กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (อังกฤษ: International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights, ย่อ: ICESCR) เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งผ่านมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1966 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา กติกาฯ ผูกมัดภาคีให้ทำงานเพื่อมุ่งสู่การให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (ESCR) แก่ปัจเจกบุคคล รวมถึงสิทธิแรงงานและสิทธิในสุขภาพอนามัย สิทธิในการศึกษา ตลอดจนสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่พอเพียง จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 กติกาฯ มีภาคี 160 ประเทศ และยังมีอีกหกประเทศที่ได้ลงนามแล้ว แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
ภาคีในกติกานี้ ลงนามแล้วและให้สัตยาบันแล้ว ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ยังไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบัน | |
ประเภท | ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ |
---|---|
วันร่าง | ค.ศ. 1954 |
วันลงนาม | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1966 |
ที่ลงนาม | สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก |
วันมีผล | 3 มกราคม ค.ศ. 1976 |
ผู้ลงนาม | 6 |
ภาคี | 160 |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการสหประชาชาติ |
ภาษา | ฝรั่งเศส, อังกฤษ, รัสเซีย, จีน, สเปน |
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ วิกิซอร์ซ |
กติกาฯ เป็นส่วนหนึ่งของ ร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และรวมถึงพิธีสารเลือกรับที่หนึ่งและที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย
กติกาฯ ได้รับการควบคุมดูแลโดยคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ต้นกำเนิด
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกำเนิดมาจากกระบวนการเดียวกันกับที่นำไปสู่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้มีการเสนอ "ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิสำคัญของมนุษย์" ที่การประชุมซานฟรานซิสโกใน ค.ศ. 1945 ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสหประชาชาติ และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้รับมอบหมายให้ร่างปฏิญญานั้น ช่วงต้นของกระบวนการ เอกสารถูกแบ่งออกเป็นปฏิญญาซึ่งระบุหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาหรือกติกาซึ่งมีฉันทามติผูกมัด ซึ่งปฏิญญานั้นได้พัฒนาไปเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งผ่านมติรับเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948
การร่างอนุสัญญายังดำเนินต่อไป แต่ยังคงมีข้อแตกต่างสำคัญระหว่างสมาชิกสหประชาชาติในเรื่องความสำคัญซึ่งสัมพันธ์กันระหว่างสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิในด้านลบ (negative rights) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิทธิในด้านบวก (positive rights) ซึ่งเหตุผลดังกล่าวได้ทำให้อนุสัญญาถูกแบ่งเป็นสองกติกาไม่ขึ้นต่อกัน "ฉบับหนึ่งระบุสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่วนอีกฉบับหนึ่งระบุสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม" กติกาทั้งสองมุ่งให้วางข้อบทที่คล้ายกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และเปิดให้ลงนามเป็นภาคีไปพร้อมกัน ซึ่งกติกาแต่ละฉบับยังจะมีข้อที่บัญญัติว่าด้วยสิทธิของทุกคนในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง
เอกสารฉบับแรกกลายไปเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และฉบับที่สองเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ร่างเอกสารทั้งสองถูกเสนอต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่ออภิปรายใน ค.ศ. 1954 และผ่านมติรับใน ค.ศ. 1966
สรุปย่อ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นไปตามโครงสร้างของ UDHR และ ICCPR โดยมีปรารภและสามสิบเอ็ดข้อ โดยแบ่งออกเป็นห้าภาค
ภาค 1 (ข้อ 1) รับรองสิทธิของมนุษย์ทุกคนในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง รวมถึงสิทธิที่จะ "กำหนดสถานภาพทางการเมืองของตนได้อย่างเสรี" พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และจัดการและใช้จ่ายทรัพยากรของตนเอง ข้อดังกล่าวยังรับรองสิทธิในด้านลบของประชาชนที่จะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตน และกำหนดข้อผูกมัดแก่ทุกภาคีที่ยังรับผิดชอบต่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและที่อยู่ในภาวะทรัสตี (อาณานิคม) เพื่อกระตุ้นและเคารพการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของพวกเขา
ภาค 2 (ข้อ 2-5) สถาปนาหลักการแห่ง "การทำให้[สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้]กลายเป็นความจริงโดยลำดับ" (progressive realisation) กำหนดให้สิทธิทั้งหลายนั้นได้รับการรับรอง "โดยปราศจากการแบ่งแยกในทุกประเภท เป็นต้นว่าเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น" สิทธินี้สามารถถูกจำกัดได้เฉพาะโดยกฎหมาย ในรูปแบบที่เข้ากันได้กับธรรมชาติของสิทธิ และเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการ "สนับสนุนให้เกิดสวัสดิภาพทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย" เท่านั้น
ภาค 3 (ข้อ 6-15) เป็นรายการของสิทธิที่รับรองตามกติกาฯ ซึ่งประกอบด้วย
- สิทธิในการทำงานภายใต้ "สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ" พร้อมด้วยสิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน (ข้อ 6-8)
- สิทธิที่จะมีสวัสดิการสังคม รวมทั้งประกันสังคม (ข้อ 9)
- สิทธิในชีวิตครอบครัว รวมทั้งการอนุญาตให้ลาในช่วงก่อนหรือหลังการให้กำเนิดบุตรตามสมควรโดยได้รับค่าจ้าง (parental leave) และการคุ้มครองเด็ก (ข้อ 10)
- สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และ "สภาพการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง" (ข้อ 11)
- สิทธิในสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้" (ข้อ 12)
- สิทธิในการศึกษา รวมทั้งการศึกษาขั้นประถมแบบให้เปล่าแก่ทุกคน ให้มีการศึกษาขั้นมัธยมโดยทั่วไป และให้ทุกคนสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งควรจะมุ่งให้เกิด "การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์" และทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ข้อ 13-14)
- สิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม (ข้อ 15)
สิทธิเหล่านี้จำนวนมากรวมถึงมาตรการเฉพาะซึ่งจำต้องมีการปฏิบัติเพื่อทำให้กลายเป็นความจริง
ภาค 4 (ข้อ 16-25) ควบคุมการรายงานและการเฝ้าตรวจกติกาฯ และขั้นตอนที่ภาคีจะต้องนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้องค์กรเฝ้าตรวจ (เดิมคือ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันคือ คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม) เพื่อเสนอแนะในลักษณะทั่วไปแก่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติถึงมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้สิทธิตามกติกานี้กลายเป็นความจริง
ภาค 5 (ข้อ 26-31) ควบคุมการให้สัตยาบัน การมีผลใช้บังคับ และการแปรบัญญัติกติกาฯ
ข้อบทหลัก
หลักการว่าด้วยการทำให้[สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้]กลายเป็นความจริงโดยลำดับ
ข้อ 2 แห่งกติกาฯ กำหนดให้ทุกภาคีมีหน้าที่ที่จะ
รับดำเนินการ ... โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการทำให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยลำดับด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมทั้งการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย
ข้อความข้างต้นเป็นที่รู้จักกันว่า หลักการแห่ง "การทำให้[สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้]กลายเป็นความจริงโดยลำดับ" ซึ่งได้รับรองสิทธิบางประการ (ตัวอย่างเช่น สิทธิในสุขภาพ) อาจบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ยากในเวลาอันสั้น และว่ารัฐทั้งหลายอาจประสบกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร แต่ได้กำหนดให้แต่ละรัฐดำเนินการอย่างดีที่สุดด้วยวิธีการของตน
หลักการดังกล่าวแตกต่างจากหลักการของ ICCPR ซึ่งผูกมัดภาคีให้ "เคารพและให้ความมั่นใจแก่บรรดาบุคคลทั้งปวงในอาณาเขตของตน และภายใต้เขตอำนาจของตน" ถึงสิทธิในอนุสัญญานั้น อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมิได้ยอมให้กติกานี้ไร้ความหมายไปทีเดียว ข้อกำหนดในการ "รับดำเนินการ" กำหนดให้มีภาระผูกพันต่อเนื่องในการทำงานมุ่งสู่การทำให้สิทธิทั้งหลายกลายเป็นจริง หลักการดังกล่าวยังไม่ยอมรับมาตรการถดถอยซึ่งประวิงเป้าหมายนั้น คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมยังได้ตีความหลักการดังกล่าวว่า การกำหนดข้อผูกมัดขั้นต่ำนั้นเป็นไปเพื่อให้มีการมอบสิทธิต่าง ๆ อย่างน้อยในระดับขั้นต่ำซึ่งขาดเสียมิได้ หากทรัพยากรเป็นข้อจำกัดอย่างมากแล้ว หลักการดังกล่าวควรรวมไปถึงการใช้โครงการเป้าหมายซึ่งมุ่งไปยังผู้ด้อยโอกาส
