 เส้น (44 + XXY)
- ยูพลอยดี (euploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนชุดของโครโมโซม (2n ± n หรือ 2n ± 2n) ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเท่าที่พบ เกิดขึ้นในพวกพืช และมีประโยชน์ในทางการเกษตรในแง่การเพิ่มผลผลิต และเป็นกลไกที่จะทำให้เกิดวิวัฒนาการในพืช สำหรับสัตว์เมื่อเกิดแล้วมักจะทำให้เป็นหมัน หรือผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ
การกลายพันธุ์ของยีน
การกลายพันธุ์ของยีน การเปลี่ยนแปลงในระดับยีนนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเบส (A, T, C, G) หรือการเปลี่ยนตำแหน่งของลำดับการเรียงตัวของเบสในโมเลกุลของ DNA ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปถึงตำแหน่งการเรียงตัวของกรดอะมิโน ในสายพอลิเปปไทด์ในโมเลกุลของโปรตีนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยีนนั้นด้วย การเปลี่ยนแปลงของเบสในโมเลกุล DNA ดังกล่าวอาจทำให้ไม่มีการสร้างโปรตีน หรือโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเปลี่ยนสมบัติทางเคมีไปจากเดิม หรือหมดสภาพการทำงานไป
การเปลี่ยนแปลงของยีนนั้นมีพื้นฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประการคือ
- การขาดหายไป หรือการเพิ่มขึ้นมาของคู่สารประกอบไนโตรจีนัลเบส คือเพียวรินไพริมิดีนในสายของ DNA ทำให้การเรียงลำดับของเบสเปลี่ยนไปจากเดิม และผลที่ติดตามมาคือ รหัสพันธุกรรมผิด หรือคลาดเคลื่อนไป
- การเปลี่ยนคู่ของเพียวรินไพริมิดีนในโมเลกุลของ DNA ที่เกิดขึ้นในระหว่างมีการสร้าง DNA ในระยะอินเตอร์เฟส ซึ่งเกิดจากการที่สารเคมีบางชนิดที่มีโครงสร้างคล้ายกับเบสตัวหนึ่งแต่มีสมบัติทางเคมีในเชิงการจับคู่ต่างไปจากเบสตัวนั้น
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในโมเลกุลของเบสเอง ทำให้สมบัติทางเคมีในเชิงจับคู่ของมันเปลี่ยนไป เช่น เบสอะดีนีน (A) เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปใหม่แล้วก็จะไปจับคู่กับเบสไซโตซีน (C) รูปปกติ แทนที่อะดีนีนจะจับคู่กับไทมีน (T) ตามปกติของมัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์
ตัวกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์เรียกว่าสิ่งก่อกลายพันธุ์ (mutagen) เช่น
- รังสี (radiation) รังสีที่กระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์คือ
- Ionizing Radiation เช่น รังสีเอกซ์, รังสีบีตา, รังสีแกมมา
- Non-Ionizing Radiation เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี)
- สารเคมี เช่น สารโคลซิซิน (colchicine) ทำให้ชุดโครโมโซมเพิ่มขึ้นเพื่อให้พืชมีผลผลิตในเวลาไม่นาน สารอะฟลาทอกซิน (aflatoxins) เป็นสารพิษที่ทำให้แบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นสาเหตุของมะเร็งตับได้
- การจัดเรียงเบสในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA replication) ผิดพลาด มีผลทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนเบสในคู่สาย และทำให้เกิดการเลื่อน (shift) ของสายDNA
ประเภทของการกลายพันธุ์
การกลายพันธุ์เกิดกับเซลล์ในร่างกาย 2 ลักษณะ คือ
- เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) เซลล์ชนิดนี้เมื่อเกิดการกลายพันธุ์แล้ว จะไม่ถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป
- เซลล์สืบพันธุ์ (Sex cell) เซลล์เหล่านี้เมื่อเกิดการกลายพันธุ์แล้ว จะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด และส่งผลต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตด้วย
อ้างอิง
- การกลายพันธุ์ หรือ การผ่าเหล่า หรือ มิวเทชั่น (Mutation) คือ อะไร (What is Mutation ?) 2016-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.
