การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ คือการเดินทางของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาเพื่อไปสักการะสถานที่สำคัญในพระพุทธประวัติหรือสถูปเจดีย์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล (หรือที่คือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน) โดยสถานที่สำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดหมายหลักของชาวพุทธคือสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ฯ สารนาถ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และกุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนอกจากสังเวชนียสถานแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ทั้งที่เป็นมหาสังฆารามในอดีต หรือเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบางแห่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เช่นที่ พุทธคยา ถ้ำอชันตา-เอลโลล่า เป็นต้น
เดิมนั้นการเดินทางไปสักการะยังสถานที่ต่าง ๆ ในดินแดนพุทธภูมิเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องมีความศรัทธาตั้งมั่นอย่างมากจึงจะสามารถไปนมัสการได้ครบทุกแห่ง ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกสบายขึ้น และมีวัดพุทธนานาชาติอยู่ในจุดสำคัญ ๆ ของพุทธสถานโบราณต่าง ๆ ทำให้ชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมไปนมัสการพุทธสถานในดินแดนพุทธภูมิเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
ความเป็นมาของการจาริกแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานของชาวพุทธ
การแสวงบุญ หรือการจาริกไปเพื่อทำการบูชาสังเวชนียสถาน เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นชาวพุทธจะจาริกแสวงบุญโดยเดินทางมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ในภายหลังมีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ผู้มีศรัทธาควรไปยัง ณ สถานที่ใด เพื่อยังให้เกิดความเจริญใจ (ด้วยศรัทธา เสมือนเข้าเฝ้าพระพุทธองค์) พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า สถานที่ควรไปเพื่อยังให้เกิดความแช่มชื่น เบิกบานใจ เจริญใจ และสังเวชใจเมื่อได้ไป คือ สังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลดังพระพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้ ๔ แห่งเป็นไฉน คือ สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่า พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้แล ฯ
— พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต - ตติยปัณณาสก์ - ๒. เกสีวรรค - สังเวชนียสูตร
โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการจาริกแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานด้วยความศรัทธาว่า
ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ (สังเวชนียสถาน) มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
— พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาทั้งหลายก็ได้นิยมเดินทางมานมัสการสถานที่สำคัญเหล่านี้ ดังปรากฏหลักฐานของสมณทูตจากประเทศจีน (เช่น หลวงจีนฟาเหียน พระถังซำจั๋ง เป็นต้น) ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเพื่อสักการะสังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญในพุทธประวัติอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องราวการเดินของชาวไทยที่จาริกไปพุทธคยาด้วย (พงศาวดารเหนือ) (ซึ่งผู้จาริกได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระมหาโพธิเจดีย์มาสร้างเป็นเจดีย์วัดเจดีย์เจ็ดยอดในตัวเมืองเชียงใหม่) แต่หลังจากพระพุทธศาสนาได้เสื่อมไปจากอินเดีย สังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญอื่น ๆ ก็ได้ถูกทิ้งร้างไป ซึ่งในระยะนั้นก็มีชาวพุทธเข้ามาบูรณะบ้างเป็นครั้งคราว แต่สุดท้ายก็ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จนอนุทวีปอินเดีย (ยกเว้นศรีลังกา) ถูกอังกฤษเข้ามาปกครองเป็นอาณานิคม จึงได้เริ่มมีการเข้าไปบูรณะขุดค้นทางโบราณคดียังสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถูกทิ้งร้างเป็นเนินดินจำนวนมาก และมีการบูรณะเรื่อยมาโดยศรัทธาทุนทรัพย์ของชาวพุทธบ้าง รัฐบาลอินเดียบ้าง จนในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 จึงได้เริ่มมีชาวพุทธทุกนิกายจากทั่วโลกนิยมมานมัสการสังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิมากขึ้นจนปัจจุบัน