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมพิจารณาการออกกฎหมายว่าเป็นวิธีการจำเป็นในการทำให้สิทธิกลายเป็นความจริง ซึ่งไม่น่าถูกจำกัดโดยข้อจำกัดด้านทรัพยากร การวางข้อบทต่อต้านการเลือกปฏิบัติและการสถาปนาสิทธิซึ่งใช้บังคับได้พร้อมการเยียวยาทางกฎหมายภายในระบบกฎหมายแห่งชาติถูกพิจารณาว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสม ข้อบทบางประการ อาทิ กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ ถูกกำหนดภายใต้ตราสารสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ แล้ว อย่างเช่น ICCPR
สิทธิแรงงาน
ข้อ 6 ของกติกาฯ รับรองสิทธิในการทำงาน นิยามว่าเป็นโอกาสของทุกคนในการหาเลี้ยงชีพตนด้วยงานที่มีสิทธิเลือกอย่างเสรีหรือได้รับการยอมรับ ภาคีถูกกำหนดให้ดำเนิน "ขั้นตอนที่เหมาะสม" ในการคุ้มครองสิทธินี้ รวมถึงการฝึกทั้งทางเทคนิคและวิชาชีพและนโยบายเศรษฐกิจซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เกิดการจ้างงานเต็มที่ในท้ายที่สุด สิทธินี้บอกเป็นนัยว่า ภาคีทั้งหลายต้องประกันการเข้าถึงการจ้างงานอย่างเท่าเทียม และคุ้มครองกรรมกรจากการถูกกีดกันจากการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม รัฐภาคีจะต้องป้องกันมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานและรับรองการเข้าถึงแก่ผู้ด้อยโอกาส ข้อเท็จจริงที่ว่างานจะต้องถูกเลือกหรือได้รับการยอมรับอย่างเสรี หมายความว่า ภาคีจะต้องห้ามแรงงานบังคับหรือแรงงานเด็ก
งานที่หมายถึงในข้อ 6 จะต้องเป็นงานที่มีคุณค่า (decent work) โดยมีการนิยามอย่างมีผลในข้อ 7 แห่งกติกาฯ ซึ่งรับรองสิทธิแก่ทุกคนในสภาพการทำงานที่ "ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ" จากข้อความดังกล่าวจึงตีความได้ว่า แรงงานจะต้องได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมและค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน (equal pay for equal work) เพียงพอจะให้ค่าจ้างที่สมควรแก่แรงงานและผู้อยู่ในอุปการะ สภาพการทำงานที่ปลอดภัย โอกาสที่เท่าเทียมในที่ทำงาน และการพักผ่อนและเวลาว่าง ข้อจำกัดเรื่องเวลาทำงานและวันหยุดเป็นครั้งคราวโดยได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 8 รับรองสิทธิของแรงงานในการก่อตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน และคุ้มครองสิทธิในการประท้วงหยุดงาน แต่ยังอนุญาตให้จำกัดสิทธิเหล่านี้แก่สมาชิกของกองทัพ ตำรวจหรือฝ่ายบริหารของรัฐ หลายภาคีได้ขอสงวนสิทธิในข้อความนี้ โดยอนุญาตให้ข้อความดังกล่าวตีความไปในทางที่เข้ากันได้กับรัฐธรรมนูญของภาคีนั้น (จีนและเม็กซิโก) หรือขยายการจำกัดสิทธิสหภาพแก่กลุ่ม อย่างเช่น เจ้าหน้าที่ดับเพลิง (ญี่ปุ่น)
สิทธิที่จะมีสวัสดิการสังคม
ข้อ 9 ของกติกาฯ รับรอง "สิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคม รวมทั้งการประกันสังคม" ซึ่งกำหนดให้ภาคีจัดหาแผนการประกันสังคมบางรูปแบบเพื่อคุ้มครองบุคคลต่อความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ความพิการ การผดุงครรภ์ การบาดเจ็บจากการจ้างงาน การว่างงานหรือวัยสูงอายุ เพื่อจัดหาแก่ผู้รอดชีวิต กำพร้า และผู้ซึ่งไม่สามารถชำระค่าบริการสาธารณสุขได้ และเพื่อประกันว่าครอบครัวจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ ประโยชน์จากแผนการดังนี้จะต้องเพียงพอ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และจัดหาให้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ กติกาฯ ไม่ได้จำกัดรูปแบบของแผนการ และทั้งแผนการที่ผู้ได้รับประโยชน์จ่ายเงินเพื่อเอาประกันและไม่จ่ายเงิน (contributory and non-contributory schemes) ล้วนได้รับอนุญาต
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้ชี้ปัญหาเรื้อรังกับการนำสิทธินี้ไปปฏิบัติ โดยมีระดับการเข้าถึงต่ำมาก
ภาคีหลายประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศสและโมนาโก มีข้อสงวนสิทธิ์ในการอนุญาตให้ประเทศทั้งสองวางข้อกำหนดการอยู่อาศัยเพื่อให้เหมาะสมกับผลประโยชน์ทางสังคม คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอนุญาตการจำกัดเช่นนั้น ด้วยเหตุว่า การจำกัดเหล่านั้นได้สัดส่วนและสมเหตุสมผล
สิทธิในชีวิตครอบครัว
ข้อ 10 แห่งกติกาฯ รับรองว่าครอบครัวเป็น "หน่วยรวมของสังคมที่เป็นพื้นฐานและเป็นธรรมชาติ" และกำหนดให้ภาคียินยอมที่จะ "คุ้มครอง และช่วยเหลืออย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทำได้" ภาคีจะต้องประกันว่าพลเมืองของตนมีเสรีภาพในการจัดตั้งครอบครัว และการสมรสจะต้องได้รับการยินยอมอย่างเสรีจากคู่สมรสและไม่ถูกบังคับ ภาคียังต้องอนุญาตให้ลาโดยได้รับค่าจ้าง (paid leave) หรือการประกันสังคมที่เพียงพอแก่มารดาทั้งก่อนและหลังการกำเนิดบุตร อันเป็นข้อผูกมัดซึ่งซ้ำซ้อนกับข้อ 9 ท้ายสุด ภาคีจะต้องดำเนิน "มาตรการพิเศษ" เพื่อคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือสังคม รวมทั้งกำหนดอายุขั้นต่ำในการจ้างงานและห้ามเด็กมิให้ทำงานที่อันตรายและเป็นโทษ
สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ
ข้อ 11 รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ ซึ่งรวมไปถึง แต่ไม่จำกัดเฉพาะ สิทธิในอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ และ "สภาพการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง" นอกจากนี้ยังผูกมัดให้ภาคีทำงานร่วมกันเพื่อขจัดความหิวโหยในระดับโลก
สิทธิในอาหารที่เพียงพอ หรือที่รู้จักกันว่า สิทธิในอาหาร ถูกตีความว่า กำหนดให้มี "การหามาได้ของอาหารในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอจะตอบสนองความต้องการด้านอาหารของปัจเจกบุคคล ปลอดภัยจากสสารอันตราย และยอมรับได้ในวัฒนธรรมของตน" สิทธิในอาหารนี้จะต้องสามารถเข้าถึงทุกคน พร้อมบอกข้อผูกมัดเป็นนัยให้จัดหาโครงการพิเศษสำหรับผู้ด้อยโอกาส สิทธิในอาหารที่เพียงพอยังรวมไปถึงสิทธิในน้ำด้วย
สิทธิในที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ หรือที่รู้จักกันว่า สิทธิในที่อยู่อาศัย เป็น "สิทธิที่จะอาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งด้วยความปลอดภัย สันติและมีศักดิ์ศรี" สิทธินี้กำหนด "ความเป็นส่วนตัวอย่างพอเพียง ที่ว่างอย่างพอเพียง ความปลอดภัยอย่างพอเพียง แสงสว่างและการระบายอากาศอย่างพอเพียง สาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างพอเพียง และตำแหน่งที่พอเหมาะเมื่อเทียบกับที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ซึ่งทั้งหมดนี้ ด้วยมูลค่าที่สมเหตุสมผล" ภาคีต้องประกันความปลอดภัยในสิทธิถือครอง และการเข้าถึงนั้นปราศจากการเลือกปฏิบัติ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อกำจัดภาวะไร้ที่อยู่อาศัย การรอนสิทธิที่ถูกบังคับ ซึ่งนิยามว่าเป็น "การเพิกถอนอย่างถาวรหรือชั่วคราวซึ่งขัดต่อเจตจำนงของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และ/หรือ ชุมชน จากบ้าน และ/หรือ ที่ดินซึ่งพวกเขาถือครอง โดยปราศจากการจัดไว้ชั่วคราว และการเข้าถึง รูปแบบการคุ้มครองทางกฎหมายหรืออื่น ๆ อย่างเหมาะสม" เป็นการละเมิดกติกาฯ อย่างมีมูล
สิทธิในสุขภาพ
ข้อ 12 แห่งกติกาฯ รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมี "สุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้" คำว่า "สุขภาพ" เป็นที่เข้าใจว่ามิใช่เพียงสิทธิในการมีสุขภาพดีเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิที่จะควบคุมสุขภาพและร่างกาย (รวมทั้งการสืบพันธุ์) ของตนเอง และเป็นอิสระจากการแทรกแซง เช่น การทรมานหรือการทดลองทางการแพทย์ รัฐต้องคุ้มครองสิทธินี้โดยทำให้แน่ใจว่าทุกคนในเขตอำนาจของตนเข้าถึงปัจจัยสุขภาพที่จำเป็น เช่น น้ำสะอาด สุขอนามัย อาหาร สารอาหารและที่อยู่อาศัย และผ่านระบบสาธารณสุขอย่างครอบคลุม ซึ่งทุกคนเข้าถึงได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และทุกคนเข้าถึงได้อย่างประหยัด
ข้อ 12.2 กำหนดให้ภาคีดำเนินการโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาสุขภาพของพลเมืองของตน รวมทั้งลดอัตราการตายของทารก และพัฒนาสุขภาพเด็ก, พัฒนาสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและที่ทำงาน, ป้องกัน รักษาและควบคุมโรคระบาด และสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางการแพทย์ที่เท่าเทียมและทันท่วงทีแก่ทุกคน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกมองว่าเป็น "ตัวอย่างไม่ละเอียดที่เป็นตัวอย่างประกอบ" มากกว่าเป็นคำประกาศข้อผูกมัดของภาคี
สิทธิในสุขภาพยังถูกตีความว่ากำหนดให้ภาคียอมรับสิทธิสืบพันธุ์ของสตรี โดยไม่จำกัดการเข้าถึงการคุมกำหนด หรือข้อมูล "ที่เซ็นเซอร์ ระงับหรือจงใจแถลงเป็นเท็จ" เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ภาคียังต้องประกันว่าสตรีได้รับการคุ้มครองจากวิถีปฏิบัติท้องถิ่นที่เป็นโทษ เช่น การขลิบอวัยวะเพศสตรี