- mutagen-มิวทาเจน-หรือสารก่อกลายพันธุ์ 2017-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.foodnetworksolution.com.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karklayphnthu xngkvs mutation hmaythungkarepliynaeplngsphaphkhxngsingmichiwit odyechphaaxyangying karepliynaeplngkhxngyin thaihsingmichiwitekidkhunmaihmmilksnaaetktangcakklumpktikarklayphnthuthiekidkhuninsingmichiwitkarklayphnthuthiekidkhuninsingmichiwitmi 2 radb khux radbokhromosm chromosomal mutation aelaradbyinhruxomelkul diexnex DNA gene mutation karepliynaeplngradbokhromosm karklayphnthuradbokhromosm aebngepn 2 praephthkhux karepliynaeplngruprangokhrngsrangphayinkhxngaetlaokhromosm epnphlihekidkarsbepliyntaaehnngkhxngyinthixyuinokhromosmnn sungxacekidkhunenuxngcak karkhadhayip deletion hrux deficiency khxngswnidswnhnungkhxngokhromosm thaihyinkhadhayipdwy echn krnikarekidorkhkhxngklumxakarkhri duw cha odyokhromosmkhuthi 5 esnhnung mibangswnkhadhayip karephimkhunma duplication odymiswnidswnhnungkhxngokhromosm ephimkhunmamakkwathimixyupkti karepliyntaaehnngthisthang inversion odyekidkarsbepliyntaaehnngkhxngyinphayinokhromosmediywkn enuxngcakekidrxykhad 2 aehngbnokhromosmnn aelaswnthikhadnnimhludhayip aetklbtxekhamaihminokhromosmedimodyslbthikn karepliynslbthi translocation ekidcakkaraelkepliynswnkhxngokhromosmrahwangokhromosmthiimepnohomolkskn karepliynaeplngcanwnokhromosm odyxacmicanwnokhromosmephimmakkhunhruxldnxylngipcakcanwnpkti diplxyd hrux 2n ekidid 2 lksna khux aexnyuphlxydi aneuploidy epnkarephimhruxldcanwnkhxngokhromosmephiyngimkiesncakcanwnpkti echn xacepn 2n 1 hrux n 2 karepliynaeplngkhxngokhromosmaebbni mikhwamsakhythangkaraephthyepnxyangmak odythwipekidcakkhwamphidpktikhxngkhuokhromosmthiimyxmaeyktwxxkcakkninrahwangkaraebngesllaebbimoxsis eriykpraktkarnthiokhromosmimaeykxxkcakknniwa nxndiscngchn nondisjunction khwamphidpktikhxngkarmiaexnyuphlxydithiekidkhuninkhn echn klumxakardawn sungmiokhromosm 47 esn odyokhromosmkhuthi 21 ekinma 1 esn klumxakarikhlnefletxr Klinefelter s Syndrome miokhromosm 47 esn odyokhromosmkhuthi 23 miokhromosm X ekinma 1 esn 44 XXY yuphlxydi euploidy epnkarephimhruxldcanwnchudkhxngokhromosm 2n n hrux 2n 2n swnihyekuxbthnghmdethathiphb ekidkhuninphwkphuch aelamipraoychninthangkarekstrinaengkarephimphlphlit aelaepnklikthicathaihekidwiwthnakarinphuch sahrbstwemuxekidaelwmkcathaihepnhmn hruxphlitesllsubphnthuthiimsamarththanganidxyangpktikarklayphnthukhxngyin karklayphnthukhxngyin karepliynaeplnginradbyinni ekidcakkarepliynaeplngkhxngebs A T C G hruxkarepliyntaaehnngkhxngladbkareriyngtwkhxngebsinomelkulkhxng DNA sungcasngphlsathxnipthungtaaehnngkareriyngtwkhxngkrdxamion insayphxlieppithdinomelkulkhxngoprtinthixyuphayitkarkhwbkhumkhxngyinnndwy karepliynaeplngkhxngebsinomelkul DNA dngklawxacthaihimmikarsrangoprtin hruxoprtinthisrangkhunmannepliynsmbtithangekhmiipcakedim hruxhmdsphaphkarthanganip karepliynaeplngkhxngyinnnmiphunthanmacakkarepliynaeplngin 3 prakarkhux karkhadhayip hruxkarephimkhunmakhxngkhusarprakxbinotrcinlebs khuxephiywriniphrimidininsaykhxng DNA thaihkareriyngladbkhxngebsepliynipcakedim aelaphlthitidtammakhux rhsphnthukrrmphid hruxkhladekhluxnip karepliynkhukhxngephiywriniphrimidininomelkulkhxng DNA thiekidkhuninrahwangmikarsrang DNA inrayaxinetxrefs sungekidcakkarthisarekhmibangchnidthimiokhrngsrangkhlaykbebstwhnungaetmismbtithangekhmiinechingkarcbkhutangipcakebstwnn karepliynaeplngokhrngsrangphayinomelkulkhxngebsexng thaihsmbtithangekhmiinechingcbkhukhxngmnepliynip echn ebsxadinin A emuxekidkarepliynaeplngepnrupihmaelwkcaipcbkhukbebsisotsin C ruppkti aethnthixadinincacbkhukbithmin T tampktikhxngmnpccythithaihekidkarklayphnthutwkratunihekidkarklayphnthueriykwasingkxklayphnthu mutagen echn rngsi radiation rngsithikratunihekidkarklayphnthukhux Ionizing Radiation echn rngsiexks rngsibita rngsiaekmma Non Ionizing Radiation echn rngsixltraiwoxelt rngsiyuwi sarekhmi echn sarokhlsisin colchicine thaihchudokhromosmephimkhunephuxihphuchmiphlphlitinewlaimnan sarxaflathxksin aflatoxins epnsarphisthithaihaebkhthieriyklayphnthuepnsaehtukhxngmaerngtbid karcderiyngebsinkrabwnkarsngekhraahdiexnex DNA replication phidphlad miphlthaihekidkarephimhruxldcanwnebsinkhusay aelathaihekidkareluxn shift khxngsayDNApraephthkhxngkarklayphnthukarklayphnthuekidkbesllinrangkay 2 lksna khux esllrangkay Somatic cell esllchnidniemuxekidkarklayphnthuaelw caimthaythxdipyngruntxip esllsubphnthu Sex cell esllehlaniemuxekidkarklayphnthuaelw cathaythxdipyngruntxipid sungmiphltxkarepliynaeplngspichiskhxngsingmichiwitmakthisud aelasngphltxwiwthnakarkhxngsingmichiwitdwyxangxingkarklayphnthu hrux karphaehla hrux miwethchn Mutation khux xair What is Mutation 2016 06 09 thi ewyaebkaemchchin wnthisubkhn 25 phvsphakhm 2559 cak www thaibiotech info mutagen miwthaecn hruxsarkxklayphnthu 2017 06 06 thi ewyaebkaemchchin wnthisubkhn 25 phvsphakhm 2559 cak www foodnetworksolution com