ดูเพิ่ม
- สังเวชนียสถาน
- ลุมพินีวัน (สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
- พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
- สารนาถ (สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนากัณฑ์แรกแก่ปัญจวัคคีย์)
- กุสินารา (สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน)
อ้างอิง
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต สังเวชนียสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52
- สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ ๘๐ ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
แหล่งข้อมูลอื่น
เริ่มต้น: เมืองกบิลพัสดุ์ (เมืองพระราชบิดา) (และเมืองที่ประทับเมื่อทรงพระเยาว์) เมืองเทวทหะ | นำเที่ยวเส้นทางแสวงบุญของชาวพุทธ ในดินแดนพุทธภูมิ (เรียงตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ) | สถานที่ถัดไป: ลุมพินีวัน - สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 - (สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ) |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karaeswngbuykhxngchawphuththindinaednphuththphumi khuxkaredinthangkhxngphuththsasnikchnphumisrththaephuxipskkarasthanthisakhyinphraphuththprawtihruxsthupecdiythimikhwamsakhyekiywkhxngkbphraphuththeca phuepnphrabrmsasdaaehngphraphuththsasna indinaednthieriykwachmphuthwipinsmyphuththkal hruxthikhuxdinaednthiepnswnhnungkhxngpraethsxinediyaelaenpalinpccubn odysthanthisakhythithuxidwaepncudhmayhlkkhxngchawphuththkhuxsngewchniysthan 4 tabl khux lumphiniwn sthanthiprasuti phuththkhya sthanthitrsru sarnath sthanthithrngaesdngpthmethsna aelakusinara sthanthiesdcdbkhnthpriniphphan aehngxngkhsmedcphrasmmasmphuththeca sungnxkcaksngewchniysthanaelw yngmisthanthisakhyxun xikmak sungmikhwamekiywkhxngkbphraphuththecaaelaprawtisastrphuththsasna thngthiepnmhasngkharaminxdit hruxemuxngsakhyinsmyphuththkalthimikhwamekiywkhxngpraktinkhmphirthangphraphuththsasna sungbangaehngidrbkarykyxngihepnmrdkolk echnthi phuththkhya thaxchnta exlolla epntntnphrasrimhaophthi phuththkhya sthanthitrsruaehngphrasmmasmphuththeca 1 incudhmayaeswngbuythisakhythisudkhxngchawphuthth edimnnkaredinthangipskkarayngsthanthitang indinaednphuththphumiepnipdwykhwamyaklabak txngmikhwamsrththatngmnxyangmakcungcasamarthipnmskaridkhrbthukaehng inpccubnkaredinthangsadwksbaykhun aelamiwdphuththnanachatixyuincudsakhy khxngphuththsthanobrantang thaihchawphuththcakthwolkniymipnmskarphuththsthanindinaednphuththphumiepncanwnmakinaetlapikhwamepnmakhxngkarcarikaeswngbuyipyngsngewchniysthankhxngchawphuththkaraeswngbuy hruxkarcarikipephuxthakarbuchasngewchniysthan ekidkhunmatngaetsmyphuththkal odyinsmynnchawphuththcacarikaeswngbuyodyedinthangmaekhaefaphrasmmasmphuththeca aetinphayhlngmiphuthulthamphraphuththecawa emuxphraxngkhesdcdbkhnthpriniphphanipaelw phumisrththakhwripyng n sthanthiid ephuxyngihekidkhwamecriyic dwysrththa esmuxnekhaefaphraphuththxngkh phraphuththxngkhidtrstxbwa