สิทธิในการศึกษาแบบให้เปล่า
ข้อ 13 แห่งกติกาฯ รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษาแบบให้เปล่า (ให้เปล่าสำหรับระดับประถมศึกษา และ "การนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป" สำหรับระดับมัธยมศึกษาและระดับสูงขึ้น) เพื่อมุ่งให้เกิด "การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์" และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นถูกมองว่าเป็นทั้งสิทธิมนุษยชนและ "วิธีอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในความเคารพสิทธิมนุษยชนอื่น" และดังนี้เป็นหนึ่งในข้อที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในกติกาฯ
ข้อ 13.2 ลงรายการขั้นตอนเฉาะที่ภาคีต้องดำเนินการเพื่อรับรองสิทธิในการศึกษา เหล่านี้รวมไปถึงการจัดการศึกษาขั้นประถมแบบให้เปล่า ภาคบังคับ และเป็นการทั่วไป, การศึกษาขั้นมัธยม "ให้มีขึ้นโดยทั่วไป และให้ทุกคนมีสิทธิได้รับ" ในหลายรูปแบบ (รวมทั้งมัธยมทางเทคนิคศึกษาและอาชีวศึกษา) และการศึกษาขั้นอุดมที่เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เหล่านี้ทั้งหมดจะต้องให้มีแก่ทุกคนโดยปราศจากการแบ่งแยก ภาคียังต้องพัฒนาระบบโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นรัฐบาล เอกชนหรือผสม สนับสนุนหรือจัดหาทุนการศึกษาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ภาคีถูกกำหนดให้ต้องจัดหาการศึกษาแบบให้เปล่าแก่ทุกระดับ ซึ่งอาจเป็นโดยทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป "การศึกษาขั้นประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า", การศึกษาขั้นมัธยม "ให้มีขึ้นโดยทั่วไป และให้ทุกคนมีสิทธิได้รับโดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป" และ "ทุกคนจะต้องสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ โดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป"
ข้อ 13.3 และ 13.4 กำหนดให้ภาคีเคารพเสรีภาพของผู้ปกครองในการเลือกและจัดตั้งสถาบันการศึกษาเอกชนแก่เด็กของตน ซึ่งยังหมายถึง เสรีภาพการศึกษา ข้อดังกล่าวยังรับรองสิทธิของผู้ปกครองเพื่อ "ประกันให้การศึกษาทางศาสนาและศีลธรรมของเด็กเป็นไปโดยสอดคล้องกับความเชื่อถือของตน" ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกตีความว่าเป็นการกำหนดให้โรงเรียนรับาลเคารพเสรีภาพทางศาสนาและมโนธรรมแห่งนักเรียนของตน และเช่นเดียวกับการห้ามการสอนในศาสนาหนึ่งหรือระบบความเชื่อหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่จะมีการไม่ยกเว้นไม่แบ่งแยกและทางเลือก
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมตีความกติกาฯ ว่ายังกำหนดให้รัฐเคารพเสรีภาพทางวิชาการของเจ้าหน้าที่และนักเรียน เนื่องด้วยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการการศึกษา คณะกรรมาธิการฯ ยังพิจารณาว่าการลงโทษทางกายในโรงเรียนขัดกับหลักการสำคัญในศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลของกติกาฯ
ข้อ 14 แห่งกติกาฯ กำหนดให้ภาคีซึ่งยังไม่ได้จัดระบบการศึกษาขั้นประถมภาคบังคับแบบให้เปล่า จัดทำแผนปฏิบัติการโดยละเอียดเพื่อให้เกิดความคืบหน้า "ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล"
สิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม
ข้อ 15 แห่งกติกาฯ รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตวัฒนธรรม อุปโภคสิทธิประโยชน์แห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และได้รับสิทธิประโยชน์จากการคุ้มครองผลประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและวัตถุอันเกิดจากการผลิตทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม หรือศิลปกรรมซึ่งตนเป็นผู้สร้างสรรค์ ข้อความหลังนี้บางครั้งถูกมองว่ากำหนดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมตีความว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์และ "ประกาศคุณลักษณะส่วนบุคคลภายในของทุกผลงานสร้างสรรค์จากจิตใจมนุษย์ และรับรองความเชื่อมโยงระหว่างผู้สร้างสรรค์กับผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขาอย่างคงทน" ข้อความนี้จึงกำหนดให้ภาคีเคารพสิทธิของผู้ประพันธ์ที่จะได้รับการรับรองว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน สิทธิทางวัตถุถูกตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ และ "ไม่จำเป็นต้องขยายเวลาเกินทั้งช่วงชีวิตของผู้ประพันธ์"
ภาคียังต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ พัฒนาและเผยแพร่ซึ่งวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, "เคารพเสรีภาพซึ่งขาดไม่ได้แก่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และกิจกรรมสร้างสรรค์" และสนับสนุนสัญญาระหว่างประเทศและความร่วมมือกันในสาขาเหล่านั้น
ข้อสงวนสิทธิ
ภาคีส่วนหนึ่งได้สงวนสิทธิและประกาศเชิงตีความถึงการนำกติกาฯ ไปปฏิบัติ
แอลจีเรีย ตีความบางส่วนของข้อ 13 ซึ่งคุ้มครองเสรีภาพของผู้ปกครองในการเลือกหรือจัดตั้งสถาบันการศึกษาอย่างเหมาะสมอย่างเสรี โดยไม่ "ทำให้สิทธิของตน [แอลจีเรีย] ลดลงเพื่อจัดตั้งระบบการศึกษาของตน"
บังกลาเทศ ตีความวรรคการกำหนดการปกครองด้วยตัวเองในข้อ 1 ว่า ใช้กับบริบททางประวัติศาสตร์ของลัทธิล่าอาณานิคม มันยังสงวนสิทธิที่จะตีความสิทธิแรงงานในข้อ 7 และ 8 และวรรคไม่เลือกปฏิบัติในข้อ 2 และ 3 ภายในบริบทของรัฐธรรมนูญและกฎหมายในประเทศ
เบลเยียม ตีความการไม่เลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติกำเนิดว่า "แสดงนัยการผูกมัดต่อรัฐอย่างไม่จำเป็น ซึ่งรับประกันสิทธิแก่ชาวต่างชาติโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับสัญชาติตนอยู่แล้ว คำดังกล่าวควรเข้าใจว่าหมายถึง การกำจัดพฤติกรรมไร้เหตุผล แต่มิใช่ความแตกต่างในการปฏิบัติอันตั้งอยู่บนการพิจารณาอย่างมีจุดประสงค์และมีเหตุผล ในความสอดคล้องกันกับหลักการซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย"
จีน ห้ามสิทธิแรงงานในข้อ 8 ในแบบที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในประเทศ
อียิปต์ ยอมรับกติกาฯ เฉพาะขอบเขตที่ไม่ขัดต่อกฎหมายชารีอะฮ์อิสลาม ชารีอะฮฺเป็น "บ่อเกิดหลักของตัวบทกฎหมาย" ภายใต้มาตรา 2 ของทั้งรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ที่งดไป และคำประกาศรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล ค.ศ. 2011
ฝรั่งเศส มองกติกาฯ ว่าเป็นการส่งเสริมกฎบัตรสหประชาชาติ และสงวนสิทธิที่จะปกครองการเข้าถึงการจ้างงาน สวัสดิการสังคม และประโยชน์อื่น ๆ ของคนต่างด้าว
อินเดีย ตีความสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตัวเองว่าใช้ได้ "เฉพาะกับบุคคลที่อยู่ภายใต้การครอบงำของต่างชาติ" และใช้ไม่ได้กับบุคคลที่อยู่ภายใต้รัฐชาติที่มีเอกราช นอกจากนี้ ยังตีความการจำกัดวรรคสิทธิและสิทธิโอกาสเท่าเทียมในที่ทำงานภายในบริบทของรัฐธรรมนูญ
อินโดนีเซีย ตีความวรรคการกำหนดการปกครองด้วยตนเองภายในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศอื่น และไม่ใช้กับบุคคลภายในรัฐชาติที่มีเอกราช
ไอร์แลนด์ สงวนสิทธิในการสนับสนุนภาษาไอริช
ญี่ปุ่น สงวนสิทธิไม่ผูกพันที่จะนำการศึกษาขั้นมัธยมและขั้นอุดมแบบให้เปล่ามาใช้แบบค่อยเป็นค่อนไป
คูเวต ตีความวรรคการไม่เลือกปฏิบัติตามข้อ 2 และ 3 ภายในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศ และสงวนสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการสังคมเฉพาะแก่ชาวคูเวต นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิห้ามการหยุดงานประท้วง
เม็กซิโก ตีความสิทธิแรงงานตามข้อ 8 ภายในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศ
โมนาโก ตีความหลักการการไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานแห่งชาติกำเนิดว่า "แสดงนัยการผูกมัดต่อรัฐอย่างไม่จำเป็น ซึ่งรับประกันสิทธิแก่ชาวต่างชาติโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับสัญชาติตนอยู่แล้ว" และสงวนสิทธิการตั้งข้อกำหนดด้านการอยู่อาศัยว่าด้วยสิทธิทำงาน สาธารณสุข การศึกษาและสวัสดิการสังคม
นิวซีแลนด์ สงวนสิทธิไม่ปฏิบัติตามข้อ 8 (สิทธิการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพการค้า) ตราบเท่าที่มาตรการที่มีอยู่ ซึ่งขณะนั้นรวมถึงสหภาพแรงงานบังคับและการอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทที่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งเข้ากันไม่ได้กับข้อ 8 ของกติกาฯ
นอร์เวย์ สวนสิทธิการหยุดงานประท้วง เพื่ออนุญาตการอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทแรงงานบางอย่างโดยบังคับ
ปากีสถาน ได้สงวนสิทธิทั่วไปในการตีความกติกาฯ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
ไทย ตีความสิทธิการกำหนดสิทธิการปกครองด้วยตนเองภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศอื่น
ตรินิแดดและโตเบโก สงวนสิทธิจำกัดสิทธิการหยุดงานประท้วงของผู้ประกอบอาชีพสำคัญ
ตุรกี จะตีความกติกาฯ ภายใต้บังคับแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิการตีความและนำสิทธิของผู้ปกครองในการเลือกและจัดตั้งสถาบันการศึกษาไปปฏิบัติในแบบที่เข้ากันได้กับรัฐธรรมนูญ
สหราชอาณาจักร มองกติกาฯ ว่าเป็นส่งเสริมกฎบัตรสหระชาชาติ และได้สงวนสิทธิหลายประการต่อดินแดนโพ้นทะเลของประเทศ
สหรัฐอเมริกา - องค์การนิรโทษกรรมสากลเขียนว่า "สหรัฐอเมริกาลงนามกติกาใน ค.ศ. 1979 ภายใต้รัฐบาลคาร์เตอร์ แต่ไม่ถูกผูกพันเต็มที่กระทั่งมีการให้สัตยาบัน ด้วยเหตุผลทางการเมือง รัฐบาลคาร์เตอร์มิได้ผลักดันการทบทวนกติกาฯ ที่จำเป็นจากวุฒิสภา ซึ่งต้องให้ "คำแนะนำและการยินยอม" ก่อนที่สหรัฐอเมริกาสามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญาได้ รัฐบาลเรแกนและจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ถือมุมมองว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมไม่ใช่สิทธิโดยแท้จริง แต่เป็นเพียงเป้าหมายทางสังคมอันพึงปรารถนาเท่านั้น และดังนั้นจึงไม่ควรเป็นวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาผูกพัน รัฐบาลคลินตันมิได้ปฏิเสธธรรมชาติของสิทธิเหล่านี้ แต่ไม่พบว่ามีประโยชน์ทางการเมืองในการเข้าต่อสู้กับวุฒิสภาในเรื่องกติกาฯ รัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตามรอยมุมมองของรัฐบาลบุชก่อนหน้านี้" มูลนิธิมรดก ถึงความคิดอนุรักษนิยมที่สำคัญ โต้แย้งว่า การลงนามกติกาฯ จะเป็นการผูกมัดการนำนโยบายที่มูลนิธิคัดค้านมาใช้ เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
พิธีสารเลือกรับ
พิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรมเป็นความตกลงเสริมต่อกติตาฯ ซึ่งเปิดให้ภาคีรับรองอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาคำร้องทุกข์จากปัจเจกบุคคล
พิธีสารเลือกรับฯ ได้รับการลงมติรับโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 และจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มีภาคีลงนาม 38 ประเทศ และให้สัตยาบันแล้ว 4 ประเทศ พิธีสารฯ จะมีผลใช้บังคับเมื่อภาคีให้สัตยาบันครบ 10 ประเทศ
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้เฝ้าตรวจการนำกติกาฯ ไปปฏิบัติ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนอิสระ 18 คน เลือกตั้งมาดำรงตำแหน่งสมัยละสี่ปี โดยมีสมาชิกครึ่งหนึ่งเลือกตั้งทุกสองปี
ไม่เหมือนกับหน่วยงานเฝ้าตรวจสิทธิมนุษยชนอื่น คณะกรรมาธิการฯ มิได้จัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาที่ตนดูแล แต่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสภาเศรษฐกิจและสังคมหลังความล้มเหลวของหน่วยงานเฝ้าตรวจสองหน่วยงานก่อนหน้า
รัฐภาคีทั้งหมดถูกกำหนดให้ส่งรายงานเป็นประจำต่อคณะกรรมาธิการฯ เป็นสรุปย่อมาตรการกฎหมาย ตุลาการ นโยบายหรือมาตรการอื่นซึ่งรัฐได้ดำเนินเพื่อนำสิทธิที่ยืนยันในกิตกาฯ ไปปฏิบัติ รายงานฉบับแรกมีกำหนดภายในสองปีของการให้สัตยาบันกติกาฯ ส่วนรายงานหลังจากนั้นมีกำหนดทุกห้าปี คณะกรรมาธิการฯ ตรวจสอบรายงานแต่ละฉบับและหยิบยกความกังวลและการแนะนำของตนแก่รัฐภาคีในรูปของ "ข้อสังเกตเชิงสรุป"
โดยแบบคณะกรรมาธิการฯ ประชุมกันทุกเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายนในกรุงเจนีวา
อ้างอิง
- "UN Treaty Collection: International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights". UN. 2009-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
- "Fact Sheet No.2 (Rev.1), The International Bill of Human Rights". UN OHCHR. June 1996. จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2008.
- Sieghart, Paul (1983). The International Law of Human Rights. Oxford University Press. p. 25.
- United Nations General Assembly Resolution 543, February 5, 1952.
- United Nations General Assembly Resolution 545, February 5, 1952.
- United Nations General Assembly Resolution 2200, December 16, 1966.
- ICESCR, Article 1.1
- ICESCR, Article 1.2
- ICESCR, Article 1.3
- ICESCR, Article 2.2
- ICESCR, Article 4
- ICESCR, Article 7
- ICESCR, Article 13.1
- ICESCR, Article 2.1
- . UN. pp. Article 2.1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
- Paragraph 9, "CESCR General Comment 3". UN OHCHR. 1990-12-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- CESCR General Comment 3, paragraph 10.
- CESCR General Comment 3, paragraph 12.
- CESCR General Comment 3, paragraphs 3 - 6.
- ICESCR, Article 6.1.
- "CESCR General Comment 18: The Right to Work" (PDF). UN Economic and Social Council. 2006-02-06. pp. paragraph 31. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- CESCR General Comment 18, paragraph 23.
- CESCR General Comment 18, paragraph 7.
- ICESCR, Article 9.
- . UN Economic and Social Council. 4 กุมภาพันธ์ 2008. paragraphs 1 – 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008.
- CESCR Draft General Comment 19, paragraph 5.
- CESCR Draft General Comment 19, paragraph 7.
- CESCR Draft General Comment 19, paragraph 37.
- ICESCR, Article 10.1.
- . UN OHCHR. July 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2008.
- ICESCR, Article 10.3.
- ICESCR, Article 11.1.
- "CESCR General Comment 12: The right to adequate food". UN Economic and Social Council. 1999-05-12. pp. paragraph 8. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- CESCR General Comment 12, paragraph 13.
- "CESCR General Comment 15: The right to water". UN Economic and Social Council. 2003-01-20. pp. paragraph 3. สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
- "CESCR General Comment 4: The right to adequate housing". UN OHCHR. 1991-12-13. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- "CESCR General Comment 7: The right to adequate housing: forced evictions". UN OHCHR. 1997-05-20. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- ICESCR, Article 12.1
- "CESCR General Comment 14: The right to the highest attainable standard of health". UN Economic and Social Council. 2000-08-11. pp. paragraph 9. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- CESCR General Comment 14, paragraphs 11-12.
- CESCR General Comment 14, paragraph 7.
- CESCR General Comment 14, paragraph 34.
- CESCR General Comment 14, paragraph 35.
- "CESCR General Comment 13: The right to education". UN Economic and Social Council. 1999-12-08. pp. paragraph 1. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- ICESCR, Article 13.3
- CESCR General Comment 13, paragraph 28.
- CESCR General Comment 13, paragraph 38.
- CESCR General Comment 13, paragraph 41.
- ICESCR, Article 14.
- "CESCR General Comment 17: The right of everyone to benefit from the protection of the moral and material interests resulting from any scientific, literary or artistic production of which he is the author" (PDF). UN Economic and Social Council. 12 January 2006. paragraph 12. สืบค้นเมื่อ 2 June 2008.
- CESCR General Comment 17, paragraph 16.
- ICESCR, Article 15.3
- (PDF). Amnesty International. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-06-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- Cowin, Andrew J. (1993-07-29). . Heritage Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- "Closing a historic gap in human rights". United Nations. 2008-12-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ""Economic, social and cultural rights: legal entitlements rather than charity" say UN Human Rights Experts". United Nations. 2008-12-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- "UN urges States to adhere to new instrument to protect human rights". United Nations. 2009-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-09-27.
- "Parties to the Optional Protocol to the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights". United Nations Treaty Collection. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-14.
- OP-ICESCR, Article 18.
- "ECOSOC Resolution 1985/17". UN OHCHR. 1985-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
- "Committee on Economic, Social and Cultural Rights". UN OHCHR. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.
- . UN OHCHR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
- . Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.