sthanthikhwripephuxyngihekidkhwamaechmchun ebikbanic ecriyic aelasngewchicemuxidip khux sngewchniysthanthng 4 tabldngphraphuththphcndngtxipni dukrphiksuthnghlay sthanthikhwrehn khwrihekidkhwamsngewchaehngkulbutrphumisrththa 4 aehngni 4 aehngepnichn khux sthanthikhwrehn khwrihekidkhwamsngewchaehngkulbutrphumisrththawa phratthakhtprasuti n thini 1 phratthakhttrsruxnuttrsmmasmophthiyan n thini 1 phratthakhtthrngprakasthrrmckrxnyxdeyiym n thini 1 phratthakhtpriniphphandwyxnupathiessniphphanthatu n thini 1 dukrphiksuthnghlay sthanthikhwrehn khwrihekidkhwamsngewchaehngkulbutrphumisrththa 4 aehngniael phrasuttntpidk elm 13 xngkhuttrnikay ctukknibat ttiypnnask 2 eksiwrrkh sngewchniysutr odyphraphuththxngkhidtrsthungxanisngskhxngkarcarikaeswngbuyipyngsngewchniysthandwykhwamsrththawa kchnehlaidehlahnung ethiywcarikipyngecdiy sngewchniysthan miciteluxmisaelw ckthakalalng chnehlannthnghmdebuxnghnaaettayephraakayaetk ckekhathungsukhtiolkswrrkh phraitrpidkelmthi 10 phrasuttntpidk elm 2 thikhnikay mhawrrkh mhapriniphphansutr hlngcakphraphuththecaesdcdbkhnthpriniphphan phuththsasnikchnphusrththathnghlaykidniymedinthangmanmskarsthanthisakhyehlani dngprakthlkthankhxngsmnthutcakpraethscin echn hlwngcinfaehiyn phrathngsacng epntn thiidedinthangmacakpraethscinephuxskkarasngewchniysthanaelasthanthisakhyinphuththprawtixun sungrwmthungeruxngrawkaredinkhxngchawithythicarikipphuththkhyadwy phngsawdarehnux sungphucarikidnarupaebbsthaptykrrmkhxngphramhaophthiecdiymasrangepnecdiywdecdiyecdyxdintwemuxngechiyngihm aethlngcakphraphuththsasnaidesuxmipcakxinediy sngewchniysthanaelasthanthisakhyxun kidthukthingrangip sunginrayannkmichawphuththekhamaburnabangepnkhrngkhraw aetsudthaykidthukplxythingrangxyangsinechinginchwngphuththstwrrsthi 18 cnxnuthwipxinediy ykewnsrilngka thukxngkvsekhamapkkhrxngepnxananikhm cungiderimmikarekhaipburnakhudkhnthangobrankhdiyngsthanthisakhytang sungthukthingrangepnenindincanwnmak aelamikarburnaeruxymaodysrththathunthrphykhxngchawphuththbang rthbalxinediybang cninchwnghlng ph s 2500 cungiderimmichawphuthththuknikaycakthwolkniymmanmskarsngewchniysthanaelasthanthisakhyinphraphuththsasnaindinaednphuththphumimakkhuncnpccubnduephimsngewchniysthan lumphiniwn sthanthiprasutikhxngecachaysiththttha phusungtxmaidtrsruepnphrasmmasmphuththeca phuththkhya sthanthitrsrukhxngphrasmmasmphuththeca sarnath sthanthiphrasmmasmphuththecaaesdngpthmethsnaknthaerkaekpycwkhkhiy kusinara sthanthiphrasmmasmphuththecaesdcdbkhnthpriniphphan xangxingphraitrpidk elmthi 21 phrasuttntpidk elmthi 13 xngkhuttrnikay ctukknibat sngewchniysutr phraitrpitkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 1 ekhathungemux 11 6 52 sunnth pthmakhm rs smudphaphaednphuththphumi chlxngchnmayu 80 pi phrasuemthathibdi wdmhathatuyuwrachrngsvsdi krungethphmhankhr sankphimphmhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly 2541 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb karaeswngbuykhxngchawphuththindinaednphuththphumi wikisxrs mingantnchbbekiywkb khabuchaphuththsngewchniysthan 4 tabl erimtn emuxngkbilphsdu emuxngphrarachbida aelaemuxngthiprathbemuxthrngphraeyaw emuxngethwthha emuxngphrarachmarda naethiywesnthangaeswngbuykhxngchawphuthth indinaednphuththphumi eriyngtamehtukarninphuththprawti sthanthithdip lumphiniwn sngewchniysthanaehngthi 1 sthanthiprasutikhxngecachaysiththttha