- List of parties 2012-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UNTC
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrm xngkvs International Covenant on Economic Social and Cultural Rights yx ICESCR epnsnthisyyaphhuphakhi sungphanmtismchchaihyaehngshprachachati emuxwnthi 16 thnwakhm kh s 1966 aelamiphlichbngkhbtngaetwnthi 3 mkrakhm kh s 1976 epntnma ktika phukmdphakhiihthanganephuxmungsukarihsiththithangesrsthkic sngkhmaelakaremuxng ESCR aekpceckbukhkhl rwmthungsiththiaerngnganaelasiththiinsukhphaphxnamy siththiinkarsuksa tlxdcnsiththiinmatrthankarkhrxngchiphthiphxephiyng cnthungeduxnkrkdakhm ph s 2554 ktika miphakhi 160 praeths aelayngmixikhkpraethsthiidlngnamaelw aetyngimidihstyabnktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmphakhiinktikani lngnamaelwaelaihstyabnaelw lngnamaelwaetyngimidihstyabn yngimidlngnamaelaihstyabnpraephthkhxmtismchchaihyaehngshprachachatiwnrangkh s 1954wnlngnam16 thnwakhm kh s 1966thilngnamsanknganihyshprachachati nkhrniwyxrkwnmiphl3 mkrakhm kh s 1976phulngnam6phakhi160phuekbrksaelkhathikarshprachachatiphasafrngess xngkvs rsesiy cin sepnktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrm thi wikisxrs ktika epnswnhnungkhxng rwmkbptiyyasaklwadwysiththimnusychn UDHR aelaktikarahwangpraethswadwysiththiphlemuxngaelasiththithangkaremuxng ICCPR aelarwmthungphithisareluxkrbthihnungaelathisxngkhxngktikarahwangpraethswadwysiththiphlemuxngaelasiththithangkaremuxngdwy ktika idrbkarkhwbkhumduaelodykhnakrrmathikarsiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmaehngshprachachatitnkaenidktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrmkaenidmacakkrabwnkarediywknkbthinaipsuptiyyasaklwadwysiththimnusychn idmikaresnx ptiyyawadwysiththisakhykhxngmnusy thikarprachumsanfransisokin kh s 1945 sungnaipsukarkxtngshprachachati aelakhnamntriesrsthkicaelasngkhmaehngshprachachatiidrbmxbhmayihrangptiyyann chwngtnkhxngkrabwnkar exksarthukaebngxxkepnptiyyasungrabuhlkkarthwipkhxngsiththimnusychn aelaxnusyyahruxktikasungmichnthamtiphukmd sungptiyyannidphthnaipepnptiyyasaklwadwysiththimnusychn sungphanmtirbemuxwnthi 10 thnwakhm kh s 1948 karrangxnusyyayngdaenintxip aetyngkhngmikhxaetktangsakhyrahwangsmachikshprachachatiineruxngkhwamsakhysungsmphnthknrahwangsiththiphlemuxngaelasiththithangkaremuxngsungepnsiththiindanlb negative rights kbsiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmsungepnsiththiindanbwk positive rights sungehtuphldngklawidthaihxnusyyathukaebngepnsxngktikaimkhuntxkn chbbhnungrabusiththiphlemuxngaelasiththithangkaremuxng swnxikchbbhnungrabusiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrm ktikathngsxngmungihwangkhxbththikhlayknihmakthisudethathicamakid aelaepidihlngnamepnphakhiipphrxmkn sungktikaaetlachbbyngcamikhxthibyytiwadwysiththikhxngthukkhninkarkahndkarpkkhrxngdwytnexng exksarchbbaerkklayipepnktikarahwangpraethswadwysiththiphlemuxngaelasiththithangkaremuxng aelachbbthisxngepnktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrm rangexksarthngsxngthukesnxtxsmchchaihyaehngshprachachatiephuxxphiprayin kh s 1954 aelaphanmtirbin kh s 1966srupyxktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmepniptamokhrngsrangkhxng UDHR aela ICCPR odymiprarphaelasamsibexdkhx odyaebngxxkepnhaphakh phakh 1 khx 1 rbrxngsiththikhxngmnusythukkhninkarkahndkarpkkhrxngdwytnexng rwmthungsiththithica kahndsthanphaphthangkaremuxngkhxngtnidxyangesri phthnaesrsthkic sngkhmaelawthnthrrm aelacdkaraelaichcaythrphyakrkhxngtnexng khxdngklawyngrbrxngsiththiindanlbkhxngprachachnthicaimthuklidrxnwithithangyngchiphkhxngtn aelakahndkhxphukmdaekthukphakhithiyngrbphidchxbtxdinaednthiimidpkkhrxngtnexngaelathixyuinphawathrsti xananikhm ephuxkratunaelaekharphkarkahndkarpkkhrxngdwytnexngkhxngphwkekha phakh 2 khx 2 5 sthapnahlkkaraehng karthaih siththisungrbrxngiwinktikani klayepnkhwamcringodyladb progressive realisation kahndihsiththithnghlaynnidrbkarrbrxng odyprascakkaraebngaeykinthukpraephth epntnwaechuxchati siphiw ephs phasa sasna khwamkhidehnthangkaremuxnghruxkhwamkhidehnxunid chatihruxsngkhmdngedim thrphysin kaenidhruxsthanaxun siththinisamarththukcakdidechphaaodykdhmay inrupaebbthiekhaknidkbthrrmchatikhxngsiththi aelaephiyngephuxcudprasngkhinkar snbsnunihekidswsdiphaphthwipinsngkhmprachathipity ethann phakh 3 khx 6 15 epnraykarkhxngsiththithirbrxngtamktika sungprakxbdwy siththiinkarthanganphayit sphaphkarthanganthiyutithrrmaelanaphungphxic phrxmdwysiththiinkarcdtngaelaekharwmshphaphaerngngan khx 6 8 siththithicamiswsdikarsngkhm rwmthngpraknsngkhm khx 9 siththiinchiwitkhrxbkhrw rwmthngkarxnuyatihlainchwngkxnhruxhlngkarihkaenidbutrtamsmkhwrodyidrbkhacang parental leave aelakarkhumkhrxngedk khx 10 siththiinmatrthankarkhrxngchiphthiephiyngphx rwmthngxahar ekhruxngnunghmaelathixyuxasythiephiyngphx aela sphaphkarkhrxngchiphthidikhunxyangtxenuxng khx 11 siththiinsukhphaph odyechphaaxyangying sukhphaphkayaelasukhphaphcittammatrthansungsudethathiepnid khx 12 siththiinkarsuksa rwmthngkarsuksakhnprathmaebbiheplaaekthukkhn ihmikarsuksakhnmthymodythwip aelaihthukkhnsamarthidrbkarsuksakhnxudmsuksaxyangethaethiymkn sungkhwrcamungihekid karphthnabukhlikphaphkhxngmnusyaelakhwamsanukinskdisrikhxngtnxyangbriburn aelathaihthukkhnsamarthmiswnrwminsngkhmidxyangmiprasiththiphaph khx 13 14 siththithicamiswnrwmthangwthnthrrm khx 15 siththiehlanicanwnmakrwmthungmatrkarechphaasungcatxngmikarptibtiephuxthaihklayepnkhwamcring phakh 4 khx 16 25 khwbkhumkarraynganaelakarefatrwcktika aelakhntxnthiphakhicatxngnaipptibti nxkcakniyngxnuyatihxngkhkrefatrwc edimkhux khnamntriesrsthkicaelasngkhmaehngshprachachati pccubnkhux khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrm ephuxesnxaenainlksnathwipaeksmchchaihyaehngshprachachatithungmatrkarthiehmaasminkarthaihsiththitamktikaniklayepnkhwamcring phakh 5 khx 26 31 khwbkhumkarihstyabn karmiphlichbngkhb aelakaraeprbyytiktikakhxbthhlkhlkkarwadwykarthaih siththisungrbrxngiwinktikani klayepnkhwamcringodyladb khx 2 aehngktika kahndihthukphakhimihnathithica rbdaeninkar odyichpraoychnsungsudcakthrphyakrthimixyu ephuxihsmvththiphlinkarthaihsiththisungrbrxngiwinktikaniklayepnkhwamcringxyangbriburnodyladbdwywithithngpwngthiehmaasm odyechphaaxyangyingrwmthngkarkahndmatrkarthangkdhmaydwy khxkhwamkhangtnepnthiruckknwa hlkkaraehng karthaih siththisungrbrxngiwinktikani klayepnkhwamcringodyladb sungidrbrxngsiththibangprakar twxyangechn siththiinsukhphaph xacbrrluphlinthangptibtiidyakinewlaxnsn aelawarththnghlayxacprasbkbkhxcakddanthrphyakr aetidkahndihaetlarthdaeninkarxyangdithisuddwywithikarkhxngtn hlkkardngklawaetktangcakhlkkarkhxng ICCPR sungphukmdphakhiih ekharphaelaihkhwammnicaekbrrdabukhkhlthngpwnginxanaekhtkhxngtn aelaphayitekhtxanackhxngtn thungsiththiinxnusyyann xyangirkdi hlkkardngklawmiidyxmihktikaniirkhwamhmayipthiediyw khxkahndinkar rbdaeninkar kahndihmipharaphukphntxenuxnginkarthanganmungsukarthaihsiththithnghlayklayepncring hlkkardngklawyngimyxmrbmatrkarthdthxysungprawingepahmaynn khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmyngidtikhwamhlkkardngklawwa karkahndkhxphukmdkhntannepnipephuxihmikarmxbsiththitang xyangnxyinradbkhntasungkhadesiymiid hakthrphyakrepnkhxcakdxyangmakaelw hlkkardngklawkhwrrwmipthungkarichokhrngkarepahmaysungmungipyngphudxyoxkas khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmphicarnakarxxkkdhmaywaepnwithikarcaepninkarthaihsiththiklayepnkhwamcring sungimnathukcakdodykhxcakddanthrphyakr karwangkhxbthtxtankareluxkptibtiaelakarsthapnasiththisungichbngkhbidphrxmkareyiywyathangkdhmayphayinrabbkdhmayaehngchatithukphicarnawaepnwithikarthiehmaasm khxbthbangprakar xathi kdhmaytxtankareluxkptibti thukkahndphayittrasarsiththimnusychnxun aelw xyangechn ICCPR siththiaerngngan khx 6 khxngktika rbrxngsiththiinkarthangan niyamwaepnoxkaskhxngthukkhninkarhaeliyngchiphtndwynganthimisiththieluxkxyangesrihruxidrbkaryxmrb phakhithukkahndihdaenin khntxnthiehmaasm inkarkhumkhrxngsiththini rwmthungkarfukthngthangethkhnikhaelawichachiphaelanoybayesrsthkicsungmiepahmayephuxphthnaesrsthkicxyangtxenuxngaelasngphlihekidkarcangnganetmthiinthaythisud siththinibxkepnnywa phakhithnghlaytxngpraknkarekhathungkarcangnganxyangethaethiym aelakhumkhrxngkrrmkrcakkarthukkidkncakkarcangnganodyimepnthrrm rthphakhicatxngpxngknmiihekidkareluxkptibtiinthithanganaelarbrxngkarekhathungaekphudxyoxkas khxethccringthiwangancatxngthukeluxkhruxidrbkaryxmrbxyangesri hmaykhwamwa phakhicatxnghamaerngnganbngkhbhruxaerngnganedk nganthihmaythunginkhx 6 catxngepnnganthimikhunkha decent work odymikarniyamxyangmiphlinkhx 7 aehngktika sungrbrxngsiththiaekthukkhninsphaphkarthanganthi yutithrrmaelanaphungphxic cakkhxkhwamdngklawcungtikhwamidwa aerngngancatxngidrbkhacangthiepnthrrmaelakhatxbaethnthiethaethiymknsahrbnganthimikhunkhaethakn equal pay for equal work ephiyngphxcaihkhacangthismkhwraekaerngnganaelaphuxyuinxupkara sphaphkarthanganthiplxdphy oxkasthiethaethiyminthithangan aelakarphkphxnaelaewlawang khxcakderuxngewlathanganaelawnhyudepnkhrngkhrawodyidrbkhatxbaethn khx 8 rbrxngsiththikhxngaerngnganinkarkxtnghruxekharwmshphaphaerngngan aelakhumkhrxngsiththiinkarprathwnghyudngan aetyngxnuyatihcakdsiththiehlaniaeksmachikkhxngkxngthph tarwchruxfaybriharkhxngrth hlayphakhiidkhxsngwnsiththiinkhxkhwamni odyxnuyatihkhxkhwamdngklawtikhwamipinthangthiekhaknidkbrththrrmnuykhxngphakhinn cinaelaemksiok hruxkhyaykarcakdsiththishphaphaekklum xyangechn ecahnathidbephling yipun siththithicamiswsdikarsngkhm khx 9 khxngktika rbrxng siththikhxngthukkhninxnthicamiswsdikarsngkhm rwmthngkarpraknsngkhm sungkahndihphakhicdhaaephnkarpraknsngkhmbangrupaebbephuxkhumkhrxngbukhkhltxkhwamesiyngtxorkhphyikhecb khwamphikar karphdungkhrrph karbadecbcakkarcangngan karwangnganhruxwysungxayu ephuxcdhaaekphurxdchiwit kaphra aelaphusungimsamarthcharakhabrikarsatharnsukhid aelaephuxpraknwakhrxbkhrwcaidrbkarsnbsnunxyangephiyngphx praoychncakaephnkardngnicatxngephiyngphx thukkhnsamarthekhathungid aelacdhaihodyprascakkareluxkptibti ktika imidcakdrupaebbkhxngaephnkar aelathngaephnkarthiphuidrbpraoychncayenginephuxexapraknaelaimcayengin contributory and non contributory schemes lwnidrbxnuyat khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmidchipyhaeruxrngkbkarnasiththiniipptibti odymiradbkarekhathungtamak phakhihlaypraeths rwmthngfrngessaelaomnaok mikhxsngwnsiththiinkarxnuyatihpraethsthngsxngwangkhxkahndkarxyuxasyephuxihehmaasmkbphlpraoychnthangsngkhm khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmxnuyatkarcakdechnnn dwyehtuwa karcakdehlannidsdswnaelasmehtusmphl siththiinchiwitkhrxbkhrw khx 10 aehngktika rbrxngwakhrxbkhrwepn hnwyrwmkhxngsngkhmthiepnphunthanaelaepnthrrmchati aelakahndihphakhiyinyxmthica khumkhrxng aelachwyehluxxyangkwangkhwangthisudethathicathaid phakhicatxngpraknwaphlemuxngkhxngtnmiesriphaphinkarcdtngkhrxbkhrw aelakarsmrscatxngidrbkaryinyxmxyangesricakkhusmrsaelaimthukbngkhb phakhiyngtxngxnuyatihlaodyidrbkhacang paid leave hruxkarpraknsngkhmthiephiyngphxaekmardathngkxnaelahlngkarkaenidbutr xnepnkhxphukmdsungsasxnkbkhx 9 thaysud phakhicatxngdaenin matrkarphiess ephuxkhumkhrxngedkcakkaraeswnghaphlpraoychnthangesrsthkichruxsngkhm rwmthngkahndxayukhntainkarcangnganaelahamedkmiihthanganthixntrayaelaepnoths siththiinmatrthankarkhrxngchiphthiephiyngphx khx 11 rbrxngsiththikhxngthukkhninmatrthankarkhrxngchiphthiephiyngphx sungrwmipthung aetimcakdechphaa siththiinxahar ekhruxngnunghm thixyuxasyxyangephiyngphx aela sphaphkarkhrxngchiphthidikhunxyangtxenuxng nxkcakniyngphukmdihphakhithanganrwmknephuxkhcdkhwamhiwohyinradbolk siththiinxaharthiephiyngphx hruxthiruckknwa siththiinxahar thuktikhwamwa kahndihmi karhamaidkhxngxaharinprimanaelakhunphaphthiephiyngphxcatxbsnxngkhwamtxngkardanxaharkhxngpceckbukhkhl plxdphycakssarxntray aelayxmrbidinwthnthrrmkhxngtn siththiinxaharnicatxngsamarthekhathungthukkhn phrxmbxkkhxphukmdepnnyihcdhaokhrngkarphiesssahrbphudxyoxkas siththiinxaharthiephiyngphxyngrwmipthungsiththiinnadwy siththiinthixyuxasythiephiyngphx hruxthiruckknwa siththiinthixyuxasy epn siththithicaxasyxyuthiidthihnungdwykhwamplxdphy sntiaelamiskdisri siththinikahnd khwamepnswntwxyangphxephiyng thiwangxyangphxephiyng khwamplxdphyxyangphxephiyng aesngswangaelakarrabayxakasxyangphxephiyng satharnupophkhphunthanxyangphxephiyng aelataaehnngthiphxehmaaemuxethiybkbthithanganaelasingxanwykhwamsadwkphunthan sungthnghmdni dwymulkhathismehtusmphl phakhitxngpraknkhwamplxdphyinsiththithuxkhrxng aelakarekhathungnnprascakkareluxkptibti aeladaeninkarxyangtxenuxngephuxkacdphawairthixyuxasy karrxnsiththithithukbngkhb sungniyamwaepn karephikthxnxyangthawrhruxchwkhrawsungkhdtxectcanngkhxngpceckbukhkhl khrxbkhrw aela hrux chumchn cakban aela hrux thidinsungphwkekhathuxkhrxng odyprascakkarcdiwchwkhraw aelakarekhathung rupaebbkarkhumkhrxngthangkdhmayhruxxun xyangehmaasm epnkarlaemidktika xyangmimul siththiinsukhphaph khx 12 aehngktika rbrxngsiththikhxngthukkhnthicami sukhphaphkayaelasukhphaphcittammatrthansungsudethathiepnid khawa sukhphaph epnthiekhaicwamiichephiyngsiththiinkarmisukhphaphdiethann aetyngepnsiththithicakhwbkhumsukhphaphaelarangkay rwmthngkarsubphnthu khxngtnexng aelaepnxisracakkaraethrkaesng echn karthrmanhruxkarthdlxngthangkaraephthy rthtxngkhumkhrxngsiththiniodythaihaenicwathukkhninekhtxanackhxngtnekhathungpccysukhphaphthicaepn echn nasaxad sukhxnamy xahar sarxaharaelathixyuxasy aelaphanrabbsatharnsukhxyangkhrxbkhlum sungthukkhnekhathungidodyprascakkareluxkptibti aelathukkhnekhathungidxyangprahyd khx 12 2 kahndihphakhidaeninkarodyechphaaephuxphthnasukhphaphkhxngphlemuxngkhxngtn rwmthngldxtrakartaykhxngthark aelaphthnasukhphaphedk phthnasukhlksnathangsingaewdlxmaelathithangan pxngkn rksaaelakhwbkhumorkhrabad aelasrangsphawathipraknbrikarthangkaraephthythiethaethiymaelathnthwngthiaekthukkhn sungthnghmdnithukmxngwaepn twxyangimlaexiydthiepntwxyangprakxb makkwaepnkhaprakaskhxphukmdkhxngphakhi siththiinsukhphaphyngthuktikhwamwakahndihphakhiyxmrbsiththisubphnthukhxngstri odyimcakdkarekhathungkarkhumkahnd hruxkhxmul thiesnesxr rangbhruxcngicaethlngepnethc ekiywkbsukhphaphthangephs phakhiyngtxngpraknwastriidrbkarkhumkhrxngcakwithiptibtithxngthinthiepnoths echn karkhlibxwywaephsstri siththiinkarsuksaaebbihepla khx 13 aehngktika rbrxngsiththikhxngthukkhninkarsuksaaebbihepla iheplasahrbradbprathmsuksa aela karnakarsuksaaebbiheplamaichxyangkhxyepnkhxyip sahrbradbmthymsuksaaelaradbsungkhun ephuxmungihekid karphthnabukhlikphaphkhxngmnusyaelakhwamsanukinskdisrikhxngtnxyangbriburn aelaihthukkhnmiswnrwminsngkhmidxyangmiprasiththiphaph karsuksannthukmxngwaepnthngsiththimnusychnaela withixnhlikeliyngimidinkhwamekharphsiththimnusychnxun aeladngniepnhnunginkhxthiyawthisudaelasakhythisudinktika khx 13 2 lngraykarkhntxnechaathiphakhitxngdaeninkarephuxrbrxngsiththiinkarsuksa ehlanirwmipthungkarcdkarsuksakhnprathmaebbihepla phakhbngkhb aelaepnkarthwip karsuksakhnmthym ihmikhunodythwip aelaihthukkhnmisiththiidrb inhlayrupaebb rwmthngmthymthangethkhnikhsuksaaelaxachiwsuksa aelakarsuksakhnxudmthiekhathungidxyangethaethiym ehlanithnghmdcatxngihmiaekthukkhnodyprascakkaraebngaeyk phakhiyngtxngphthnarabborngeriyn sungxacepnrthbal exkchnhruxphsm snbsnunhruxcdhathunkarsuksaihaekphudxyoxkas phakhithukkahndihtxngcdhakarsuksaaebbiheplaaekthukradb sungxacepnodythnthihruxkhxyepnkhxyip karsuksakhnprathmcatxngepnkarsuksaphakhbngkhbaelacdihthukkhnaebbihepla karsuksakhnmthym ihmikhunodythwip aelaihthukkhnmisiththiidrbodywithikarthiehmaasmthukthang aelaodyechphaaxyangyingodykarnakarsuksaaebbiheplamaichxyangkhxyepnkhxyip aela thukkhncatxngsamarthidrbkarsuksakhnxudmsuksaxyangethaethiymknbnphunthankhxngkhwamsamarth odywithikarthiehmaasmthukthang aelaodyechphaaxyangyingodykarnakarsuksaaebbiheplamaichxyangkhxyepnkhxyip khx 13 3 aela 13 4 kahndihphakhiekharphesriphaphkhxngphupkkhrxnginkareluxkaelacdtngsthabnkarsuksaexkchnaekedkkhxngtn sungynghmaythung esriphaphkarsuksa khxdngklawyngrbrxngsiththikhxngphupkkhrxngephux praknihkarsuksathangsasnaaelasilthrrmkhxngedkepnipodysxdkhlxngkbkhwamechuxthuxkhxngtn sungkhxkhwamdngklawthuktikhwamwaepnkarkahndihorngeriynrbalekharphesriphaphthangsasnaaelamonthrrmaehngnkeriynkhxngtn aelaechnediywkbkarhamkarsxninsasnahnunghruxrabbkhwamechuxhnungodyechphaa ewnaetcamikarimykewnimaebngaeykaelathangeluxk khnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmtikhwamktika wayngkahndihrthekharphesriphaphthangwichakarkhxngecahnathiaelankeriyn enuxngdwyepnsingsakhysahrbkrabwnkarkarsuksa khnakrrmathikar yngphicarnawakarlngothsthangkayinorngeriynkhdkbhlkkarsakhyinskdisrikhxngaetlabukhkhlkhxngktika khx 14 aehngktika kahndihphakhisungyngimidcdrabbkarsuksakhnprathmphakhbngkhbaebbihepla cdthaaephnptibtikarodylaexiydephuxihekidkhwamkhubhna phayinrayaewlathismehtusmphl siththithicamiswnrwmthangwthnthrrm khx 15 aehngktika rbrxngsiththikhxngthukkhnthicamiswnrwminchiwitwthnthrrm xupophkhsiththipraoychnaehngkhwamkawhnathangwithyasastr aelaidrbsiththipraoychncakkarkhumkhrxngphlpraoychnthangdansilthrrmaelawtthuxnekidcakkarphlitthangwithyasastr wrrnkrrm hruxsilpkrrmsungtnepnphusrangsrrkh khxkhwamhlngnibangkhrngthukmxngwakahndkarkhumkhrxngthrphysinthangpyya aetkhnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmtikhwamwaepnkarkhumkhrxngsiththithangsilthrrmkhxngphusrangsrrkhaela prakaskhunlksnaswnbukhkhlphayinkhxngthukphlngansrangsrrkhcakciticmnusy aelarbrxngkhwamechuxmoyngrahwangphusrangsrrkhkbphlngansrangsrrkhkhxngphwkekhaxyangkhngthn khxkhwamnicungkahndihphakhiekharphsiththikhxngphupraphnththicaidrbkarrbrxngwaepnphusrangsrrkhphlngan siththithangwtthuthuktikhwamwaepnswnhnungkhxngsiththiinmatrthankarkhrxngchiphthiephiyngphx aela imcaepntxngkhyayewlaekinthngchwngchiwitkhxngphupraphnth phakhiyngtxngdaeninkarephuxsnbsnunkarxnurks phthnaaelaephyaephrsungwithyasastraelawthnthrrm ekharphesriphaphsungkhadimidaekkarwicythangwithyasastraelakickrrmsrangsrrkh aelasnbsnunsyyarahwangpraethsaelakhwamrwmmuxkninsakhaehlannkhxsngwnsiththiphakhiswnhnungidsngwnsiththiaelaprakasechingtikhwamthungkarnaktika ipptibti aexlcieriy tikhwambangswnkhxngkhx 13 sungkhumkhrxngesriphaphkhxngphupkkhrxnginkareluxkhruxcdtngsthabnkarsuksaxyangehmaasmxyangesri odyim thaihsiththikhxngtn aexlcieriy ldlngephuxcdtngrabbkarsuksakhxngtn bngklaeths tikhwamwrrkhkarkahndkarpkkhrxngdwytwexnginkhx 1 wa ichkbbribththangprawtisastrkhxnglththilaxananikhm mnyngsngwnsiththithicatikhwamsiththiaerngnganinkhx 7 aela 8 aelawrrkhimeluxkptibtiinkhx 2 aela 3 phayinbribthkhxngrththrrmnuyaelakdhmayinpraeths ebleyiym tikhwamkarimeluxkptibtiekiywkbechuxchatikaenidwa aesdngnykarphukmdtxrthxyangimcaepn sungrbpraknsiththiaekchawtangchatiodyxtonmtiechnediywkbsychatitnxyuaelw khadngklawkhwrekhaicwahmaythung karkacdphvtikrrmirehtuphl aetmiichkhwamaetktanginkarptibtixntngxyubnkarphicarnaxyangmicudprasngkhaelamiehtuphl inkhwamsxdkhlxngknkbhlkkarsungmixyuthwipinsngkhmprachathipity cin hamsiththiaerngnganinkhx 8 inaebbthisxdkhlxngkbrththrrmnuyaelakdhmayphayinpraeths xiyipt yxmrbktika echphaakhxbekhtthiimkhdtxkdhmaycharixahxislam charixah epn bxekidhlkkhxngtwbthkdhmay phayitmatra 2 khxngthngrththrrmnuy kh s 1973 thingdip aelakhaprakasrththrrmnuyechphaakal kh s 2011 frngess mxngktika waepnkarsngesrimkdbtrshprachachati aelasngwnsiththithicapkkhrxngkarekhathungkarcangngan swsdikarsngkhm aelapraoychnxun khxngkhntangdaw xinediy tikhwamsiththikarkahndkarpkkhrxngdwytwexngwaichid echphaakbbukhkhlthixyuphayitkarkhrxbngakhxngtangchati aelaichimidkbbukhkhlthixyuphayitrthchatithimiexkrach nxkcakni yngtikhwamkarcakdwrrkhsiththiaelasiththioxkasethaethiyminthithanganphayinbribthkhxngrththrrmnuy xinodniesiy tikhwamwrrkhkarkahndkarpkkhrxngdwytnexngphayinkhxbekhtkhxngkdhmayrahwangpraethsxun aelaimichkbbukhkhlphayinrthchatithimiexkrach ixraelnd sngwnsiththiinkarsnbsnunphasaixrich yipun sngwnsiththiimphukphnthicanakarsuksakhnmthymaelakhnxudmaebbiheplamaichaebbkhxyepnkhxnip khuewt tikhwamwrrkhkarimeluxkptibtitamkhx 2 aela 3 phayinrththrrmnuyaelakdhmaykhxngpraeths aelasngwnsiththikarekhathungswsdikarsngkhmechphaaaekchawkhuewt nxkcakni yngsngwnsiththihamkarhyudnganprathwng emksiok tikhwamsiththiaerngngantamkhx 8 phayinbribthaehngrththrrmnuyaelakdhmaykhxngpraeths omnaok tikhwamhlkkarkarimeluxkptibtibnphunthanaehngchatikaenidwa aesdngnykarphukmdtxrthxyangimcaepn sungrbpraknsiththiaekchawtangchatiodyxtonmtiechnediywkbsychatitnxyuaelw aelasngwnsiththikartngkhxkahnddankarxyuxasywadwysiththithangan satharnsukh karsuksaaelaswsdikarsngkhm niwsiaelnd sngwnsiththiimptibtitamkhx 8 siththikarcdtngaelaekharwmshphaphkarkha trabethathimatrkarthimixyu sungkhnannrwmthungshphaphaerngnganbngkhbaelakarxnuyaottulakarkhxphiphaththiidrbkarsnbsnun sungekhaknimidkbkhx 8 khxngktika nxrewy swnsiththikarhyudnganprathwng ephuxxnuyatkarxnuyaottulakarkhxphiphathaerngnganbangxyangodybngkhb pakisthan idsngwnsiththithwipinkartikhwamktika phayitkrxbkhxngrththrrmnuy ithy tikhwamsiththikarkahndsiththikarpkkhrxngdwytnexngphayitkrxbkhxngkdhmayrahwangpraethsxun triniaeddaelaotebok sngwnsiththicakdsiththikarhyudnganprathwngkhxngphuprakxbxachiphsakhy turki catikhwamktika phayitbngkhbaehngkdbtrshprachachati nxkcakni yngsngwnsiththikartikhwamaelanasiththikhxngphupkkhrxnginkareluxkaelacdtngsthabnkarsuksaipptibtiinaebbthiekhaknidkbrththrrmnuy shrachxanackr mxngktika waepnsngesrimkdbtrshrachachati aelaidsngwnsiththihlayprakartxdinaednophnthaelkhxngpraeths shrthxemrika xngkhkarnirothskrrmsaklekhiynwa shrthxemrikalngnamktikain kh s 1979 phayitrthbalkharetxr aetimthukphukphnetmthikrathngmikarihstyabn dwyehtuphlthangkaremuxng rthbalkharetxrmiidphlkdnkarthbthwnktika thicaepncakwuthispha sungtxngih khaaenanaaelakaryinyxm kxnthishrthxemrikasamarthihstyabnsnthisyyaid rthbaleraeknaelacxrc exch dbebilyu buch thuxmummxngwasiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmimichsiththiodyaethcring aetepnephiyngepahmaythangsngkhmxnphungprarthnaethann aeladngnncungimkhwrepnwtthuprasngkhkhxngsnthisyyaphukphn rthbalkhlintnmiidptiesththrrmchatikhxngsiththiehlani aetimphbwamipraoychnthangkaremuxnginkarekhatxsukbwuthisphaineruxngktika rthbalcxrc dbebilyu buch tamrxymummxngkhxngrthbalbuchkxnhnani mulnithimrdk thungkhwamkhidxnurksniymthisakhy otaeyngwa karlngnamktika caepnkarphukmdkarnanoybaythimulnithikhdkhanmaich echn praknsukhphaphthwnhnaphithisareluxkrbphithisareluxkrbktikarahwangpraethswadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrmepnkhwamtklngesrimtxktita sungepidihphakhirbrxngxanachnathikhxngkhnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhmaelawthnthrrmephuxphicarnakharxngthukkhcakpceckbukhkhl phithisareluxkrb idrbkarlngmtirbodysmchchaihyaehngshprachachatiemuxwnthi 10 thnwakhm ph s 2551 epidihlngnamemuxwnthi 24 knyayn ph s 2552 aelacnthungeduxntulakhm ph s 2554 miphakhilngnam 38 praeths aelaihstyabnaelw 4 praeths phithisar camiphlichbngkhbemuxphakhiihstyabnkhrb 10 praethskhnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrmkhnakrrmathikarwadwysiththithangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrm epnhnwyngansungprakxbdwyphuechiywchaydansiththimnusychn sungidrbmxbhmayihefatrwckarnaktika ipptibti prakxbdwyphuechiywchaydansiththimnusychnxisra 18 khn eluxktngmadarngtaaehnngsmylasipi odymismachikkhrunghnungeluxktngthuksxngpi imehmuxnkbhnwynganefatrwcsiththimnusychnxun khnakrrmathikar miidcdtngkhunodysnthisyyathitnduael aetthukcdtngkhunodysphaesrsthkicaelasngkhmhlngkhwamlmehlwkhxnghnwynganefatrwcsxnghnwyngankxnhna rthphakhithnghmdthukkahndihsngraynganepnpracatxkhnakrrmathikar epnsrupyxmatrkarkdhmay tulakar noybayhruxmatrkarxunsungrthiddaeninephuxnasiththithiyunyninkitka ipptibti raynganchbbaerkmikahndphayinsxngpikhxngkarihstyabnktika swnraynganhlngcaknnmikahndthukhapi khnakrrmathikar trwcsxbraynganaetlachbbaelahyibykkhwamkngwlaelakaraenanakhxngtnaekrthphakhiinrupkhxng khxsngektechingsrup odyaebbkhnakrrmathikar prachumknthukeduxnphvsphakhmaelaphvscikayninkrungecniwaxangxing UN Treaty Collection International Covenant on Economic Social and Cultural Rights UN 2009 02 24 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 06 05 subkhnemux 2009 02 25 Fact Sheet No 2 Rev 1 The International Bill of Human Rights UN OHCHR June 1996 cakaehlngedimemux 13 March 2008 subkhnemux 2 June 2008 Sieghart Paul 1983 The International Law of Human Rights Oxford University Press p 25 United Nations General Assembly Resolution 543 February 5 1952 United Nations General Assembly Resolution 545 February 5 1952 United Nations General Assembly Resolution 2200 December 16 1966 ICESCR Article 1 1 ICESCR Article 1 2 ICESCR Article 1 3 ICESCR Article 2 2 ICESCR Article 4 ICESCR Article 7 ICESCR Article 13 1 ICESCR Article 2 1 UN pp Article 2 1 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 04 30 subkhnemux 2008 07 13 Paragraph 9 CESCR General Comment 3 UN OHCHR 1990 12 14 subkhnemux 2008 06 02 CESCR General Comment 3 paragraph 10 CESCR General Comment 3 paragraph 12 CESCR General Comment 3 paragraphs 3 6 ICESCR Article 6 1 CESCR General Comment 18 The Right to Work PDF UN Economic and Social Council 2006 02 06 pp paragraph 31 subkhnemux 2008 06 02 CESCR General Comment 18 paragraph 23 CESCR General Comment 18 paragraph 7 ICESCR Article 9 UN Economic and Social Council 4 kumphaphnth 2008 paragraphs 1 4 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 20 phvsphakhm 2011 subkhnemux 13 krkdakhm 2008 CESCR Draft General Comment 19 paragraph 5 CESCR Draft General Comment 19 paragraph 7 CESCR Draft General Comment 19 paragraph 37 ICESCR Article 10 1 UN OHCHR July 1991 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 1 May 2008 subkhnemux 2 June 2008 ICESCR Article 10 3 ICESCR Article 11 1 CESCR General Comment 12 The right to adequate food UN Economic and Social Council 1999 05 12 pp paragraph 8 subkhnemux 2008 06 02 CESCR General Comment 12 paragraph 13 CESCR General Comment 15 The right to water UN Economic and Social Council 2003 01 20 pp paragraph 3 subkhnemux 2008 07 13 CESCR General Comment 4 The right to adequate housing UN OHCHR 1991 12 13 subkhnemux 2008 06 02 CESCR General Comment 7 The right to adequate housing forced evictions UN OHCHR 1997 05 20 subkhnemux 2008 06 02 ICESCR Article 12 1 CESCR General Comment 14 The right to the highest attainable standard of health UN Economic and Social Council 2000 08 11 pp paragraph 9 subkhnemux 2008 06 02 CESCR General Comment 14 paragraphs 11 12 CESCR General Comment 14 paragraph 7 CESCR General Comment 14 paragraph 34 CESCR General Comment 14 paragraph 35 CESCR General Comment 13 The right to education UN Economic and Social Council 1999 12 08 pp paragraph 1 subkhnemux 2008 06 02 ICESCR Article 13 3 CESCR General Comment 13 paragraph 28 CESCR General Comment 13 paragraph 38 CESCR General Comment 13 paragraph 41 ICESCR Article 14 CESCR General Comment 17 The right of everyone to benefit from the protection of the moral and material interests resulting from any scientific literary or artistic production of which he is the author PDF UN Economic and Social Council 12 January 2006 paragraph 12 subkhnemux 2 June 2008 CESCR General Comment 17 paragraph 16 ICESCR Article 15 3 PDF Amnesty International p 6 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2008 06 26 subkhnemux 2008 06 02 Cowin Andrew J 1993 07 29 Heritage Foundation khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 03 09 subkhnemux 2008 06 02 Closing a historic gap in human rights United Nations 2008 12 10 subkhnemux 2008 12 13 Economic social and cultural rights legal entitlements rather than charity say UN Human Rights Experts United Nations 2008 12 10 subkhnemux 2008 12 13 UN urges States to adhere to new instrument to protect human rights United Nations 2009 09 24 subkhnemux 2009 09 27 Parties to the Optional Protocol to the International Covenant on Economic Social and Cultural Rights United Nations Treaty Collection khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 07 20 subkhnemux 2010 10 14 OP ICESCR Article 18 ECOSOC Resolution 1985 17 UN OHCHR 1985 05 28 subkhnemux 2008 06 02 Committee on Economic Social and Cultural Rights UN OHCHR subkhnemux 2008 06 03 UN OHCHR khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 06 11 subkhnemux 2008 06 03 aehlngkhxmulxun Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 03 03 subkhnemux 2009 10 09 List of parties 2012 06 11 thi ewyaebkaemchchin UNTC